ท่านผู้อ่านที่เคารพ หลังปีใหม่นี้ กองบก.ผู้จัดการโทร.มาถึงผมวันเว้นวันว่าจะมีบทความหรือไม่ อย่างน้อยก็แสดงว่า (1) ผู้จัดการทำงานดี เป็นห่วงผู้อ่าน (2) คงจะมีผู้อ่านคอลัมน์จำนวนพอสมควรที่คอยติดตาม (3) ผมเป็นคอลัมนิสต์ที่ไม่ตรงต่อเวลา
อย่างหลังนี้ถึงแม้จะยอมรับ ก็เป็นการยอมรับอย่างมีเงื่อนไข เพราะผมเป็นคนที่ชอบอ่านและชอบเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นที่ช้า ก็เป็นเพราะว่าตกอยู่ภายใต้อุปสรรคที่ไม่สามารถเอาชนะได้
ผมจึงตั้งปณิธานปีใหม่ว่า ผมอายุน้อยลงอีกหนึ่งปี จะต้องเขียนหนังสือมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว ส่วนคอลัมน์ผู้จัดการนั้นจะสั้นลง ส่วนจะถี่หรือห่างแค่ไหน ก็แล้วแต่ผู้จัดการ แต่จะแบ่งกันเป็นทีละเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน คือ (1) การเมืองและสังคมไทย (2) จดหมายคิดถึงเมืองไทย (3) บทเรียนจากต่างประเทศ หมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเป็นลำดับ
มีเรื่องที่พยายามมา 3 ปีแล้วไม่สำเร็จ ปีนี้อยากให้สำเร็จ คือ อยากเห็นคอลัมนิสต์ใหม่อีกสัก 10 คน ต่างคนต่างเขียนหรือเขียนเป็นกลุ่มก็ได้
แต่การเขียนเป็นกลุ่มอย่างที่เรียกว่า Syndicate Columnists หนังสือพิมพ์หลายฉบับเอาบทความเดียวกัน ในเวลาเดียวกันหรือคลาดกันเล็กน้อยไปพิมพ์จะมีประโยชน์ต่อสังคมผู้อ่านกว้างขวางกว่า เป็นการยกระดับมาตรฐานผู้เขียน หนังสือพิมพ์และผู้อ่าน (Readership) ไปในตัว
ผมเชิญท่านผู้อ่านทุกคน ไม่จำเป็นจะต้องมีดีกรีอะไร ไม่จำเป็นจะต้องสนใจเรื่องเดียวกับผม ใครมีอะไรที่สนใจหรือจะเสนอแนะก็เชิญนะครับ 40 กว่าปีมาแล้วเทคโนโลยีสื่อสารยังล้าหลังกว่านี้มาก พวกเรายังทำ Syndicate Columnists คิดถึงเมืองไทย จากนักเรียนไทยในเมืองนอกได้
ผมขอเชิญท่านทูตสุรพงษ์ ไชยนามเป็นหัวแรง ตามด้วยคุณ “คนผ่านทาง” ที่อยู่เมืองฮูสตัน เท็กซัส และท่านที่ผมจะนำจดหมายมาลงวันนี้ คือ พลโทฤกดิ์ดี ชาติอุทิศ อดีตเลขานุการผู้ว่าฯ กทม. สมัยพลตรีจำลอง
ผมรู้จักพลโทฤกดิ์ดีมาตั้งแต่เป็นนักเรียนเซนต์คาเบรียล เมื่อจบ จปร.รุ่น 8 หลังพลตรีจำลองหนึ่งรุ่นแล้วไม่ได้เจอกันเลย จนกระทั่งท่านออกมาสมัครได้เป็นผู้แทนราษฎรกรุงเทพฯ พรรคพลังธรรม เมื่อเลิกราจากการเมืองแล้ว จึงได้คุยกันนานๆ ที่เมืองอังกฤษ ผมกลับเมืองไทยปี 2001 จึงมีโอกาสตอบสนองคำเชิญพลโทฤกดิ์ดีไปเที่ยวถนนข้าวสาร เข้าชมกิจการอาหารและบันเทิงครบวงจรของท่าน มีทั้งโรงแรม ร้านอาหาร บาร์ และไนต์คลับ ทุกอย่างเป็นธุรกิจสีขาว ไม่มียาเสพติด ไม่มีสินค้าทางเพศ ไม่มีการกดขี่หรือคดโกงชาวต่างประเทศ
ภายหลังผมจึงทราบว่า พลเอกจรีเมธ สุพรรณโรจน์ มือหนึ่ง พลโทฤกดิ์ดี ชาติอุทิศ มือ 2 เป็นผู้ช่วยทำให้ถนนข้าวสารติดอยู่ในแผนที่โลก ถือว่าเป็นสถานที่เที่ยวที่รวมเอาความสนุกปลอดภัยและมีน้ำใจ นับว่าท่านทั้งสองมีความเป็นผู้นำ และมีจินตนาการยิ่งใหญ่มาก และก็บากบั่นทำจนสำเร็จเป็น “Good Clean Fun” ที่ฝรั่งทุกคนควรจะมา
พลโทฤกดิ์ดี เรียนเก่ง จบเหล่าสื่อสารได้ที่หนึ่งเจริญรอยตามพลเอกชวลิตและพลตรีจำลอง พลโทฤกดิ์ดีเขียนหนังสือถึงผมบ่อย เป็นกระดาษโรเนียวสีขาวธรรมดา แต่ข้อความในหนังสือนั้นไม่ธรรมดาเลย ดังจะเห็นได้จากจดหมายข้างล่างนี้
ผมชวนให้พลโทฤกดิ์ดีเปิดคอลัมน์โดยตรง ได้รับคำตอบว่า “ก็พี่เขียนตอบผมมาก่อน ผมจะได้เขียนโต้กลับไป” ผมจึงถึงบางอ้อ เอายังไงก็เอา
นี่ก็คือที่มาของบทความ “โต้กับศิษย์เก่า จปร....เรื่องการเมืองไทย”
คำว่าโต้มิได้แปลว่าท้าตีท้าต่อยที่ไหน ก็เหมือนกับโต้ปิงปอง โต้เทนนิส โต้แบดมินตัน หรือโต้คารมอย่างนั้นแหละ อย่าว่าผมหาเรื่องเลย ต่อไปนี้เป็นข้อความที่มิได้ตัดทอนจากหนังสือของพลโทฤกดิ์ดี
จดหมายถึงพี่ปราโมทย์ นาครทรรพ
การเมืองใหม่ การทำงานใดๆ มันต้องใช้เงินทั้งนั้น ผมเคยบอกพี่ลองเมื่อราวๆ กว่า 20 ปีมาแล้วว่า
“พี่ลองจะทำงานการเมือง โดยอาศัยเงินจากความเมตตาปรานีของประชาชนบริจาคนั้นมันไม่ยั่งยืนหรอกครับ พี่ควรจะหาคนที่พร้อมทุกทางมีฐานะมั่นคงทางด้านการเงิน มีความรู้ความสามารถ ประสบผลสำเร็จทางการงานการเงินมาร่วมกันทำงานการเมือง (คงหายาก).....ถ้าพ่อค้านักธุรกิจเขาเอาเงินมาช่วยพรรคพลังธรรม เขาก็ต้องมีความหวังลึกๆว่าเราต้องช่วยเขาในบางเรื่องที่เขาอยากให้ช่วย เงินบริจาคเหล่านี้ พี่ลองท่านเชื่อในความซื่อสัตย์ของผม ท่านยังเอามาให้ผมเป็นคนถือบัญชี เป็นคนรับเงิน ท้ายที่สุดงานของผมมันก็มาก ท่านก็เลยโอนไปให้คนอื่นทำ และทราบต่อมาภายหลังว่ามีการทุจริตต่อเงินจำนวนนี้ครับ”
พี่ลองจึงไปเอาท่านนายกฯ ทักษิณมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม ผมก็ไปพิจารณาการเมืองเก่าในอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ในปัจจุบันก็ได้ผลสรุปออกมาว่า คนที่เป็นหัวเบี้ยหรือเจ้ามือในการบริจาคก็ได้แก่ พ่อค้าอาวุธ พ่อค้าผลิตผลทางเกษตร พ่อค้าขายบริการทางความบันเทิง พ่อค้าเครื่องดื่ม พ่อค้าในวงการก่อสร้าง ฯลฯ
คราวนี้หันมาดูเจ้ามือในการบริจาคในเมืองไทยที่ให้กับพรรคการเมืองในเมืองไทย มันก็กลุ่มคนที่มีอาชีพเดียวกันเป๊ะเลยกับในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ คนจ่ายเงินเขาก็เลยทำตัวเป็นเจ้าเข้าเจ้าของพรรคการเมืองทุกๆ พรรค หลบอยู่ใต้ดินแต่มีอิทธิพลทางการเมืองอยู่อย่างเงียบๆ อยากได้รับความสะดวกใดๆ นักการเมือง พรรคการเมืองที่สนับสนุนอยู่จะทำให้เขา ดังนั้นถ้าเราจะทำการเมืองใหม่มันต้องเป็นพรรคที่ประชาชนเป็นเจ้าของ ประชาชนต้องช่วยกันออกเงินบำรุงพรรคจะมากจะน้อยก็ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นความรู้สึกที่จะต้องสร้างในสำนึกของประชาชนให้เกิดการเมืองใหม่มันจึงจะเป็นไปได้ (จบครึ่งแรกของจดหมาย ไม่ลงวันตีตรา ปณ. 6 มกราคม 2552)
ฉบับหน้าจะเป็นคำตอบครึ่งแรกจากผม
อย่างหลังนี้ถึงแม้จะยอมรับ ก็เป็นการยอมรับอย่างมีเงื่อนไข เพราะผมเป็นคนที่ชอบอ่านและชอบเขียนเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นที่ช้า ก็เป็นเพราะว่าตกอยู่ภายใต้อุปสรรคที่ไม่สามารถเอาชนะได้
ผมจึงตั้งปณิธานปีใหม่ว่า ผมอายุน้อยลงอีกหนึ่งปี จะต้องเขียนหนังสือมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว ส่วนคอลัมน์ผู้จัดการนั้นจะสั้นลง ส่วนจะถี่หรือห่างแค่ไหน ก็แล้วแต่ผู้จัดการ แต่จะแบ่งกันเป็นทีละเรื่องสองเรื่องที่ต่างกัน คือ (1) การเมืองและสังคมไทย (2) จดหมายคิดถึงเมืองไทย (3) บทเรียนจากต่างประเทศ หมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเป็นลำดับ
มีเรื่องที่พยายามมา 3 ปีแล้วไม่สำเร็จ ปีนี้อยากให้สำเร็จ คือ อยากเห็นคอลัมนิสต์ใหม่อีกสัก 10 คน ต่างคนต่างเขียนหรือเขียนเป็นกลุ่มก็ได้
แต่การเขียนเป็นกลุ่มอย่างที่เรียกว่า Syndicate Columnists หนังสือพิมพ์หลายฉบับเอาบทความเดียวกัน ในเวลาเดียวกันหรือคลาดกันเล็กน้อยไปพิมพ์จะมีประโยชน์ต่อสังคมผู้อ่านกว้างขวางกว่า เป็นการยกระดับมาตรฐานผู้เขียน หนังสือพิมพ์และผู้อ่าน (Readership) ไปในตัว
ผมเชิญท่านผู้อ่านทุกคน ไม่จำเป็นจะต้องมีดีกรีอะไร ไม่จำเป็นจะต้องสนใจเรื่องเดียวกับผม ใครมีอะไรที่สนใจหรือจะเสนอแนะก็เชิญนะครับ 40 กว่าปีมาแล้วเทคโนโลยีสื่อสารยังล้าหลังกว่านี้มาก พวกเรายังทำ Syndicate Columnists คิดถึงเมืองไทย จากนักเรียนไทยในเมืองนอกได้
ผมขอเชิญท่านทูตสุรพงษ์ ไชยนามเป็นหัวแรง ตามด้วยคุณ “คนผ่านทาง” ที่อยู่เมืองฮูสตัน เท็กซัส และท่านที่ผมจะนำจดหมายมาลงวันนี้ คือ พลโทฤกดิ์ดี ชาติอุทิศ อดีตเลขานุการผู้ว่าฯ กทม. สมัยพลตรีจำลอง
ผมรู้จักพลโทฤกดิ์ดีมาตั้งแต่เป็นนักเรียนเซนต์คาเบรียล เมื่อจบ จปร.รุ่น 8 หลังพลตรีจำลองหนึ่งรุ่นแล้วไม่ได้เจอกันเลย จนกระทั่งท่านออกมาสมัครได้เป็นผู้แทนราษฎรกรุงเทพฯ พรรคพลังธรรม เมื่อเลิกราจากการเมืองแล้ว จึงได้คุยกันนานๆ ที่เมืองอังกฤษ ผมกลับเมืองไทยปี 2001 จึงมีโอกาสตอบสนองคำเชิญพลโทฤกดิ์ดีไปเที่ยวถนนข้าวสาร เข้าชมกิจการอาหารและบันเทิงครบวงจรของท่าน มีทั้งโรงแรม ร้านอาหาร บาร์ และไนต์คลับ ทุกอย่างเป็นธุรกิจสีขาว ไม่มียาเสพติด ไม่มีสินค้าทางเพศ ไม่มีการกดขี่หรือคดโกงชาวต่างประเทศ
ภายหลังผมจึงทราบว่า พลเอกจรีเมธ สุพรรณโรจน์ มือหนึ่ง พลโทฤกดิ์ดี ชาติอุทิศ มือ 2 เป็นผู้ช่วยทำให้ถนนข้าวสารติดอยู่ในแผนที่โลก ถือว่าเป็นสถานที่เที่ยวที่รวมเอาความสนุกปลอดภัยและมีน้ำใจ นับว่าท่านทั้งสองมีความเป็นผู้นำ และมีจินตนาการยิ่งใหญ่มาก และก็บากบั่นทำจนสำเร็จเป็น “Good Clean Fun” ที่ฝรั่งทุกคนควรจะมา
พลโทฤกดิ์ดี เรียนเก่ง จบเหล่าสื่อสารได้ที่หนึ่งเจริญรอยตามพลเอกชวลิตและพลตรีจำลอง พลโทฤกดิ์ดีเขียนหนังสือถึงผมบ่อย เป็นกระดาษโรเนียวสีขาวธรรมดา แต่ข้อความในหนังสือนั้นไม่ธรรมดาเลย ดังจะเห็นได้จากจดหมายข้างล่างนี้
ผมชวนให้พลโทฤกดิ์ดีเปิดคอลัมน์โดยตรง ได้รับคำตอบว่า “ก็พี่เขียนตอบผมมาก่อน ผมจะได้เขียนโต้กลับไป” ผมจึงถึงบางอ้อ เอายังไงก็เอา
นี่ก็คือที่มาของบทความ “โต้กับศิษย์เก่า จปร....เรื่องการเมืองไทย”
คำว่าโต้มิได้แปลว่าท้าตีท้าต่อยที่ไหน ก็เหมือนกับโต้ปิงปอง โต้เทนนิส โต้แบดมินตัน หรือโต้คารมอย่างนั้นแหละ อย่าว่าผมหาเรื่องเลย ต่อไปนี้เป็นข้อความที่มิได้ตัดทอนจากหนังสือของพลโทฤกดิ์ดี
จดหมายถึงพี่ปราโมทย์ นาครทรรพ
การเมืองใหม่ การทำงานใดๆ มันต้องใช้เงินทั้งนั้น ผมเคยบอกพี่ลองเมื่อราวๆ กว่า 20 ปีมาแล้วว่า
“พี่ลองจะทำงานการเมือง โดยอาศัยเงินจากความเมตตาปรานีของประชาชนบริจาคนั้นมันไม่ยั่งยืนหรอกครับ พี่ควรจะหาคนที่พร้อมทุกทางมีฐานะมั่นคงทางด้านการเงิน มีความรู้ความสามารถ ประสบผลสำเร็จทางการงานการเงินมาร่วมกันทำงานการเมือง (คงหายาก).....ถ้าพ่อค้านักธุรกิจเขาเอาเงินมาช่วยพรรคพลังธรรม เขาก็ต้องมีความหวังลึกๆว่าเราต้องช่วยเขาในบางเรื่องที่เขาอยากให้ช่วย เงินบริจาคเหล่านี้ พี่ลองท่านเชื่อในความซื่อสัตย์ของผม ท่านยังเอามาให้ผมเป็นคนถือบัญชี เป็นคนรับเงิน ท้ายที่สุดงานของผมมันก็มาก ท่านก็เลยโอนไปให้คนอื่นทำ และทราบต่อมาภายหลังว่ามีการทุจริตต่อเงินจำนวนนี้ครับ”
พี่ลองจึงไปเอาท่านนายกฯ ทักษิณมาเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรม ผมก็ไปพิจารณาการเมืองเก่าในอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ในปัจจุบันก็ได้ผลสรุปออกมาว่า คนที่เป็นหัวเบี้ยหรือเจ้ามือในการบริจาคก็ได้แก่ พ่อค้าอาวุธ พ่อค้าผลิตผลทางเกษตร พ่อค้าขายบริการทางความบันเทิง พ่อค้าเครื่องดื่ม พ่อค้าในวงการก่อสร้าง ฯลฯ
คราวนี้หันมาดูเจ้ามือในการบริจาคในเมืองไทยที่ให้กับพรรคการเมืองในเมืองไทย มันก็กลุ่มคนที่มีอาชีพเดียวกันเป๊ะเลยกับในประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ คนจ่ายเงินเขาก็เลยทำตัวเป็นเจ้าเข้าเจ้าของพรรคการเมืองทุกๆ พรรค หลบอยู่ใต้ดินแต่มีอิทธิพลทางการเมืองอยู่อย่างเงียบๆ อยากได้รับความสะดวกใดๆ นักการเมือง พรรคการเมืองที่สนับสนุนอยู่จะทำให้เขา ดังนั้นถ้าเราจะทำการเมืองใหม่มันต้องเป็นพรรคที่ประชาชนเป็นเจ้าของ ประชาชนต้องช่วยกันออกเงินบำรุงพรรคจะมากจะน้อยก็ไม่สำคัญ มันสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นความรู้สึกที่จะต้องสร้างในสำนึกของประชาชนให้เกิดการเมืองใหม่มันจึงจะเป็นไปได้ (จบครึ่งแรกของจดหมาย ไม่ลงวันตีตรา ปณ. 6 มกราคม 2552)
ฉบับหน้าจะเป็นคำตอบครึ่งแรกจากผม