เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 ได้มีพิธีลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียนโดยประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ในโอกาสการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 13 ขององค์การอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ และหลังจากที่ทุกประเทศสมาชิกได้ให้การสัตยาบันไปแล้ว ก็ได้มีพิธีฉลองการประกาศให้กฎบัตรอาเซียนมีผลใช้บังคับเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 ณ ที่ทำการสำนักงานเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
1.ข้อเท็จจริง และความเป็นมา
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการมีกฎบัตรของสมาคมอาเซียนไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ หากมีมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ.1970 แล้ว โดยผู้นำประเทศอาเซียนในยุคนั้นได้เห็นถึงความจำเป็นที่สมาคมอาเซียนพึงมีกฎบัตรหรือรัฐธรรมนูญของอาเซียนไว้เป็นกฎหมายสำหรับประเทศสมาชิกยึดถือปฏิบัติ
1.2 ครั้นถึงศตวรรษที่ 21 (ยุคหลังสงครามเย็น) ที่ประชุมสุดยอดครั้งที่ 9 ของอาเซียนได้มีมติร่วมกันให้มีการดำเนินการให้อาเซียนเป็นประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยความเป็นประชาคมด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม-วัฒนธรรมโดยได้มีการยืนยันตอกย้ำอีกครั้งในการประชุมสุดยอดที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 2007 เรียกร้องให้การดำเนินการสร้างประชาคมอาเซียนสัมฤทธิผลภายใน ค.ศ. 2015
1.3 ตลอดระยะเวลา 42 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปีก่อตั้งองค์การอาเซียนเมื่อ พ.ศ.2508) อาเซียนมีสถานะเป็นองค์การที่เลื่อนลอยปราศจากกฎหมายใดรองรับ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง อาเซียนหาได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่ จะเรียกว่าเป็นองค์การเถื่อนที่เกาะกันมาอย่างหลวมๆ ก็ไม่ผิดข้อเท็จจริงเป็นผลทำให้อาเซียนในยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัติ 19 ปีที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะไปทำนิติกรรมที่มีผลผูกพันกับองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคอื่นๆ ได้ เช่น การทำสัญญาเขตการค้าเสรี หรือความตกลงหรือสนธิสัญญากับประเทศใดหรือกลุ่มประเทศใดเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน หรือด้านการเมือง ความมั่นคง หรือด้านสังคม-วัฒนธรรม การดำเนินการให้อาเซียนมีสภาพถูกต้องตามกฎหมายมีสถานะเป็นนิติบุคคลจึงเป็นเหตุผลสำคัญทำให้รัฐบาลประเทศสมาชิกเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จำต้องทำให้อาเซียนมีสภาพเป็นนิติบุคคลด้วยการมีกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้องค์การอาเซียนเป็นประชาคมด้านความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม-วัฒนธรรม ให้เป็นจริงขึ้นมาได้ภายใน พ.ศ. 2558
2. บทบาทและท่าทีของประเทศไทย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่รัฐบาลไทยได้แสดงท่าทีอย่างหนักแน่นในหลายโอกาสที่ผ่านมาว่าไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการดำเนินการร่วมกันให้อาเซียนเป็นประชาคมด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม-วัฒนธรรม ใน พ.ศ.2558 โดยล่าสุดไทยก็ได้ประกาศยืนยันในนโยบายและท่าทีแน่ชัดดังกล่าวของไทยต่อที่ประชุมสุดยอดของอาเซียนที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 อีกทั้งตอกย้ำถึงความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่อาเซียนพึงมีกฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการและเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนยึดเหนี่ยวเป็นเข็มทิศนำทางให้กับพัฒนาการในด้านต่างๆ ของอาเซียนดำเนินไปอย่างมีทิศทางแน่ชัดและเพื่อเป็นกลไกควบคุมความประพฤติและการดำเนินการของสมาชิกทุกประเทศให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและในทิศทางที่เป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ตลอดจนเพื่อความก้าวหน้าของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ประเทศไทยถือว่าการเน้นและให้ความสำคัญกับการมีกฎบัตรอาเซียนที่ยึดมนุษย์เป็นตัวตั้งหรือเป็นศูนย์กลาง (People centered) และตอบสนองความปรารถนาและความหวังสูงสุดที่จะมีโอกาสดำรงชีวิตเยี่ยงเสรีชนของพลเมืองของทุกประเทศอาเซียน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนและจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจำต้องยอมรับและร่วมกันผลักดันให้กฎบัตรอาเซียนสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวนี้อย่างเป็นรูปธรรม
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนและได้มีบทบาทเข้มแข็งเสมอมา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุครัฐบาลชวน 2) ที่จะผลักดันให้สมาคมอาเซียนปรับ/เปลี่ยนโครงสร้างและการดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพการณ์ของความเป็นจริงและข้อเท็จจริงด้านเศรษฐกิจ-การเมืองที่ปรากฏทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา ทั้งนี้ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงและวัฒนาถาวรของประชาคมอาเซียนเป็นสำคัญ
ดังนั้น การให้กฎบัตรอาเซียนมีเนื้อหาและสารัตถะบ่งบอกแน่ชัดถึงความเป็นสมาคมเพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ยึดความมุ่งหวังและความปรารถนาแน่วแน่ของประชาชนที่จะได้รับความเอื้ออาทร การคุ้มครองดูแลอย่างทั่วถึงและอย่างเท่าเทียมจากรัฐสมาชิกสมาคมอาเซียนเพื่อความอยู่ดีมีสุขของพลเมืองอาเซียน จึงเป็นเรื่องที่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศจำเป็นต้องร่วมมือกันผลักดันให้กฎบัตรอาเซียนที่จะมีขึ้นมีเนื้อหาและสารัตถะสอดคล้องตอบสนองความมุ่งหวัง ความต้องการของประชาชนของทุกประเทศสมาชิก ไม่ใช่มีฐานะเป็นเพียงแผ่นกระดาษหรือเอกสารเพื่อผลทางด้านการประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่จำต้องมีผลที่เป็นรูปธรรมในความเป็นจริง
3.อุปสรรคและปัญหา
ปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆ ในด้านการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคงที่ได้ปรากฏในช่วง 18 ปี ของยุคหลังสงครามเย็นที่ผ่านมา ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ตอกย้ำยืนยันให้เห็นถึงความอ่อนแอและไร้เอกภาพของสมาคมอาเซียนในยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัตน์ ความจริงข้อนี้ได้รับการตอกย้ำเด่นชัดขึ้นหลังจากที่อาเซียนได้รับสมาชิกใหม่เข้ามาอีก 4 ประเทศ (พม่า ลาว กัมพูชาและเวียดนาม) ซึ่งปรากฏการณ์ในด้านต่างๆ ของอาเซียนหลังยุคสงครามเย็นเป็นสิ่งยืนยันชี้ชัดให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่า ความแตกต่างอย่างมากในระบบการเมืองการปกครองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นปัจจัยชี้ขาดที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดของอาเซียนและเป็นอุปสรรคมากมายหลายด้านต่อความพยายามให้พัฒนาการของอาเซียนที่จะก้าวจากความร่วมมือ (cooperation) ไปสู่การรวมตัว (integration) อย่างเช่นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
นอกจากนั้น ข้อแตกต่างอย่างมากไม่ว่าจะในด้านปรัชญาการเมืองการปกครอง ด้านค่านิยมทางการเมืองและด้านระบบการเมืองล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มปัญหาและอุปสรรคต่อความเป็นปึกแผ่นและการสร้างเอกภาพของอาเซียน เป็นผลทำให้พัฒนาการในด้านต่างๆ ของอาเซียนต้องสะดุดหยุดชะงักเป็นช่วงๆ ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 18 ปีที่ผ่านมา 40 ปีของการดำรงอยู่ในสมาคมอาเซียนยังไม่สามารถช่วยลดความหวาดระแวงในหมู่ประเทศสมาชิกดั้งเดิม แถมยังได้รับการซ้ำเติมจากการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้ามาอีก 4 ประเทศ ทั้งหมดนี้พอจะสรุปได้ว่ามีสาเหตุสำคัญที่สุดจากการมีระบบการเมืองที่ยังแตกต่างกันมากในหมู่ประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ
จึงเป็นที่ประจักษ์ตลอด 10 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่อาเซียนได้รับประเทศเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน กลุ่มสมาชิกใหม่เหล่านี้ได้ฉกฉวยโอกาสใช้ช่องว่างจากการขาดภาวะผู้นำในหมู่กลุ่มประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียน และความอ่อนแอในภาพรวมของอาเซียนสืบเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 และความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในภูมิภาคโดยรวมสืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอินโดนีเซียและปัญหาเอกราชของติมอร์ตะวันออก และปัญหาแบ่งแยกดินแดนในอาเจห์ของอินโดนีเซีย ตลอดจนความไร้ทิศทางของการดำเนินการของอาเซียนสืบเนื่องจากความพยายามของอาเซียนที่จะหาทางปรับทิศทางและการดำเนินการให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคจากผลกระทบของพลังโลกาภิวัตน์ เป็นอาทิ
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มประเทศสมาชิกใหม่นำมาใช้เป็นอำนาจต่อรองกับกลุ่มประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง รวมทั้ง พึ่งและใช้ความไร้เอกภาพในหมู่ 5 ประเทศสมาชิกดั้งเดิมให้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาอำนาจต่อรองและเพิ่มอิทธิพลของกลุ่มสมาชิกใหม่ในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้อาเซียนดำเนินไปในทิศทางที่กลุ่มสมาชิกใหม่ประสงค์เป็นสำคัญ
เหตุผลและข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเหตุการณ์ยืนยันและตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่กลุ่มสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนจำต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เกิดเอกภาพในกลุ่มและกลับมามีบทบาทและอิทธิพลกำหนดชี้นำร่วมกันได้ และในประเด็นสำคัญนี้ กล่าวได้ว่ากฎบัตรอาเซียนจะมีรูปแบบเนื้อหาและสารัตถะในขั้นสุดท้ายอย่างใดย่อมเป็นเครื่องทดสอบและพิสูจน์ให้เห็นถึงเอกภาพและอิทธิพลชี้นำของกลุ่มสมาชิกก่อตั้งว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ประการใด
ข้อความและเนื้อหาทั้งหมดที่ปรากฏในกฎบัตรอาเซียน (ตั้งแต่มาตรา 1-55) แม้จะสะท้อนและยืนยันให้เป็นที่ประจักษ์ว่า อาเซียนยอมรับและเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนที่จำต้องปรับปรุงแก้ไขและปรับเปลี่ยนทัศนะท่าทีขององค์การอาเซียน เพื่อความอยู่รอดและความเป็นองค์การที่มีศักยภาพ มีบทบาท มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความสำคัญต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความผาสุกของประชาคมอาเซียนเป็นสำคัญ
แต่ขณะเดียวกัน เนื้อหาของกฎบัตรอาเซียนก็ยังคงยืนยันให้เห็นชัดเจนว่า อาเซียนยังไม่พร้อมที่จะก้าวออกไปให้พ้นจากกรอบความคิดหรือกระบวนทัศน์ (paradigm)และพฤติกรรมเดิมๆ ที่ยึดถือปฏิบัติมาตลอด 46 ปีของยุคสงครามเย็น กล่าวคืออาเซียนยังคงยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในสิ่งที่เรียกว่า “วิถีแห่งอาเซียน” (The Asean Way) ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก และในการหาทางหลบเลี่ยงปัญหาต่างๆ ที่มีขึ้นในภูมิภาคอาเซียน มากกว่าการมุ่งหน้าร่วมกันแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ทั้งนี้บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นว่า หากไม่เข้าไปยุ่งกับปัญหา หรือหาทางลืมปัญหา ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงก็จะหมดไปเอง
โดยสรุป “วิถีแห่งอาเซียน” คือการมีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่อาศัย กฎระเบียบ บรรทัดฐาน (norms) ที่เป็นสากลเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก และในการแก้ปัญหาที่มีระหว่างกัน กล่าวได้ว่า “วิถีแห่งอาเซียน” เป็นกรอบความคิดที่เป็นนามธรรมมาก ปราศจากความแน่ชัด อีกทั้งมีลักษณะของความไม่เป็นทางการอย่างเด่นชัด องค์ประกอบสำคัญที่รวมกันแล้วและว่า “วิถีแห่งอาเซียน” พอสรุปได้ดังนี้
1. มีระดับการดำเนินการที่มีลักษณะไม่เป็นทางการสูง (informality)
2. ยึดการทูตที่มีลักษณะไม่เป็นข่าว แต่จะจำกัดอยู่ในวงในของประเทศสมาชิกเท่านั้น (informality) หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการหารือภายในหมู่ประเทศสมาชิกเท่านั้น
3. ยึดการพูดจาหารือ (dialogue) และหลักฉันทามติ (consensus) เป็นปัจจัยชี้ขาดในการตัดสินใจ
4. เน้นเรื่องความสำคัญของการยับยั้งช่างใจ (self-restraint)
5. เน้นความสำคัญของการมีเอกภาพ (solidarity)
6. เน้นเรื่องการหลีกเลี่ยงปัญหามากกว่าการหาทางแก้ปัญหา
7. ยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในหลักการเคารพอธิปไตยของประเทศ และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน
ประเด็นทั้ง 7 ข้อข้างต้น ถือได้ว่าเป็นหลักปฏิบัติที่องค์การอาเซียนได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จนกล่าวได้ว่า การดำเนินการตามแนวทางของ “วิถีแห่งอาเซียน” ตลอด 43 ปีที่ผ่านมาได้มีผลช่วยให้อาเซียนสามารถเติบโตอย่างมั่นคง ตลอดจนสามารถพยุงรักษาเอกภาพ ความสมานฉันท์ และความก้าวหน้าของการเป็นองค์การเพื่อความร่วมมือส่วนภูมิภาคได้ด้วยดี เนื่องจากสามารถทำหน้าที่เป็นกรอบความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จในการดึงเอาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความขัดแย้งกัน เข้ามาร่วมก่อตั้งองค์การอาเซียนอย่างเป็นผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการมีกฎบัตรอาเซียนทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีความเป็นเอกภาพ มีกรอบความคิด และการดำเนินการร่วมกันในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนในรูปของการเป็นประชาคมด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง และด้านสังคม-วัฒนธรรม แต่อาเซียนก็ยังคงต้องประสบกับอุปสรรคและปัญหาสำคัญอันเป็นปัญหาที่อยู่มากับอาเซียนตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งอาเซียนเมื่อ 43 ปีมาแล้ว เพียงแต่เพิ่งจะปรากฏให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งช่วง 18 ปีหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็นหรือที่เรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ตัวปัญหาที่ยังเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในทุกด้านของอาเซียนหลังการประกาศใช้กฏบัตรอาเซียนแล้ว ที่สำคัญมี 6 ประการ คือ
1) กฎบัตรอาเซียนไม่มีผลบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามเป็นเรื่องของความพร้อมและความสมัครใจของแต่ละประเทศสมาชิก
2) ความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของระบบการเมืองการปกครองในหมู่ประเทศสมาชิก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคอย่างมากต่อการทำให้อาเซียนเป็นประชาคมด้านความมั่นคง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงของมนุษย์และด้านสิทธิมนุษยชน)
3) การยึดหลักความคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา เวสฟาเลีย พ.ศ. 2191 (Westphalian concept of sovereignty)และมาตรา 2 (7) ว่าด้วยการห้ามเข้าไปแทรกแซงในกิจการภายในของแต่ละประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ทั้งๆ ที่องค์การสหประชาชาติก็ได้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาทบทวนหลักความคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐตามระบบเวสฟาเลียที่ประชาคมระหว่างประเทศยึดถือปฏิบัติในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นเวลา 360 ปีแล้ว เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขที่จำเป็นให้สอดคล้องกับบริบทและข้อเท็จจริงในด้านต่างๆ ของยุคโลกาภิวัตน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์และเรื่องของการปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น ความจำเป็นซึ่งสหประชาชาติจำต้องเข้าแทรกแซงในประเทศสมาชิกที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) การกำจัดชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) รวมทั้งการที่รัฐมีนโยบายและการดำเนินการเพื่อกำจัดประชาชนด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นต้น
ทั้งนี้ สหประชาชาติก็ยอมรับว่าปัญหาความมั่นคงในยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัตน์หาใช่จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องของการทหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงเรื่องของภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาภาวะโลกร้อน และอื่นๆ ที่ล้วนเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากมุมหนึ่งของโลก แต่ส่งผลกระทบร้ายแรงและอย่างรวดเร็วต่อประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางเช่นกัน ความร่วมมือของประชาคมระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาร้ายแรงเหล่านี้ได้ทันท่วงที เพราะปัญหาร้ายแรงเหล่านี้ถือได้ว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงของโลกมนุษย์ หากรัฐผู้เป็นต้นเหตุของปัญหาร้ายแรงไม่ให้ความร่วมมือกับประชาคมโลก การพิจารณาเข้าแทรกแซงเพื่อระงับปัญหาย่อมเป็นสิ่งจำเป็น
4) กฎบัตรอาเซียนไม่มีมาตราใดว่าด้วยการระงับ การขับไล่ และการถอดถอนสมาชิกภาพของประเทศสมาชิกที่มีพฤติกรรมและการดำเนินการที่จะมีผลทำให้อาเซียนได้รับความเสื่อมเสียในด้านภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือ (ดังเช่นกรณีประเทศพม่า ซึ่งได้มีพฤติกรรมและการดำเนินการต่างๆ ที่ได้นำความเสื่อมเสียมาสู่อาเซียนตลอด 11ปีที่ผ่านมา)
5) อาเซียนยังไม่มีองค์กรดูแลด้านการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประชาชาติอาเซียน กฎบัตรอาเซียนเพียงแต่ระบุข้อความว่าอาเซียนมีความปรารถนาและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนเกิดขึ้น แต่ไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาแน่ชัดแต่อย่างใด
6) การตัดสินใจด้านนโยบายของอาเซียนยังคงพึ่งหลักฉันทามติ (ซึ่งหมายความว่าหากหนึ่งในสิบประเทศสมาชิกไม่เห็นด้วยก็เท่ากับไม่เกิดฉันทามติ อาเซียนก็ไม่สามารถดำเนินการตามที่สมาชิกเสียงข้างมากประสงค์ได้) ดังนั้น ตราบใดที่อาเซียนยังไม่ยอมนำระบบการลงคะแนนออกเสียงโดยยึดเสียงข้างมากเป็นปัจจัยชี้ขาดก็ยากที่อาเซียนจะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและทันต่อเหตุการณ์
สรุป
เป็นที่แน่ชัดและปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นว่า กฎบัตรอาเซียนมีขึ้นมาได้ไม่ใช่เพราะรัฐบาลประเทศสมาชิกมีนโยบายและความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะให้มีกฎบัตรอาเซียน (เพราะหากรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นถึงความสำคัญและความเร่งด่วนในเรื่องนี้ ก็คงไม่รอนานถึง 43 ปี) แต่เป็นเพราะประเทศสมาชิกอาเซียนไม่อาจทนต่อแรงกดดันที่ถาโถมมาจากมิติด้านต่างๆ ของพลังโลกาภิวัตน์
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปฏิวัติการสื่อสารและคมนาคม) ซึ่งพลังโลกาภิวัตน์เป็นพลังที่สร้างทั้งความเหมือนและความแตกต่าง ความร่วมมือและความขัดแย้ง ตลอดจนขยายช่องว่างระหว่างประเทศมั่งมีกับประเทศยากจน นำไปสู่ความแตกแยกความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายในแต่ละประเทศ และระหว่างประเทศ เป็นผลโดยตรงทำให้อาเซียนต้องคิดอยู่รอดด้วยการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างที่ล้าหลังของอาเซียน และจัดทำกฎบัตรอาเซียนขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบความคิดและนโยบายชี้นำทางให้กับการดำเนินการของอาเซียน เพื่อไปสู่ความเป็นประชาคมด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรมอย่างแท้จริงและอย่างเป็นรูปธรรม โดยยึดความปรารถนาและความหวังของพลเมืองของประชาคมอาเซียนเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจของกฎบัตรอาเซียน เพื่อความผาสุกอยู่ดีกินดีและความก้าวหน้าของพลเมืองของประชาคมอาเซียนเป็นสำคัญ
ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นจะบังเกิดผลในทางเป็นจริงได้ มิได้อยู่ที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกประเทศอาเซียน หากแต่อยู่ที่การเมืองภาคประชาชนในแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ที่ความเข้มแข็งก้าวหน้าของประชาสังคมของแต่ละประเทศอาเซียนว่ามีความเข้มแข็งและเคลื่อนไหวร่วมกันอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ เพื่อติดตามตรวจสอบและกดดันรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญเพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพและความยุติธรรม ล้วนเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจใฝ่หาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลของทุกประเทศในโลกโดยปกติจะไมให้ความสนใจหรือความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ยกเว้นเมื่อถูกประชาชนกดดัน บีบบังคับให้เข้ามาดูแลจึงจะยอมทำตามความประสงค์ของฝ่ายประชาชน การมีกฎบัตรอาเซียน (ที่ยังมีข้อบกพร่องที่สำคัญอยู่มาก) ถือได้ว่าเป็นเพียงก้าวเล็กที่สำคัญก้าวหนึ่งเท่านั้น หนทางเดิมของอาเซียนยังมีอีกยาวและนานไกลกว่าจะบรรลุผลตามเป้าประสงค์ที่ประกาศไว้ในกฎบัตรอาเซียน ทั้งความแตกต่างกันอย่างมากในระบบการเมือง การปกครองระหว่างประเทศสมาชิก ถือเป็นปัญหาและอุปสรรคใหญ่หลวงที่สุดต่อความเจริญก้าวหน้าของอาเซียน
1.ข้อเท็จจริง และความเป็นมา
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับการมีกฎบัตรของสมาคมอาเซียนไม่ใช่เป็นเรื่องใหม่ หากมีมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ ค.ศ.1970 แล้ว โดยผู้นำประเทศอาเซียนในยุคนั้นได้เห็นถึงความจำเป็นที่สมาคมอาเซียนพึงมีกฎบัตรหรือรัฐธรรมนูญของอาเซียนไว้เป็นกฎหมายสำหรับประเทศสมาชิกยึดถือปฏิบัติ
1.2 ครั้นถึงศตวรรษที่ 21 (ยุคหลังสงครามเย็น) ที่ประชุมสุดยอดครั้งที่ 9 ของอาเซียนได้มีมติร่วมกันให้มีการดำเนินการให้อาเซียนเป็นประชาคมอาเซียนที่ประกอบด้วยความเป็นประชาคมด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม-วัฒนธรรมโดยได้มีการยืนยันตอกย้ำอีกครั้งในการประชุมสุดยอดที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ. 2007 เรียกร้องให้การดำเนินการสร้างประชาคมอาเซียนสัมฤทธิผลภายใน ค.ศ. 2015
1.3 ตลอดระยะเวลา 42 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปีก่อตั้งองค์การอาเซียนเมื่อ พ.ศ.2508) อาเซียนมีสถานะเป็นองค์การที่เลื่อนลอยปราศจากกฎหมายใดรองรับ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง อาเซียนหาได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลไม่ จะเรียกว่าเป็นองค์การเถื่อนที่เกาะกันมาอย่างหลวมๆ ก็ไม่ผิดข้อเท็จจริงเป็นผลทำให้อาเซียนในยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัติ 19 ปีที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะไปทำนิติกรรมที่มีผลผูกพันกับองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคอื่นๆ ได้ เช่น การทำสัญญาเขตการค้าเสรี หรือความตกลงหรือสนธิสัญญากับประเทศใดหรือกลุ่มประเทศใดเพื่อความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน หรือด้านการเมือง ความมั่นคง หรือด้านสังคม-วัฒนธรรม การดำเนินการให้อาเซียนมีสภาพถูกต้องตามกฎหมายมีสถานะเป็นนิติบุคคลจึงเป็นเหตุผลสำคัญทำให้รัฐบาลประเทศสมาชิกเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จำต้องทำให้อาเซียนมีสภาพเป็นนิติบุคคลด้วยการมีกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้องค์การอาเซียนเป็นประชาคมด้านความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม-วัฒนธรรม ให้เป็นจริงขึ้นมาได้ภายใน พ.ศ. 2558
2. บทบาทและท่าทีของประเทศไทย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่รัฐบาลไทยได้แสดงท่าทีอย่างหนักแน่นในหลายโอกาสที่ผ่านมาว่าไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับการดำเนินการร่วมกันให้อาเซียนเป็นประชาคมด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม-วัฒนธรรม ใน พ.ศ.2558 โดยล่าสุดไทยก็ได้ประกาศยืนยันในนโยบายและท่าทีแน่ชัดดังกล่าวของไทยต่อที่ประชุมสุดยอดของอาเซียนที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 อีกทั้งตอกย้ำถึงความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่อาเซียนพึงมีกฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการและเป็นรูปธรรมเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนยึดเหนี่ยวเป็นเข็มทิศนำทางให้กับพัฒนาการในด้านต่างๆ ของอาเซียนดำเนินไปอย่างมีทิศทางแน่ชัดและเพื่อเป็นกลไกควบคุมความประพฤติและการดำเนินการของสมาชิกทุกประเทศให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและในทิศทางที่เป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ตลอดจนเพื่อความก้าวหน้าของส่วนรวมเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ประเทศไทยถือว่าการเน้นและให้ความสำคัญกับการมีกฎบัตรอาเซียนที่ยึดมนุษย์เป็นตัวตั้งหรือเป็นศูนย์กลาง (People centered) และตอบสนองความปรารถนาและความหวังสูงสุดที่จะมีโอกาสดำรงชีวิตเยี่ยงเสรีชนของพลเมืองของทุกประเทศอาเซียน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนและจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจำต้องยอมรับและร่วมกันผลักดันให้กฎบัตรอาเซียนสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าวนี้อย่างเป็นรูปธรรม
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนและได้มีบทบาทเข้มแข็งเสมอมา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุครัฐบาลชวน 2) ที่จะผลักดันให้สมาคมอาเซียนปรับ/เปลี่ยนโครงสร้างและการดำเนินการให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพการณ์ของความเป็นจริงและข้อเท็จจริงด้านเศรษฐกิจ-การเมืองที่ปรากฏทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา ทั้งนี้ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงและวัฒนาถาวรของประชาคมอาเซียนเป็นสำคัญ
ดังนั้น การให้กฎบัตรอาเซียนมีเนื้อหาและสารัตถะบ่งบอกแน่ชัดถึงความเป็นสมาคมเพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ยึดความมุ่งหวังและความปรารถนาแน่วแน่ของประชาชนที่จะได้รับความเอื้ออาทร การคุ้มครองดูแลอย่างทั่วถึงและอย่างเท่าเทียมจากรัฐสมาชิกสมาคมอาเซียนเพื่อความอยู่ดีมีสุขของพลเมืองอาเซียน จึงเป็นเรื่องที่ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศจำเป็นต้องร่วมมือกันผลักดันให้กฎบัตรอาเซียนที่จะมีขึ้นมีเนื้อหาและสารัตถะสอดคล้องตอบสนองความมุ่งหวัง ความต้องการของประชาชนของทุกประเทศสมาชิก ไม่ใช่มีฐานะเป็นเพียงแผ่นกระดาษหรือเอกสารเพื่อผลทางด้านการประชาสัมพันธ์เท่านั้น แต่จำต้องมีผลที่เป็นรูปธรรมในความเป็นจริง
3.อุปสรรคและปัญหา
ปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆ ในด้านการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคงที่ได้ปรากฏในช่วง 18 ปี ของยุคหลังสงครามเย็นที่ผ่านมา ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่ตอกย้ำยืนยันให้เห็นถึงความอ่อนแอและไร้เอกภาพของสมาคมอาเซียนในยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัตน์ ความจริงข้อนี้ได้รับการตอกย้ำเด่นชัดขึ้นหลังจากที่อาเซียนได้รับสมาชิกใหม่เข้ามาอีก 4 ประเทศ (พม่า ลาว กัมพูชาและเวียดนาม) ซึ่งปรากฏการณ์ในด้านต่างๆ ของอาเซียนหลังยุคสงครามเย็นเป็นสิ่งยืนยันชี้ชัดให้เป็นที่ประจักษ์ได้ว่า ความแตกต่างอย่างมากในระบบการเมืองการปกครองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นปัจจัยชี้ขาดที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อจำกัดของอาเซียนและเป็นอุปสรรคมากมายหลายด้านต่อความพยายามให้พัฒนาการของอาเซียนที่จะก้าวจากความร่วมมือ (cooperation) ไปสู่การรวมตัว (integration) อย่างเช่นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
นอกจากนั้น ข้อแตกต่างอย่างมากไม่ว่าจะในด้านปรัชญาการเมืองการปกครอง ด้านค่านิยมทางการเมืองและด้านระบบการเมืองล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มปัญหาและอุปสรรคต่อความเป็นปึกแผ่นและการสร้างเอกภาพของอาเซียน เป็นผลทำให้พัฒนาการในด้านต่างๆ ของอาเซียนต้องสะดุดหยุดชะงักเป็นช่วงๆ ตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 18 ปีที่ผ่านมา 40 ปีของการดำรงอยู่ในสมาคมอาเซียนยังไม่สามารถช่วยลดความหวาดระแวงในหมู่ประเทศสมาชิกดั้งเดิม แถมยังได้รับการซ้ำเติมจากการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้ามาอีก 4 ประเทศ ทั้งหมดนี้พอจะสรุปได้ว่ามีสาเหตุสำคัญที่สุดจากการมีระบบการเมืองที่ยังแตกต่างกันมากในหมู่ประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ
จึงเป็นที่ประจักษ์ตลอด 10 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่อาเซียนได้รับประเทศเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน กลุ่มสมาชิกใหม่เหล่านี้ได้ฉกฉวยโอกาสใช้ช่องว่างจากการขาดภาวะผู้นำในหมู่กลุ่มประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียน และความอ่อนแอในภาพรวมของอาเซียนสืบเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 และความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในภูมิภาคโดยรวมสืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอินโดนีเซียและปัญหาเอกราชของติมอร์ตะวันออก และปัญหาแบ่งแยกดินแดนในอาเจห์ของอินโดนีเซีย ตลอดจนความไร้ทิศทางของการดำเนินการของอาเซียนสืบเนื่องจากความพยายามของอาเซียนที่จะหาทางปรับทิศทางและการดำเนินการให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคจากผลกระทบของพลังโลกาภิวัตน์ เป็นอาทิ
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มประเทศสมาชิกใหม่นำมาใช้เป็นอำนาจต่อรองกับกลุ่มประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง รวมทั้ง พึ่งและใช้ความไร้เอกภาพในหมู่ 5 ประเทศสมาชิกดั้งเดิมให้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาอำนาจต่อรองและเพิ่มอิทธิพลของกลุ่มสมาชิกใหม่ในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังให้อาเซียนดำเนินไปในทิศทางที่กลุ่มสมาชิกใหม่ประสงค์เป็นสำคัญ
เหตุผลและข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นเหตุการณ์ยืนยันและตอกย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่กลุ่มสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนจำต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อให้เกิดเอกภาพในกลุ่มและกลับมามีบทบาทและอิทธิพลกำหนดชี้นำร่วมกันได้ และในประเด็นสำคัญนี้ กล่าวได้ว่ากฎบัตรอาเซียนจะมีรูปแบบเนื้อหาและสารัตถะในขั้นสุดท้ายอย่างใดย่อมเป็นเครื่องทดสอบและพิสูจน์ให้เห็นถึงเอกภาพและอิทธิพลชี้นำของกลุ่มสมาชิกก่อตั้งว่ายังคงมีอยู่หรือไม่ประการใด
ข้อความและเนื้อหาทั้งหมดที่ปรากฏในกฎบัตรอาเซียน (ตั้งแต่มาตรา 1-55) แม้จะสะท้อนและยืนยันให้เป็นที่ประจักษ์ว่า อาเซียนยอมรับและเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วนที่จำต้องปรับปรุงแก้ไขและปรับเปลี่ยนทัศนะท่าทีขององค์การอาเซียน เพื่อความอยู่รอดและความเป็นองค์การที่มีศักยภาพ มีบทบาท มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความสำคัญต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความผาสุกของประชาคมอาเซียนเป็นสำคัญ
แต่ขณะเดียวกัน เนื้อหาของกฎบัตรอาเซียนก็ยังคงยืนยันให้เห็นชัดเจนว่า อาเซียนยังไม่พร้อมที่จะก้าวออกไปให้พ้นจากกรอบความคิดหรือกระบวนทัศน์ (paradigm)และพฤติกรรมเดิมๆ ที่ยึดถือปฏิบัติมาตลอด 46 ปีของยุคสงครามเย็น กล่าวคืออาเซียนยังคงยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในสิ่งที่เรียกว่า “วิถีแห่งอาเซียน” (The Asean Way) ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก และในการหาทางหลบเลี่ยงปัญหาต่างๆ ที่มีขึ้นในภูมิภาคอาเซียน มากกว่าการมุ่งหน้าร่วมกันแก้ปัญหาอย่างแท้จริง ทั้งนี้บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นว่า หากไม่เข้าไปยุ่งกับปัญหา หรือหาทางลืมปัญหา ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงก็จะหมดไปเอง
โดยสรุป “วิถีแห่งอาเซียน” คือการมีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่อาศัย กฎระเบียบ บรรทัดฐาน (norms) ที่เป็นสากลเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก และในการแก้ปัญหาที่มีระหว่างกัน กล่าวได้ว่า “วิถีแห่งอาเซียน” เป็นกรอบความคิดที่เป็นนามธรรมมาก ปราศจากความแน่ชัด อีกทั้งมีลักษณะของความไม่เป็นทางการอย่างเด่นชัด องค์ประกอบสำคัญที่รวมกันแล้วและว่า “วิถีแห่งอาเซียน” พอสรุปได้ดังนี้
1. มีระดับการดำเนินการที่มีลักษณะไม่เป็นทางการสูง (informality)
2. ยึดการทูตที่มีลักษณะไม่เป็นข่าว แต่จะจำกัดอยู่ในวงในของประเทศสมาชิกเท่านั้น (informality) หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการหารือภายในหมู่ประเทศสมาชิกเท่านั้น
3. ยึดการพูดจาหารือ (dialogue) และหลักฉันทามติ (consensus) เป็นปัจจัยชี้ขาดในการตัดสินใจ
4. เน้นเรื่องความสำคัญของการยับยั้งช่างใจ (self-restraint)
5. เน้นความสำคัญของการมีเอกภาพ (solidarity)
6. เน้นเรื่องการหลีกเลี่ยงปัญหามากกว่าการหาทางแก้ปัญหา
7. ยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในหลักการเคารพอธิปไตยของประเทศ และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน
ประเด็นทั้ง 7 ข้อข้างต้น ถือได้ว่าเป็นหลักปฏิบัติที่องค์การอาเซียนได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จนกล่าวได้ว่า การดำเนินการตามแนวทางของ “วิถีแห่งอาเซียน” ตลอด 43 ปีที่ผ่านมาได้มีผลช่วยให้อาเซียนสามารถเติบโตอย่างมั่นคง ตลอดจนสามารถพยุงรักษาเอกภาพ ความสมานฉันท์ และความก้าวหน้าของการเป็นองค์การเพื่อความร่วมมือส่วนภูมิภาคได้ด้วยดี เนื่องจากสามารถทำหน้าที่เป็นกรอบความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จในการดึงเอาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความขัดแย้งกัน เข้ามาร่วมก่อตั้งองค์การอาเซียนอย่างเป็นผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการมีกฎบัตรอาเซียนทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล มีความเป็นเอกภาพ มีกรอบความคิด และการดำเนินการร่วมกันในด้านต่างๆ ที่ชัดเจนในรูปของการเป็นประชาคมด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง และด้านสังคม-วัฒนธรรม แต่อาเซียนก็ยังคงต้องประสบกับอุปสรรคและปัญหาสำคัญอันเป็นปัญหาที่อยู่มากับอาเซียนตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งอาเซียนเมื่อ 43 ปีมาแล้ว เพียงแต่เพิ่งจะปรากฏให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งช่วง 18 ปีหลังสิ้นสุดยุคสงครามเย็นหรือที่เรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน ตัวปัญหาที่ยังเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในทุกด้านของอาเซียนหลังการประกาศใช้กฏบัตรอาเซียนแล้ว ที่สำคัญมี 6 ประการ คือ
1) กฎบัตรอาเซียนไม่มีผลบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามเป็นเรื่องของความพร้อมและความสมัครใจของแต่ละประเทศสมาชิก
2) ความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของระบบการเมืองการปกครองในหมู่ประเทศสมาชิก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคอย่างมากต่อการทำให้อาเซียนเป็นประชาคมด้านความมั่นคง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงของมนุษย์และด้านสิทธิมนุษยชน)
3) การยึดหลักความคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา เวสฟาเลีย พ.ศ. 2191 (Westphalian concept of sovereignty)และมาตรา 2 (7) ว่าด้วยการห้ามเข้าไปแทรกแซงในกิจการภายในของแต่ละประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ทั้งๆ ที่องค์การสหประชาชาติก็ได้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาทบทวนหลักความคิดเกี่ยวกับอธิปไตยของรัฐตามระบบเวสฟาเลียที่ประชาคมระหว่างประเทศยึดถือปฏิบัติในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาเป็นเวลา 360 ปีแล้ว เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขที่จำเป็นให้สอดคล้องกับบริบทและข้อเท็จจริงในด้านต่างๆ ของยุคโลกาภิวัตน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์และเรื่องของการปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น ความจำเป็นซึ่งสหประชาชาติจำต้องเข้าแทรกแซงในประเทศสมาชิกที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) การกำจัดชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) รวมทั้งการที่รัฐมีนโยบายและการดำเนินการเพื่อกำจัดประชาชนด้วยเหตุผลทางการเมืองเป็นต้น
ทั้งนี้ สหประชาชาติก็ยอมรับว่าปัญหาความมั่นคงในยุคหลังสงครามเย็นหรือยุคโลกาภิวัตน์หาใช่จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องของการทหารเท่านั้น แต่รวมไปถึงเรื่องของภัยพิบัติจากธรรมชาติ ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาภาวะโลกร้อน และอื่นๆ ที่ล้วนเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากมุมหนึ่งของโลก แต่ส่งผลกระทบร้ายแรงและอย่างรวดเร็วต่อประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางเช่นกัน ความร่วมมือของประชาคมระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสามารถแก้ไขปัญหาร้ายแรงเหล่านี้ได้ทันท่วงที เพราะปัญหาร้ายแรงเหล่านี้ถือได้ว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงของโลกมนุษย์ หากรัฐผู้เป็นต้นเหตุของปัญหาร้ายแรงไม่ให้ความร่วมมือกับประชาคมโลก การพิจารณาเข้าแทรกแซงเพื่อระงับปัญหาย่อมเป็นสิ่งจำเป็น
4) กฎบัตรอาเซียนไม่มีมาตราใดว่าด้วยการระงับ การขับไล่ และการถอดถอนสมาชิกภาพของประเทศสมาชิกที่มีพฤติกรรมและการดำเนินการที่จะมีผลทำให้อาเซียนได้รับความเสื่อมเสียในด้านภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือ (ดังเช่นกรณีประเทศพม่า ซึ่งได้มีพฤติกรรมและการดำเนินการต่างๆ ที่ได้นำความเสื่อมเสียมาสู่อาเซียนตลอด 11ปีที่ผ่านมา)
5) อาเซียนยังไม่มีองค์กรดูแลด้านการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประชาชาติอาเซียน กฎบัตรอาเซียนเพียงแต่ระบุข้อความว่าอาเซียนมีความปรารถนาและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนเกิดขึ้น แต่ไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาแน่ชัดแต่อย่างใด
6) การตัดสินใจด้านนโยบายของอาเซียนยังคงพึ่งหลักฉันทามติ (ซึ่งหมายความว่าหากหนึ่งในสิบประเทศสมาชิกไม่เห็นด้วยก็เท่ากับไม่เกิดฉันทามติ อาเซียนก็ไม่สามารถดำเนินการตามที่สมาชิกเสียงข้างมากประสงค์ได้) ดังนั้น ตราบใดที่อาเซียนยังไม่ยอมนำระบบการลงคะแนนออกเสียงโดยยึดเสียงข้างมากเป็นปัจจัยชี้ขาดก็ยากที่อาเซียนจะมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าและทันต่อเหตุการณ์
สรุป
เป็นที่แน่ชัดและปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นว่า กฎบัตรอาเซียนมีขึ้นมาได้ไม่ใช่เพราะรัฐบาลประเทศสมาชิกมีนโยบายและความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะให้มีกฎบัตรอาเซียน (เพราะหากรัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นถึงความสำคัญและความเร่งด่วนในเรื่องนี้ ก็คงไม่รอนานถึง 43 ปี) แต่เป็นเพราะประเทศสมาชิกอาเซียนไม่อาจทนต่อแรงกดดันที่ถาโถมมาจากมิติด้านต่างๆ ของพลังโลกาภิวัตน์
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการปฏิวัติการสื่อสารและคมนาคม) ซึ่งพลังโลกาภิวัตน์เป็นพลังที่สร้างทั้งความเหมือนและความแตกต่าง ความร่วมมือและความขัดแย้ง ตลอดจนขยายช่องว่างระหว่างประเทศมั่งมีกับประเทศยากจน นำไปสู่ความแตกแยกความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายในแต่ละประเทศ และระหว่างประเทศ เป็นผลโดยตรงทำให้อาเซียนต้องคิดอยู่รอดด้วยการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างที่ล้าหลังของอาเซียน และจัดทำกฎบัตรอาเซียนขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบความคิดและนโยบายชี้นำทางให้กับการดำเนินการของอาเซียน เพื่อไปสู่ความเป็นประชาคมด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรมอย่างแท้จริงและอย่างเป็นรูปธรรม โดยยึดความปรารถนาและความหวังของพลเมืองของประชาคมอาเซียนเป็นศูนย์กลางหรือหัวใจของกฎบัตรอาเซียน เพื่อความผาสุกอยู่ดีกินดีและความก้าวหน้าของพลเมืองของประชาคมอาเซียนเป็นสำคัญ
ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นจะบังเกิดผลในทางเป็นจริงได้ มิได้อยู่ที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกประเทศอาเซียน หากแต่อยู่ที่การเมืองภาคประชาชนในแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ที่ความเข้มแข็งก้าวหน้าของประชาสังคมของแต่ละประเทศอาเซียนว่ามีความเข้มแข็งและเคลื่อนไหวร่วมกันอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ เพื่อติดตามตรวจสอบและกดดันรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญเพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพและความยุติธรรม ล้วนเป็นเรื่องที่ประชาชนสนใจใฝ่หาและให้ความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลของทุกประเทศในโลกโดยปกติจะไมให้ความสนใจหรือความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ยกเว้นเมื่อถูกประชาชนกดดัน บีบบังคับให้เข้ามาดูแลจึงจะยอมทำตามความประสงค์ของฝ่ายประชาชน การมีกฎบัตรอาเซียน (ที่ยังมีข้อบกพร่องที่สำคัญอยู่มาก) ถือได้ว่าเป็นเพียงก้าวเล็กที่สำคัญก้าวหนึ่งเท่านั้น หนทางเดิมของอาเซียนยังมีอีกยาวและนานไกลกว่าจะบรรลุผลตามเป้าประสงค์ที่ประกาศไว้ในกฎบัตรอาเซียน ทั้งความแตกต่างกันอย่างมากในระบบการเมือง การปกครองระหว่างประเทศสมาชิก ถือเป็นปัญหาและอุปสรรคใหญ่หลวงที่สุดต่อความเจริญก้าวหน้าของอาเซียน