สภาพการแข่งขันภาคการผลิตและบริการของไทยเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกันแม้จะดูเสมือนว่ามีศักยภาพสูง แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ในแง่ข้อกฎหมายแล้วพบว่าการประกอบธุรกิจในประเทศไทยยังมีอุปสรรคที่เป็นข้อกีดกันที่มีส่วนให้การตัดสินใจลงทุนของต่างชาติหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน โยเฉพาะในเรื่องภาษีและการสนับสนุนจากภาครัฐที่ยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ซึ่งการที่จะทำให้การทำงานของภาครัฐเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนดึงศักยภาพในการแข่งขันออกมาได้นั้นจะต้องดำเนินการอย่างบูรณากา แต่ในทางตรงกันข้ามประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น วันนี้ “ถาวร รุจิวนารมย์” หัวหน้าหุ้นส่วน กรรมการอาวุโสและกรรมการบริหาร และ “พีรพัฒน์ โปษยานนท์” หุ้นส่วน บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส ประเทศไทย จำกัด จะมาเล่าถึงปัญหาต่างๆ ให้ฟังกันดังนี้
Q : ปัญหาเรื่องใดที่เป็นอุปสรรคต่อศักยภาพการแข่งขันของไทย ?
A : ตอนนี้สภาพวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบหนักหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจน่าจะคุยกันเพื่อผลักดันให้ประเทศสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้านภาษีหลักๆ คือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ยังอยู่ในระดับ 30% หากลดลงเหลือ 25% น่าจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อดูจากประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในภูมิภาคภาษีนิติบุคคลเข้าเหลือเพียง 20% เท่านั้น และหากภาคธุรกิจใดที่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการสนับสนุนก็อาจลดลงเหลือ 0% ด้วยซ้ำ
ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในระดับนโยบายที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเนื่องจากที่สิงคโปร์นั้นธนาคารกลาง สรรพากร และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ(EDB) เขาจะมีการหารือกันอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาทางส่งเสริมศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานเหล่านี้จะดูว่าในช่วงเวลานั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดมีความเหมาะสมกับประเทศและความต้องการของนักลงทุน โดยจะออกไปดูว่านักลงทุนจากต่างประเทศต้องการอะไรเมื่อกลับมาแล้วก็จะดำเนินการทำเลยทันทีให้ตรงกับความต้องการจึงสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
Q : วิธีการใดที่จะช่วยลดอุปสรรคในด้านนี้
A : ทั้งภาคการผลิตและบริการในประเทศไทยล้วนมีปัญหาและอุปสรรคทางด้านกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา แต่เท่าที่ดูแล้วทางการก็มิได้นิ่งนอนใจได้มีการศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขพร้อมทั้งระดมความเห็นจากภาคเอกชนเช่นเดียวกันกับต่างประเทศแต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ต่างประเทศเข้ารับฟังและนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมตามที่เอกชนเรียกร้องซึ่งไทยเองก็มีการเรียกไปรับฟังแต่ก็ไม่มีอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันออกมา
ทั้งนี้ระดับนโยบายจะต้องหาวิธีเพื่อลดอุปสรรคในเรื่องนี้ซึ่งตราบใดที่ประเทศไทยมีอุปสรรคด้านภาษี มีข้อกีดกันเล็กๆ น้อยๆ อยู่ตลอดเวลาก็จะบั่นทอนศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะในภาคการบริการและการท่องเที่ยวที่มีการลงทุนและกระจายรายได้ไปในหลายๆ อุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นจึงอยากเห็นการแก้กฎหมายให้เป็นภาพรวมเพื่อให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้และธุรกิจอยู่รอดได้
Q : ปัญหาที่ภาคธุรกิจบริการพบในขณะนี้
A : ขอยกตัวอย่างในเรื่องของธุรกิจโฆษณาที่บริษัทเข้ามาเปิดสาขาที่ไทยและสิงคโปร์แล้วมีลูกค้าเป็นบรรษัทข้ามชาติว่าจ้างบริษัทในไทยถ่ายทำด้วยงบประมาณกว่าพันล้านบาทและยิงโฆษณาในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด ซึ่งจะถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันการจ้างบริษัทสาขาสิงคโปร์ทำกลับไม่เสียVAT แต่อย่างใด แทนที่เงินลงทุนจะเข้ามายังประเทศไทยแต่กลับไปที่ประเทศอื่นแทนจึงทำให้ศักยภาพทางการแข่งขันภาคบริการของไทยลดลง
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือบรรษัทข้ามชาติจะดูว่าบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศใดเมื่อลงทุนไปแล้วจะลดต้นทุนทางด้านภาษีได้มากกว่ากัน จึงเป็นสิ่งที่เราอยากให้รัฐบาลมีความจริงใจที่จะผลักดันให้ภาคเอกชนไทยสามารถแข่งขันได้โดยลดอุปสรรคต่างๆ สร้างความจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
Q : ภาคเอกชนควรสร้างอำนาจต่อรองอย่างไร ?
A : ตัวแทนจากภาคเอกชนทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าไทยและหน่วยงานองค์กรธุรกิจต่างๆ จะต้องจัดแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมให้ชัดเจน แล้วรวบรวมประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ต้องการเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบจากการที่ศักยภาพการแข่งขันของประเทศลดลงเพราะอุปสรรคกีดกันด้านภาษีและกฎหมายต่างๆ
แต่ที่ผ่านมาก็มีการเรียกร้องต่อทางภาครัฐของกลุ่มธุรกิจโดยไม่สามารถแสดงข้อมูลความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจระหว่างประเทศให้หน่วยงานภาครัฐเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสูญเสียมากเพียงใด คำร้องเรียนออกไปก็เป็นเหมือนเพียงเสียงบ่นเท่านั้นแล้วก็ย้ายฐานการผลิตออกไป เพราะเขาเห็นว่ากระบวนการร้องเรียนที่ภาครัฐรับเรื่องไปไม่ได้รับความสะดวกและไม่มีการตอบสนองใดๆ ออกมา
Q : สิ่งที่แต่ละฝ่ายทำได้ในขณะนี้คืออะไร ?
A : กรณีภาษีที่เกิดขึ้นนี้จะโทษกรมสรรพากรเพียงอย่างเดียวไม่ได้เนื่องจากหน้าที่ของเขาคือจัดเก็บภาษีก็ต้องทำหน้าที่ไป และส่งเรื่องราวร้องเรียนต่างๆ ที่ได้รับมาเสนอต่อระดับนโยบายว่าปัญหาและอุปสรรคที่บั่นทอนศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศอยู่ตรงไหนเพื่อให้การตัดสินใจระดับบริหารมีความชัดเจน และหากเป็นไปได้ควรจะมีผู้ทำหน้าที่ทำงานแบบบูรณาการในรูปแบบเดียวกับสิงคโปร์เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ในขณะที่ภาคเอกชนที่อยู่ในภาคการผลิตและบริการก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขและกฎหมายใหม่ๆ ที่ออกมาเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อรูปแบบในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตต้องปรับระบบบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมายดูว่ามีผลกระทบด้านใดบ้าง เพื่อรองรับการตรวจสอบของกรมสรรพากรที่ไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด
ซึ่งการที่จะทำให้การทำงานของภาครัฐเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนดึงศักยภาพในการแข่งขันออกมาได้นั้นจะต้องดำเนินการอย่างบูรณากา แต่ในทางตรงกันข้ามประเทศไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น วันนี้ “ถาวร รุจิวนารมย์” หัวหน้าหุ้นส่วน กรรมการอาวุโสและกรรมการบริหาร และ “พีรพัฒน์ โปษยานนท์” หุ้นส่วน บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส ประเทศไทย จำกัด จะมาเล่าถึงปัญหาต่างๆ ให้ฟังกันดังนี้
Q : ปัญหาเรื่องใดที่เป็นอุปสรรคต่อศักยภาพการแข่งขันของไทย ?
A : ตอนนี้สภาพวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลกระทบหนักหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจน่าจะคุยกันเพื่อผลักดันให้ประเทศสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้มากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้านภาษีหลักๆ คือภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ยังอยู่ในระดับ 30% หากลดลงเหลือ 25% น่าจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เพราะเมื่อดูจากประเทศต่างๆ ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในภูมิภาคภาษีนิติบุคคลเข้าเหลือเพียง 20% เท่านั้น และหากภาคธุรกิจใดที่รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการสนับสนุนก็อาจลดลงเหลือ 0% ด้วยซ้ำ
ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญในระดับนโยบายที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษเนื่องจากที่สิงคโปร์นั้นธนาคารกลาง สรรพากร และคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ(EDB) เขาจะมีการหารือกันอยู่ตลอดเวลาเพื่อหาทางส่งเสริมศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศในภาพรวมอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยงานเหล่านี้จะดูว่าในช่วงเวลานั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดมีความเหมาะสมกับประเทศและความต้องการของนักลงทุน โดยจะออกไปดูว่านักลงทุนจากต่างประเทศต้องการอะไรเมื่อกลับมาแล้วก็จะดำเนินการทำเลยทันทีให้ตรงกับความต้องการจึงสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
Q : วิธีการใดที่จะช่วยลดอุปสรรคในด้านนี้
A : ทั้งภาคการผลิตและบริการในประเทศไทยล้วนมีปัญหาและอุปสรรคทางด้านกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา แต่เท่าที่ดูแล้วทางการก็มิได้นิ่งนอนใจได้มีการศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขพร้อมทั้งระดมความเห็นจากภาคเอกชนเช่นเดียวกันกับต่างประเทศแต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ต่างประเทศเข้ารับฟังและนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมตามที่เอกชนเรียกร้องซึ่งไทยเองก็มีการเรียกไปรับฟังแต่ก็ไม่มีอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันออกมา
ทั้งนี้ระดับนโยบายจะต้องหาวิธีเพื่อลดอุปสรรคในเรื่องนี้ซึ่งตราบใดที่ประเทศไทยมีอุปสรรคด้านภาษี มีข้อกีดกันเล็กๆ น้อยๆ อยู่ตลอดเวลาก็จะบั่นทอนศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะในภาคการบริการและการท่องเที่ยวที่มีการลงทุนและกระจายรายได้ไปในหลายๆ อุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นจึงอยากเห็นการแก้กฎหมายให้เป็นภาพรวมเพื่อให้ผู้ประกอบการแข่งขันได้และธุรกิจอยู่รอดได้
Q : ปัญหาที่ภาคธุรกิจบริการพบในขณะนี้
A : ขอยกตัวอย่างในเรื่องของธุรกิจโฆษณาที่บริษัทเข้ามาเปิดสาขาที่ไทยและสิงคโปร์แล้วมีลูกค้าเป็นบรรษัทข้ามชาติว่าจ้างบริษัทในไทยถ่ายทำด้วยงบประมาณกว่าพันล้านบาทและยิงโฆษณาในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด ซึ่งจะถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันการจ้างบริษัทสาขาสิงคโปร์ทำกลับไม่เสียVAT แต่อย่างใด แทนที่เงินลงทุนจะเข้ามายังประเทศไทยแต่กลับไปที่ประเทศอื่นแทนจึงทำให้ศักยภาพทางการแข่งขันภาคบริการของไทยลดลง
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือบรรษัทข้ามชาติจะดูว่าบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศใดเมื่อลงทุนไปแล้วจะลดต้นทุนทางด้านภาษีได้มากกว่ากัน จึงเป็นสิ่งที่เราอยากให้รัฐบาลมีความจริงใจที่จะผลักดันให้ภาคเอกชนไทยสามารถแข่งขันได้โดยลดอุปสรรคต่างๆ สร้างความจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
Q : ภาคเอกชนควรสร้างอำนาจต่อรองอย่างไร ?
A : ตัวแทนจากภาคเอกชนทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าไทยและหน่วยงานองค์กรธุรกิจต่างๆ จะต้องจัดแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมให้ชัดเจน แล้วรวบรวมประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ต้องการเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบจากการที่ศักยภาพการแข่งขันของประเทศลดลงเพราะอุปสรรคกีดกันด้านภาษีและกฎหมายต่างๆ
แต่ที่ผ่านมาก็มีการเรียกร้องต่อทางภาครัฐของกลุ่มธุรกิจโดยไม่สามารถแสดงข้อมูลความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจระหว่างประเทศให้หน่วยงานภาครัฐเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสูญเสียมากเพียงใด คำร้องเรียนออกไปก็เป็นเหมือนเพียงเสียงบ่นเท่านั้นแล้วก็ย้ายฐานการผลิตออกไป เพราะเขาเห็นว่ากระบวนการร้องเรียนที่ภาครัฐรับเรื่องไปไม่ได้รับความสะดวกและไม่มีการตอบสนองใดๆ ออกมา
Q : สิ่งที่แต่ละฝ่ายทำได้ในขณะนี้คืออะไร ?
A : กรณีภาษีที่เกิดขึ้นนี้จะโทษกรมสรรพากรเพียงอย่างเดียวไม่ได้เนื่องจากหน้าที่ของเขาคือจัดเก็บภาษีก็ต้องทำหน้าที่ไป และส่งเรื่องราวร้องเรียนต่างๆ ที่ได้รับมาเสนอต่อระดับนโยบายว่าปัญหาและอุปสรรคที่บั่นทอนศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศอยู่ตรงไหนเพื่อให้การตัดสินใจระดับบริหารมีความชัดเจน และหากเป็นไปได้ควรจะมีผู้ทำหน้าที่ทำงานแบบบูรณาการในรูปแบบเดียวกับสิงคโปร์เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ในขณะที่ภาคเอกชนที่อยู่ในภาคการผลิตและบริการก็ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้เงื่อนไขและกฎหมายใหม่ๆ ที่ออกมาเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อรูปแบบในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตต้องปรับระบบบัญชีให้ถูกต้องตามกฎหมายดูว่ามีผลกระทบด้านใดบ้าง เพื่อรองรับการตรวจสอบของกรมสรรพากรที่ไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด