เอเอฟพี - ตลาดหุ้นเอเชียมีหวังต้องเผชิญหน้ากับความผันผวนรุนแรงในต้นปี 2009 ก่อนที่จะเริ่มดีดตัวกลับขึ้นมาทีละขั้น จากมาตรการต่างๆ ในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุนและในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ เริ่มบังเกิดสัมฤทธิ์ผล
ตลาดหุ้นเอเชียในปีนี้โดยองค์รวม มีมูลค่าตลาดลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง สืบเนื่องจากวิกฤตการเงินครั้งร้ายแรงของโลก นับแต่หลังยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา และผู้ซื้อก็ยังไม่กลับคืนสู่ตลาดจนกว่าจะเห็นว่าภาวะดิ่งลงต่อเนื่องจะสิ้นสุดลงแล้ว
"ตลาดเอเชียจะยังคงตกเป็นเชลยของภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและวิกฤตการเงินในสหรัฐฯต่อไป เราควรต้องเตรียมรับมือกับสภาพที่ย่ำแย่ถึงที่สุด" ทิม คอนดอน หัวหน้านักวิจัยแห่งไอเอ็นจี ไฟแนนเชียล มาร์เกตส์กล่าว
ตอนนี้ บรรดานักวิเคราะห์ยังไม่มีเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ ว่าเมื่อใดเศรษฐกิจโลกจึงจะเริ่มฟื้นตัว
พวกที่มองโลกในแง่ดีหน่อยก็บอกว่าโอกาสแห่งการฟื้นตัวนั้นจะอยู่ในไตรมาสสองของปีหน้า แต่บางคนก็บอกว่าภาวะชะลอตัวจะยาวนาน บางทีอาจจะถึงปี 2011 เสียด้วยซ้ำ
"ตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียน่าจะยังต้องร่วงลงมากกว่านี้อีก ก่อนที่การฟื้นตัวกันเป็นระยะยาวจะเข้ามาแทนที่" ดาริอุส โควาลซิก หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนที่ซีเอฟซี ซีมอร์ในฮ่องกง กล่าว
"เราไม่คาดว่าการฟื้นตัวจะกลับมาเร็วนัก สิ่งที่ตลาดยังคงวิตกกันอยู่ในตอนนี้ก็คือว่าเมื่อใดเศรษฐกิจภาคแท้จริงจะตกลงจนถึงระดับต่ำสุดเสียที" เขากล่าวเสริม
แต่นักวิเคราะห์อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่า มีโอกาสที่ตลาดจะดีดกลับขึ้นมาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ภายหลังจากดิ่งลงไปรุนแรงในระยะไม่นานมานี้
กระทั่งตัวโควาลซิกเองที่เหมือนกับมองโลกในแง่ร้าย ก็กลับยังคงคาดว่าดัชนีนิกเคอิของตลาดหุ้นโตเกียวจะพุ่งขึ้นราว 27%ในตลอดปี 2009 ส่วนดัชนีฮั่งเส็งของตลาดฮ่องกงจะดีดกลับมา 29% และดัชนีคอมโพสิตของตลาดเซี่ยงไฮ้จะฟื้นตัวราว 40% ในช่วงเดียวกัน ทว่าการฟื้นตัวเช่นนี้จะยังไม่ทำให้ดัชนีกลับมาอยู่ในระดับเดิมของต้นปี 2008
ความเชื่อที่มีการนำเสนอกันเป็นทฤษฎี "decoupling" ที่ว่าตลาดเฟื่องฟูใหม่โดยเฉพาะแถบเอเชีย มีปัจจัยพื้นฐานอันแข็งแกร่งจนสามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง และดังนั้นจึงน่าจะสามารถต้านทานปัญหาขาดแคลนสินเชื่ออย่างรุนแรงที่ลุกลามมาจากสหรัฐฯได้นั้น บัดนี้ได้กลายเป็นทฤษฎีเชยๆ ซึ่งผู้เสนอทั้งหลายก็หน้าม้านแทบไม่อยากพูดถึง ตั้งแต่ที่ได้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะถดถอย รวมทั้งเศรษฐกิจของจีนก็เติบโตช้าลงอย่างมาก อันเนื่องมาจากความต้องการสินค้าส่งออกของทั้งสองประเทศที่เหือดหายไปอย่างรวดเร็ว
"มันเป็นปีแห่งฝันร้ายสำหรับทุกคนที่ไม่ได้ถือพันธบัตรรัฐบาลเอาไว้ และผมก็หวังว่าจะไม่ต้องเห็นสภาพเช่นนี้อีก" โควาลซิกกล่าว
ดัชนีหุ้นเอ็มเอสซีไอของทั่วเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น ซึ่งวัดผลประกอบของตลาดหุ้นเอเชีย 11 ประเทศจากปากีสถานไปถึงจีน ในปีนี้ทรุดฮวบลง 53% ขณะที่ดัชนีนิกเคอิของญี่ปุ่นก็ร่วงไป 46% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปีเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ด้านดัชนีฮ่องกงร่วงลงไป 48% ส่วนเซี่ยงไฮ้นั้นอาการหนักกว่าเพื่อนเพราะมูลค่าหดหายไปถึง 62% ขณะที่มุมไบไล่ตามมาที่ติดลบ 54% หลังจากเหตุการณ์โจมตีเมืองมุมไบของกลุ่มก่อการร้ายเมื่อเดือนที่แล้ว
ส่วนตลาดอื่น ๆอย่างเช่น ซิดนีย์ จาการ์ตา และกรุงเทพฯก็มีมูลค่าหุ้นลดลงครึ่งหนึ่ง ส่วนตลาดโซลนั้น ดัชนีคอสปีร่วงไป 42%
ทางด้านบรรดาธนาคารพาณิชย์ พากันลังเลที่จะให้กู้ยืม ส่วนบริษัทต่าง ๆก็ตัดลดการลงทุน ปัจจัยทั้งสองนี้ไปฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แม้ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะพยายามอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ตลาดก็ตาม
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ออกมาเตือนว่า หากภาวะตกต่ำยังคงดำเนินต่อไป ตลาดเอเชียอาจจะต้องเผชิญหน้ากับกระแสของการงดจ่ายหนี้ของบรรดาบริษัทต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะล้มละลายของธนาคารในภูมิภาคหลายราย เพราะไม่สามารถจะหาเม็ดเงินเข้ามาดำเนินธุรกิจได้
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ต่างคิดว่าเอเชียยังคงมีสภาพการณ์ดีกว่าในสหรัฐฯและยุโรป อันเนื่องมาจากระบบการเงินยังคงมีสภาพคล่องมากกว่า และรัฐบาลมีทางเลือกมากกว่าทั้งด้านนโยบายการเงินและการคลังเพื่อทำให้เศรษฐกิจเกิดการถดถอยน้อยที่สุด
ระยะไม่นานมานี้ บรรดาประเทศเอเชียต่างทยอยประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา โดยมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ให้ทดแทนการส่งออกที่อ่อนตัวลงอย่างมาก
เมื่อเดือนที่แล้วจีนประกาศมาตรการมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนมุ่งไปที่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ รวมทั้งเพิ่มสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ส่วนญี่ปุ่นก็ประกาศในต้นเดือนนี้ถึงมาตรการอัดฉีดเม็ดเงิน 23 ล้านล้านเยน(255,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อช่วยแรงงาน เจ้าของบ้านและธนาคาร เพิ่มเติมจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 26.9 ล้านล้านเยนที่ประกาศออกมาเมื่อเดือนตุลาคม นอกจากนั้นเมื่อวันพุธ(24)ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้เสนอร่างงบประมาณประจำปีใหม่ (เม.ย.09-มี.ค.10) ที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นั่นคือ 88.5 ล้านล้านเยน โดยที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นจำนวนมาก
สำหรับทางการอินเดียก็เผยแผนมูลค่า 4,100 ล้านดอลลาร์ ที่มุ่งหมายจะฉุดให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้นเช่นเดียวกัน
นักวิเคราะห์เห็นว่าความพยายามของรัฐบาลเหล่านี้จะส่งผลทางบวกต่อตลาดหลักทรัพย์ของภูมิภาคเอเชียในเวลาไม่นานต่อจากนี้
ตลาดหุ้นเอเชียในปีนี้โดยองค์รวม มีมูลค่าตลาดลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง สืบเนื่องจากวิกฤตการเงินครั้งร้ายแรงของโลก นับแต่หลังยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) ในทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา และผู้ซื้อก็ยังไม่กลับคืนสู่ตลาดจนกว่าจะเห็นว่าภาวะดิ่งลงต่อเนื่องจะสิ้นสุดลงแล้ว
"ตลาดเอเชียจะยังคงตกเป็นเชลยของภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและวิกฤตการเงินในสหรัฐฯต่อไป เราควรต้องเตรียมรับมือกับสภาพที่ย่ำแย่ถึงที่สุด" ทิม คอนดอน หัวหน้านักวิจัยแห่งไอเอ็นจี ไฟแนนเชียล มาร์เกตส์กล่าว
ตอนนี้ บรรดานักวิเคราะห์ยังไม่มีเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ ว่าเมื่อใดเศรษฐกิจโลกจึงจะเริ่มฟื้นตัว
พวกที่มองโลกในแง่ดีหน่อยก็บอกว่าโอกาสแห่งการฟื้นตัวนั้นจะอยู่ในไตรมาสสองของปีหน้า แต่บางคนก็บอกว่าภาวะชะลอตัวจะยาวนาน บางทีอาจจะถึงปี 2011 เสียด้วยซ้ำ
"ตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียน่าจะยังต้องร่วงลงมากกว่านี้อีก ก่อนที่การฟื้นตัวกันเป็นระยะยาวจะเข้ามาแทนที่" ดาริอุส โควาลซิก หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์การลงทุนที่ซีเอฟซี ซีมอร์ในฮ่องกง กล่าว
"เราไม่คาดว่าการฟื้นตัวจะกลับมาเร็วนัก สิ่งที่ตลาดยังคงวิตกกันอยู่ในตอนนี้ก็คือว่าเมื่อใดเศรษฐกิจภาคแท้จริงจะตกลงจนถึงระดับต่ำสุดเสียที" เขากล่าวเสริม
แต่นักวิเคราะห์อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่า มีโอกาสที่ตลาดจะดีดกลับขึ้นมาตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ภายหลังจากดิ่งลงไปรุนแรงในระยะไม่นานมานี้
กระทั่งตัวโควาลซิกเองที่เหมือนกับมองโลกในแง่ร้าย ก็กลับยังคงคาดว่าดัชนีนิกเคอิของตลาดหุ้นโตเกียวจะพุ่งขึ้นราว 27%ในตลอดปี 2009 ส่วนดัชนีฮั่งเส็งของตลาดฮ่องกงจะดีดกลับมา 29% และดัชนีคอมโพสิตของตลาดเซี่ยงไฮ้จะฟื้นตัวราว 40% ในช่วงเดียวกัน ทว่าการฟื้นตัวเช่นนี้จะยังไม่ทำให้ดัชนีกลับมาอยู่ในระดับเดิมของต้นปี 2008
ความเชื่อที่มีการนำเสนอกันเป็นทฤษฎี "decoupling" ที่ว่าตลาดเฟื่องฟูใหม่โดยเฉพาะแถบเอเชีย มีปัจจัยพื้นฐานอันแข็งแกร่งจนสามารถเติบโตได้ด้วยตนเอง และดังนั้นจึงน่าจะสามารถต้านทานปัญหาขาดแคลนสินเชื่ออย่างรุนแรงที่ลุกลามมาจากสหรัฐฯได้นั้น บัดนี้ได้กลายเป็นทฤษฎีเชยๆ ซึ่งผู้เสนอทั้งหลายก็หน้าม้านแทบไม่อยากพูดถึง ตั้งแต่ที่ได้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นตกอยู่ในภาวะถดถอย รวมทั้งเศรษฐกิจของจีนก็เติบโตช้าลงอย่างมาก อันเนื่องมาจากความต้องการสินค้าส่งออกของทั้งสองประเทศที่เหือดหายไปอย่างรวดเร็ว
"มันเป็นปีแห่งฝันร้ายสำหรับทุกคนที่ไม่ได้ถือพันธบัตรรัฐบาลเอาไว้ และผมก็หวังว่าจะไม่ต้องเห็นสภาพเช่นนี้อีก" โควาลซิกกล่าว
ดัชนีหุ้นเอ็มเอสซีไอของทั่วเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น ซึ่งวัดผลประกอบของตลาดหุ้นเอเชีย 11 ประเทศจากปากีสถานไปถึงจีน ในปีนี้ทรุดฮวบลง 53% ขณะที่ดัชนีนิกเคอิของญี่ปุ่นก็ร่วงไป 46% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปีเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ด้านดัชนีฮ่องกงร่วงลงไป 48% ส่วนเซี่ยงไฮ้นั้นอาการหนักกว่าเพื่อนเพราะมูลค่าหดหายไปถึง 62% ขณะที่มุมไบไล่ตามมาที่ติดลบ 54% หลังจากเหตุการณ์โจมตีเมืองมุมไบของกลุ่มก่อการร้ายเมื่อเดือนที่แล้ว
ส่วนตลาดอื่น ๆอย่างเช่น ซิดนีย์ จาการ์ตา และกรุงเทพฯก็มีมูลค่าหุ้นลดลงครึ่งหนึ่ง ส่วนตลาดโซลนั้น ดัชนีคอสปีร่วงไป 42%
ทางด้านบรรดาธนาคารพาณิชย์ พากันลังเลที่จะให้กู้ยืม ส่วนบริษัทต่าง ๆก็ตัดลดการลงทุน ปัจจัยทั้งสองนี้ไปฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แม้ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะพยายามอัดฉีดเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ตลาดก็ตาม
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ออกมาเตือนว่า หากภาวะตกต่ำยังคงดำเนินต่อไป ตลาดเอเชียอาจจะต้องเผชิญหน้ากับกระแสของการงดจ่ายหนี้ของบรรดาบริษัทต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะล้มละลายของธนาคารในภูมิภาคหลายราย เพราะไม่สามารถจะหาเม็ดเงินเข้ามาดำเนินธุรกิจได้
อย่างไรก็ตาม บรรดานักวิเคราะห์ต่างคิดว่าเอเชียยังคงมีสภาพการณ์ดีกว่าในสหรัฐฯและยุโรป อันเนื่องมาจากระบบการเงินยังคงมีสภาพคล่องมากกว่า และรัฐบาลมีทางเลือกมากกว่าทั้งด้านนโยบายการเงินและการคลังเพื่อทำให้เศรษฐกิจเกิดการถดถอยน้อยที่สุด
ระยะไม่นานมานี้ บรรดาประเทศเอเชียต่างทยอยประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา โดยมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ให้ทดแทนการส่งออกที่อ่อนตัวลงอย่างมาก
เมื่อเดือนที่แล้วจีนประกาศมาตรการมูลค่า 4 ล้านล้านหยวนมุ่งไปที่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ รวมทั้งเพิ่มสวัสดิการสังคมต่าง ๆ
ส่วนญี่ปุ่นก็ประกาศในต้นเดือนนี้ถึงมาตรการอัดฉีดเม็ดเงิน 23 ล้านล้านเยน(255,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อช่วยแรงงาน เจ้าของบ้านและธนาคาร เพิ่มเติมจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 26.9 ล้านล้านเยนที่ประกาศออกมาเมื่อเดือนตุลาคม นอกจากนั้นเมื่อวันพุธ(24)ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้เสนอร่างงบประมาณประจำปีใหม่ (เม.ย.09-มี.ค.10) ที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นั่นคือ 88.5 ล้านล้านเยน โดยที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เป็นจำนวนมาก
สำหรับทางการอินเดียก็เผยแผนมูลค่า 4,100 ล้านดอลลาร์ ที่มุ่งหมายจะฉุดให้เศรษฐกิจขยายตัวขึ้นเช่นเดียวกัน
นักวิเคราะห์เห็นว่าความพยายามของรัฐบาลเหล่านี้จะส่งผลทางบวกต่อตลาดหลักทรัพย์ของภูมิภาคเอเชียในเวลาไม่นานต่อจากนี้