เอเอฟพี – ความปั่นป่วนผันผวนทางการเงินทั่วโลกในเวลานี้ อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย รุนแรงเสียยิ่งกว่าวิกฤตการณ์ระดับภูมิภาคเอเชียที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 1997-1998 ถึงแม้ว่าปัจจุบันสถานะทางการเงินในภูมิภาคนี้จะแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิมแล้วก็ตาม ทั้งนี้เป็นคำเตือนจากสมาคมของพวกแบงก์และสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ระดับโลก
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ซึ่งเป็นสมาคมของธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำของโลก ระบุว่า วิกฤตการณ์ปัจจุบันนั้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความต้องการสินค้าในตลาดโลก โดยทำให้ความต้องการดังกล่าวนี้ลดต่ำอย่างรุนแรง แล้วจึงส่งผลต่อการเติบโตของภูมิภาคนี้ ซึ่งต้องพึ่งพาการส่งออกอย่างมาก
รายงานฉบับนี้ของไอไอเอฟที่นำออกเผยแพร่ในกรุงวอชิงตันเมื่อวันอังคาร(27)ที่ผ่านมากล่าวว่า ภายใต้สภาพแวดล้อมปัจจุบัน ซึ่งผลผลิตทางอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้จะลดต่ำลง จะมีอัตราเร่งและมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤตการณ์การเงินเอเชียในช่วงปี 1997-98
“การตกต่ำของผลผลิตอุตสาหกรรมคราวนี้รุนแรงกว่าปี 1997-98 เนื่องจากความอ่อนแอของอุปสงค์ในตลาดคราวนี้ล้ำลึกกว่าคราวที่แล้ว เพราะอุปสงค์ลดต่ำลงทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคก็ชะลอตัวลงมาก” รายงานฉบับนี้ระบุ
ไอไอเอฟชี้ว่า จีนซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตรวดเร็วมาก ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้รุนแรงมากตามไปด้วย เมื่อเทียบกับช่วงปี 1997-98
ทั้งนี้ ไอไอเอฟจำแนก จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และประเทศไทย ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในภูมิภาคเอเชีย
วิกฤตการณ์ที่กำลังลุกลามอยู่ในปัจจุบัน ถูกจุดชนวนขึ้นโดยการล่มสลายของระบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ แล้วส่งผลกระทบให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวแผ่ขยายออกไปทั่วโลก สร้างความปั่นป่วนให้แก่ตลาดเงิน ทำให้การส่งออกชะลอตัวลง และทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะงักงัน
ระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐ อังกฤษ และญี่ปุ่น รวมทั้งกลุ่มประเทศยูโรโซน ดำดิ่งเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้ระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในภูมิภาคเอเชียต้องได้รับผลกระทบรุนแรงตามไปด้วย เนื่องจากประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งอาศัยการส่งออกเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ส่วนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเมื่อ 1 ทศวรรษก่อนนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการล่มสลายของระบบเงินท้องถิ่น สถาบันการเงินประสบปัญหาล้มละลายเนื่องจากนำเงินกู้สกุลต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูง มาปล่อยกู้สนับสนุนการลงทุนภายในประเทศ
รายงานของไอไอเอฟกล่าวว่า อุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนตัวลงในวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมของเอเชียได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินระดับภูมิภาคในช่วงปี 1997-98 แต่ปัจจุบันระบบการเงินภายในภูมิภาคเอเชียมีความแข็งแกร่งมากกว่าในอดีต สถาบันการเงินในภูมิภาคนี้จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ไอไอเอฟคาดการณ์ว่า วิกฤตการเงินโลกปัจจุบัน จะทำให้เงินทุนภาคเอกชนที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเฟื่งอฟูใหม่ในภูมิภาคเอเชียในปีนี้ ลดต่ำลงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเหลือเพียง 165,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากประมาณ 466,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2008 และ 929,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯที่เกิดขึ้นในปี 2007 ซึ่งกลายเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา
รายงานของไอไอเอฟคาดการณ์ด้วยว่า เงินทุนไหลเข้าที่ลดต่ำลง จะทำให้อัตราขยายตัวของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ของกลุ่มประเทศระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในเอเชียลดต่ำลงตามไปด้วย โดยคาดว่าในปี 2009 นี้จะมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยเพียง 1.1 เปอร์เซ็นต์ จากที่เคยมีอัตราขยายตัวสูงสุด 6.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี 2007
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ) ซึ่งเป็นสมาคมของธนาคารและสถาบันการเงินชั้นนำของโลก ระบุว่า วิกฤตการณ์ปัจจุบันนั้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความต้องการสินค้าในตลาดโลก โดยทำให้ความต้องการดังกล่าวนี้ลดต่ำอย่างรุนแรง แล้วจึงส่งผลต่อการเติบโตของภูมิภาคนี้ ซึ่งต้องพึ่งพาการส่งออกอย่างมาก
รายงานฉบับนี้ของไอไอเอฟที่นำออกเผยแพร่ในกรุงวอชิงตันเมื่อวันอังคาร(27)ที่ผ่านมากล่าวว่า ภายใต้สภาพแวดล้อมปัจจุบัน ซึ่งผลผลิตทางอุตสาหกรรมของภูมิภาคนี้จะลดต่ำลง จะมีอัตราเร่งและมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจยิ่งกว่าวิกฤตการณ์การเงินเอเชียในช่วงปี 1997-98
“การตกต่ำของผลผลิตอุตสาหกรรมคราวนี้รุนแรงกว่าปี 1997-98 เนื่องจากความอ่อนแอของอุปสงค์ในตลาดคราวนี้ล้ำลึกกว่าคราวที่แล้ว เพราะอุปสงค์ลดต่ำลงทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคก็ชะลอตัวลงมาก” รายงานฉบับนี้ระบุ
ไอไอเอฟชี้ว่า จีนซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตรวดเร็วมาก ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้รุนแรงมากตามไปด้วย เมื่อเทียบกับช่วงปี 1997-98
ทั้งนี้ ไอไอเอฟจำแนก จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และประเทศไทย ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในภูมิภาคเอเชีย
วิกฤตการณ์ที่กำลังลุกลามอยู่ในปัจจุบัน ถูกจุดชนวนขึ้นโดยการล่มสลายของระบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ แล้วส่งผลกระทบให้เกิดภาวะสินเชื่อตึงตัวแผ่ขยายออกไปทั่วโลก สร้างความปั่นป่วนให้แก่ตลาดเงิน ทำให้การส่งออกชะลอตัวลง และทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะงักงัน
ระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว อย่างเช่น สหรัฐ อังกฤษ และญี่ปุ่น รวมทั้งกลุ่มประเทศยูโรโซน ดำดิ่งเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้ระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในภูมิภาคเอเชียต้องได้รับผลกระทบรุนแรงตามไปด้วย เนื่องจากประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งอาศัยการส่งออกเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ส่วนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียเมื่อ 1 ทศวรรษก่อนนั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการล่มสลายของระบบเงินท้องถิ่น สถาบันการเงินประสบปัญหาล้มละลายเนื่องจากนำเงินกู้สกุลต่างประเทศที่มีความเสี่ยงสูง มาปล่อยกู้สนับสนุนการลงทุนภายในประเทศ
รายงานของไอไอเอฟกล่าวว่า อุปสงค์ในตลาดโลกที่อ่อนตัวลงในวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมของเอเชียได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินระดับภูมิภาคในช่วงปี 1997-98 แต่ปัจจุบันระบบการเงินภายในภูมิภาคเอเชียมีความแข็งแกร่งมากกว่าในอดีต สถาบันการเงินในภูมิภาคนี้จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
ไอไอเอฟคาดการณ์ว่า วิกฤตการเงินโลกปัจจุบัน จะทำให้เงินทุนภาคเอกชนที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเฟื่งอฟูใหม่ในภูมิภาคเอเชียในปีนี้ ลดต่ำลงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเหลือเพียง 165,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากประมาณ 466,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2008 และ 929,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯที่เกิดขึ้นในปี 2007 ซึ่งกลายเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา
รายงานของไอไอเอฟคาดการณ์ด้วยว่า เงินทุนไหลเข้าที่ลดต่ำลง จะทำให้อัตราขยายตัวของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ของกลุ่มประเทศระบบเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ในเอเชียลดต่ำลงตามไปด้วย โดยคาดว่าในปี 2009 นี้จะมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยเพียง 1.1 เปอร์เซ็นต์ จากที่เคยมีอัตราขยายตัวสูงสุด 6.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อปี 2007