นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานรมว.คลัง (เงา) พร้อมด้วย นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม.ในฐานะ กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฏร ร่วมกันแถลงการดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้ นายกรณ์ กล่าวว่า ในวันพุธ ที่ 27 ส.ค.นี้ พรรคจะมีการเสนอ ร่าง พ.บ.ร. การติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรมต่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา เพื่อให้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภา อย่างรวดเร็วและเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเรื่องนี้ด้วย โดยสาระของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว คือ การทวงหนี้ ต้องติดต่อโดยมีเหตุอันควร และไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ ห้ามไม่ให้ติดต่อทางไปรณียบัตร ห้ามมิให้ใช้ภาษา สัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจ ของผู้ติดตามหนี้บนซองจดหมาย หรือในหนังสือ หรือในสื่ออื่น ที่จะใช้ในการติดต่อสอบถามผู้อื่น ที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่า เป็นการติดต่อมาเพื่อทวงนี้ นอกจากนี้ใน พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการติดตามทวงหนี้ของผู้ติดตามหนี้ เช่น สั่งให้ผู้ติดตามหนี้ยื่นรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการเป็นการทั่วไป หรือเป็นการเฉพาะ รับเรื่องร้องเรียน และพิจารณาวินิจฉัยข้อร้องเรียน ซึ่งมีบทลงโทษให้บุคคลใดไม่ปฎิบัติตามข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ด้านนายชนินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกิดการทวงหนี้ไม่เป็นธรรม และมีลูกหนี้จำนานมากได้รับผลกระทบ มีการใช้ถอยคำไม่สุภาพ เช่น บอกให้ลูกหนี้ไปขายตัวมาใช้หนี้ แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดหรือกฎหมายใดมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้บริษัททวงหนี้มักใช้วิธีผิดกฎหมาย มีการใช้วาจาที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง มีการใช้กำลัง ทำให้เสียชื่อเสียง รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อบุคคลที่สามด้วย
ดังนั้นใน พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะมีการกำหนดให้บริษัทผู้ประกอบการทวงหนี้ต้องมาจดทะเบียน และมีการเข้มงวดกับพนักงานทวงหนี้อย่างเคร่งครัด เชื่อว่าหากกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้จะเกิดผลประโยชน์กับทุกฝ่าย
ทั้งนี้ นายกรณ์ กล่าวว่า ในวันพุธ ที่ 27 ส.ค.นี้ พรรคจะมีการเสนอ ร่าง พ.บ.ร. การติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรมต่อ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภา เพื่อให้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภา อย่างรวดเร็วและเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเรื่องนี้ด้วย โดยสาระของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว คือ การทวงหนี้ ต้องติดต่อโดยมีเหตุอันควร และไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ ห้ามไม่ให้ติดต่อทางไปรณียบัตร ห้ามมิให้ใช้ภาษา สัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจ ของผู้ติดตามหนี้บนซองจดหมาย หรือในหนังสือ หรือในสื่ออื่น ที่จะใช้ในการติดต่อสอบถามผู้อื่น ที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ว่า เป็นการติดต่อมาเพื่อทวงนี้ นอกจากนี้ใน พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสินเชื่อ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการติดตามทวงหนี้ของผู้ติดตามหนี้ เช่น สั่งให้ผู้ติดตามหนี้ยื่นรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการเป็นการทั่วไป หรือเป็นการเฉพาะ รับเรื่องร้องเรียน และพิจารณาวินิจฉัยข้อร้องเรียน ซึ่งมีบทลงโทษให้บุคคลใดไม่ปฎิบัติตามข้อปฏิบัติในการทวงหนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ด้านนายชนินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกิดการทวงหนี้ไม่เป็นธรรม และมีลูกหนี้จำนานมากได้รับผลกระทบ มีการใช้ถอยคำไม่สุภาพ เช่น บอกให้ลูกหนี้ไปขายตัวมาใช้หนี้ แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดหรือกฎหมายใดมาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้บริษัททวงหนี้มักใช้วิธีผิดกฎหมาย มีการใช้วาจาที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง มีการใช้กำลัง ทำให้เสียชื่อเสียง รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อบุคคลที่สามด้วย
ดังนั้นใน พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะมีการกำหนดให้บริษัทผู้ประกอบการทวงหนี้ต้องมาจดทะเบียน และมีการเข้มงวดกับพนักงานทวงหนี้อย่างเคร่งครัด เชื่อว่าหากกฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้จะเกิดผลประโยชน์กับทุกฝ่าย