กองทัพไทยก็เหมือนกองทัพอื่นๆ ในโลกที่เป็นกลไกของผู้ปกครองรัฐในการป้องกันประเทศ การขยายอาณาเขต การปราบปรามเมืองขึ้น และการปราบกบฏในประเทศ โดยนัยที่สำคัญก็คือเป็นกลไกของรัฐทั้งในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของกรีกและโรมันโบราณ เช่น สมัยจอมทัพฮันนิบาลแห่งนครรัฐคาร์เธจในปี 243 ก่อนคริสต์ศักราชหรือระบบกษัตริย์ที่เป็นรากฐานการปกครองของมนุษยชาติตั้งแต่อดีตกาลจนปัจจุบัน โดยที่กษัตริย์แปลว่าทหารผู้ยิ่งใหญ่ เพราะในอดีตนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงนำทัพหลวงด้วยพระองค์เอง เช่น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยเองก็ไม่ต่างกับชาติอื่นๆ ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน และทรงดำรงฐานะเป็นแม่ทัพ โดยในสมัยอยุธยาตอนกลางระหว่าง พ.ศ. 1991-2231 มีการแบ่งแยกหน้าที่กันเด่นชัดระหว่างทหารกับพลเรือน โดยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกตำแหน่งสมุหกลาโหมให้ดูแลรับผิดชอบกิจการทหารทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร ส่วนสมุหนายกให้รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ เวียงหรือนครบาล วังหรือธรรมาธิกรณ์ นาหรือเกษตราธิการ และคลังหรือโกษาธิบดี แต่ต่อมาเกิดผลประโยชน์ไม่ลงตัวระหว่างพลเรือนกับทหารในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีการแก่งแย่งอำนาจรัฐและแข่งกันสร้างอิทธิพลในอาณัติของตัวเองจนขาดความสมดุลของอำนาจทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเกิดความระแวง จึงมีการแบ่งเขตอิทธิพลทั้งทางพลเรือนและฝ่ายพลเรือนโดยให้สมุหกลาโหมดูแลรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด ส่วนสมุหนายกดูแลรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดเพื่อคานอำนาจกัน จนเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ. 2310
จนในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความเป็นอารยะทัดเทียมกับประเทศล่าเมืองขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันการถูกล่าเป็นเมืองขึ้น ด้วยการทรงสถาปนากรมขึ้นอีก 8 กรมจากครั้งสมัยอยุธยาเพราะสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น และต่อมาทรงยกฐานะทั้ง 12 กรมเป็นกระทรวงต่างๆ แต่ยุบกระทรวงยุทธนาธิการร่วมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ดูแลรับผิดชอบกิจการทหารทั้งหมดในสมัยนั้น
ดังนั้นกระทรวงกลาโหมในยุคนั้น เป็นยุคพัฒนาสู่แนวตะวันตกด้วยรัชกาลที่ 5 ทรงส่งสมาชิกราชวงศ์ และสามัญชนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรป เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชไปอังกฤษ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และนายพุ่ม สาคร ไปรัสเซีย ทำให้กองทัพไทยมีการพัฒนาทั้งยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีแบบตะวันตก แต่ที่สำคัญเจ้านายและสามัญชนได้รับแนวคิดทางการเมืองแบบตะวันตกกลับมาด้วย แต่ก็ยังเป็นกลไกของพระมหากษัตริย์ที่ทรงฐานะเป็นจอมทัพไทยตามนิติประเพณีมาแต่โบราณเช่นเดิม และทหารก็ยังเป็นกลไกของรัฐตามหลักนิยมเชิงรัฐศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับการเมือง
เนื่องจากกองทัพมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบในเรื่องความเป็นความตาย ของชาติ รวมทั้งมีความชำนาญเฉพาะเพื่อการสู้รบมากกว่าบุคคลอื่น จึงเป็นกลไกที่สำคัญของรัฐอันหมายรวมถึงระบบรัฐ ระบบชาติ อธิปไตยของชาติ และประชาชน
เมื่อทหารเป็นกลไกของประชาชนด้วยเช่นกันในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการปรับปรุงอำนาจรัฐ เช่น ในกรณีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งกลุ่มประชาชนนักวิชาการและทหาร เรียกตัวเองว่าคณะราษฎรทำการล่วงเกินพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เมื่อเปลี่ยนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายทหารครั้ง พ.ศ. 2475 ก็ยังคงแสดงความสำนึกผิด และยังคงสำแดงความจงรักภักดี และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ด้วยการขอเข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากนั้นทหารก็มีบทบาทในทางการเมืองไทยมาตลอด และหากศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับทหารแล้ว จะรู้ว่าการรัฐประหารและการกบฏของทหารนั้น เกิดจากการที่ทหารแย่งอำนาจกันเอง หรือทหารแย่งอำนาจรัฐให้กับกลุ่มการเมืองที่กลุ่มทหารฝักใฝ่อยู่ หรือทหารแย่งอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง หรือทหารแย่งอำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ของรัฐ และของตัวเองผสมผสานกัน หรือทหารแย่งอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของชาติตามอุดมการณ์ชาติ ซึ่งเห็นได้จากบันทึกตั้งแต่ พ.ศ. 2451 เรียกว่า กบฏ ร.ศ. 130 ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึง พ.ศ. 2549 นั้น มีการรัฐประหาร การกบฏและการต่อต้านทหารโดยพลังประชาชน รวมทั้งสิ้น 24 ครั้งใน 98 ปี หรือ 4 ปีครั้ง และทุกครั้งทหารเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
ในปัจจุบัน การรัฐประหารมีความซับซ้อนขึ้น และลึกล้ำมากขึ้น ทั้งระบบการเมือง ความคิดนักการเมือง ระบบเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อความเจริญของชาติกระทำได้ยากขึ้น และการแสวงหาผู้นำทางการเมืองที่สมัครใจ มีความรู้ความสามารถเป็นเยี่ยม และที่ประชาชนยอมรับยากมากขึ้น เพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงกับอนาคตการเมืองที่ไม่แน่นอน เพราะพฤติกรรมคนไทยมีความพอใจสั้น และหลักตุลาการภิวัฒน์มีความแข็งแกร่งขึ้น สามารถถ่วงดุลกับฝ่ายการเมืองได้ ขณะที่หลักประชาภิวัฒน์ของไทยพัฒนาขึ้น เพราะชนชั้นกลางคนไทยมีเหตุผล และเข้าใจหลักความชอบธรรมทางการเมืองมากขึ้น กลายเป็นกลุ่มปัญญาชนชั้นกลางที่มีบทบาททางการเมืองนอกสภาที่รัฐบาลต้องรับฟัง เช่น รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อพิสูจน์กองทัพในยุคหลักตุลาการภิวัฒน์ และประชาภิวัฒน์เห็นได้จากการที่พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก แสดงจุดยืนไม่ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่สั่งการโดยอดีตนายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช ให้สลายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ด้วยกำลังทหาร จึงอนุมานว่าพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นนายทหารที่เข้าใจการเมืองไทยดีเยี่ยมคนหนึ่ง
การเมืองเป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันของประชาคม โดยทางพฤติกรรมจิตวิทยามนุษย์แล้วนั้น มนุษย์มีสัญชาตญาณในการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอยู่แล้ว และในหลักเศรษฐศาสตร์นั้นบ่งชี้ว่า มนุษย์ต้องรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ และดำรงความสมบูรณ์ มั่งคั่งของมนุษย์เองตามความจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่
ดังนั้นเสรีภาพจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของมนุษย์ เพราะต้องการจะทำตามที่ตัวเองปรารถนา จึงต้องมีระบบการปกครอง มีกฎหมาย และหลักการแบ่งแยกทรัพยากรอย่างยุติธรรม และหากมนุษย์ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาตามหลักความชอบธรรมแล้ว มนุษย์มักจะโค่นล้มรัฐบาลดังที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มากมาย
รัฐบาลที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับหลักการ 2 ประการคือ รัฐบาลจะต้องสร้างเสถียรภาพในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยความชอบธรรม โดยให้ประชากรเชื่อมั่น และเชื่อฟังข้อกฎหมายเพื่อความสงบสุขของรัฐ และรัฐบาลจะต้องมีความยืดหยุ่น และไม่ทำตามอำเภอใจ หรือใช้อำนาจสูงสุดของรัฐในการบริหารชาติ และที่สำคัญยิ่งต้องปฏิบัติตามสัญญาประชาคม หากไม่เป็นดังนี้รัฐบาลก็ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้
จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งของรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สามีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้มีอิทธิพลยิ่งในเขตจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวข้องกับการทุจริตการรับจำนำลำไยอบแห้งปี 2547 ของรัฐบาลที่เงินหลวงหายไป 2,000 ล้านบาท และคดีนี้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวสเป็นผู้รับผิดชอบตามคำร้องของอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน และเป็นเรื่องที่คนเชียงใหม่รู้ดี นักการเมืองทุกระดับรู้ดีว่าใครอยู่เบื้องหลังและเพื่ออะไร รัฐบาลนี้จะผลักตัวเองจากวังน้ำวนแห่งการต่อต้านระบอบทักษิณได้อย่างไร เพราะตราบใดยังมีเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทาบอยู่ภายในใจและจิตสำนึกของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แล้วการต่อต้านก็ไม่มีวันยุติอย่างแน่นอน
คิดว่าทหารก็คงยังจะเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณ และฝ่าสนับสนุนระบอบทักษิณ ที่เริ่มเผชิญกันใหม่อีกอย่างแน่นอน และฝ่ายทหารจะต้องป้องกันมิให้เกิดการปะทะกันระหว่างสองฝ่าย และทหารก็ยังคงหวังว่า หลักตุลาการภิวัฒน์ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความผาสุกของแผ่นดิน และทหารก็ยังคงศรัทธาหลักประชาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นเพราะความชอบธรรมของสังคมอันเป็นหลักนิยมประชาธิปไตยบทใหม่ของไทย
สำหรับประเทศไทยเองก็ไม่ต่างกับชาติอื่นๆ ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน และทรงดำรงฐานะเป็นแม่ทัพ โดยในสมัยอยุธยาตอนกลางระหว่าง พ.ศ. 1991-2231 มีการแบ่งแยกหน้าที่กันเด่นชัดระหว่างทหารกับพลเรือน โดยที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกตำแหน่งสมุหกลาโหมให้ดูแลรับผิดชอบกิจการทหารทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร ส่วนสมุหนายกให้รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ เวียงหรือนครบาล วังหรือธรรมาธิกรณ์ นาหรือเกษตราธิการ และคลังหรือโกษาธิบดี แต่ต่อมาเกิดผลประโยชน์ไม่ลงตัวระหว่างพลเรือนกับทหารในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีการแก่งแย่งอำนาจรัฐและแข่งกันสร้างอิทธิพลในอาณัติของตัวเองจนขาดความสมดุลของอำนาจทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเกิดความระแวง จึงมีการแบ่งเขตอิทธิพลทั้งทางพลเรือนและฝ่ายพลเรือนโดยให้สมุหกลาโหมดูแลรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด ส่วนสมุหนายกดูแลรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดเพื่อคานอำนาจกัน จนเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ. 2310
จนในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความเป็นอารยะทัดเทียมกับประเทศล่าเมืองขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันการถูกล่าเป็นเมืองขึ้น ด้วยการทรงสถาปนากรมขึ้นอีก 8 กรมจากครั้งสมัยอยุธยาเพราะสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น และต่อมาทรงยกฐานะทั้ง 12 กรมเป็นกระทรวงต่างๆ แต่ยุบกระทรวงยุทธนาธิการร่วมเข้ากับกระทรวงกลาโหม ดูแลรับผิดชอบกิจการทหารทั้งหมดในสมัยนั้น
ดังนั้นกระทรวงกลาโหมในยุคนั้น เป็นยุคพัฒนาสู่แนวตะวันตกด้วยรัชกาลที่ 5 ทรงส่งสมาชิกราชวงศ์ และสามัญชนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรป เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชไปอังกฤษ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และนายพุ่ม สาคร ไปรัสเซีย ทำให้กองทัพไทยมีการพัฒนาทั้งยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีแบบตะวันตก แต่ที่สำคัญเจ้านายและสามัญชนได้รับแนวคิดทางการเมืองแบบตะวันตกกลับมาด้วย แต่ก็ยังเป็นกลไกของพระมหากษัตริย์ที่ทรงฐานะเป็นจอมทัพไทยตามนิติประเพณีมาแต่โบราณเช่นเดิม และทหารก็ยังเป็นกลไกของรัฐตามหลักนิยมเชิงรัฐศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับการเมือง
เนื่องจากกองทัพมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบในเรื่องความเป็นความตาย ของชาติ รวมทั้งมีความชำนาญเฉพาะเพื่อการสู้รบมากกว่าบุคคลอื่น จึงเป็นกลไกที่สำคัญของรัฐอันหมายรวมถึงระบบรัฐ ระบบชาติ อธิปไตยของชาติ และประชาชน
เมื่อทหารเป็นกลไกของประชาชนด้วยเช่นกันในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการปรับปรุงอำนาจรัฐ เช่น ในกรณีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งกลุ่มประชาชนนักวิชาการและทหาร เรียกตัวเองว่าคณะราษฎรทำการล่วงเกินพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เมื่อเปลี่ยนระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายทหารครั้ง พ.ศ. 2475 ก็ยังคงแสดงความสำนึกผิด และยังคงสำแดงความจงรักภักดี และเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ด้วยการขอเข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากนั้นทหารก็มีบทบาทในทางการเมืองไทยมาตลอด และหากศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับทหารแล้ว จะรู้ว่าการรัฐประหารและการกบฏของทหารนั้น เกิดจากการที่ทหารแย่งอำนาจกันเอง หรือทหารแย่งอำนาจรัฐให้กับกลุ่มการเมืองที่กลุ่มทหารฝักใฝ่อยู่ หรือทหารแย่งอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง หรือทหารแย่งอำนาจรัฐเพื่อประโยชน์ของรัฐ และของตัวเองผสมผสานกัน หรือทหารแย่งอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ของชาติตามอุดมการณ์ชาติ ซึ่งเห็นได้จากบันทึกตั้งแต่ พ.ศ. 2451 เรียกว่า กบฏ ร.ศ. 130 ในสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึง พ.ศ. 2549 นั้น มีการรัฐประหาร การกบฏและการต่อต้านทหารโดยพลังประชาชน รวมทั้งสิ้น 24 ครั้งใน 98 ปี หรือ 4 ปีครั้ง และทุกครั้งทหารเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
ในปัจจุบัน การรัฐประหารมีความซับซ้อนขึ้น และลึกล้ำมากขึ้น ทั้งระบบการเมือง ความคิดนักการเมือง ระบบเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การจัดตั้งรัฐบาลเพื่อความเจริญของชาติกระทำได้ยากขึ้น และการแสวงหาผู้นำทางการเมืองที่สมัครใจ มีความรู้ความสามารถเป็นเยี่ยม และที่ประชาชนยอมรับยากมากขึ้น เพราะไม่มีใครอยากเสี่ยงกับอนาคตการเมืองที่ไม่แน่นอน เพราะพฤติกรรมคนไทยมีความพอใจสั้น และหลักตุลาการภิวัฒน์มีความแข็งแกร่งขึ้น สามารถถ่วงดุลกับฝ่ายการเมืองได้ ขณะที่หลักประชาภิวัฒน์ของไทยพัฒนาขึ้น เพราะชนชั้นกลางคนไทยมีเหตุผล และเข้าใจหลักความชอบธรรมทางการเมืองมากขึ้น กลายเป็นกลุ่มปัญญาชนชั้นกลางที่มีบทบาททางการเมืองนอกสภาที่รัฐบาลต้องรับฟัง เช่น รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อพิสูจน์กองทัพในยุคหลักตุลาการภิวัฒน์ และประชาภิวัฒน์เห็นได้จากการที่พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก แสดงจุดยืนไม่ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่สั่งการโดยอดีตนายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช ให้สลายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ด้วยกำลังทหาร จึงอนุมานว่าพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นนายทหารที่เข้าใจการเมืองไทยดีเยี่ยมคนหนึ่ง
การเมืองเป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันของประชาคม โดยทางพฤติกรรมจิตวิทยามนุษย์แล้วนั้น มนุษย์มีสัญชาตญาณในการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอยู่แล้ว และในหลักเศรษฐศาสตร์นั้นบ่งชี้ว่า มนุษย์ต้องรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ และดำรงความสมบูรณ์ มั่งคั่งของมนุษย์เองตามความจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่
ดังนั้นเสรีภาพจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของมนุษย์ เพราะต้องการจะทำตามที่ตัวเองปรารถนา จึงต้องมีระบบการปกครอง มีกฎหมาย และหลักการแบ่งแยกทรัพยากรอย่างยุติธรรม และหากมนุษย์ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาตามหลักความชอบธรรมแล้ว มนุษย์มักจะโค่นล้มรัฐบาลดังที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มากมาย
รัฐบาลที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับหลักการ 2 ประการคือ รัฐบาลจะต้องสร้างเสถียรภาพในการบริหารราชการแผ่นดินด้วยความชอบธรรม โดยให้ประชากรเชื่อมั่น และเชื่อฟังข้อกฎหมายเพื่อความสงบสุขของรัฐ และรัฐบาลจะต้องมีความยืดหยุ่น และไม่ทำตามอำเภอใจ หรือใช้อำนาจสูงสุดของรัฐในการบริหารชาติ และที่สำคัญยิ่งต้องปฏิบัติตามสัญญาประชาคม หากไม่เป็นดังนี้รัฐบาลก็ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้
จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งของรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สามีนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้มีอิทธิพลยิ่งในเขตจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งมีเรื่องเกี่ยวข้องกับการทุจริตการรับจำนำลำไยอบแห้งปี 2547 ของรัฐบาลที่เงินหลวงหายไป 2,000 ล้านบาท และคดีนี้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวสเป็นผู้รับผิดชอบตามคำร้องของอดีตรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน และเป็นเรื่องที่คนเชียงใหม่รู้ดี นักการเมืองทุกระดับรู้ดีว่าใครอยู่เบื้องหลังและเพื่ออะไร รัฐบาลนี้จะผลักตัวเองจากวังน้ำวนแห่งการต่อต้านระบอบทักษิณได้อย่างไร เพราะตราบใดยังมีเงาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทาบอยู่ภายในใจและจิตสำนึกของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แล้วการต่อต้านก็ไม่มีวันยุติอย่างแน่นอน
คิดว่าทหารก็คงยังจะเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณ และฝ่าสนับสนุนระบอบทักษิณ ที่เริ่มเผชิญกันใหม่อีกอย่างแน่นอน และฝ่ายทหารจะต้องป้องกันมิให้เกิดการปะทะกันระหว่างสองฝ่าย และทหารก็ยังคงหวังว่า หลักตุลาการภิวัฒน์ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความผาสุกของแผ่นดิน และทหารก็ยังคงศรัทธาหลักประชาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นเพราะความชอบธรรมของสังคมอันเป็นหลักนิยมประชาธิปไตยบทใหม่ของไทย