กตัญญูกตเวทีคือคุณธรรมสำคัญที่ลงหลักปักฐานแน่นหนาในสังคมไทยมาช้านาน หากในความกตัญญูแบบไทยก็มีความย้อนแย้งอยู่ในตัวไม่น้อย โดยเฉพาะในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ปวงชนชาวไทยใช้อำนาจอธิปไตยเลือกตัวแทนประชาชนทั้งระดับท้องถิ่นและชาติจากความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณอันควรกระทำ
ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เร่งหว่านโปรยนโยบายประชานิยมหลากหลายเพื่อยึดกุมประชาชนไว้ในฐานะคะแนนเสียง หนึ่งในนั้นคือการแจก ‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’ ที่แม้จะสืบสานเจตนารมณ์ดีงามนับแต่ปี 2536 ที่ต้องการเยียวยาช่วยเหลือผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
ทว่าการมุ่งแจกเงินผู้สูงอายุ ‘ทุกคน’ กลับทอนทำลายกฎกติกาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่เคยจำกัดไว้ในกลุ่มยากแค้นขัดสน เพราะการไม่จ่ายเงินสงเคราะห์นี้แก่ผู้สูงวัยทุกคนนอกจากจะรักษาสถานะการเงินการคลังของประเทศไทยไม่ให้ล้มละลายอันเนื่องมาจากจำนวนผู้สูงอายุที่ทวีรวดเร็วแล้ว ยังเป็นการขับเคลื่อนนโยบายที่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเฒ่าคนแก่ด้วยเพราะไม่มองพวกเขาเป็นกลุ่มคนสร้างภาระหรือน่าสงสารเรียกร้องขอโน่นนี่จากลูกหลานและสังคม
ทั้งนี้ รัฐบาลจะประสบปัญหาตามมามากมายแน่นอนถ้าต้องจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุทุกคน เพราะเพียงการเพิ่มจำนวนประชากรสูงวัยจาก 7,038,000 คน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 11,888,000 คน หรือร้อยละ 16.8 ในปี 2563 และทะยานเป็น 14,452,000 คน หรือร้อยละ 20.0 ในปี 2568 ก็จำต้องใช้งบประมาณมหาศาล ยิ่งผนวกจำนวนเงินที่ต้องปรับให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นด้วยแล้ว ยิ่งเป็นภาระกับรัฐและประชาชนผู้เสียภาษีจนแบกรับไม่ได้ในที่สุด
ปัจจุบันอัตราจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท/คน/เดือนก็ต่ำกว่าเส้นความยากจน (Poverty line) อันเป็นเกณฑ์มาตรฐานการดำรงชีพขั้นต่ำที่คำนวณจากเกณฑ์มาตรฐานความต้องการบริโภคอาหารและสินค้าจำเป็นขั้นต่ำอันเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคลมากแล้ว
อนาคตสินค้าบริการทุกอย่างถีบตัวสูงขึ้น เบี้ยยังชีพครึ่งพันจะประคับประคองไม้ใกล้ฝั่งไม่ให้ผุพังล่มสลายลงไปได้อย่างไร ทำไมไม่กำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ยั่งยืนกว่าประชานิยมเสียที
ที่ยั่งยืนกว่าการพยายามจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคนของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ถึงจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการรับซ้อนดังกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิประกันสังคม ข้าราชการบำนาญ หรือผู้พิการ การจ่ายไม่ทั่วถึงที่ผู้สูงอายุยากจนได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพเพียงร้อยละ 38.14 หรือกระทั่งการเลือกปฏิบัติในบางท้องถิ่นอันเนื่องมาจากการกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็คือการผลักดัน ‘ระบบบำนาญแห่งชาติ’ ที่ผสานระหว่างบำนาญสะสมทรัพย์ (Funded system) กับบำนาญแบบจ่ายและไป (Pay as you go) หรือระบบแบบกึ่งสะสมทรัพย์กึ่งช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างรุ่น ตามข้อเสนอเชิงวิชาการของ ผศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
ทั้งยังสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านเศรษฐกิจของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 84(4) ที่ให้รัฐต้องจัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง เพื่อจะรองรับโครงสร้างประชากรสูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและอายุขัย
ด้วยถึงที่สุดคุณภาพการดำรงชีพยามชราภาพใช่ขึ้นต่อรายได้ในรูปเงินสงเคราะห์รัฐบาล หากทว่ายึดโยงกับความเอื้ออาทรของชุมชน ความกตัญญูของลูกหลาน และแนวนโยบายรัฐบาลด้านผู้สูงอายุที่เน้นหนักการออมมากกว่าการสงเคราะห์มากกว่า เพราะนอกจากความสัมพันธ์ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างคนต่างวัย โดยเฉพาะลูกหลานที่ต้องรับผิดชอบดูแลพ่อแม่แก่เฒ่าแล้ว มาตรการการออมที่ได้รัฐส่งเสริมยังนำความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีซึ่งไม่ต้องรอแบมือขอรับความช่วยเหลือมาให้ด้วย
หากปล่อยให้วัยแรงงานและเยาวชนวันนี้ล่วงเลยสู่วัยสนธยาโดยไม่มีการเก็บออมในลักษณะบำนาญชราภาพ ก็จะก่อภาระหนักหน่วงแก่รัฐในการดูแลตามมา เพราะจากงบประมาณแค่ 12 ล้านบาทสำหรับจ่ายผู้สูงอายุ 20,000 คนในปี 2536 ก็ก้าวกะโดดถึง 10,532 ล้านบาทสำหรับจ่ายผู้สูงอายุ 1,755,266 คนในปี 2550 ทั้งที่มีผู้สูงอายุเหลืออีกกว่า 5 ล้านคนที่ไม่ได้รับสิทธินี้ แต่ใช่ว่ากว่า 5 ล้านคนเหล่านั้นเป็นผู้สูงวัยยากจนจนต้องได้รับเงินสงเคราะห์ทั้งหมด
การแจกจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคนจึงทำลายหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้สูงอายุที่มีสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพ เพราะขึ้นชื่อว่า ‘เงิน’ ทั้งคนมีน้อยและมากต่างอยากได้เพิ่มทั้งนั้น น้อยนักจะปัดปฏิเสธเงินเดือนละ 500 บาท หรือปีละ 6,000 บาท ดังนั้นการแจกจ่ายเงินสงเคราะห์แบบถ้วนหน้านานไปรังแต่จะใช้งบประมาณมหาศาลขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายสุดกระทบต่อผู้สูงอายุยากจนเดือดร้อนจริงๆ
มิพักจะเอ่ยว่าถ้าบริหารจัดการเงินจำนวนนี้ดีๆ โดยไม่ตั้งเป้าว่าต้องให้คนแก่เฒ่าทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนแล้วละก็จะสามารถนำมาจัดสรรเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพมากกว่าเดือนละ 500 บาทได้ ไม่ใช่ให้ผู้สูงวัยต้องกระเบียดกระเสียรสุดๆ เพื่อจะผ่านพ้นแต่ละเดือนภายในวงเงินครึ่งพัน
เมื่อทุกสิ่งอย่างมีราคาต้องจ่ายทั้งสิ้น ยิ่งอยู่อาศัยในเขตชุมชนหรือเมืองด้วยแล้วยิ่งต้องใช้เงินขับเคลื่อนชีวิตซื้อหาอาหารสินค้าบริการต่างๆ ลำพังเงินสงเคราะห์ 500 บาทที่ได้ในแต่ละเดือน หรือต่อให้เพิ่มขึ้นถึงเดือนละ 700-800 บาท ก็นับว่าน้อยมากหากจะดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพเพียงพอ
ฉะนั้น ฉากชีวิตคนเฒ่าคนแก่ด้อยโอกาสยากไร้ไม่มีลูกหลานคอยดูแลดังปรากฏในข่าวโทรทัศน์จักเป็น ‘ภาพตัวแทน’ ผู้สูงวัยในสังคมไทยต่อไป ตราบใดไม่มีการสร้างหลักประกันยามชราภาพที่อิงกับการออมมากกว่าการสงเคราะห์เป็นสำคัญ รวมทั้งฟื้นคืนคุณธรรมความกตัญญูกตเวทีที่เริ่มหดหายไปจากครอบครัวไทยให้กลับมา เคียงคู่กับเสริมสร้างความเอื้ออาทรภายในชุมชนจนเกิดภาคประชาสังคมเข้มแข็งเข้ามาจัดการปัญหาผู้สูงอายุโดยไม่ใช้เงินเป็นทั้งตัวตั้งและวิธีแก้ปัญหา
เพราะการใช้เงินเป็นตัวตั้งสำหรับการแก้วิกฤตสังคมสูงอายุ ไม่เพียงทำให้แนวทางแก้ปัญหาเป็นแบบนโยบายประชานิยม (Populism) อย่างการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้าที่ระยะยาวกระเทือนการเงินการคลังประเทศชาติเท่านั้น ทว่าระหว่างทางยังกร่อนกัดความกลมเกลียวเหนียวแน่นของครอบครัวชุมชนสังคมจากเคยห่วงหาอาทรกันก็กลับผลักภาระมาให้รัฐบาลเยียวยารักษาดูแลแทน
ความกตัญญูกตเวทีแท้จริงที่ค้ำจุนประเทศไทยและโลกจึงเหลือพื้นที่ว่างไม่มากนักในสังคมโหยหานโยบายประชานิยม ที่ดูเสมือนจะใช่หากแต่เนื้อแท้แล้วก็เคลือบแฝงเป็นแค่ความกตัญญูหลังได้ดอกผลในรูปเงินและสวัสดิการฟรีในฟากประชาชน ขณะฝั่งรัฐก็เป็นเพียงการตอบแทนหลังได้คะแนนเสียง ทั้งๆ ของที่คิดว่าฟรีเหล่านั้นล้วนงอกเงยจากภาษีอากรทั้งสิ้น
อีกทั้งยุทธศาสตร์ ‘สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน’ เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณกับบ้านเมืองนั้นใช่ได้มาด้วยการหว่านเงินสงเคราะห์แก่ผู้สูงวัยทุกคนๆ ละ 500 บาท/เดือน หากต้องมาจากการปฏิบัติการจริงด้านประชาสังคมจนเกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนและองค์กรต่างๆ ในทุกท้องถิ่นตำบล ตลอดจนกำหนดยุทธศาสตร์การเตรียมประชากรหนุ่มสาววันนี้ให้เป็นคนสูงวัยมีคุณภาพ (Active ageing) ด้วยยุทธวิธีสนับสนุนการออมหรือสร้างระบบบำนาญแห่งชาติ
การขยายฐานเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกคนจึงไม่ใช่ยุทธวิธีที่เข้าถึงความกตัญญูหรือนำไปสู่การสร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกัน ด้วยภาวะโดดเดี่ยวอ้างว้างยามชราภาพนั้นแก้ไขไม่ได้ด้วยเงินหรือนโยบายประชานิยม หากต้องเป็นความเอื้ออาทรที่ทำงานร่วมกับนโยบายสร้างเสริมคุณภาพชีวิตนับแต่อยู่ใน ‘ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ ต่างหาก
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เร่งหว่านโปรยนโยบายประชานิยมหลากหลายเพื่อยึดกุมประชาชนไว้ในฐานะคะแนนเสียง หนึ่งในนั้นคือการแจก ‘เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ’ ที่แม้จะสืบสานเจตนารมณ์ดีงามนับแต่ปี 2536 ที่ต้องการเยียวยาช่วยเหลือผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
ทว่าการมุ่งแจกเงินผู้สูงอายุ ‘ทุกคน’ กลับทอนทำลายกฎกติกาการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่เคยจำกัดไว้ในกลุ่มยากแค้นขัดสน เพราะการไม่จ่ายเงินสงเคราะห์นี้แก่ผู้สูงวัยทุกคนนอกจากจะรักษาสถานะการเงินการคลังของประเทศไทยไม่ให้ล้มละลายอันเนื่องมาจากจำนวนผู้สูงอายุที่ทวีรวดเร็วแล้ว ยังเป็นการขับเคลื่อนนโยบายที่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเฒ่าคนแก่ด้วยเพราะไม่มองพวกเขาเป็นกลุ่มคนสร้างภาระหรือน่าสงสารเรียกร้องขอโน่นนี่จากลูกหลานและสังคม
ทั้งนี้ รัฐบาลจะประสบปัญหาตามมามากมายแน่นอนถ้าต้องจ่ายเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุทุกคน เพราะเพียงการเพิ่มจำนวนประชากรสูงวัยจาก 7,038,000 คน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 11,888,000 คน หรือร้อยละ 16.8 ในปี 2563 และทะยานเป็น 14,452,000 คน หรือร้อยละ 20.0 ในปี 2568 ก็จำต้องใช้งบประมาณมหาศาล ยิ่งผนวกจำนวนเงินที่ต้องปรับให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นด้วยแล้ว ยิ่งเป็นภาระกับรัฐและประชาชนผู้เสียภาษีจนแบกรับไม่ได้ในที่สุด
ปัจจุบันอัตราจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 500 บาท/คน/เดือนก็ต่ำกว่าเส้นความยากจน (Poverty line) อันเป็นเกณฑ์มาตรฐานการดำรงชีพขั้นต่ำที่คำนวณจากเกณฑ์มาตรฐานความต้องการบริโภคอาหารและสินค้าจำเป็นขั้นต่ำอันเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคลมากแล้ว
อนาคตสินค้าบริการทุกอย่างถีบตัวสูงขึ้น เบี้ยยังชีพครึ่งพันจะประคับประคองไม้ใกล้ฝั่งไม่ให้ผุพังล่มสลายลงไปได้อย่างไร ทำไมไม่กำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ยั่งยืนกว่าประชานิยมเสียที
ที่ยั่งยืนกว่าการพยายามจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคนของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ถึงจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการรับซ้อนดังกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิประกันสังคม ข้าราชการบำนาญ หรือผู้พิการ การจ่ายไม่ทั่วถึงที่ผู้สูงอายุยากจนได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพเพียงร้อยละ 38.14 หรือกระทั่งการเลือกปฏิบัติในบางท้องถิ่นอันเนื่องมาจากการกระทำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ก็คือการผลักดัน ‘ระบบบำนาญแห่งชาติ’ ที่ผสานระหว่างบำนาญสะสมทรัพย์ (Funded system) กับบำนาญแบบจ่ายและไป (Pay as you go) หรือระบบแบบกึ่งสะสมทรัพย์กึ่งช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างรุ่น ตามข้อเสนอเชิงวิชาการของ ผศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
ทั้งยังสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านเศรษฐกิจของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 84(4) ที่ให้รัฐต้องจัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง เพื่อจะรองรับโครงสร้างประชากรสูงอายุที่เพิ่มทั้งจำนวนและอายุขัย
ด้วยถึงที่สุดคุณภาพการดำรงชีพยามชราภาพใช่ขึ้นต่อรายได้ในรูปเงินสงเคราะห์รัฐบาล หากทว่ายึดโยงกับความเอื้ออาทรของชุมชน ความกตัญญูของลูกหลาน และแนวนโยบายรัฐบาลด้านผู้สูงอายุที่เน้นหนักการออมมากกว่าการสงเคราะห์มากกว่า เพราะนอกจากความสัมพันธ์ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันระหว่างคนต่างวัย โดยเฉพาะลูกหลานที่ต้องรับผิดชอบดูแลพ่อแม่แก่เฒ่าแล้ว มาตรการการออมที่ได้รัฐส่งเสริมยังนำความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีซึ่งไม่ต้องรอแบมือขอรับความช่วยเหลือมาให้ด้วย
หากปล่อยให้วัยแรงงานและเยาวชนวันนี้ล่วงเลยสู่วัยสนธยาโดยไม่มีการเก็บออมในลักษณะบำนาญชราภาพ ก็จะก่อภาระหนักหน่วงแก่รัฐในการดูแลตามมา เพราะจากงบประมาณแค่ 12 ล้านบาทสำหรับจ่ายผู้สูงอายุ 20,000 คนในปี 2536 ก็ก้าวกะโดดถึง 10,532 ล้านบาทสำหรับจ่ายผู้สูงอายุ 1,755,266 คนในปี 2550 ทั้งที่มีผู้สูงอายุเหลืออีกกว่า 5 ล้านคนที่ไม่ได้รับสิทธินี้ แต่ใช่ว่ากว่า 5 ล้านคนเหล่านั้นเป็นผู้สูงวัยยากจนจนต้องได้รับเงินสงเคราะห์ทั้งหมด
การแจกจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกคนจึงทำลายหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้สูงอายุที่มีสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพ เพราะขึ้นชื่อว่า ‘เงิน’ ทั้งคนมีน้อยและมากต่างอยากได้เพิ่มทั้งนั้น น้อยนักจะปัดปฏิเสธเงินเดือนละ 500 บาท หรือปีละ 6,000 บาท ดังนั้นการแจกจ่ายเงินสงเคราะห์แบบถ้วนหน้านานไปรังแต่จะใช้งบประมาณมหาศาลขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายสุดกระทบต่อผู้สูงอายุยากจนเดือดร้อนจริงๆ
มิพักจะเอ่ยว่าถ้าบริหารจัดการเงินจำนวนนี้ดีๆ โดยไม่ตั้งเป้าว่าต้องให้คนแก่เฒ่าทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนแล้วละก็จะสามารถนำมาจัดสรรเป็นเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพมากกว่าเดือนละ 500 บาทได้ ไม่ใช่ให้ผู้สูงวัยต้องกระเบียดกระเสียรสุดๆ เพื่อจะผ่านพ้นแต่ละเดือนภายในวงเงินครึ่งพัน
เมื่อทุกสิ่งอย่างมีราคาต้องจ่ายทั้งสิ้น ยิ่งอยู่อาศัยในเขตชุมชนหรือเมืองด้วยแล้วยิ่งต้องใช้เงินขับเคลื่อนชีวิตซื้อหาอาหารสินค้าบริการต่างๆ ลำพังเงินสงเคราะห์ 500 บาทที่ได้ในแต่ละเดือน หรือต่อให้เพิ่มขึ้นถึงเดือนละ 700-800 บาท ก็นับว่าน้อยมากหากจะดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพเพียงพอ
ฉะนั้น ฉากชีวิตคนเฒ่าคนแก่ด้อยโอกาสยากไร้ไม่มีลูกหลานคอยดูแลดังปรากฏในข่าวโทรทัศน์จักเป็น ‘ภาพตัวแทน’ ผู้สูงวัยในสังคมไทยต่อไป ตราบใดไม่มีการสร้างหลักประกันยามชราภาพที่อิงกับการออมมากกว่าการสงเคราะห์เป็นสำคัญ รวมทั้งฟื้นคืนคุณธรรมความกตัญญูกตเวทีที่เริ่มหดหายไปจากครอบครัวไทยให้กลับมา เคียงคู่กับเสริมสร้างความเอื้ออาทรภายในชุมชนจนเกิดภาคประชาสังคมเข้มแข็งเข้ามาจัดการปัญหาผู้สูงอายุโดยไม่ใช้เงินเป็นทั้งตัวตั้งและวิธีแก้ปัญหา
เพราะการใช้เงินเป็นตัวตั้งสำหรับการแก้วิกฤตสังคมสูงอายุ ไม่เพียงทำให้แนวทางแก้ปัญหาเป็นแบบนโยบายประชานิยม (Populism) อย่างการแจกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถ้วนหน้าที่ระยะยาวกระเทือนการเงินการคลังประเทศชาติเท่านั้น ทว่าระหว่างทางยังกร่อนกัดความกลมเกลียวเหนียวแน่นของครอบครัวชุมชนสังคมจากเคยห่วงหาอาทรกันก็กลับผลักภาระมาให้รัฐบาลเยียวยารักษาดูแลแทน
ความกตัญญูกตเวทีแท้จริงที่ค้ำจุนประเทศไทยและโลกจึงเหลือพื้นที่ว่างไม่มากนักในสังคมโหยหานโยบายประชานิยม ที่ดูเสมือนจะใช่หากแต่เนื้อแท้แล้วก็เคลือบแฝงเป็นแค่ความกตัญญูหลังได้ดอกผลในรูปเงินและสวัสดิการฟรีในฟากประชาชน ขณะฝั่งรัฐก็เป็นเพียงการตอบแทนหลังได้คะแนนเสียง ทั้งๆ ของที่คิดว่าฟรีเหล่านั้นล้วนงอกเงยจากภาษีอากรทั้งสิ้น
อีกทั้งยุทธศาสตร์ ‘สังคมไทยไม่ทอดทิ้งกัน’ เพื่อแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณกับบ้านเมืองนั้นใช่ได้มาด้วยการหว่านเงินสงเคราะห์แก่ผู้สูงวัยทุกคนๆ ละ 500 บาท/เดือน หากต้องมาจากการปฏิบัติการจริงด้านประชาสังคมจนเกิดความร่วมมือระหว่างประชาชนและองค์กรต่างๆ ในทุกท้องถิ่นตำบล ตลอดจนกำหนดยุทธศาสตร์การเตรียมประชากรหนุ่มสาววันนี้ให้เป็นคนสูงวัยมีคุณภาพ (Active ageing) ด้วยยุทธวิธีสนับสนุนการออมหรือสร้างระบบบำนาญแห่งชาติ
การขยายฐานเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกคนจึงไม่ใช่ยุทธวิธีที่เข้าถึงความกตัญญูหรือนำไปสู่การสร้างสังคมไม่ทอดทิ้งกัน ด้วยภาวะโดดเดี่ยวอ้างว้างยามชราภาพนั้นแก้ไขไม่ได้ด้วยเงินหรือนโยบายประชานิยม หากต้องเป็นความเอื้ออาทรที่ทำงานร่วมกับนโยบายสร้างเสริมคุณภาพชีวิตนับแต่อยู่ใน ‘ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน’ ต่างหาก
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org