ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ในขณะนี้มีอายุประมาณ 76 ปี ซึ่งเท่ากับ 3 ใน 4 ของศตวรรษ เทียบได้กับหนึ่งชั่วอายุคน แต่ก็ประสบปัญหามากมายจนขณะนี้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาว่าระบบดังกล่าวนี้จะยังสามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรม การต่อรองทางการเมืองโดยใช้จำนวน ส.ส. ที่อยู่ภายใต้อาณัติ การใช้เงินซื้อเสียงเพื่อชนะการเลือกตั้ง การเกาะเกี่ยวอำนาจรัฐเพื่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง การไม่เคารพต่อหลักนิติธรรม การลุแก่อำนาจ ฯลฯ จากสภาพดังกล่าวได้เกิดมีการตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าจะให้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินไปได้อย่างสัมฤทธิผลอาจจะต้องใช้เวลาถึง 500 ปี เนื่องจากมีปัญหาที่สำคัญคือ วัฒนธรรมการเมืองดั้งเดิมอาจจะไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย ซึ่งเป็นฐานสำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาโครงสร้างและกระบวนการ
มีข้อสังเกตว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีในอังกฤษมีประวัติความเป็นมากว่า 700 ปี ส่วนสหรัฐฯ ก็กว่า 200 ปี โดยสหรัฐฯ มีข้อได้เปรียบคือ ระบบประชาธิปไตยสถาปนาขึ้นโดยนักคิดที่มีความดื่มด่ำในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และย้ายออกจากอังกฤษมายังดินแดนใหม่เพื่อสถาปนาระบบการเมืองที่เห็นว่ามีความเป็นเสรีมากกว่าต้นแบบ
กล่าวได้ว่า ความสำเร็จของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับ 3 ตัวแปรใหญ่ๆ ซึ่งใน 3 ตัวแปรดังกล่าวนี้
ตัวแปรแรก ได้แก่ ระบบการเมืองที่เรียกว่าโครงสร้าง และ กระบวนการ โครงสร้างก็คือสถาบันในระบบประชาธิปไตย อันได้แก่ 3 สถาบันหลัก คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ส่วนกระบวนการคือการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจด้วยการเลือกตั้ง กระบวนการออกกฎหมาย กระบวนการบริหารประเทศ กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งเพื่อหาข้อยุติ
ตัวแปรที่สอง ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง นั่นคือ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ ถ้าสภาพเศรษฐกิจและสังคมไม่เอื้ออำนวยต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น อยู่ระหว่างสงครามหรือสังคมเกิดความขัดแย้งจนเกิดสงครามกลางเมือง หรือเกิดภัยธรรมชาติขนาดหนักจำเป็นต้องใช้อำนาจเด็ดขาด เช่น การประกาศภาวะฉุกเฉิน ประกาศกฎอัยการสึก เพื่อสามารถระดมสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ระบบประชาธิปไตยก็ต้องหยุดชั่วคราว เนื่องจากจะต้องงดการใช้กฎหมายต่างๆ เช่น ทางรัฐสามารถจะยึดทรัพย์ของประชาชนได้เพื่อมากู้สถานการณ์ สภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า political parameter จึงต้องมีส่วนที่เอื้ออำนวยต่อโครงสร้างและกระบวนการประชาธิปไตย
ตัวแปรที่สาม ได้แก่ ตัวแปรที่เป็นมนุษย์หรือประชาชน ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนที่หนึ่งคือส่วนมนุษย์ที่เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ อันได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายบริหาร ส่วนที่สองคือ พนักงานของรัฐ หรือที่เรียกว่าข้าราชการในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในองค์กรจัดตั้งที่มีกฎระเบียบ มีกฎเกณฑ์ของการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นส่วนช่วยสนับสนุนรัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจรัฐโดยตรง ส่วนที่สามคือประชาชนทั่วไป จะต้องมีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกในความเป็นประชาธิปไตย มีเกียรติและศักดิ์ศรี มีข่าวสารข้อมูล มีความตื่นตัวทางการเมือง
ตัวแปรทั้งสามที่กล่าวมานี้จะต้องมีความสอดคล้องกันและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ในแง่ของโครงสร้างและกระบวนการ รัฐธรรมนูญที่ร่างมานั้นจะต้องคงไว้ซึ่งหลักการใหญ่ๆ ที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จะต้องมีองค์กรที่สามารถพิทักษ์ปกปักษ์สิทธิเสรีภาพดังกล่าว เพราะถ้าขาดหลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ระบบการเมืองนั้นก็ไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยอีกต่อไป
ในส่วนของโครงสร้างการเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล การใช้อำนาจและการควบคุมการใช้อำนาจ ก็ต้องสอดคล้องกับหลักการใหญ่ๆ เช่น จะต้องทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม การบริหารประเทศจะต้องทำด้วยหลักธรรมาภิบาล การวินิจฉัยความขัดแย้งขององค์กรผู้รับผิดชอบจะต้องมีความยุติธรรมและเที่ยงตรง แต่ถ้ามีการแปลกแยกไปจากหลักการดังกล่าว เช่น การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรมเต็มไปด้วยการโกงการเลือกตั้ง ใช้เงินซื้อเสียง ใช้กลเม็ดเด็ดพรายในการช่วงชิงอำนาจรัฐ องค์กรควบคุมหย่อนยาน สังคมไม่สามารถจะสอดส่องดูแลการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้ โครงสร้างกระบวนการดังกล่าวแม้จะเขียนมาอย่างสวยงามเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ไม่สามารถจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างและกระบวนการที่พึงประสงค์ได้
ในส่วนของสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือสภาพแวดล้อมทางการเมืองนั้น มีการศึกษาโดยนักวิชาการตะวันตกเป็นจำนวนมากว่า ส่วนใหญ่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมักจะมีเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม หรือเกษตรอุตสาหกรรม หรือกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม มีชนชั้นกลางจำนวนมาก คนส่วนใหญ่มีการศึกษาและมีความตื่นตัวทางการเมือง มีสื่อมวลชนที่เป็นอิสระ แต่โดยภาพรวมก็คือความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค และในบริบทของสังคมที่เป็นอุตสาหกรรม หรือกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม หรือเกษตรอุตสาหกรรม คนมักจะมีการศึกษาในระดับที่สูงพอสมควร สังคมดังกล่าวจะมีสื่อมวลชนที่แพร่หลาย ฯลฯ ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
โดยทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้จะทำให้คนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตน และจะแสดงความคิดเห็นและมีการเรียกร้องทางการเมืองตามครรลองที่ควรเป็น ขณะเดียวกันก็จะเป็นการถ่วงดุลไม่ให้ผู้ใช้อำนาจรัฐคือรัฐบาลและข้าราชการกระทำการตามอำเภอใจ สังคมดังกล่าวนี้เป็นสังคมเปิดจึงสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบเปิด ในทางตรงกันข้าม ถ้าสังคมนั้นขาดสื่อมวลชน คนส่วนใหญ่ยากจน ขาดข่าวสารข้อมูล ระดับการศึกษาต่ำ ใช้เวลาทั้งหมดในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่มีเวลาที่จะคิดถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอื่นนอกจากการหาอาหารกินสามมื้อ ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรี อันเป็นประเด็นทางนามธรรม จะกลายเป็นของฟุ่มเฟือยอย่างมหันต์
ในส่วนของประชาชนอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้นำและกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งจะต้องมีวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย มีการตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ต่อสู้เพื่อสิทธิของตน เคารพสิทธิของผู้อื่น มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีความตื่นตัวทางการเมือง มีศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีค่านิยมและจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอาตมันปัจเจกภาพ และมีอาตมันทางการเมืองที่สอดคล้องกับระบบการเมืองที่มีส่วนร่วม ในส่วนของวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย จะต้องมีอยู่ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ใช้อำนาจรัฐคือ ส.ส. และรัฐบาล รวมตลอดทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในส่วนอื่น
จะเห็นได้ว่า การจะวิเคราะห์ว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนั้น จะต้องมองย้อนไปยังตัวแปรหลักๆ 3 ตัวแปรที่กล่าวมาแล้ว และถ้าจะมีการสร้างดัชนีชี้วัดก็จะทำให้เห็นเป็นสัดส่วนยิ่งขึ้น และถ้านำมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็พอจะเห็นภาพโอกาสของความสำเร็จของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้
ในส่วนใดที่เป็นจุดอ่อนก็น่าจะมีการแก้ไขในจุดนั้น เช่น ถ้าจุดอ่อนอยู่ที่ระบบอุปถัมภ์ก็ต้องมีการแก้ไขให้ประเด็นดังกล่าวที่เป็นปัญหาให้เบาบางลง ถ้าปัญหาเกิดจากความยากจนและความเขลาอันเกิดจากข้อมูล ก็ต้องเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและการให้ข่าวสารข้อมูล ให้การศึกษาแบบสามารถคิดวิเคราะห์ เป็นตัวของตัวเอง ฯลฯ
สภาพัฒนาการเมืองซึ่งเกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงมีภารกิจอันสำคัญยิ่งในการกำหนดแนวทางและนโยบาย เพื่อให้ตัวแปรต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนี้มีความแข็งแกร่งขึ้น และถ้าสามารถจะกระทำได้โอกาสของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืนก็ไม่น่าต้องใช้เวลานานเป็น 400-500 ปีตามที่มีการตั้งข้อสังเกตไว้
มีข้อสังเกตว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีในอังกฤษมีประวัติความเป็นมากว่า 700 ปี ส่วนสหรัฐฯ ก็กว่า 200 ปี โดยสหรัฐฯ มีข้อได้เปรียบคือ ระบบประชาธิปไตยสถาปนาขึ้นโดยนักคิดที่มีความดื่มด่ำในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และย้ายออกจากอังกฤษมายังดินแดนใหม่เพื่อสถาปนาระบบการเมืองที่เห็นว่ามีความเป็นเสรีมากกว่าต้นแบบ
กล่าวได้ว่า ความสำเร็จของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับ 3 ตัวแปรใหญ่ๆ ซึ่งใน 3 ตัวแปรดังกล่าวนี้
ตัวแปรแรก ได้แก่ ระบบการเมืองที่เรียกว่าโครงสร้าง และ กระบวนการ โครงสร้างก็คือสถาบันในระบบประชาธิปไตย อันได้แก่ 3 สถาบันหลัก คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ส่วนกระบวนการคือการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจด้วยการเลือกตั้ง กระบวนการออกกฎหมาย กระบวนการบริหารประเทศ กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งเพื่อหาข้อยุติ
ตัวแปรที่สอง ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางการเมือง นั่นคือ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ ถ้าสภาพเศรษฐกิจและสังคมไม่เอื้ออำนวยต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เช่น อยู่ระหว่างสงครามหรือสังคมเกิดความขัดแย้งจนเกิดสงครามกลางเมือง หรือเกิดภัยธรรมชาติขนาดหนักจำเป็นต้องใช้อำนาจเด็ดขาด เช่น การประกาศภาวะฉุกเฉิน ประกาศกฎอัยการสึก เพื่อสามารถระดมสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ระบบประชาธิปไตยก็ต้องหยุดชั่วคราว เนื่องจากจะต้องงดการใช้กฎหมายต่างๆ เช่น ทางรัฐสามารถจะยึดทรัพย์ของประชาชนได้เพื่อมากู้สถานการณ์ สภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า political parameter จึงต้องมีส่วนที่เอื้ออำนวยต่อโครงสร้างและกระบวนการประชาธิปไตย
ตัวแปรที่สาม ได้แก่ ตัวแปรที่เป็นมนุษย์หรือประชาชน ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนที่หนึ่งคือส่วนมนุษย์ที่เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ อันได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายบริหาร ส่วนที่สองคือ พนักงานของรัฐ หรือที่เรียกว่าข้าราชการในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในองค์กรจัดตั้งที่มีกฎระเบียบ มีกฎเกณฑ์ของการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นส่วนช่วยสนับสนุนรัฐบาลหรือผู้ใช้อำนาจรัฐโดยตรง ส่วนที่สามคือประชาชนทั่วไป จะต้องมีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกในความเป็นประชาธิปไตย มีเกียรติและศักดิ์ศรี มีข่าวสารข้อมูล มีความตื่นตัวทางการเมือง
ตัวแปรทั้งสามที่กล่าวมานี้จะต้องมีความสอดคล้องกันและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจึงจะสามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ในแง่ของโครงสร้างและกระบวนการ รัฐธรรมนูญที่ร่างมานั้นจะต้องคงไว้ซึ่งหลักการใหญ่ๆ ที่มีลักษณะเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ จะต้องมีองค์กรที่สามารถพิทักษ์ปกปักษ์สิทธิเสรีภาพดังกล่าว เพราะถ้าขาดหลักการเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ระบบการเมืองนั้นก็ไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยอีกต่อไป
ในส่วนของโครงสร้างการเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาล การใช้อำนาจและการควบคุมการใช้อำนาจ ก็ต้องสอดคล้องกับหลักการใหญ่ๆ เช่น จะต้องทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม การบริหารประเทศจะต้องทำด้วยหลักธรรมาภิบาล การวินิจฉัยความขัดแย้งขององค์กรผู้รับผิดชอบจะต้องมีความยุติธรรมและเที่ยงตรง แต่ถ้ามีการแปลกแยกไปจากหลักการดังกล่าว เช่น การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์และเที่ยงธรรมเต็มไปด้วยการโกงการเลือกตั้ง ใช้เงินซื้อเสียง ใช้กลเม็ดเด็ดพรายในการช่วงชิงอำนาจรัฐ องค์กรควบคุมหย่อนยาน สังคมไม่สามารถจะสอดส่องดูแลการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้ โครงสร้างกระบวนการดังกล่าวแม้จะเขียนมาอย่างสวยงามเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ไม่สามารถจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างและกระบวนการที่พึงประสงค์ได้
ในส่วนของสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม หรือสภาพแวดล้อมทางการเมืองนั้น มีการศึกษาโดยนักวิชาการตะวันตกเป็นจำนวนมากว่า ส่วนใหญ่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมักจะมีเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม หรือเกษตรอุตสาหกรรม หรือกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม มีชนชั้นกลางจำนวนมาก คนส่วนใหญ่มีการศึกษาและมีความตื่นตัวทางการเมือง มีสื่อมวลชนที่เป็นอิสระ แต่โดยภาพรวมก็คือความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในเรื่องสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค และในบริบทของสังคมที่เป็นอุตสาหกรรม หรือกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม หรือเกษตรอุตสาหกรรม คนมักจะมีการศึกษาในระดับที่สูงพอสมควร สังคมดังกล่าวจะมีสื่อมวลชนที่แพร่หลาย ฯลฯ ซึ่งจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
โดยทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวนี้จะทำให้คนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตน และจะแสดงความคิดเห็นและมีการเรียกร้องทางการเมืองตามครรลองที่ควรเป็น ขณะเดียวกันก็จะเป็นการถ่วงดุลไม่ให้ผู้ใช้อำนาจรัฐคือรัฐบาลและข้าราชการกระทำการตามอำเภอใจ สังคมดังกล่าวนี้เป็นสังคมเปิดจึงสอดคล้องกับระบบการเมืองแบบเปิด ในทางตรงกันข้าม ถ้าสังคมนั้นขาดสื่อมวลชน คนส่วนใหญ่ยากจน ขาดข่าวสารข้อมูล ระดับการศึกษาต่ำ ใช้เวลาทั้งหมดในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่มีเวลาที่จะคิดถึงปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอื่นนอกจากการหาอาหารกินสามมื้อ ประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรี อันเป็นประเด็นทางนามธรรม จะกลายเป็นของฟุ่มเฟือยอย่างมหันต์
ในส่วนของประชาชนอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้นำและกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งจะต้องมีวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย มีการตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ต่อสู้เพื่อสิทธิของตน เคารพสิทธิของผู้อื่น มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีความตื่นตัวทางการเมือง มีศรัทธาในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีค่านิยมและจิตวิญญาณของความเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอาตมันปัจเจกภาพ และมีอาตมันทางการเมืองที่สอดคล้องกับระบบการเมืองที่มีส่วนร่วม ในส่วนของวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย จะต้องมีอยู่ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ใช้อำนาจรัฐคือ ส.ส. และรัฐบาล รวมตลอดทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐในส่วนอื่น
จะเห็นได้ว่า การจะวิเคราะห์ว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนั้น จะต้องมองย้อนไปยังตัวแปรหลักๆ 3 ตัวแปรที่กล่าวมาแล้ว และถ้าจะมีการสร้างดัชนีชี้วัดก็จะทำให้เห็นเป็นสัดส่วนยิ่งขึ้น และถ้านำมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวก็พอจะเห็นภาพโอกาสของความสำเร็จของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยได้
ในส่วนใดที่เป็นจุดอ่อนก็น่าจะมีการแก้ไขในจุดนั้น เช่น ถ้าจุดอ่อนอยู่ที่ระบบอุปถัมภ์ก็ต้องมีการแก้ไขให้ประเด็นดังกล่าวที่เป็นปัญหาให้เบาบางลง ถ้าปัญหาเกิดจากความยากจนและความเขลาอันเกิดจากข้อมูล ก็ต้องเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจและการให้ข่าวสารข้อมูล ให้การศึกษาแบบสามารถคิดวิเคราะห์ เป็นตัวของตัวเอง ฯลฯ
สภาพัฒนาการเมืองซึ่งเกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญปี 2550 จึงมีภารกิจอันสำคัญยิ่งในการกำหนดแนวทางและนโยบาย เพื่อให้ตัวแปรต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนี้มีความแข็งแกร่งขึ้น และถ้าสามารถจะกระทำได้โอกาสของการพัฒนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องและยั่งยืนก็ไม่น่าต้องใช้เวลานานเป็น 400-500 ปีตามที่มีการตั้งข้อสังเกตไว้