บ้านเมืองของเรากำลังประสบ “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ”
“ภัยพิบัติชัดแจ้ง” นี้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของคณะบุคคลหมู่หนึ่ง และการงดเว้นการกระทำของคณะบุคคลอีกหมู่หนึ่ง
“ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ” เป็นคติหรือตำรับทางกฎหมาย ( legal concept or doctrine) ที่เรียกว่า Clear and Present Danger ซึ่งผู้พิพากษาศาลสูงสหรัฐฯ Oliver Wendall Holmes, Jr. เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1919 ถูกนำใช้มากที่สุดในอเมริกา ประเทศที่มีหลักประกันเสรีภาพทางความคิดมากที่สุด
หลักประกันนั้นมีอยู่ในบทบัญญัติเพิ่มเติมลำดับหนึ่งของรัฐธรรมนูญ หรือ The First Amendment
“Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble, and to petition the Government for a redress of grievances ห้ามมิให้สภาคองเกรสออกกฎหมายรับรองศาสนา หรือจำกัดเสรีภาพในการนับถือศาสนาใดๆ หรือจำกัดเสรีภาพในการพูด เสรีภาพของสื่อ หรือเสรีภาพของประชาชนที่จะชุมนุมโดยสงบ และเสรีภาพที่จะยื่นฎีกาให้รัฐบาลบรรเทาทุกข์ร้อน”
มีการงดใช้รัฐธรรมนูญมาตรานี้หลายครั้ง โดยไม่ต้องประกาศออกกฎหมายหรือแก้รัฐธรรมนูญเลย เพียงฝ่ายบริหารใช้อำนาจหรือศาลวินิจฉัยว่ามีเหตุอันควรยกเว้น เพื่อป้องกันหรือระงับภัยต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ อันเชื่อได้ว่า มีแนวโน้ม มีแบบอย่าง มีข้อมูลและมีปัจจัยเชื่อมโยง จนเห็นได้ชัดแจ้งว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ณ จุดใดจุดหนึ่ง
ควบคู่กับหลัก “ภัยพิบัติชัดแจ้ง” คือตำรับ “imminent lawless action หรือ การกระทำเถื่อนเสมือนไร้กฎหมายซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน” หลักนี้ใช้ป้องกันและควบคุมม็อบได้ดีเป็นพิเศษ
ในประเทศ Common Law ก็มีการยกเว้นและบังคับมิให้ใช้เสรีภาพทางการพูดและสิทธิในการชุมนุมทำนองเดียวกัน
แต่ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวแบบสงบสันติอหิงสาและปราศจากอาวุธในโลกประชาธิปไตยจะลดน้อยลงก็หามิได้
หากแต่การกระทำที่มีเบื้องหลัง มีเจตนารับใช้ผลประโยชน์ของบุคคลและหมู่คณะโดยเฉพาะ มีแกนนำจำนวนหนึ่งที่กระทำผิดต่างกรรมต่างวาระ ครั้งแล้วครั้งเล่า เหิมเกริมกำเริบเสิบสานทำลายปกติสุขของบ้านเมืองและสถาบันที่เคารพบูชาของปวงชนข้ามเดือนข้ามปีถึงทุกวันนี้ ถ้าเป็นอเมริกาก็เข้าข่าย clear and present danger และ imminent lawless action ถูกตัดไฟแต่ต้นลมไปนานแล้ว เพราะมิใช่การใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยสุจริต
เหตุไฉนในประเทศไทยจึงมิเป็นเช่นนั้น ประเทศไทยมิใช่นิติรัฐเหมือนนานาอารยประเทศหรือ
การกระทำของคณะบุคคลหมู่หนึ่งนั้นพอจะเข้าใจได้ แต่การงดเว้นการกระทำของคณะบุคคลอีกหมู่หนึ่ง คือรัฐบาลหรือผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เดาไม่ได้ว่าโง่ แกล้งโง่ กลัวขี้ขึ้นหัวสมอง ไม่รู้กฎหมาย หรือเพราะมีผลประโยชน์แอบแฝงร่วมกับคณะบุคคลหมู่แรก
จะว่าสังคมไทยไม่รู้หลักกฎหมาย clear and present danger และ imminent lawless action ก็กระไรอยู่ ผมเคยสอนเรื่องนี้ที่ธรรมศาสตร์กว่า 40 ปีมาแล้ว สังคมน่าจะมีแต่ความรู้มากกว่าเดิม
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบไทย-อเมริกัน
1. กรณีอเมริกันร้องตะโกนไฟไหม้ในที่ชุมนุมกับกรณีพลตรีขัตติยะ เอาระเบิดหรือปืนกล M 79 มาขู่อ้างว่าทำนายหรือเตือนด้วยความหวังดี ซ้ำยังมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดตามคำทำนายล่วงหน้ามาแล้วหลายครั้ง คดีนี้อเมริกันพิพากษาลงโทษ และศาลวางบรรทัดฐาน การบังคับหรือออกคำสั่งห้ามล่วงหน้า (prior restraint) ไว้
“Prior restraint violated the First Amendment of the United States Constitution, คำสั่งห้ามล่วงหน้าขัดรัฐธรรมนูญ ยกเว้นในกรณีลามกอนาจาร กล่าวร้ายป้ายสี หรือ กรณี “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดได้ทุกขณะ” except in cases of obscenity, defamation, or its representing  “a clear and present danger ” (Oliver Wendall Holmes, Jr.)
หากฝูงชนแตกตื่นหนีไฟเหยียบกันตายเป็น clear and present danger กรณี นปช.บุกบ้านประธานองคมนตรีมีการด่าทอหยาบคายและต่อสู้บาดเจ็บทั้งตำรวจและผู้ชุมนุม น่าจะเข้าข่ายห้ามกระทำซ้ำอีก ลงโทษและเพิ่มโทษได้ และห้ามล่วงหน้าได้
2. รัฐมีอำนาจที่จะ จำกัด ห้าม หรือลงโทษการอภิปราย พิมพ์ หรือการกระทำเผยแพร่ ถ้าหากจำเป็นเพื่อป้องกันหรือแก้ไขภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ In constitutional law, the principle that the government, notwithstanding the First Amendment to the United States Constitution, may restrict, prohibit, or punish speech or the printing and distribution of words if it is necessary to prevent a clear and present danger of an event that the government has a right to prevent. Schenck v. United States (249 U.S. 47, 1919) การเผยแพร่ข้อความขบวนการเสื้อแดงของทักษิณด้วยวิธีสารพัดหนักหนาสาหัสกว่าอเมริกันมาก ทำไมจึงจะห้ามมิได้
3. กรณียุยงให้ทหารแข็งข้อต่อผู้บังคับบัญชา ทำให้กองทัพเสียภาพลักษณ์และความเป็นเอกภาพ “อาจเกิดภัยพิบัติชัดแจ้งขึ้นได้ทุกขณะ” เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศเปรียบเทียบการกระทำของพลตรีขัตติยะ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรองกับแกนนำ นปช.คนอื่นๆ กับกรณีของอเมริกันคือ Schenck v. United States (1919) Schenck was arrested and charged with “causing and attempting to cause insubordination in the military and naval forces of the United States” and with disturbing ซึ่งมีรายละเอียดใน www.infoplease.com/us/supreme-court/cases/ar37.html - Schenck เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งอเมริกาต้องข้อหาว่าส่งใบปลิว 15,000 ฉบับยุยงให้ผู้รับหมายเกณฑ์และทหารแข็งข้อต่อผู้บังคับบัญชาและกองทัพในขณะที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอ้างว่าลูกหลานของประชาชนที่ยากจนเท่านั้นที่ตาย ในสงครามเพื่อปกป้องชนชั้นปกครองให้เสวยสุข ศาลตัดสิน 9 ต่อ 0 ให้จำคุก เพราะการขอคุ้มครองเสรีภาพตาม First Amendment และข้ออ้างว่ากฎหมายปกป้องประเทศยามสงครามขัดรัฐธรรมนูญฟังไม่ขึ้น กองทัพต้องเสื่อมวินัย ความเข้มแข็งลดลง เป็นภัยพิบัติชัดแจ้ง ไม่ต่างอะไรกับการตะโกนไฟไหม้ในโรงมหรสพทำให้คนเหยียบกันตาย จะมาอ้างเสรีภาพในการพูดมิได้
ท่านผู้อ่านโปรดใช้ฝ่าเท้าตรองดูการที่พลตรีขัตติยะด่าผู้บังคับบัญชา และการที่แกนนำ นปช.ชุดเดิมเดียวกัน ใช้ม็อบและการชุมนุมทั่วประเทศ ใช้รัฐสภา ใช้วิทยุชุมชนนับร้อยๆ สถานี ใช้โทรทัศน์ และวิดีโอลิงก์ โฟนอินจากนอกประเทศ อาฆาตมาดร้ายบุคคลสำคัญของประเทศ ประกาศล้มรัฐบาล ประกาศยึดกระทรวงกลาโหมและกองทหาร ยุยงให้คนเรือนล้านลุกฮือขึ้นต่อสู้การรัฐประหารด้วยการเตรียมน้ำมันล้านขวดขู่จะเผาบ้านเผาเมืองอย่างนี้หรือจะมิใช่ “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ” หรือ “การกระทำเถื่อนเสมือนไร้กฎหมายซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”
4. กรณีผีบุญอเมริกัน Branch Davidians ที่ Waco, Texas กับผีบุญยุคดิจิตอล เหมือนกันตรงที่หัวกระบวนต่างอวดอ้างเป็นผู้วิเศษ ผีบุญดิจิตอลจะปลดหนี้ทุกคนในประเทศให้ร่ำรวยภายใน 6 เดือน
David Koresh หัวหน้าผีบุญริบเอาลูกเมียสานุศิษย์หมด อ้างว่าพระเจ้าจะลงมารับ ตั้งป้อมคุมเชิงกับกองกำลังปิดล้อมกว่า 80 วัน ก่อนถูกระดมยิง ไฟคลอกและฆ่าตัวตายหมู่ 80 ศพ เหตุเกิด 20 เมษายน 1993 สมัยประธานาธิบดีคลินตันนี่เอง
ผีบุญดิจิตอลนั้น ทั้งๆ ที่มีมหาอำมาตย์พลเอก และอำมาตย์ระดับสูงในราชการตำรวจทหารมากกว่าคนอื่น ก็หลอกลวงราษฎรว่าจะไปโค่นล้มอำมาตย์เพื่อให้ราษฎรเป็นใหญ่ภายใน 3 เดือน
น่าเสียดายที่รัฐบาลมิได้เอาฝ่าเท้าตรองดูพฤติการณ์ผีบุญเสื้อแดงที่เล่ามาข้างต้น มัวแต่บำเพ็ญขันติบารมี และหลงคิดว่าผีบุญใช้สิทธิเคลื่อนไหวตามครรลองประชาธิปไตย
กว่าจะรู้ตัว “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ” ก็ลุกลามไปทั่วประเทศเสียแล้ว สมัยอาจารย์เสนีย์ ประชาธิปัตย์ไม่กล้าปิดสถานียานเกราะที่ปลุกระดมให้เข่นฆ่านักศึกษา จึงเกิดนองเลือดและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ขึ้น สมัยนี้หากรัฐบาลไม่กล้าปิดวิทยุชุมชน ปิดโทรทัศน์สีแดงและปราบกบฏผีบุญที่ปลุกระดมวันละ 24 ชั่วโมงอยู่ทั่วประเทศ อย่าว่าแต่ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเลย แม้แต่ชีวิตของบรรดาผู้นำประชาธิปัตย์ก็อาจจะรักษาไว้ไม่ได้
“ภัยพิบัติชัดแจ้ง” นี้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของคณะบุคคลหมู่หนึ่ง และการงดเว้นการกระทำของคณะบุคคลอีกหมู่หนึ่ง
“ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ” เป็นคติหรือตำรับทางกฎหมาย ( legal concept or doctrine) ที่เรียกว่า Clear and Present Danger ซึ่งผู้พิพากษาศาลสูงสหรัฐฯ Oliver Wendall Holmes, Jr. เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1919 ถูกนำใช้มากที่สุดในอเมริกา ประเทศที่มีหลักประกันเสรีภาพทางความคิดมากที่สุด
หลักประกันนั้นมีอยู่ในบทบัญญัติเพิ่มเติมลำดับหนึ่งของรัฐธรรมนูญ หรือ The First Amendment
“Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble, and to petition the Government for a redress of grievances ห้ามมิให้สภาคองเกรสออกกฎหมายรับรองศาสนา หรือจำกัดเสรีภาพในการนับถือศาสนาใดๆ หรือจำกัดเสรีภาพในการพูด เสรีภาพของสื่อ หรือเสรีภาพของประชาชนที่จะชุมนุมโดยสงบ และเสรีภาพที่จะยื่นฎีกาให้รัฐบาลบรรเทาทุกข์ร้อน”
มีการงดใช้รัฐธรรมนูญมาตรานี้หลายครั้ง โดยไม่ต้องประกาศออกกฎหมายหรือแก้รัฐธรรมนูญเลย เพียงฝ่ายบริหารใช้อำนาจหรือศาลวินิจฉัยว่ามีเหตุอันควรยกเว้น เพื่อป้องกันหรือระงับภัยต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ อันเชื่อได้ว่า มีแนวโน้ม มีแบบอย่าง มีข้อมูลและมีปัจจัยเชื่อมโยง จนเห็นได้ชัดแจ้งว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ณ จุดใดจุดหนึ่ง
ควบคู่กับหลัก “ภัยพิบัติชัดแจ้ง” คือตำรับ “imminent lawless action หรือ การกระทำเถื่อนเสมือนไร้กฎหมายซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน” หลักนี้ใช้ป้องกันและควบคุมม็อบได้ดีเป็นพิเศษ
ในประเทศ Common Law ก็มีการยกเว้นและบังคับมิให้ใช้เสรีภาพทางการพูดและสิทธิในการชุมนุมทำนองเดียวกัน
แต่ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวแบบสงบสันติอหิงสาและปราศจากอาวุธในโลกประชาธิปไตยจะลดน้อยลงก็หามิได้
หากแต่การกระทำที่มีเบื้องหลัง มีเจตนารับใช้ผลประโยชน์ของบุคคลและหมู่คณะโดยเฉพาะ มีแกนนำจำนวนหนึ่งที่กระทำผิดต่างกรรมต่างวาระ ครั้งแล้วครั้งเล่า เหิมเกริมกำเริบเสิบสานทำลายปกติสุขของบ้านเมืองและสถาบันที่เคารพบูชาของปวงชนข้ามเดือนข้ามปีถึงทุกวันนี้ ถ้าเป็นอเมริกาก็เข้าข่าย clear and present danger และ imminent lawless action ถูกตัดไฟแต่ต้นลมไปนานแล้ว เพราะมิใช่การใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยสุจริต
เหตุไฉนในประเทศไทยจึงมิเป็นเช่นนั้น ประเทศไทยมิใช่นิติรัฐเหมือนนานาอารยประเทศหรือ
การกระทำของคณะบุคคลหมู่หนึ่งนั้นพอจะเข้าใจได้ แต่การงดเว้นการกระทำของคณะบุคคลอีกหมู่หนึ่ง คือรัฐบาลหรือผู้มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เดาไม่ได้ว่าโง่ แกล้งโง่ กลัวขี้ขึ้นหัวสมอง ไม่รู้กฎหมาย หรือเพราะมีผลประโยชน์แอบแฝงร่วมกับคณะบุคคลหมู่แรก
จะว่าสังคมไทยไม่รู้หลักกฎหมาย clear and present danger และ imminent lawless action ก็กระไรอยู่ ผมเคยสอนเรื่องนี้ที่ธรรมศาสตร์กว่า 40 ปีมาแล้ว สังคมน่าจะมีแต่ความรู้มากกว่าเดิม
ยกตัวอย่างเปรียบเทียบไทย-อเมริกัน
1. กรณีอเมริกันร้องตะโกนไฟไหม้ในที่ชุมนุมกับกรณีพลตรีขัตติยะ เอาระเบิดหรือปืนกล M 79 มาขู่อ้างว่าทำนายหรือเตือนด้วยความหวังดี ซ้ำยังมีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดตามคำทำนายล่วงหน้ามาแล้วหลายครั้ง คดีนี้อเมริกันพิพากษาลงโทษ และศาลวางบรรทัดฐาน การบังคับหรือออกคำสั่งห้ามล่วงหน้า (prior restraint) ไว้
“Prior restraint violated the First Amendment of the United States Constitution, คำสั่งห้ามล่วงหน้าขัดรัฐธรรมนูญ ยกเว้นในกรณีลามกอนาจาร กล่าวร้ายป้ายสี หรือ กรณี “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดได้ทุกขณะ” except in cases of obscenity, defamation, or its representing  “a clear and present danger ” (Oliver Wendall Holmes, Jr.)
หากฝูงชนแตกตื่นหนีไฟเหยียบกันตายเป็น clear and present danger กรณี นปช.บุกบ้านประธานองคมนตรีมีการด่าทอหยาบคายและต่อสู้บาดเจ็บทั้งตำรวจและผู้ชุมนุม น่าจะเข้าข่ายห้ามกระทำซ้ำอีก ลงโทษและเพิ่มโทษได้ และห้ามล่วงหน้าได้
2. รัฐมีอำนาจที่จะ จำกัด ห้าม หรือลงโทษการอภิปราย พิมพ์ หรือการกระทำเผยแพร่ ถ้าหากจำเป็นเพื่อป้องกันหรือแก้ไขภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ In constitutional law, the principle that the government, notwithstanding the First Amendment to the United States Constitution, may restrict, prohibit, or punish speech or the printing and distribution of words if it is necessary to prevent a clear and present danger of an event that the government has a right to prevent. Schenck v. United States (249 U.S. 47, 1919) การเผยแพร่ข้อความขบวนการเสื้อแดงของทักษิณด้วยวิธีสารพัดหนักหนาสาหัสกว่าอเมริกันมาก ทำไมจึงจะห้ามมิได้
3. กรณียุยงให้ทหารแข็งข้อต่อผู้บังคับบัญชา ทำให้กองทัพเสียภาพลักษณ์และความเป็นเอกภาพ “อาจเกิดภัยพิบัติชัดแจ้งขึ้นได้ทุกขณะ” เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศเปรียบเทียบการกระทำของพลตรีขัตติยะ นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรองกับแกนนำ นปช.คนอื่นๆ กับกรณีของอเมริกันคือ Schenck v. United States (1919) Schenck was arrested and charged with “causing and attempting to cause insubordination in the military and naval forces of the United States” and with disturbing ซึ่งมีรายละเอียดใน www.infoplease.com/us/supreme-court/cases/ar37.html - Schenck เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งอเมริกาต้องข้อหาว่าส่งใบปลิว 15,000 ฉบับยุยงให้ผู้รับหมายเกณฑ์และทหารแข็งข้อต่อผู้บังคับบัญชาและกองทัพในขณะที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยอ้างว่าลูกหลานของประชาชนที่ยากจนเท่านั้นที่ตาย ในสงครามเพื่อปกป้องชนชั้นปกครองให้เสวยสุข ศาลตัดสิน 9 ต่อ 0 ให้จำคุก เพราะการขอคุ้มครองเสรีภาพตาม First Amendment และข้ออ้างว่ากฎหมายปกป้องประเทศยามสงครามขัดรัฐธรรมนูญฟังไม่ขึ้น กองทัพต้องเสื่อมวินัย ความเข้มแข็งลดลง เป็นภัยพิบัติชัดแจ้ง ไม่ต่างอะไรกับการตะโกนไฟไหม้ในโรงมหรสพทำให้คนเหยียบกันตาย จะมาอ้างเสรีภาพในการพูดมิได้
ท่านผู้อ่านโปรดใช้ฝ่าเท้าตรองดูการที่พลตรีขัตติยะด่าผู้บังคับบัญชา และการที่แกนนำ นปช.ชุดเดิมเดียวกัน ใช้ม็อบและการชุมนุมทั่วประเทศ ใช้รัฐสภา ใช้วิทยุชุมชนนับร้อยๆ สถานี ใช้โทรทัศน์ และวิดีโอลิงก์ โฟนอินจากนอกประเทศ อาฆาตมาดร้ายบุคคลสำคัญของประเทศ ประกาศล้มรัฐบาล ประกาศยึดกระทรวงกลาโหมและกองทหาร ยุยงให้คนเรือนล้านลุกฮือขึ้นต่อสู้การรัฐประหารด้วยการเตรียมน้ำมันล้านขวดขู่จะเผาบ้านเผาเมืองอย่างนี้หรือจะมิใช่ “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ” หรือ “การกระทำเถื่อนเสมือนไร้กฎหมายซึ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”
4. กรณีผีบุญอเมริกัน Branch Davidians ที่ Waco, Texas กับผีบุญยุคดิจิตอล เหมือนกันตรงที่หัวกระบวนต่างอวดอ้างเป็นผู้วิเศษ ผีบุญดิจิตอลจะปลดหนี้ทุกคนในประเทศให้ร่ำรวยภายใน 6 เดือน
David Koresh หัวหน้าผีบุญริบเอาลูกเมียสานุศิษย์หมด อ้างว่าพระเจ้าจะลงมารับ ตั้งป้อมคุมเชิงกับกองกำลังปิดล้อมกว่า 80 วัน ก่อนถูกระดมยิง ไฟคลอกและฆ่าตัวตายหมู่ 80 ศพ เหตุเกิด 20 เมษายน 1993 สมัยประธานาธิบดีคลินตันนี่เอง
ผีบุญดิจิตอลนั้น ทั้งๆ ที่มีมหาอำมาตย์พลเอก และอำมาตย์ระดับสูงในราชการตำรวจทหารมากกว่าคนอื่น ก็หลอกลวงราษฎรว่าจะไปโค่นล้มอำมาตย์เพื่อให้ราษฎรเป็นใหญ่ภายใน 3 เดือน
น่าเสียดายที่รัฐบาลมิได้เอาฝ่าเท้าตรองดูพฤติการณ์ผีบุญเสื้อแดงที่เล่ามาข้างต้น มัวแต่บำเพ็ญขันติบารมี และหลงคิดว่าผีบุญใช้สิทธิเคลื่อนไหวตามครรลองประชาธิปไตย
กว่าจะรู้ตัว “ภัยพิบัติชัดแจ้ง อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ” ก็ลุกลามไปทั่วประเทศเสียแล้ว สมัยอาจารย์เสนีย์ ประชาธิปัตย์ไม่กล้าปิดสถานียานเกราะที่ปลุกระดมให้เข่นฆ่านักศึกษา จึงเกิดนองเลือดและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ขึ้น สมัยนี้หากรัฐบาลไม่กล้าปิดวิทยุชุมชน ปิดโทรทัศน์สีแดงและปราบกบฏผีบุญที่ปลุกระดมวันละ 24 ชั่วโมงอยู่ทั่วประเทศ อย่าว่าแต่ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเลย แม้แต่ชีวิตของบรรดาผู้นำประชาธิปัตย์ก็อาจจะรักษาไว้ไม่ได้