เคยมีคำถามว่า ทำไม? กระทรวงพาณิชย์ถึงได้กล้าตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2551 ไว้สูงถึง 12.5% ทั้งๆ ที่สถานการณ์ด้านราคาน้ำมันยังคงมีความผันผวน ปัญหาเงินบาทแข็งค่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ต่างมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง และไม่มีใครเชื่อว่า การส่งออกในปีนี้จะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
หากจำกันได้ เมื่อมีการแถลงตัวเลขการส่งออกในเดือนม.ค. ปรากฎว่าการส่งออกมีมูลค่าสูงถึง 13,959.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.28% เป็นการส่งออกที่สวนสิ่งที่หลายคนคิด ทำให้เกิดการฮือฮาตั้งแต่ต้นปี พอมาเดือนก.พ. การส่งออกลดลงเหลือ 12,991.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยยังคงขยายตัว 16.59% ก็มีการพูดกันว่า การส่งออกเริ่มมีสัญญาณลดลงแล้ว
แต่ถัดมาเดือนมี.ค. การส่งออกก็เพิ่มขึ้นเป็น 14,764.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 14.51% เดือนเม.ย. ลดลงเหลือ 13,765.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.02% พ.ค. กลับมาส่งออกมูลค่า 15,463.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.39% ทำสถิติส่งออกสูงสุดทันที และในเดือนมิ.ย. และก.ค. ก็ทำสถิติส่งออกสูงสุดต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออก 16,268.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และ16,957.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.44% และ 43.9% ตามลำดับ
ผ่านมา 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออกมียอดรวม 104,170 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.1% คิดเป็น 60.9% ของเป้าหมายการส่งออก เหลือไม่ถึง 40% การส่งออกทั้งปีก็จะเข้าเป้า โดยมีระยะเวลาทำงานอีก 5 เดือน
“ตอนนี้ การส่งออกของไทย 7 เดือน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26.1% เกินไปกว่าเป้าหมายแล้ว ซึ่งอีก 5 เดือนที่เหลือ อัตราการขยายตัวที่ตั้งไว้ 12.5% ทำได้แน่นอน ส่วนเป้าพยายามที่กำหนดไว้ 15% และเป้าการทำงานพิเศษตามนโยบายของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.พาณิชย์ ที่ 20% จะพยายามทำอย่างเต็มที่ และมั่นใจว่าหากไม่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงมากมายและรุนแรง น่าจะทำได้”นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวอย่างมั่นใจ
ส่วนการเร่งรัดผลักดันการส่งออกในช่วงที่เหลือ จะมีการดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการส่งออก ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ผลิต ผู้ส่งออกในแต่ละกลุ่มสินค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรม ต่างให้ความเห็นตรงกันว่า การส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะมีคำสั่งซื้อเข้ามาแล้วจนถึงสิ้นปี
ทางด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า นักลงทุน และผู้นำเข้าสินค้าไทย ภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้นั้น นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้หัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศที่ประจำอยู่ทั่วโลก เร่งทำความเข้าใจกับนักธุรกิจ นักลงทุนต่างชาติ และผู้นำเข้าแล้ว โดยชี้ให้เห็นว่า การเมืองกับการค้า เป็นคนละส่วนกัน ไทยยังคงดำเนินการค้าขายอย่างต่อเนื่อง จะไม่มีการหยุดชะงักอย่างแน่นอน
เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ ยังจะมีการประเมินสถานการณ์การส่งออกอีกครั้ง โดยจะใช้โอกาสในการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (บางกอก เจมส์) ที่หัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศจากทั่วโลก นำคณะผู้แทนการค้าจากประเทศต่างๆ เดินทางเข้ามาชมงาน จัดประชุมหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ ทั้งแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ ไปจนกระทั่งแนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552
ที่สำคัญ จะใช้โอกาสเดียวกันนี้ เชิญผู้แทนการค้ากิตติมศักดิ์ (Honorary Trade Adviser - HTA) ของประเทศต่างๆ ที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งขึ้น ซึ่งล่าสุดมีประมาณ 40 ประเทศทั่วโลก ให้เดินทางมาร่วมประชุมและรับทราบแนวนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยด้วย เพื่อให้คนเหล่านี้ มีส่วนช่วยเหลือในการเพิ่มมูลค่าการค้าของไทยในตลาดที่คนเหล่านี้พักอาศัยอยู่
เหตุผลสำคัญ ที่เชิญ HTA เข้ามาในครั้งนี้ เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว กล่าวคือ ส่วนแรกจะขอให้ HTA เพิ่มกิจกรรมที่สนับสนุนการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่เขาประจำอยู่ให้มากขึ้น และอีกส่วนจะใช้โอกาสที่คนเหล่านี้เดินทางเข้ามาประเทศไทย แล้วให้เขาได้เห็นบ้าน เห็นเมืองของไทยว่าไม่มีปัญหาอย่างที่เขาได้เห็นข่าวผ่านทีวีที่มีแต่ความรุนแรง การใช้กำลัง เพราะนั่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ที่มีความเห็นไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้
เมื่อ HTA เข้าใจ และเมื่อนำไปพูดต่อ บอกต่อ จะทำให้ภาพพจน์ของไทยในสายตาชาวโลกดีขึ้น เพราะ HTA ที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งขึ้นนี้ เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ และได้รับการยอมรับในสังคมของประเทศนั้นๆ เมื่อพูดจาอะไร คนก็ย่อมให้ความเชื่อถือ
ในทางกลับกัน กรณีที่นักธุรกิจไทยที่ได้ออกไปทำตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ก็ขอให้คนเหล่านี้ช่วยชี้แจงและทำความเข้าใจกับลูกค้าถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการค้า ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
จากแนวโน้มการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยการรับประกันของผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยว่ายังคงมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ผนวกกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า นักลงทุน และผู้นำเข้าที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เชื่อว่าการส่งออกทั้งปีที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัว 12.5% โดยมีเป้าการทำงานเป็นพิเศษ 15-20% นั้น คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินจริง และเป็นไปไม่ได้
หากจำกันได้ เมื่อมีการแถลงตัวเลขการส่งออกในเดือนม.ค. ปรากฎว่าการส่งออกมีมูลค่าสูงถึง 13,959.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.28% เป็นการส่งออกที่สวนสิ่งที่หลายคนคิด ทำให้เกิดการฮือฮาตั้งแต่ต้นปี พอมาเดือนก.พ. การส่งออกลดลงเหลือ 12,991.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยยังคงขยายตัว 16.59% ก็มีการพูดกันว่า การส่งออกเริ่มมีสัญญาณลดลงแล้ว
แต่ถัดมาเดือนมี.ค. การส่งออกก็เพิ่มขึ้นเป็น 14,764.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 14.51% เดือนเม.ย. ลดลงเหลือ 13,765.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.02% พ.ค. กลับมาส่งออกมูลค่า 15,463.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.39% ทำสถิติส่งออกสูงสุดทันที และในเดือนมิ.ย. และก.ค. ก็ทำสถิติส่งออกสูงสุดต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการส่งออก 16,268.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และ16,957.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.44% และ 43.9% ตามลำดับ
ผ่านมา 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออกมียอดรวม 104,170 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.1% คิดเป็น 60.9% ของเป้าหมายการส่งออก เหลือไม่ถึง 40% การส่งออกทั้งปีก็จะเข้าเป้า โดยมีระยะเวลาทำงานอีก 5 เดือน
“ตอนนี้ การส่งออกของไทย 7 เดือน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 26.1% เกินไปกว่าเป้าหมายแล้ว ซึ่งอีก 5 เดือนที่เหลือ อัตราการขยายตัวที่ตั้งไว้ 12.5% ทำได้แน่นอน ส่วนเป้าพยายามที่กำหนดไว้ 15% และเป้าการทำงานพิเศษตามนโยบายของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.พาณิชย์ ที่ 20% จะพยายามทำอย่างเต็มที่ และมั่นใจว่าหากไม่มีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงมากมายและรุนแรง น่าจะทำได้”นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวอย่างมั่นใจ
ส่วนการเร่งรัดผลักดันการส่งออกในช่วงที่เหลือ จะมีการดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการส่งออก ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ผลิต ผู้ส่งออกในแต่ละกลุ่มสินค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรม ต่างให้ความเห็นตรงกันว่า การส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย เพราะมีคำสั่งซื้อเข้ามาแล้วจนถึงสิ้นปี
ทางด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า นักลงทุน และผู้นำเข้าสินค้าไทย ภายใต้สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้นั้น นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้หัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศที่ประจำอยู่ทั่วโลก เร่งทำความเข้าใจกับนักธุรกิจ นักลงทุนต่างชาติ และผู้นำเข้าแล้ว โดยชี้ให้เห็นว่า การเมืองกับการค้า เป็นคนละส่วนกัน ไทยยังคงดำเนินการค้าขายอย่างต่อเนื่อง จะไม่มีการหยุดชะงักอย่างแน่นอน
เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ ยังจะมีการประเมินสถานการณ์การส่งออกอีกครั้ง โดยจะใช้โอกาสในการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (บางกอก เจมส์) ที่หัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศจากทั่วโลก นำคณะผู้แทนการค้าจากประเทศต่างๆ เดินทางเข้ามาชมงาน จัดประชุมหารือเพื่อประเมินสถานการณ์ ทั้งแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ ไปจนกระทั่งแนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552
ที่สำคัญ จะใช้โอกาสเดียวกันนี้ เชิญผู้แทนการค้ากิตติมศักดิ์ (Honorary Trade Adviser - HTA) ของประเทศต่างๆ ที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งขึ้น ซึ่งล่าสุดมีประมาณ 40 ประเทศทั่วโลก ให้เดินทางมาร่วมประชุมและรับทราบแนวนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยด้วย เพื่อให้คนเหล่านี้ มีส่วนช่วยเหลือในการเพิ่มมูลค่าการค้าของไทยในตลาดที่คนเหล่านี้พักอาศัยอยู่
เหตุผลสำคัญ ที่เชิญ HTA เข้ามาในครั้งนี้ เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว กล่าวคือ ส่วนแรกจะขอให้ HTA เพิ่มกิจกรรมที่สนับสนุนการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่เขาประจำอยู่ให้มากขึ้น และอีกส่วนจะใช้โอกาสที่คนเหล่านี้เดินทางเข้ามาประเทศไทย แล้วให้เขาได้เห็นบ้าน เห็นเมืองของไทยว่าไม่มีปัญหาอย่างที่เขาได้เห็นข่าวผ่านทีวีที่มีแต่ความรุนแรง การใช้กำลัง เพราะนั่นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ที่มีความเห็นไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้
เมื่อ HTA เข้าใจ และเมื่อนำไปพูดต่อ บอกต่อ จะทำให้ภาพพจน์ของไทยในสายตาชาวโลกดีขึ้น เพราะ HTA ที่รัฐบาลไทยแต่งตั้งขึ้นนี้ เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ และได้รับการยอมรับในสังคมของประเทศนั้นๆ เมื่อพูดจาอะไร คนก็ย่อมให้ความเชื่อถือ
ในทางกลับกัน กรณีที่นักธุรกิจไทยที่ได้ออกไปทำตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ก็ขอให้คนเหล่านี้ช่วยชี้แจงและทำความเข้าใจกับลูกค้าถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการค้า ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
จากแนวโน้มการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยการรับประกันของผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยว่ายังคงมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ผนวกกับการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า นักลงทุน และผู้นำเข้าที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เชื่อว่าการส่งออกทั้งปีที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัว 12.5% โดยมีเป้าการทำงานเป็นพิเศษ 15-20% นั้น คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินจริง และเป็นไปไม่ได้