ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2552 ได้สรุปตัวเลขอุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตราย ตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2551 ถึง 5 ม.ค. 2552 พบว่ามียอดรวมประชาชนต้องเสียชีวิตทั้งสิ้น 367 ราย ยอดบาดเจ็บรวม 4,107 ราย และมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งหมดทั่วประเทศ 3,824 ครั้ง
เป็นยอดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ของชาติจำนวนมากยิ่งกว่ายอดการสูญเสียของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเป็นจำนวนการสูญเสียมากยิ่งกว่าการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาในรอบปีที่ผ่านมา
แม้ว่าการสะสมและจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตรายที่ผ่านมาจะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนก็ตาม แต่สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดยังคงเป็นเรื่อง “การเมาสุราและขับรถเร็วเกินกำหนด”
นอกจากการสูญเสียจำนวนมหาศาลจากอุบัติเหตุในการเดินทางแล้ว ปีนี้ยังต้องมีประชาชนต้องสูญเสียจากอัคคีภัยอีกด้วย
31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เกิดเพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 70 คน บาดเจ็บ เกือบ 200 ราย และบาดเจ็บสาหัสอยู่ในห้องไอซียู 34 ราย
4 มกราคม พ.ศ. 2552 เกิดเพลิงไหม้ที่อาคารเสือป่าพลาซ่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 46 ราย
6 มกราคม พ.ศ. 2552 รถเมล์ปรับอากาศถูกเพลิงไหม้จำนวน 8 คัน
กรณีเพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ นั้นได้เกิดการสูญเสียมากที่สุด สังคมจึงให้ความสนใจมากที่สุด
2 มกราคม พ.ศ. 2552 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหากับเจ้าของกิจการ ในความผิดฐานให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ”
คิดดูเอาเถิดว่าเรื่องใหญ่โตถึงขนาดมีผู้เสียชีวิตเกือบ 70 คน และบาดเจ็บร่วม 200 คน จากเพลิงไหม้ในสถานบริการ มีคลิปวิดีโอแสดงให้เห็นถึงการจัดกิจกรรมให้มีการยิงกระดาษอัดและไฟเย็นในสถานที่ปิด มีวัสดุอุปกรณ์ที่ไวไฟกลายสภาพเป็นก๊าซพิษ หัวฉีดน้ำนิรภัยไม่ทำงาน ทางเข้าออกจำกัด แต่กลับ สนใจเบื้องต้นเพียงแค่การแจ้งข้อกล่าวหากับเจ้าของกิจการในความผิดฐานให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ
เอาแค่เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลยให้สถานบริการแห่งนี้เปิดให้บริการได้สำเร็จก็ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่แล้ว การหยิบยกข้อหาที่ไม่ใช่สาระสำคัญที่สุดแห่งคดีมาดำเนินการกล่าวหาก่อน ย่อมทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจผับแห่งนี้ได้ทำเงินและมีผลประโยชน์อย่างมหาศาล
คดีนี้มีประเด็นสำคัญในเรื่องการเกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เปิดบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้สถานที่ที่ไม่ได้มีการป้องกันอันตรายตามมาตรฐานจนเกิดเพลิงไหม้ และที่สำคัญจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องที่ปล่อยปละละเลยให้สถานที่แห่งนี้เปิดบริการทั้งๆ ที่ไม่มีความปลอดภัยและเสี่ยงต่ออันตรายหรือไม่?
ประเด็นนี้สำคัญยิ่งกว่าความผิดฐานให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการมิใช่หรอกหรือ?
ในอีกกรณีหนึ่งที่เกิดเพลิงไหม้ที่เสือป่าพลาซ่า ก็มีการให้ข่าวโดย พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ว่ามีการทำประกันภัยเอาไว้ 200 ล้านบาท และตั้งหนึ่งในข้อสงสัยหลายประเด็นว่าเป็นการวางเพลิงเองหรือไม่? และยังมีคนไปปล่อยข่าวว่ามีการก่อสร้างไม่ถูกต้อง มีการวิ่งเต้นเพื่อเปิดใช้อาคาร ซึ่งข่าวในลักษณะนี้จะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทประกันภัยหรือไม่? เพราะถ้ามีผลสรุปว่าเป็นการวางเพลิงเองเพื่อหวังเอาประกัน บริษัทประกันภัยก็ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมแม้แต่บาทเดียว
ในขณะที่กรณีประกันภัยที่ ซานติก้า ผับ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ กลับให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นในเรื่องประกันภัยว่า “ประเด็นเอาประกันคงไม่ขนาดนั้น เพราะคนเป็นพัน มันเสี่ยง ส่วนจะมีประกันที่ใด ให้ลูกน้องไปตรวจสอบข้อเท็จจริง”
2 กรณีเปรียบเทียบกันดู!
เพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ มีคนตายเกือบ 70 ราย มีการสูญเสียชีวิตคนมากกว่า เสือป่าพลาซ่า ที่มีการสูญเสียชีวิต 1 ราย
ตามหลักฐานที่ปรากฏ เพลิงไหม้ที่ซานติก้า ผับ มีภาพเป็นคลิปวิดีโอจากกล้องมือถือแสดงให้เห็นถึงการจัดกิจกรรมจุดประกายไฟ ไฟเย็น และกระดาษอัดในพื้นที่ปิดมืดด้วยความประมาทและคึกคะนอง ในขณะที่ เสือป่าพลาซ่า ไม่มีภาพปรากฏหลักฐานใดๆ ในเบื้องต้นว่าเพลิงไหม้เกิดจากสาเหตุใด
เพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ ในคืนสุดท้ายก่อนปิดกิจการมีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ผู้ประกอบการถูกตั้งข้อหาเบื้องต้นเพียงแค่ปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และไม่สงสัยเรื่องการเอาประกัน ในขณะที่ส่วนเสือป่าพลาซ่าถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการวางเพลิงเอาประกันหรือไม่?
เรื่องแปลกๆ แบบนี้มีให้เห็นอยู่เสมอภายใต้การดูแลของ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์
เหมือนกับกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปชุมนุมที่หน้ารัฐสภาด้วยความสงบกลับถูกตำรวจยิงระเบิดแก๊สน้ำตา และอาวุธปืนยิงเข้าใส่จนมีการเสียชีวิต พิการแขนขาขาดและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ในขณะที่กลุ่ม นปช.ไปชุมนุมที่หน้ารัฐสภาในวันเลือกนายกรัฐมนตรีเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับปล่อยให้ประชาชนเสื้อแดงรุมใช้ก้อนหินขว้างใส่รถของ ส.ส.อย่างบ้าคลั่ง โดยตำรวจใช้วิธีจัดฉากแก้เกี้ยวว่าเหตุการณ์ในวันนั้น ตำรวจได้จับกุมผู้กระทำความผิดแล้ว “ตั้ง 1 คน”
เหมือนกับกรณีที่แกนนำและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 9 คน ได้เข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลถูกข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอยว่าเป็นกบฏ ในขณะที่กลุ่ม นปช. ไปปิดล้อมที่หน้าอาคารรัฐสภาไม่ให้รถของ ส.ส.เข้าประชุม กลับไม่ถูกตั้งข้อหาว่ากบฏอ้างว่าเพราะเปิดช่องทางให้ ส.ส.เดินเท้าเข้าได้ (โดยไม่รับประกันความปลอดภัย)
เหมือนกับกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปชุมนุมที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในขณะที่กลุ่มที่ยิงระเบิด M 79 เข้าใส่ผู้ชุมนุมกลับไม่ถูกจับกุม และไม่เคยถูกเรียกว่าเป็นผู้ก่อการร้ายจากฝ่ายตำรวจ
เหมือนกับกรณีที่ร้านค้าและผู้สนับสนุนการเงินในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถูกตำรวจยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตรวจสอบในข้อหาฟอกเงินสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ในขณะที่ผู้สนับสนุนทางการเงินของ นปช. และกลุ่มที่สนับสนุนการเงินให้มีการยิงระเบิดใส่ผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลับไม่เคยถูกตรวจสอบและไม่เคยถูกจับกุม
โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะโยงใยให้สังคมเข้าใจผิดว่าพฤติกรรมของ นปช. และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เหมือนกัน ดังนั้นการใช้มาตรการต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ผ่านมาจึงเป็นสิ่งที่สมควรแล้ว
แม้ภาพในเบื้องต้นกลุ่ม นปช. มักไม่ค่อยมีสมองที่จะคิดสร้างสรรค์ในการชุมนุมให้เป็นตัวของตัวเอง เอาแต่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่เนื้อแท้และแก่นสารของการเคลื่อนไหวนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดมั่นตามหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกบัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญ และเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และต่อสู้เพื่อให้คนขี้โกงขี้ฉ้อมาลงโทษให้ถึงที่สุด
ความชอบธรรมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้รับการพิสูจน์ด้วยคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ในข้อหาทุจริตการเลือกตั้ง และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกพิพากษาโดยศาลฎีกาให้จำคุกเพราะกระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง
ในขณะที่ นปช. ที่อ้างว่าต่อต้านเผด็จการ กลับต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความป่าเถื่อนและสะใจถ้าพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นรัฐบาล ไม่ว่าการจัดตั้งรัฐบาลนั้นจะอยู่ภายใต้ระบบรัฐสภาและกรอบของรัฐธรรมนูญก็ตาม
นปช. จะไม่เคยพูดถึงการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ และอ้างว่าการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์นั้นเป็นการปล้นประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะลืมไปแล้วว่าพรรคการเมืองที่เคยร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนนั้น ต่างแยกแตกตัวออกมายืนตรงข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งสิ้น ใช่หรือไม่?
สำหรับตำรวจไทยจะแกล้งโง่ หรือโง่จริงๆ ที่ไม่สามารถแยกแยะเรื่องเหล่านี้ได้ว่าใครกันแน่เป็นผู้ก่อการร้าย จึงได้ดำเนินการผิดทิศผิดทางไปเกือบตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยรอดพ้นจากการเมืองที่ล้มเหลวได้ เบื้องต้นต้องล้มโครงสร้างรัฐตำรวจ ปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และต้องปฏิรูปสื่อมวลชนให้ประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด และพร้อมนำเสนอความขัดแย้งทางข้อมูลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ตราบใดที่สื่อมวลชนของรัฐ และตำรวจ ยังไม่เริ่มต้นขึ้น การเมืองที่ล้มเหลวจะไม่มีทางถูกกำจัดไปจากประเทศไทยได้!
เป็นยอดการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ของชาติจำนวนมากยิ่งกว่ายอดการสูญเสียของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเป็นจำนวนการสูญเสียมากยิ่งกว่าการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาในรอบปีที่ผ่านมา
แม้ว่าการสะสมและจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วันอันตรายที่ผ่านมาจะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนก็ตาม แต่สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดยังคงเป็นเรื่อง “การเมาสุราและขับรถเร็วเกินกำหนด”
นอกจากการสูญเสียจำนวนมหาศาลจากอุบัติเหตุในการเดินทางแล้ว ปีนี้ยังต้องมีประชาชนต้องสูญเสียจากอัคคีภัยอีกด้วย
31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เกิดเพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ มีผู้เสียชีวิตประมาณ 70 คน บาดเจ็บ เกือบ 200 ราย และบาดเจ็บสาหัสอยู่ในห้องไอซียู 34 ราย
4 มกราคม พ.ศ. 2552 เกิดเพลิงไหม้ที่อาคารเสือป่าพลาซ่า มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 46 ราย
6 มกราคม พ.ศ. 2552 รถเมล์ปรับอากาศถูกเพลิงไหม้จำนวน 8 คัน
กรณีเพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ นั้นได้เกิดการสูญเสียมากที่สุด สังคมจึงให้ความสนใจมากที่สุด
2 มกราคม พ.ศ. 2552 พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “เบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหากับเจ้าของกิจการ ในความผิดฐานให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ”
คิดดูเอาเถิดว่าเรื่องใหญ่โตถึงขนาดมีผู้เสียชีวิตเกือบ 70 คน และบาดเจ็บร่วม 200 คน จากเพลิงไหม้ในสถานบริการ มีคลิปวิดีโอแสดงให้เห็นถึงการจัดกิจกรรมให้มีการยิงกระดาษอัดและไฟเย็นในสถานที่ปิด มีวัสดุอุปกรณ์ที่ไวไฟกลายสภาพเป็นก๊าซพิษ หัวฉีดน้ำนิรภัยไม่ทำงาน ทางเข้าออกจำกัด แต่กลับ สนใจเบื้องต้นเพียงแค่การแจ้งข้อกล่าวหากับเจ้าของกิจการในความผิดฐานให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการ
เอาแค่เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลยให้สถานบริการแห่งนี้เปิดให้บริการได้สำเร็จก็ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่แล้ว การหยิบยกข้อหาที่ไม่ใช่สาระสำคัญที่สุดแห่งคดีมาดำเนินการกล่าวหาก่อน ย่อมทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจผับแห่งนี้ได้ทำเงินและมีผลประโยชน์อย่างมหาศาล
คดีนี้มีประเด็นสำคัญในเรื่องการเกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก เปิดบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้สถานที่ที่ไม่ได้มีการป้องกันอันตรายตามมาตรฐานจนเกิดเพลิงไหม้ และที่สำคัญจะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องที่ปล่อยปละละเลยให้สถานที่แห่งนี้เปิดบริการทั้งๆ ที่ไม่มีความปลอดภัยและเสี่ยงต่ออันตรายหรือไม่?
ประเด็นนี้สำคัญยิ่งกว่าความผิดฐานให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เข้าไปในสถานบริการมิใช่หรอกหรือ?
ในอีกกรณีหนึ่งที่เกิดเพลิงไหม้ที่เสือป่าพลาซ่า ก็มีการให้ข่าวโดย พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ว่ามีการทำประกันภัยเอาไว้ 200 ล้านบาท และตั้งหนึ่งในข้อสงสัยหลายประเด็นว่าเป็นการวางเพลิงเองหรือไม่? และยังมีคนไปปล่อยข่าวว่ามีการก่อสร้างไม่ถูกต้อง มีการวิ่งเต้นเพื่อเปิดใช้อาคาร ซึ่งข่าวในลักษณะนี้จะเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทประกันภัยหรือไม่? เพราะถ้ามีผลสรุปว่าเป็นการวางเพลิงเองเพื่อหวังเอาประกัน บริษัทประกันภัยก็ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมแม้แต่บาทเดียว
ในขณะที่กรณีประกันภัยที่ ซานติก้า ผับ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ กลับให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นในเรื่องประกันภัยว่า “ประเด็นเอาประกันคงไม่ขนาดนั้น เพราะคนเป็นพัน มันเสี่ยง ส่วนจะมีประกันที่ใด ให้ลูกน้องไปตรวจสอบข้อเท็จจริง”
2 กรณีเปรียบเทียบกันดู!
เพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ มีคนตายเกือบ 70 ราย มีการสูญเสียชีวิตคนมากกว่า เสือป่าพลาซ่า ที่มีการสูญเสียชีวิต 1 ราย
ตามหลักฐานที่ปรากฏ เพลิงไหม้ที่ซานติก้า ผับ มีภาพเป็นคลิปวิดีโอจากกล้องมือถือแสดงให้เห็นถึงการจัดกิจกรรมจุดประกายไฟ ไฟเย็น และกระดาษอัดในพื้นที่ปิดมืดด้วยความประมาทและคึกคะนอง ในขณะที่ เสือป่าพลาซ่า ไม่มีภาพปรากฏหลักฐานใดๆ ในเบื้องต้นว่าเพลิงไหม้เกิดจากสาเหตุใด
เพลิงไหม้ที่ ซานติก้า ผับ ในคืนสุดท้ายก่อนปิดกิจการมีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ผู้ประกอบการถูกตั้งข้อหาเบื้องต้นเพียงแค่ปล่อยให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และไม่สงสัยเรื่องการเอาประกัน ในขณะที่ส่วนเสือป่าพลาซ่าถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นการวางเพลิงเอาประกันหรือไม่?
เรื่องแปลกๆ แบบนี้มีให้เห็นอยู่เสมอภายใต้การดูแลของ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์
เหมือนกับกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปชุมนุมที่หน้ารัฐสภาด้วยความสงบกลับถูกตำรวจยิงระเบิดแก๊สน้ำตา และอาวุธปืนยิงเข้าใส่จนมีการเสียชีวิต พิการแขนขาขาดและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ในขณะที่กลุ่ม นปช.ไปชุมนุมที่หน้ารัฐสภาในวันเลือกนายกรัฐมนตรีเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับปล่อยให้ประชาชนเสื้อแดงรุมใช้ก้อนหินขว้างใส่รถของ ส.ส.อย่างบ้าคลั่ง โดยตำรวจใช้วิธีจัดฉากแก้เกี้ยวว่าเหตุการณ์ในวันนั้น ตำรวจได้จับกุมผู้กระทำความผิดแล้ว “ตั้ง 1 คน”
เหมือนกับกรณีที่แกนนำและแนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 9 คน ได้เข้าไปชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลถูกข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอยว่าเป็นกบฏ ในขณะที่กลุ่ม นปช. ไปปิดล้อมที่หน้าอาคารรัฐสภาไม่ให้รถของ ส.ส.เข้าประชุม กลับไม่ถูกตั้งข้อหาว่ากบฏอ้างว่าเพราะเปิดช่องทางให้ ส.ส.เดินเท้าเข้าได้ (โดยไม่รับประกันความปลอดภัย)
เหมือนกับกรณีที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไปชุมนุมที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในขณะที่กลุ่มที่ยิงระเบิด M 79 เข้าใส่ผู้ชุมนุมกลับไม่ถูกจับกุม และไม่เคยถูกเรียกว่าเป็นผู้ก่อการร้ายจากฝ่ายตำรวจ
เหมือนกับกรณีที่ร้านค้าและผู้สนับสนุนการเงินในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถูกตำรวจยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตรวจสอบในข้อหาฟอกเงินสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ในขณะที่ผู้สนับสนุนทางการเงินของ นปช. และกลุ่มที่สนับสนุนการเงินให้มีการยิงระเบิดใส่ผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลับไม่เคยถูกตรวจสอบและไม่เคยถูกจับกุม
โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามจะโยงใยให้สังคมเข้าใจผิดว่าพฤติกรรมของ นปช. และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็เหมือนกัน ดังนั้นการใช้มาตรการต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ผ่านมาจึงเป็นสิ่งที่สมควรแล้ว
แม้ภาพในเบื้องต้นกลุ่ม นปช. มักไม่ค่อยมีสมองที่จะคิดสร้างสรรค์ในการชุมนุมให้เป็นตัวของตัวเอง เอาแต่จะเลียนแบบการเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่เนื้อแท้และแก่นสารของการเคลื่อนไหวนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยึดมั่นตามหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกบัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญ และเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และต่อสู้เพื่อให้คนขี้โกงขี้ฉ้อมาลงโทษให้ถึงที่สุด
ความชอบธรรมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้รับการพิสูจน์ด้วยคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบ 3 พรรคการเมือง ในข้อหาทุจริตการเลือกตั้ง และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกพิพากษาโดยศาลฎีกาให้จำคุกเพราะกระทำผิดกฎหมายบ้านเมือง
ในขณะที่ นปช. ที่อ้างว่าต่อต้านเผด็จการ กลับต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความป่าเถื่อนและสะใจถ้าพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นรัฐบาล ไม่ว่าการจัดตั้งรัฐบาลนั้นจะอยู่ภายใต้ระบบรัฐสภาและกรอบของรัฐธรรมนูญก็ตาม
นปช. จะไม่เคยพูดถึงการทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ และอ้างว่าการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์นั้นเป็นการปล้นประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่กลุ่มคนเหล่านี้อาจจะลืมไปแล้วว่าพรรคการเมืองที่เคยร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนนั้น ต่างแยกแตกตัวออกมายืนตรงข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งสิ้น ใช่หรือไม่?
สำหรับตำรวจไทยจะแกล้งโง่ หรือโง่จริงๆ ที่ไม่สามารถแยกแยะเรื่องเหล่านี้ได้ว่าใครกันแน่เป็นผู้ก่อการร้าย จึงได้ดำเนินการผิดทิศผิดทางไปเกือบตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยรอดพ้นจากการเมืองที่ล้มเหลวได้ เบื้องต้นต้องล้มโครงสร้างรัฐตำรวจ ปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และต้องปฏิรูปสื่อมวลชนให้ประชาชนได้รับรู้ข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด และพร้อมนำเสนอความขัดแย้งทางข้อมูลได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ตราบใดที่สื่อมวลชนของรัฐ และตำรวจ ยังไม่เริ่มต้นขึ้น การเมืองที่ล้มเหลวจะไม่มีทางถูกกำจัดไปจากประเทศไทยได้!