ASTV ผู้จัดการรายวัน – “ธีระชัย” เลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต. แนะบริษัทจดทะเบียนปรับบทเรียนวิกฤตสถาบันการเงินโลก เพื่อนำพาบริษัทฝ่าพ้นภาวะเศรษฐกิจโลกหดตัว เน้น 5 กลยุทธ์หลักในการบริหารความเสี่ยง พร้อมประคองตัวไม่ต้องเดินแผนใหม่หรือขยายกำลังการผลิตเกินกำลัง ส่วนรื้อบอร์ด ก.ล.ต. ใหม่ โยนให้ขุนคลังเป็นผู้พิจารณา ขณะเดียวกันเร่งเพิ่มกรอบอำนาจกรรมอิสระ หวังอุดช่องโหว่กรณี “SECC”
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “การปรับตัวจากวิกฤติการเงินโลก” ที่จัดโดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ปัญหาวิกฤตการเงินโลกที่เกิดจากจุดอ่อนในบริหารความเสี่ยงของสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้รัฐบาลของประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินต้องมีการปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลสถาบันการเงินภายในประเทศใหม่
ทั้งนี้ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) สามารถนำบทเรียนจากวิกฤตการเงินครั้งนี้ไปปรับใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงของบริษัทได้ ซึ่งสามารถสรุปแนวทางได้ 5 ข้อ คือ 1. การบริหารอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ไม่ให้สูงเกินไป เพราะเมื่อเกิดความผันผวนจากการลงทุนมากๆ แต่เมื่อปริมาณเงินกู้ไม่สูงมากนักจะทำให้บริษัทไม่ต้องประสบปัญหาทางการเงินและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
แนวทางที่ 2. การบริหารกระแสเงินสดของบริษัทให้มีมากเพียงพอในการดำเนินงานถือเป็นเรื่องสำคัญมากอันดับหนึ่ง เพราะความสามารถของลูกหนี้อาจชำระคืนได้ช้ากว่ากำหนดเดิม ขณะที่ยอดขายต่ำกว่าที่คาดไว้ ซึ่งสวนทางกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ดังนั้นบจ.จะต้องบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การตรวจสอบและทบทวนแผนการดำเนินงานสม่ำเสมอ 4. สถาบันการเงินและบริษัททั่วไปควรเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงจะต้องให้เจ้าหนี้ของบริษัทมีการศึกษาทำให้ความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวอย่างละเอียด เพื่อนำมาใช้ได้ถูกต้องไม่มีผลกระทบ
แนวทางสุดท้าย ปฏิกิริยาการตอบสนองที่เร็วต่อเกิดปัญหาขึ้น วิกฤตการเงินครั้งนี้บริษัทที่สามารถตอบรับและมีการปรับตัวทำได้รวดเร็ว จะทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น กลุ่มซิตี้แบงก์ ที่มีการยอมรับความเสียหายจากวิกฤตทางการเงินเร็ว ก่อนที่วิกฤตทางการเงินจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มทุนได้สำเร็จ ฐานะการเงินแข็งแกร่งและยังมีเงินเหลือที่จะไปซื้อกิจการบริษัทอื่น ก่อนที่ปัญหาวิกฤตจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินบางแห่งยังปกปิดไว้
“การที่สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยได้เล็งเห็นความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงของบจ. ให้ปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยง ด้วยการเอาบทเรียนวิกฤตทางการเงินนำมาปรับใช้ เพื่อป้องกันผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถนำพาให้บริษัทเจริญก้าวหน้านั้น บริษัทไม่จำเป็นต้องมีการคิดอะไรใหม่หรือมีการขยายธุรกิจจำนวนมาก เพียงแต่มีการบริหารความเสี่ยงที่ดีและประคับประคองให้บริษัทสามารถผ่านวิกฤตไปได้ถือเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้ว”
นายธีระชัย กล่าวว่า ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ครั้งนี้กระทบต่อสถาบันการเงินหลายแห่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างรุนแรง จากเดิมคาดการณ์ว่าสถาบันการเงินของประเทศพัฒนาแล้วจะมีความแข็งแกร่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นและจุดอ่อนในการกำกับดูแลที่ปล่อยให้มีการปล่อยสินเชื่อรายย่อยจำนวนมาก ปล่อยให้มีการสร้างหนี้เกินความสามารถในการผ่อนชำระ จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันการเงิน
รื้อบอร์ดก.ล.ต.ขึ้นอยู่รมว.คลัง
นายธีระชัย กล่าวถึงกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีแนวคิดจะรื้อคณะกรรมการสรรหากรรมการก.ล.ต.ใหม่นั้น นายธีระชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรมว.คลัง ว่าจะดำเนินการอย่างไร และขณะนี้ยังไม่ทราบข่าวที่จะมีการปลดตนพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ ก.ล.ต. แต่จะพยายามทำงานและทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
ส่วนกรณีของบริษัท เอส.อี.ซี.ออโต้ เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC) นั้นอยู่ระหว่างตรวจสอบผู้สอบบัญชีและกรรมการของ SECC และรอให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลของผู้บริหาร 5 คนของ SECC ก่อนหน้านี้ เพื่อดำเนินการอายัดทรัพย์สินต่อไป
อย่างไรก็ตาม ภายหลังกรณีของ SECC ทำให้เกิดความคิดว่าต้องการให้อำนาจกับกรรมการอิสระของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) แต่ละแห่ง เพื่อให้สามารถทักท้วงรายการที่อาจไม่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้ เป็นการเพิ่มบทบาทของกรรมการอิสระ แต่คงต้องหารือร่วมกับบจ.เองถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจว่าหากดำเนินการตามแนวทางนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจหรือไม่อย่างไร และหากทางบจ.แสดงความเห็นด้วยคงจะมาดูในแง่กฎหมายว่าจะต้องมีการปรับปรุงอย่างไรหรือไม่เช่นกัน
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “การปรับตัวจากวิกฤติการเงินโลก” ที่จัดโดยสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ปัญหาวิกฤตการเงินโลกที่เกิดจากจุดอ่อนในบริหารความเสี่ยงของสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้รัฐบาลของประเทศที่ประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินต้องมีการปรับปรุงกระบวนการกำกับดูแลสถาบันการเงินภายในประเทศใหม่
ทั้งนี้ ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) สามารถนำบทเรียนจากวิกฤตการเงินครั้งนี้ไปปรับใช้เพื่อบริหารความเสี่ยงของบริษัทได้ ซึ่งสามารถสรุปแนวทางได้ 5 ข้อ คือ 1. การบริหารอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ไม่ให้สูงเกินไป เพราะเมื่อเกิดความผันผวนจากการลงทุนมากๆ แต่เมื่อปริมาณเงินกู้ไม่สูงมากนักจะทำให้บริษัทไม่ต้องประสบปัญหาทางการเงินและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
แนวทางที่ 2. การบริหารกระแสเงินสดของบริษัทให้มีมากเพียงพอในการดำเนินงานถือเป็นเรื่องสำคัญมากอันดับหนึ่ง เพราะความสามารถของลูกหนี้อาจชำระคืนได้ช้ากว่ากำหนดเดิม ขณะที่ยอดขายต่ำกว่าที่คาดไว้ ซึ่งสวนทางกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ดังนั้นบจ.จะต้องบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การตรวจสอบและทบทวนแผนการดำเนินงานสม่ำเสมอ 4. สถาบันการเงินและบริษัททั่วไปควรเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงจะต้องให้เจ้าหนี้ของบริษัทมีการศึกษาทำให้ความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวอย่างละเอียด เพื่อนำมาใช้ได้ถูกต้องไม่มีผลกระทบ
แนวทางสุดท้าย ปฏิกิริยาการตอบสนองที่เร็วต่อเกิดปัญหาขึ้น วิกฤตการเงินครั้งนี้บริษัทที่สามารถตอบรับและมีการปรับตัวทำได้รวดเร็ว จะทำให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น กลุ่มซิตี้แบงก์ ที่มีการยอมรับความเสียหายจากวิกฤตทางการเงินเร็ว ก่อนที่วิกฤตทางการเงินจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มทุนได้สำเร็จ ฐานะการเงินแข็งแกร่งและยังมีเงินเหลือที่จะไปซื้อกิจการบริษัทอื่น ก่อนที่ปัญหาวิกฤตจะลุกลามรุนแรงมากขึ้น ขณะที่สถาบันการเงินบางแห่งยังปกปิดไว้
“การที่สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยได้เล็งเห็นความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงของบจ. ให้ปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยง ด้วยการเอาบทเรียนวิกฤตทางการเงินนำมาปรับใช้ เพื่อป้องกันผันผวนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถนำพาให้บริษัทเจริญก้าวหน้านั้น บริษัทไม่จำเป็นต้องมีการคิดอะไรใหม่หรือมีการขยายธุรกิจจำนวนมาก เพียงแต่มีการบริหารความเสี่ยงที่ดีและประคับประคองให้บริษัทสามารถผ่านวิกฤตไปได้ถือเป็นการปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้ว”
นายธีระชัย กล่าวว่า ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) ครั้งนี้กระทบต่อสถาบันการเงินหลายแห่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างรุนแรง จากเดิมคาดการณ์ว่าสถาบันการเงินของประเทศพัฒนาแล้วจะมีความแข็งแกร่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นและจุดอ่อนในการกำกับดูแลที่ปล่อยให้มีการปล่อยสินเชื่อรายย่อยจำนวนมาก ปล่อยให้มีการสร้างหนี้เกินความสามารถในการผ่อนชำระ จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันการเงิน
รื้อบอร์ดก.ล.ต.ขึ้นอยู่รมว.คลัง
นายธีระชัย กล่าวถึงกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีแนวคิดจะรื้อคณะกรรมการสรรหากรรมการก.ล.ต.ใหม่นั้น นายธีระชัย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรมว.คลัง ว่าจะดำเนินการอย่างไร และขณะนี้ยังไม่ทราบข่าวที่จะมีการปลดตนพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ ก.ล.ต. แต่จะพยายามทำงานและทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
ส่วนกรณีของบริษัท เอส.อี.ซี.ออโต้ เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส (SECC) นั้นอยู่ระหว่างตรวจสอบผู้สอบบัญชีและกรรมการของ SECC และรอให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลของผู้บริหาร 5 คนของ SECC ก่อนหน้านี้ เพื่อดำเนินการอายัดทรัพย์สินต่อไป
อย่างไรก็ตาม ภายหลังกรณีของ SECC ทำให้เกิดความคิดว่าต้องการให้อำนาจกับกรรมการอิสระของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) แต่ละแห่ง เพื่อให้สามารถทักท้วงรายการที่อาจไม่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้ เป็นการเพิ่มบทบาทของกรรมการอิสระ แต่คงต้องหารือร่วมกับบจ.เองถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจว่าหากดำเนินการตามแนวทางนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจหรือไม่อย่างไร และหากทางบจ.แสดงความเห็นด้วยคงจะมาดูในแง่กฎหมายว่าจะต้องมีการปรับปรุงอย่างไรหรือไม่เช่นกัน