เอเอฟพี – สถาบันการเงินระหว่างประเทศเตือน วิกฤตการเงินทั่วโลกในปัจจุบันอาจสร้างความเสียหายให้กับตลาดเงินเอเชียมากกว่าเมื่อครั้งวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเมื่อปี 1997-1998 แม้จะมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคมากขึ้นก็ตาม
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือไอไอเอฟ สมาคมบริษัทการเงินระดับแนวหน้าระบุในรายงาน ที่เผยแพร่ในวอชิงตันว่า การเติบโททางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากความต้องการสินค้าที่ตกลงฮวบฮาบทั่วโลก และทำให้การทรุดตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมยิ่งร้ายแรง และรวดเร็วกว่าเมื่อครั้งปี 1997-1998
รายงานดังกล่าวยังระบุว่า ความรุนแรงของภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวเนื่องจากปี 1997-1998 นี้เป็นผลมาจากการลดลงของอุปสงค์ทั้งภายใน และโดยเฉพาะภายนอกประเทศขยายวงกว้างมากขึ้นในขณะนี้ เช่นเดียวกับการเติบโตที่ชะลอตัว
ไอไอเอฟชี้ว่า สิ่งที่น่าจับตามองที่สุด คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของจีนส่งผลกระทบในวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบันมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในปี 1997-1998 โดยแบ่งตลาดเงินเอเชีย ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไทย
สำหรับวิกฤตการเงินปัจจุบัน ซึ่งปะทุขึ้นจากความล่มสลายของการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐฯ เป็นสาเหตุให้เกิดวิกฤตสินเชื่อทั่วโลก และส่งผลกระทบให้เกิดความสั่นคลอนทางการเงิน การส่งออกหดหู่ และยับยั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย
ส่วนเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น รวมถึงประเทศในยูโรโซน ต่างก็ตกอยู่ในภาวะถดถอย ทำให้การส่งออกสำคัญๆ ของเอเชียลดลง ซึ่งประเทศในเอเชียต้องพึ่งพาการส่งออกไปยังประเทศพัฒนาแล้วในการเจริญเติบโตทั้งหมดของประเทศ
ขณะที่ วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย เมื่อ 10 ปีก่อน มีสาเหตุมาจากการล่มสลายของระบบเงินตราในภูมิภาค และธนาคาร ซึ่งมาจากการให้เงินกู้ยืมเพื่อการลงทุน ซึ่งมักใช้เงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นความเสี่ยงอย่างมาก
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับวิกฤตเมื่อปี 1997-1998 คือภาพการเงินภายนอกประเทศสำหรับเอเชียยังคงค่อนข้างแข็งแกร่ง ไม่มีเงินสำรองแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในภูมิภาคที่ได้รับผลใหญ่โต และมีเพียงเกาหลีใต้ ประเทศเดียวที่ประสบภาวะตึงเครียดทางการเงินในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ คาดว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันจะตัดการไหลเงินทุนเอกชนไปยังตลาดใหม่ มากกว่า 60% ในปีนี้ โดยอาจเหลือเพียง 160,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากที่เคยกะไว้ประมาณ 466,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2008 และ 929,000 ดอลลาร์ในปีก่อนหน้านั้น
ส่วนในเอเชีย การไหลของเงินทุนจะเหลือเพียง 65,000 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ จาก 96,000 ล้านในปี 2008 และจาก 315,000 ล้านในปี ก่อนหน้านั้น