ปลัดคลังแจง กมธ.วิสามัญพิจารณางบเพิ่มเติมปี 52 เผยยอดจัดเก็บ 3 เดือนแรกลดลง 16 % หากไม่เร่งอัดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจติดลบ 3% ขณะที่เงินคงคลังสิ้นปี 51 เหลือก้นถัง 5.2 หมื่นล้าน ต้องกู้ยืมมาโปะ "พิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล" ชี้ควรจะมีอย่างน้อย 6.4 หมื่นล้าน เพราะรายจ่ายประจำเดือนละ 3.2 หมื่นล้าน "ไตรรงค์"ยอมรับไทยหนีวิกฤตโลกไม่พ้น สศค.โต้ตัวเลข ม.ค.ฟื้น ลั่นไม่ปัญหาสภาพคล่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2552 ที่มีนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ทำหน้าที่ประธานการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงการคลัง ซึ่งนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังและคณะเข้าชี้แจง
นายศุภรัตน์ระบุว่า มีความจำเป็นที่ต้องอัดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้ทันในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมนี้ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ ซึ่ง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.-ธ.ค. 52) รัฐจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 16 หากเม็ดเงินไม่สามารถเข้าสู่ระบบทันเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ปีนี้เศรษฐกิจไทยอาจติดลบถึงร้อยละ 3
เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จะขยายตัวติดลบ และเมื่อรวบรวมตัวเลขตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ พบว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ติดลบอยู่ที่ระดับ 3.5% ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง โดยหากปล่อยไว้โดยไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้แน่นอน
นายศุภรัตน์กล่าวว่า กระทรวงการคลังคาดการณ์รายได้ตลอดปี 52 อยู่ที่ 132,000 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนเพียงร้อยละ 7.9 โดยมีการตั้งรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลังสำหรับงบกลางปีไว้จำนวน 12,900 ล้านบาท จากรายได้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และรายได้จากผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ทำให้กรรมาธิการฯ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซักถามถึงสาเหตุของการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า เช่น งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณของกรมทางหลวงชนบท ซึ่งขณะนี้ผู้รับเหมายังไม่ได้รับเงิน
นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ กรรมาธิการจากพรรคประชาธิปัตย์ 1 ในกรรมธิการฯ เสนอความเห็นว่า อยากให้กระทรวงการคลังชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทุกคนทราบ เพราะเชื่อว่าเหตุที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนต่างๆ เป็นเพราะประเทศไทยไม่มีเงินคงคลัง มีแต่เพียงตัวเลขลอยๆ เท่านั้น จึงอยากทราบว่าความจริงขณะนี้เงินคงคลังเหลืออยู่จำนวนเท่าใด
นายศุภรัตน์ตอบประเด็นดังกล่าวว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 พบว่า เงินคงคลังเหลืออยู่ประมาณ 52,000 ล้านบาท โดยสาเหตุที่เงินคงคลังเหลืออยู่ไม่มากเนื่องจากที่ผ่านมาลดการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ย ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเม็ดเงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าไหลเข้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารเงินคงคลังด้วยความรอบคอบ
"ยังมีเงินพอที่จะจ่ายเป็นเงินเดือนประจำประมาณ 1 เดือนครึ่งเนื่องจากต้องจ่ายเงินเดือนประจำเดือนละ32,000 ล้านบาท" ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวและว่า กรณีที่เม็ดเงินหรือตัวเลขการใช้จ่ายยังไม่เพียงพอ สามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ ภายใต้กรอบการกู้ยืมเงินที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่อาจต้องเร่งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ให้เร็วขึ้น เพราะขณะนี้การขาดดุลงบประมาณทั้งประจำปี และกลางปีมีจำนวนกว่า 340,000 ล้านบาท
เมื่อนายศุภรัตน์กล่าวจบ นายพิเชษฐ์กล่าวด้วยความตกใจว่า การที่เงินคงคลังมีมากกว่ารายจ่ายประจำไม่ถึง2เดือน ถือว่าตัวเลข 52,000 ล้านบาท คือปัญหา เพราะ 2 เดือนคือ 64,000 ล้านบาท และเป็นคำตอบที่ว่าทำไมประเทศไทยจึงไม่มีเงินในการจ่ายงบลงทุน
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน กรรมาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าทุกประเทศล้วนประสบปัญหาวิกฤตทั้งนั้น ฉะนั้นจะให้ประเทศไทยรอดเพียงประเทศเดียวไม่ได้ เพียงแต่ต้องช่วยกลุ่มคนที่มีปัญหามากที่สุดก่อนคือคนที่มีรายได้น้อย
แหล่งข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยังไม่มีปัญหาสภาพคล่องหรือเงินขาดมือในขณะนี้ และไม่รู้สึกกังวลกับตัวเลขเงินคงคลังที่เหลือ 52,000 ล้านบาท เนื่องจากเป็นตัวเลข ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 51 ขณะนี้สิ้นเดือน ม.ค. 52 ตัวเลขเงินคงคลังเพิ่มขึ้นมาแล้ว แต่ก็ยอมรับว่ามาจากการกู้เงินทั้งทางตรงและการออกตั๋ว
"เงินมีเข้ามีออกทุกวัน ตามหลักแล้วมี 5 หมื่นล้านบาท สำหรับ 10 วันทำการก็เพียงพอสำหรับจ่ายเงินเดือนข้าราชการ" แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามเอกสารร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ฉบับเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันพุธที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา จัดทำโดยสำนักงบประมาณรายงานฐานะคงคลังของรัฐบาล สิ้นปี 2551 ว่า มีเงินคงคลังสุทธิ จำนวน 229,060.3 ล้านบาท
ประกอบด้วย เงินคงคลังธนาคารแห่งประเทศไทย 218,082 ล้านบาท เงินสดจากสำนักงานคลังจังหวัดและคลังอำเภอ 674.1 ล้านบาท เงินสดกรมธนารักษ์ 404.4 ล้านบาท เงินคงคลังระหว่างทาง 38.4 ล้านบาท และเงินฝากธนาคารกรุงไทย 9,861.5 ล้านบาท
ส่วนหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 มิ.ย.2551 มีจำนวน 2,913,662 ล้านบาท จำแนกเป็นรัฐบาลกู้โดยตรง 2,158,779.6 ล้านบาท และค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล 754,882.4 ล้านบาท ด้านหนี้สินและและข้อผูกพันในประเทศ จำนวน 2,663,733.4 ล้านบาท หนี้ต่างประเทศคงค้าง 7,464,186 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินกู้ต่างประเทศที่รัฐวิสาหกิจค้ำประกัน 1,884.55 ล้านเหรียญสหรัฐ
ชงครม.ขอกู้เงินนอก 7 หมื่นล้าน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า กระทรวงการคลัง จะเสนอให้ที่ประชุมครม.วันที่ 3 ก.พ.นี้ พิจารณาเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง กู้เงินจากสถาบันการเงินและองค์กรระหว่างประเทศ 3 แหล่ง คือ ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า วงเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 2.38%-3.70% ต่อปี
นอกจากนี้ ยังเสนอให้ครม.เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปีในรูปแบบของช็อตเทิร์ม ฟาซิลิตี้ (Short term facility) เพื่อเสริมความคล่องตัวในการบริหาร และจัดการเงินกู้ในประเทศให้แก่รัฐวิสาหกิจ และให้สามารถค้ำประกันเงินกู้ได้ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
ทั้งนี้กระทรวงการคลัง จะนำเงินกู้จากสถาบันการเงิน และองค์กรต่างประเทศจำนวน 70,000 ล้านบาท มาใช้ใน 4 โครงการ คือ เพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำไปขยายสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล, ลงทุนในโครงการภาครัฐทั้งขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและสร้างการจ้างงานในระยะสั้นไม่เกิน 15 เดือน (มี.ค.52-พ.ค.53) , ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลิตภาพ มีเวลาดำเนินการไม่เกิน 36 เดือน (มี.ค. 52-ก.พ.55) และสนับสนุนโครงการ แผนงานและกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล
ส่วนการจัดหาเงินกู้ในลักษณะช็อตเทิร์ม ฟาซิลิตี้ อีก 2 แสนล้านบาท เพื่อให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรง ซึ่งเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ และยังเป็นเครื่องมือในการจัดสรรการกู้เงินของภาครัฐไม่ให้เกิดภาวะกระจุกตัวในช่วงใดช่วงหนึ่งด้วย ถือเป็นวงเงินสำรองกู้เงินและให้รัฐวิสาหกิจมีทางเลือกในการกู้เงิน โดยกระทรวงการคลังจะค้ำประกันวงเงินแบบเต็มจำนวนหรือแบบบางส่วน เพื่อลดสัดส่วนของการค้ำประกัน เพื่อให้ภาระการค้ำประกันอยู่ในกรอบเพดานในแต่ละปี ที่กำหนดไว้เป็นสกุลเงินบาทไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายงานข่าว กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะเสนอให้ที่ประชุมครม.เห็นชอบโครงการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศ หรือ ทรานสิต พาสเซนเจอร์ (Transit Passenger) เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาแวะที่สนามบินสุวรรณภูมิ สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่จัดไว้ให้ระหว่างรอการเปลี่ยนเครื่องได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้และสนับสนุนให้ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางหรือฮับการบินของเอเชีย
ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2552 ที่มีนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ทำหน้าที่ประธานการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงการคลัง ซึ่งนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลังและคณะเข้าชี้แจง
นายศุภรัตน์ระบุว่า มีความจำเป็นที่ต้องอัดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้ทันในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมนี้ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบ ซึ่ง 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ต.ค.-ธ.ค. 52) รัฐจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 16 หากเม็ดเงินไม่สามารถเข้าสู่ระบบทันเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ปีนี้เศรษฐกิจไทยอาจติดลบถึงร้อยละ 3
เมื่อวันที่ 29 ม.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จะขยายตัวติดลบ และเมื่อรวบรวมตัวเลขตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ พบว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 ติดลบอยู่ที่ระดับ 3.5% ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง โดยหากปล่อยไว้โดยไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้แน่นอน
นายศุภรัตน์กล่าวว่า กระทรวงการคลังคาดการณ์รายได้ตลอดปี 52 อยู่ที่ 132,000 ล้านบาท แต่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนเพียงร้อยละ 7.9 โดยมีการตั้งรายจ่ายเพื่อชดเชยเงินคงคลังสำหรับงบกลางปีไว้จำนวน 12,900 ล้านบาท จากรายได้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และรายได้จากผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ทำให้กรรมาธิการฯ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซักถามถึงสาเหตุของการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า เช่น งบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และงบประมาณของกรมทางหลวงชนบท ซึ่งขณะนี้ผู้รับเหมายังไม่ได้รับเงิน
นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ กรรมาธิการจากพรรคประชาธิปัตย์ 1 ในกรรมธิการฯ เสนอความเห็นว่า อยากให้กระทรวงการคลังชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทุกคนทราบ เพราะเชื่อว่าเหตุที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายงบลงทุนต่างๆ เป็นเพราะประเทศไทยไม่มีเงินคงคลัง มีแต่เพียงตัวเลขลอยๆ เท่านั้น จึงอยากทราบว่าความจริงขณะนี้เงินคงคลังเหลืออยู่จำนวนเท่าใด
นายศุภรัตน์ตอบประเด็นดังกล่าวว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 พบว่า เงินคงคลังเหลืออยู่ประมาณ 52,000 ล้านบาท โดยสาเหตุที่เงินคงคลังเหลืออยู่ไม่มากเนื่องจากที่ผ่านมาลดการกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ย ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเม็ดเงินไหลออกนอกประเทศมากกว่าไหลเข้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารเงินคงคลังด้วยความรอบคอบ
"ยังมีเงินพอที่จะจ่ายเป็นเงินเดือนประจำประมาณ 1 เดือนครึ่งเนื่องจากต้องจ่ายเงินเดือนประจำเดือนละ32,000 ล้านบาท" ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวและว่า กรณีที่เม็ดเงินหรือตัวเลขการใช้จ่ายยังไม่เพียงพอ สามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ ภายใต้กรอบการกู้ยืมเงินที่กำหนดไว้ชัดเจน แต่อาจต้องเร่งใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ให้เร็วขึ้น เพราะขณะนี้การขาดดุลงบประมาณทั้งประจำปี และกลางปีมีจำนวนกว่า 340,000 ล้านบาท
เมื่อนายศุภรัตน์กล่าวจบ นายพิเชษฐ์กล่าวด้วยความตกใจว่า การที่เงินคงคลังมีมากกว่ารายจ่ายประจำไม่ถึง2เดือน ถือว่าตัวเลข 52,000 ล้านบาท คือปัญหา เพราะ 2 เดือนคือ 64,000 ล้านบาท และเป็นคำตอบที่ว่าทำไมประเทศไทยจึงไม่มีเงินในการจ่ายงบลงทุน
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน กรรมาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าทุกประเทศล้วนประสบปัญหาวิกฤตทั้งนั้น ฉะนั้นจะให้ประเทศไทยรอดเพียงประเทศเดียวไม่ได้ เพียงแต่ต้องช่วยกลุ่มคนที่มีปัญหามากที่สุดก่อนคือคนที่มีรายได้น้อย
แหล่งข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่า ยังไม่มีปัญหาสภาพคล่องหรือเงินขาดมือในขณะนี้ และไม่รู้สึกกังวลกับตัวเลขเงินคงคลังที่เหลือ 52,000 ล้านบาท เนื่องจากเป็นตัวเลข ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 51 ขณะนี้สิ้นเดือน ม.ค. 52 ตัวเลขเงินคงคลังเพิ่มขึ้นมาแล้ว แต่ก็ยอมรับว่ามาจากการกู้เงินทั้งทางตรงและการออกตั๋ว
"เงินมีเข้ามีออกทุกวัน ตามหลักแล้วมี 5 หมื่นล้านบาท สำหรับ 10 วันทำการก็เพียงพอสำหรับจ่ายเงินเดือนข้าราชการ" แหล่งข่าวกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามเอกสารร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ฉบับเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันพุธที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา จัดทำโดยสำนักงบประมาณรายงานฐานะคงคลังของรัฐบาล สิ้นปี 2551 ว่า มีเงินคงคลังสุทธิ จำนวน 229,060.3 ล้านบาท
ประกอบด้วย เงินคงคลังธนาคารแห่งประเทศไทย 218,082 ล้านบาท เงินสดจากสำนักงานคลังจังหวัดและคลังอำเภอ 674.1 ล้านบาท เงินสดกรมธนารักษ์ 404.4 ล้านบาท เงินคงคลังระหว่างทาง 38.4 ล้านบาท และเงินฝากธนาคารกรุงไทย 9,861.5 ล้านบาท
ส่วนหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 30 มิ.ย.2551 มีจำนวน 2,913,662 ล้านบาท จำแนกเป็นรัฐบาลกู้โดยตรง 2,158,779.6 ล้านบาท และค้ำประกันเงินกู้โดยรัฐบาล 754,882.4 ล้านบาท ด้านหนี้สินและและข้อผูกพันในประเทศ จำนวน 2,663,733.4 ล้านบาท หนี้ต่างประเทศคงค้าง 7,464,186 ล้านเหรียญสหรัฐ เงินกู้ต่างประเทศที่รัฐวิสาหกิจค้ำประกัน 1,884.55 ล้านเหรียญสหรัฐ
ชงครม.ขอกู้เงินนอก 7 หมื่นล้าน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า กระทรวงการคลัง จะเสนอให้ที่ประชุมครม.วันที่ 3 ก.พ.นี้ พิจารณาเห็นชอบให้กระทรวงการคลัง กู้เงินจากสถาบันการเงินและองค์กรระหว่างประเทศ 3 แหล่ง คือ ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือไจก้า วงเงิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 70,000 ล้านบาท เพื่อนำมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยมีต้นทุนอยู่ที่ 2.38%-3.70% ต่อปี
นอกจากนี้ ยังเสนอให้ครม.เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปีในรูปแบบของช็อตเทิร์ม ฟาซิลิตี้ (Short term facility) เพื่อเสริมความคล่องตัวในการบริหาร และจัดการเงินกู้ในประเทศให้แก่รัฐวิสาหกิจ และให้สามารถค้ำประกันเงินกู้ได้ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลัง
ทั้งนี้กระทรวงการคลัง จะนำเงินกู้จากสถาบันการเงิน และองค์กรต่างประเทศจำนวน 70,000 ล้านบาท มาใช้ใน 4 โครงการ คือ เพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำไปขยายสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล, ลงทุนในโครงการภาครัฐทั้งขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและสร้างการจ้างงานในระยะสั้นไม่เกิน 15 เดือน (มี.ค.52-พ.ค.53) , ลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และผลิตภาพ มีเวลาดำเนินการไม่เกิน 36 เดือน (มี.ค. 52-ก.พ.55) และสนับสนุนโครงการ แผนงานและกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล
ส่วนการจัดหาเงินกู้ในลักษณะช็อตเทิร์ม ฟาซิลิตี้ อีก 2 แสนล้านบาท เพื่อให้รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินภาครัฐสามารถกู้เงินในประเทศระยะสั้นได้โดยตรง ซึ่งเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ และยังเป็นเครื่องมือในการจัดสรรการกู้เงินของภาครัฐไม่ให้เกิดภาวะกระจุกตัวในช่วงใดช่วงหนึ่งด้วย ถือเป็นวงเงินสำรองกู้เงินและให้รัฐวิสาหกิจมีทางเลือกในการกู้เงิน โดยกระทรวงการคลังจะค้ำประกันวงเงินแบบเต็มจำนวนหรือแบบบางส่วน เพื่อลดสัดส่วนของการค้ำประกัน เพื่อให้ภาระการค้ำประกันอยู่ในกรอบเพดานในแต่ละปี ที่กำหนดไว้เป็นสกุลเงินบาทไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รายงานข่าว กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะเสนอให้ที่ประชุมครม.เห็นชอบโครงการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศ หรือ ทรานสิต พาสเซนเจอร์ (Transit Passenger) เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาแวะที่สนามบินสุวรรณภูมิ สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่จัดไว้ให้ระหว่างรอการเปลี่ยนเครื่องได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้และสนับสนุนให้ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางหรือฮับการบินของเอเชีย