เมื่อเวลา14.20 น.วานนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเป็นวิทยากรผู้ทรง
คุณวุฒิ ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง"รัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรมและการบริหารประเทศในภาวะวิกฤติ"
ของสถาบันพระปกเกล้า ณ ห้องสุขุมนัยประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ.นนทบุรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ มีกำหนดการบรรยายใน เวลา 14.00 น. ซึ่งก่อนหน้านั้นนาย
อภิสิทธิ์ ได้เข้าร่วมประชุมสภา และถูกนายจาตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวพาดพิง
ในการประชุมสภา จึงต้องอยู่ชี้แจง ทำให้เดินทางถึงสถาบันพระปกเกล้าช้ากว่ากำหนด 20 นาที นอกจาก
นี้ในการเดินทางของนายกฯ ครั้งนี้ ไม่ได้ออกจากรัฐสภาทางประตูด้านหน้า เนื่องจากมีกลุ่มคนเสื้อแดง
มาชุมนุมอยู่ นายอภิสิทธิ์ จึงเลี่ยงไปออกทางด้านปราสาทเทวฤทธิ์ ฝั่งถนนราชวิถีแทน เพื่อตัดปัญหาการ
เผชิญหน้ากับกลุ่มเสื้อแดง
นายอภิสิทธิ์ ได้เริ่มกล่าวบรรยายว่า แรกเริ่มคิดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราคิดว่าทางสภา จะ
นัดประชุมเรื่องหนังสือสัญญาที่จะใช้การประชุมอาเซียน แต่ปรากฏว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาได้
นัดประชุมในวันนี้ และ27 ม.ค. ตนจึงหารือกับ นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ว่า
จะเปลี่ยนกำหนดการบรรยายได้หรือไม่ แต่สุดท้ายจึงขอต่อรองให้บรรยายเพียง 1 ชั่วโมง แต่ทว่าเมื่อจะ
เดินทางออกจากสภา ก็ถูกพาดพิงจึงเดินทางมาล่าช้า อย่างไรก็ตาม ถ้ามีส.ส.และส.ว.อยู่ในที่นี้ด้วย ก็ขอ
ให้กลับไปสภาด้วย เพื่อให้สภาทำงานต่อได้ราบรื่น
**ชี้ความเสมอภาคเป็นหลักปชต.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าหัวข้อเรื่องรัฐธรรมนูญ นิติธรรม นิติรัฐ กว้างมาก หนึ่งชั่วโมงคงพูดไม่
หมด อย่างไรก็ตามจะเน้นในสิ่งที่เห็นว่าอยู่ในใจของทุกคน โดยอาศัยประสบการณ์ 17 ปีในฐานะคนที่
สนใจศึกษาการเมือง แต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่พูดจะตรงกับตำราในหลักสูตรหรือไม่ แต่ถือเป็นมุมมองที่จะ
เสนอด้วยความสุจริตใจว่า ได้มองปัญหาของประเทศอย่างไร
นายกฯ กล่าวว่า คำหนึ่งที่อยู่ในใจคือ เรื่องของระบอบประชาธิปไตย ที่เข้าใจกันในเรื่องของ
รัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้ง คือตัวแทนของระบอบประชาธิปไตย จนมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น และ
หากพูดถึงเรื่องนิติธรรม-นิติรัฐ สิ่งแรกในทัศนะคือ การเลือกตั้ง คือหนึ่งเสียงของประชาธิปไตย เริ่มต้น
จากหลักการที่สำคัญคือ เชื่อในเรื่องของความเสมอภาค ที่ทุกคนต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพ และมีส่วนร่วม
ในการกำหนดอนาคตของประเทศชาติ คือ หลักการที่สำคัญที่สุด และเมื่อถึงการเลือกตั้งและมีสภา นั่น
เป็นความพยายามที่จะออกแบบระบอบหลักการ ซึ่งในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นคงไม่มีรูป
แบบใด ที่จะเป็นรูปแบบที่ผูดขาดความเป็นประชาธิปไตยได้
"แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ผมคิดว่าหลายครั้งเราลืมไป ในสังคมนี้
ตลอดระยะเวลายาวนานยังมีความบกพร่องหย่อนยานในเรื่องนี้ วิกฤติบ้านเมืองในหลายปีที่ผ่านมา มา
จากความสับสนเรื่องขอบเขตของเสียงข้างมาก กับการคุ้มครองเสียงข้างน้อยว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งผมย้ำตั้งแต่
เป็นฝ่ายค้านจนถึงตรงนี้ คือทุกคนต้องเสมอภาค เราไม่อนุญาตให้คนใดคนหนึ่งมีอำนาจ หรือยกเว้นข้อ
กฎหมายได้ เพราะไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่า เราจะปกครองด้วยความรู้สึก ปกครองด้วยกระแส ทำให้สังคม
ไม่กฎมีเกณฑ์ เพราะถ้าผู้มีอำนาจฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ได้ ก็เท่ากับจะเป็นการส่งเสริมให้คนมีอำนาจ เพราะถ้า
มีอำนาจแล้วทำอะไรก็ได้ ตรวจสอบไม่ได้ หรือถูกลงโทษตามกฎหมายไม่ได้ ซึ่งในประเทศที่เจริญที่เป็น
แม่แบบเรื่องนิติธรรม-นิติรัฐ เขายึดเป็นพื้นฐานก่อนที่จะพูดถึงหลักการประชาธิปไตยด้วยซ้ำ"
** "นิกสัน"พังเพราะถูกตรวจสอบ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่างในสหรัฐอเมริกาเป็นการเลือกตั้งโดยตรงที่คนชนะจะเป็น
ประธานาธิบดี 4 ปี แต่มีบางท่านไม่ครบสี่ปี และส่วนหนึ่งก็ถูกลอบสังหาร แต่ในระยะที่ผ่านมา คืออดีต
ประธานาธิบดีนิกสัน ต้องออกไปก่อนครบวาระ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปดูสถิติที่ชนะการเลือกตั้งเด็ดขาด
เหมือนนายนิกสันนั้นหาได้ยากมาก ท่านมีคะแนนเสียงท่วมท้น แต่ที่สุดถูกตรวจสอบจนทำให้พ้นจาก
ตำแหน่ง เป็นตัวอย่างที่อยากจะชี้ ให้เห็นว่า การเมืองของเขา หรือในสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เอเชีย ที่บาง
ครั้งก็มีความรับผิดชอบทางการเมือง
บ้านเมืองเราที่ผ่านมาค่อนข้างยึดรูปแบบรัฐสภา แต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติอย่างชัดเจน ในที่สุดจะ
เห็นว่า ประชาชนมักบ่นว่าเสียงข้างมากลากไป แต่หลายครั้งเมื่อมีการตวจสอบ ก็มีข้อสงสัยว่า สิ่งที่ทำถูก
หรือไม่ ก็ทำให้มีกระแสสังคมมองว่า ความไม่ชอบธรรมเกิดขึ้นและสุดท้ายก็ไปชี้ขาดที่เสียงข้างมาก แต่ก็
ไม่มีการตอบสนอง จึงทำให้พบความจริงว่า มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ใช้อำนาจในทางไม่ชอบ ทำให้คน
ส่วนหนึ่งเห็นว่า ไม่สามารถแก้ในระบบได้ จึงปฏิวัติรัฐประหาร จึงยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยพลการ และเรา
ติดอยู่ในวังวลปัญหานี้มาโดยตลอด
ทั้งนี้ตนเข้ามาปี 2535 จำได้ว่า ตั้งใจว่าน่าจะอยู่ในการเมืองที่มีการพัฒนาต่อเนื่องสม่ำเสมอ คิด
และหวังในใจว่า การรัฐประหารปี 2534 จะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต
**ต้องเคารพบทบาทองค์กรอิสระ
นายกฯ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคการเมือง เมื่อสมัครรับเลือกตั้ง ใครอยากจะทำอะไรให้บ้าน
เมืองก็ขอฉันทานุมัติให้ทำ แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำหลายสิ่ง เช่น ไม่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ถ้าฝืนก็มีศาล
รัฐธรรมนูญดำเนินการ ไม่ให้ทำอะไรผิดกฎหมายก็มีระบบศาลปกครองที่เป็นองค์กรอิสระ คอยตรวจสอบ
และวินิจฉัยว่า เรื่องใดรัฐบาลทำเกินอำนาจ ทำแล้วเสียหาย ก็จะให้เพิกถอนคำสั่งและอำนาจนั้น
นอกจากนี้การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็มีการตั้งป.ป.ช. แทนที่จะเป็น ป.ป.ป. เพราะ
หลายครั้งป.ป.ป. ทำงานแล้วเมื่อวินิจฉัย คำวินิจฉัยก็ถูกลบล้างโดยฝ่ายบริหาร จึงเป็นที่มาของ ป.ป.ช.
และยังมีอีกหลายองค์กร อาทิ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, กกต. ที่ดูแลเรื่องของการเลือกตั้ง ให้สุจริต
เที่ยงธรรม
**พังระบบตรวจสอบจึงถูกยึดอำนาจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จากปี 40 เรามีความหวังว่าเราจะสามารถทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไป
ในทางที่ดี และได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี ได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เน้นนโยบาย และตอนนั้นคำ
วินิจฉัยของ กกต., ป.ป.ช. มีการตรวจสอบ การคานอำนาจอย่างเหมาะสม แต่จากนั้นก็สูญเสียไป เป็นที่
รับทราบว่า กลไกลเหล่านั้นทำงานแทบไม่ได้ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ และทำให้มีเหตุการณ์การเผชิญ
หน้าว่าใครผิด ใครถูก สุดท้ายก็จบลงที่การรัฐประหาร 2549 และนำไปสู่ความขัดแย้งเรื่อยมา ดังนั้นจะ
เห็นได้ว่า ความขัดแย้งทวีสู่ท้องถนนมากขึ้น จนมีการเสียเสียเลือดเนื้อกัน
**ย้ำความสำคัญหลักนิติธรรม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงหลักนิติธรรมว่า 1. หลักนิติธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเปลี่ยน
ระบบการเมือง หรือปฏิรูป ซึ่งหลักการนี้เราทิ้งไม่ได้
2. แม้ว่าเป็นหลักการที่สำคัญแต่เกือบจะล้มเหลวในการรักษาหลักนี้ ดูจากเรื่องเล็กจนถึงเรื่อง
ใหญ่ ตั้งแต่กฎจราจร กฎหมายระดับท้องถิ่น ปัญหาธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เรื่อยมาถึงการทำผิดกฎหมายในข้า
ราชการ และฝ่ายการเมือง ดังนั้นถ้าสังคมเรายังไม่จริงจังกับเรื่องเหล่านี้ ความคาดหวังว่าจะเห็นการทำ
หน้าที่ของแต่ละฝ่ายทำตามกฎเกณฑ์ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะมันเริ่มจากเรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่สุด ซึ่ง
ประเทศไทยต้องแก้ไข และข้ามพ้นให้ได้ เพราะอนาคตที่เศรษฐกิจของเราจะอิงกับตลาดโลก ซึ่งจะชี้ขาด
ว่า บ้านเมืองไหนสามารถแข่งขัน หรือเรียกความมั่นใจในการเข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้นจึง
ยังคงเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข
**ยอมรับเสียวกฎหมายยุบพรรค
3. บทเรียนที่เราต้องเข้าใจก็คือ ปัญหาทั้งหมด ตนไม่เชื่อว่าจะมีใครมีความสามารถป้องกันได้
ถ้าสังเกตุให้ดีรัฐธรรมนูญจะยาวขึ้นทุกฉบับ แต่ละบทบัญญัติก็จะต้องขยายความให้ละเอียดทุกที เรียกว่า
เขียนจุดหนึ่งก็มีช่องโหว่ คนเขียนก็ต้องเขียนให้ยาว แต่ก็สู้คนหาช่องว่างไม่ได้ ก็เลี่ยงอีก ก็ต้องเติม
ประโยคไปอีก ดังนั้นทำเท่าไรก็ไม่จบ และพอเราพยายามใช้วิธีแบบนี้ก็เลยต้องเขียนหลายอย่างสุดโต่ง ที่
มีปัญหาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ อย่างเช่น กฎหมายเรื่องการยุบพรรค
"ผมพูดในฐานะที่เป็นผู้บริหารพรรค ก็หวาดเสียวตลอดเวลา แต่เราเข้าใจมาตราแบบนี้ และเข้า
ใจว่า คนเขาต่อต้านเพราะอะไร และเข้าใจที่มาของบทบัญญัติแบบนี้ เพราะว่าการทุจริตการเลือกตั้ง
เพราะการซื้อเสียงมันเติบโตและซับซ้อนมากขึ้น เป็นบ่อนทำลายธรรมาภิบาลของการเมือง แม้ไม่มียุค
ไหนบอกว่าซื้อเสียงแล้วถูกกฎหมาย จึงส่งเรื่องฟ้องศาลแพ่ง ศาลอาญา แต่ทว่าศาลชั้นแรกยังไม่ทัน
พิพากษา ก็ยุบสภาแล้ว ดังนั้นก็ไม่รู้จะต่อสู้ไปทำไม และคนไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ไม่รู้จะฟ้องทำไม
เพราะกว่าจะเสร็จสิ้น ก็สายเกิน จึงมีการทำเรื่อง กกต.ขึ้นมา"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กกต.ยุคแรกไม่มีอำนาจในการให้ใบแดง ให้ได้เพียงใบเหลือง เท่านั้น
และก็พบความจริงเมื่อครั้งเลือกตั้งวุฒิสภาครั้งแรก ที่มีการเลือกใหม่ถึง 6 ครั้ง สอบอีกก็ผิดอีก จน กกต.
ทนไม่ได้ จึงออกกฎฟีฟ่า คือสองเหลือเป็นหนึ่งแดง แต่ก็ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายไม่ให้อำนาจไว้
แต่ก็หาช่องเรื่องของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ที่พัฒนามาถึงอย่างนี้ แล้วมีคนถามว่า ถ้าเกิดการทุจริต
เลือกตั้งถ้าไม่ได้เป็นที่ตัวบุคคล แต่เป็นระบบโดยตัวองค์กร จะทำอย่างไร ก็มีการพูดถึงเรื่องยุบพรรคการ
เมือง จึงเป็นเรื่องของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
**ถ้าเป็นคนเขียน ม.237 คงไม่เอาแบบนี้
"ในมุมหนึ่งคนเขียนกฎหมาย คงจะกำลังหมดความอดทนว่าจะทำยังไงก็ไมสำเร็จ เหมือนโรค
ที่รักษาไม่หาย ก็ใช้ยาแรงขึ้น แต่ในอีกแง่หนึ่งคือ คนที่เขามองว่าเขาไม่ได้ทำความผิด แต่ในโครงสร้าง
เขาต้องรับผิดไปด้วย จึงทำให้มองได้สองมุม ถ้าเราสามารถแยกแยะได้จะดีมาก แต่ยาก เพราะพรรคการ
เมืองก็บอกว่า ถ้ามีอะไรหมิ่นเหม่ก็จะบอกว่า ถือว่าเราไม่ได้พูดกันในพรรค เพราะคงไม่มีมติพรรคไหน
ให้มีมติทำผิดกฎหมาย แต่ตรงนี้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2550 ที่มีการตัดสิทธิ์ และ
ลงโทษ จึงมีความคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายถึงขั้นวิกฤติ คือ สิ่งที่ผม
คิดว่ามันก็อยู่ที่มุมมองอีกเช่นกัน และผมก็เป็นคนหนึ่ง ถ้าเขียนมาตรา 237ได้ ก็ไม่เขียนอย่างนี้ แต่เมื่อ
เขียนแล้ว และผมรู้ว่ามีมาตรการนี้ ผมก็ต้องยอมรับกติกา"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ภาระหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องสร้างหลักนิติรัฐ บนหลักนิติธรรม
ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อฟันฝ่าวิกฤติเพื่อเดินหน้า ยังเป็นภาระที่สำคัญมาก หากถามว่ารัฐบาลคิดอย่างไรและ
กำลังจะทำอะไรนั้น ตนเรียนว่ารัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่า เคารพกฎหมาย
**ยอมรับมาตรา190 ทำให้ทำงานยาก
"ผมออกมาจากสภา มีสมาชิกจำนวนมากบอกว่า มาตรา 190 ทำให้บริหารประเทศไม่ได้ ผมก็
ยอมรับว่า ทำงานยากขึ้น แต่ตราบใดที่ยังมี ก็จะต้องทำตาม ส่วนจะมีความเหมาะสมในการแก้หรือไม่ ก็
ว่ากัน แต่ไม่ควรริเริ่มด้วยคนที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลหน้า แต่ผมก็ต้องตั้งใจเต็มเปี่ยม
ว่ารัฐบาลที่ยึดหลักกฎหมาย" นายกฯกล่าว
**เดินหน้าปฏิรูปการเมือง-แก้รธน.
นายกฯ กล่าวว่า ตนแถลงนโยบายบายรัฐบาลว่า เราจะเดินหน้าปฏิรูปการเมือง ส่วนการ
ปฏิรูปการเมืองจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ หรือต้องทำอะไรนั้น มันก็จะครอบคลุมในตัวของมันเอง ถ้าเขียน
นโยบายเรื่องที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ก็จะเกิดความขัดแย้ง ก็จะโดนกล่าวว่า แก้เพื่อใครหรือไม่ ดังนั้นจึง
พยายามหาความเห็นร่วมให้มากที่สุด ในการออกแบบองค์กรในการปฏิรูปการเมือง
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการของสภาเคยทำเรื่องนี้ และในรายงานก็พบว่า การศึกษารัฐธรรมนูญ
ปี 50 ค่อนข้างจำกัด อย่างมาตรา 190 บอกว่าก็ต้องคอยดูกฎหมายลูก แต่เสียงเรียกร้องให้แก้ มันเยอะ และ
ฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร เขาก็ต้องการลบล้าง ส่วนอีกฝ่ายก็ยังบอกว่า ต้องแก้ไขที่การเมือง ซึ่งจะแก้ไข
การเมือง เขาก็ต้องเข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นกัน
** อ้อน ส.พระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพ
"ควาททุกข์ของผม และคนทำงานในวันนี้ คือ พยายามหาคนที่คนยอมรับ มันไม่ง่าย ผมลอง
ปรึกษากับประธานวิปฝ่ายค้านบ้างแล้ว และเป็นอย่างที่คิด คือเอ่ยชื่อใครมากี่คนก็จะบอกว่าไม่ใช่ ไม่เป็น
กลาง ยาก แต่ผมคิดว่าจะเดินหน้าต่อ ส่วนเรื่องตัวบุคคลไม่ได้ก็จะยึดตัวสถาบัน และสถาบันพระปก
เกล้า ก็เหมาะสมที่สุด แต่ต้องถามฝ่ายค้านว่า ต้องตัดสินด้วยองค์กรใด ผมคิดว่าสถาบันนี้น่าจะเป็นที่ยอม
รับต่อไป เพราะถ้ายึดตัวสถาบันเป็นหลักในการออกแบบ น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด ไม่แน่ใจว่า สำเร็จ
หรือไม่ เพราะต้องดูว่าฝ่ายค้านจะยอมรับหรือไม่ แต่จำเป็นต้องทำ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ไม่รีบร้อนแก้เหมือนสมัคร-สมชาย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีคนบอกว่าอย่าไปยุ่งเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ให้มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่
อีกฝ่ายก็บอกให้ยุบสภา ให้ลาออก แต่คิดว่าทุกอย่างต้องมีเหตุมีผล แต่ถ้าเป็นองค์กรที่อยู่นอกส่วนได้เสีย
ของการเมือง ก็น่าจะทำให้คนยอมรับได้ แม้เสียเวลาหน่อย เพราะคนที่อยากทำก็อาจจะใจร้อนว่าเมื่อไร
จะตั้งกรรมการ เพราะตนคิดว่าไม่มีประโยชน์ที่จะรีบทำ หากทำแล้วไม่ได้รับการยอมรับ อย่างเช่น ใน
รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็รีบจะทำอย่างนี้ แต่ไม่ตกผลึก จึงกลายเป็น
ความขัดแย้งไป
ให้ตร.ทำทุกคดีตรงไปตรงมา
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่จะบังคับใช้กฎหมายว่า 1.ถ้าแบบตรงไปตรงมา ตนก็ถูกเรียกร้อง
จากทั้งสองฝ่ายให้เร่งดำเนินคดีกับอีกฝ่ายทุกวัน ซึ่งตนยืนว่ารัฐบาลจะให้ทุกอย่างทำอย่างตรงไปตรงมา
ไม่มีการละเว้น หรือกลั่นแกล้ง เรื่องนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ก็รับทราบชัดเจนว่า นี่คือ
ภารกิจที่ท่านต้องทำ และฝ่ายค้านก็ตั้งกระทู้ถามเรามาเช่นกัน
2. ถ้าพิจารณาเป็นคดี ต้องยอมรับว่าหลายเหตุการณ์มองมุมในความผิดทางอาญาไม่ได้ ต้อง
มองในมุมของการเมืองด้วย เหมือนต่างประเทศที่มีระดับความผิดหลากหลายกว่าเรามาก ตรงนี้ต้องเรียน
รู้พอสมควร
"ความตั้งใจของผมคือ อยากมีคณะบุคคลเข้ามาปรึกษา และสะสางตรงนี้ ซึ่งก็หายากเช่นกัน
เวลานี้ได้คุยกับบุคคลท่านหนึ่ง พบกันแล้วครั้งหนึ่ง และโทรศัพท์นับครั้งไม่ถ้วน แต่ท่านไปทาบทาม
ใครก็กลัวว่าเป็นภาระ หรือกังวลว่าจะได้รับการยอมรับหรือไม่ เพราะยืนท่ามกลางความขัดแย้ง เนื่องจาก
การแตกแยกตอนนี้ ถึงขั้นลึกพอสมควร จึงหวังว่าจะตั้งคณะบุคคลขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันในความ
ยุติธรรม อันนี้คือสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ"
นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนท้ายว่า แน่นอนว่า การทำงานของรัฐบาลถูกกดดันด้วยภาวะ
เศรษฐกิจของโลก จึงมุ่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพราะหากทำไม่สำเร็จ ความขัดแย้งก็จะมากเช่นเดียวกัน
แต่ความพยายามของรัฐบาลในการยึดนิติธรรม นิติรัฐ ทำให้เกิดการยอมรับในสังคมวงกว้าง คือสิ่งที่เราจะผลักดันต่อไป
คุณวุฒิ ในการบรรยายพิเศษ เรื่อง"รัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรมและการบริหารประเทศในภาวะวิกฤติ"
ของสถาบันพระปกเกล้า ณ ห้องสุขุมนัยประดิษฐ์ สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จ.นนทบุรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอภิสิทธิ์ มีกำหนดการบรรยายใน เวลา 14.00 น. ซึ่งก่อนหน้านั้นนาย
อภิสิทธิ์ ได้เข้าร่วมประชุมสภา และถูกนายจาตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวพาดพิง
ในการประชุมสภา จึงต้องอยู่ชี้แจง ทำให้เดินทางถึงสถาบันพระปกเกล้าช้ากว่ากำหนด 20 นาที นอกจาก
นี้ในการเดินทางของนายกฯ ครั้งนี้ ไม่ได้ออกจากรัฐสภาทางประตูด้านหน้า เนื่องจากมีกลุ่มคนเสื้อแดง
มาชุมนุมอยู่ นายอภิสิทธิ์ จึงเลี่ยงไปออกทางด้านปราสาทเทวฤทธิ์ ฝั่งถนนราชวิถีแทน เพื่อตัดปัญหาการ
เผชิญหน้ากับกลุ่มเสื้อแดง
นายอภิสิทธิ์ ได้เริ่มกล่าวบรรยายว่า แรกเริ่มคิดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราคิดว่าทางสภา จะ
นัดประชุมเรื่องหนังสือสัญญาที่จะใช้การประชุมอาเซียน แต่ปรากฏว่า นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาได้
นัดประชุมในวันนี้ และ27 ม.ค. ตนจึงหารือกับ นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ว่า
จะเปลี่ยนกำหนดการบรรยายได้หรือไม่ แต่สุดท้ายจึงขอต่อรองให้บรรยายเพียง 1 ชั่วโมง แต่ทว่าเมื่อจะ
เดินทางออกจากสภา ก็ถูกพาดพิงจึงเดินทางมาล่าช้า อย่างไรก็ตาม ถ้ามีส.ส.และส.ว.อยู่ในที่นี้ด้วย ก็ขอ
ให้กลับไปสภาด้วย เพื่อให้สภาทำงานต่อได้ราบรื่น
**ชี้ความเสมอภาคเป็นหลักปชต.
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าหัวข้อเรื่องรัฐธรรมนูญ นิติธรรม นิติรัฐ กว้างมาก หนึ่งชั่วโมงคงพูดไม่
หมด อย่างไรก็ตามจะเน้นในสิ่งที่เห็นว่าอยู่ในใจของทุกคน โดยอาศัยประสบการณ์ 17 ปีในฐานะคนที่
สนใจศึกษาการเมือง แต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่พูดจะตรงกับตำราในหลักสูตรหรือไม่ แต่ถือเป็นมุมมองที่จะ
เสนอด้วยความสุจริตใจว่า ได้มองปัญหาของประเทศอย่างไร
นายกฯ กล่าวว่า คำหนึ่งที่อยู่ในใจคือ เรื่องของระบอบประชาธิปไตย ที่เข้าใจกันในเรื่องของ
รัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้ง คือตัวแทนของระบอบประชาธิปไตย จนมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น และ
หากพูดถึงเรื่องนิติธรรม-นิติรัฐ สิ่งแรกในทัศนะคือ การเลือกตั้ง คือหนึ่งเสียงของประชาธิปไตย เริ่มต้น
จากหลักการที่สำคัญคือ เชื่อในเรื่องของความเสมอภาค ที่ทุกคนต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพ และมีส่วนร่วม
ในการกำหนดอนาคตของประเทศชาติ คือ หลักการที่สำคัญที่สุด และเมื่อถึงการเลือกตั้งและมีสภา นั่น
เป็นความพยายามที่จะออกแบบระบอบหลักการ ซึ่งในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นคงไม่มีรูป
แบบใด ที่จะเป็นรูปแบบที่ผูดขาดความเป็นประชาธิปไตยได้
"แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย ผมคิดว่าหลายครั้งเราลืมไป ในสังคมนี้
ตลอดระยะเวลายาวนานยังมีความบกพร่องหย่อนยานในเรื่องนี้ วิกฤติบ้านเมืองในหลายปีที่ผ่านมา มา
จากความสับสนเรื่องขอบเขตของเสียงข้างมาก กับการคุ้มครองเสียงข้างน้อยว่าอยู่ตรงไหน ซึ่งผมย้ำตั้งแต่
เป็นฝ่ายค้านจนถึงตรงนี้ คือทุกคนต้องเสมอภาค เราไม่อนุญาตให้คนใดคนหนึ่งมีอำนาจ หรือยกเว้นข้อ
กฎหมายได้ เพราะไม่เช่นนั้นก็เท่ากับว่า เราจะปกครองด้วยความรู้สึก ปกครองด้วยกระแส ทำให้สังคม
ไม่กฎมีเกณฑ์ เพราะถ้าผู้มีอำนาจฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ได้ ก็เท่ากับจะเป็นการส่งเสริมให้คนมีอำนาจ เพราะถ้า
มีอำนาจแล้วทำอะไรก็ได้ ตรวจสอบไม่ได้ หรือถูกลงโทษตามกฎหมายไม่ได้ ซึ่งในประเทศที่เจริญที่เป็น
แม่แบบเรื่องนิติธรรม-นิติรัฐ เขายึดเป็นพื้นฐานก่อนที่จะพูดถึงหลักการประชาธิปไตยด้วยซ้ำ"
** "นิกสัน"พังเพราะถูกตรวจสอบ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อย่างในสหรัฐอเมริกาเป็นการเลือกตั้งโดยตรงที่คนชนะจะเป็น
ประธานาธิบดี 4 ปี แต่มีบางท่านไม่ครบสี่ปี และส่วนหนึ่งก็ถูกลอบสังหาร แต่ในระยะที่ผ่านมา คืออดีต
ประธานาธิบดีนิกสัน ต้องออกไปก่อนครบวาระ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปดูสถิติที่ชนะการเลือกตั้งเด็ดขาด
เหมือนนายนิกสันนั้นหาได้ยากมาก ท่านมีคะแนนเสียงท่วมท้น แต่ที่สุดถูกตรวจสอบจนทำให้พ้นจาก
ตำแหน่ง เป็นตัวอย่างที่อยากจะชี้ ให้เห็นว่า การเมืองของเขา หรือในสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เอเชีย ที่บาง
ครั้งก็มีความรับผิดชอบทางการเมือง
บ้านเมืองเราที่ผ่านมาค่อนข้างยึดรูปแบบรัฐสภา แต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติอย่างชัดเจน ในที่สุดจะ
เห็นว่า ประชาชนมักบ่นว่าเสียงข้างมากลากไป แต่หลายครั้งเมื่อมีการตวจสอบ ก็มีข้อสงสัยว่า สิ่งที่ทำถูก
หรือไม่ ก็ทำให้มีกระแสสังคมมองว่า ความไม่ชอบธรรมเกิดขึ้นและสุดท้ายก็ไปชี้ขาดที่เสียงข้างมาก แต่ก็
ไม่มีการตอบสนอง จึงทำให้พบความจริงว่า มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ใช้อำนาจในทางไม่ชอบ ทำให้คน
ส่วนหนึ่งเห็นว่า ไม่สามารถแก้ในระบบได้ จึงปฏิวัติรัฐประหาร จึงยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยพลการ และเรา
ติดอยู่ในวังวลปัญหานี้มาโดยตลอด
ทั้งนี้ตนเข้ามาปี 2535 จำได้ว่า ตั้งใจว่าน่าจะอยู่ในการเมืองที่มีการพัฒนาต่อเนื่องสม่ำเสมอ คิด
และหวังในใจว่า การรัฐประหารปี 2534 จะเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต
**ต้องเคารพบทบาทองค์กรอิสระ
นายกฯ กล่าวว่า ในส่วนของพรรคการเมือง เมื่อสมัครรับเลือกตั้ง ใครอยากจะทำอะไรให้บ้าน
เมืองก็ขอฉันทานุมัติให้ทำ แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำหลายสิ่ง เช่น ไม่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ถ้าฝืนก็มีศาล
รัฐธรรมนูญดำเนินการ ไม่ให้ทำอะไรผิดกฎหมายก็มีระบบศาลปกครองที่เป็นองค์กรอิสระ คอยตรวจสอบ
และวินิจฉัยว่า เรื่องใดรัฐบาลทำเกินอำนาจ ทำแล้วเสียหาย ก็จะให้เพิกถอนคำสั่งและอำนาจนั้น
นอกจากนี้การตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็มีการตั้งป.ป.ช. แทนที่จะเป็น ป.ป.ป. เพราะ
หลายครั้งป.ป.ป. ทำงานแล้วเมื่อวินิจฉัย คำวินิจฉัยก็ถูกลบล้างโดยฝ่ายบริหาร จึงเป็นที่มาของ ป.ป.ช.
และยังมีอีกหลายองค์กร อาทิ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, กกต. ที่ดูแลเรื่องของการเลือกตั้ง ให้สุจริต
เที่ยงธรรม
**พังระบบตรวจสอบจึงถูกยึดอำนาจ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จากปี 40 เรามีความหวังว่าเราจะสามารถทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงไป
ในทางที่ดี และได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี ได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เน้นนโยบาย และตอนนั้นคำ
วินิจฉัยของ กกต., ป.ป.ช. มีการตรวจสอบ การคานอำนาจอย่างเหมาะสม แต่จากนั้นก็สูญเสียไป เป็นที่
รับทราบว่า กลไกลเหล่านั้นทำงานแทบไม่ได้ ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ และทำให้มีเหตุการณ์การเผชิญ
หน้าว่าใครผิด ใครถูก สุดท้ายก็จบลงที่การรัฐประหาร 2549 และนำไปสู่ความขัดแย้งเรื่อยมา ดังนั้นจะ
เห็นได้ว่า ความขัดแย้งทวีสู่ท้องถนนมากขึ้น จนมีการเสียเสียเลือดเนื้อกัน
**ย้ำความสำคัญหลักนิติธรรม
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงหลักนิติธรรมว่า 1. หลักนิติธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเปลี่ยน
ระบบการเมือง หรือปฏิรูป ซึ่งหลักการนี้เราทิ้งไม่ได้
2. แม้ว่าเป็นหลักการที่สำคัญแต่เกือบจะล้มเหลวในการรักษาหลักนี้ ดูจากเรื่องเล็กจนถึงเรื่อง
ใหญ่ ตั้งแต่กฎจราจร กฎหมายระดับท้องถิ่น ปัญหาธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เรื่อยมาถึงการทำผิดกฎหมายในข้า
ราชการ และฝ่ายการเมือง ดังนั้นถ้าสังคมเรายังไม่จริงจังกับเรื่องเหล่านี้ ความคาดหวังว่าจะเห็นการทำ
หน้าที่ของแต่ละฝ่ายทำตามกฎเกณฑ์ ก็เป็นเรื่องยาก เพราะมันเริ่มจากเรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่สุด ซึ่ง
ประเทศไทยต้องแก้ไข และข้ามพ้นให้ได้ เพราะอนาคตที่เศรษฐกิจของเราจะอิงกับตลาดโลก ซึ่งจะชี้ขาด
ว่า บ้านเมืองไหนสามารถแข่งขัน หรือเรียกความมั่นใจในการเข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้นจึง
ยังคงเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข
**ยอมรับเสียวกฎหมายยุบพรรค
3. บทเรียนที่เราต้องเข้าใจก็คือ ปัญหาทั้งหมด ตนไม่เชื่อว่าจะมีใครมีความสามารถป้องกันได้
ถ้าสังเกตุให้ดีรัฐธรรมนูญจะยาวขึ้นทุกฉบับ แต่ละบทบัญญัติก็จะต้องขยายความให้ละเอียดทุกที เรียกว่า
เขียนจุดหนึ่งก็มีช่องโหว่ คนเขียนก็ต้องเขียนให้ยาว แต่ก็สู้คนหาช่องว่างไม่ได้ ก็เลี่ยงอีก ก็ต้องเติม
ประโยคไปอีก ดังนั้นทำเท่าไรก็ไม่จบ และพอเราพยายามใช้วิธีแบบนี้ก็เลยต้องเขียนหลายอย่างสุดโต่ง ที่
มีปัญหาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ อย่างเช่น กฎหมายเรื่องการยุบพรรค
"ผมพูดในฐานะที่เป็นผู้บริหารพรรค ก็หวาดเสียวตลอดเวลา แต่เราเข้าใจมาตราแบบนี้ และเข้า
ใจว่า คนเขาต่อต้านเพราะอะไร และเข้าใจที่มาของบทบัญญัติแบบนี้ เพราะว่าการทุจริตการเลือกตั้ง
เพราะการซื้อเสียงมันเติบโตและซับซ้อนมากขึ้น เป็นบ่อนทำลายธรรมาภิบาลของการเมือง แม้ไม่มียุค
ไหนบอกว่าซื้อเสียงแล้วถูกกฎหมาย จึงส่งเรื่องฟ้องศาลแพ่ง ศาลอาญา แต่ทว่าศาลชั้นแรกยังไม่ทัน
พิพากษา ก็ยุบสภาแล้ว ดังนั้นก็ไม่รู้จะต่อสู้ไปทำไม และคนไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ไม่รู้จะฟ้องทำไม
เพราะกว่าจะเสร็จสิ้น ก็สายเกิน จึงมีการทำเรื่อง กกต.ขึ้นมา"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กกต.ยุคแรกไม่มีอำนาจในการให้ใบแดง ให้ได้เพียงใบเหลือง เท่านั้น
และก็พบความจริงเมื่อครั้งเลือกตั้งวุฒิสภาครั้งแรก ที่มีการเลือกใหม่ถึง 6 ครั้ง สอบอีกก็ผิดอีก จน กกต.
ทนไม่ได้ จึงออกกฎฟีฟ่า คือสองเหลือเป็นหนึ่งแดง แต่ก็ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายไม่ให้อำนาจไว้
แต่ก็หาช่องเรื่องของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ที่พัฒนามาถึงอย่างนี้ แล้วมีคนถามว่า ถ้าเกิดการทุจริต
เลือกตั้งถ้าไม่ได้เป็นที่ตัวบุคคล แต่เป็นระบบโดยตัวองค์กร จะทำอย่างไร ก็มีการพูดถึงเรื่องยุบพรรคการ
เมือง จึงเป็นเรื่องของการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
**ถ้าเป็นคนเขียน ม.237 คงไม่เอาแบบนี้
"ในมุมหนึ่งคนเขียนกฎหมาย คงจะกำลังหมดความอดทนว่าจะทำยังไงก็ไมสำเร็จ เหมือนโรค
ที่รักษาไม่หาย ก็ใช้ยาแรงขึ้น แต่ในอีกแง่หนึ่งคือ คนที่เขามองว่าเขาไม่ได้ทำความผิด แต่ในโครงสร้าง
เขาต้องรับผิดไปด้วย จึงทำให้มองได้สองมุม ถ้าเราสามารถแยกแยะได้จะดีมาก แต่ยาก เพราะพรรคการ
เมืองก็บอกว่า ถ้ามีอะไรหมิ่นเหม่ก็จะบอกว่า ถือว่าเราไม่ได้พูดกันในพรรค เพราะคงไม่มีมติพรรคไหน
ให้มีมติทำผิดกฎหมาย แต่ตรงนี้คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อปี 2550 ที่มีการตัดสิทธิ์ และ
ลงโทษ จึงมีความคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่บานปลายถึงขั้นวิกฤติ คือ สิ่งที่ผม
คิดว่ามันก็อยู่ที่มุมมองอีกเช่นกัน และผมก็เป็นคนหนึ่ง ถ้าเขียนมาตรา 237ได้ ก็ไม่เขียนอย่างนี้ แต่เมื่อ
เขียนแล้ว และผมรู้ว่ามีมาตรการนี้ ผมก็ต้องยอมรับกติกา"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ภาระหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องสร้างหลักนิติรัฐ บนหลักนิติธรรม
ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพื่อฟันฝ่าวิกฤติเพื่อเดินหน้า ยังเป็นภาระที่สำคัญมาก หากถามว่ารัฐบาลคิดอย่างไรและ
กำลังจะทำอะไรนั้น ตนเรียนว่ารัฐบาลต้องแสดงให้เห็นว่า เคารพกฎหมาย
**ยอมรับมาตรา190 ทำให้ทำงานยาก
"ผมออกมาจากสภา มีสมาชิกจำนวนมากบอกว่า มาตรา 190 ทำให้บริหารประเทศไม่ได้ ผมก็
ยอมรับว่า ทำงานยากขึ้น แต่ตราบใดที่ยังมี ก็จะต้องทำตาม ส่วนจะมีความเหมาะสมในการแก้หรือไม่ ก็
ว่ากัน แต่ไม่ควรริเริ่มด้วยคนที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลหน้า แต่ผมก็ต้องตั้งใจเต็มเปี่ยม
ว่ารัฐบาลที่ยึดหลักกฎหมาย" นายกฯกล่าว
**เดินหน้าปฏิรูปการเมือง-แก้รธน.
นายกฯ กล่าวว่า ตนแถลงนโยบายบายรัฐบาลว่า เราจะเดินหน้าปฏิรูปการเมือง ส่วนการ
ปฏิรูปการเมืองจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ หรือต้องทำอะไรนั้น มันก็จะครอบคลุมในตัวของมันเอง ถ้าเขียน
นโยบายเรื่องที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ก็จะเกิดความขัดแย้ง ก็จะโดนกล่าวว่า แก้เพื่อใครหรือไม่ ดังนั้นจึง
พยายามหาความเห็นร่วมให้มากที่สุด ในการออกแบบองค์กรในการปฏิรูปการเมือง
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการของสภาเคยทำเรื่องนี้ และในรายงานก็พบว่า การศึกษารัฐธรรมนูญ
ปี 50 ค่อนข้างจำกัด อย่างมาตรา 190 บอกว่าก็ต้องคอยดูกฎหมายลูก แต่เสียงเรียกร้องให้แก้ มันเยอะ และ
ฝ่ายต่อต้านการรัฐประหาร เขาก็ต้องการลบล้าง ส่วนอีกฝ่ายก็ยังบอกว่า ต้องแก้ไขที่การเมือง ซึ่งจะแก้ไข
การเมือง เขาก็ต้องเข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นกัน
** อ้อน ส.พระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพ
"ควาททุกข์ของผม และคนทำงานในวันนี้ คือ พยายามหาคนที่คนยอมรับ มันไม่ง่าย ผมลอง
ปรึกษากับประธานวิปฝ่ายค้านบ้างแล้ว และเป็นอย่างที่คิด คือเอ่ยชื่อใครมากี่คนก็จะบอกว่าไม่ใช่ ไม่เป็น
กลาง ยาก แต่ผมคิดว่าจะเดินหน้าต่อ ส่วนเรื่องตัวบุคคลไม่ได้ก็จะยึดตัวสถาบัน และสถาบันพระปก
เกล้า ก็เหมาะสมที่สุด แต่ต้องถามฝ่ายค้านว่า ต้องตัดสินด้วยองค์กรใด ผมคิดว่าสถาบันนี้น่าจะเป็นที่ยอม
รับต่อไป เพราะถ้ายึดตัวสถาบันเป็นหลักในการออกแบบ น่าจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด ไม่แน่ใจว่า สำเร็จ
หรือไม่ เพราะต้องดูว่าฝ่ายค้านจะยอมรับหรือไม่ แต่จำเป็นต้องทำ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ไม่รีบร้อนแก้เหมือนสมัคร-สมชาย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีคนบอกว่าอย่าไปยุ่งเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ให้มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่
อีกฝ่ายก็บอกให้ยุบสภา ให้ลาออก แต่คิดว่าทุกอย่างต้องมีเหตุมีผล แต่ถ้าเป็นองค์กรที่อยู่นอกส่วนได้เสีย
ของการเมือง ก็น่าจะทำให้คนยอมรับได้ แม้เสียเวลาหน่อย เพราะคนที่อยากทำก็อาจจะใจร้อนว่าเมื่อไร
จะตั้งกรรมการ เพราะตนคิดว่าไม่มีประโยชน์ที่จะรีบทำ หากทำแล้วไม่ได้รับการยอมรับ อย่างเช่น ใน
รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็รีบจะทำอย่างนี้ แต่ไม่ตกผลึก จึงกลายเป็น
ความขัดแย้งไป
ให้ตร.ทำทุกคดีตรงไปตรงมา
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่จะบังคับใช้กฎหมายว่า 1.ถ้าแบบตรงไปตรงมา ตนก็ถูกเรียกร้อง
จากทั้งสองฝ่ายให้เร่งดำเนินคดีกับอีกฝ่ายทุกวัน ซึ่งตนยืนว่ารัฐบาลจะให้ทุกอย่างทำอย่างตรงไปตรงมา
ไม่มีการละเว้น หรือกลั่นแกล้ง เรื่องนี้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ก็รับทราบชัดเจนว่า นี่คือ
ภารกิจที่ท่านต้องทำ และฝ่ายค้านก็ตั้งกระทู้ถามเรามาเช่นกัน
2. ถ้าพิจารณาเป็นคดี ต้องยอมรับว่าหลายเหตุการณ์มองมุมในความผิดทางอาญาไม่ได้ ต้อง
มองในมุมของการเมืองด้วย เหมือนต่างประเทศที่มีระดับความผิดหลากหลายกว่าเรามาก ตรงนี้ต้องเรียน
รู้พอสมควร
"ความตั้งใจของผมคือ อยากมีคณะบุคคลเข้ามาปรึกษา และสะสางตรงนี้ ซึ่งก็หายากเช่นกัน
เวลานี้ได้คุยกับบุคคลท่านหนึ่ง พบกันแล้วครั้งหนึ่ง และโทรศัพท์นับครั้งไม่ถ้วน แต่ท่านไปทาบทาม
ใครก็กลัวว่าเป็นภาระ หรือกังวลว่าจะได้รับการยอมรับหรือไม่ เพราะยืนท่ามกลางความขัดแย้ง เนื่องจาก
การแตกแยกตอนนี้ ถึงขั้นลึกพอสมควร จึงหวังว่าจะตั้งคณะบุคคลขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันในความ
ยุติธรรม อันนี้คือสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ"
นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนท้ายว่า แน่นอนว่า การทำงานของรัฐบาลถูกกดดันด้วยภาวะ
เศรษฐกิจของโลก จึงมุ่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เพราะหากทำไม่สำเร็จ ความขัดแย้งก็จะมากเช่นเดียวกัน
แต่ความพยายามของรัฐบาลในการยึดนิติธรรม นิติรัฐ ทำให้เกิดการยอมรับในสังคมวงกว้าง คือสิ่งที่เราจะผลักดันต่อไป