หลายๆ ประเทศกำลังวิตกกังวลว่าการค้า การขายในปีหน้าจะเป็นอย่างไร ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังเกิดขึ้นลุกลามไปทั่วโลก จากผลพวงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และได้ขยายวงกว้างลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งในส่วนของไทยเอง ก็มีความกังวลจากฝ่ายต่างๆ ที่ออกมาระบุว่า ในปี 2552 นี้ จะเป็นปีที่ทำมาค้าขายลำบาก โดยเฉพาะในด้านการส่งออก บ้างก็มองว่าจะไม่ขยายตัว หรือมองในแง่ร้ายถึงขั้นที่ว่าจะขยายตัวติดลบ
ถามว่ากระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่รับผิดชอบในด้านการผลักดันการส่งออก มีความเห็นกับตรงหรือขัดแย้งกับสิ่งที่ฝ่ายต่างๆ ทั้งนักวิชาการ องค์กรภาคเอกชน ออกมาระบุหรือไม่
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่กุมบังเหียรกระทรวงพาณิชย์ขณะนี้ และรับผิดชอบโดยตรงในการกำหนดเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 ตอบว่า “เราจะทำให้ดีที่สุด เพื่อให้การส่งออกไม่ขยายตัวติดลบ และขยายตัวเป็นบวกให้ได้”
จากผลการหารือของกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับภาคเอกชนในกลุ่มสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ทุกๆ คนให้ภาพว่า ในปีหน้าการส่งออกน่าเป็นห่วง หลายๆ สินค้าจะมีอัตราการขยายตัวติดลบ เพราะเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวลง ทำให้ส่งออกได้ยากขึ้น
ถามว่าสินค้าอะไรที่น่าเป็นห่วง และจะต้องจับตาเป็นพิเศษ นายศิริพลตอบว่า สินค้าในกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า น่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะสินค้า 3 กลุ่มนี้ มียอดส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 37% ของยอดส่งออกรวม และมองกันว่าการส่งออกปีหน้าค่อนข้างจะชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในภาพรวมไม่มากก็น้อย
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะมีแต่สินค้าที่ส่งออกชะลอตัว แต่สินค้าหลายๆ กลุ่ม จะยังมีการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง วัสดุก่อสร้าง เม็ดพลาสติก สิ่งพิมพ์ เครื่องหนัง รองเท้า เครื่องใช้เครื่องตกแต่ง เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ เครื่องกีฬา และของเล่น รวมถึงสินค้าเกษตรและอาหาร ที่กระทรวงพาณิชย์จะผลักดันอย่างเต็มที่ เพราะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องและสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศมาก
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ยังคาดหวังว่า ผลจากการที่ประเทศต่างๆ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น และจะเป็นโอกาสในการทำให้ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
จากการประเมินข้างต้น ทำให้กระทรวงพาณิชย์มองในหลักการว่า ตัวเลขการส่งออกในปีหน้า ถ้าจะตั้งให้โตที่ 5% น่าจะเป็นตัวเลขที่เหมาะสม
ถามว่า เป็นไปได้แค่ไหนที่จะผลักดันให้การส่งออกขยายตัว 5% นายศิริพลตอบว่า เอกชนมอบว่าการส่งออกภาพรวมจะติดลบ แต่กระทรวงพาณิชย์ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น ตัวไหนที่เอกชนบอกว่าจะส่งออกติดลบ จะพยายามทำให้ติดลบน้อยที่สุด หรือต้องทำให้เป็นบวกให้ได้
“การประเมินส่งออกจะขยายตัวติดลบ เป็นการมองในแง่ร้าย ผมยังเชื่อว่าส่งออกจะไม่แย่ขนาดนั้น ถ้าแย่สุดคงโต 0% ถ้าดีสุดก็ 5% หรือไม่ก็อยู่ระหว่าง 0-5%”นายศิริพลกล่าว
นายศิริพลบอกถึงแผนที่จะดำเนินการเพื่อให้เป้าหมายการส่งออกขยายตัวให้ได้ 5% ว่า ตอนนี้ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ทั่วโลก ไปดำเนินมาตรการผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น และขอให้เข้าถึงผู้นำเข้าในประเทศที่ตนเองประจำอยู่ และมีการติดตามสถานการณ์สินค้าไทยอย่างใกล้ชิด โดยจะต้องประเมินว่าสินค้าไทยรายการไหนมีโอกาสในการบุกเจาะตลาด เพื่อหาช่องทางในการส่งออกสินค้าไทยให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ให้เร่งชี้แจงและทำความมั่นใจให้เกิดขึ้นว่าสถานการณ์หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในไทยในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการประท้วง การปิดสนามบิน กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอีก
พร้อมกันนี้ กระทรวงพาณิชย์กำลังจะหามาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านการเงินและสินเชื่อให้กับผู้ส่งออก เพราะประเมินว่า แนวโน้มผู้ส่งออกจะมีปัญหาในด้านนี้ หลังจากที่สถาบันการเงินต่างๆ จะเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งล่าสุดกรมส่งเสริมการส่งออกได้มีการหารือร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว
ถามว่า จนถึงขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังเป็นห่วงในเรื่องอะไรอีก นายศิริพลตอบว่า เรื่องส่งออกก็ยังน่าเป็นห่วง แต่ก็จะทำให้ดีที่สุด ส่วนเรื่องอื่นที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็คือ การที่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก อาศัยสถานการณ์ในตอนนี้ที่ว่าส่งออกไม่ได้ ส่งออกชะลอตัว กำไรลด แล้วหาทางปรับลดคนงาน หรือไล่คนงานออก เพื่อลดต้นทุน มันไม่ควร อะไรที่ช่วยกันได้ ก็ควรช่วยกันก่อน ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่ควรจะซ้ำเติมกัน ควรจะใช้วิธีการอื่นๆ แทน เพราะไม่เช่นนั้น เศรษฐกิจของประเทศก็จะมีปัญหาตามมาอีก
ถามว่ากระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่รับผิดชอบในด้านการผลักดันการส่งออก มีความเห็นกับตรงหรือขัดแย้งกับสิ่งที่ฝ่ายต่างๆ ทั้งนักวิชาการ องค์กรภาคเอกชน ออกมาระบุหรือไม่
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่กุมบังเหียรกระทรวงพาณิชย์ขณะนี้ และรับผิดชอบโดยตรงในการกำหนดเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 ตอบว่า “เราจะทำให้ดีที่สุด เพื่อให้การส่งออกไม่ขยายตัวติดลบ และขยายตัวเป็นบวกให้ได้”
จากผลการหารือของกรมส่งเสริมการส่งออก ร่วมกับภาคเอกชนในกลุ่มสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ทุกๆ คนให้ภาพว่า ในปีหน้าการส่งออกน่าเป็นห่วง หลายๆ สินค้าจะมีอัตราการขยายตัวติดลบ เพราะเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวลง ทำให้ส่งออกได้ยากขึ้น
ถามว่าสินค้าอะไรที่น่าเป็นห่วง และจะต้องจับตาเป็นพิเศษ นายศิริพลตอบว่า สินค้าในกลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า น่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะสินค้า 3 กลุ่มนี้ มียอดส่งออกคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 37% ของยอดส่งออกรวม และมองกันว่าการส่งออกปีหน้าค่อนข้างจะชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในภาพรวมไม่มากก็น้อย
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะมีแต่สินค้าที่ส่งออกชะลอตัว แต่สินค้าหลายๆ กลุ่ม จะยังมีการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง วัสดุก่อสร้าง เม็ดพลาสติก สิ่งพิมพ์ เครื่องหนัง รองเท้า เครื่องใช้เครื่องตกแต่ง เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ เครื่องกีฬา และของเล่น รวมถึงสินค้าเกษตรและอาหาร ที่กระทรวงพาณิชย์จะผลักดันอย่างเต็มที่ เพราะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องและสร้างรายได้ให้กับคนในประเทศมาก
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ยังคาดหวังว่า ผลจากการที่ประเทศต่างๆ อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัว จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น และจะเป็นโอกาสในการทำให้ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
จากการประเมินข้างต้น ทำให้กระทรวงพาณิชย์มองในหลักการว่า ตัวเลขการส่งออกในปีหน้า ถ้าจะตั้งให้โตที่ 5% น่าจะเป็นตัวเลขที่เหมาะสม
ถามว่า เป็นไปได้แค่ไหนที่จะผลักดันให้การส่งออกขยายตัว 5% นายศิริพลตอบว่า เอกชนมอบว่าการส่งออกภาพรวมจะติดลบ แต่กระทรวงพาณิชย์ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น ตัวไหนที่เอกชนบอกว่าจะส่งออกติดลบ จะพยายามทำให้ติดลบน้อยที่สุด หรือต้องทำให้เป็นบวกให้ได้
“การประเมินส่งออกจะขยายตัวติดลบ เป็นการมองในแง่ร้าย ผมยังเชื่อว่าส่งออกจะไม่แย่ขนาดนั้น ถ้าแย่สุดคงโต 0% ถ้าดีสุดก็ 5% หรือไม่ก็อยู่ระหว่าง 0-5%”นายศิริพลกล่าว
นายศิริพลบอกถึงแผนที่จะดำเนินการเพื่อให้เป้าหมายการส่งออกขยายตัวให้ได้ 5% ว่า ตอนนี้ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ทั่วโลก ไปดำเนินมาตรการผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น และขอให้เข้าถึงผู้นำเข้าในประเทศที่ตนเองประจำอยู่ และมีการติดตามสถานการณ์สินค้าไทยอย่างใกล้ชิด โดยจะต้องประเมินว่าสินค้าไทยรายการไหนมีโอกาสในการบุกเจาะตลาด เพื่อหาช่องทางในการส่งออกสินค้าไทยให้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ให้เร่งชี้แจงและทำความมั่นใจให้เกิดขึ้นว่าสถานการณ์หรือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในไทยในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการประท้วง การปิดสนามบิน กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และจะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอีก
พร้อมกันนี้ กระทรวงพาณิชย์กำลังจะหามาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านการเงินและสินเชื่อให้กับผู้ส่งออก เพราะประเมินว่า แนวโน้มผู้ส่งออกจะมีปัญหาในด้านนี้ หลังจากที่สถาบันการเงินต่างๆ จะเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งล่าสุดกรมส่งเสริมการส่งออกได้มีการหารือร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว
ถามว่า จนถึงขณะนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังเป็นห่วงในเรื่องอะไรอีก นายศิริพลตอบว่า เรื่องส่งออกก็ยังน่าเป็นห่วง แต่ก็จะทำให้ดีที่สุด ส่วนเรื่องอื่นที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็คือ การที่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก อาศัยสถานการณ์ในตอนนี้ที่ว่าส่งออกไม่ได้ ส่งออกชะลอตัว กำไรลด แล้วหาทางปรับลดคนงาน หรือไล่คนงานออก เพื่อลดต้นทุน มันไม่ควร อะไรที่ช่วยกันได้ ก็ควรช่วยกันก่อน ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่ควรจะซ้ำเติมกัน ควรจะใช้วิธีการอื่นๆ แทน เพราะไม่เช่นนั้น เศรษฐกิจของประเทศก็จะมีปัญหาตามมาอีก