รอยเตอร์/เอเอฟพี – รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงเมื่อวานนี้(27) เปิดตัวโครงการใหม่ที่จะจัดสรรงบประมาณ 1.5 ล้านล้านเยน (ประมาณ16,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อใช้ในการซื้อหุ้นของบริษัทธุรกิจที่ประสบปัญหาอันเนื่องมาจากผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงิน นับเป็นมาตรการล่าสุดในการดำเนินความพยายามแก้ไขปัญหาตลาดสินเชื่อตึงตัว ซึ่งยังผลให้อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศขาดสภาพคล่องอย่างหนัก
ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เข้าซื้อหนี้ของบริษัทธุรกิจหลายแห่งเพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ขณะที่รัฐบาลก็ได้จัดตั้งกองทุนสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่รายได้จากการส่งออกที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วและความตึงตัวในตลาดสินเชื่อยังคงทำให้บริษัทอุตสาหกรรมหลายแห่งที่เป็นหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีปัญหาสภาพคล่องเป็นอย่างมาก
มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ภาคอุตสาหกรรมครั้งล่าสุดนี้ ทำให้ราคาหุ้นในตลาดโตเกียวดีดตัวสูงขึ้นทันที โดยดัชนีนิกเกอิปิดวานนี้พุ่งสูงขึ้น 4.9 เปอร์เซ็นต์ แต่ราคาพันธบัตรและค่าเงินเยนอ่อนตัวลง
โซอิชิโร มอนจิ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนของ ไดวา เอสบี อินเวสต์เมนท์ กล่าวว่า มาตรการล่าสุดของรัฐบาล เป็นสัญญาณบวกสำหรับตลาดหุ้น เนื่องจากจำนวนบริษัทธุรกิจที่ประสบปัญหาล้มละลายกำลังเพิ่มสูงขึ้น ครอบคลุมทุกภาคธุรกิจ ไม่เพียงแต่เฉพาะสถาบันการเงินเท่านั้น โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีปัญหาขาดสภาพคล่องค่อนข้างรุนแรง ความช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของบริษัทธุรกิจเหล่านั้น
สถานการณ์ในญี่ปุ่นไม่ได้แตกต่างจากในสหรัฐเท่าไรนัก วิกฤตการณ์แผ่ขยายออกไปจากภาคการเงินสู่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จนรัฐบาลต้องตัดสินใจเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลว่า ภาวะความตึงตัวของตลาดสินเชื่อทำให้ภาคธุรกิจอื่น ๆ ต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องตามไปด้วย
ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลญี่ปุ่นครั้งนี้ เชื่อกันว่าจะช่วยยืดลมหายใจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งจ้างแรงงานประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ ออกไปได้อีกระยะหนึ่ง
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นซัปพลายเออร์ให้แก่บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เมื่อการส่งออกหดตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฮเทค ผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศจึงลดต่ำลงอย่างรุนแรง ซัปพลายเออร์ส่วนใหญ่จึงได้รับผลกระทบรุนแรงตามไปด้วย
โตชิฮิโร นิไก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นแถลงว่า มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจเอกชนครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือบริษัทธุรกิจที่มีความสำคัญทั้งต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเองและในระดับภูมิภาค โดยไม่เลือกว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถิติการล้มละลายของบริษัทธุรกิจในญี่ปุ่นทะยานสูงขึ้นถึง 24 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และในจำนวนนี้มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รวมอยู่ด้วยถึง 33 แห่ง นับเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 60 ปี
คำแถลงของกระทรวงเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นระบุว่า งบประมาณ 1.5 ล้านล้านเยนนี้ จะจัดสรรผ่านสาขาธนาคารของรัฐเพื่อใช้ในการซื้อหุ้นของบริษัทธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่
บริษัทธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล จะต้องเสนอแผนฟื้นฟูกิจการให้กลับมามีกำไรภายในเวลา 3 ปี
**รัฐสภาผ่านงบประมาณกระตุ้นศก.**
เมื่อวานนี้ รัฐสภาญี่ปุ่นยังอนุมัติกฎหมายงบประมาณเพิ่มเติมมูลค่า 54,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งแผนการแจกเงินให้แก่ครัวเรือนต่างๆ เป็นจำนวน 22,000 ล้านดอลลาร์ ที่ก่อให้เกิดการถกเถียงขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
ร่างกฎหมายนี้ต้องค้างคาอยู่ในรัฐสภา 1 วัน สืบเนื่องจากการประลองกำลังกันระหว่าง รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ ซึ่งถึงแม้คะแนนนิยมจะหล่นวูบลงจนเหลือไม่ถึง 20% แล้วแต่ก็ยังคุมเสียงข้างมากในสภาล่างที่ทรงอำนาจมากกว่า กับพวกฝ่ายค้านที่คุมเสียงข้างมากในสภาสูง ทั้งนี้ฝ่ายค้านโจมตีมาตรการแจกเงินแก่ครัวเรือนว่า เป็นการใช้งบประมาณอย่างสูญเปล่า
ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เข้าซื้อหนี้ของบริษัทธุรกิจหลายแห่งเพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ขณะที่รัฐบาลก็ได้จัดตั้งกองทุนสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น แต่รายได้จากการส่งออกที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วและความตึงตัวในตลาดสินเชื่อยังคงทำให้บริษัทอุตสาหกรรมหลายแห่งที่เป็นหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีปัญหาสภาพคล่องเป็นอย่างมาก
มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ภาคอุตสาหกรรมครั้งล่าสุดนี้ ทำให้ราคาหุ้นในตลาดโตเกียวดีดตัวสูงขึ้นทันที โดยดัชนีนิกเกอิปิดวานนี้พุ่งสูงขึ้น 4.9 เปอร์เซ็นต์ แต่ราคาพันธบัตรและค่าเงินเยนอ่อนตัวลง
โซอิชิโร มอนจิ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนของ ไดวา เอสบี อินเวสต์เมนท์ กล่าวว่า มาตรการล่าสุดของรัฐบาล เป็นสัญญาณบวกสำหรับตลาดหุ้น เนื่องจากจำนวนบริษัทธุรกิจที่ประสบปัญหาล้มละลายกำลังเพิ่มสูงขึ้น ครอบคลุมทุกภาคธุรกิจ ไม่เพียงแต่เฉพาะสถาบันการเงินเท่านั้น โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีปัญหาขาดสภาพคล่องค่อนข้างรุนแรง ความช่วยเหลือจากรัฐบาลจึงมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของบริษัทธุรกิจเหล่านั้น
สถานการณ์ในญี่ปุ่นไม่ได้แตกต่างจากในสหรัฐเท่าไรนัก วิกฤตการณ์แผ่ขยายออกไปจากภาคการเงินสู่ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จนรัฐบาลต้องตัดสินใจเข้าแทรกแซงเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลว่า ภาวะความตึงตัวของตลาดสินเชื่อทำให้ภาคธุรกิจอื่น ๆ ต้องประสบปัญหาขาดสภาพคล่องตามไปด้วย
ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลญี่ปุ่นครั้งนี้ เชื่อกันว่าจะช่วยยืดลมหายใจให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งจ้างแรงงานประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังแรงงานทั้งประเทศ ออกไปได้อีกระยะหนึ่ง
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กของญี่ปุ่นส่วนมากจะเป็นซัปพลายเออร์ให้แก่บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เมื่อการส่งออกหดตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฮเทค ผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศจึงลดต่ำลงอย่างรุนแรง ซัปพลายเออร์ส่วนใหญ่จึงได้รับผลกระทบรุนแรงตามไปด้วย
โตชิฮิโร นิไก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นแถลงว่า มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องให้แก่ภาคธุรกิจเอกชนครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือบริษัทธุรกิจที่มีความสำคัญทั้งต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเองและในระดับภูมิภาค โดยไม่เลือกว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา สถิติการล้มละลายของบริษัทธุรกิจในญี่ปุ่นทะยานสูงขึ้นถึง 24 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และในจำนวนนี้มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์รวมอยู่ด้วยถึง 33 แห่ง นับเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 60 ปี
คำแถลงของกระทรวงเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นระบุว่า งบประมาณ 1.5 ล้านล้านเยนนี้ จะจัดสรรผ่านสาขาธนาคารของรัฐเพื่อใช้ในการซื้อหุ้นของบริษัทธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่
บริษัทธุรกิจที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล จะต้องเสนอแผนฟื้นฟูกิจการให้กลับมามีกำไรภายในเวลา 3 ปี
**รัฐสภาผ่านงบประมาณกระตุ้นศก.**
เมื่อวานนี้ รัฐสภาญี่ปุ่นยังอนุมัติกฎหมายงบประมาณเพิ่มเติมมูลค่า 54,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งแผนการแจกเงินให้แก่ครัวเรือนต่างๆ เป็นจำนวน 22,000 ล้านดอลลาร์ ที่ก่อให้เกิดการถกเถียงขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
ร่างกฎหมายนี้ต้องค้างคาอยู่ในรัฐสภา 1 วัน สืบเนื่องจากการประลองกำลังกันระหว่าง รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทาโร อาโซะ ซึ่งถึงแม้คะแนนนิยมจะหล่นวูบลงจนเหลือไม่ถึง 20% แล้วแต่ก็ยังคุมเสียงข้างมากในสภาล่างที่ทรงอำนาจมากกว่า กับพวกฝ่ายค้านที่คุมเสียงข้างมากในสภาสูง ทั้งนี้ฝ่ายค้านโจมตีมาตรการแจกเงินแก่ครัวเรือนว่า เป็นการใช้งบประมาณอย่างสูญเปล่า