ASTVผู้จัดการรายวัน - ส.ว.มือปราบ "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" ชี้ชัด "ชวรัตน์ ชาญวีรกุล" หมดอำนาจเซ็นต์คำสั่งคืนตำแหน่ง ผบ.ตร.ให้ "พัชรวาท วงษ์สุวรรณ" กลับ แถม "พัชรวาท" มีชนักเอี่ยวร่วมฆ่าประชาชน 7 ตุลาเลือด ยอมรับจะอยู่หรือไปพ้นตำแหน่งขึ้นอยู่กับต่อมคุณธรรม "นายกฯ มาร์ค" ด้าน "สุพล ฟองงาม" ประกาศขอติดตามการสอบทุจริตต่อไป ขณะที่ "มาร์ค" ยันลงโทษผู้กระทำผิด 7 ตุลาเลือดต้องเป็นธรรม-ยึดข้อเท็จจริง
วานนี้ (25 ธ.ค.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ประเภทสรรหา เปิดเผยถึงกรณีนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล ได้เซ็นต์คำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่ถูกโยกย้ายมาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นมีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน มีผล ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 และในวันที่ 21 ธ.ค. นายชวรัตน์ ได้ลงนามคำสั่ง โดยอ้างว่าจากคำสั่งดังกล่าว บัดนี้การช่วยราชการได้เสร็จสิ้นลงแล้ว สำนักนายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งเลขที่ 325/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับมาปฏิบัติราชการในตำแหน่งเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.2551 ลงนามคำสั่งโดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย ว่า ตนขอตั้งขอสังเกตว่าการที่นายชวรัตน์ ลงนามคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับไปนั่งในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีผลวันอาทิตย์ที่ 21 ธ.ค. นั้น นายชวรัตน์ มีอำนาจลงนามได้หรือไม่
เนื่องจากนายชวรัตน์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทั้งคณะไปแล้ว ซึ่งเท่ากับว่านายชวรัตน์ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 19 ธ.ค.ซึ่งหมายความว่านายชวรัตน์ หมดหน้าที่การรักษาการในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสมัยนายสมชาย เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่นายชวรัตน์ ใช้เวลาไหนแวะไปเซ็นต์หนังสือดังกล่าวในวันอาทิตย์
**จี้ "ชวรัตน์-อภิสิทธิ์" ชี้แจง**
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล ควรชี้แจงเรื่องนี้ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ควรทำตามนโยบาย กรอบ 9 ข้อที่ได้พูดไว้ในวันประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่บอกว่าจะให้ความเป็นธรรม มีจริยธรรม มีคุณธรรม พร้อมตอบทุกคำถามต่อสังคมด้วย และที่สำคัญ นายอภิสิทธิ์ เคยทำหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนให้เอาผิดดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่บริเวณหน้ารัฐสภา และ 1 ในผลสรุปของคณะกรรมการสิทธิฯ ก็มีชื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องรับผิดชอบด้วย
**ยันนายกฯมีอำนาจสอบทุจริต**
นายเรืองไกร ได้กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร. ได้เรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างบริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ ให้ทำงานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยวิธีพิเศษ ในงบประมาณกว่า 18 ล้านบาท เมื่อปี 2548 ไม่โปร่งใสผิดระเบียบว่าด้วยการพัสดุ ปี 2535 ว่า การจะแต่งตั้งคณะกรรมการให้ตรวจสอบเรื่องนี้ สามารถทำได้ตลอดอายุความซึ่งยังไม่สิ้นสุดเวลาผ่านไปนานแค่ไหนถ้ามีการตรวจพบว่ามีการทุจริต ก็แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่มเติมได้ ซึ่งอำนาจทุกอย่างก็เบ็ดเสร็จที่นายอภิสิทธิ์ ฯนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว จะทำหรือไม่เท่านั้นเอง หรือจะจริงจัง ตั้งใจตรวจสอบข้อเท็จจริงแค่ไหน และเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ในเรื่องใด ๆ นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจตัดสินใจควรโยกย้ายผู้ที่ถูกพาดพิงออกจากตำแหน่งหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรีคนเดียว
**แนะตรวจสอบเส้นทางเงิน**
ส่วนหากจะมีการตรวจสอบหาเส้นทางการเงินหลังมีการจัดซื้อจัดจ้างโครงการประชาสัมพันธ์ของ สตช.ด้วยวิธีพิเศษในงบกว่า 18 ล้านบาท นั้น นายเรืองไกร กล่าวว่า ทำได้ง่ายมากหากจะมีการตรวจสอบเส้นทางของเงิน ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตรวจผู้ว่าจ้าง ตรวจผู้รับจ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเมื่อหากมีการพบข้อมูล ซึ่งมีพฤติการณ์ประพฤติมิชอบ มีส่วนเชื่อมโยงกันก็จะรู้เส้นทางทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร ซึ่งต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยสรรพากร ปปช. และปปง. แต่คนที่ตรวจสอบต้องเก็บข้อมูลของคนที่เราเข้าไปตรวจสอบเป็นความลับด้วย เพราะต้องตรวจบัญชีที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และบัญชีใช้ส่วนตัว
"ไม่ยากหรอกตรวจเส้นทางการเงินจะเป็นของใครก็ตามตรวจง่ายนิดเดียว เดี๋ยวเดียวรู้หมด เราอยากรู้เรื่องใด สงสัยเรื่องใดแม้เวลาเกินมานานหลายปี ถ้ามีข้อสงสัยต้องการตรวจสอบเพิ่มเติมในข้อเท็จจริงก็ทำได้ ประสาน ปปง. ปปช. กรมสรรพากร หน่วยงานรัฐเหล่านี้เค้าให้ความร่วมมืออยู่แล้ว "นายเรืองไกร กล่าว
**"สุพล"ขอตามสอบทุจริตพัชรวาท
นายสุพล ฟองงาม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง กรณีที่ได้ลงนามหนังสือบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ถึง นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างบริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ ทำประชาสัมพันธ์ของ สตช. ด้วยวิธีพิเศษ ในวงเงินงบประมาณกว่า 18 ล้านบาท เมื่อปี 2548 ว่า ตนในขณะที่ส่งหนังสือฉบับดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และได้พบข้อมูลหนังสือตามเนื้อหาที่เห็นควรนำเสนอนายกรัฐมนตรีให้ทราบ
โดยหนังสือฉบับดังกล่าวมีการสรุปไว้ตั้งแต่สมัย นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ดูแลไว้ก่อนหน้าที่ตนจะเข้ารับตำแหน่ง ดังนั้นเมื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. และตนก็หมดวาระตามรัฐบาลนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์)ไปแล้ว จึงไม่ได้ติดตามความคืบหน้าว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว แต่ยืนยันว่าตนยังสนใจการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่ออยู่ แต่ตนจะใช้สถานะการเป็น ส.ส. ติดตามความคืบหน้าต่อไป
สำหรับหนังสือที่นายสุพล ฟองงาม นำเสนอนายอภิสิทธิ์ มีเนื้อหาว่า วันที่ 19 ธ.ค.2551 มีบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ลับมาก ส่วนราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ที่ นร.0405/9062 ลงวันที่ 19 ธ.ค.2551 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง กราบเรียน นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยเนื้อหาของบันทึกดังกล่าวได้เล่าเรื่องที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 26 พ.ย.2551 เรียนนายกรัฐมนตรีกล่าวหาว่า พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.บุญเรือง ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและกระทำผิดวินัยร้ายแรง พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบ และในบันทึกข้อความดังกล่าวได้เล่าถึงข้อเท็จจริงทั้งหมดพร้อมเสนอข้อพิจารณา เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับการสืบสวนข้อเท็จจริงและตามสั่งการนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ลงวันที่ 28 พ.ย. 51 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.บุญเรือง จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้องเท็จจริง ประกอบด้วย 1.นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด เป็นประธานกรรมการ 2.นายวชิระ เพ่งผล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ 3.พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ที่ปรึกษา (สบ 10) เป็นกรรมการ 4.พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรศารทูล จเรตำรวจ (สบ 8 ) เป็นกรรมการ 5.พล.ต.ท.เจตน์ มงคลหัตถี ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและสอบสวนเป็นกรรมการ/เลขานุการ (ลงนามโดย นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
**"พัชรวาท" ปัดข้อหาทุจริต**
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ถอบคำถามผู้สื่อข่าว กรณีประชาชนยังสงสัยการกลับมาทำหน้าที่ ผบ.ตร.ว่า เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า การรับราชการเป็นเรื่องปกติเมื่อถูกคำสั่งให้ไปช่วยราชการได้ ก็สามารถกลับมาได้ ส่วน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ชาย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น ก็พูดคุยกันตามปกติ แต่ไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องนี้
ส่วนกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร.กล่าวหาว่า ทุจริต พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ตลอดการรับราชการยืนยันว่าทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ เชื่อว่า ทำงานทุกอย่างตรงไปตรงมาตามขั้นตอน และหวังดีกับประเทศชาติ
**"มาร์ค" ยึดข้อเท็จจริง 7 ตุลาฯ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ได้รับผลการตรวจสอบเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า ได้รับในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ที่ได้ไปยื่นร้องเรียนให้ตรวจสอบไว้ ส่วนในฐานะนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้รับเรื่อง
ทั้งนี้ ผลสอบมีผู้รับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน คือฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็นรัฐบาลชุดที่แล้ว และฝ่ายปฏิบัติ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเหตุการณ์ ปฏิบัติงานอยู่ในช่วงเวลาที่เกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าในหลักการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จะส่งเรื่องไปให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง ซึ่งเป็นไปตามข้อกฎหมาย ในส่วนของรัฐบาลคงต้องรอว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จะมีข้อเสนอมาให้ดำเนินการอย่างไร
สำหรับโทษนั้น มองว่ามีทั้งวินัยและอาญา ซึ่งในส่วนของข้าราชการการเมืองที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็จะไม่มีความผิดด้านวินัย เหลือแต่ความผิดอาญาส่วนคณะกรรมการชุดที่รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตั้งขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งมี นายปรีชา พานิชวงศ์ เป็นประธาน ได้ทราบว่ายุติการตรวจสอบไปแล้ว เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ และเวลาทำงานมีจำกัด
ทั้งนี้ ข้อเสนอส่วนใหญ่ที่ได้รับ เป็นเรื่องของการดำเนินการปรับปรุงกฎหมายการอบรมเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม อย่างไรก็ตามยืนยันว่าตนเองจะให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยการให้ความเป็นธรรมที่ดีคือดูตามข้อเท็จจริง ไม่ดูชื่อ ซึ่งคงต้องรอให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลเสร็จสิ้นก่อน แล้วจะดำเนินการเรื่องนี้ในภายหลัง คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงเวลา 1-2 เดือนหลังจากนี้.
วานนี้ (25 ธ.ค.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภา ประเภทสรรหา เปิดเผยถึงกรณีนายชวรัตน์ ชาญวีรกุล ได้เซ็นต์คำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่ถูกโยกย้ายมาช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นมีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน มีผล ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 และในวันที่ 21 ธ.ค. นายชวรัตน์ ได้ลงนามคำสั่ง โดยอ้างว่าจากคำสั่งดังกล่าว บัดนี้การช่วยราชการได้เสร็จสิ้นลงแล้ว สำนักนายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งเลขที่ 325/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับมาปฏิบัติราชการในตำแหน่งเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.2551 ลงนามคำสั่งโดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย ว่า ตนขอตั้งขอสังเกตว่าการที่นายชวรัตน์ ลงนามคำสั่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท กลับไปนั่งในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีผลวันอาทิตย์ที่ 21 ธ.ค. นั้น นายชวรัตน์ มีอำนาจลงนามได้หรือไม่
เนื่องจากนายชวรัตน์ ได้รับการโปรดเกล้าฯ และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ทั้งคณะไปแล้ว ซึ่งเท่ากับว่านายชวรัตน์ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 19 ธ.ค.ซึ่งหมายความว่านายชวรัตน์ หมดหน้าที่การรักษาการในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสมัยนายสมชาย เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่นายชวรัตน์ ใช้เวลาไหนแวะไปเซ็นต์หนังสือดังกล่าวในวันอาทิตย์
**จี้ "ชวรัตน์-อภิสิทธิ์" ชี้แจง**
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล ควรชี้แจงเรื่องนี้ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ควรทำตามนโยบาย กรอบ 9 ข้อที่ได้พูดไว้ในวันประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่บอกว่าจะให้ความเป็นธรรม มีจริยธรรม มีคุณธรรม พร้อมตอบทุกคำถามต่อสังคมด้วย และที่สำคัญ นายอภิสิทธิ์ เคยทำหนังสือถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนให้เอาผิดดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่บริเวณหน้ารัฐสภา และ 1 ในผลสรุปของคณะกรรมการสิทธิฯ ก็มีชื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท ต้องรับผิดชอบด้วย
**ยันนายกฯมีอำนาจสอบทุจริต**
นายเรืองไกร ได้กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร. ได้เรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง ต่อ พล.ต.อ.พัชรวาท เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างบริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ ให้ทำงานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยวิธีพิเศษ ในงบประมาณกว่า 18 ล้านบาท เมื่อปี 2548 ไม่โปร่งใสผิดระเบียบว่าด้วยการพัสดุ ปี 2535 ว่า การจะแต่งตั้งคณะกรรมการให้ตรวจสอบเรื่องนี้ สามารถทำได้ตลอดอายุความซึ่งยังไม่สิ้นสุดเวลาผ่านไปนานแค่ไหนถ้ามีการตรวจพบว่ามีการทุจริต ก็แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่มเติมได้ ซึ่งอำนาจทุกอย่างก็เบ็ดเสร็จที่นายอภิสิทธิ์ ฯนายกรัฐมนตรีอยู่แล้ว จะทำหรือไม่เท่านั้นเอง หรือจะจริงจัง ตั้งใจตรวจสอบข้อเท็จจริงแค่ไหน และเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ในเรื่องใด ๆ นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจตัดสินใจควรโยกย้ายผู้ที่ถูกพาดพิงออกจากตำแหน่งหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรีคนเดียว
**แนะตรวจสอบเส้นทางเงิน**
ส่วนหากจะมีการตรวจสอบหาเส้นทางการเงินหลังมีการจัดซื้อจัดจ้างโครงการประชาสัมพันธ์ของ สตช.ด้วยวิธีพิเศษในงบกว่า 18 ล้านบาท นั้น นายเรืองไกร กล่าวว่า ทำได้ง่ายมากหากจะมีการตรวจสอบเส้นทางของเงิน ซึ่งต้องมีการตรวจสอบเอกสารหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตรวจผู้ว่าจ้าง ตรวจผู้รับจ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเมื่อหากมีการพบข้อมูล ซึ่งมีพฤติการณ์ประพฤติมิชอบ มีส่วนเชื่อมโยงกันก็จะรู้เส้นทางทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร ซึ่งต้องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยสรรพากร ปปช. และปปง. แต่คนที่ตรวจสอบต้องเก็บข้อมูลของคนที่เราเข้าไปตรวจสอบเป็นความลับด้วย เพราะต้องตรวจบัญชีที่เปิดเผยต่อสาธารณะ และบัญชีใช้ส่วนตัว
"ไม่ยากหรอกตรวจเส้นทางการเงินจะเป็นของใครก็ตามตรวจง่ายนิดเดียว เดี๋ยวเดียวรู้หมด เราอยากรู้เรื่องใด สงสัยเรื่องใดแม้เวลาเกินมานานหลายปี ถ้ามีข้อสงสัยต้องการตรวจสอบเพิ่มเติมในข้อเท็จจริงก็ทำได้ ประสาน ปปง. ปปช. กรมสรรพากร หน่วยงานรัฐเหล่านี้เค้าให้ความร่วมมืออยู่แล้ว "นายเรืองไกร กล่าว
**"สุพล"ขอตามสอบทุจริตพัชรวาท
นายสุพล ฟองงาม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึง กรณีที่ได้ลงนามหนังสือบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ถึง นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างบริษัท เอ็น เอส มีเดีย แอสโซซิเอทส์ ทำประชาสัมพันธ์ของ สตช. ด้วยวิธีพิเศษ ในวงเงินงบประมาณกว่า 18 ล้านบาท เมื่อปี 2548 ว่า ตนในขณะที่ส่งหนังสือฉบับดังกล่าวได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และได้พบข้อมูลหนังสือตามเนื้อหาที่เห็นควรนำเสนอนายกรัฐมนตรีให้ทราบ
โดยหนังสือฉบับดังกล่าวมีการสรุปไว้ตั้งแต่สมัย นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ดูแลไว้ก่อนหน้าที่ตนจะเข้ารับตำแหน่ง ดังนั้นเมื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. และตนก็หมดวาระตามรัฐบาลนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์)ไปแล้ว จึงไม่ได้ติดตามความคืบหน้าว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว แต่ยืนยันว่าตนยังสนใจการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่ออยู่ แต่ตนจะใช้สถานะการเป็น ส.ส. ติดตามความคืบหน้าต่อไป
สำหรับหนังสือที่นายสุพล ฟองงาม นำเสนอนายอภิสิทธิ์ มีเนื้อหาว่า วันที่ 19 ธ.ค.2551 มีบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ลับมาก ส่วนราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล ที่ นร.0405/9062 ลงวันที่ 19 ธ.ค.2551 เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง กราบเรียน นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) โดยเนื้อหาของบันทึกดังกล่าวได้เล่าเรื่องที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้มีหนังสือลงวันที่ 26 พ.ย.2551 เรียนนายกรัฐมนตรีกล่าวหาว่า พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.บุญเรือง ปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและกระทำผิดวินัยร้ายแรง พร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบ และในบันทึกข้อความดังกล่าวได้เล่าถึงข้อเท็จจริงทั้งหมดพร้อมเสนอข้อพิจารณา เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับการสืบสวนข้อเท็จจริงและตามสั่งการนายกรัฐมนตรี (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ลงวันที่ 28 พ.ย. 51 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง พล.ต.อ.พัชรวาท และ พล.ต.ท.บุญเรือง จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้องเท็จจริง ประกอบด้วย 1.นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด เป็นประธานกรรมการ 2.นายวชิระ เพ่งผล ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการ 3.พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ที่ปรึกษา (สบ 10) เป็นกรรมการ 4.พล.ต.ท.สุรสีห์ สุนทรศารทูล จเรตำรวจ (สบ 8 ) เป็นกรรมการ 5.พล.ต.ท.เจตน์ มงคลหัตถี ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและสอบสวนเป็นกรรมการ/เลขานุการ (ลงนามโดย นายสุพล ฟองงาม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
**"พัชรวาท" ปัดข้อหาทุจริต**
พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ถอบคำถามผู้สื่อข่าว กรณีประชาชนยังสงสัยการกลับมาทำหน้าที่ ผบ.ตร.ว่า เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือไม่ พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า การรับราชการเป็นเรื่องปกติเมื่อถูกคำสั่งให้ไปช่วยราชการได้ ก็สามารถกลับมาได้ ส่วน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ชาย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น ก็พูดคุยกันตามปกติ แต่ไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องนี้
ส่วนกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส อดีต ผบ.ตร.กล่าวหาว่า ทุจริต พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าวว่า ตลอดการรับราชการยืนยันว่าทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ เชื่อว่า ทำงานทุกอย่างตรงไปตรงมาตามขั้นตอน และหวังดีกับประเทศชาติ
**"มาร์ค" ยึดข้อเท็จจริง 7 ตุลาฯ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ได้รับผลการตรวจสอบเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า ได้รับในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ที่ได้ไปยื่นร้องเรียนให้ตรวจสอบไว้ ส่วนในฐานะนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้รับเรื่อง
ทั้งนี้ ผลสอบมีผู้รับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน คือฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็นรัฐบาลชุดที่แล้ว และฝ่ายปฏิบัติ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเหตุการณ์ ปฏิบัติงานอยู่ในช่วงเวลาที่เกิดขึ้น ซึ่งเชื่อว่าในหลักการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จะส่งเรื่องไปให้ ป.ป.ช. ดำเนินการ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง ซึ่งเป็นไปตามข้อกฎหมาย ในส่วนของรัฐบาลคงต้องรอว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน จะมีข้อเสนอมาให้ดำเนินการอย่างไร
สำหรับโทษนั้น มองว่ามีทั้งวินัยและอาญา ซึ่งในส่วนของข้าราชการการเมืองที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็จะไม่มีความผิดด้านวินัย เหลือแต่ความผิดอาญาส่วนคณะกรรมการชุดที่รัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตั้งขึ้นมาตรวจสอบ ซึ่งมี นายปรีชา พานิชวงศ์ เป็นประธาน ได้ทราบว่ายุติการตรวจสอบไปแล้ว เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ และเวลาทำงานมีจำกัด
ทั้งนี้ ข้อเสนอส่วนใหญ่ที่ได้รับ เป็นเรื่องของการดำเนินการปรับปรุงกฎหมายการอบรมเจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม อย่างไรก็ตามยืนยันว่าตนเองจะให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยการให้ความเป็นธรรมที่ดีคือดูตามข้อเท็จจริง ไม่ดูชื่อ ซึ่งคงต้องรอให้การแถลงนโยบายของรัฐบาลเสร็จสิ้นก่อน แล้วจะดำเนินการเรื่องนี้ในภายหลัง คาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงเวลา 1-2 เดือนหลังจากนี้.