วุ่นอีกครั้ง "ศรีสุข” ฝันอยากเห็นซิงเกิลแอร์พอร์ต ประกาศดึง 3 สายการบินกลับสุวรรณภูมิทำสนามบินเดี่ยว อ้างเพื่อมิเป็นศูนย์กลางการบิน ให้ดอนเมืองเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุง "นกแอร์-วันทูโก" ค้าน ชี้นโยบายเปลี่ยนไปมา ทำต้นทุนสายการบินพุ่ง ด้านแผนเดิมย้ายเที่ยวบินในประเทศกลับดอนเมืองเพื่อลดแออัดสุวรรณภูมิหลังเปิดใช้แล้วพบมีปัญหามาก โดยจะย้ายกลับไปอีกครั้งหลังหลังเฟส 2 เสร็จ ด้านAOC เตรียมขอลดค่าใช้จ่ายสนามบิน
นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทางอากาศ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านการขนส่งทางอากาศ อาทิ กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) และคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน (AOC) วานนี้ ( 8 ม.ค.) ว่า ได้หารือถึงกรอบการจัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจการบิน การหามาตรการจูงใจให้นักท่องเที่ยวกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน (Hub) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องกลับไปจัดทำรายละเอียดแนวทางการฟื้นฟูเสนอต่อที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ในวันที่ 12 ม.ค. นี้
ทั้งนี้ จะต้องเร่งดำเนินการนโยบายนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่จะผลักดันให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นสนามบินเดี่ยว (Single Airport) รองรับเที่ยวบินพาณิชย์ทั้งหมด ส่วนท่าอากาศยานดอนเมืองจะใช้สำหรับรองรับอุตสาหกรรมการบิน เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานและรองรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) เครื่องบินส่วนตัว (Private Jet) เท่านั้น ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิมีความพร้อมที่จะรับสายการบินทั้งหมด แต่จะย้ายกลับได้เมื่อใดขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายศรีสุขยืนยันว่า การใช้สนามบินสุวรรณภูมิแห่งเดียวจะไม่มีปัญหาเรื่องความแออัดของผู้โดยสารในชั่วโมงคับคั่ง ซึ่งจากขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสุวรรณภูมิปัจจุบันที่ 45 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 10,000 คนต่อชั่วโมง ที่ถือว่าจะทำให้แออัดนั้น ไม่ได้มีจำนวนผู้โดยสาร 10,000 คนตลอดทั้งวัน โดยจะมีผู้โดยสารคับคั่งแค่วันละชั่วโมงเท่านั้นสามารถใช้การบริหารจัดการได้ และการใช้สุวรรณภูมิแห่งเดียว เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารสับสนใจการต่อเครื่องด้วย
ส่วนการผลักดันให้สนามบินดอนเมืองใช้สำหรับอุตสาหกรรมการบินนั้น จะต้องติดต่อเจรจากับผู้ผลิตถึงนโยบายเรื่องนี้ เพื่อให้เข้ามาลงทุน เพราะทอท.จะมีสถานที่ให้ดำเนินการแต่ไม่ได้เป็นผู้ซ่อมเอง ส่วนการบินไทยปัจจุบันก็ใช้ดอนเมืองสำหรับธุรกิจการซ่อมบำรุงอยู่แล้ว
แผนเดิมย้ายกลับฯ หลังเฟส 2
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า นโยบายเรื่อง Single Airport ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงและการย้ายเที่ยวบินภายในประเทศที่ไม่มีผู้โดยสารต่อเครื่องกลับไปใช้สนามบินดอนเมือง เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2550 นั้น ประเด็นหลักคือ ลดความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ และกรณีที่สนามบินสุวรรณภูมิมีข้อบกพร่องหลังการเปิดใช้ เช่น การปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อซ่อมแซมรันเวย์ หรือแท็กซี่เวย์ โดยให้สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินสำรอง ซึ่งมติครม.เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2550 ให้ใช้ทั้งสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิเป็นสนามบินนานาชาติของประเทศไทย
“การย้ายสายการบินที่ใช้ดอนเมืองในขณะนี้กลับไปสุวรรณภูมิอีกครั้งในส่วนของนโยบายจะต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทั้งสายการบินรวมไปถึงผู้โดยสารว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนของสายการบินเพิ่มขึ้นด้วยดังนั้นจึงอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณาและสร้างความชัดเจนก่อนดำเนินการ”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมเคยมีนโยบายให้ 3 สายการบิน คือ การบินไทย นกแอร์ และวันทูโก ซึ่งกลับมาเปิดทำการบินที่สนามบินดอนเมือง ย้ายกลับไปให้บริการ ที่สนามบินสุวรรณภูมิอีกครั้ง ภายหลังการก่อสร้างขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 แล้วเสร็จ ซึ่งทั้ง 3 สายการบิน เห็นด้วยกับแนวนโยบายนี้ เพราะจะทำให้ผู้โดยสาร ได้รับความสะดวกมากที่สุด และการ โยกย้ายฝูงบินที่ให้บริการที่ดอนเมืองกลับมาสุวรรณภูมิสามารถดำเนินการได้ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีแผนปฎิบัติการพิเศษอย่างใด เพียงแต่มีการย้ายอุปกรณ์เครื่องมือ ทำการบินกลับเท่านั้น แต่ขอให้นโยบายมีความชัดเจนและนิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในอนาคตอีก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนนโยบายด้วย
สุวรรณภูมิพร้อมรับ 3 สายกลับ
ด้าน นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ทอท.กล่าวว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพร้อมให้บริการ 3 สายการบินที่จะย้ายกลับมาทันที ซึ่งขึ้นอยู่กับสายการบินว่าจะพร้อมย้ายเมื่อใด โดยจะมีการปรับระบบการเช็คดินเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โยสารภายในประเทศที่ย้ายกลับมาเท่านั้น ส่วนการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 จะเสนอเข้าครม.อีกครั้งเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่ เลขาธิการนายกฯ ส่งเรื่องกลับมายังกระทรวงคมนาคม หลังการเปลี่ยนรัฐบาล
พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักเลขานุการ บริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า ขณะนี้การบินไทยจะต้องหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแผนความพร้อม ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุกรอบเวลาได้คาดว่าจะสามารถสรุปได้เร็วๆนี้
นกแอร์ค้านนโยบายโลเล ทำต้นทุนเพิ่ม
ด้านนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ กล่าวถึงนโยบายที่จะให้ย้ายสายการบินในประเทศกลับไปให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ ว่า สายการบินนกแอร์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวและหากมีการผลักดันให้ย้ายไปใช้สุวรรณภูมิโดยไม่มีความพร้อมก็คงจะต้องคัดค้านเต็มที่ และพร้อมจะชี้แจงเหตุผลและทำความเข้าใจกับนายศรีสุข จันทรางศุ ประธานคณะทำงานฯ ว่าการที่จะให้สายการบินย้ายกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในขณะนี้จะมีผลเสียถึง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.ต้นทุนในการย้ายฐานปฏิบัติการบินที่สายการบิน ในแต่ละครั้งสูงถึง 20 ล้านบาท โดยเมื่อครั้งที่สายการบินนกแอร์ย้ายจากสนามบินสุวรรณภูมิมายังดอนเมือง สายการบินนกแอร์ก็ต้องแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวเองและหากต้องย้ายกลับ สุวรรณภูมิอีกครั้ง ใครจะเป็นรับผิดชอบต้นทุนส่วนนี้ 2.ในส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิเองขณะนี้ก็ยังไม่มีความพร้อมหากจะมีเที่ยวบินไปทำการบินขึ้น-ลงเพิ่มขึ้น และ 3 .ในช่วงที่อุตสาหกรรมการบินประสบวิกฤติในการให้บริการนั้น ภาครัฐควรหาแนวทางให้ภาคเอกชน และสายการบินต่าง ๆ สามารถลดต้นทุนในการบริหารงานมากกว่าที่จะเปลี่ยนนโยบายไป-มาและทำให้เอกชนต้องมีต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
ด้านนายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินวันทูโก กล่าวว่า วันทูโกพร้อมทำตามนโยบายแต่รัฐบาลต้องมีความชีดเจน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่
เร่งสร้างความมั่นใจฟื้นฟูธุรกิจ
นายศรีสุขกล่าวถึงการจัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจการบินว่า ในส่วนของการบินไทย รวมถึงการดึงนักท่องเที่ยวให้กลับมาท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งครั้งเป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากรมว.คมนาคม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ สามารถเสนอแผนงานและความเห็น เพื่อนำข้อมูลแต่ละฝ่ายมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ และมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการบินที่มีประสิทธิภาพอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ
โดยเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ คือการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวเดินทางกลับเข้าประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ซึ่งหลังจากที่มีการประชุม work shop ไปแล้ว จะมีการแจ้งไปยังสายการบินต่างประเทศให้รับทราบ และจัดสัมมนาภาคธุรกิจการบินเพื่อเร่งสร้างความมั่นใจ แต่ยังไม่กำหนดเป้าหมายว่าจะสามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้เมื่อใด อย่างไรก็ตาม จะมีการติดตามประเมินผลในทุก ๆ เดือน และหากมาตรการไม่ได้ผลก็จะต้องมีการปรับแผน หรือมีมาตรการอื่น ๆ มาเสริม
AOCเสนอ ทอท.ลดค่าใช้จ่ายสนามบิน
นายชัยวัฒน์ นวราช ประธานคณะกรรมการคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน (AOC) กล่าวว่า ในภาพรวมขณะนี้สายการบินยังคงได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงเฉลี่ยประมาณ 20% เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งการปิดสนามบินและปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่ง AOC จะเสนอต่อที่ประชุม work shop วันที่ 12 ม.ค.นี้ ให้ทอท.เร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการที่สุวรรณภูมิให้มีปัญหาน้อยที่สุด รวมทั้งลดค่า Operation Cost ให้กับสายการบิน เพื่อให้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ลดลงนี้ไปใช้ในการทำกิจกรรมหรือโปรโมชั่นที่ส่งเสริมในการจูงใจผู้โดยสารให้มากขึ้น และที่สำคัญคือทอท.ต้องเร่งสร้างความมั่นใจว่ามีมาตรการอะไรบ้างที่จะไม่ทำให้เกิดการปิดสนามบินหรือทำให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินงานของสายการบิน ไม่ว่ากรณีใดๆ อีกต่อจากนี้
นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทางอากาศ เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านการขนส่งทางอากาศ อาทิ กรมการขนส่งทางอากาศ (ขอ.) บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) และคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน (AOC) วานนี้ ( 8 ม.ค.) ว่า ได้หารือถึงกรอบการจัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจการบิน การหามาตรการจูงใจให้นักท่องเที่ยวกลับมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน (Hub) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องกลับไปจัดทำรายละเอียดแนวทางการฟื้นฟูเสนอต่อที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) ในวันที่ 12 ม.ค. นี้
ทั้งนี้ จะต้องเร่งดำเนินการนโยบายนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่จะผลักดันให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นสนามบินเดี่ยว (Single Airport) รองรับเที่ยวบินพาณิชย์ทั้งหมด ส่วนท่าอากาศยานดอนเมืองจะใช้สำหรับรองรับอุตสาหกรรมการบิน เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานและรองรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) เครื่องบินส่วนตัว (Private Jet) เท่านั้น ซึ่งสนามบินสุวรรณภูมิมีความพร้อมที่จะรับสายการบินทั้งหมด แต่จะย้ายกลับได้เมื่อใดขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายศรีสุขยืนยันว่า การใช้สนามบินสุวรรณภูมิแห่งเดียวจะไม่มีปัญหาเรื่องความแออัดของผู้โดยสารในชั่วโมงคับคั่ง ซึ่งจากขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของสุวรรณภูมิปัจจุบันที่ 45 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 10,000 คนต่อชั่วโมง ที่ถือว่าจะทำให้แออัดนั้น ไม่ได้มีจำนวนผู้โดยสาร 10,000 คนตลอดทั้งวัน โดยจะมีผู้โดยสารคับคั่งแค่วันละชั่วโมงเท่านั้นสามารถใช้การบริหารจัดการได้ และการใช้สุวรรณภูมิแห่งเดียว เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารสับสนใจการต่อเครื่องด้วย
ส่วนการผลักดันให้สนามบินดอนเมืองใช้สำหรับอุตสาหกรรมการบินนั้น จะต้องติดต่อเจรจากับผู้ผลิตถึงนโยบายเรื่องนี้ เพื่อให้เข้ามาลงทุน เพราะทอท.จะมีสถานที่ให้ดำเนินการแต่ไม่ได้เป็นผู้ซ่อมเอง ส่วนการบินไทยปัจจุบันก็ใช้ดอนเมืองสำหรับธุรกิจการซ่อมบำรุงอยู่แล้ว
แผนเดิมย้ายกลับฯ หลังเฟส 2
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า นโยบายเรื่อง Single Airport ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงและการย้ายเที่ยวบินภายในประเทศที่ไม่มีผู้โดยสารต่อเครื่องกลับไปใช้สนามบินดอนเมือง เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2550 นั้น ประเด็นหลักคือ ลดความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ และกรณีที่สนามบินสุวรรณภูมิมีข้อบกพร่องหลังการเปิดใช้ เช่น การปิดพื้นที่บางส่วนเพื่อซ่อมแซมรันเวย์ หรือแท็กซี่เวย์ โดยให้สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินสำรอง ซึ่งมติครม.เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2550 ให้ใช้ทั้งสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิเป็นสนามบินนานาชาติของประเทศไทย
“การย้ายสายการบินที่ใช้ดอนเมืองในขณะนี้กลับไปสุวรรณภูมิอีกครั้งในส่วนของนโยบายจะต้องมีความชัดเจนมากกว่านี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทั้งสายการบินรวมไปถึงผู้โดยสารว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในส่วนของสายการบินเพิ่มขึ้นด้วยดังนั้นจึงอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณาและสร้างความชัดเจนก่อนดำเนินการ”แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมเคยมีนโยบายให้ 3 สายการบิน คือ การบินไทย นกแอร์ และวันทูโก ซึ่งกลับมาเปิดทำการบินที่สนามบินดอนเมือง ย้ายกลับไปให้บริการ ที่สนามบินสุวรรณภูมิอีกครั้ง ภายหลังการก่อสร้างขยายสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2 แล้วเสร็จ ซึ่งทั้ง 3 สายการบิน เห็นด้วยกับแนวนโยบายนี้ เพราะจะทำให้ผู้โดยสาร ได้รับความสะดวกมากที่สุด และการ โยกย้ายฝูงบินที่ให้บริการที่ดอนเมืองกลับมาสุวรรณภูมิสามารถดำเนินการได้ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีแผนปฎิบัติการพิเศษอย่างใด เพียงแต่มีการย้ายอุปกรณ์เครื่องมือ ทำการบินกลับเท่านั้น แต่ขอให้นโยบายมีความชัดเจนและนิ่ง เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในอนาคตอีก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนนโยบายด้วย
สุวรรณภูมิพร้อมรับ 3 สายกลับ
ด้าน นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ทอท.กล่าวว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพร้อมให้บริการ 3 สายการบินที่จะย้ายกลับมาทันที ซึ่งขึ้นอยู่กับสายการบินว่าจะพร้อมย้ายเมื่อใด โดยจะมีการปรับระบบการเช็คดินเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โยสารภายในประเทศที่ย้ายกลับมาเท่านั้น ส่วนการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 จะเสนอเข้าครม.อีกครั้งเร็ว ๆ นี้ หลังจากที่ เลขาธิการนายกฯ ส่งเรื่องกลับมายังกระทรวงคมนาคม หลังการเปลี่ยนรัฐบาล
พลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักเลขานุการ บริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย กล่าวว่า ขณะนี้การบินไทยจะต้องหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแผนความพร้อม ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุกรอบเวลาได้คาดว่าจะสามารถสรุปได้เร็วๆนี้
นกแอร์ค้านนโยบายโลเล ทำต้นทุนเพิ่ม
ด้านนายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินนกแอร์ กล่าวถึงนโยบายที่จะให้ย้ายสายการบินในประเทศกลับไปให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ ว่า สายการบินนกแอร์ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวและหากมีการผลักดันให้ย้ายไปใช้สุวรรณภูมิโดยไม่มีความพร้อมก็คงจะต้องคัดค้านเต็มที่ และพร้อมจะชี้แจงเหตุผลและทำความเข้าใจกับนายศรีสุข จันทรางศุ ประธานคณะทำงานฯ ว่าการที่จะให้สายการบินย้ายกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในขณะนี้จะมีผลเสียถึง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.ต้นทุนในการย้ายฐานปฏิบัติการบินที่สายการบิน ในแต่ละครั้งสูงถึง 20 ล้านบาท โดยเมื่อครั้งที่สายการบินนกแอร์ย้ายจากสนามบินสุวรรณภูมิมายังดอนเมือง สายการบินนกแอร์ก็ต้องแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวเองและหากต้องย้ายกลับ สุวรรณภูมิอีกครั้ง ใครจะเป็นรับผิดชอบต้นทุนส่วนนี้ 2.ในส่วนของสนามบินสุวรรณภูมิเองขณะนี้ก็ยังไม่มีความพร้อมหากจะมีเที่ยวบินไปทำการบินขึ้น-ลงเพิ่มขึ้น และ 3 .ในช่วงที่อุตสาหกรรมการบินประสบวิกฤติในการให้บริการนั้น ภาครัฐควรหาแนวทางให้ภาคเอกชน และสายการบินต่าง ๆ สามารถลดต้นทุนในการบริหารงานมากกว่าที่จะเปลี่ยนนโยบายไป-มาและทำให้เอกชนต้องมีต้นทุนสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
ด้านนายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการบินวันทูโก กล่าวว่า วันทูโกพร้อมทำตามนโยบายแต่รัฐบาลต้องมีความชีดเจน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่
เร่งสร้างความมั่นใจฟื้นฟูธุรกิจ
นายศรีสุขกล่าวถึงการจัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจการบินว่า ในส่วนของการบินไทย รวมถึงการดึงนักท่องเที่ยวให้กลับมาท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งครั้งเป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากรมว.คมนาคม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ สามารถเสนอแผนงานและความเห็น เพื่อนำข้อมูลแต่ละฝ่ายมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ และมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการบินที่มีประสิทธิภาพอำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ
โดยเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ คือการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวเดินทางกลับเข้าประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย ซึ่งหลังจากที่มีการประชุม work shop ไปแล้ว จะมีการแจ้งไปยังสายการบินต่างประเทศให้รับทราบ และจัดสัมมนาภาคธุรกิจการบินเพื่อเร่งสร้างความมั่นใจ แต่ยังไม่กำหนดเป้าหมายว่าจะสามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้เมื่อใด อย่างไรก็ตาม จะมีการติดตามประเมินผลในทุก ๆ เดือน และหากมาตรการไม่ได้ผลก็จะต้องมีการปรับแผน หรือมีมาตรการอื่น ๆ มาเสริม
AOCเสนอ ทอท.ลดค่าใช้จ่ายสนามบิน
นายชัยวัฒน์ นวราช ประธานคณะกรรมการคณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบิน (AOC) กล่าวว่า ในภาพรวมขณะนี้สายการบินยังคงได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้โดยสารที่ลดลงเฉลี่ยประมาณ 20% เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งการปิดสนามบินและปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่ง AOC จะเสนอต่อที่ประชุม work shop วันที่ 12 ม.ค.นี้ ให้ทอท.เร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการที่สุวรรณภูมิให้มีปัญหาน้อยที่สุด รวมทั้งลดค่า Operation Cost ให้กับสายการบิน เพื่อให้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ลดลงนี้ไปใช้ในการทำกิจกรรมหรือโปรโมชั่นที่ส่งเสริมในการจูงใจผู้โดยสารให้มากขึ้น และที่สำคัญคือทอท.ต้องเร่งสร้างความมั่นใจว่ามีมาตรการอะไรบ้างที่จะไม่ทำให้เกิดการปิดสนามบินหรือทำให้เกิดผลกระทบกับการดำเนินงานของสายการบิน ไม่ว่ากรณีใดๆ อีกต่อจากนี้