ภายหลังชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี นายบารัค โอบามา ต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากยิ่งดำเนินการล่าช้ามากขึ้นเท่าใดในแต่ละวัน ก็จะยิ่งทำให้ชาวสหรัฐอเมริกาตกงานเป็นจำนวนมากขึ้นเท่านั้น โดยมีการหวั่นเกรงกันว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะยิ่งดำดิ่งไปอยู่ในภาวะวิกฤต จนถึงจุดที่ไม่สามารถพลิกฟื้นกลับขึ้นมาได้
สำหรับขุนพลทางเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาลโอบามานั้น ประกอบด้วย 3 คนสำคัญ บุคคลแรก คือ นายลอเรนซ์ ซัมเมอร์ส ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 54 ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ สำหรับประวัติความเป็นมา เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์เมื่อปี 2518 และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อปี 2525 จากนั้นเป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์และที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารโลกระหว่างปี 2534 – 2536 และมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการจัดทำรายงานของธนาคารโลกเกี่ยวกับเรื่อง “ความมหัศจรรย์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก : การเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐ” ซึ่งตีพิมพ์เป็นหนังสือเมื่อปี 2536 และได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลก โดยเนื้อหาเป็นการยกย่องชมเชยนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้กลับล้าสมัยลงอย่างรวดเร็วเพียงแค่ 4 ปีต่อมา เมื่อทวีปเอเชียเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540
จากนั้นนายซัมเมอร์สได้เข้าทำงานที่กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ และได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเมื่อปี 2538 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม 2542 – มกราคม 2544 ในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน
ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เขาได้มีประสบการณ์ครั้งสำคัญในการประสานงานเพื่อกู้วิกฤตเศรษฐกิจในทวีปเอเชีย โดยเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อสั่งการให้รัฐบาลประเทศเหล่านั้นปฏิบัติตามพันธกรณีของ IMF ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถาบันการเงิน การปฏิรูประบบราชการเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชัน ฯลฯ ทำให้ผู้นำของประเทศเหล่านี้ต่างไม่ค่อยชอบหน้าเขาเท่าใดนัก
เหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนั้น ทำให้เขาได้รับบทเรียนสำคัญ กล่าวคือ การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด โดยทุ่มเทเงินทองและทรัพยากรลงไปอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับชัยชนะ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงนโยบายแบบครึ่งๆ กลางๆ
อย่างไรก็ตาม นายซัมเมอร์สยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ต้องร่วมรับผิดชอบว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกในครั้งนี้ เนื่องจากขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เขาได้ทำงานร่วมกับนายอลัน กรีนสแปน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงนั้น ดำเนินนโยบายลดกฎระเบียบเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ อันเป็นต้นเหตุของวิกฤตการณ์ตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิง (CDO) และสัญญาสวอปความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ซึ่งเป็นตัวจุดชนวนวิกฤตการณ์ทางการเงินไปทั่วโลกในปัจจุบัน
ภายหลังออกจากตำแหน่งทางการเมือง จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับแนวหน้าของโลก เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน 2549 โดยในช่วงนี้เขาได้วางแผนจะปฏิรูปมหาวิทยาลัยครั้งใหญ่ กำหนดจะเน้นลงทุนจำนวนมากเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนในสาขาชีววิทยาศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของโลกในวิทยาการสาขานี้อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้นำหน้ามหาวิทยาลัยอื่นๆ มากยิ่งขึ้น โดยกำหนดนโยบายเรียนฟรีสำหรับนักศึกษาที่มาจากครอบครัวของผู้มีรายได้น้อย รวมถึงฟื้นฟูภาพหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากเดิมที่มุ่งเน้นเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอกเท่านั้น
หลายคนได้ตั้งความหวังสูงว่าเขาจะปฎิรูปมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดครั้งใหญ่ เนื่องจากเป็นคนที่มีความฉลาดหลักแหลม หรือ IQ สูง และมั่นใจในตัวเอง แต่การดำรงตำแหน่งครั้งนี้ได้เปิดเผยจุดอ่อนของเขาออกมาให้บุคคลภายนอกได้เห็น กล่าวคือ เป็นคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ต่ำ รวมทั้งเป็นคนหุนหันพลันแล่น ชอบพูดให้ทัศนะที่กระทบกระเทือนความรู้สึกของคนอื่นบ่อยครั้ง ภายหลังรับตำแหน่งอธิการบดีไม่นาน เขาได้ทะเลาะเบาะแว้งกับอาจารย์หลายท่าน
อนึ่ง ปัญหาในด้าน EQ ที่ทะเลาะเบาะแว้งกับบุคคลอื่น นับเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาจำเป็นต้องทำงานหลังฉากในรัฐบาลโอบามาในตำแหน่งหัวหน้าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยปล่อยให้นายทีโมธี ไกธ์เนอร์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ในคาถา มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทน
เขาได้พยายามบริหารแบบรวบอำนาจ ซึ่งแม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการผลักดันงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่นับว่าเป็นรูปแบบการบริหารงานที่แตกต่างจากขนบธรรมเนียมเดิมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ที่กระจายอำนาจไปยังคณบดีของคณะต่างๆ ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ อาจารย์บางท่านยังวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาชอบดูหมิ่นดูแคลนและไม่เอาใจใส่ความเห็นของบุคคลอื่นๆ และพยายามสร้างอาณาจักรแห่งความกลัวขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
เขาจำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี เนื่องจากได้ไปกล่าวในงานสัมมนาเกี่ยวกับความหลากหลายของบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเมื่อปี 2548 โดยมีข้อความตอนหนึ่งได้ยกสมมติฐานต่างๆ มากล่าว คือ ผู้หญิงมีความเสียเปรียบผู้ชายในด้านพันธุกรรม ทำให้มีความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมน้อยกว่า ซึ่งการพูดจาอย่างไม่สร้างสรรค์เช่นนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาหลายคนไม่พอใจมาก ถึงกับประท้วงโดยเดินออกจากห้องประชุม และส่งผลทำให้เขาถูกบีบบังคับให้ต้องลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีในปีต่อมา
แม้ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน นายซัมเมอร์จะเป็นตัวตั้งตัวตีสนับสนุนอย่างเต็มที่เกี่ยวกับการลดกฎระเบียบลง แต่เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน เขาได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนใหม่ หันไปสนับสนุนการแทรกแซงของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเขาได้กล่าวปาฐกถาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 ที่หอการค้าของนครบอสตันว่าเศรษฐกิจแบบการตลาดมักมีพฤติกรรมในลักษณะที่เรียกว่า Overreact กล่าวคือ มีปฏิกิริยาตอบสนองในเรื่องต่างๆ มากจนเกินไป ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็ควรมีลักษณะ Overreact เช่นเดียวกัน
สำหรับขุนพลทางเศรษฐกิจคนที่สองของรัฐบาลโอบามา คือ นายทีโมธี ไกธ์เนอร์ ซึ่งมีอายุ 47 ปี เท่ากับโอบามาพอดี โดยมีบุคลิกส่วนตัวที่นับว่าคล้ายคลึงกับนายโอบามา กล่าวคือ มีลักษณะสุขุมเยือกเย็น เขาเกิดที่ย่านบรูกลินของนครนิวยอร์ก แต่ในวัยเด็กได้เติบโตในประเทศอินเดีย ไทย และซิมบับเว เนื่องจากบิดาเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทวีปเอเชียและทำงานให้กับมูลนิธิฟอร์ดเป็นเวลายาวนานถึง 28 ปี
เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อปี 2526 ในสาขาเอเชียศึกษาที่วิทยาลัย Dartmouth และสามารถพูดภาษาจีนกลางได้อย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากได้เรียนรู้ขณะทำการศึกษาที่วิทยาลัยแห่งนี้ จากนั้นได้เรียนต่อระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและเอเชียตะวันออกศึกษา ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้น และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2528
ภายหลังสำเร็จการศึกษา ได้ทำงานเป็นเวลา 3 ปี กับบริษัทที่ปรึกษา Kissinger Associates Inc ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย ดร.เฮนรี่ คิซซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ จากนั้นได้ทำงานที่กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เมื่อปี 2531 และทำงานต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานถึง 13 ปี โดยทำงานใกล้ชิดกับนายซัมเมอร์ส ทั้งนี้ ระหว่างทำงานที่กระทรวงการคลัง เขาได้มีบทบาทในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินของหลายประเทศในช่วงปี 2540 เช่น เกาหลีใต้ บราซิล อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทย
ต่อมาได้ลาออกจากราชการและเข้าทำงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานโยบาย จากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการธนาคารกลางของสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 เป็นต้นมา โดยในช่วงนี้ได้ทำงานใกล้ชิดกับนายเฮนรี่ พอลสัน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายเบอร์นาเก ซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินในช่วงปี 2551 ทั้งในส่วนการให้ความช่วยเหลือบริษัท AIG ธนาคารซิตี้แบงก์ ฯลฯ รวมถึงการดำเนินการเพื่อขออนุมัติจากรัฐสภาเกี่ยวกับงบประมาณเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงิน 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แม้เขาจะมีจุดเด่นในด้านบุคลิกส่วนตัว คือ เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานกับคนอื่นได้ง่าย อย่างไรก็ตาม มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาได้ทำงานผิดพลาดครั้งสำคัญในอดีต คือ มีส่วนสำคัญในการปล่อยให้บริษัทเลห์แมนล้มละลาย จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินไปทั่วโลก แต่เขาได้โต้แย้งว่าสถานการณ์ในขณะนั้นได้บีบบังคับ เนื่องจากไม่สามารถชักจูงให้สถาบันการเงินอื่นๆ เข้ามารับซื้อกิจการของบริษัทเลห์แมนได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือกอบกู้กิจการ
สำหรับคนสุดท้าย คือ นางคริสติน่า โรเมอร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ อายุ 50 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จาก College of William & Mary เมื่อปี 2524 และจบปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์เมื่อปี 2528 จากนั้นเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์ จากนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นศาสตราจารย์นับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา
นางโรเมอร์นับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำมากเป็นพิเศษ เนื่องจากได้เคยทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) และได้วิเคราะห์ว่าทำไมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ในครั้งนั้น ซึ่งสรุปได้ว่ามาตรการทางการคลังของสหรัฐฯ ตามโครงการ New Deal มีบทบาทน้อยมากในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในครั้งนี้เป็นผลจากอุบัติเหตุของนโยบายการเงิน
กล่าวคือ การลดค่าเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาทองคำในช่วงปี 2476 -2477 รวมถึงเป็นผลมาจากการโยกย้ายเงินทุนครั้งใหญ่จากยุโรปที่ขณะนั้นมีปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยอยู่ในช่วงใกล้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มายังสหรัฐฯ ที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
สำหรับขุนพลทางเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาลโอบามานั้น ประกอบด้วย 3 คนสำคัญ บุคคลแรก คือ นายลอเรนซ์ ซัมเมอร์ส ซึ่งปัจจุบันมีอายุ 54 ปี ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ สำหรับประวัติความเป็นมา เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์เมื่อปี 2518 และปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อปี 2525 จากนั้นเป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์และที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ธนาคารโลกระหว่างปี 2534 – 2536 และมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลการจัดทำรายงานของธนาคารโลกเกี่ยวกับเรื่อง “ความมหัศจรรย์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออก : การเติบโตทางเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐ” ซึ่งตีพิมพ์เป็นหนังสือเมื่อปี 2536 และได้รับการกล่าวขวัญไปทั่วโลก โดยเนื้อหาเป็นการยกย่องชมเชยนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อความสำเร็จทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้กลับล้าสมัยลงอย่างรวดเร็วเพียงแค่ 4 ปีต่อมา เมื่อทวีปเอเชียเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2540
จากนั้นนายซัมเมอร์สได้เข้าทำงานที่กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ และได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเมื่อปี 2538 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม 2542 – มกราคม 2544 ในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน
ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เขาได้มีประสบการณ์ครั้งสำคัญในการประสานงานเพื่อกู้วิกฤตเศรษฐกิจในทวีปเอเชีย โดยเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อสั่งการให้รัฐบาลประเทศเหล่านั้นปฏิบัติตามพันธกรณีของ IMF ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถาบันการเงิน การปฏิรูประบบราชการเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชัน ฯลฯ ทำให้ผู้นำของประเทศเหล่านี้ต่างไม่ค่อยชอบหน้าเขาเท่าใดนัก
เหตุการณ์วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนั้น ทำให้เขาได้รับบทเรียนสำคัญ กล่าวคือ การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด โดยทุ่มเทเงินทองและทรัพยากรลงไปอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับชัยชนะ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงนโยบายแบบครึ่งๆ กลางๆ
อย่างไรก็ตาม นายซัมเมอร์สยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ต้องร่วมรับผิดชอบว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกในครั้งนี้ เนื่องจากขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เขาได้ทำงานร่วมกับนายอลัน กรีนสแปน ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงนั้น ดำเนินนโยบายลดกฎระเบียบเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ อันเป็นต้นเหตุของวิกฤตการณ์ตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิง (CDO) และสัญญาสวอปความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ซึ่งเป็นตัวจุดชนวนวิกฤตการณ์ทางการเงินไปทั่วโลกในปัจจุบัน
ภายหลังออกจากตำแหน่งทางการเมือง จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับแนวหน้าของโลก เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน 2549 โดยในช่วงนี้เขาได้วางแผนจะปฏิรูปมหาวิทยาลัยครั้งใหญ่ กำหนดจะเน้นลงทุนจำนวนมากเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนในสาขาชีววิทยาศาสตร์ เนื่องจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของโลกในวิทยาการสาขานี้อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อให้นำหน้ามหาวิทยาลัยอื่นๆ มากยิ่งขึ้น โดยกำหนดนโยบายเรียนฟรีสำหรับนักศึกษาที่มาจากครอบครัวของผู้มีรายได้น้อย รวมถึงฟื้นฟูภาพหลักสูตรการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากเดิมที่มุ่งเน้นเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอกเท่านั้น
หลายคนได้ตั้งความหวังสูงว่าเขาจะปฎิรูปมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดครั้งใหญ่ เนื่องจากเป็นคนที่มีความฉลาดหลักแหลม หรือ IQ สูง และมั่นใจในตัวเอง แต่การดำรงตำแหน่งครั้งนี้ได้เปิดเผยจุดอ่อนของเขาออกมาให้บุคคลภายนอกได้เห็น กล่าวคือ เป็นคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ต่ำ รวมทั้งเป็นคนหุนหันพลันแล่น ชอบพูดให้ทัศนะที่กระทบกระเทือนความรู้สึกของคนอื่นบ่อยครั้ง ภายหลังรับตำแหน่งอธิการบดีไม่นาน เขาได้ทะเลาะเบาะแว้งกับอาจารย์หลายท่าน
อนึ่ง ปัญหาในด้าน EQ ที่ทะเลาะเบาะแว้งกับบุคคลอื่น นับเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาจำเป็นต้องทำงานหลังฉากในรัฐบาลโอบามาในตำแหน่งหัวหน้าสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยปล่อยให้นายทีโมธี ไกธ์เนอร์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ในคาถา มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทน
เขาได้พยายามบริหารแบบรวบอำนาจ ซึ่งแม้จะมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการผลักดันงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่นับว่าเป็นรูปแบบการบริหารงานที่แตกต่างจากขนบธรรมเนียมเดิมของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ที่กระจายอำนาจไปยังคณบดีของคณะต่างๆ ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ อาจารย์บางท่านยังวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาชอบดูหมิ่นดูแคลนและไม่เอาใจใส่ความเห็นของบุคคลอื่นๆ และพยายามสร้างอาณาจักรแห่งความกลัวขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอีกด้วย
เขาจำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งอธิการบดี เนื่องจากได้ไปกล่าวในงานสัมมนาเกี่ยวกับความหลากหลายของบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเมื่อปี 2548 โดยมีข้อความตอนหนึ่งได้ยกสมมติฐานต่างๆ มากล่าว คือ ผู้หญิงมีความเสียเปรียบผู้ชายในด้านพันธุกรรม ทำให้มีความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมน้อยกว่า ซึ่งการพูดจาอย่างไม่สร้างสรรค์เช่นนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาหลายคนไม่พอใจมาก ถึงกับประท้วงโดยเดินออกจากห้องประชุม และส่งผลทำให้เขาถูกบีบบังคับให้ต้องลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีในปีต่อมา
แม้ในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูในสมัยประธานาธิบดีคลินตัน นายซัมเมอร์จะเป็นตัวตั้งตัวตีสนับสนุนอย่างเต็มที่เกี่ยวกับการลดกฎระเบียบลง แต่เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน เขาได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนใหม่ หันไปสนับสนุนการแทรกแซงของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเขาได้กล่าวปาฐกถาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 ที่หอการค้าของนครบอสตันว่าเศรษฐกิจแบบการตลาดมักมีพฤติกรรมในลักษณะที่เรียกว่า Overreact กล่าวคือ มีปฏิกิริยาตอบสนองในเรื่องต่างๆ มากจนเกินไป ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ก็ควรมีลักษณะ Overreact เช่นเดียวกัน
สำหรับขุนพลทางเศรษฐกิจคนที่สองของรัฐบาลโอบามา คือ นายทีโมธี ไกธ์เนอร์ ซึ่งมีอายุ 47 ปี เท่ากับโอบามาพอดี โดยมีบุคลิกส่วนตัวที่นับว่าคล้ายคลึงกับนายโอบามา กล่าวคือ มีลักษณะสุขุมเยือกเย็น เขาเกิดที่ย่านบรูกลินของนครนิวยอร์ก แต่ในวัยเด็กได้เติบโตในประเทศอินเดีย ไทย และซิมบับเว เนื่องจากบิดาเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทวีปเอเชียและทำงานให้กับมูลนิธิฟอร์ดเป็นเวลายาวนานถึง 28 ปี
เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อปี 2526 ในสาขาเอเชียศึกษาที่วิทยาลัย Dartmouth และสามารถพูดภาษาจีนกลางได้อย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากได้เรียนรู้ขณะทำการศึกษาที่วิทยาลัยแห่งนี้ จากนั้นได้เรียนต่อระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและเอเชียตะวันออกศึกษา ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกิ้น และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2528
ภายหลังสำเร็จการศึกษา ได้ทำงานเป็นเวลา 3 ปี กับบริษัทที่ปรึกษา Kissinger Associates Inc ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย ดร.เฮนรี่ คิซซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ จากนั้นได้ทำงานที่กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เมื่อปี 2531 และทำงานต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานถึง 13 ปี โดยทำงานใกล้ชิดกับนายซัมเมอร์ส ทั้งนี้ ระหว่างทำงานที่กระทรวงการคลัง เขาได้มีบทบาทในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินของหลายประเทศในช่วงปี 2540 เช่น เกาหลีใต้ บราซิล อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทย
ต่อมาได้ลาออกจากราชการและเข้าทำงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานโยบาย จากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการธนาคารกลางของสหรัฐฯ สาขานิวยอร์ก ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2546 เป็นต้นมา โดยในช่วงนี้ได้ทำงานใกล้ชิดกับนายเฮนรี่ พอลสัน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายเบอร์นาเก ซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ ในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินในช่วงปี 2551 ทั้งในส่วนการให้ความช่วยเหลือบริษัท AIG ธนาคารซิตี้แบงก์ ฯลฯ รวมถึงการดำเนินการเพื่อขออนุมัติจากรัฐสภาเกี่ยวกับงบประมาณเพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงิน 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
แม้เขาจะมีจุดเด่นในด้านบุคลิกส่วนตัว คือ เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานกับคนอื่นได้ง่าย อย่างไรก็ตาม มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาได้ทำงานผิดพลาดครั้งสำคัญในอดีต คือ มีส่วนสำคัญในการปล่อยให้บริษัทเลห์แมนล้มละลาย จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินไปทั่วโลก แต่เขาได้โต้แย้งว่าสถานการณ์ในขณะนั้นได้บีบบังคับ เนื่องจากไม่สามารถชักจูงให้สถาบันการเงินอื่นๆ เข้ามารับซื้อกิจการของบริษัทเลห์แมนได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลสหรัฐฯ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือกอบกู้กิจการ
สำหรับคนสุดท้าย คือ นางคริสติน่า โรเมอร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ อายุ 50 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จาก College of William & Mary เมื่อปี 2524 และจบปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์เมื่อปี 2528 จากนั้นเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียวิทยาเขตเบิร์กเลย์ จากนั้นได้รับการเลื่อนขั้นเป็นศาสตราจารย์นับตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา
นางโรเมอร์นับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำมากเป็นพิเศษ เนื่องจากได้เคยทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression) และได้วิเคราะห์ว่าทำไมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถึงฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์ในครั้งนั้น ซึ่งสรุปได้ว่ามาตรการทางการคลังของสหรัฐฯ ตามโครงการ New Deal มีบทบาทน้อยมากในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในครั้งนี้เป็นผลจากอุบัติเหตุของนโยบายการเงิน
กล่าวคือ การลดค่าเงินเหรียญสหรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาทองคำในช่วงปี 2476 -2477 รวมถึงเป็นผลมาจากการโยกย้ายเงินทุนครั้งใหญ่จากยุโรปที่ขณะนั้นมีปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองระหว่างประเทศ โดยอยู่ในช่วงใกล้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มายังสหรัฐฯ ที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากกว่า
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th