"กรณ์" แถลงเปิดใจแผนแก้เศรษฐกิจ อังคารที่ 20 ม.ค.นำมาตรการภาษีรอบ 2 เข้า ครม.เน้นช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ออกกฎหมายการเงิน 2 ฉบับเกี่ยวกับบัตรเครดิตเพื่อความเป็นธรรมผู้บริโภคที่ถูก "นอนแบงก์" โขกดอกเบี้ย ติงแบงก์พาณิชย์เองก็มีส่วนต่างดอกเบี้ยสูง วอนช่วยปล่อยกู้มากขึ้น หลังธปท.รายงานสภาพคล่องล้น 4 ล้านล้าน เพิ่มวงเงินรับจำนำสินค้าเกษตรให้มากกว่า 1.1 แสนล้าน ส่วนงบขาดดุลต้องใช้เงินคงคลัง-กู้นอก เล็งรื้อใหญ่ ก.ล.ต.ล้างบางคนระบอบทักษิณ
ในงาน "ศุกร์เศรษฐกิจกับรัฐมนตรีกรณ์ ฟัง คิด ทำ" เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.) ที่กระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 13 ม.ค. การจัดทำงบกลางปีวงเงิน 1 แสนล้านบาท จะได้ข้อสรุปทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดแรก หลังจากนั้นในการประชุม ครม.วันที่ 20 ม.ค. กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นมาตรการชุดที่ 2 นอกจากจะมีมาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์แล้ว จะมีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระให้ผู้ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนด้วย
รมว.คลังกล่าวด้วยว่า รัฐบาลยังเตรียมออกกฎหมายการเงินอีก 2 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบัตรเครดิต และการทวงหนี้ เพื่อดูแลให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยเห็นว่า ปัจจุบันกฎหมายเดิมมีอำนาจในการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตที่ยังไม่ชัดเจนและสร้างความไม่เป็นธรรม เช่น การดำเนินธุรกิจของผู้ออกบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) การกำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและการทวงหนี้ กระทรวงการคลังเตรียมเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เร็วๆ นี้ ก่อนนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
"เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ค้างไว้ในสมัยสนช. มีการระดมความเห็นหลายรอบแล้ว และถือเป็นกฎหมายการเงินที่ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแล เป็นกฎหมายที่เข้ามาดูแล ทั้งการทวงหนี้ที่ต้องรักษาเกียรติและสิทธิของลูกหนี้ ขณะเดียวกัน การถือบัตรเครดิตของลูกค้าควรกำหนดชัดเจนว่าควรมีกี่ใบ" นายกรณ์ กล่าวและว่า เตรียมขอความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้มีส่วนช่วยสังคม ด้วยการปรับลดส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ตนมองว่ามีส่วนต่างอยู่มากจนกลายเป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจภาวะปัจจุบัน
รมว.คลังเปิดเผยว่า จากข้อมูล ธปท.พบว่าธนาคารพาณิชย์ยังมีเงินที่สามารถปล่อยกู้ได้อีกกว่า 4 ล้านล้านบาท โดยที่ไม่กระทบเงินกองทุนของธนาคาร แต่ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารได้ประเมินถึงความเสี่ยงที่มีมากขึ้น จึงปล่อยสินเชื่อน้อยลง ประกอบกับผู้ประกอบการลดกำลังการผลิตทำให้กู้สินเชื่อน้อยลง ดังนั้น ในการแก้ปัญหาก็จะพยายามกระตุ้นการบริโภค เพราะปริมาณเงินที่จะปล่อยสินเชื่อยังมีอยู่มาก แต่ความต้องการใช้เงินของประชาชนกลับลดลง
"รัฐบาลยังอยากเห็นสินเชื่อเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แม้จะยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย" นายกรณ์กล่าว
เพิ่มวงเงินรับจำนำสินค้าเกษตร
นายกรณ์กล่าวว่า ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เตรียมเสนอครม.พิจารณาเพิ่มวงเงินรับจำนำสินค้าเกษตรจากวงเงินเดิม 1.1 แสนล้านบาท เนื่องจากพบว่า มีสินค้าเกษตรอื่น เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมันและผลไม้บางชนิดราคาตกต่ำมาก จำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซงช่วยเหลือ ซึ่งวงเงินเดิมไม่เพียงพอจะรับจำนำได้ ส่วนจะเพิ่มอีกจำนวนเท่าไหร่และขอกู้จาก 4 ธนาคาร คือกรุงไทย ออมสิน นครหลวงไทย และทหารไทยอีกหรือไม่ ได้สั่งการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณาอยู่ โดยมีเงื่อนไขว่าแหล่งเงินใหม่จะต้องมีต้นทุนต่ำกว่าเดิมที่ขอกู้จาก 4 แบงก์ที่คิดดอกเบี้ย 4.95% เพราะจะสร้างภาระกับรัฐบาลมากเกินไป
เตรียมรื้อใหญ่บอร์ด ก.ล.ต.
รมว.คลังกล่าวว่า จะพิจารณาปรับเปลี่ยนคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการสรรหาและแต่งตั้งบอร์ด ก.ล.ต.ในก่อนหน้านี้ยังขาดกรรมการอีก 1 คน ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสในการทบทวนบอร์ดใหม่ทั้งชุดทั้งนี้ ก่อนหน้านี้สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านก็เคยเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนคณะกรรมการ ก.ล.ต.ชุดดังกล่าว เพราะเห็นว่ากระบวนการสรรหาไม่มีความโปร่งใส ดังนั้น ตอนนี้บอร์ดบริหารของก.ล.ต.ขาด 1 คน ก็จะถือโอกาสนี้ในการรื้อบอร์ดทั้งหมด
นายกรณ์เห็นว่าคณะกรรมการคัดเลือกบอร์ด ก.ล.ต. ส่อมีปัญหาในแง่กฎหมายเช่นเดียวกับบอร์ด ธปท. ทั้งนี้ บอร์ดคัดเลือกได้แก่ นายนิพัทธ พุกกะณะสุต นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา นายสมใจนึก เองตระกูล นายชัยวัฒน์ วิบูลสวัสดิ์ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช พบว่าบางรายเป็นประธานแบงก์ที่มีบริษัทหลักทรัพย์เป็นบริษัทในเครือ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพราะบริษัทหลักทรัพย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของก.ล.ต.
ส่วนบอร์ด ก.ล.ต. ประกอบด้วยนายวิจิตร สุพินิจ (ประธาน) นายสมพล เกียรติไพบูลย์ นายนนทพล นิ่มสมบุญ นายกำชัย จงจักรพันธ์ นางพรรณี สถาวโรดม พล.ต.ต.พรภัทร์ สุยะนันทน์ นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ ยังมีกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ว่าฯ ธปท. ปลัดกระทรวงการคลัง และปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต.เป็นกรรมการและเลขานุการ
สำหรับตัวเลขาฯ คือนายธีระชัย ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะแสดงสปิริตใดๆ เช่นกัน ทั้งๆ ที่ สมัยระบอบทักษิณครองอำนาจ นายธีระชัยถูกมองว่าเป็นคนในระบอบดังกล่าว เห็นได้จากเรื่องอื้อฉาวกรณีซื้อขายหุ้นคนในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์โดยไม่แจ้งตลาด หลีกเลี่ยงภาษี ที่สำคัญ รมว.คลังคนปัจจุบันคือคนที่ยื่นจดหมายเปิดผนึกให้นายธีระชัยตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน กรณีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซีแอสเสท
เล็งเงินคงคลัง-กู้นอกโป๊ะงบ
วันเดียวกัน รมว.คลังให้สัมภาษณ์กับสื่อวิทยุกรณีขาดดุลเพิ่มจาก 3.5 เป็น 4.8 แสนล้านบาท ว่า รัฐบาลจะนำเงินคงคลังมาใช้จ่ายเพื่อชดเชยการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐในปีงบประมาณ 52 ที่ต่ำกว่าเป้าหมายราว 1.2-1.3 แสนล้านบาท ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดไว้ว่า การจัดทำงบประมาณครั้งต่อไปให้ตั้งงบประมาณมาชดเชยเงินคงคลังที่ใช้ไป อีกทั้งจะมีงบที่ใช้ชดเชยดังกล่าวปรากฎในงบกลางปีด้วย
ณ สิ้นเดือน พ.ย.51 เงินคงคลังอยู่ที่ 9.1 หมื่นล้านบาท รมว.คลัง กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวมีเจตนาที่จะสร้างวินัยการคลัง เพราะในอดีตไม่มีการกำหนดมาตรการใดๆ ให้รัฐบาลต้องชดเชยการนำเงินคงคลังมาใช้ และถึงแม้การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็จะไม่สร้างผลกระทบต่อเพดานการก่อหนี้สาธารณะ แต่จะทำให้วงเงินงบประมาณที่จะจัดสรรให้แก่โครงการต่างๆ ในปีงบประมาณ 2553 ถูกปรับลดลง
นอกจากเงินคงคลังแล้ว รัฐบาลยังมีช่องทางในการกู้ยืมเงิน ได้แก่ การเข้าไปค้ำประกันเงินที่จะให้ธ.ก.ส.นำมาใช้ดำเนินโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร การกู้เงินจากต่างประเทศที่มีเพดานอยู่ที่ 10% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย ได้มีการประสานกับธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เป็นปกติอยู่แล้ว ทุกรายก็ยินดีจะเข้ามาช่วยเหลือประเทศไทยในการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ เพราะการออกพันธบัตรในประเทศไม่ได้ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นแค่เปลี่ยนมือเท่านั้น โดยวงเงินกู้จากต่างประเทศที่กำหนดไว้คือ 1.83 แสนล้านบาทต่อปีนั้นยังมีวงเงินเหลืออยู่ราว 1.48 แสนล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้แน่นอน
ในงาน "ศุกร์เศรษฐกิจกับรัฐมนตรีกรณ์ ฟัง คิด ทำ" เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.) ที่กระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 13 ม.ค. การจัดทำงบกลางปีวงเงิน 1 แสนล้านบาท จะได้ข้อสรุปทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดแรก หลังจากนั้นในการประชุม ครม.วันที่ 20 ม.ค. กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นมาตรการชุดที่ 2 นอกจากจะมีมาตรการภาษีที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์แล้ว จะมีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระให้ผู้ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนด้วย
รมว.คลังกล่าวด้วยว่า รัฐบาลยังเตรียมออกกฎหมายการเงินอีก 2 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบัตรเครดิต และการทวงหนี้ เพื่อดูแลให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยเห็นว่า ปัจจุบันกฎหมายเดิมมีอำนาจในการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตที่ยังไม่ชัดเจนและสร้างความไม่เป็นธรรม เช่น การดำเนินธุรกิจของผู้ออกบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคาร (นอนแบงก์) การกำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและการทวงหนี้ กระทรวงการคลังเตรียมเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เร็วๆ นี้ ก่อนนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
"เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ค้างไว้ในสมัยสนช. มีการระดมความเห็นหลายรอบแล้ว และถือเป็นกฎหมายการเงินที่ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแล เป็นกฎหมายที่เข้ามาดูแล ทั้งการทวงหนี้ที่ต้องรักษาเกียรติและสิทธิของลูกหนี้ ขณะเดียวกัน การถือบัตรเครดิตของลูกค้าควรกำหนดชัดเจนว่าควรมีกี่ใบ" นายกรณ์ กล่าวและว่า เตรียมขอความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้มีส่วนช่วยสังคม ด้วยการปรับลดส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ตนมองว่ามีส่วนต่างอยู่มากจนกลายเป็นปัญหาหลักอย่างหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจภาวะปัจจุบัน
รมว.คลังเปิดเผยว่า จากข้อมูล ธปท.พบว่าธนาคารพาณิชย์ยังมีเงินที่สามารถปล่อยกู้ได้อีกกว่า 4 ล้านล้านบาท โดยที่ไม่กระทบเงินกองทุนของธนาคาร แต่ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารได้ประเมินถึงความเสี่ยงที่มีมากขึ้น จึงปล่อยสินเชื่อน้อยลง ประกอบกับผู้ประกอบการลดกำลังการผลิตทำให้กู้สินเชื่อน้อยลง ดังนั้น ในการแก้ปัญหาก็จะพยายามกระตุ้นการบริโภค เพราะปริมาณเงินที่จะปล่อยสินเชื่อยังมีอยู่มาก แต่ความต้องการใช้เงินของประชาชนกลับลดลง
"รัฐบาลยังอยากเห็นสินเชื่อเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แม้จะยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย" นายกรณ์กล่าว
เพิ่มวงเงินรับจำนำสินค้าเกษตร
นายกรณ์กล่าวว่า ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เตรียมเสนอครม.พิจารณาเพิ่มวงเงินรับจำนำสินค้าเกษตรจากวงเงินเดิม 1.1 แสนล้านบาท เนื่องจากพบว่า มีสินค้าเกษตรอื่น เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมันและผลไม้บางชนิดราคาตกต่ำมาก จำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซงช่วยเหลือ ซึ่งวงเงินเดิมไม่เพียงพอจะรับจำนำได้ ส่วนจะเพิ่มอีกจำนวนเท่าไหร่และขอกู้จาก 4 ธนาคาร คือกรุงไทย ออมสิน นครหลวงไทย และทหารไทยอีกหรือไม่ ได้สั่งการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณาอยู่ โดยมีเงื่อนไขว่าแหล่งเงินใหม่จะต้องมีต้นทุนต่ำกว่าเดิมที่ขอกู้จาก 4 แบงก์ที่คิดดอกเบี้ย 4.95% เพราะจะสร้างภาระกับรัฐบาลมากเกินไป
เตรียมรื้อใหญ่บอร์ด ก.ล.ต.
รมว.คลังกล่าวว่า จะพิจารณาปรับเปลี่ยนคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการสรรหาและแต่งตั้งบอร์ด ก.ล.ต.ในก่อนหน้านี้ยังขาดกรรมการอีก 1 คน ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสในการทบทวนบอร์ดใหม่ทั้งชุดทั้งนี้ ก่อนหน้านี้สมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านก็เคยเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนคณะกรรมการ ก.ล.ต.ชุดดังกล่าว เพราะเห็นว่ากระบวนการสรรหาไม่มีความโปร่งใส ดังนั้น ตอนนี้บอร์ดบริหารของก.ล.ต.ขาด 1 คน ก็จะถือโอกาสนี้ในการรื้อบอร์ดทั้งหมด
นายกรณ์เห็นว่าคณะกรรมการคัดเลือกบอร์ด ก.ล.ต. ส่อมีปัญหาในแง่กฎหมายเช่นเดียวกับบอร์ด ธปท. ทั้งนี้ บอร์ดคัดเลือกได้แก่ นายนิพัทธ พุกกะณะสุต นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา นายสมใจนึก เองตระกูล นายชัยวัฒน์ วิบูลสวัสดิ์ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช พบว่าบางรายเป็นประธานแบงก์ที่มีบริษัทหลักทรัพย์เป็นบริษัทในเครือ ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เพราะบริษัทหลักทรัพย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของก.ล.ต.
ส่วนบอร์ด ก.ล.ต. ประกอบด้วยนายวิจิตร สุพินิจ (ประธาน) นายสมพล เกียรติไพบูลย์ นายนนทพล นิ่มสมบุญ นายกำชัย จงจักรพันธ์ นางพรรณี สถาวโรดม พล.ต.ต.พรภัทร์ สุยะนันทน์ นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ ยังมีกรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ว่าฯ ธปท. ปลัดกระทรวงการคลัง และปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต.เป็นกรรมการและเลขานุการ
สำหรับตัวเลขาฯ คือนายธีระชัย ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะแสดงสปิริตใดๆ เช่นกัน ทั้งๆ ที่ สมัยระบอบทักษิณครองอำนาจ นายธีระชัยถูกมองว่าเป็นคนในระบอบดังกล่าว เห็นได้จากเรื่องอื้อฉาวกรณีซื้อขายหุ้นคนในตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์โดยไม่แจ้งตลาด หลีกเลี่ยงภาษี ที่สำคัญ รมว.คลังคนปัจจุบันคือคนที่ยื่นจดหมายเปิดผนึกให้นายธีระชัยตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน กรณีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเอสซีแอสเสท
เล็งเงินคงคลัง-กู้นอกโป๊ะงบ
วันเดียวกัน รมว.คลังให้สัมภาษณ์กับสื่อวิทยุกรณีขาดดุลเพิ่มจาก 3.5 เป็น 4.8 แสนล้านบาท ว่า รัฐบาลจะนำเงินคงคลังมาใช้จ่ายเพื่อชดเชยการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐในปีงบประมาณ 52 ที่ต่ำกว่าเป้าหมายราว 1.2-1.3 แสนล้านบาท ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดไว้ว่า การจัดทำงบประมาณครั้งต่อไปให้ตั้งงบประมาณมาชดเชยเงินคงคลังที่ใช้ไป อีกทั้งจะมีงบที่ใช้ชดเชยดังกล่าวปรากฎในงบกลางปีด้วย
ณ สิ้นเดือน พ.ย.51 เงินคงคลังอยู่ที่ 9.1 หมื่นล้านบาท รมว.คลัง กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวมีเจตนาที่จะสร้างวินัยการคลัง เพราะในอดีตไม่มีการกำหนดมาตรการใดๆ ให้รัฐบาลต้องชดเชยการนำเงินคงคลังมาใช้ และถึงแม้การจัดเก็บรายได้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็จะไม่สร้างผลกระทบต่อเพดานการก่อหนี้สาธารณะ แต่จะทำให้วงเงินงบประมาณที่จะจัดสรรให้แก่โครงการต่างๆ ในปีงบประมาณ 2553 ถูกปรับลดลง
นอกจากเงินคงคลังแล้ว รัฐบาลยังมีช่องทางในการกู้ยืมเงิน ได้แก่ การเข้าไปค้ำประกันเงินที่จะให้ธ.ก.ส.นำมาใช้ดำเนินโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร การกู้เงินจากต่างประเทศที่มีเพดานอยู่ที่ 10% ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย ได้มีการประสานกับธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เป็นปกติอยู่แล้ว ทุกรายก็ยินดีจะเข้ามาช่วยเหลือประเทศไทยในการเพิ่มปริมาณเงินในระบบ เพราะการออกพันธบัตรในประเทศไม่ได้ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นแค่เปลี่ยนมือเท่านั้น โดยวงเงินกู้จากต่างประเทศที่กำหนดไว้คือ 1.83 แสนล้านบาทต่อปีนั้นยังมีวงเงินเหลืออยู่ราว 1.48 แสนล้านบาท ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการใช้แน่นอน