ASTVผู้จัดการรายวัน- นายกฯ คนใหม่เอาใจเอกชน รับการบ้านกลับทำเนียบเพียบ ลั่นดันร่างงบประมาณกลางปีผ่าทางตันเศรษฐกิจไทย ส่งสัญญาด้านต่างประเทศแรงและเร็ว ยันปลาย ม.ค. 52 พร้อมเป็นเข้าภาพประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เผยข้อเสนอเอกชนดอกเบี้ยต่ำ-ค่าบาทอ่อน ยันจะหารือลับกับ ธปท.และ กนง.ไม่มีทะเลาะให้เห็นผ่านสื่อแน่ ขณะที่หอการค้าไทยพบนายกรัฐมนตรีวันนี้ เตรียมชง 5 แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเข้าหารือร่วมกับสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)วานนี้ (18 ธ.ค.) ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 23 ธ.ค.นี้จะมีการอนุมัติเกี่ยวกับร่างนโยบายเศรษฐกิจและหากมีประเด็นใดต้องแก้ไขร่างดังกล่าวจะกำหนดให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เพื่อแถลงนโยบายต่อสภาฯระหว่างวันที่ 29-30 ธ.ค. ในการให้ครม.ชุดใหม่ทำงานได้ทันทีในช่วงปีใหม่และหลังจากวันที่ 30 ธ.ค.จะมีการประชุม ครม.นัดพิเศษเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับกรอบความร่วมมืออาเซียนทันทีเพื่อที่จะส่งสัญญาณด้านต่างประเทศชนิดที่แรงและเร็ว
“เราจะขอยืนยันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนตั้งแต่ปลายม.ค.52นี้เป็นต้นไปซึ่งได้หารือกับเลขาธิการอาเซียนแล้วส่วนจะประชุมจริงได้เมื่อไหร่จะไม่ได้อยู่ที่ไทยแล้วจะกลับไปอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านว่าเขาพร้อมเมื่อไหร่และหลังจากปีใหม่ไปประมาณ 21 ม.ค.จะขอเปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างงบประมาณกลางปีซึ่งแผนกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมดจะชัดเจนทันที” นายอภิสิทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนของปัญหาข้อพิพาทไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับเขาพระวิหารนั้นจะพยายามนำกรอบที่เคยวางไว้ไปหารือกับกัมพูชาต่อหลังการประชุมอาเซียนซึ่งมั่นใจว่าการเจรจาน่าจะง่ายขึ้นเพราะรัฐบาลปัจจุบันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนโดยเฉพาะผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลซึ่งหากการเจรจาล่าช้าออกไปทั้งไทยและกัมพูชาจะไม่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
**หารือลับ ธปท.ดูแลบาท-ดอกเบี้ย
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงข้อเสนอ ส.อ.ท. 7 เรื่องเร่งด่วนอาทิ การดูแลค่าเงินบาท การลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 1% การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20-25% ฯลฯ ว่า นโยบายการเงินเช่น เรื่องดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนพร้อมจะรับข้อเสนอที่จะไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) แบบลับๆ ยืนยันว่าจะไม่มีการทะเลาะกันให้สื่อมวลชนเห็นเช่นที่ผ่านมาเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนกรณีงบประมาณจะมากกว่าแสนล้านบาทหรือไม่นั้นยอมรับว่ามีข้อจำกัดเพราะมีกฎหมายดูแลการขาดดุลงบประมาณ แต่ทั้งหมดรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ทำให้เสียวินัยการเงินและการคลัง
“สภาพคล่องที่เอกชนระบุว่ามีปัญหาจริงๆ เงินมีในระบบแต่ปัญหาคือไม่ออกมาเราจะพยายามดูกลไกในการนำมันออกมาอาจจะเป็นการค้ำประกันซึ่งต้องขอดูอีกที แต่กรณีที่จะนำเอาธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์)ไปรวมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เพื่อบสย.มีหน้าที่ต้องค้ำประกันสินเชื่อให้ทุกธนาคาร”นายอภิสิทธิ์กล่าว
**อัดงบทุกด้านเพิ่มแรงซื้อ
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การดูแลกำลังซื้อนอกเหนือจากการอัดฉีดงบประมาณของรัฐแล้วคงจะต้องผสมผสานกับด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการดูแลราคาพืชผลทางการเกษตรซึ่งโครงการรับจำนำหลายอย่างยังไม่ได้ขับเคลื่อนและพบว่าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.)มีปัญหาวงเงินไม่เพียงพอทำให้บางโครงการไม่สามารถเปิดรับได้ทั้งหมดจึงได้มอบให้ธ.ก.ส.ไปเร่งแผนขยายวงเงินมาซึ่งส่วนนี้น่าจะมีเม็ดเงินอีกเป็นแสนล้านบาท
**ตั้งหน่วยงานเฉพาะดูแลแรงงาน
สำหรับปัญหาแรงงานขณะนี้นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะดูแลกระทรวงดังกล่าวคงจะต้องมีกลไกติดตามปัญหาการว่างงานด้วยการตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะต้องหาแนวทางในการปลดแรงงานให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็จะต้องไม่กระทบกับโรงงานซึ่งจะต้องมีการเจรจาที่ยืดหยุ่นเฉลี่ยความเจ็บปวดดังนั้นด้านข้อมูลจะต้องมีการแลกเปลี่ยนให้รวดเร็วเพื่อให้เกิดความเข้าใจในทางที่ดี
ยันเดินหน้าพลังงานทดแทน
ด้านยุทธศาสตร์ด้านพลังงานรัฐบาลใหม่ยังยืนยันที่จะเดินหน้าพลังงานทดแทนแม้ว่าปัจจุบันราคาน้ำมันได้ลดต่ำลงอย่างมากแต่ในไม่ช้าจะมีราคาเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน ซึ่งจำเป็นจะต้องมองในระยะยาวประกอบกับจะเป็นการสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรทั้งอ้อย มันสำปะหลังและปาล์ม
**เปิดช่องทางด่วนรับข้อเสนอเข้า ครม.
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การพิจารณาปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดระบบเสนอเรื่องเข้าครม.คือ 1. จะมีการตั้งคณะกรรมการเฉพาะหรือ Fast Track เพื่อดูแลปัญหาที่เป็นวิกฤติหรือเร่งด่วนในการจะต้องเสนอครม.พิจารณา 2. จะมีการตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจซึ่งหากกฏหมายไม่ติดขัดจะมีการดึงเอกชนเข้าร่วมทำงานหรือนักวิชาการซึ่งหากดำเนินการได้ก็จะเป็นลักษณะของโครงสร้างคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน(กรอ.)แบบใหม่ตามที่ส.อ.ท.เสนอ
“ผมขอสารภาพผิดกับเอกชนที่ผ่านมาการเมืองกลายเป็นปัญหาซึ่งตั้งใจจะเปลี่ยนแปลง และยังเชื่อมั่นกับนักการเมืองอาชีพถ้าทำงานไม่ได้เราก็ไม่ควรอยู่ อย่าไปยึดติดว่าจะอยู่นานหรือไม่แต่ขอให้อยู่แล้วทำงานได้ ซึ่ง”นายอภิสิทธิ์กล่าว
**เอกชนฝันรัฐบาลอยู่นาน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ต้องการเห็นรัฐบาลที่มีอายุการทำงานที่นานเพื่อที่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศและการทำงานต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า หากรัฐบาลได้เข้ามาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงที่ประกาศไว้จะทำให้ช่วยลดปัญหาการว่างงานได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน
**หอการค้าไทยพบ “อภิสิทธิ์” วันนี้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยเตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พิจารณาในการหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในวันนี้ (19 ธ.ค.) โดยภาคเอกชนได้เตรียมข้อเสนอไว้ทั้งสิ้น 5 มาตรการ ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืน
**ชง 5 มาตราการแก้เศรษฐกิจ
โดยมาตรการทั้ง 5 หัวข้อ ได้แก่ 1.การเร่งสร้างความน่าเชื่อถือให้รัฐบาล ด้วยการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จากคนที่มีประสิทธิภาพ ทำงานเป็นทีม เพราะที่ผ่านมาทีมเศรษฐกิจประสานงานไม่ค่อยดี และหากต้องการให้ภาคเอกชนช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในต่างประเทศก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ 2.รัฐบาลจะต้องทำกฎหมายให้มีความศักดิ์สิทธิ์และมีความเป็นธรรม และหากมีการชุมนุมอย่างปิดสนามบินก็ต้องจัดการให้อยู่ในกติกาที่เหมาะสม
3.รัฐบาลจะต้องเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เพราะขณะนี้เศรษฐกิจซบเซามาก รัฐบาลต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร็วและแรงใน 3-6 เดือน โดยใช้มาตรการการคลัง ควบคู่กับมาตรการเงิน เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบสู่มือผู้บริโภคให้เร็วที่สุด เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งเงินทุน และรายได้มากขึ้น สำหรับงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาทนั้น ต้องจัดทำโครงการเพื่อให้เงินไปถึงผู้บริโภคโดยตรงและไม่ล่าช้า และรัฐบาลอาจพิจารณาเพิ่มวงเงินงบกลางปีจาก 100,000 ล้านบาทได้ หากจัดเก็บภาษีได้เกินเป้าหมาย
4.รัฐบาลต้องเดินหน้าแก้ปัญหาการว่างงาน เพราะขณะนี้ผู้ใช้แรงงานมีความเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจซบเซาจะทำให้เลิกจ้างมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนน่าจะพิจารณาหามาตรการให้มีการเลิกจ้างงานน้อยลงหรือชะลอไม่ให้มีการเลิกจ้าง โดยอาจจัดสรรงบประมาณบางส่วนช่วยเหลือให้เงินชดเชย หรือลดภาษีให้กับภาคธุรกิจเพื่อจูงใจไม่ให้เลิกจ้าง
5.ภาคเอกชนต้องการเห็นความร่วมมือทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างใกล้ชิด ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) และอยากให้รัฐนำเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
นายประมนต์กล่าวว่า อยากเห็นทีมเศรษฐกิจที่ได้รับความเชื่อมั่น รายชื่อที่ออกมายังไม่น่าพอใจนัก เป็นห่วงนักการเมืองมือใหม่หัดขับ กลัวการไม่ทำงานเป็นทีม และหนักใจรัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลกระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่คนของประชาธิปัตย์ อย่างนายเกียรติ สิทธิอมร น่าจะเหมาะสมกว่า
ส่วนกรณีที่รัฐบาลทาบทามเข้าร่วมทีมเศรษฐกิจในรัฐบาลใหม่นั้น หากเป็นที่ปรึกษาโดยไม่รับตำแหน่งใดๆ ก็ไม่ขัดข้อง และเห็นด้วยที่จะมีทีมที่ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ เพื่อเข้ามาฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยสนับสนุนที่นายอภิสิทธิ์ที่เข้ามาดูแลทีมเศรษฐกิจเอง และต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวภายในเดือนก.พ.2552 ไม่เช่นนั้นจะสุ่มเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ติดลบและเพิ่มการปลดคนงานหรือไม่จ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค.-เม.ย.2552 ที่จะมีบัณฑิตจบใหม่อีกเป็นแสนคน.
นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเข้าหารือร่วมกับสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)วานนี้ (18 ธ.ค.) ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 23 ธ.ค.นี้จะมีการอนุมัติเกี่ยวกับร่างนโยบายเศรษฐกิจและหากมีประเด็นใดต้องแก้ไขร่างดังกล่าวจะกำหนดให้เสร็จภายใน 1-2 วัน เพื่อแถลงนโยบายต่อสภาฯระหว่างวันที่ 29-30 ธ.ค. ในการให้ครม.ชุดใหม่ทำงานได้ทันทีในช่วงปีใหม่และหลังจากวันที่ 30 ธ.ค.จะมีการประชุม ครม.นัดพิเศษเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับกรอบความร่วมมืออาเซียนทันทีเพื่อที่จะส่งสัญญาณด้านต่างประเทศชนิดที่แรงและเร็ว
“เราจะขอยืนยันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนตั้งแต่ปลายม.ค.52นี้เป็นต้นไปซึ่งได้หารือกับเลขาธิการอาเซียนแล้วส่วนจะประชุมจริงได้เมื่อไหร่จะไม่ได้อยู่ที่ไทยแล้วจะกลับไปอยู่ที่ประเทศเพื่อนบ้านว่าเขาพร้อมเมื่อไหร่และหลังจากปีใหม่ไปประมาณ 21 ม.ค.จะขอเปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างงบประมาณกลางปีซึ่งแผนกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมดจะชัดเจนทันที” นายอภิสิทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ส่วนของปัญหาข้อพิพาทไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับเขาพระวิหารนั้นจะพยายามนำกรอบที่เคยวางไว้ไปหารือกับกัมพูชาต่อหลังการประชุมอาเซียนซึ่งมั่นใจว่าการเจรจาน่าจะง่ายขึ้นเพราะรัฐบาลปัจจุบันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนโดยเฉพาะผลประโยชน์ทับซ้อนทางทะเลซึ่งหากการเจรจาล่าช้าออกไปทั้งไทยและกัมพูชาจะไม่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
**หารือลับ ธปท.ดูแลบาท-ดอกเบี้ย
นายอภิสิทธิ์กล่าวถึงข้อเสนอ ส.อ.ท. 7 เรื่องเร่งด่วนอาทิ การดูแลค่าเงินบาท การลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 1% การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 20-25% ฯลฯ ว่า นโยบายการเงินเช่น เรื่องดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนพร้อมจะรับข้อเสนอที่จะไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)และคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) แบบลับๆ ยืนยันว่าจะไม่มีการทะเลาะกันให้สื่อมวลชนเห็นเช่นที่ผ่านมาเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนกรณีงบประมาณจะมากกว่าแสนล้านบาทหรือไม่นั้นยอมรับว่ามีข้อจำกัดเพราะมีกฎหมายดูแลการขาดดุลงบประมาณ แต่ทั้งหมดรัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ทำให้เสียวินัยการเงินและการคลัง
“สภาพคล่องที่เอกชนระบุว่ามีปัญหาจริงๆ เงินมีในระบบแต่ปัญหาคือไม่ออกมาเราจะพยายามดูกลไกในการนำมันออกมาอาจจะเป็นการค้ำประกันซึ่งต้องขอดูอีกที แต่กรณีที่จะนำเอาธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอีแบงก์)ไปรวมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เพื่อบสย.มีหน้าที่ต้องค้ำประกันสินเชื่อให้ทุกธนาคาร”นายอภิสิทธิ์กล่าว
**อัดงบทุกด้านเพิ่มแรงซื้อ
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การดูแลกำลังซื้อนอกเหนือจากการอัดฉีดงบประมาณของรัฐแล้วคงจะต้องผสมผสานกับด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการดูแลราคาพืชผลทางการเกษตรซึ่งโครงการรับจำนำหลายอย่างยังไม่ได้ขับเคลื่อนและพบว่าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.)มีปัญหาวงเงินไม่เพียงพอทำให้บางโครงการไม่สามารถเปิดรับได้ทั้งหมดจึงได้มอบให้ธ.ก.ส.ไปเร่งแผนขยายวงเงินมาซึ่งส่วนนี้น่าจะมีเม็ดเงินอีกเป็นแสนล้านบาท
**ตั้งหน่วยงานเฉพาะดูแลแรงงาน
สำหรับปัญหาแรงงานขณะนี้นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะดูแลกระทรวงดังกล่าวคงจะต้องมีกลไกติดตามปัญหาการว่างงานด้วยการตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นการเฉพาะ ซึ่งจะต้องหาแนวทางในการปลดแรงงานให้น้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็จะต้องไม่กระทบกับโรงงานซึ่งจะต้องมีการเจรจาที่ยืดหยุ่นเฉลี่ยความเจ็บปวดดังนั้นด้านข้อมูลจะต้องมีการแลกเปลี่ยนให้รวดเร็วเพื่อให้เกิดความเข้าใจในทางที่ดี
ยันเดินหน้าพลังงานทดแทน
ด้านยุทธศาสตร์ด้านพลังงานรัฐบาลใหม่ยังยืนยันที่จะเดินหน้าพลังงานทดแทนแม้ว่าปัจจุบันราคาน้ำมันได้ลดต่ำลงอย่างมากแต่ในไม่ช้าจะมีราคาเพิ่มขึ้นอีกแน่นอน ซึ่งจำเป็นจะต้องมองในระยะยาวประกอบกับจะเป็นการสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรทั้งอ้อย มันสำปะหลังและปาล์ม
**เปิดช่องทางด่วนรับข้อเสนอเข้า ครม.
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การพิจารณาปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดระบบเสนอเรื่องเข้าครม.คือ 1. จะมีการตั้งคณะกรรมการเฉพาะหรือ Fast Track เพื่อดูแลปัญหาที่เป็นวิกฤติหรือเร่งด่วนในการจะต้องเสนอครม.พิจารณา 2. จะมีการตั้งสภาที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจซึ่งหากกฏหมายไม่ติดขัดจะมีการดึงเอกชนเข้าร่วมทำงานหรือนักวิชาการซึ่งหากดำเนินการได้ก็จะเป็นลักษณะของโครงสร้างคณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน(กรอ.)แบบใหม่ตามที่ส.อ.ท.เสนอ
“ผมขอสารภาพผิดกับเอกชนที่ผ่านมาการเมืองกลายเป็นปัญหาซึ่งตั้งใจจะเปลี่ยนแปลง และยังเชื่อมั่นกับนักการเมืองอาชีพถ้าทำงานไม่ได้เราก็ไม่ควรอยู่ อย่าไปยึดติดว่าจะอยู่นานหรือไม่แต่ขอให้อยู่แล้วทำงานได้ ซึ่ง”นายอภิสิทธิ์กล่าว
**เอกชนฝันรัฐบาลอยู่นาน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานส.อ.ท.กล่าวว่า ต้องการเห็นรัฐบาลที่มีอายุการทำงานที่นานเพื่อที่จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศและการทำงานต้องการเห็นความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนคิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท.กล่าวว่า หากรัฐบาลได้เข้ามาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงที่ประกาศไว้จะทำให้ช่วยลดปัญหาการว่างงานได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน
**หอการค้าไทยพบ “อภิสิทธิ์” วันนี้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยเตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พิจารณาในการหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในวันนี้ (19 ธ.ค.) โดยภาคเอกชนได้เตรียมข้อเสนอไว้ทั้งสิ้น 5 มาตรการ ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืน
**ชง 5 มาตราการแก้เศรษฐกิจ
โดยมาตรการทั้ง 5 หัวข้อ ได้แก่ 1.การเร่งสร้างความน่าเชื่อถือให้รัฐบาล ด้วยการตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จากคนที่มีประสิทธิภาพ ทำงานเป็นทีม เพราะที่ผ่านมาทีมเศรษฐกิจประสานงานไม่ค่อยดี และหากต้องการให้ภาคเอกชนช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์ความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในต่างประเทศก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ 2.รัฐบาลจะต้องทำกฎหมายให้มีความศักดิ์สิทธิ์และมีความเป็นธรรม และหากมีการชุมนุมอย่างปิดสนามบินก็ต้องจัดการให้อยู่ในกติกาที่เหมาะสม
3.รัฐบาลจะต้องเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค เพราะขณะนี้เศรษฐกิจซบเซามาก รัฐบาลต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเร็วและแรงใน 3-6 เดือน โดยใช้มาตรการการคลัง ควบคู่กับมาตรการเงิน เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบสู่มือผู้บริโภคให้เร็วที่สุด เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งเงินทุน และรายได้มากขึ้น สำหรับงบกลางปีอีก 100,000 ล้านบาทนั้น ต้องจัดทำโครงการเพื่อให้เงินไปถึงผู้บริโภคโดยตรงและไม่ล่าช้า และรัฐบาลอาจพิจารณาเพิ่มวงเงินงบกลางปีจาก 100,000 ล้านบาทได้ หากจัดเก็บภาษีได้เกินเป้าหมาย
4.รัฐบาลต้องเดินหน้าแก้ปัญหาการว่างงาน เพราะขณะนี้ผู้ใช้แรงงานมีความเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจซบเซาจะทำให้เลิกจ้างมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนน่าจะพิจารณาหามาตรการให้มีการเลิกจ้างงานน้อยลงหรือชะลอไม่ให้มีการเลิกจ้าง โดยอาจจัดสรรงบประมาณบางส่วนช่วยเหลือให้เงินชดเชย หรือลดภาษีให้กับภาคธุรกิจเพื่อจูงใจไม่ให้เลิกจ้าง
5.ภาคเอกชนต้องการเห็นความร่วมมือทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างใกล้ชิด ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) และอยากให้รัฐนำเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
นายประมนต์กล่าวว่า อยากเห็นทีมเศรษฐกิจที่ได้รับความเชื่อมั่น รายชื่อที่ออกมายังไม่น่าพอใจนัก เป็นห่วงนักการเมืองมือใหม่หัดขับ กลัวการไม่ทำงานเป็นทีม และหนักใจรัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลกระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่คนของประชาธิปัตย์ อย่างนายเกียรติ สิทธิอมร น่าจะเหมาะสมกว่า
ส่วนกรณีที่รัฐบาลทาบทามเข้าร่วมทีมเศรษฐกิจในรัฐบาลใหม่นั้น หากเป็นที่ปรึกษาโดยไม่รับตำแหน่งใดๆ ก็ไม่ขัดข้อง และเห็นด้วยที่จะมีทีมที่ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ เพื่อเข้ามาฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยสนับสนุนที่นายอภิสิทธิ์ที่เข้ามาดูแลทีมเศรษฐกิจเอง และต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวภายในเดือนก.พ.2552 ไม่เช่นนั้นจะสุ่มเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ติดลบและเพิ่มการปลดคนงานหรือไม่จ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นในเดือนมี.ค.-เม.ย.2552 ที่จะมีบัณฑิตจบใหม่อีกเป็นแสนคน.