การแถลงนโยบายของรัฐบาลชุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีขึ้นในวันที่ 29 และ 30 ธันวาคมนี้
ถือเป็นด่านแรกที่ต้องฝ่าข้ามไปให้ได้ก่อนจะทำงาน
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภา ผมได้แสดงความจำนงขออภิปรายด้วยคนหนึ่ง แต่ด้วยระยะเวลาที่ได้รับการจัดสรรมาจากคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลล่าสุด โควตาเวลารวมของสมาชิกวุฒิสภามีทั้งหมดเพียง 7 ชั่วโมง แต่มีสมาชิกวุฒิสภาแสดงความจำนงขออภิปรายไปเกือบ 50 คน คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาประสานงานคัดเลือกลงในที่สุดเหลือ 35 คน ได้เวลาพูดคนละ 12 นาทีเท่านั้น
ตั้งใจไว้ว่าจะพูดใน 3 ประเด็นที่เป็นนโยบายสืบเนื่องมาจาก 3 วรรคทองในสปีชประวัติสาสตร์ของท่านนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
วรรคทองที่ 1 : “จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครนำมาสร้างความขัดแย้ง หรือดึงลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง...”
วรรคทองที่ 2 : “หน้าที่เบื้องต้นของผม คือการยุติการเมืองที่ล้มเหลว...”
วรรคทองที่ 3 : “งานการศึกษาเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดของประเทศ...”
แต่ด้วยเวลาที่จำกัด เมื่อเรียงลำดับความสำคัญแล้วคงพูดได้เฉพาะประเด็นที่ 1 และ 2 ซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อโยงให้เห็นถึงภารกิจของคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่รัฐบาลเขียนไว้ในนโยบายว่าจะจัดตั้งขึ้น ส่วนประเด็นที่ 3 ที่ผมอยากพูดมากคงไม่ได้พูด
หรืออาจไม่ได้พูดทั้งหมดเลยก็ได้ เพราะ ณ นาทีนี้ยังไม่มีอะไรคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ภารกิจของคณะกรรมการพิเศษ และความคาดหวัง ผมได้เสนอไปแล้วในงานเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ในนโยบายรัฐบาลข้อ 1.1.3 เขียนภารกิจของกรรมการชุดนี้ไว้ว่า
“...เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิป6+ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง...”
ยอมรับว่า “โดน” ครับ !
แต่จะทำได้จริงแค่ไหนอย่างไร ไม่มีใครรู้ได้ หน้าที่ของเราก็คือวิจารณ์ เสนอแนะ และร่วมผลักดัน รวมทั้งวิพากษ์และประณามถ้าในที่สุดไม่ตั้งใจทำจริง
จะยุติการเมืองที่ล้มเหลวทันทีคงไม่ได้หรอก เพราะท่านนายกฯเพิ่งมาจากการเมืองที่ล้มเหลว และการจัดคณะรัฐมนตรีก็จำเป็นต้องจัดตามวิธีของการเมืองที่ล้มเหลวเสียกว่าครึ่งกว่าค่อน ท่านและพรรคของท่านยังไม่แข็งแรงพอที่จะไปแตกหักกับการเมืองที่ล้มเหลวในวันในพรุ่ง ประกอบกับรูปแบบที่ชัดเจนของการเมืองใหม่ที่จะไม่ล้มเหลวนั้น ณ นาทีนี้ผมว่าทุกฝ่ายที่เสนอเรื่องนี้ก็ยังมีแค่เค้าโครงความคิดและหลักการใหญ่ ๆ ยังไม่มีรายละเอียด 1, 2, 3, 4, 5, .... คณะกรรมการอิสระที่จะทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะยังมีความจำเป็น
แต่ต้องไม่ให้เป็นเพียงแค่การซื้อเวลา หรือหลอกประชาชนไปวัน ๆ นะ
ประชาชนต้องจับตาดูและเข้าไปมีส่วนร่วม
ทำไมผมเสนอท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ให้เป็นเลขาธิการของคณะกรรมการชุดนี้ จนหลายคนต่อว่าเข้ามา ก็ขอตอบว่าถึงที่สุดแล้วเราต้องการนักวิชาการที่เข้ามาทำงานทางวิชาการ นักวิชาการคนนั้นต้องมีหลักคิดที่ไปกันได้กับภารกิจที่จะได้รับมอบ ขณะเดียวกันก็ต้องมีลักษณะเป็นนักออกแบบโครงสร้างทางสังคมและการเมืองด้วย
องค์รวมของมนุษย์ที่ชื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณมีความเหมาะสม
งานเขียนชิ้นหนึ่งของท่านที่ผมเคยยกมาให้ดูกัน ณ ที่นี้เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 บอกเล่าว่าหลักคิดของคน ๆ นี้ไปกันได้กับภารกิจของคณะกรรมการ
งานเขียนชิ้นนี้ชื่อ “พลวัตรของการเมืองไทย” มีภาคแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยในชื่อ “Dynamics of Thai Politics” ในงานชิ้นนี้ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณพัฒนาตัวเองไปอีกขั้น ด้วยการมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป โดยเสนอว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการ เมืองอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
หรือล่าสุดที่ท่านเพิ่งปาฐกถาพิเศษในงานวันครบรอบ 10 ปีสถาบันพระปกเกล้าเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 ก็ยิ่งตอกย้ำความเชื่อส่วนตัวของผม
ปาฐกถาครั้งล่าสุดนี้ไม่ว่าในมุมมองของผู้ที่นิยม “ประชาธิปไตยเฉย ๆ” หรือ “ประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชน” ไม่ใช่ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” จะมองว่าเป็นเพียงงานอีกชิ้นหนึ่งของกากเดนอมาตยาธิปไตยอย่างไรก็ตาม แต่ผมอยากให้พวกเราช่วยกันใช้วิจารณญาณให้มาก ไม่ต้องเชื่อ แต่อย่าเพิ่งปิดใจไม่รับฟัง ใช้วิจารณญาณประกอบกับการอ่านงานชิ้นแรก ก็จะทำให้เราตกผลึกทางปัญญามากขึ้น
ข้อดีอีกประการของท่านอาจารย์ผู้นี้ก็คือมีสถาบันทางวิชาการของรัฐสภาอย่างสถาบันพระปกเกล้าอยู่ภายใต้บังคับบัญชา
ในคณะกรรมการชุดนี้ควรมีความแตกต่างหลากหลายทางความคิดอยู่ระดับหนึ่ง ระดับที่จะไม่ถึงขั้นทะเลาะกันจนไม่เป็นอันทำการทำงาน
เป็นต้นว่าควรจะมีทั้งอาจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ และอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อยู่ในนั้น
พี่น้องพ่อยกแม่ยกพันธมิตรฯอย่าโกรธผมนะครับถ้าไม่เห็นด้วยกับชื่อหลัง
คนที่เป็นรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีในรูปแบบของการเมืองที่ล้มเหลวไม่มีเวลามาคิดเรื่องพรรค์นี้หรอก
งานประจำมันรัดตัว !
เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านด่านแรกในวันนี้พรุ่งนี้แล้ว อย่ารอช้า
เร่งทำตามนโยบายข้อ 1.1.3 นี้โดยพลัน !
ถือเป็นด่านแรกที่ต้องฝ่าข้ามไปให้ได้ก่อนจะทำงาน
ในฐานะสมาชิกวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภา ผมได้แสดงความจำนงขออภิปรายด้วยคนหนึ่ง แต่ด้วยระยะเวลาที่ได้รับการจัดสรรมาจากคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลล่าสุด โควตาเวลารวมของสมาชิกวุฒิสภามีทั้งหมดเพียง 7 ชั่วโมง แต่มีสมาชิกวุฒิสภาแสดงความจำนงขออภิปรายไปเกือบ 50 คน คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภาประสานงานคัดเลือกลงในที่สุดเหลือ 35 คน ได้เวลาพูดคนละ 12 นาทีเท่านั้น
ตั้งใจไว้ว่าจะพูดใน 3 ประเด็นที่เป็นนโยบายสืบเนื่องมาจาก 3 วรรคทองในสปีชประวัติสาสตร์ของท่านนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551
วรรคทองที่ 1 : “จะปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครนำมาสร้างความขัดแย้ง หรือดึงลงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง...”
วรรคทองที่ 2 : “หน้าที่เบื้องต้นของผม คือการยุติการเมืองที่ล้มเหลว...”
วรรคทองที่ 3 : “งานการศึกษาเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดของประเทศ...”
แต่ด้วยเวลาที่จำกัด เมื่อเรียงลำดับความสำคัญแล้วคงพูดได้เฉพาะประเด็นที่ 1 และ 2 ซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อโยงให้เห็นถึงภารกิจของคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองที่รัฐบาลเขียนไว้ในนโยบายว่าจะจัดตั้งขึ้น ส่วนประเด็นที่ 3 ที่ผมอยากพูดมากคงไม่ได้พูด
หรืออาจไม่ได้พูดทั้งหมดเลยก็ได้ เพราะ ณ นาทีนี้ยังไม่มีอะไรคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ภารกิจของคณะกรรมการพิเศษ และความคาดหวัง ผมได้เสนอไปแล้วในงานเขียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ในนโยบายรัฐบาลข้อ 1.1.3 เขียนภารกิจของกรรมการชุดนี้ไว้ว่า
“...เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิป6+ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง...”
ยอมรับว่า “โดน” ครับ !
แต่จะทำได้จริงแค่ไหนอย่างไร ไม่มีใครรู้ได้ หน้าที่ของเราก็คือวิจารณ์ เสนอแนะ และร่วมผลักดัน รวมทั้งวิพากษ์และประณามถ้าในที่สุดไม่ตั้งใจทำจริง
จะยุติการเมืองที่ล้มเหลวทันทีคงไม่ได้หรอก เพราะท่านนายกฯเพิ่งมาจากการเมืองที่ล้มเหลว และการจัดคณะรัฐมนตรีก็จำเป็นต้องจัดตามวิธีของการเมืองที่ล้มเหลวเสียกว่าครึ่งกว่าค่อน ท่านและพรรคของท่านยังไม่แข็งแรงพอที่จะไปแตกหักกับการเมืองที่ล้มเหลวในวันในพรุ่ง ประกอบกับรูปแบบที่ชัดเจนของการเมืองใหม่ที่จะไม่ล้มเหลวนั้น ณ นาทีนี้ผมว่าทุกฝ่ายที่เสนอเรื่องนี้ก็ยังมีแค่เค้าโครงความคิดและหลักการใหญ่ ๆ ยังไม่มีรายละเอียด 1, 2, 3, 4, 5, .... คณะกรรมการอิสระที่จะทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะยังมีความจำเป็น
แต่ต้องไม่ให้เป็นเพียงแค่การซื้อเวลา หรือหลอกประชาชนไปวัน ๆ นะ
ประชาชนต้องจับตาดูและเข้าไปมีส่วนร่วม
ทำไมผมเสนอท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ให้เป็นเลขาธิการของคณะกรรมการชุดนี้ จนหลายคนต่อว่าเข้ามา ก็ขอตอบว่าถึงที่สุดแล้วเราต้องการนักวิชาการที่เข้ามาทำงานทางวิชาการ นักวิชาการคนนั้นต้องมีหลักคิดที่ไปกันได้กับภารกิจที่จะได้รับมอบ ขณะเดียวกันก็ต้องมีลักษณะเป็นนักออกแบบโครงสร้างทางสังคมและการเมืองด้วย
องค์รวมของมนุษย์ที่ชื่อบวรศักดิ์ อุวรรณโณมีความเหมาะสม
งานเขียนชิ้นหนึ่งของท่านที่ผมเคยยกมาให้ดูกัน ณ ที่นี้เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 บอกเล่าว่าหลักคิดของคน ๆ นี้ไปกันได้กับภารกิจของคณะกรรมการ
งานเขียนชิ้นนี้ชื่อ “พลวัตรของการเมืองไทย” มีภาคแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยในชื่อ “Dynamics of Thai Politics” ในงานชิ้นนี้ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณพัฒนาตัวเองไปอีกขั้น ด้วยการมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป โดยเสนอว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการ เมืองอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อนคือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
หรือล่าสุดที่ท่านเพิ่งปาฐกถาพิเศษในงานวันครบรอบ 10 ปีสถาบันพระปกเกล้าเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2551 ก็ยิ่งตอกย้ำความเชื่อส่วนตัวของผม
ปาฐกถาครั้งล่าสุดนี้ไม่ว่าในมุมมองของผู้ที่นิยม “ประชาธิปไตยเฉย ๆ” หรือ “ประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชน” ไม่ใช่ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” จะมองว่าเป็นเพียงงานอีกชิ้นหนึ่งของกากเดนอมาตยาธิปไตยอย่างไรก็ตาม แต่ผมอยากให้พวกเราช่วยกันใช้วิจารณญาณให้มาก ไม่ต้องเชื่อ แต่อย่าเพิ่งปิดใจไม่รับฟัง ใช้วิจารณญาณประกอบกับการอ่านงานชิ้นแรก ก็จะทำให้เราตกผลึกทางปัญญามากขึ้น
ข้อดีอีกประการของท่านอาจารย์ผู้นี้ก็คือมีสถาบันทางวิชาการของรัฐสภาอย่างสถาบันพระปกเกล้าอยู่ภายใต้บังคับบัญชา
ในคณะกรรมการชุดนี้ควรมีความแตกต่างหลากหลายทางความคิดอยู่ระดับหนึ่ง ระดับที่จะไม่ถึงขั้นทะเลาะกันจนไม่เป็นอันทำการทำงาน
เป็นต้นว่าควรจะมีทั้งอาจารย์สุรพล นิติไกรพจน์ และอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อยู่ในนั้น
พี่น้องพ่อยกแม่ยกพันธมิตรฯอย่าโกรธผมนะครับถ้าไม่เห็นด้วยกับชื่อหลัง
คนที่เป็นรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีในรูปแบบของการเมืองที่ล้มเหลวไม่มีเวลามาคิดเรื่องพรรค์นี้หรอก
งานประจำมันรัดตัว !
เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านด่านแรกในวันนี้พรุ่งนี้แล้ว อย่ารอช้า
เร่งทำตามนโยบายข้อ 1.1.3 นี้โดยพลัน !