ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง... สุภาษิตที่นิยามความงามอันสะท้อนสัจธรรมของมนุษย์ได้อย่างแจ่มชัดที่สุด โลกแห่งความเป็นจริงคงไม่มีใครปฏิเสธสาวสวยหนุ่มหล่อเป็นแน่แท้ รูปลักษณ์ภายนอกดี ย่อมเป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้พบเห็นเป็นธรรมดาเสมือนมีภาษีดีกว่าคนหน้าตาบ้านๆ “หน้าตาดีมีพลัง” คือค่านิยมที่สังคมยอมรับอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว ในโลกออนไลน์ก็เช่นกัน ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพียงแค่หาเพื่อนออนไลน์ ก็ต้องใช้ Photoshop!
แรกเจอ...จากออนไลน์
ริมถนนข้าวสารหน้าร้านอาหารแห่งหนึ่ง...
ชายหนุ่มยกข้อมือขึ้นดูเวลาด้วยจิตใจกระวนกระวาย เมื่อยิ่งใกล้เวลานัดมากขึ้นๆ การรอคอยก็กำลังจะจบสิ้นลง เขามาก่อนเวลานัดครึ่งชั่วโมง รู้สึกตื่นเต้นและดีใจ ในที่สุด ใครคนนั้นก็ยอมมาเจอกับเขาสักที หลังจากทำความรู้จักผ่าน hi5 มาสักระยะหนึ่ง...
นี่เป็นครั้งแรกของชายหนุ่ม ในการนัดเจอเพื่อนจากโลกออนไลน์
ใครคนหนึ่งเดินเข้ามาสะกิดที่ไหล่ เขาหันไปมอง เธอยิ้มให้อย่างเป็นมิตร
ชายหนุ่มมองดูเธอสักครู่...ด้วยความสงสัยว่าใช่คนที่นัดไว้หรือเปล่า?
เขาจ้องไปที่ใบหน้า และนึกสงสัยว่าสายตาเกิดพร่าเลือนหรืออย่างไร ใบหน้าที่ปรากฏตรงหน้านี้ จึงดูแตกต่างออกไปมาก... ต่างจากรูปที่เขาเคยเห็นผ่านเว็บไซต์ ชายหนุ่มคิด...
หากจะบอกว่าการที่ เอก(นามสมมุติ) พูดคุยและทำความรู้จักกับ พิม(นามสมมุติ) นั้นเพราะความน่ารักและมีเสน่ห์จากการเห็นผ่านรูปใน hi5 ของพิมก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะรูปเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจที่จะหาเพื่อนออนไลน์ของเขา
“รูปใน hi5 คนนี้น่ารักมาก ผมอยากรู้จัก ต้องแอดมาเป็นเพื่อน คือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ พูดคุยกันในโลกออนไลน์เป็นเรื่องปกติ สำหรับผม พูดคุยกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ เมื่อสานสัมพันธ์กันแล้ว มันก็ต้องมีบ้างที่รู้สึกว่าอยากเจอคนนี้จัง พูดคุยกันนานๆ ก็แลกเบอร์มือถือ คุยแล้วสนุก ก็ทำให้อยากเจอ และนี่เป็นครั้งแรกที่นัดเจอกับเพื่อนออนไลน์”
การพูดคุยสานสัมพันธ์ได้ก่อร่างสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน เปรียบเป็นเสมือนแม่เหล็ก ที่ดึงดูดให้คนสองคนโหยหาเพื่อจะได้มาเจอกัน แต่ทว่าสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นเสมอไปสำหรับโลกออนไลน์กับโลกแห่งความเป็นจริง!
“ไม่ซีเรียสนะ เพราะก็คิดไว้บ้างแล้ว สำหรับคนที่เล่นอินเตอร์เน็ตบ่อยๆ ก็จะมีเซ้นส์ทางด้านนี้ ว่าคนนั้นคนนี้รูปที่สวยๆ นี่แต่งหรือเปล่า แต่คนนี้ผมคุยแล้วรู้สึกดี อยากเจอ แล้วก็ได้เจอ ถ้าถามว่าเหมือนหรือแตกต่างจากที่เห็นในคอมพ์มากน้อยแค่ไหน ก็คงไม่ขนาดที่เป็นคนละคนเสียเลย แต่ที่เห็นในรูปก็ดูดีกว่า...ค่อนข้างมาก”
โดนหลอก!...?
“ไม่หรอกครับ อาจจะผิดหวังนิดๆ แต่ในใจผมก็รู้สึกแย่ที่ไปมองกันที่หน้าตา ทั้งๆ ที่นิสัยเธอก็คือคนที่เราคุยด้วยมาตลอด และการแต่งรูปมันก็เป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องส่วนบุคคลครับ เพียงแต่ผมไม่รู้มาก่อนว่าเธอแต่งรูปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสำหรับผมไม่เคยแต่ง”
ดูดีด้วย...รีทัช
คงต้องบอกว่าเป็นเรื่องสามัญไปแล้วสำหรับการแต่งภาพ ทำรีทัช หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ”แต่งโฟโต้ชอป” และคงจะไม่ใช่เรื่องที่จะมานั่งเถียงกันให้ปวดสมองอีกต่อไปว่าคนนั้นแต่งโฟโต้ชอป คนนี้สวยจริง เพราะคนในยุคนี้คงจะชินกันเสียแล้วกับการแต่งภาพ เพราะถือเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล
“ใครๆ ก็ใช้เป็นโฟโต้ชอปแต่งภาพลงเว็บ ใช้กันทั้งนั้นแหละ แต่บางคนดูออกเพราะเค้าจะแต่งเวอร์ๆ อันนี้จะสังเกตได้ บางคนดูไม่ออกแต่งนิดเดียว มันเป็นเรื่องปกติ และก็มีที่เล่นเปลี่ยนปรับทั้งหน้าเลยก็มี อันนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ความต้องการของผู้ใช้มากกว่า”
แป้ง สาว hi5 ม.หอการค้า เล่าถึงทัศนคติส่วนตัวต่อการตกแต่งภาพโฟโต้ชอป แล้ว
โพสต์ลงบนโลกออนไลน์
“สำหรับตัวแป้ง แต่งบ้างที่สี แต่คงไม่ถึงขั้นปรับแต่งจนเปลี่ยนโครงหน้าเลยไม่ใช่ แค่เปลี่ยนแสงสีบ้าง บางรูปมันจะออกแนวอาร์ต ในรูปหน้าตาก็เหมือนตัวจริง ของอย่างนี้มันต้องเจอตัวถึงจะรู้ถึงความแตกต่างกัน เราไม่ได้แบบไปหลอกใครด้วย ความจริงคนที่แต่งมากๆ ก็ลองคิดดูในแง่ที่ถ้ามาเจอตัวเป็นๆ ความรู้สึกอีกฝ่ายจะเป็นอย่างไร มันน่าคิด”
เช่นเดียวกับ “แพรว วราภรณ์ ภัทรจิรากุล” สาวน้อยวัย 15 ผู้คร่ำหวอดกับวงการ hi5 ที่ให้เหตุผลของการแต่งภาพโฟโต้ชอปไม่ต่างจากแป้งนัก
“แพรวเล่น hi5 ทุกวันค่ะ มีแต่งภาพบ้างแต่จะแต่งไม่ให้ต่างไปจากรูปเดิม แค่ให้สีสันมันสวยขึ้นเท่านั้น ถ้าเข้าไปดูใน hi5 แพรว ก็จะรู้ว่ามันไม่ได้น่ารักอะไรมากมายเลย แค่ทำสีให้มันน่ามองเท่านั้น”
ถ้ามองการแต่งภาพโฟโต้ชอปเป็นเรื่องของผู้ใช้ทั่วไปที่สามารถใช้ได้ และก็ใช้กันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ดูเหมือนจะไม่มีใคร อยากจะยอมรับว่าแต่งภาพมากนัก คงต้องรอให้เจอตัวกันจริงๆ เป็นหนทางเดียวที่จะพิสูจน์ความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
“ถ้านัดบอร์ดเด็กมาเจอกันจริงๆ สักคน ก็คงเสียความรู้สึกน่าดูที่คนคนนั้นไม่เหมือนกับรูปที่เขามาโชว์ให้เห็น แน่นอนรูปที่หน้าตาดี เวลาคุยมันน่าคุยด้วยอยู่แล้ว แต่ถ้าแต่งรูปแล้วมาเจอตัวจริง โอ๊ย! ไม่เหมือนเลย มันน่าเจ็บใจ แต่ก็จะว่ากันไม่ได้ ห้ามกันไม่ได้ ไม่ควรห้ามด้วย เป็นสิทธิส่วนบุคคล เป็นเรื่องของจิตสำนึกมากกว่าหมายรวมไปถึงในเรื่องที่ใช้โฟโต้ชอปตัดต่อด้วย เป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์มากๆ สร้างสรรค์แบบเสียๆ”
“หยก วนิชชา ภราดรสุธรรม” อีกหนึ่งสาว hi5 พูดถึงการใช้โฟโต้ชอปในทางไม่ดี ก่อนจะเล่าว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่ใช้โฟโต้ชอปแต่งภาพตัวเองด้วยเช่นกัน
“แต่งสี ที่เหลือเมกอัพมาก่อนแล้ว อาจจะเป็นเมคอัพเปลี่ยนชีวิตด้วยซ้ำ แล้วเป็นคนถ่ายรูปขึ้นด้วย ยิ่งไปใหญ่ บางคนบอกแต่งโฟโต้ชอปถึงดูดี แต่ความจริงคือเมคอัพมาก่อนแล้ว แต่งโฟโต้อีกที ยอมรับไม่ได้ไปฆ่าใคร ไม่หลอกลวงใคร ไม่ได้แต่งรูปสวยแล้วไปนัดเจอคนโน้น คนนี้ ไม่ใช่ค่ะ”
โฟโต้ชอปอย่าง...มืออาชีพ
การตกแต่งภาพส่วนบุคคลที่กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วสำหรับตอนนี้ ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ต่างจากในตอนแรกของการเริ่มใช้โปรแกรมเพื่อการรีทัช ซึ่งมีความสำคัญกับเฉพาะผู้ทำอาชีพเฉพาะทางอย่างการถ่ายภาพหรือการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
“ การถ่ายภาพแต่ก่อนต้องเนี้ยบทุกอย่าง ต้องเซ็ตให้เป๊ะ ทุกอย่างต้องพร้อมเส้นผม เส้นนั้น ต้องอยู่ตรงนี้ ปลิวไม่ได้เลย ถ้าปลิวมาโดนหน้าไม่มีทางเอาเส้นผมออกได้ ถ่ายใหม่”
“บี๋ ธีระพงศ์ เหลียวรักวงษ์” นักแสดงและช่างภาพอิสระ ผู้คว่ำหวอดวงการถ่ายภาพนิตยสารมาอย่างยาวนานได้พูดถึงการถ่ายแบบในสมัยก่อนที่ปราศจากเทคโนโลยีการ รีทัช”
“ในสมัยก่อน เลยการรีทัชภาพจะลงหมึกบนกระดาษที่ละจุดค่อยๆ แก้กันไป เพราะไร้เทคโนโลยี และต่อมาก็ไปเป็นยุคไฟรเท็กส์ เครื่องไฟรเท็กส์ ซึ่งแพงมากเทคโนโลยีของการแต่งภาพ แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร แก้ไปทีละสเกล ก็เหมือนการผ่าตัดใหญ่ มูลค่าการตกแต่งมหาศาล มากกว่าการถ่ายภาพเสียอีก”
ทุกคนสามารถเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีได้ ยิ่งมากขึ้น ดูเหมือนวัตถุประสงค์ก็ยิ่งมากตาม ในบางครั้งก็เพื่อสนองความต้องการของตัวเอง หรือบางครั้งก็เพื่อสร้างโลกของตัวเองที่หาไม่ได้จากโลกความเป็นจริง
“ทุกวันนี้การรีทัชภาพ กับการถ่ายภาพเป็นของคู่กัน ขึ้นอยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้น โฟโต้ชอป หรือโปรแกรมรีทัชอื่นๆ มันเป็นแค่เครื่องมือ อยู่ที่ว่าเราจะเอาไปใช้ทำอะไรเท่านั้น อย่างคนทั่วไปใช้โปรแกรมได้ดีเท่ากัน แต่เอาไปใช้ต่างกัน”
“ฟิน ไชยสิทธิ์ ตั้งพงศ์สิริ” นักรีทัชแห่ง Newbrainstudio ผู้คลุกคลีอยู่กับเบื้องหลังภาพก่อนจะออกสู่สาธารณะมากว่า 8 ปี ได้ฝากถึงผู้ใช้โปรแกรมรีทัชภาพในหลายๆ วัตถุประสงค์
“เทคโนโลยีถูกสร้างมาเพื่อความสะดวกสบาย สนองตัณหาของมนุษย์ และผู้ที่สร้างขึ้นมาย่อมอยากให้ผู้ใช้นำไปสร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์สิ่งที่ดีเพื่อเป็นประโยชน์มากกว่า แน่นนอนเป็นสิทธิส่วนบุคคลแต่ก็ต้องมีจิตสำนึกด้วย”
ในโลกของความเป็นจริงเราอาจจะเดินผ่านกันไปมา และไม่รู้สึกสะดุดตา ไม่แน่! เขาอาจจะเป็นเพื่อนในโลกออนไลน์ของคุณก็ได้ เพียงแต่มันอาจจะไม่เหมือนเสียทีเดียว ทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์แบบ การเป็นเพื่อนกันจึงไม่จำเป็นที่จะต้องคบกันที่หน้าตาเสมอไป ถึงหน้าตาจะเป็นอาวุธ ดึงดูดความเป็นมนุษย์ แต่ท้ายที่สุดจิตใจต่างหากที่จะสร้างมิตรภาพที่แท้จริง และยั่งยืน...
ขอขอบคุณเจ้าของภาพสาว hi5 เอื้อเฟื้อภาพ
แรกเจอ...จากออนไลน์
ริมถนนข้าวสารหน้าร้านอาหารแห่งหนึ่ง...
ชายหนุ่มยกข้อมือขึ้นดูเวลาด้วยจิตใจกระวนกระวาย เมื่อยิ่งใกล้เวลานัดมากขึ้นๆ การรอคอยก็กำลังจะจบสิ้นลง เขามาก่อนเวลานัดครึ่งชั่วโมง รู้สึกตื่นเต้นและดีใจ ในที่สุด ใครคนนั้นก็ยอมมาเจอกับเขาสักที หลังจากทำความรู้จักผ่าน hi5 มาสักระยะหนึ่ง...
นี่เป็นครั้งแรกของชายหนุ่ม ในการนัดเจอเพื่อนจากโลกออนไลน์
ใครคนหนึ่งเดินเข้ามาสะกิดที่ไหล่ เขาหันไปมอง เธอยิ้มให้อย่างเป็นมิตร
ชายหนุ่มมองดูเธอสักครู่...ด้วยความสงสัยว่าใช่คนที่นัดไว้หรือเปล่า?
เขาจ้องไปที่ใบหน้า และนึกสงสัยว่าสายตาเกิดพร่าเลือนหรืออย่างไร ใบหน้าที่ปรากฏตรงหน้านี้ จึงดูแตกต่างออกไปมาก... ต่างจากรูปที่เขาเคยเห็นผ่านเว็บไซต์ ชายหนุ่มคิด...
หากจะบอกว่าการที่ เอก(นามสมมุติ) พูดคุยและทำความรู้จักกับ พิม(นามสมมุติ) นั้นเพราะความน่ารักและมีเสน่ห์จากการเห็นผ่านรูปใน hi5 ของพิมก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ เพราะรูปเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจที่จะหาเพื่อนออนไลน์ของเขา
“รูปใน hi5 คนนี้น่ารักมาก ผมอยากรู้จัก ต้องแอดมาเป็นเพื่อน คือจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ พูดคุยกันในโลกออนไลน์เป็นเรื่องปกติ สำหรับผม พูดคุยกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ เมื่อสานสัมพันธ์กันแล้ว มันก็ต้องมีบ้างที่รู้สึกว่าอยากเจอคนนี้จัง พูดคุยกันนานๆ ก็แลกเบอร์มือถือ คุยแล้วสนุก ก็ทำให้อยากเจอ และนี่เป็นครั้งแรกที่นัดเจอกับเพื่อนออนไลน์”
การพูดคุยสานสัมพันธ์ได้ก่อร่างสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน เปรียบเป็นเสมือนแม่เหล็ก ที่ดึงดูดให้คนสองคนโหยหาเพื่อจะได้มาเจอกัน แต่ทว่าสิ่งที่เห็นอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นเสมอไปสำหรับโลกออนไลน์กับโลกแห่งความเป็นจริง!
“ไม่ซีเรียสนะ เพราะก็คิดไว้บ้างแล้ว สำหรับคนที่เล่นอินเตอร์เน็ตบ่อยๆ ก็จะมีเซ้นส์ทางด้านนี้ ว่าคนนั้นคนนี้รูปที่สวยๆ นี่แต่งหรือเปล่า แต่คนนี้ผมคุยแล้วรู้สึกดี อยากเจอ แล้วก็ได้เจอ ถ้าถามว่าเหมือนหรือแตกต่างจากที่เห็นในคอมพ์มากน้อยแค่ไหน ก็คงไม่ขนาดที่เป็นคนละคนเสียเลย แต่ที่เห็นในรูปก็ดูดีกว่า...ค่อนข้างมาก”
โดนหลอก!...?
“ไม่หรอกครับ อาจจะผิดหวังนิดๆ แต่ในใจผมก็รู้สึกแย่ที่ไปมองกันที่หน้าตา ทั้งๆ ที่นิสัยเธอก็คือคนที่เราคุยด้วยมาตลอด และการแต่งรูปมันก็เป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องส่วนบุคคลครับ เพียงแต่ผมไม่รู้มาก่อนว่าเธอแต่งรูปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสำหรับผมไม่เคยแต่ง”
ดูดีด้วย...รีทัช
คงต้องบอกว่าเป็นเรื่องสามัญไปแล้วสำหรับการแต่งภาพ ทำรีทัช หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า ”แต่งโฟโต้ชอป” และคงจะไม่ใช่เรื่องที่จะมานั่งเถียงกันให้ปวดสมองอีกต่อไปว่าคนนั้นแต่งโฟโต้ชอป คนนี้สวยจริง เพราะคนในยุคนี้คงจะชินกันเสียแล้วกับการแต่งภาพ เพราะถือเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล
“ใครๆ ก็ใช้เป็นโฟโต้ชอปแต่งภาพลงเว็บ ใช้กันทั้งนั้นแหละ แต่บางคนดูออกเพราะเค้าจะแต่งเวอร์ๆ อันนี้จะสังเกตได้ บางคนดูไม่ออกแต่งนิดเดียว มันเป็นเรื่องปกติ และก็มีที่เล่นเปลี่ยนปรับทั้งหน้าเลยก็มี อันนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ความต้องการของผู้ใช้มากกว่า”
แป้ง สาว hi5 ม.หอการค้า เล่าถึงทัศนคติส่วนตัวต่อการตกแต่งภาพโฟโต้ชอป แล้ว
โพสต์ลงบนโลกออนไลน์
“สำหรับตัวแป้ง แต่งบ้างที่สี แต่คงไม่ถึงขั้นปรับแต่งจนเปลี่ยนโครงหน้าเลยไม่ใช่ แค่เปลี่ยนแสงสีบ้าง บางรูปมันจะออกแนวอาร์ต ในรูปหน้าตาก็เหมือนตัวจริง ของอย่างนี้มันต้องเจอตัวถึงจะรู้ถึงความแตกต่างกัน เราไม่ได้แบบไปหลอกใครด้วย ความจริงคนที่แต่งมากๆ ก็ลองคิดดูในแง่ที่ถ้ามาเจอตัวเป็นๆ ความรู้สึกอีกฝ่ายจะเป็นอย่างไร มันน่าคิด”
เช่นเดียวกับ “แพรว วราภรณ์ ภัทรจิรากุล” สาวน้อยวัย 15 ผู้คร่ำหวอดกับวงการ hi5 ที่ให้เหตุผลของการแต่งภาพโฟโต้ชอปไม่ต่างจากแป้งนัก
“แพรวเล่น hi5 ทุกวันค่ะ มีแต่งภาพบ้างแต่จะแต่งไม่ให้ต่างไปจากรูปเดิม แค่ให้สีสันมันสวยขึ้นเท่านั้น ถ้าเข้าไปดูใน hi5 แพรว ก็จะรู้ว่ามันไม่ได้น่ารักอะไรมากมายเลย แค่ทำสีให้มันน่ามองเท่านั้น”
ถ้ามองการแต่งภาพโฟโต้ชอปเป็นเรื่องของผู้ใช้ทั่วไปที่สามารถใช้ได้ และก็ใช้กันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ดูเหมือนจะไม่มีใคร อยากจะยอมรับว่าแต่งภาพมากนัก คงต้องรอให้เจอตัวกันจริงๆ เป็นหนทางเดียวที่จะพิสูจน์ความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
“ถ้านัดบอร์ดเด็กมาเจอกันจริงๆ สักคน ก็คงเสียความรู้สึกน่าดูที่คนคนนั้นไม่เหมือนกับรูปที่เขามาโชว์ให้เห็น แน่นอนรูปที่หน้าตาดี เวลาคุยมันน่าคุยด้วยอยู่แล้ว แต่ถ้าแต่งรูปแล้วมาเจอตัวจริง โอ๊ย! ไม่เหมือนเลย มันน่าเจ็บใจ แต่ก็จะว่ากันไม่ได้ ห้ามกันไม่ได้ ไม่ควรห้ามด้วย เป็นสิทธิส่วนบุคคล เป็นเรื่องของจิตสำนึกมากกว่าหมายรวมไปถึงในเรื่องที่ใช้โฟโต้ชอปตัดต่อด้วย เป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์มากๆ สร้างสรรค์แบบเสียๆ”
“หยก วนิชชา ภราดรสุธรรม” อีกหนึ่งสาว hi5 พูดถึงการใช้โฟโต้ชอปในทางไม่ดี ก่อนจะเล่าว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่ใช้โฟโต้ชอปแต่งภาพตัวเองด้วยเช่นกัน
“แต่งสี ที่เหลือเมกอัพมาก่อนแล้ว อาจจะเป็นเมคอัพเปลี่ยนชีวิตด้วยซ้ำ แล้วเป็นคนถ่ายรูปขึ้นด้วย ยิ่งไปใหญ่ บางคนบอกแต่งโฟโต้ชอปถึงดูดี แต่ความจริงคือเมคอัพมาก่อนแล้ว แต่งโฟโต้อีกที ยอมรับไม่ได้ไปฆ่าใคร ไม่หลอกลวงใคร ไม่ได้แต่งรูปสวยแล้วไปนัดเจอคนโน้น คนนี้ ไม่ใช่ค่ะ”
โฟโต้ชอปอย่าง...มืออาชีพ
การตกแต่งภาพส่วนบุคคลที่กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วสำหรับตอนนี้ ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ ต่างจากในตอนแรกของการเริ่มใช้โปรแกรมเพื่อการรีทัช ซึ่งมีความสำคัญกับเฉพาะผู้ทำอาชีพเฉพาะทางอย่างการถ่ายภาพหรือการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
“ การถ่ายภาพแต่ก่อนต้องเนี้ยบทุกอย่าง ต้องเซ็ตให้เป๊ะ ทุกอย่างต้องพร้อมเส้นผม เส้นนั้น ต้องอยู่ตรงนี้ ปลิวไม่ได้เลย ถ้าปลิวมาโดนหน้าไม่มีทางเอาเส้นผมออกได้ ถ่ายใหม่”
“บี๋ ธีระพงศ์ เหลียวรักวงษ์” นักแสดงและช่างภาพอิสระ ผู้คว่ำหวอดวงการถ่ายภาพนิตยสารมาอย่างยาวนานได้พูดถึงการถ่ายแบบในสมัยก่อนที่ปราศจากเทคโนโลยีการ รีทัช”
“ในสมัยก่อน เลยการรีทัชภาพจะลงหมึกบนกระดาษที่ละจุดค่อยๆ แก้กันไป เพราะไร้เทคโนโลยี และต่อมาก็ไปเป็นยุคไฟรเท็กส์ เครื่องไฟรเท็กส์ ซึ่งแพงมากเทคโนโลยีของการแต่งภาพ แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร แก้ไปทีละสเกล ก็เหมือนการผ่าตัดใหญ่ มูลค่าการตกแต่งมหาศาล มากกว่าการถ่ายภาพเสียอีก”
ทุกคนสามารถเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีได้ ยิ่งมากขึ้น ดูเหมือนวัตถุประสงค์ก็ยิ่งมากตาม ในบางครั้งก็เพื่อสนองความต้องการของตัวเอง หรือบางครั้งก็เพื่อสร้างโลกของตัวเองที่หาไม่ได้จากโลกความเป็นจริง
“ทุกวันนี้การรีทัชภาพ กับการถ่ายภาพเป็นของคู่กัน ขึ้นอยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้น โฟโต้ชอป หรือโปรแกรมรีทัชอื่นๆ มันเป็นแค่เครื่องมือ อยู่ที่ว่าเราจะเอาไปใช้ทำอะไรเท่านั้น อย่างคนทั่วไปใช้โปรแกรมได้ดีเท่ากัน แต่เอาไปใช้ต่างกัน”
“ฟิน ไชยสิทธิ์ ตั้งพงศ์สิริ” นักรีทัชแห่ง Newbrainstudio ผู้คลุกคลีอยู่กับเบื้องหลังภาพก่อนจะออกสู่สาธารณะมากว่า 8 ปี ได้ฝากถึงผู้ใช้โปรแกรมรีทัชภาพในหลายๆ วัตถุประสงค์
“เทคโนโลยีถูกสร้างมาเพื่อความสะดวกสบาย สนองตัณหาของมนุษย์ และผู้ที่สร้างขึ้นมาย่อมอยากให้ผู้ใช้นำไปสร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์สิ่งที่ดีเพื่อเป็นประโยชน์มากกว่า แน่นนอนเป็นสิทธิส่วนบุคคลแต่ก็ต้องมีจิตสำนึกด้วย”
ในโลกของความเป็นจริงเราอาจจะเดินผ่านกันไปมา และไม่รู้สึกสะดุดตา ไม่แน่! เขาอาจจะเป็นเพื่อนในโลกออนไลน์ของคุณก็ได้ เพียงแต่มันอาจจะไม่เหมือนเสียทีเดียว ทุกคนไม่มีใครสมบูรณ์แบบ การเป็นเพื่อนกันจึงไม่จำเป็นที่จะต้องคบกันที่หน้าตาเสมอไป ถึงหน้าตาจะเป็นอาวุธ ดึงดูดความเป็นมนุษย์ แต่ท้ายที่สุดจิตใจต่างหากที่จะสร้างมิตรภาพที่แท้จริง และยั่งยืน...
ขอขอบคุณเจ้าของภาพสาว hi5 เอื้อเฟื้อภาพ