ASTVผู้จัดการรายวัน – สทท.ส่งหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ขอผ่อนชำระภาษีทุกประเภท อ้างเพื่อให้ผู้ประกอบการนำเงินที่จะต้องเสียภาษีไปเสริมสภาคล่องธุรกิจ โดยรัฐไม่ต้องควักกระเป๋า พร้อม ระบุไม่เห็นด้วยกับมาตรการขยายวงเงินสินเชื่อให้แก่ภาคเอกชน แต่ควรเน้นสร้างดีมานด์เข้าตลาด จึงแก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่า
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า สทท.ได้ยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอเป็นแผนเร่งด่วนเพื่อบรรเทาปัญหาต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา และ ผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่กำลังเกิดขึ้น
โดยประเด็นหลักที่ต้องการให้ดำเนินการแบบเร่งด่วน ได้แก่ การขอผ่อนชำระภาษีทุกประเภทของผู้ประกอบการท่องเที่ยว อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นต้น โดยขอชำระ 50% ของอัตราที่จะต้องจ่ายจริงก่อน ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระภายในระยะเวลา 2 ปี และ ขอให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวมาหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.5-2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง
“เรามีความเห็นใจรัฐบาลที่มีภาระต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก ดังนั้น สิ่งที่เราขอ คือ การผ่อนชำระภาษี ซึ่ง ราวเดือน กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม ปี 2552 ก็จะถึงฤดูกาลจ่ายภาษีให้แก่กรมสรรพากรแล้ว มาตรการนี้ จะไม่ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินหรือเสียรายได้ เพียงแต่จะได้ช้าออกไปหน่อย แต่ผู้ประกอบการก็สามารถนำเงินที่เตรียมไว้ แบ่งเก็บไว้ใช้จ่ายเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ “
ล่าสุด นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ผู้ประสานงานพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลงานด้านการท่องเที่ยว ได้ประสานงานกลับมายัง สทท. ว่า ข้อเสนอที่สทท.ขอไปดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่า ต้นเดือน มกราคมคมศกหน้า คงได้คำตอบกลับมาว่ารัฐบาลจะให้การช่วยเหลืออย่างไร โดย สทท.ก็จะส่งหนังสือไปทวงถามความคืบหน้าด้วย
***สทท.ค้านขยายวงเงินกู้ฉะรัฐเกาไม่ถูกที่***
นายกงกฤช กล่าวว่า การที่ต้องยื่นหนังสือตรงถึงนายกรัฐมนตรี ก็เพื่อเป็นไปตามกฎข้อบังคับของการก่อตั้ง สทท. ที่ต้องรายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหว ความเดือนร้อน และ แนวทางแก้ไขขึ้นตรงต่อ คณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งนอกจากขอเรื่องผ่อนชำระภาษีแล้ว ยังขอให้ รัฐบาล ส่งหนังสือถึงหน่วยงานรัฐ ทั้ง ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เซ็นคำสั่งโดยนายกรัฐมนตรี ขอให้ รีบดำเนินการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2552 ที่จะใช้เพื่อการจัดประชุมสัมมนาให้เร็วกว่า ทุกๆปีที่ผ่านมา โดยให้ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
“ตอนนี้เราต้องเข้าใจตรงกันว่า ปัญหาของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคือขาดดีมานด์ จึงจำเป็นต้องสร้างดีมานด์ขึ้นมา เพื่อเพิ่มกำลังซื้อกลับเข้าสู่ระบบโดยเร็ว โดยเฉพาะการกระตุ้นการจัดสัมมนาของภาครัฐ ให้กระจายเดินทางตลอดปี ครอบคลุมทั่วประเทศ ก็เท่ากับเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยทุกปีมักจะนิยมจัดสัมมนาช่วงปลายปีงบประมาณ แต่เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ปีนี้ เราจึงต้องเร่งให้มีตั้งแต่ต้นปี “
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัว และ สมาชิกของ สทท. อีกหลายคน ไม่เห็นด้วย กับแนวคิดมาตรการขยายวงเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำเงินไปลงทุน เพราะปัญหาครั้งนี้ไม่เหมือนตอนเกิดสึนามิ ที่ ผู้ประกอบการต้องนำเงินไปปรับปรุงสถานประกอบการ จากที่ได้รับความเสียหาย แต่เป็นเพราะการขาดดีมานด์ จึงต้องเร่งทำกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างดีมานด์เข้ามาเติมในส่วนที่หายไปมากกว่า อีกการยื่นขยายวงเงินสินเชื่อ ต้องใช้เวลาในการพิจารณาปล่อยวงเงินซึ่งน่าจะนาน ส่วนการขอให้แบ่งผ่อนชำระภาษี สามารถทำได้ทันที่ และ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ได้นำเงินไปใช้จ่ายเสริมสภาพคล่อง
***”ชุมพล”ยันยังไม่ได้รับเรื่อง**
ทางด้านนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้รับหนังสือจาก สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ หรือ สทท. ซึ่งเป็นไปได้ว่า สทท.ได้ส่งผ่านไปยังสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นเสนอแก่ นายกรัฐมนตรี แต่ขณะนี้ รัฐบาลยังไม่ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หนังสือจึงยังไม่ได้ส่งมาที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงยังไม่สามารถตอบได้ว่า แนวทางการช่วยเหลือตามที่ สทท.ขอมานั้นจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า สทท.ได้ยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอเป็นแผนเร่งด่วนเพื่อบรรเทาปัญหาต่อผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา และ ผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่กำลังเกิดขึ้น
โดยประเด็นหลักที่ต้องการให้ดำเนินการแบบเร่งด่วน ได้แก่ การขอผ่อนชำระภาษีทุกประเภทของผู้ประกอบการท่องเที่ยว อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นต้น โดยขอชำระ 50% ของอัตราที่จะต้องจ่ายจริงก่อน ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระภายในระยะเวลา 2 ปี และ ขอให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจท่องเที่ยวมาหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.5-2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง
“เรามีความเห็นใจรัฐบาลที่มีภาระต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก ดังนั้น สิ่งที่เราขอ คือ การผ่อนชำระภาษี ซึ่ง ราวเดือน กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม ปี 2552 ก็จะถึงฤดูกาลจ่ายภาษีให้แก่กรมสรรพากรแล้ว มาตรการนี้ จะไม่ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินหรือเสียรายได้ เพียงแต่จะได้ช้าออกไปหน่อย แต่ผู้ประกอบการก็สามารถนำเงินที่เตรียมไว้ แบ่งเก็บไว้ใช้จ่ายเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ “
ล่าสุด นางอัญชลี วานิช เทพบุตร ผู้ประสานงานพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลงานด้านการท่องเที่ยว ได้ประสานงานกลับมายัง สทท. ว่า ข้อเสนอที่สทท.ขอไปดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณา คาดว่า ต้นเดือน มกราคมคมศกหน้า คงได้คำตอบกลับมาว่ารัฐบาลจะให้การช่วยเหลืออย่างไร โดย สทท.ก็จะส่งหนังสือไปทวงถามความคืบหน้าด้วย
***สทท.ค้านขยายวงเงินกู้ฉะรัฐเกาไม่ถูกที่***
นายกงกฤช กล่าวว่า การที่ต้องยื่นหนังสือตรงถึงนายกรัฐมนตรี ก็เพื่อเป็นไปตามกฎข้อบังคับของการก่อตั้ง สทท. ที่ต้องรายงานสถานการณ์ความเคลื่อนไหว ความเดือนร้อน และ แนวทางแก้ไขขึ้นตรงต่อ คณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งนอกจากขอเรื่องผ่อนชำระภาษีแล้ว ยังขอให้ รัฐบาล ส่งหนังสือถึงหน่วยงานรัฐ ทั้ง ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เซ็นคำสั่งโดยนายกรัฐมนตรี ขอให้ รีบดำเนินการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2552 ที่จะใช้เพื่อการจัดประชุมสัมมนาให้เร็วกว่า ทุกๆปีที่ผ่านมา โดยให้ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
“ตอนนี้เราต้องเข้าใจตรงกันว่า ปัญหาของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวคือขาดดีมานด์ จึงจำเป็นต้องสร้างดีมานด์ขึ้นมา เพื่อเพิ่มกำลังซื้อกลับเข้าสู่ระบบโดยเร็ว โดยเฉพาะการกระตุ้นการจัดสัมมนาของภาครัฐ ให้กระจายเดินทางตลอดปี ครอบคลุมทั่วประเทศ ก็เท่ากับเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยทุกปีมักจะนิยมจัดสัมมนาช่วงปลายปีงบประมาณ แต่เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ปีนี้ เราจึงต้องเร่งให้มีตั้งแต่ต้นปี “
อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัว และ สมาชิกของ สทท. อีกหลายคน ไม่เห็นด้วย กับแนวคิดมาตรการขยายวงเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อนำเงินไปลงทุน เพราะปัญหาครั้งนี้ไม่เหมือนตอนเกิดสึนามิ ที่ ผู้ประกอบการต้องนำเงินไปปรับปรุงสถานประกอบการ จากที่ได้รับความเสียหาย แต่เป็นเพราะการขาดดีมานด์ จึงต้องเร่งทำกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างดีมานด์เข้ามาเติมในส่วนที่หายไปมากกว่า อีกการยื่นขยายวงเงินสินเชื่อ ต้องใช้เวลาในการพิจารณาปล่อยวงเงินซึ่งน่าจะนาน ส่วนการขอให้แบ่งผ่อนชำระภาษี สามารถทำได้ทันที่ และ เพื่อให้ผู้ประกอบการ ได้นำเงินไปใช้จ่ายเสริมสภาพคล่อง
***”ชุมพล”ยันยังไม่ได้รับเรื่อง**
ทางด้านนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าวว่า ขณะนี้ ยังไม่ได้รับหนังสือจาก สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ หรือ สทท. ซึ่งเป็นไปได้ว่า สทท.ได้ส่งผ่านไปยังสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อยื่นเสนอแก่ นายกรัฐมนตรี แต่ขณะนี้ รัฐบาลยังไม่ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หนังสือจึงยังไม่ได้ส่งมาที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ จึงยังไม่สามารถตอบได้ว่า แนวทางการช่วยเหลือตามที่ สทท.ขอมานั้นจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน