“ศุภชัย” เลขาธิการอังถัด ห่วงวิกฤตการเงินโลกจะทำให้อาหารขาดแคลน เพราะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก เชื่อชาติเอเชียเศรษฐกิจฟื้นเร็วกว่าภูมิภาคอื่นแน่ เหตุมีเม็ดเงินลงทุนทั่วโลกมาก พร้อมแนะเอเชียจับมือดูแลอัตราแลกเปลี่ยนหลังมีแนวโน้มเงินไหลเข้าภูมิภาคมากในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ เลขาธิการ ที่ประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยในระหว่างการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วิกฤติการณ์อาหารและพลังงาน” ในระหว่างการประชุมวิชาการมันสำปะหลังนานาชาติ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี วานนี้ (15 ม.ค.) ว่า วิกฤตการเงินโลก ที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มให้การเพาะปลูกพืชอาหารลดลง เพราะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลง เช่น ผลผลิตข้าวขณะนี้มีปริมาณลดลงประมาณ 10% ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดวิกฤติอาหารโลกรอบใหม่ได้
“รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องกำหนดนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่กระทบส่วนอื่นๆ เพราะข้อมูลของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) บ่งชี้ว่า งบประมาณในการสนับสนุนการเกษตรของประเทศต่างๆ ลดลง และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว รัฐบาลควรช่วยเหลือเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต ส่วนการแทรกแซงราคา เชื่อว่า มีความจำเป็นต้องทำในช่วงต้นฤดูกาลผลิต ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก แต่ระยะยาวควรเน้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ในพืชสำคัญๆ เช่นที่ไทยทำสำเร็จในมันสำปะหลัง จนทำให้มีผลผลิตต่อไร่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก” นายศุภชัยกล่าว
สำหรับนโยบายด้านการเกษตรของประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะมีนโยบายปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรอย่างชัดเจน กำหนดเป็นนโยบายระดับชาติที่ไม่ว่ารัฐบาลใดเข้ามาก็ต้องให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรม
นายศุภชัย กล่าวอีกว่า ปัญหาเศรษฐกิจโลกขณะนี้ ทุกประเทศกำลังมุ่งแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่ง ยูเอ็น กำลังวิเคราะห์ว่ามาตรการใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทั้งการลดภาษี การอุดหนุนสินค้าเกษตร การกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ รวมถึงการกู้เงินจากต่างประเทศ ส่วนกรณีที่ไทยจะกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจนั้น ยังมีโอกาสกู้ได้ เพราะสัดส่วนหนี้ไม่สูง และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง
“ในส่วนของไทย แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่ดีนัก และรัฐบาลจะต้องสร้างการลงทุนในระยะยาว และการที่รัฐบาลนำเงินงบประมาณมากระตุ้นในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องหาทางกระจายงบประมาณให้ถึงประชาชนโดยเร็ว และสามารถปรับลดงบประมาณได้ตลอดเวลา โดยเห็นว่าการชะลอเมกะโปรเจกต์ถือว่าถูกต้อง เพราะขณะนี้ไม่มีความจำเป็น เพราะอาจจะมีความเสี่ยงสูงในอนาคต และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็มีการชะลอโครงการขนาดใหญ่ แล้วหันไปกระตุ้นภาคเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเข้มแข็ง”นายศุภชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเอเชียน่าจะฟื้นตัวได้ภายในครึ่งหลังของปี 2552 เพราะเอเชียมีเม็ดเงินเป็นจำนวนมาก มีทุนสำรองสูงถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง 70% ของเม็ดเงินดังกล่าวเข้าไปลงทุนในภูมิภาคอื่น เมื่อเงินไหลกลับเข้ามาเศรษฐกิจเอเชียก็จะฟื้นได้เร็วกว่าสหรัฐฯ ดังนั้น ประเทศในเอเชียจึงควรร่วมมือกันดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ ไม่ใช่ลดค่าเงินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันทางการค้า เพราะจะไม่มีใครได้ประโยชน์
นายศุภชัย พาณิชภักดิ์ เลขาธิการ ที่ประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) เปิดเผยในระหว่างการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “วิกฤติการณ์อาหารและพลังงาน” ในระหว่างการประชุมวิชาการมันสำปะหลังนานาชาติ ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี วานนี้ (15 ม.ค.) ว่า วิกฤตการเงินโลก ที่เกิดขึ้น มีแนวโน้มให้การเพาะปลูกพืชอาหารลดลง เพราะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกลง เช่น ผลผลิตข้าวขณะนี้มีปริมาณลดลงประมาณ 10% ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดวิกฤติอาหารโลกรอบใหม่ได้
“รัฐบาลของประเทศต่างๆ ต้องกำหนดนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่กระทบส่วนอื่นๆ เพราะข้อมูลของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) บ่งชี้ว่า งบประมาณในการสนับสนุนการเกษตรของประเทศต่างๆ ลดลง และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว รัฐบาลควรช่วยเหลือเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต ส่วนการแทรกแซงราคา เชื่อว่า มีความจำเป็นต้องทำในช่วงต้นฤดูกาลผลิต ที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก แต่ระยะยาวควรเน้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ในพืชสำคัญๆ เช่นที่ไทยทำสำเร็จในมันสำปะหลัง จนทำให้มีผลผลิตต่อไร่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก” นายศุภชัยกล่าว
สำหรับนโยบายด้านการเกษตรของประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะมีนโยบายปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรอย่างชัดเจน กำหนดเป็นนโยบายระดับชาติที่ไม่ว่ารัฐบาลใดเข้ามาก็ต้องให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรม
นายศุภชัย กล่าวอีกว่า ปัญหาเศรษฐกิจโลกขณะนี้ ทุกประเทศกำลังมุ่งแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่ง ยูเอ็น กำลังวิเคราะห์ว่ามาตรการใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ทั้งการลดภาษี การอุดหนุนสินค้าเกษตร การกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ รวมถึงการกู้เงินจากต่างประเทศ ส่วนกรณีที่ไทยจะกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจนั้น ยังมีโอกาสกู้ได้ เพราะสัดส่วนหนี้ไม่สูง และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาลง
“ในส่วนของไทย แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่ดีนัก และรัฐบาลจะต้องสร้างการลงทุนในระยะยาว และการที่รัฐบาลนำเงินงบประมาณมากระตุ้นในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องหาทางกระจายงบประมาณให้ถึงประชาชนโดยเร็ว และสามารถปรับลดงบประมาณได้ตลอดเวลา โดยเห็นว่าการชะลอเมกะโปรเจกต์ถือว่าถูกต้อง เพราะขณะนี้ไม่มีความจำเป็น เพราะอาจจะมีความเสี่ยงสูงในอนาคต และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็มีการชะลอโครงการขนาดใหญ่ แล้วหันไปกระตุ้นภาคเศรษฐกิจอื่นๆ เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจเข้มแข็ง”นายศุภชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเอเชียน่าจะฟื้นตัวได้ภายในครึ่งหลังของปี 2552 เพราะเอเชียมีเม็ดเงินเป็นจำนวนมาก มีทุนสำรองสูงถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง 70% ของเม็ดเงินดังกล่าวเข้าไปลงทุนในภูมิภาคอื่น เมื่อเงินไหลกลับเข้ามาเศรษฐกิจเอเชียก็จะฟื้นได้เร็วกว่าสหรัฐฯ ดังนั้น ประเทศในเอเชียจึงควรร่วมมือกันดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ ไม่ใช่ลดค่าเงินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันทางการค้า เพราะจะไม่มีใครได้ประโยชน์