“พาณิชย์” เผยวิกฤตการเงินสหรัฐฯ ไม่กระทบการส่งออกไทย เหตุเตรียมมาตรการดันส่งออกไปสหรัฐฯ ล่วงหน้านานแล้ว และหันซบตลาดอื่นทดแทน พร้อมโชว์ตัวเลขส่งออกไปมะกัน 7 เดือนแรก โต 8.5%
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิจธนกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐฯ ล้มละลาย และอาจลามไปถึงสถาบันการเงินอื่นๆ ของสหรัฐฯ ว่า การที่สหรัฐฯ มีปัญหาระบบการเงิน ย่อมทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภค และเศรษฐกิจทรุดลงตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้า แต่คงจะไม่กระทบกับไทยมากนัก เพราะกระทรวงพาณิชย์ได้พยายามหาตลาดใหม่ๆ ทดแทน จึงทำให้การส่งออกไทยในภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยมั่นใจว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 20% จากเป้าหมายขยายตัวที่เพียง 12.5% มูลค่าประมาณ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
“ตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าไทย ซึ่งในช่วงที่เหลือของปี กระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนคงต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้การส่งออกบรรลุตามเป้าหมาย แต่เชื่อว่า น่าจะได้รับผลดีจากการเกิดพายุไซโคลนไอค์ ที่สหรัฐฯจะหันนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อาหาร”นายศิริพลกล่าว
ส่วนการส่งออกไทยในปี 2552 น่าจะยังขยายตัวได้เป็นตัวเลข 2 หลัก เพราะเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก จึงต้องเร่งหารายได้เข้าประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ติดตามปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซัพไพร์ม) อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด เพราะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าไทย แต่จากมาตรการสนับสนุนการส่งออกด้านต่างๆ ทำให้ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯไว้ได้ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกไทยไปสหรัฐฯเพิ่มขึ้นถึง 8.5% มูลค่า 11,683 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเป้าหมายทั้งปีที่ 2% เท่านั้น และไทยส่งออกไปสหรัฐฯ 11% ของการส่งออกรวม
“ในปีนี้ เราได้เปลี่ยนกลยุทธ์ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ โดยใช้ตัวแทนขาย (เซลลิ่ง เอเยนต์) เป็นตัวบุกตลาดให้สินค้าไทย เน้นบุคคลที่ทำธุรกิจจัดซื้อจัดหาสินค้าส่งให้กับห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และผู้นำเข้าภายในสหรัฐฯ เพื่อให้เดินทางมาเลือกซื้อสินค้าในไทย แล้วนำสินค้าไปขายให้ แทนที่ไทยจะส่งออกไปขายเอง โดยมุ่งภาคตะวันออกของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังได้เน้นส่งออกไปตลาดอื่นทดแทน ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ส่วนการจัดทำเป้าหมายการส่งออกปี 52 จะนำปัจจัยวิกฤตการเงินสหรัฐฯมาพิจารณาด้วย” นายราเชนทร์กล่าว
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่เลห์แมน บราเธอร์ส วาณิจธนกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐฯ ล้มละลาย และอาจลามไปถึงสถาบันการเงินอื่นๆ ของสหรัฐฯ ว่า การที่สหรัฐฯ มีปัญหาระบบการเงิน ย่อมทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภค และเศรษฐกิจทรุดลงตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้า แต่คงจะไม่กระทบกับไทยมากนัก เพราะกระทรวงพาณิชย์ได้พยายามหาตลาดใหม่ๆ ทดแทน จึงทำให้การส่งออกไทยในภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยมั่นใจว่าการส่งออกปีนี้จะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 20% จากเป้าหมายขยายตัวที่เพียง 12.5% มูลค่าประมาณ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
“ตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าไทย ซึ่งในช่วงที่เหลือของปี กระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนคงต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อให้การส่งออกบรรลุตามเป้าหมาย แต่เชื่อว่า น่าจะได้รับผลดีจากการเกิดพายุไซโคลนไอค์ ที่สหรัฐฯจะหันนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อาหาร”นายศิริพลกล่าว
ส่วนการส่งออกไทยในปี 2552 น่าจะยังขยายตัวได้เป็นตัวเลข 2 หลัก เพราะเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก จึงต้องเร่งหารายได้เข้าประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ติดตามปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซัพไพร์ม) อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด เพราะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าไทย แต่จากมาตรการสนับสนุนการส่งออกด้านต่างๆ ทำให้ไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯไว้ได้ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกไทยไปสหรัฐฯเพิ่มขึ้นถึง 8.5% มูลค่า 11,683 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเป้าหมายทั้งปีที่ 2% เท่านั้น และไทยส่งออกไปสหรัฐฯ 11% ของการส่งออกรวม
“ในปีนี้ เราได้เปลี่ยนกลยุทธ์ส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ โดยใช้ตัวแทนขาย (เซลลิ่ง เอเยนต์) เป็นตัวบุกตลาดให้สินค้าไทย เน้นบุคคลที่ทำธุรกิจจัดซื้อจัดหาสินค้าส่งให้กับห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และผู้นำเข้าภายในสหรัฐฯ เพื่อให้เดินทางมาเลือกซื้อสินค้าในไทย แล้วนำสินค้าไปขายให้ แทนที่ไทยจะส่งออกไปขายเอง โดยมุ่งภาคตะวันออกของสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังได้เน้นส่งออกไปตลาดอื่นทดแทน ซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกไทยในปีนี้ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ส่วนการจัดทำเป้าหมายการส่งออกปี 52 จะนำปัจจัยวิกฤตการเงินสหรัฐฯมาพิจารณาด้วย” นายราเชนทร์กล่าว