มีเหตุการณ์ผิดปกติ หลายเหตุการณ์ เกิดขึ้นกับราชอาณาจักรไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ดูเหมือนทุกเหตุการณ์ จะมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือรับส่งลูกกันอย่างลับๆ โดยบังเอิญ หรือเป็นผลมาจากการกระทำอย่างเป็น “ขบวนการ”
เสมือนว่า ทั้งหมด มีเป้าประสงค์ หรือมุ่งตรงไปสู่ผลประโยชน์ร่วมของคนๆ เดียวกัน
เหตุการณ์อย่างน้อย 5 เหตุการณ์ ที่มีข้อสังเกตน่าเก็บไปคิด ประกอบด้วย
1. กรณีสภาล่ม สะท้อนว่า ฝ่ายนิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎร ไม่ทำหน้าที่ในการพิจารณาออกกฎหมาย เพื่อนำมาบังคับ กำกับ ควบคุมการใช้อำนาจบริราชราชการแผ่นดินของรัฐบาลฝ่ายบริหาร
เริ่มตั้งแต่ วันประชุมวันแรก หลังจากที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการฯ เปิดสมัยประชุมเมื่อวันพุธที่ 21 มกราคม 2552 เพียงไม่กี่ชั่วโมง ส.ส.ฝ่ายค้านก็ใช้เอกสิทธิ์ขอนับองค์ประชุมถึง 2 ครั้ง ในช่วงเวลาห่างกันไม่ถึง 1 ชั่วโมง ปรากฏว่า มี ส.ส.แสดงตนในที่ประชุมเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย
ในวันต่อมา พฤหัสบดี 22 มกราคม 2552 หลังจากที่มีการตอบกระทู้ถามสด ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศ เสร็จจากกระทู้ เมื่อเข้าสู่การพิจารณาเรื่องรายงานผลการปฏิบัติงานของศาลปกครองฯ ปรากฏว่า ในที่ประชุมมี ส.ส.บางตา ส.ส.พรรคฝ่ายค้านก็ฉวยโอกาสดังกล่าว ใช้เอกสิทธิ์ขอนับองค์ประชุม ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่อยู่ในที่ประชุมก็พยายามแก้เกม โดยขอนับองค์ประชุมด้วยวิธีการให้ขานชื่อเป็นรายบุคคล เพื่อถ่วงเวลา ให้ ส.ส.คนอื่นๆ กลับเข้ามาในที่ประชุม แต่ผลการนับองค์ประชุมครั้งนี้ ปรากฏว่า มีจำนวน ส.ส.อยู่ในที่ประชุมเพียง 219 คน ขาดจากจำนวนครึ่งหนึ่งของสภาไป 9 คน ประธานในที่ประชุม (ขณะนั้น คือ รองประธานสภาฯ ผู้สังกัดพรรคเพื่อไทย) จึงสั่งปิดประชุมทันที
พึงตระหนักว่า ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน มีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันที่จะต้องเข้าประชุมโดยพร้อมเพรียง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลและออกกฎหมายโดยแสดงความคิดเห็นอันหลากหลายอย่างมีเหตุมีผล เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้าน ถ่วงดุล และตรวจสอบกันเอง ก่อนที่สภาจะนำไปสู่การตัดสินใจบนพื้นฐานของการรับฟังเหตุและผลของทุกฝ่ายอย่างครบถ้วนรอบคอบ
ผมยืนยันว่า โดยหลักการนั้น การขอนับองค์ประชุมเป็นเอกสิทธิ์ที่ ส.ส.สามารถจะกระทำได้ และพึงกระทำเมื่อเห็นว่า เสียงข้างน้อยในสภา กำลังจะถูกลากจูงไปโดยเสียงข้างมากในสภาหรือประธานสภาอย่างไม่คำนึงถึงเหตุผลและความถูกต้อง เพราะการขอให้นับองค์ประชุม ถือเป็นเครื่องมือตรวจสอบ ป้องกัน และเสมือนเป็นการประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อเสียงข้างมากกำลังลากจูงสภาไปโดยไม่สนใจเหตุและผลของเสียงข้างน้อย หรือเพื่อให้ ส.ส.ร่วมประชุมอย่างครบถ้วนในการพิจารณากฎหมายหรือญัตติสำคัญๆ
ประเด็นสำคัญ คือ “เจตนา” ของการขอให้นับองค์ประชุมนั้น จะต้องเป็นไปเพื่อการดังกล่าว
มิใช่เพื่อตีรวน กลั่นแกล้ง หรือขัดขวางมิให้การประชุมสามารถเกิดขึ้นหรือดำเนินต่อไปได้ โดยที่ปราศจากมูลเหตุของความจำเป็นดังกล่าวข้างต้นมาแล้ว
เพราะหากเป็นไปเพียงเพื่อตีรวน ขัดแข้งขัดขาเช่นนั้น การกระทำของฝ่ายค้าน ก็ไม่เข้าข่ายการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภา แต่เป็นลักษณะของคนที่อยากเป็นรัฐบาล แต่ไม่สมหวัง แล้วออกอาการตีรวน กลั่นแกล้ง ขัดขวาง “เมื่อข้าไม่ได้ เอ็งก็อย่าหวัง” หรือ “เมื่อนายข้าจะพัง ก็ต้องพังตามนายข้าไปให้หมด”
แต่เมื่อพิจารณาว่า การขอให้นับองค์ประชุมของฝ่ายค้าน ที่มีผลล้มการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 ม.ค.นั้น มิได้เกิดขึ้นในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรได้ทำการประชุม ถกเถียง อภิปราย แสดงความคิดเห็นเชิงเหตุผลคักค้านต่อสู้กันในประเด็นพิจารณาร่างกฎหมายที่ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลเห็นแตกต่างกันแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นในช่วงที่สภาผู้แทนได้พิจารณารับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของศาลปกครองฯ ซึ่งไม่มีประเด็นความคิดเห็นที่ฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลจะตกลงกันไม่ได้ และมิได้มีประเด็นที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังพยายามใช้เสียงข้างมากครอบงำมติของที่ประชุมสภาฯ โดยไม่รับฟังเหตุผลของเสียงข้างน้อยเลยแม้แต่น้อย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมองได้ว่าเป็นผลงานของฝ่ายค้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เสนอขอให้นับองค์ประชุม แล้วยกพรรคพวกของตนเดินออกจากที่ประชุมกว่า 100 คน จนทำให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรต้องยุติลง ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็เท่ากับว่า ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติไม่ได้ทำหน้าที่ในการพิจารณาออกกฎหมายเพื่อมาใช้บังคับ กำกับดูแลควบคุมการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารนั่นเอง
2. กรณีทักษิณให้สัมภาษณ์โจมตีอำนาจตุลาการ องคมนตรี และกองทัพ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องโทษจำคุก 2 ปี ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุนของญี่ปุ่นได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ บางประเด็นที่มีการกล่าวหาพาดพิงถึงสถาบันสำคัญในราชอาณาจักรไทย เช่น
อาซาฮี : คุณมีความเห็นยังไงกับรัฐบาลใหม่ของไทย ?
ทักษิณ : พรรคประชาธิปัตย์ได้อำนาจจากเสียงส่วนใหญ่ ด้วยการสนับสนุนจากศาล จากกองทัพ และคณะองคมนตรี สาเหตุที่พวกเขาเรียกร้องให้ผมเลิกยุ่งกับการเมืองไทย ก็เพราะพวกเขาไม่มั่นใจว่าจะกุมอำนาจได้ ถ้าผมยังยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ผมเชื่อว่า จริงๆ แล้วกองทัพและคณะองคมนตรีนั่นแหละที่ต้องเลิกยุ่งกับการเมือง
น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า “ทักษิณ” เลี่ยงที่จะกล่าวถึงอำนาจฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง แต่ “ทักษิณ” จงใจที่จะกล่าวหา พาดพิงไปถึงสถาบันสำคัญในราชอาณาจักรไทย คือ “อำนาจตุลาการ/ศาล” “องคมนตรี” และ “กองทัพ”
“ศาล” คือ สถาบันยุติธรรม ทำหน้าที่ตัดสินพิพากษาอรรถคดีไปตามกฎหมาย เพื่อเป็นที่ยุติของข้อขัดแย้งทั้งปวง โดยปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“คณะองคมนตรี” คือ สถาบันที่ปรึกษาส่วนพระองค์ หรือเป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำงานแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“กองทัพ” คือ สถาบันที่มีกำลังอำนาจ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นจอมทัพไทย
พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจกล่าวหาต่อสถาบันเหล่านี้ เพื่อยกระดับตัวเองให้คนดูเสมือนว่า ตนเองถูกกลั่นแกล้งหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสถาบันดังกล่าวทั้งหมด และพยายามทำลายความน่าเชื่อของรัฐบาลปัจจุบัน ด้วยการกล่าวหาว่า ได้อำนาจฝ่ายบริหารมาได้ด้วยการสนับสนุนจากศาล กองทัพ และคณะองคมนตรี
“ทักษิณ” พยายามสื่อสารกับสังคมโลกให้เข้าใจผิดๆ ว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน มิได้มาตามวิถีทางประชาธิปไตย แต่มาโดยการสนับสนุนจากศาล กองทัพ และคณะองคมนตรี
3. การกล่าวหาใส่ร้ายประเทศไทย ต่อสถานทูตประเทศต่างๆ
นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลระบอบทักษิณ ผู้ต้องหาในคดีดูหมิ่นสถาบันฯ รวมถึงนายวีระ มุกสิกะพงศ์ อดีตนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฯลฯ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือประท้วง เรียกร้องต่อสถานทูตประเทศต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเหล่านั้นไม่เข้าร่วมประชุมอาเซียนซัมมิตกับประเทศไทย โดยกล่าวหาในทำนองว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมิได้เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นรัฐประหารซ่อนรูป โดยมีสถาบันสำคัญของประเทศเข้ามาแอบแฝงทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย
ภารกิจของเสื้อแดง “จ็อบ-job” นี้ ก็คือ การพยายามทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในสายตาของนานาประเทศ โดยการจงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อยับยั้ง ขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิต ซึ่งเป็นงานใหญ่ในระดับนานาชาติงานแรกที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีโอกาสแสดงบทบาท เรียกความเชื่อมั่นในประเทศไทยในสายตาของต่างชาติ อันหมายถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศมูลค่ามหาศาล
4. การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม “ดีทีวี”
ชัดเจนอย่างยิ่งว่า สถานีโทรทัศน์ดีทีวีถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยเจตนาในทางการเมืองที่มากกว่าจะทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อสารมวลชนที่ดีทั่วไป
“ดีทีวี” ถูกจัดตั้งและดำเนินการโดยขบวนการของกลุ่มคนซึ่งล้วนแต่เป็น “บริวารผู้จงรักภักดีต่อทักษิณ” ไม่ว่าจะเป็น อดีตทนายของทักษิณ อดีตลูกจ้างของทักษิณ หรืออดีตคนที่ทักษิณเคยโยนเศษเนื้อเศษกระดูกให้ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่กระทบกระเทือนต่อ “รัฐราชอาณาจักรไทย”
พิจารณาจากถ้อยแถลงของนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำคนสำคัญ ถึงกับแถลงแจ้งชัดว่า “พวกผมมาคิดการใหญ่ ไม่ใช่แค่เปิดรายการโทรทัศน์ แต่สร้างรัฐไทยขึ้นมาใหม่ด้วยมือคนเสื้อแดง”
การจัดตั้ง “ดีทีวี” จึงเป็นการสร้างเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ต้องการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในประเทศไทย อันจะทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ทักษิณ
5. เหตุการณ์ปั่นป่วนรุนแรงของคนเสื้อแดงภายในประเทศ
เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ด้วยน้ำมือคนเสื้อแดง หลายกรณี เช่น
กรณีกลุ่มคนเสื้อแดงบุกรุก ไล่รื้อเวทีการชุมนุมของคนเสื้อเหลือง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนที่คนเสื้อเหลืองจะกลับมาชุมนุมกันใหม่ เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงแยกย้ายกันกลับบ้านไปหมดแล้ว
กรณีกลุ่มเสื้อแดงระดมคนบุกรุกงานเลี้ยง "ราตรีอ่างแก้ว" ของสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยบุกตะลุยฝ่าด่านเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างไม่เคารพยำเกรงกฎหมาย อ้างว่าจะเข้าไปประท้วงขับไล่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ศิษย์เก่าสถาบันดังกล่าว
กรณีกลุ่มคนเสื้อแดง บุกรุกรื้อทำลายสถานปฏิบัติธรรม พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ-สันติอโศก บ้านแม่เลา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการยิงหนังสติ๊กเข้าโรงครัว และใช้ตีนตบมาตบใส่ศีรษะของสมณะผู้ทรงศีลที่ปฏิบัติธรรมอยู่ อันเป็นการกระทำเยี่ยงคนไร้ศีลธรรม ไร้ศาสนา ไม่มีความละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวต่อบาป
กรณีเหล่านี้ เป็นการระดมคน และจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว ภายใต้การนำของคนที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับนักการเมืองพรรคเพื่อไทย แม้แต่เครื่องขยายเสียงหรือรถที่นำมาใช้ก็ยังติดสติ๊กเกอร์พรรคเพื่อไทยอยู่ เป็นต้น
กรณีเหล่านี้ จึงเป็นภารกิจ หรือ “จ็อบ-job” ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างสถานการณ์ ให้ดูเหมือนว่ามีความปั่นป่วน ท้าทายอำนาจฝ่ายบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะพยายามขยายหรือยกระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างภาพว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่สามารถปกครองประเทศได้
หากรัฐบาลปัจจุบันรู้ไม่ทัน หรือชะล่าใจ หรืออ่อนข้ออย่างไร้ยุทธวิธีในการรับมือหรือบริหารจัดการ ก็อาจจะพ่ายแพ้ในเกมการเมืองของระบอบทักษิณ
สรุป
เหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนี้ น่าคิดว่า จะเป็นความบังเอิญ หรือเป็นการออกแบบมาให้เกิดขึ้น หรือลงมือกระทำอย่างจงใจ สอดรับกันเป็นขบวนการของคนเสื้อแดง เพื่อมุ่งตรงต่อเป้าหมายอันเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หากมองว่า ระบอบทักษิณกำลังทำสงครามกับราชอาณาจักรไทย อาจมองได้ว่า ฝ่ายตรงข้ามกำลังจัดวางยุทธวิธีการรบอย่างเป็นขบวนการ เช่น นายใหญ่ทำหน้าที่กดปุ่ม หรือยิงขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป หรือรับหน้าที่ “โจมตีน่านฟ้าของราชอาณาจักรไทย” , บริวารเสื้อแดงส่วนหนึ่งทำหน้าที่ทหารราบ เคลื่อนไหวรุนแรงสร้างสถานการณ์ในประเทศ, บริวารเสื้อแดงอีกส่วนหนึ่งก็ทำหน้าที่ทหารปืนใหญ่ ใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือโจมตี, อีกส่วนที่อยู่ในสภา ก็มีหน้าที่ปั่นป่วน ขัดขาขัดขวาง เหมือนเป็นทหารม้าในรถถังบุกตะลุย โดยมีตำแหน่ง ส.ส.เป็นเกราะป้องกันตัว, แม้แต่ข้าราชการบางส่วนที่ยู่ในตำแหน่งสำคัญ ก็ทำหน้าที่เสมือน “สายลับ” คอยส่งข่าวหรือขัดแข้งขัดขาอย่างลับๆ แต่จะถึงขั้นมี “สายลับสองหน้า” หรือ “เกลือเป็นหนอน” แฝงตัวอยู่ในรัฐบาลชุดนี้ด้วยหรือไม่นั้น ก็ต้องจับตามองให้ละเอียด
บ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ ทั้งเศรษฐกิจ และยังถูกซ้ำเติมด้วยสงครามการเมืองจากระบอบทักษิณ
เรา- คนไทย –ราชอาณาจักรไทย จะผ่านสงครามครั้งนี้ไปได้ จำเป็นต้องมี “ความเข้มแข็งและแม่นยำของผู้นำประเทศ” และ “การร่วมมือร่วมใจกันของผู้มีใจรักและห่วงใยในอนาคตของบ้านเมือง”
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต
ดูเหมือนทุกเหตุการณ์ จะมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือรับส่งลูกกันอย่างลับๆ โดยบังเอิญ หรือเป็นผลมาจากการกระทำอย่างเป็น “ขบวนการ”
เสมือนว่า ทั้งหมด มีเป้าประสงค์ หรือมุ่งตรงไปสู่ผลประโยชน์ร่วมของคนๆ เดียวกัน
เหตุการณ์อย่างน้อย 5 เหตุการณ์ ที่มีข้อสังเกตน่าเก็บไปคิด ประกอบด้วย
1. กรณีสภาล่ม สะท้อนว่า ฝ่ายนิติบัญญัติในสภาผู้แทนราษฎร ไม่ทำหน้าที่ในการพิจารณาออกกฎหมาย เพื่อนำมาบังคับ กำกับ ควบคุมการใช้อำนาจบริราชราชการแผ่นดินของรัฐบาลฝ่ายบริหาร
เริ่มตั้งแต่ วันประชุมวันแรก หลังจากที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการฯ เปิดสมัยประชุมเมื่อวันพุธที่ 21 มกราคม 2552 เพียงไม่กี่ชั่วโมง ส.ส.ฝ่ายค้านก็ใช้เอกสิทธิ์ขอนับองค์ประชุมถึง 2 ครั้ง ในช่วงเวลาห่างกันไม่ถึง 1 ชั่วโมง ปรากฏว่า มี ส.ส.แสดงตนในที่ประชุมเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย
ในวันต่อมา พฤหัสบดี 22 มกราคม 2552 หลังจากที่มีการตอบกระทู้ถามสด ถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศ เสร็จจากกระทู้ เมื่อเข้าสู่การพิจารณาเรื่องรายงานผลการปฏิบัติงานของศาลปกครองฯ ปรากฏว่า ในที่ประชุมมี ส.ส.บางตา ส.ส.พรรคฝ่ายค้านก็ฉวยโอกาสดังกล่าว ใช้เอกสิทธิ์ขอนับองค์ประชุม ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่อยู่ในที่ประชุมก็พยายามแก้เกม โดยขอนับองค์ประชุมด้วยวิธีการให้ขานชื่อเป็นรายบุคคล เพื่อถ่วงเวลา ให้ ส.ส.คนอื่นๆ กลับเข้ามาในที่ประชุม แต่ผลการนับองค์ประชุมครั้งนี้ ปรากฏว่า มีจำนวน ส.ส.อยู่ในที่ประชุมเพียง 219 คน ขาดจากจำนวนครึ่งหนึ่งของสภาไป 9 คน ประธานในที่ประชุม (ขณะนั้น คือ รองประธานสภาฯ ผู้สังกัดพรรคเพื่อไทย) จึงสั่งปิดประชุมทันที
พึงตระหนักว่า ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน มีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันที่จะต้องเข้าประชุมโดยพร้อมเพรียง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลและออกกฎหมายโดยแสดงความคิดเห็นอันหลากหลายอย่างมีเหตุมีผล เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้าน ถ่วงดุล และตรวจสอบกันเอง ก่อนที่สภาจะนำไปสู่การตัดสินใจบนพื้นฐานของการรับฟังเหตุและผลของทุกฝ่ายอย่างครบถ้วนรอบคอบ
ผมยืนยันว่า โดยหลักการนั้น การขอนับองค์ประชุมเป็นเอกสิทธิ์ที่ ส.ส.สามารถจะกระทำได้ และพึงกระทำเมื่อเห็นว่า เสียงข้างน้อยในสภา กำลังจะถูกลากจูงไปโดยเสียงข้างมากในสภาหรือประธานสภาอย่างไม่คำนึงถึงเหตุผลและความถูกต้อง เพราะการขอให้นับองค์ประชุม ถือเป็นเครื่องมือตรวจสอบ ป้องกัน และเสมือนเป็นการประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อเสียงข้างมากกำลังลากจูงสภาไปโดยไม่สนใจเหตุและผลของเสียงข้างน้อย หรือเพื่อให้ ส.ส.ร่วมประชุมอย่างครบถ้วนในการพิจารณากฎหมายหรือญัตติสำคัญๆ
ประเด็นสำคัญ คือ “เจตนา” ของการขอให้นับองค์ประชุมนั้น จะต้องเป็นไปเพื่อการดังกล่าว
มิใช่เพื่อตีรวน กลั่นแกล้ง หรือขัดขวางมิให้การประชุมสามารถเกิดขึ้นหรือดำเนินต่อไปได้ โดยที่ปราศจากมูลเหตุของความจำเป็นดังกล่าวข้างต้นมาแล้ว
เพราะหากเป็นไปเพียงเพื่อตีรวน ขัดแข้งขัดขาเช่นนั้น การกระทำของฝ่ายค้าน ก็ไม่เข้าข่ายการทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภา แต่เป็นลักษณะของคนที่อยากเป็นรัฐบาล แต่ไม่สมหวัง แล้วออกอาการตีรวน กลั่นแกล้ง ขัดขวาง “เมื่อข้าไม่ได้ เอ็งก็อย่าหวัง” หรือ “เมื่อนายข้าจะพัง ก็ต้องพังตามนายข้าไปให้หมด”
แต่เมื่อพิจารณาว่า การขอให้นับองค์ประชุมของฝ่ายค้าน ที่มีผลล้มการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 22 ม.ค.นั้น มิได้เกิดขึ้นในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรได้ทำการประชุม ถกเถียง อภิปราย แสดงความคิดเห็นเชิงเหตุผลคักค้านต่อสู้กันในประเด็นพิจารณาร่างกฎหมายที่ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลเห็นแตกต่างกันแต่อย่างใด แต่เกิดขึ้นในช่วงที่สภาผู้แทนได้พิจารณารับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของศาลปกครองฯ ซึ่งไม่มีประเด็นความคิดเห็นที่ฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลจะตกลงกันไม่ได้ และมิได้มีประเด็นที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังพยายามใช้เสียงข้างมากครอบงำมติของที่ประชุมสภาฯ โดยไม่รับฟังเหตุผลของเสียงข้างน้อยเลยแม้แต่น้อย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงมองได้ว่าเป็นผลงานของฝ่ายค้าน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่เสนอขอให้นับองค์ประชุม แล้วยกพรรคพวกของตนเดินออกจากที่ประชุมกว่า 100 คน จนทำให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎรต้องยุติลง ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็เท่ากับว่า ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติไม่ได้ทำหน้าที่ในการพิจารณาออกกฎหมายเพื่อมาใช้บังคับ กำกับดูแลควบคุมการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารนั่นเอง
2. กรณีทักษิณให้สัมภาษณ์โจมตีอำนาจตุลาการ องคมนตรี และกองทัพ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ต้องโทษจำคุก 2 ปี ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด หนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุนของญี่ปุ่นได้เผยแพร่บทสัมภาษณ์ บางประเด็นที่มีการกล่าวหาพาดพิงถึงสถาบันสำคัญในราชอาณาจักรไทย เช่น
อาซาฮี : คุณมีความเห็นยังไงกับรัฐบาลใหม่ของไทย ?
ทักษิณ : พรรคประชาธิปัตย์ได้อำนาจจากเสียงส่วนใหญ่ ด้วยการสนับสนุนจากศาล จากกองทัพ และคณะองคมนตรี สาเหตุที่พวกเขาเรียกร้องให้ผมเลิกยุ่งกับการเมืองไทย ก็เพราะพวกเขาไม่มั่นใจว่าจะกุมอำนาจได้ ถ้าผมยังยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ผมเชื่อว่า จริงๆ แล้วกองทัพและคณะองคมนตรีนั่นแหละที่ต้องเลิกยุ่งกับการเมือง
น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า “ทักษิณ” เลี่ยงที่จะกล่าวถึงอำนาจฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์โดยตรง แต่ “ทักษิณ” จงใจที่จะกล่าวหา พาดพิงไปถึงสถาบันสำคัญในราชอาณาจักรไทย คือ “อำนาจตุลาการ/ศาล” “องคมนตรี” และ “กองทัพ”
“ศาล” คือ สถาบันยุติธรรม ทำหน้าที่ตัดสินพิพากษาอรรถคดีไปตามกฎหมาย เพื่อเป็นที่ยุติของข้อขัดแย้งทั้งปวง โดยปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“คณะองคมนตรี” คือ สถาบันที่ปรึกษาส่วนพระองค์ หรือเป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำงานแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“กองทัพ” คือ สถาบันที่มีกำลังอำนาจ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นจอมทัพไทย
พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจกล่าวหาต่อสถาบันเหล่านี้ เพื่อยกระดับตัวเองให้คนดูเสมือนว่า ตนเองถูกกลั่นแกล้งหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสถาบันดังกล่าวทั้งหมด และพยายามทำลายความน่าเชื่อของรัฐบาลปัจจุบัน ด้วยการกล่าวหาว่า ได้อำนาจฝ่ายบริหารมาได้ด้วยการสนับสนุนจากศาล กองทัพ และคณะองคมนตรี
“ทักษิณ” พยายามสื่อสารกับสังคมโลกให้เข้าใจผิดๆ ว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน มิได้มาตามวิถีทางประชาธิปไตย แต่มาโดยการสนับสนุนจากศาล กองทัพ และคณะองคมนตรี
3. การกล่าวหาใส่ร้ายประเทศไทย ต่อสถานทูตประเทศต่างๆ
นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลระบอบทักษิณ ผู้ต้องหาในคดีดูหมิ่นสถาบันฯ รวมถึงนายวีระ มุกสิกะพงศ์ อดีตนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฯลฯ ได้เดินทางไปยื่นหนังสือประท้วง เรียกร้องต่อสถานทูตประเทศต่างๆ เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเหล่านั้นไม่เข้าร่วมประชุมอาเซียนซัมมิตกับประเทศไทย โดยกล่าวหาในทำนองว่า ขณะนี้ ประเทศไทยมิได้เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นรัฐประหารซ่อนรูป โดยมีสถาบันสำคัญของประเทศเข้ามาแอบแฝงทำลายประชาธิปไตยในประเทศไทย
ภารกิจของเสื้อแดง “จ็อบ-job” นี้ ก็คือ การพยายามทำลายความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในสายตาของนานาประเทศ โดยการจงใจให้ข้อมูลที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อยับยั้ง ขัดขวางการประชุมอาเซียนซัมมิต ซึ่งเป็นงานใหญ่ในระดับนานาชาติงานแรกที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะมีโอกาสแสดงบทบาท เรียกความเชื่อมั่นในประเทศไทยในสายตาของต่างชาติ อันหมายถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศมูลค่ามหาศาล
4. การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม “ดีทีวี”
ชัดเจนอย่างยิ่งว่า สถานีโทรทัศน์ดีทีวีถูกจัดตั้งขึ้นมาด้วยเจตนาในทางการเมืองที่มากกว่าจะทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อสารมวลชนที่ดีทั่วไป
“ดีทีวี” ถูกจัดตั้งและดำเนินการโดยขบวนการของกลุ่มคนซึ่งล้วนแต่เป็น “บริวารผู้จงรักภักดีต่อทักษิณ” ไม่ว่าจะเป็น อดีตทนายของทักษิณ อดีตลูกจ้างของทักษิณ หรืออดีตคนที่ทักษิณเคยโยนเศษเนื้อเศษกระดูกให้ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่กระทบกระเทือนต่อ “รัฐราชอาณาจักรไทย”
พิจารณาจากถ้อยแถลงของนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำคนสำคัญ ถึงกับแถลงแจ้งชัดว่า “พวกผมมาคิดการใหญ่ ไม่ใช่แค่เปิดรายการโทรทัศน์ แต่สร้างรัฐไทยขึ้นมาใหม่ด้วยมือคนเสื้อแดง”
การจัดตั้ง “ดีทีวี” จึงเป็นการสร้างเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ต้องการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายในประเทศไทย อันจะทำให้เกิดผลประโยชน์แก่ทักษิณ
5. เหตุการณ์ปั่นป่วนรุนแรงของคนเสื้อแดงภายในประเทศ
เหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ด้วยน้ำมือคนเสื้อแดง หลายกรณี เช่น
กรณีกลุ่มคนเสื้อแดงบุกรุก ไล่รื้อเวทีการชุมนุมของคนเสื้อเหลือง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนที่คนเสื้อเหลืองจะกลับมาชุมนุมกันใหม่ เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงแยกย้ายกันกลับบ้านไปหมดแล้ว
กรณีกลุ่มเสื้อแดงระดมคนบุกรุกงานเลี้ยง "ราตรีอ่างแก้ว" ของสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยบุกตะลุยฝ่าด่านเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอย่างไม่เคารพยำเกรงกฎหมาย อ้างว่าจะเข้าไปประท้วงขับไล่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ศิษย์เก่าสถาบันดังกล่าว
กรณีกลุ่มคนเสื้อแดง บุกรุกรื้อทำลายสถานปฏิบัติธรรม พุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ-สันติอโศก บ้านแม่เลา ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีการยิงหนังสติ๊กเข้าโรงครัว และใช้ตีนตบมาตบใส่ศีรษะของสมณะผู้ทรงศีลที่ปฏิบัติธรรมอยู่ อันเป็นการกระทำเยี่ยงคนไร้ศีลธรรม ไร้ศาสนา ไม่มีความละอายต่อความชั่วและเกรงกลัวต่อบาป
กรณีเหล่านี้ เป็นการระดมคน และจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนไหว ภายใต้การนำของคนที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับนักการเมืองพรรคเพื่อไทย แม้แต่เครื่องขยายเสียงหรือรถที่นำมาใช้ก็ยังติดสติ๊กเกอร์พรรคเพื่อไทยอยู่ เป็นต้น
กรณีเหล่านี้ จึงเป็นภารกิจ หรือ “จ็อบ-job” ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างสถานการณ์ ให้ดูเหมือนว่ามีความปั่นป่วน ท้าทายอำนาจฝ่ายบริหารของรัฐบาลชุดปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะพยายามขยายหรือยกระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อสร้างภาพว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่สามารถปกครองประเทศได้
หากรัฐบาลปัจจุบันรู้ไม่ทัน หรือชะล่าใจ หรืออ่อนข้ออย่างไร้ยุทธวิธีในการรับมือหรือบริหารจัดการ ก็อาจจะพ่ายแพ้ในเกมการเมืองของระบอบทักษิณ
สรุป
เหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนี้ น่าคิดว่า จะเป็นความบังเอิญ หรือเป็นการออกแบบมาให้เกิดขึ้น หรือลงมือกระทำอย่างจงใจ สอดรับกันเป็นขบวนการของคนเสื้อแดง เพื่อมุ่งตรงต่อเป้าหมายอันเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หากมองว่า ระบอบทักษิณกำลังทำสงครามกับราชอาณาจักรไทย อาจมองได้ว่า ฝ่ายตรงข้ามกำลังจัดวางยุทธวิธีการรบอย่างเป็นขบวนการ เช่น นายใหญ่ทำหน้าที่กดปุ่ม หรือยิงขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีป หรือรับหน้าที่ “โจมตีน่านฟ้าของราชอาณาจักรไทย” , บริวารเสื้อแดงส่วนหนึ่งทำหน้าที่ทหารราบ เคลื่อนไหวรุนแรงสร้างสถานการณ์ในประเทศ, บริวารเสื้อแดงอีกส่วนหนึ่งก็ทำหน้าที่ทหารปืนใหญ่ ใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือโจมตี, อีกส่วนที่อยู่ในสภา ก็มีหน้าที่ปั่นป่วน ขัดขาขัดขวาง เหมือนเป็นทหารม้าในรถถังบุกตะลุย โดยมีตำแหน่ง ส.ส.เป็นเกราะป้องกันตัว, แม้แต่ข้าราชการบางส่วนที่ยู่ในตำแหน่งสำคัญ ก็ทำหน้าที่เสมือน “สายลับ” คอยส่งข่าวหรือขัดแข้งขัดขาอย่างลับๆ แต่จะถึงขั้นมี “สายลับสองหน้า” หรือ “เกลือเป็นหนอน” แฝงตัวอยู่ในรัฐบาลชุดนี้ด้วยหรือไม่นั้น ก็ต้องจับตามองให้ละเอียด
บ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ ทั้งเศรษฐกิจ และยังถูกซ้ำเติมด้วยสงครามการเมืองจากระบอบทักษิณ
เรา- คนไทย –ราชอาณาจักรไทย จะผ่านสงครามครั้งนี้ไปได้ จำเป็นต้องมี “ความเข้มแข็งและแม่นยำของผู้นำประเทศ” และ “การร่วมมือร่วมใจกันของผู้มีใจรักและห่วงใยในอนาคตของบ้านเมือง”
ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต