องค์การ Freedom House เป็นองค์การเอกชน มีสำนักงานอยู่ที่นครนิวยอร์ก มีบทบาทด้านการศึกษาติดตามพัฒนาการของกระบวนการประชาธิปไตยในทุกประเทศว่ามีผลคืบหน้าถอยหลังประการใด ตลอดจนมีลักษณะของความเป็นสังคมประชาธิปไตยหรือไม่ โดยพิจารณาจากสองประเด็นหลักที่มีความสำคัญต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ ประเด็นด้านสิทธิทางการเมือง และด้านเสรีภาพของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ องค์การ Freedom House จะจัดทำรายงานประจำปี วิเคราะห์และประเมินความเป็นประชาธิปไตยของแต่ละประเทศอย่างละเอียดเปรียบเทียบกับพัฒนาการด้านประชาธิปไตยย้อนหลังกลับไป 1-2 ปี เพื่อชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้า/ถอยหลังของกระบวนการประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ (democratization or de-democratization) โดยมีการให้คะแนนสูงสุด 1 และต่ำสุด 7 ต่อแต่ละหัว
ข้อย่อยในทั้งสองประเด็นหลักดังกล่าว และในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศพม่านั้น รายงานของ Freedom House พ.ศ. 2552 ผลปรากฏออกมาแล้วว่า พม่าภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารพม่าสอบตกหมดในทุกหัวข้อในหมวดว่าด้วยสิทธิทางการเมือง และหมวดว่าด้วยเสรีภาพของพลเมือง (political rights and civil liberties) โดยได้รับคะแนนต่ำสุด 7 ในทั้งสองหมวดดังกล่าว
รายงานดังกล่าวยังได้ระบุชัดเจนว่า พม่าเป็นประเทศที่ปราศจากสิทธิเสรีภาพของพลเมือง อีกทั้งมีสถานะเป็นประเทศที่จัดอยู่ในหมู่ประเทศที่รัฐมีสมรรถภาพสูงและไม่เป็นประชาธิปไตย (High-capacity undemocratic) ซึ่งหมายความว่ารัฐพม่ามีสมรรถภาพสูงในการปราบปรามประชาชนหรือกลุ่มต่างๆ ที่ไม่สนับสนุนระบอบเผด็จการทหารพม่า ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะแสดงความเห็นอะไรได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากอำนาจรัฐ กลไกด้านความมั่นคงของรัฐมีอำนาจนอกกฎหมายอย่างกว้างขวาง ความเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหากมีขึ้นจะเป็นในลักษณะของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองในระดับสูง หรือไม่ก็เกิดจากการลุกฮือขึ้นมาต่อสู้ของมวลชนระดับล่าง (การปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มระบอบเผด็จการ)
พม่าไม่ใช่เพิ่งจะมาสอบตกในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยคราวนี้ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว พม่าสอบตกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เมื่อทหารพม่าภายใต้การนำของอดีตนายพลเนวินได้กระทำการรัฐประหารโค่นระบอบประชาธิปไตยที่มีนายอูนุเป็นนายกรัฐมนตรี และจากนั้นมาประเทศพม่าก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารมาโดยตลอดตราบจนทุกวันนี้
ความเป็นเผด็จการของทหารพม่าได้รับการตอกย้ำให้เห็นมาเป็นช่วงๆ ตลอด 46 ปีที่ผ่านมา ที่รุนแรงและทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิต ได้แก่ เหตุการณ์เมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2531 (มีประชาชนเสียชีวิตไปกว่า 3,000 คน จากการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของระบอบเผด็จการทหารพม่า) และล่าสุดเมื่อกันยายน พ.ศ. 2550 (เผด็จการทหารพม่าเข่นฆ่าพระสงฆ์และประชาชนที่ได้ร่วมกันต่อสู้ระบอบเผด็จการทหารพม่า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่ายกเลิกการขึ้นราคาน้ำมันก๊าด และให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนเพื่อปูพื้นฐานไปสู่กระบวนการประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในพม่า) ตลอดจนการที่ระบอบเผด็จการทหารพม่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงจนเป็นผลทำให้ประชาชนพม่าล้มตายไปกว่า 125,000 คน และสูญหายไปกว่า 56,000 คน จากเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิสกระหน่ำพม่า
และจากการที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าจงใจเตะถ่วง หน่วงเหนี่ยวไม่ยอมอนุญาตให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาในพม่า อันถือว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบของรัฐที่พึงมีต่อการปกป้องคุ้มครองประชาชนให้ปลอดจากภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เข้าข่ายการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักการว่าด้วยการเข้าแทรกแซงทางมนุษยธรรม (principle of humanitarian intervention) ตลอดจนหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐในการให้การพิทักษ์คุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากภัยอันตรายทุกด้าน (principle of responsibility to protect หรือ R2P) ซึ่งทั้งสองหลักการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมานานแล้ว แต่รัฐบาลทหารพม่ากลับไม่เคารพหลักการทั้งสองดังกล่าว
โดยอ้างและยืนกรานตามหลักการในกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยการไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในของประเทศสมาชิก (มาตรา 2 (7) ของกฎบัตรสหประชาชาติ) ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้วคำนิยามเกี่ยวกับหลักการเคารพอธิปไตยของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ได้รับการทบทวน ปรับปรุง และแก้ไขให้สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งสภาพการณ์ของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกหลังยุคสงครามเย็น
นั่นก็คือ ในยุคโลกาภิวัตน์ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ (ซึ่งรวมพม่าด้วย) ไม่สามารถนำเอาเรื่องของการเคารพอธิปไตยของแต่ละประเทศสมาชิกมาเป็นข้ออ้างเพื่อมาบดบังการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและอย่างกว้างขวางได้อีกต่อไป ทั้งนี้ คำนิยามของคำว่าอธิปไตยในยุคโลกาภิวัตน์ยังหมายถึงความรับผิดของรัฐที่พึงมีต่อประชาชนอีกด้วย ไม่ถูกจำกัดความหมายเป็นเพียงแต่เรื่องของการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนระหว่างกันเท่านั้น (ดังเช่นในยุค 50 ปี ของสงครามเย็นที่ผ่านมา)
ดังนั้นการนำเอาเรื่องอธิปไตยของรัฐมาเป็นเกราะกำบังปกป้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมโหฬารจึงไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศอีกต่อไป (รายละเอียดของประเด็นนี้โปรดดูได้จากบทความของผู้เขียนในหัวข้อ “หลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐในการให้การพิทักษ์คุ้มครองประชาชนให้ปลอดจากภัยอันตราย : กรณีศึกษาจากพายุไซโคลนนาร์กิสถล่มพม่า” เสนอต่อที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 1275-1281 เล่ม 2)
ในบรรดาประเทศสมาชิกองค์การอาเซียน ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศพม่ายาวที่สุดถึง 2,401 กิโลเมตร และเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบในทางลบโดยตรงในทุกด้านจากพม่ามากที่สุด (อาทิ ปัญหาผู้อพยพที่ถูกรัฐบาลทหารพม่าปราบปรามอย่างรุนแรงทุกฤดูร้อน และหนีเข้ามาพึ่งความปลอดภัยในไทย ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายกว่า 3 ล้านคน ปัญหาโรคเอดส์ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาจากผู้อพยพและแรงงานผิดกฎหมาย ปัญหาการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติดที่ทะลักมาจากฝั่งพม่า โดยเผ่าว้าแดงเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายลักลอบเข้ามาในเขตไทย)
ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยอย่างกว้างขวางและอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ไม่ว่าจะในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปอย่างไม่มีวี่แววว่าจะเบาบางหมดสิ้นเมื่อใด ตราบใดที่รัฐบาลไทยยินดีและยินยอมเอาเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยที่มีกับพม่าไปผูกมัดกับผลประโยชน์ด้านความมั่นคงและความอยู่รอดของระบอบเผด็จการของทหารพม่า (ไม่ใช่ความมั่นคงและความอยู่รอดของประเทศและประชาชนพม่า)
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตราบใดที่รัฐบาลไทยยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ออกจากเรื่องของความมั่นคงของระบอบเผด็จการทหารพม่า และยังยินดี ยินยอมสนับสนุนระบอบเผด็จการทหารพม่าให้อยู่ในอำนาจต่อไปเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยจะได้จากพม่า แทนที่จะทำการแยกแยะให้เรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เป็นเรื่องของการแยกธุรกรรมออกจากกัน ไม่นำมาเชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองและความมั่นคง ตราบนั้นไทยก็จำต้องประสบกับปัญหาในทุกๆ ด้านดังกล่าวข้างต้นต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
อีกทั้งเป็นการส่งสัญญาณผิด ทำให้ระบอบเผด็จการทหารพม่าเข้าใจว่าฝ่ายไทยยินดีและยินยอมให้ฝ่ายพม่านำเรื่องความมั่นคงของระบอบเผด็จการทหารพม่ามาเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของไทยที่มีในพม่า เป็นผลทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยที่มีในพม่าตกเป็นตัวประกันให้กับความอยู่รอดและความมั่นคงของระบอบเผด็จการทหารพม่า ซึ่งก็เป็นเช่นนี้ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ไทย-พม่า จึงเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ปราศจากความเท่าเทียมระหว่างกัน ไทยตกเป็นเบี้ยล่างและเป็นฝ่ายเสียเปรียบมาโดยตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
ฝ่ายนักการเมือง พรรคการเมือง และพ่อค้าบางกลุ่มบางพวกเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ประเทศและประชาชนชาวไทยได้รับความเสียหายทุกด้านจากลักษณะของความสัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างไทยกับพม่าที่ฝ่ายพม่าเป็นฝ่ายมีอิทธิพลกำหนดรูปแบบ เนื้อหาและทิศทางของความสัมพันธ์ไทย-พม่า โดยฝ่ายไทยยินยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลชี้นำของระบอบเผด็จการทหารพม่าเพียงเพื่อหวังแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากพม่า อันเป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ผิดปกติมาก
ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ทุกอย่างจะก้าวหน้า ยังประโยชน์ให้แก่ฝ่ายไทยได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่โดยตรงกับการที่ไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขของฝ่ายพม่าเป็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับความปรานี ความพอใจของระบอบเผด็จการทหารพม่าเป็นสำคัญ ที่เป็นเช่นนี้มาโดยส่วนใหญ่เป็นเพราะรัฐบาลไทยหลายยุค (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของอดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช) ล้วนมองความสัมพันธ์ไทย-พม่า ว่ามีเพียงมิติด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของพรรคและพวกเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ความจริงในประเด็นนี้ได้รับการพิสูจน์ยืนยันอย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นจากนโยบาย พฤติกรรม และการดำเนินการของรัฐบาลพล.ต.ชาติชาย พลเอกชวลิต นายบรรหาร พ.ต.ท.ทักษิณ และนายสมัคร ที่ล้วนยินดีสวมบทบาทเป็นทนายแก้ต่างให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่าอย่างออกหน้าออกตาอย่างไร้ศักดิ์ศรี ไร้จริยธรรม ไร้คุณธรรม ทั้งหมดนี้เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ตน พรรคและพวกหวังได้รับจากฝ่ายเผด็จการทหารพม่า โดยปราศจากการคำนึงถึงผลเสียหายต่อความมั่นคง ภาพลักษณ์ ภาพพจน์
และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในเวทีประชาคมโลก ตลอดจนภาระหนักหน่วงในด้านต่างๆ ที่ประเทศและประชาชนไทยจำต้องแบกมาตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมา (รายละเอียดในเรื่องนี้โปรดดูจากบทความของผู้เขียน “ไทย-อาเซียน และปัญหาพม่า” มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22-28 เมษายน วันที่ 29 เมษายน – 6 พฤษภาคม และวันที่ 6-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ตลอดจนบทความของผู้เขียนในหนังสือ “การทูต การเมือง ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว” หน้า 23-24)
I นโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน 2
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย (ยุค 2) เป็นรัฐบาลเดียวที่ได้พยายามทบทวนปรับปรุงแก้ไขนโยบายต่างประเทศไทยที่มีต่อพม่าอย่างจริงจังและอย่างเป็นรูปธรรม และผลจากการดำเนินการดังกล่าวได้ทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือที่ดี เป็นที่ชื่นชมยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยของไทย เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน เรื่องของการเคารพหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ต่างได้รับการสรรเสริญยกย่องจากนานาอารยประเทศ โดยประเทศไทยได้รับการสนับสนุนให้เป็นตัวอย่างที่ดีที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนพึงยึดเป็นรูปแบบ นับว่านโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่าที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับประเพณี ค่านิยมประชาธิปไตยของไทย และผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของไทยอย่างแท้จริง (ไม่ใช่แค่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น)
และบทบาทสำคัญของไทยในเวทีระหว่างประเทศเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพในโลก เช่น การร่วมมือกับสหประชาชาติส่งกองกำลังทหารไทยไปเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาสันติภาพภายใต้ธงของสหประชาชาติในประเทศติมอร์ตะวันออก เหล่านี้ล้วนเป็นการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาดและส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในประชาคมโลก ตลอดจนเป็นการปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้รับการยกย่องนับถือจากประชาคมระหว่างประเทศ
ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศไทยต่อพม่าในยุคของรัฐบาลชวน (2) ที่มีผลอย่างเป็นรูปธรรมและทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับนับถือจากประชาคมระหว่างประเทศว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง และเป็นประเทศที่ใฝ่สันติ ส่งเสริมสันติภาพโลก และความร่วมมือในภูมิภาค ตลอดจนเคารพและส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พอสรุปสาระสำคัญได้ว่าเป็นเพราะมีนโยบายที่ยึดเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติอย่างแท้จริง โดยมีเหตุผลสำคัญดังนี้
1) เป็นนโยบายต่อพม่าที่ตระหนักดีว่าผลกระทบร้ายแรงในทุกด้านที่ไทยต้องประสบตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีสาเหตุโดยตรงมาจากการที่รากเหง้าของปัญหาในพม่า (เช่น ระบอบการเมืองการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เอื้ออาทรต่อประชาชนพม่า) ยังหาได้รับการแก้ไขไม่ ตรงกันข้ามกลับได้รับการซ้ำเติมให้เลวร้ายกว่าเดิมมาตลอด โดยฝ่ายระบอบเผด็จการทหารพม่า อีกทั้งตระหนักดีด้วยว่า หากระบบการเมืองในพม่ายังคงปราศจากกระบวนการประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรม ประเทศไทยก็ยังจะต้องได้รับผลกระทบร้ายแรงที่มีสาเหตุโดยตรงจากวิกฤตร้ายแรงทางการเมืองและเศรษฐกิจในพม่า
2) เป็นนโยบายต่างประเทศที่ศึกษาและมองปัญหาวิกฤตการณ์ร้ายแรงในพม่าจากบริบทและเหตุการณ์ที่เป็นจริง (ไม่ใช่จากความเชื่อหรือจากการสมมติเอาเองว่าเป็นจริงเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของพรรคและพวกอย่างเช่น สมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พล.ต.ชาติชาย พลเอกชวลิต นายบรรหาร พ.ต.ท.ทักษิณ นายสมัคร เป็นอาทิ) โดยสามารถทำความเข้าใจได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ (หรือยุคหลังสงครามเย็น) ว่ามีมิติหลายด้านมาก ทั้งยอมรับว่าประเด็นเรื่องของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม ล้วนเป็นค่านิยมสากลที่ได้รับการยอมรับ สนับสนุน และส่งเสริมจากเหล่าอารยประเทศของประชาคมโลก
3) เป็นนโยบายต่อพม่าที่ตระหนักดีว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตลอดจนข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติทุกปีที่ประณาม ตำหนิและเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าหาทางเจรจากับฝ่ายค้านเพื่อยุติปัญหาขัดแย้งระหว่างกันโดยสันติวิธี และเพื่อเร่งให้พม่ามีพัฒนาการที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ตอกย้ำและบ่งชี้ชัดว่าประชาคมโลกมองปัญหาในพม่าว่าไม่ใช่เป็นเรื่องภายในของพม่าเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระหว่างประเทศด้วย เพราะมีเรื่องของการละเมิดหลักการที่เป็นสากลอย่างต่อเนื่อง ร้ายแรง และกว้างขวาง เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน การละเมิดหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม โดยฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
4) เป็นนโยบายต่อพม่าที่ตระหนักดีว่าการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ต้องเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเป็นมิตรและมีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่สร้างปัญหาให้กัน ตลอดจนเป็นความสัมพันธ์ที่มีหลายมิติ ไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่มิติด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หรือมีการตั้งเงื่อนไข หรือข่มขู่กัน (อย่างที่ระบอบเผด็จการทหารพม่าได้ใช้วิธีการนี้กับรัฐบาลไทยและพ่อค้าที่มักง่ายและตะกละตะกลามอย่างได้ผลในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา)
5) เป็นนโยบายต่อพม่าที่รู้แจ้งเห็นจริงโดยตลอดว่ามีทางเดียวที่ประเทศไทยจะสามารถพิทักษ์รักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ด้านต่างๆ ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลไทยไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการทหารพม่า ไม่ยอมตกเป็นตัวประกันให้กับความมั่นคง และความอยู่รอดของระบอบเผด็จการทหารพม่า ต้องประกาศจุดยืนและค่านิยมทางการเมืองของไทยออกมาอย่างแจ้งชัด ในประเด็นสำคัญนี้เห็นได้ชัดว่า ตลอดระยะเวลาของการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย ทั้งสองสมัย นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ไม่เคยไปเยือนพม่าแม้แต่ครั้งเดียว
รัฐบาลชวน (2) ประสบผลสำเร็จในการปกป้องรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติในทุกด้านไว้ได้ เพราะมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นที่จะดำเนินความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศพม่าโดยยึดเหตุผลแห่งนโยบายทั้ง 5 ข้อ ข้างต้น ไม่ยอมให้ผลประโยชน์คับแคบของบางกลุ่มบางพวกมาอยู่เหนือผลประโยชน์แห่งชาติ ทั้งนี้ ความสำเร็จของนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) อยู่ที่ยุทธศาสตร์การเมืองที่สำคัญยิ่งสองประการ
ก) ประเทศไทยจะไม่ยินยอมให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าใช้องค์การอาเซียนเป็นเครื่องมือค้ำจุนปกป้องระบอบเผด็จการทหารพม่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไทยจะไม่ยินยอมให้ระบอบเผด็จการทหารพม่าทำปัญหาพม่าให้กลายมาเป็นเป็นปัญหาของอาเซียนด้วย (ASEANIZED Myanmar Problems) รวมทั้งไม่ยินยอมให้พม่าหรือประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่งประเทศใดใช้ชื่อขององค์การอาเซียนทำหน้าที่เป็นทนายแก้ต่างให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่า
หากมีประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศใดต้องการปกป้องคุ้มครองระบอบเผด็จการทหารพม่าในเรื่องที่ประชาคมโลกประณามระบอบเผด็จการทหารพม่า สามารถกระทำได้โดยเอกเทศ แต่ไม่สามารถอ้างว่ากระทำในนามของอาเซียน ชื่อศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิขององค์การอาเซียนต้องไม่ถูกแปดเปื้อนจากคราบเลือดของระบอบเผด็จการทหารพม่าที่ประชาคมโลกประณามการกระทำตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ข) เพื่อการหลุดพ้นจากการตกเป็นเครื่องมือและตัวประกันให้กับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ประเทศไทยจำต้องปฏิเสธไม่ยินยอมให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าทำการเชื่อมโยงหรือผูกมัดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยที่มีในพม่าไว้กับความมั่นคง และความอยู่รอดของระบอบเผด็จการทหารพม่า เพราะหากฝ่ายไทยยินยอมให้มีการเชื่อมโยงดังกล่าว ก็เท่ากับนโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่าขาดความเป็นอิสระ ไม่เป็นนโยบายต่างประเทศที่จะสามารถดูแลปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติได้อย่างแท้จริง
อีกทั้งจะเป็นการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบอบเผด็จการทหารพม่ามีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ต่อไป โดยไม่ดำเนินการให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรม เป็นผลทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาหลายด้านที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคงของไทยอย่างหนักหน่วงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้ เพราะระบอบเผด็จการทหารพม่าคือรากเหง้าของปัญหา บ่อเกิดของวิกฤตร้ายแรงในพม่าเสมอมา ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อไทยมาโดยตลอด 45 ปี ของระบอบเผด็จการทหารพม่า
II นโยบายต่อพม่าของรัฐบาลอภิสิทธิ์
นโยบายต่อพม่าของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นประการใดนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน แต่หากศึกษาพิจารณาจากคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 พอจะกล่าวในเบื้องต้นได้ว่า เนื้อหาของคำให้สัมภาษณ์เป็นการบ่งบอกให้เห็นได้ว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ มีความเข้าใจ ยอมรับและเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นต้องสานต่อจากนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) บนพื้นฐานของเหตุผลแห่งนโยบาย (ข้อ 1-5 ข้างต้น) และของยุทธศาสตร์การเมือง (ข้อ ก. และ ข. ข้างต้น)
เพราะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) แม้จะเป็นเวลาเพียง 2 ปี แต่ก็ประสบผลสำเร็จที่สำคัญที่เป็นรูปธรรมและสามารถปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในทุกด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นผลทำให้ฐานะของประเทศไทยได้รับการยกย่องชื่นชมจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ยึดหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ตลอดจนเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนในสายตาของประชาคมระหว่างประเทศถือว่าดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียน จนทำให้ประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนให้ประเทศไทยในยุคของรัฐบาลชวน (2) เป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนพึงยึดถือเป็นแบบอย่าง แต่ภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือที่ดีงามดังกล่าวได้ถูกทำลายลบล้างจนหมดสิ้นจากการขึ้นมามีอำนาจการเมืองแบบผูกขาดของระบอบทักษิณ
ผลสำเร็จของนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) สามารถยกเลิกและตัดความเชื่อมโยง (de-link) ระหว่างความมั่นคงและความอยู่รอดของระบอบเผด็จการทหารพม่ากับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยมีกับพม่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐบาลชวน (2) ปฏิเสธการสนับสนุนระบอบเผด็จการทหารพม่า เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยต้องการจากพม่า กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ประเทศไทยไม่ต้องการให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยตกเป็นตัวประกันให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่า แม้ฝ่ายพม่าจะพยายามขู่ไทยด้วยการปิดชายแดนและใช้นโยบายยุแยงตะแคงรั่วให้เกิดความแตกแยกในสังคม-การเมืองไทย ใช้นักการเมืองและพ่อค้าไทยที่มีผลประโยชน์ร่วมกับระบอบเผด็จการทหารพม่ามากดดันรัฐบาลชวน (2) ให้ยอมจำนนต่อความประสงค์ของฝ่ายพม่าก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะรัฐบาลชวน (2) ไม่หวั่นไหวต่อการข่มขู่กดดันทางการเมืองดังกล่าว
2) สามารถปฏิเสธ คัดค้านและป้องกันมิให้ระบอบเผด็จการทหารพม่าใช้อาเซียนเป็นเครื่องมือทำหน้าที่เป็นทนายแก้ต่าง ปกป้องพม่าในเรื่องต่างๆ ที่ประชาคมโลกประณามพม่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไทยประสบผลสำเร็จในการป้องกันมิให้เผด็จการทหารพม่าทำปัญหาและวิกฤตการณ์ร้ายแรงทางการเมืองและเศรษฐกิจของพม่า กลายมาเป็นปัญหาร้ายแรงของอาเซียน เพื่อหวังให้อาเซียนเข้ามาช่วยเป็นทนายแก้ต่างและตอบโต้ประชาคมโลกแทนพม่า (ASEANIZED Myanmar Problems) ทั้งๆ ที่องค์การอาเซียนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลยกับการเข่นฆ่าประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ตลอดจนการเหยียบย่ำทำลายหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรมในพม่า โดยฝ่ายเผด็จการทหารพม่าตลอด 45 ปีที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าก็ยังพยายามที่จะให้มือของอาเซียนแปดเปื้อนด้วยเลือดเช่นกัน แต่พม่าก็ไม่ประสบผล เพราะรัฐบาลไทย (รัฐบาลชวน (2)) ไม่หวั่นไหวและหนักแน่นยืนกรานไม่ให้ฝ่ายพม่าใช้องค์การอาเซียนเป็นเกราะกำบังให้พม่า
และจากการมีนโยบายและจุดยืนแน่ชัดของไทยในประเด็นนี้ เป็นผลให้พม่าถูกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คว่ำบาตรอย่างเป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรกตั้งแต่ประเทศพม่าเข้าเป็นสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ การที่ ILO มีมาตรการลงโทษพม่า เป็นเพราะรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงมาเป็นเวลาหลาย 10 ปี ในเรื่องของการใช้แรงงาน ทาส แรงงานเด็กและสตรี เพื่อจุดประสงค์ทางการทหาร เป็นผลทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนหลายพันคน จากการเหยียบกับระเบิดและจากการทรมานทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยฝีมือของทหารพม่า
3) สามารถทำให้พม่าหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการมีความสัมพันธ์ที่ดีที่ปกติระหว่างพม่ากับไทย บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และไม่สร้างปัญหาให้กันและกัน เลิกใช้วิธีการข่มขู่และแทรกแซงในกิจการภายในระหว่างกัน ไม่เข้ามาก้าวก่ายยุแยงตะแคงรั่วให้เกิดความแตกแยกในสังคมการเมืองของไทย ด้วยวิธีการยื่นผลประโยชน์ให้กับนักการเมือง นักธุรกิจ และข้าราชการไทย เพื่อหวังให้มากดดันรัฐบาลไทยให้ดำเนินการตามความประสงค์ของฝ่ายพม่า (ตามที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าเคยประสบผลสำเร็จมาหลายครั้งกับรัฐบาลไทยหลายรัฐบาลก่อนหน้ารัฐบาลชวน (2))
จึงสรุปได้ว่านโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) ถือได้ว่าเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สามารถปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในทุกด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ตลอดจนเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าที่สามารถเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นได้อย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นว่า ปัญหาทุกด้านที่ประเทศไทยต้องประสบมาตลอด 45 ปี จากเหตุการณ์ในพม่า และได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคงในทุกด้านของไทย ล้วนมีสาเหตุมาจากรากเหง้าของปัญหา นั่นคือ ระบอบเผด็จการทหารพม่าที่ไม่เอื้ออาทรต่อประชาชนพม่า และไม่มีความเป็นประชาธิปไตยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะในรูปแบบและเนื้อหา
III ข้อเสนอ
หากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์พิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบ และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับที่มาและเหตุผลแห่งนโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) ดังได้สรุปสารัตถะสำคัญทั้งหมดไว้ให้แล้วข้างต้น รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ก็ย่อมจะเห็นได้เองถึงความสำคัญและความจำเป็นที่พึงมีการสานต่อจากนโยบายต่อพม่าสมัยรัฐบาลชวน (2) และเนื่องจากรากเหง้าของปัญหาพม่ายังคงเหมือนเดิม กล่าวคือ ระบอบเผด็จการทหารพม่ายังคงมีนโยบาย ท่าที และพฤติกรรมต่อประชาชนพม่าเหมือนอย่างที่เป็นมาตลอด 45 ปีที่ผ่านมา
นโยบายของไทยต่อพม่ายังจำเป็นต้องคงไว้อย่างเดิม (ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองแห่งชาติอย่างเป็นขั้นตอน เป็นรูปธรรม และโดยสันติวิธี) แต่เนื่องจากในห้วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดวิกฤตร้ายแรงถึงสองครั้งในพม่า (การเข่นฆ่าพระสงฆ์และประชาชนพม่า เมื่อกันยายน 2550 และการที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าหน่วงเหนี่ยวเตะถ่วงการรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากประชาคมระหว่างประเทศในกรณีพายุไซโคลนนาร์กิสกระหน่ำพม่า เมื่อพฤษภาคม 2551 เป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 125,000 คน และสูญหายกว่า 56,000 คน)
ตลอดจนนโยบายและท่าทีของประชาคมระหว่างประเทศที่ได้หันมาสนใจปัญหาพม่ามากขึ้น พร้อมทั้งประณามความไร้มนุษยธรรมของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า จึงมีความจำเป็นที่ไทยต้องปรับ/เปลี่ยนยุทธศาสตร์ของไทยต่อพม่า เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สอดคล้องกับบริบท เงื่อนไข และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา
สำหรับการพิจารณาปรับ/เปลี่ยนยุทธศาสตร์ของไทยต่อปัญหาพม่านั้น ในชั้นนี้มีความจำเป็นต้องพิจารณาและตระหนักให้ดีในข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1) ปัจจุบันประชาคมระหว่างประเทศมีท่าทีร่วมกันที่เป็นเอกภาพใน 4 เรื่อง
1.1 ประณามการที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าใช้ความรุนแรงต่อประชาชน
1.2 ร่วมกันเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาขัดแย้งโดยสันติวิธี เพื่อนำไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองภายในพม่า ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าหันมาเจรจากับฝ่ายค้านแทนการปราบปรามรุนแรง
1.3 สนับสนุนบทบาทหลักของสหประชาชาติในการช่วยผลักดันให้เกิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
1.4 เห็นร่วมกันว่าปัญหาพม่าไม่ใช่เรื่องภายในของพม่าเท่านั้น แต่มีมิติด้านระหว่างประเทศรวมอยู่ด้วย (อาทิ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ปัญหาการไม่เคารพและทำลายหลักนิติธรรม เป็นต้น)
2) เพื่อมิให้ฝ่ายพม่ามีพื้นที่มากที่จะสามารถหลบเลี่ยงความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประชาชนพม่าและต่อประชาคมโลก ในฐานะเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติที่จำต้องเคารพปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสัญญาและอนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จำเป็นที่จะต้องตีกรอบเพื่อจำกัดพื้นที่ ไม่เปิดโอกาสให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ามีไพ่หลายสำรับให้เล่น (เช่น ไพ่จีน ไพ่อินเดีย ไพ่รัสเซีย เป็นต้น) และด้วยเหตุผลสำคัญที่องค์การสหประชาชาติไม่มีผลประโยชน์อะไรกับพม่า หรือมีความขัดแย้งอะไรกับพม่า แต่จะมีความเป็นกลางในเรื่องของความขัดแย้งในพม่า จึงเป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศให้เข้ามามีบทบาทหลักโดยตรงในการผลักดันให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองแห่งชาติขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในพม่า
ดังนั้นทั้งอาเซียนและประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จึงเห็นชอบร่วมกันที่จะบีบให้พม่าเล่นไพ่จากสำรับเดียวคือ สำรับของสหประชาชาติ เพื่อให้การแก้ปัญหาพม่าจำกัดอยู่ในกรอบของสหประชาชาติเป็นสำคัญ
3) ด้วยเหตุผลสำคัญที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทางลบ และแบกภาระมากที่สุดจากปัญหาร้ายแรงในพม่าตลอด 45 ปีที่ผ่านมา (เช่น ปัญหาผู้อพยพ ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลไทยจำต้องให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ (สหประชาชาติ) อย่างใกล้ชิดและอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียกร้องให้สหประชาชาติใช้มาตรการทางการเมืองและการทูตโน้มน้าว กดดันให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นในพม่าอย่างเป็นรูปธรรม เป็นขั้นตอน ชัดเจน และอย่างสันติวิธี
และเพื่อตอกย้ำให้ฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้สังวรไว้ด้วยว่า แนวคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐนั้น ในยุคโลกาภิวัตน์มิได้มีความหมายเพียงเรื่องของการไม่แทรกแซงในกิจการภายในระหว่างประเทศเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงเรื่องของความรับผิดชอบที่รัฐพึงมีต่อประชาชนอีกด้วย ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่ฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนตลอด 45 ปีที่ผ่านมา และอ้างหลักการเรื่องอธิปไตยของรัฐมาเป็นเกราะคุ้มกันเพื่อหวังว่าประชาคมระหว่างประเทศจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายแรงในพม่า เป็นเรื่องที่ประชาคมระหว่างประเทศไม่อาจยอมรับได้
4) เหตุการณ์ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ได้เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งแล้วว่า ไทยไม่สามารถพึ่งความร่วมมือจากองค์การอาเซียนได้ในกรณีที่เกี่ยวกับผลกระทบร้ายแรงทุกด้านที่ไทยได้รับที่มีสาเหตุมาจากระบบการเมืองพม่าที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่เอื้ออาทรต่อประชาชนพม่า ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญ เป็นเพราะว่าองค์การอาเซียนไม่เคยมีนโยบายร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาพม่า (ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนหรือหลังพม่าเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว)
ความแตกต่างอย่างมากของระบอบการเมือง ค่านิยมและวัฒนธรรมทางการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนการที่แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนต่างมีผลประโยชน์กับพม่าที่แตกต่างกัน รวมทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาในพม่าที่ต่างกันมาก อีกทั้งการที่อาเซียนยึดมั่นในหลักการเรื่องการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของแต่ละประเทศ เสมือนเป็นคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ โดยมองข้ามความจริง ข้อเท็จจริง และผลกระทบต่อภูมิภาคต่อภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือขององค์การอาเซียน ล้วนเป็นสิ่งยืนยันให้ประเทศไทยเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพึ่งความร่วมมือและความสนับสนุนจากเวทีประชาคมระหว่างประเทศ (สหประชาชาติ) ควบคู่ไปกับการดำเนินการทางการทูตระดับทวิภาคีโดยตรงกับพม่า และกับประเทศ กลุ่มประเทศต่างๆ ที่ต้องการเห็นกระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในพม่า
5) ความมั่นคงและผลประโยชน์ทุกด้านของประเทศไทยจักได้รับการปกป้องและส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ก็ต่อเมื่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปอย่างรอบด้าน มิใช่จำกัดอยู่เพียงแต่มิติด้านเศรษฐกิจเท่านั้น เพราะหากถูกจำกัดอยู่เพียงด้านเศรษฐกิจ ก็จะมีผลทำให้ไทยตกเป็นตัวประกันให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่าอีกต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไทยยอมให้พม่าเอาเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยอยากได้จากพม่ามาเป็นเครื่องต่อรองเพื่อให้ฝ่ายไทยตอบสนองผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของพม่าเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
สรุป
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จักสามารถปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีศักดิ์ศรีของความเป็นไทยได้อย่างเป็นผลสำเร็จ หากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์มีนโยบายต่อพม่าที่เป็นการสานต่อจากนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) โดยยึดหลักการและเหตุผลแห่งนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) ดังกล่าวไว้แล้วทั้งหมดข้างต้น (ข้อ I) และพิจารณาปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์ในระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยศึกษาพิจารณาจากรายละเอียดปรากฏในข้อ II และข้อ III ข้างต้น
ข้อย่อยในทั้งสองประเด็นหลักดังกล่าว และในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศพม่านั้น รายงานของ Freedom House พ.ศ. 2552 ผลปรากฏออกมาแล้วว่า พม่าภายใต้การปกครองของระบอบเผด็จการทหารพม่าสอบตกหมดในทุกหัวข้อในหมวดว่าด้วยสิทธิทางการเมือง และหมวดว่าด้วยเสรีภาพของพลเมือง (political rights and civil liberties) โดยได้รับคะแนนต่ำสุด 7 ในทั้งสองหมวดดังกล่าว
รายงานดังกล่าวยังได้ระบุชัดเจนว่า พม่าเป็นประเทศที่ปราศจากสิทธิเสรีภาพของพลเมือง อีกทั้งมีสถานะเป็นประเทศที่จัดอยู่ในหมู่ประเทศที่รัฐมีสมรรถภาพสูงและไม่เป็นประชาธิปไตย (High-capacity undemocratic) ซึ่งหมายความว่ารัฐพม่ามีสมรรถภาพสูงในการปราบปรามประชาชนหรือกลุ่มต่างๆ ที่ไม่สนับสนุนระบอบเผด็จการทหารพม่า ประชาชนไม่มีสิทธิที่จะแสดงความเห็นอะไรได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากอำนาจรัฐ กลไกด้านความมั่นคงของรัฐมีอำนาจนอกกฎหมายอย่างกว้างขวาง ความเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองหากมีขึ้นจะเป็นในลักษณะของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองในระดับสูง หรือไม่ก็เกิดจากการลุกฮือขึ้นมาต่อสู้ของมวลชนระดับล่าง (การปฏิวัติของประชาชนเพื่อโค่นล้มระบอบเผด็จการ)
พม่าไม่ใช่เพิ่งจะมาสอบตกในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยคราวนี้ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว พม่าสอบตกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เมื่อทหารพม่าภายใต้การนำของอดีตนายพลเนวินได้กระทำการรัฐประหารโค่นระบอบประชาธิปไตยที่มีนายอูนุเป็นนายกรัฐมนตรี และจากนั้นมาประเทศพม่าก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารมาโดยตลอดตราบจนทุกวันนี้
ความเป็นเผด็จการของทหารพม่าได้รับการตอกย้ำให้เห็นมาเป็นช่วงๆ ตลอด 46 ปีที่ผ่านมา ที่รุนแรงและทำให้ประชาชนต้องเสียชีวิต ได้แก่ เหตุการณ์เมื่อสิงหาคม พ.ศ. 2531 (มีประชาชนเสียชีวิตไปกว่า 3,000 คน จากการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของระบอบเผด็จการทหารพม่า) และล่าสุดเมื่อกันยายน พ.ศ. 2550 (เผด็จการทหารพม่าเข่นฆ่าพระสงฆ์และประชาชนที่ได้ร่วมกันต่อสู้ระบอบเผด็จการทหารพม่า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่ายกเลิกการขึ้นราคาน้ำมันก๊าด และให้สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนเพื่อปูพื้นฐานไปสู่กระบวนการประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในพม่า) ตลอดจนการที่ระบอบเผด็จการทหารพม่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงจนเป็นผลทำให้ประชาชนพม่าล้มตายไปกว่า 125,000 คน และสูญหายไปกว่า 56,000 คน จากเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิสกระหน่ำพม่า
และจากการที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าจงใจเตะถ่วง หน่วงเหนี่ยวไม่ยอมอนุญาตให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากประชาคมระหว่างประเทศเข้ามาในพม่า อันถือว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบของรัฐที่พึงมีต่อการปกป้องคุ้มครองประชาชนให้ปลอดจากภัยอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เข้าข่ายการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและหลักการว่าด้วยการเข้าแทรกแซงทางมนุษยธรรม (principle of humanitarian intervention) ตลอดจนหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐในการให้การพิทักษ์คุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากภัยอันตรายทุกด้าน (principle of responsibility to protect หรือ R2P) ซึ่งทั้งสองหลักการดังกล่าวได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมานานแล้ว แต่รัฐบาลทหารพม่ากลับไม่เคารพหลักการทั้งสองดังกล่าว
โดยอ้างและยืนกรานตามหลักการในกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยการไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในของประเทศสมาชิก (มาตรา 2 (7) ของกฎบัตรสหประชาชาติ) ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้วคำนิยามเกี่ยวกับหลักการเคารพอธิปไตยของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ได้รับการทบทวน ปรับปรุง และแก้ไขให้สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งสภาพการณ์ของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกหลังยุคสงครามเย็น
นั่นก็คือ ในยุคโลกาภิวัตน์ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ (ซึ่งรวมพม่าด้วย) ไม่สามารถนำเอาเรื่องของการเคารพอธิปไตยของแต่ละประเทศสมาชิกมาเป็นข้ออ้างเพื่อมาบดบังการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและอย่างกว้างขวางได้อีกต่อไป ทั้งนี้ คำนิยามของคำว่าอธิปไตยในยุคโลกาภิวัตน์ยังหมายถึงความรับผิดของรัฐที่พึงมีต่อประชาชนอีกด้วย ไม่ถูกจำกัดความหมายเป็นเพียงแต่เรื่องของการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนระหว่างกันเท่านั้น (ดังเช่นในยุค 50 ปี ของสงครามเย็นที่ผ่านมา)
ดังนั้นการนำเอาเรื่องอธิปไตยของรัฐมาเป็นเกราะกำบังปกป้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมโหฬารจึงไม่เป็นที่ยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศอีกต่อไป (รายละเอียดของประเด็นนี้โปรดดูได้จากบทความของผู้เขียนในหัวข้อ “หลักการว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐในการให้การพิทักษ์คุ้มครองประชาชนให้ปลอดจากภัยอันตราย : กรณีศึกษาจากพายุไซโคลนนาร์กิสถล่มพม่า” เสนอต่อที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน้า 1275-1281 เล่ม 2)
ในบรรดาประเทศสมาชิกองค์การอาเซียน ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศพม่ายาวที่สุดถึง 2,401 กิโลเมตร และเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบในทางลบโดยตรงในทุกด้านจากพม่ามากที่สุด (อาทิ ปัญหาผู้อพยพที่ถูกรัฐบาลทหารพม่าปราบปรามอย่างรุนแรงทุกฤดูร้อน และหนีเข้ามาพึ่งความปลอดภัยในไทย ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายกว่า 3 ล้านคน ปัญหาโรคเอดส์ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่มาจากผู้อพยพและแรงงานผิดกฎหมาย ปัญหาการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติดที่ทะลักมาจากฝั่งพม่า โดยเผ่าว้าแดงเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายลักลอบเข้ามาในเขตไทย)
ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยอย่างกว้างขวางและอย่างยาวนานกว่า 40 ปี ไม่ว่าจะในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปอย่างไม่มีวี่แววว่าจะเบาบางหมดสิ้นเมื่อใด ตราบใดที่รัฐบาลไทยยินดีและยินยอมเอาเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยที่มีกับพม่าไปผูกมัดกับผลประโยชน์ด้านความมั่นคงและความอยู่รอดของระบอบเผด็จการของทหารพม่า (ไม่ใช่ความมั่นคงและความอยู่รอดของประเทศและประชาชนพม่า)
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตราบใดที่รัฐบาลไทยยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ออกจากเรื่องของความมั่นคงของระบอบเผด็จการทหารพม่า และยังยินดี ยินยอมสนับสนุนระบอบเผด็จการทหารพม่าให้อยู่ในอำนาจต่อไปเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยจะได้จากพม่า แทนที่จะทำการแยกแยะให้เรื่องเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน เป็นเรื่องของการแยกธุรกรรมออกจากกัน ไม่นำมาเชื่อมโยงกับปัญหาการเมืองและความมั่นคง ตราบนั้นไทยก็จำต้องประสบกับปัญหาในทุกๆ ด้านดังกล่าวข้างต้นต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด
อีกทั้งเป็นการส่งสัญญาณผิด ทำให้ระบอบเผด็จการทหารพม่าเข้าใจว่าฝ่ายไทยยินดีและยินยอมให้ฝ่ายพม่านำเรื่องความมั่นคงของระบอบเผด็จการทหารพม่ามาเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของไทยที่มีในพม่า เป็นผลทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยที่มีในพม่าตกเป็นตัวประกันให้กับความอยู่รอดและความมั่นคงของระบอบเผด็จการทหารพม่า ซึ่งก็เป็นเช่นนี้ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ไทย-พม่า จึงเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ปราศจากความเท่าเทียมระหว่างกัน ไทยตกเป็นเบี้ยล่างและเป็นฝ่ายเสียเปรียบมาโดยตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
ฝ่ายนักการเมือง พรรคการเมือง และพ่อค้าบางกลุ่มบางพวกเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกันที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน การมีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่ประเทศและประชาชนชาวไทยได้รับความเสียหายทุกด้านจากลักษณะของความสัมพันธ์สองฝ่ายระหว่างไทยกับพม่าที่ฝ่ายพม่าเป็นฝ่ายมีอิทธิพลกำหนดรูปแบบ เนื้อหาและทิศทางของความสัมพันธ์ไทย-พม่า โดยฝ่ายไทยยินยอมอยู่ภายใต้อิทธิพลชี้นำของระบอบเผด็จการทหารพม่าเพียงเพื่อหวังแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากพม่า อันเป็นลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ผิดปกติมาก
ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ทุกอย่างจะก้าวหน้า ยังประโยชน์ให้แก่ฝ่ายไทยได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่โดยตรงกับการที่ไทยจำต้องยอมรับเงื่อนไขของฝ่ายพม่าเป็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับความปรานี ความพอใจของระบอบเผด็จการทหารพม่าเป็นสำคัญ ที่เป็นเช่นนี้มาโดยส่วนใหญ่เป็นเพราะรัฐบาลไทยหลายยุค (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของอดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ นายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนายสมัคร สุนทรเวช) ล้วนมองความสัมพันธ์ไทย-พม่า ว่ามีเพียงมิติด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อผลประโยชน์ของพรรคและพวกเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
ความจริงในประเด็นนี้ได้รับการพิสูจน์ยืนยันอย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นจากนโยบาย พฤติกรรม และการดำเนินการของรัฐบาลพล.ต.ชาติชาย พลเอกชวลิต นายบรรหาร พ.ต.ท.ทักษิณ และนายสมัคร ที่ล้วนยินดีสวมบทบาทเป็นทนายแก้ต่างให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่าอย่างออกหน้าออกตาอย่างไร้ศักดิ์ศรี ไร้จริยธรรม ไร้คุณธรรม ทั้งหมดนี้เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ตน พรรคและพวกหวังได้รับจากฝ่ายเผด็จการทหารพม่า โดยปราศจากการคำนึงถึงผลเสียหายต่อความมั่นคง ภาพลักษณ์ ภาพพจน์
และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในเวทีประชาคมโลก ตลอดจนภาระหนักหน่วงในด้านต่างๆ ที่ประเทศและประชาชนไทยจำต้องแบกมาตลอด 30 กว่าปีที่ผ่านมา (รายละเอียดในเรื่องนี้โปรดดูจากบทความของผู้เขียน “ไทย-อาเซียน และปัญหาพม่า” มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 22-28 เมษายน วันที่ 29 เมษายน – 6 พฤษภาคม และวันที่ 6-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ตลอดจนบทความของผู้เขียนในหนังสือ “การทูต การเมือง ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว” หน้า 23-24)
I นโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน 2
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย (ยุค 2) เป็นรัฐบาลเดียวที่ได้พยายามทบทวนปรับปรุงแก้ไขนโยบายต่างประเทศไทยที่มีต่อพม่าอย่างจริงจังและอย่างเป็นรูปธรรม และผลจากการดำเนินการดังกล่าวได้ทำให้ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือที่ดี เป็นที่ชื่นชมยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเป็นประชาธิปไตยของไทย เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน เรื่องของการเคารพหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ต่างได้รับการสรรเสริญยกย่องจากนานาอารยประเทศ โดยประเทศไทยได้รับการสนับสนุนให้เป็นตัวอย่างที่ดีที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนพึงยึดเป็นรูปแบบ นับว่านโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่าที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับประเพณี ค่านิยมประชาธิปไตยของไทย และผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ของไทยอย่างแท้จริง (ไม่ใช่แค่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้น)
และบทบาทสำคัญของไทยในเวทีระหว่างประเทศเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพในโลก เช่น การร่วมมือกับสหประชาชาติส่งกองกำลังทหารไทยไปเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังรักษาสันติภาพภายใต้ธงของสหประชาชาติในประเทศติมอร์ตะวันออก เหล่านี้ล้วนเป็นการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ชาญฉลาดและส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในประชาคมโลก ตลอดจนเป็นการปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้รับการยกย่องนับถือจากประชาคมระหว่างประเทศ
ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศไทยต่อพม่าในยุคของรัฐบาลชวน (2) ที่มีผลอย่างเป็นรูปธรรมและทำให้ประเทศไทยได้รับการยอมรับนับถือจากประชาคมระหว่างประเทศว่ามีความเป็นประชาธิปไตยสูง และเป็นประเทศที่ใฝ่สันติ ส่งเสริมสันติภาพโลก และความร่วมมือในภูมิภาค ตลอดจนเคารพและส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พอสรุปสาระสำคัญได้ว่าเป็นเพราะมีนโยบายที่ยึดเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติอย่างแท้จริง โดยมีเหตุผลสำคัญดังนี้
1) เป็นนโยบายต่อพม่าที่ตระหนักดีว่าผลกระทบร้ายแรงในทุกด้านที่ไทยต้องประสบตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีสาเหตุโดยตรงมาจากการที่รากเหง้าของปัญหาในพม่า (เช่น ระบอบการเมืองการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เอื้ออาทรต่อประชาชนพม่า) ยังหาได้รับการแก้ไขไม่ ตรงกันข้ามกลับได้รับการซ้ำเติมให้เลวร้ายกว่าเดิมมาตลอด โดยฝ่ายระบอบเผด็จการทหารพม่า อีกทั้งตระหนักดีด้วยว่า หากระบบการเมืองในพม่ายังคงปราศจากกระบวนการประชาธิปไตยที่เป็นรูปธรรม ประเทศไทยก็ยังจะต้องได้รับผลกระทบร้ายแรงที่มีสาเหตุโดยตรงจากวิกฤตร้ายแรงทางการเมืองและเศรษฐกิจในพม่า
2) เป็นนโยบายต่างประเทศที่ศึกษาและมองปัญหาวิกฤตการณ์ร้ายแรงในพม่าจากบริบทและเหตุการณ์ที่เป็นจริง (ไม่ใช่จากความเชื่อหรือจากการสมมติเอาเองว่าเป็นจริงเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของพรรคและพวกอย่างเช่น สมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พล.ต.ชาติชาย พลเอกชวลิต นายบรรหาร พ.ต.ท.ทักษิณ นายสมัคร เป็นอาทิ) โดยสามารถทำความเข้าใจได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ (หรือยุคหลังสงครามเย็น) ว่ามีมิติหลายด้านมาก ทั้งยอมรับว่าประเด็นเรื่องของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม ล้วนเป็นค่านิยมสากลที่ได้รับการยอมรับ สนับสนุน และส่งเสริมจากเหล่าอารยประเทศของประชาคมโลก
3) เป็นนโยบายต่อพม่าที่ตระหนักดีว่าวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตลอดจนข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติทุกปีที่ประณาม ตำหนิและเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าหาทางเจรจากับฝ่ายค้านเพื่อยุติปัญหาขัดแย้งระหว่างกันโดยสันติวิธี และเพื่อเร่งให้พม่ามีพัฒนาการที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ตอกย้ำและบ่งชี้ชัดว่าประชาคมโลกมองปัญหาในพม่าว่าไม่ใช่เป็นเรื่องภายในของพม่าเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระหว่างประเทศด้วย เพราะมีเรื่องของการละเมิดหลักการที่เป็นสากลอย่างต่อเนื่อง ร้ายแรง และกว้างขวาง เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชน การละเมิดหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม โดยฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
4) เป็นนโยบายต่อพม่าที่ตระหนักดีว่าการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ต้องเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีความเป็นมิตรและมีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่สร้างปัญหาให้กัน ตลอดจนเป็นความสัมพันธ์ที่มีหลายมิติ ไม่ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่มิติด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หรือมีการตั้งเงื่อนไข หรือข่มขู่กัน (อย่างที่ระบอบเผด็จการทหารพม่าได้ใช้วิธีการนี้กับรัฐบาลไทยและพ่อค้าที่มักง่ายและตะกละตะกลามอย่างได้ผลในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา)
5) เป็นนโยบายต่อพม่าที่รู้แจ้งเห็นจริงโดยตลอดว่ามีทางเดียวที่ประเทศไทยจะสามารถพิทักษ์รักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ด้านต่างๆ ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อรัฐบาลไทยไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการทหารพม่า ไม่ยอมตกเป็นตัวประกันให้กับความมั่นคง และความอยู่รอดของระบอบเผด็จการทหารพม่า ต้องประกาศจุดยืนและค่านิยมทางการเมืองของไทยออกมาอย่างแจ้งชัด ในประเด็นสำคัญนี้เห็นได้ชัดว่า ตลอดระยะเวลาของการเป็นนายกรัฐมนตรีของนายชวน หลีกภัย ทั้งสองสมัย นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ไม่เคยไปเยือนพม่าแม้แต่ครั้งเดียว
รัฐบาลชวน (2) ประสบผลสำเร็จในการปกป้องรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติในทุกด้านไว้ได้ เพราะมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นที่จะดำเนินความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศพม่าโดยยึดเหตุผลแห่งนโยบายทั้ง 5 ข้อ ข้างต้น ไม่ยอมให้ผลประโยชน์คับแคบของบางกลุ่มบางพวกมาอยู่เหนือผลประโยชน์แห่งชาติ ทั้งนี้ ความสำเร็จของนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) อยู่ที่ยุทธศาสตร์การเมืองที่สำคัญยิ่งสองประการ
ก) ประเทศไทยจะไม่ยินยอมให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าใช้องค์การอาเซียนเป็นเครื่องมือค้ำจุนปกป้องระบอบเผด็จการทหารพม่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไทยจะไม่ยินยอมให้ระบอบเผด็จการทหารพม่าทำปัญหาพม่าให้กลายมาเป็นเป็นปัญหาของอาเซียนด้วย (ASEANIZED Myanmar Problems) รวมทั้งไม่ยินยอมให้พม่าหรือประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่งประเทศใดใช้ชื่อขององค์การอาเซียนทำหน้าที่เป็นทนายแก้ต่างให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่า
หากมีประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศใดต้องการปกป้องคุ้มครองระบอบเผด็จการทหารพม่าในเรื่องที่ประชาคมโลกประณามระบอบเผด็จการทหารพม่า สามารถกระทำได้โดยเอกเทศ แต่ไม่สามารถอ้างว่ากระทำในนามของอาเซียน ชื่อศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิขององค์การอาเซียนต้องไม่ถูกแปดเปื้อนจากคราบเลือดของระบอบเผด็จการทหารพม่าที่ประชาคมโลกประณามการกระทำตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
ข) เพื่อการหลุดพ้นจากการตกเป็นเครื่องมือและตัวประกันให้กับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ประเทศไทยจำต้องปฏิเสธไม่ยินยอมให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าทำการเชื่อมโยงหรือผูกมัดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยที่มีในพม่าไว้กับความมั่นคง และความอยู่รอดของระบอบเผด็จการทหารพม่า เพราะหากฝ่ายไทยยินยอมให้มีการเชื่อมโยงดังกล่าว ก็เท่ากับนโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่าขาดความเป็นอิสระ ไม่เป็นนโยบายต่างประเทศที่จะสามารถดูแลปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติได้อย่างแท้จริง
อีกทั้งจะเป็นการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบอบเผด็จการทหารพม่ามีความเข้มแข็งและดำรงอยู่ต่อไป โดยไม่ดำเนินการให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปธรรม เป็นผลทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาหลายด้านที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคงของไทยอย่างหนักหน่วงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งนี้ เพราะระบอบเผด็จการทหารพม่าคือรากเหง้าของปัญหา บ่อเกิดของวิกฤตร้ายแรงในพม่าเสมอมา ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อไทยมาโดยตลอด 45 ปี ของระบอบเผด็จการทหารพม่า
II นโยบายต่อพม่าของรัฐบาลอภิสิทธิ์
นโยบายต่อพม่าของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเป็นประการใดนั้น ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน แต่หากศึกษาพิจารณาจากคำให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 พอจะกล่าวในเบื้องต้นได้ว่า เนื้อหาของคำให้สัมภาษณ์เป็นการบ่งบอกให้เห็นได้ว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ มีความเข้าใจ ยอมรับและเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นต้องสานต่อจากนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) บนพื้นฐานของเหตุผลแห่งนโยบาย (ข้อ 1-5 ข้างต้น) และของยุทธศาสตร์การเมือง (ข้อ ก. และ ข. ข้างต้น)
เพราะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) แม้จะเป็นเวลาเพียง 2 ปี แต่ก็ประสบผลสำเร็จที่สำคัญที่เป็นรูปธรรมและสามารถปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในทุกด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นผลทำให้ฐานะของประเทศไทยได้รับการยกย่องชื่นชมจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในฐานะเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ยึดหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม ตลอดจนเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนในสายตาของประชาคมระหว่างประเทศถือว่าดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียน จนทำให้ประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนให้ประเทศไทยในยุคของรัฐบาลชวน (2) เป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนพึงยึดถือเป็นแบบอย่าง แต่ภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือที่ดีงามดังกล่าวได้ถูกทำลายลบล้างจนหมดสิ้นจากการขึ้นมามีอำนาจการเมืองแบบผูกขาดของระบอบทักษิณ
ผลสำเร็จของนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) สามารถยกเลิกและตัดความเชื่อมโยง (de-link) ระหว่างความมั่นคงและความอยู่รอดของระบอบเผด็จการทหารพม่ากับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยมีกับพม่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐบาลชวน (2) ปฏิเสธการสนับสนุนระบอบเผด็จการทหารพม่า เพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยต้องการจากพม่า กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ประเทศไทยไม่ต้องการให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยตกเป็นตัวประกันให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่า แม้ฝ่ายพม่าจะพยายามขู่ไทยด้วยการปิดชายแดนและใช้นโยบายยุแยงตะแคงรั่วให้เกิดความแตกแยกในสังคม-การเมืองไทย ใช้นักการเมืองและพ่อค้าไทยที่มีผลประโยชน์ร่วมกับระบอบเผด็จการทหารพม่ามากดดันรัฐบาลชวน (2) ให้ยอมจำนนต่อความประสงค์ของฝ่ายพม่าก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะรัฐบาลชวน (2) ไม่หวั่นไหวต่อการข่มขู่กดดันทางการเมืองดังกล่าว
2) สามารถปฏิเสธ คัดค้านและป้องกันมิให้ระบอบเผด็จการทหารพม่าใช้อาเซียนเป็นเครื่องมือทำหน้าที่เป็นทนายแก้ต่าง ปกป้องพม่าในเรื่องต่างๆ ที่ประชาคมโลกประณามพม่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไทยประสบผลสำเร็จในการป้องกันมิให้เผด็จการทหารพม่าทำปัญหาและวิกฤตการณ์ร้ายแรงทางการเมืองและเศรษฐกิจของพม่า กลายมาเป็นปัญหาร้ายแรงของอาเซียน เพื่อหวังให้อาเซียนเข้ามาช่วยเป็นทนายแก้ต่างและตอบโต้ประชาคมโลกแทนพม่า (ASEANIZED Myanmar Problems) ทั้งๆ ที่องค์การอาเซียนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเลยกับการเข่นฆ่าประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ตลอดจนการเหยียบย่ำทำลายหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรมในพม่า โดยฝ่ายเผด็จการทหารพม่าตลอด 45 ปีที่ผ่านมา แต่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าก็ยังพยายามที่จะให้มือของอาเซียนแปดเปื้อนด้วยเลือดเช่นกัน แต่พม่าก็ไม่ประสบผล เพราะรัฐบาลไทย (รัฐบาลชวน (2)) ไม่หวั่นไหวและหนักแน่นยืนกรานไม่ให้ฝ่ายพม่าใช้องค์การอาเซียนเป็นเกราะกำบังให้พม่า
และจากการมีนโยบายและจุดยืนแน่ชัดของไทยในประเด็นนี้ เป็นผลให้พม่าถูกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) คว่ำบาตรอย่างเป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรกตั้งแต่ประเทศพม่าเข้าเป็นสมาชิกองค์การแรงงานระหว่างประเทศ การที่ ILO มีมาตรการลงโทษพม่า เป็นเพราะรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงมาเป็นเวลาหลาย 10 ปี ในเรื่องของการใช้แรงงาน ทาส แรงงานเด็กและสตรี เพื่อจุดประสงค์ทางการทหาร เป็นผลทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตเป็นจำนวนหลายพันคน จากการเหยียบกับระเบิดและจากการทรมานทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยฝีมือของทหารพม่า
3) สามารถทำให้พม่าหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการมีความสัมพันธ์ที่ดีที่ปกติระหว่างพม่ากับไทย บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน และไม่สร้างปัญหาให้กันและกัน เลิกใช้วิธีการข่มขู่และแทรกแซงในกิจการภายในระหว่างกัน ไม่เข้ามาก้าวก่ายยุแยงตะแคงรั่วให้เกิดความแตกแยกในสังคมการเมืองของไทย ด้วยวิธีการยื่นผลประโยชน์ให้กับนักการเมือง นักธุรกิจ และข้าราชการไทย เพื่อหวังให้มากดดันรัฐบาลไทยให้ดำเนินการตามความประสงค์ของฝ่ายพม่า (ตามที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าเคยประสบผลสำเร็จมาหลายครั้งกับรัฐบาลไทยหลายรัฐบาลก่อนหน้ารัฐบาลชวน (2))
จึงสรุปได้ว่านโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) ถือได้ว่าเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ที่สามารถปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติในทุกด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด ตลอดจนเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าที่สามารถเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นได้อย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นว่า ปัญหาทุกด้านที่ประเทศไทยต้องประสบมาตลอด 45 ปี จากเหตุการณ์ในพม่า และได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคงในทุกด้านของไทย ล้วนมีสาเหตุมาจากรากเหง้าของปัญหา นั่นคือ ระบอบเผด็จการทหารพม่าที่ไม่เอื้ออาทรต่อประชาชนพม่า และไม่มีความเป็นประชาธิปไตยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะในรูปแบบและเนื้อหา
III ข้อเสนอ
หากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์พิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบ และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับที่มาและเหตุผลแห่งนโยบายและยุทธศาสตร์ต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) ดังได้สรุปสารัตถะสำคัญทั้งหมดไว้ให้แล้วข้างต้น รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ก็ย่อมจะเห็นได้เองถึงความสำคัญและความจำเป็นที่พึงมีการสานต่อจากนโยบายต่อพม่าสมัยรัฐบาลชวน (2) และเนื่องจากรากเหง้าของปัญหาพม่ายังคงเหมือนเดิม กล่าวคือ ระบอบเผด็จการทหารพม่ายังคงมีนโยบาย ท่าที และพฤติกรรมต่อประชาชนพม่าเหมือนอย่างที่เป็นมาตลอด 45 ปีที่ผ่านมา
นโยบายของไทยต่อพม่ายังจำเป็นต้องคงไว้อย่างเดิม (ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองแห่งชาติอย่างเป็นขั้นตอน เป็นรูปธรรม และโดยสันติวิธี) แต่เนื่องจากในห้วงเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดวิกฤตร้ายแรงถึงสองครั้งในพม่า (การเข่นฆ่าพระสงฆ์และประชาชนพม่า เมื่อกันยายน 2550 และการที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าหน่วงเหนี่ยวเตะถ่วงการรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากประชาคมระหว่างประเทศในกรณีพายุไซโคลนนาร์กิสกระหน่ำพม่า เมื่อพฤษภาคม 2551 เป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 125,000 คน และสูญหายกว่า 56,000 คน)
ตลอดจนนโยบายและท่าทีของประชาคมระหว่างประเทศที่ได้หันมาสนใจปัญหาพม่ามากขึ้น พร้อมทั้งประณามความไร้มนุษยธรรมของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า จึงมีความจำเป็นที่ไทยต้องปรับ/เปลี่ยนยุทธศาสตร์ของไทยต่อพม่า เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สอดคล้องกับบริบท เงื่อนไข และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา
สำหรับการพิจารณาปรับ/เปลี่ยนยุทธศาสตร์ของไทยต่อปัญหาพม่านั้น ในชั้นนี้มีความจำเป็นต้องพิจารณาและตระหนักให้ดีในข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1) ปัจจุบันประชาคมระหว่างประเทศมีท่าทีร่วมกันที่เป็นเอกภาพใน 4 เรื่อง
1.1 ประณามการที่รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าใช้ความรุนแรงต่อประชาชน
1.2 ร่วมกันเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาขัดแย้งโดยสันติวิธี เพื่อนำไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองภายในพม่า ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าหันมาเจรจากับฝ่ายค้านแทนการปราบปรามรุนแรง
1.3 สนับสนุนบทบาทหลักของสหประชาชาติในการช่วยผลักดันให้เกิดการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน
1.4 เห็นร่วมกันว่าปัญหาพม่าไม่ใช่เรื่องภายในของพม่าเท่านั้น แต่มีมิติด้านระหว่างประเทศรวมอยู่ด้วย (อาทิ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ปัญหาการไม่เคารพและทำลายหลักนิติธรรม เป็นต้น)
2) เพื่อมิให้ฝ่ายพม่ามีพื้นที่มากที่จะสามารถหลบเลี่ยงความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประชาชนพม่าและต่อประชาคมโลก ในฐานะเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติที่จำต้องเคารพปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสัญญาและอนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ จำเป็นที่จะต้องตีกรอบเพื่อจำกัดพื้นที่ ไม่เปิดโอกาสให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่ามีไพ่หลายสำรับให้เล่น (เช่น ไพ่จีน ไพ่อินเดีย ไพ่รัสเซีย เป็นต้น) และด้วยเหตุผลสำคัญที่องค์การสหประชาชาติไม่มีผลประโยชน์อะไรกับพม่า หรือมีความขัดแย้งอะไรกับพม่า แต่จะมีความเป็นกลางในเรื่องของความขัดแย้งในพม่า จึงเป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศให้เข้ามามีบทบาทหลักโดยตรงในการผลักดันให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองแห่งชาติขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในพม่า
ดังนั้นทั้งอาเซียนและประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จึงเห็นชอบร่วมกันที่จะบีบให้พม่าเล่นไพ่จากสำรับเดียวคือ สำรับของสหประชาชาติ เพื่อให้การแก้ปัญหาพม่าจำกัดอยู่ในกรอบของสหประชาชาติเป็นสำคัญ
3) ด้วยเหตุผลสำคัญที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทางลบ และแบกภาระมากที่สุดจากปัญหาร้ายแรงในพม่าตลอด 45 ปีที่ผ่านมา (เช่น ปัญหาผู้อพยพ ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) จึงเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลไทยจำต้องให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ (สหประชาชาติ) อย่างใกล้ชิดและอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียกร้องให้สหประชาชาติใช้มาตรการทางการเมืองและการทูตโน้มน้าว กดดันให้เกิดกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นในพม่าอย่างเป็นรูปธรรม เป็นขั้นตอน ชัดเจน และอย่างสันติวิธี
และเพื่อตอกย้ำให้ฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้สังวรไว้ด้วยว่า แนวคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐนั้น ในยุคโลกาภิวัตน์มิได้มีความหมายเพียงเรื่องของการไม่แทรกแซงในกิจการภายในระหว่างประเทศเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงเรื่องของความรับผิดชอบที่รัฐพึงมีต่อประชาชนอีกด้วย ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่ฝ่ายรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนตลอด 45 ปีที่ผ่านมา และอ้างหลักการเรื่องอธิปไตยของรัฐมาเป็นเกราะคุ้มกันเพื่อหวังว่าประชาคมระหว่างประเทศจะไม่เข้ายุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายแรงในพม่า เป็นเรื่องที่ประชาคมระหว่างประเทศไม่อาจยอมรับได้
4) เหตุการณ์ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ได้เป็นสิ่งพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งแล้วว่า ไทยไม่สามารถพึ่งความร่วมมือจากองค์การอาเซียนได้ในกรณีที่เกี่ยวกับผลกระทบร้ายแรงทุกด้านที่ไทยได้รับที่มีสาเหตุมาจากระบบการเมืองพม่าที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่เอื้ออาทรต่อประชาชนพม่า ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญ เป็นเพราะว่าองค์การอาเซียนไม่เคยมีนโยบายร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาพม่า (ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนหรือหลังพม่าเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว)
ความแตกต่างอย่างมากของระบอบการเมือง ค่านิยมและวัฒนธรรมทางการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนการที่แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนต่างมีผลประโยชน์กับพม่าที่แตกต่างกัน รวมทั้งได้รับผลกระทบจากปัญหาในพม่าที่ต่างกันมาก อีกทั้งการที่อาเซียนยึดมั่นในหลักการเรื่องการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของแต่ละประเทศ เสมือนเป็นคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ โดยมองข้ามความจริง ข้อเท็จจริง และผลกระทบต่อภูมิภาคต่อภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความน่าเชื่อถือขององค์การอาเซียน ล้วนเป็นสิ่งยืนยันให้ประเทศไทยเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพึ่งความร่วมมือและความสนับสนุนจากเวทีประชาคมระหว่างประเทศ (สหประชาชาติ) ควบคู่ไปกับการดำเนินการทางการทูตระดับทวิภาคีโดยตรงกับพม่า และกับประเทศ กลุ่มประเทศต่างๆ ที่ต้องการเห็นกระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในพม่า
5) ความมั่นคงและผลประโยชน์ทุกด้านของประเทศไทยจักได้รับการปกป้องและส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ก็ต่อเมื่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปอย่างรอบด้าน มิใช่จำกัดอยู่เพียงแต่มิติด้านเศรษฐกิจเท่านั้น เพราะหากถูกจำกัดอยู่เพียงด้านเศรษฐกิจ ก็จะมีผลทำให้ไทยตกเป็นตัวประกันให้กับระบอบเผด็จการทหารพม่าอีกต่อไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไทยยอมให้พม่าเอาเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยอยากได้จากพม่ามาเป็นเครื่องต่อรองเพื่อให้ฝ่ายไทยตอบสนองผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของพม่าเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน
สรุป
รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จักสามารถปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีศักดิ์ศรีของความเป็นไทยได้อย่างเป็นผลสำเร็จ หากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์มีนโยบายต่อพม่าที่เป็นการสานต่อจากนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) โดยยึดหลักการและเหตุผลแห่งนโยบายต่อพม่าของรัฐบาลชวน (2) ดังกล่าวไว้แล้วทั้งหมดข้างต้น (ข้อ I) และพิจารณาปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์ในระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยศึกษาพิจารณาจากรายละเอียดปรากฏในข้อ II และข้อ III ข้างต้น