ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เผย แนวโน้มส่งออกยางพาราไทยไตรมาส 2 คึก หลังจีนประกาศเศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 6% เหตุอุตสาหกรรมรถยนต์เติบโตสูง และสต๊อกยางเริ่มหมด อีกทั้งเข้าสู่ฤดูการกรีดยาง ส่วนภาพรวมราคายังมีความผันผวนสูง ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 46.30% ในเดือนเมษายนนี้
นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกยางของไทยเริ่มคึกคักขึ้นในไตรมาสที่ 2 หลังจากประเทศจีนประกาศการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีตัวเลข GDP ไม่ต่ำกว่า 6% โดยอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ได้มีสัญญาณการขยายตัวตามอุตสาหกรรมรถยนต์ ประกอบกับสต๊อกยางเริ่มลดตัวลง โดยเฉพาะในตลาดเซี่ยงไฮ้ ทำให้มีการสั่งซื้อยางพาราเพิ่มขึ้น และยังนับเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับเศรษฐกิจโลกอีกด้วย อีกทั้งการไม่ต่ออายุมาตรการระยะสั้นในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำตามมติที่ประชุมสภาความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ (IRTC) ที่ไทยจะต้องลดการส่งออกช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค) อันทำให้การส่งออกล่าช้า เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบสต๊อกยางของผู้ส่งออก และควบคุมการออกใบผ่านด่านไม่ให้ส่งออกยางในปริมาณเกินที่กำหนดแต่ละเดือน ส่งผลให้ไตรมาสแรกมีปริมาณการซื้อขายยางลดลงอย่างมาก
นอกจากนี้ ในด้านปริมาณการผลิตยาง ตั้งแต่กลางเดือนเมษายนนี้ จะเป็นช่วงเปิดหน้ายางและเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลกรีดยาง เป็นผลให้ปริมาณยางเริ่มทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อผู้ขายในตลาดจริง เริ่มรับซื้อยางและวางแผนการผลิตรอบใหม่ ปัจจัยดังกล่าวน่าจะผลักดันให้ราคายางในตลาดจริงเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวและมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
นายนิทัศน์ กล่าวเสริมว่า การซื้อขายใน AFET ก็เป็นไปตามภาวะของตลาดยางทั้งในและต่างประเทศ โดยความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ในเดือนมกราคม เท่ากับ 61.43% เดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับ 15.90% และล่าสุดเดือนมีนาคม ความผันผวนเริ่มสูงขึ้นเท่ากับ 22.92% สำหรับในเดือนเมษายน ความผันผวนของราคาได้กลับมาเพิ่มสูงขึ้นเป็น 46.30% ตามปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานประกอบกับราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินเยนมีความผันผวนมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก
ดังนั้น จากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวทั้งในเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน ประกอบกับข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกเป็นสัญญาณที่คาดว่าจะทำให้การซื้อขายยางล่วงหน้ากลับมาคึกคักอีกครั้ง
นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกยางของไทยเริ่มคึกคักขึ้นในไตรมาสที่ 2 หลังจากประเทศจีนประกาศการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีตัวเลข GDP ไม่ต่ำกว่า 6% โดยอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ได้มีสัญญาณการขยายตัวตามอุตสาหกรรมรถยนต์ ประกอบกับสต๊อกยางเริ่มลดตัวลง โดยเฉพาะในตลาดเซี่ยงไฮ้ ทำให้มีการสั่งซื้อยางพาราเพิ่มขึ้น และยังนับเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับเศรษฐกิจโลกอีกด้วย อีกทั้งการไม่ต่ออายุมาตรการระยะสั้นในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำตามมติที่ประชุมสภาความร่วมมือด้านยางระหว่างประเทศ (IRTC) ที่ไทยจะต้องลดการส่งออกช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค) อันทำให้การส่งออกล่าช้า เนื่องจากต้องมีการตรวจสอบสต๊อกยางของผู้ส่งออก และควบคุมการออกใบผ่านด่านไม่ให้ส่งออกยางในปริมาณเกินที่กำหนดแต่ละเดือน ส่งผลให้ไตรมาสแรกมีปริมาณการซื้อขายยางลดลงอย่างมาก
นอกจากนี้ ในด้านปริมาณการผลิตยาง ตั้งแต่กลางเดือนเมษายนนี้ จะเป็นช่วงเปิดหน้ายางและเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลกรีดยาง เป็นผลให้ปริมาณยางเริ่มทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ผู้ซื้อผู้ขายในตลาดจริง เริ่มรับซื้อยางและวางแผนการผลิตรอบใหม่ ปัจจัยดังกล่าวน่าจะผลักดันให้ราคายางในตลาดจริงเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวและมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
นายนิทัศน์ กล่าวเสริมว่า การซื้อขายใน AFET ก็เป็นไปตามภาวะของตลาดยางทั้งในและต่างประเทศ โดยความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ในเดือนมกราคม เท่ากับ 61.43% เดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับ 15.90% และล่าสุดเดือนมีนาคม ความผันผวนเริ่มสูงขึ้นเท่ากับ 22.92% สำหรับในเดือนเมษายน ความผันผวนของราคาได้กลับมาเพิ่มสูงขึ้นเป็น 46.30% ตามปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานประกอบกับราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินเยนมีความผันผวนมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลก
ดังนั้น จากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าวทั้งในเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน ประกอบกับข้อมูลเกี่ยวกับการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกเป็นสัญญาณที่คาดว่าจะทำให้การซื้อขายยางล่วงหน้ากลับมาคึกคักอีกครั้ง