สภาหอการค้าบ่นดังๆว่าผิดหวัง หลังเป็นโผรัฐมนตรีเศรษฐกิจ แนะต้องใช้มืออาชีพที่เข้ามาทำงานได้ทันที "อภิสิทธิ์" แจงมีข้อจำกัดทางการเมือง เพราะมีพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค รับปากหารือพรรคร่วมเปลี่ยนตัว รมว.พาณิชย์-อุตฯ ขณะที่สภาอุตฯ มองต่างมุม ให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือ ส่วน"ศุภชัย" ชี้รัฐต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นการค้าการลงทุน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วานนี้ (19 ธ.ค.) ว่า ได้รับข้อเสนอประเด็นทางด้านเศรษฐกิจที่ภาคเอกชนเสนอมา เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และมีนโยบายดำเนินการอยู่แล้ว อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางที่หารือกับภาคเอกชนก่อนหน้านี้ ทั้งสภาอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภาคแรงงาน การเกษตร และการท่องเที่ยว
มีการพูดกันอย่างตรงไปตรงมา ในประเด็นโผคณะรัฐมนตรี (ครม.) และทีมเศรษฐกิจ ที่หอการค้าไทย แสดงความกังวลและผิดหวังกับรายชื่อ ซึ่งผมเข้าใจความรู้สึกและอธิบายถึงเหตุผลไปว่า เรื่องโผครม. ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องการเมือง แต่ขณะนี้ยังไม่มีการทูลเกล้าฯถวายรายชื่อครม. และในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จะนำเสียงสะท้อนดังกล่าวเข้าไปหารือ และสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการเมือง และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ"นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย รู้สึกผิดหวังกับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งมาจากโควตาพรรคร่วม โดยเฉพาะตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ และรมว.อุตสาหกรรม ควรมีการทบทวน และปรับเปลี่ยนใหม่ เพราะขณะนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยรอไม่ได้แล้ว ทีมเศรษฐกิจควรมีประสบการณ์ และมีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ทันที และรัฐบาลกับภาคเอกชนจะต้องประสานงานกันได้
"มือเศรษฐกิจต้องแก้ไขปัญหาได้ทันที เศรษฐกิจไทยรอไม่ได้แล้ว ไม่ควรเป็นมือใหม่หัดขับ โดยเฉพาะ 2 กระทรวงเศรษฐกิจสำคัญ คือ อุตสาหกรรม และพาณิชย์ โดยคุณสมบัติของรัฐมนตรีที่เห็นว่าเหมาะสม จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากทั้งไทยและต่างประเทศ เพราะต้องจัดการประชุมอาเซียนในปีหน้า รมว.พาณิชย์ จะเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ควรจะใช้เวลาไม่เกิน 2-3 เดือนนับจากนี้ แต่หากถามในใจ รายชื่อก่อนหน้านี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรมว.อุตสาหกรรม และนายเกียรติ สิทธิอมร เป็นรมว.พาณิชย์ ถือว่ารับได้" นายประมนต์กล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรปรับทีมเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของภาคเอกชน และต่างประเทศให้มากขึ้น และขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศ เช่น ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว แต่หากไม่สามารถปรับทีมเศรษฐกิจได้จริง เพราะมีข้อจำกัดเรื่องรัฐบาลผสม ก็ควรเสริมโดยใช้ทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ หรืออาจจะตั้งคณะทำงานที่เป็นการเฉพาะเร่งด่วน อย่างที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ให้แนวคิดก็ได้
นายเกียรติ สิทธิอมร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขก่อน คือปัญหาการว่างงาน การดูแลระดับราคาสินค้าในประเทศให้เหมาะสมหลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง การดูแลระดับราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ อาจจะต้องเสนอวิธีการใหม่ที่นอกเหนือไปจากการรับจำนำสินค้าเกษตร เช่น การทำมาร์เก็ตติ้งโลน โดยให้เงินอุดหนุนโดยตรงกับเกษตรกร ซึ่งไม่ผิดกฎองค์การการค้าโลก (WTO) และดีกว่าการแทรกแซง เพราะการแทรกแซงทำให้ราคาสูงทั้งระบบ บิดเบือนกลไกการตลาด ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้
นอกจากนี้ จะต้องเร่งผลักดันผ่านร่างกฎหมายค้าปลีก เพื่อสร้างกติกาในการแข่งขันระหว่างโชห่วย และโมเดิร์นเทรด ส่วนกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย แต่ควรเพิ่มเครื่องมือในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดให้มีหน่วยตรวจสอบการถือหุ้นแทนต่างด้าว (นอมินี) การสร้างยุทธศาสตร์ส่งออก เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างมีศักยภาพในระยะยาว รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้านมาตรการกีดกันทางการค้าในเชิงรุก
ขณะเดียวกันต้องปลดล็อกปัญหาด้านการเงินของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่ม เอสเอ็มอี ซึ่งธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้แล้ว ทั้งที่ยังมีสภาพคล่องทั้งระบบ ซึ่งอาจจะต้องลงลึกไปถึงการปรับกฎหมาย เช่น การทำซอฟต์โลน เป็นต้น หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี รวมถึงการเร่งสร้างความเชื่อมั่นในภูมิภาคอาเซียน โดยการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้ทันปลายเดือน ก.พ.52
เรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณเกินดุลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ภาคเอกชนของให้รัฐบาลดำเนินการ ที่ผ่านมาทางพรรคก็ได้หารือกับหลายฝ่าย โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ซึ่งได้แจ้งว่ามีข้อจำกัด เพราะรายได้จากการเก็บภาษีไม่เป็นไปตามเป้า ดังนั้นรัฐบาลอาจจะหาทางออกเรื่องเงิน โดยการดึงเงินจากกองทุนบางกองทุนที่ประเมินแล้วว่ายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แต่ต้องไปดูก่อนว่าเงินค้างอยู่ในส่วนไหน"
อาจเปลี่ยน รมว.อุตฯ-พาณิชย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แหล่งข่าวรายหนึ่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า นายกรัฐมนตรี จะต้องหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ เพื่อเปลี่ยนตัว ว่าที่ รมว.พาณิชย์ และว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม เพราะภาคเอกชนไม่พอใจ และอาจทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องล่าช้าออกไป เพราะไม่มีประสบการณ์ในด้านเศรษฐกิจ และอาจไม่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ โดยเฉพาะในปีหน้าไทยต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง และการแลกเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ตามข้อเรียกร้องของพรรคร่วมรัฐบาล
นายอลงกรณ์ พลบุตร สส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่าที่รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางพรรคอาจจะมีการปรับลดตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ เหลือเพียงตำแหน่งเดียว โดยจะปรับให้นายมานิต นพอมรวดี ว่าที่รมช.พาณิชย์ จากพรรคภูมิใจไทย ให้ปรับไปเป็นรมช.กระทรวงอื่น ซึ่งจะต้องรอการหารือภายในระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ในวันเดียวกัน (19 ธ.ค.) เวลาประมาณ 15.00 น. นายอลงกรณ์ ได้เดินทางมายังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูห้องทำงาน และเตรียมจัดห้องล่วงหน้า ทั้งที่ยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ
ส.อ.ท.ให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีที่ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จะมาเป็นรมว.อุตสาหกรรมนั้น ส่วนตัวมองว่าการได้ผู้หญิงมานั่งตำแหน่งนี้ก็อาจจะดีกว่ารมต.ชายหลายๆ คนที่ผ่านมาก็เป็นไปได้ ซึ่งก็ต้องให้โอกาสการทำงานระยะหนึ่งก่อน เนื่องจากที่ผ่านมา รมว.อุตสาหกรรม บางคนเข้ามาแล้วไม่ทำงานเลย และบางคนก็ล้วงลูกจนงานสะดุดก็มีไม่น้อย
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท. กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ารัฐมนตรี คือผู้ที่จะเข้ามาบริหารจัดการ ส่วนราชการคือผู้ขับเคลื่อนนโยบาย หากนักการเมืองเข้ามาบริหารแล้วแม้อาจจะด้อยประสบการณ์ในเรื่องภาคอุตสาหกรรม และการค้า แต่หากเป็นผู้กล้าตัดสินใจทำในสิ่งดีๆ ไม่มีคอร์รัปชั่น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาจจะดีกว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถแต่กลับบิดเบือนนโยบายเพื่อนำไปสู่การคอร์รัปชั่นเสียอีก ดังนั้นการที่ครั้งนี้รัฐบาลมีการแต่งตั้ง รมต.หญิงทั้งสองกระทรวงเศรษฐกิจ คือพาณิชย์และอุตสาหกรรม ก็คงจะต้องให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือการบริหารก่อน แล้วค่อยว่ากัน
"ศุภชัย" แนะเร่งฟื้นความเชื่อมั่น
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยว่า สิ่งที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งคือการทำงานที่รวดเร็ว เพื่อเรียกความเชื่อมั่นทั้งการค้า และการลงทุนกลับมา แม้ที่ผ่านมาความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว หรือการเมืองในประเทศทำให้ต่างประเทศมาท่องเที่ยวในไทยน้อยลง หากรัฐบาลเร่งทำงาน ความเชื่อมั่นก็จะกลับมา
"พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง ตอนนี้คนก็จะเริ่มกลับมาท่องเที่ยวในไทย ขณะที่แนวโน้มการลงทุน ก็ยังมีศักยภาพและน่าที่จะเข้ามาลงทุน" นายศุภชัยกล่าว
สำหรับเศรษฐกิจโลกปีหน้า เลขาฯ อังถัดระบุว่า ยังคงหดตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วโดยรวมติดลบ 0.5-0.9% สำหรับเศรษฐกิจประเทศในเอเชีย แม้จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก แต่เศรษฐกิจโดยรวมกลุ่มประเทศเอเชียยังจะเติบโตและอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากสถาบันการเงินในกลุ่มประเทศเอเชียมีสภาพคล่องค่อนข้างดี มีความเข้มแข็ง ซึ่งที่ผ่านมามีการแก้ไขกฎระเบียบและมีเงินกองทุนเพียงพอ จึงเชื่อว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียปี 52 ยังขยายตัวเฉลี่ย 4-5%
ส่วนกระแสข่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเชิญไปเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจนั้น นายศุภชัยไม่ขอแสดงความคิดเห็น และไม่อยากวิจารณ์โฉมหน้ารัฐบาลใหม่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย วานนี้ (19 ธ.ค.) ว่า ได้รับข้อเสนอประเด็นทางด้านเศรษฐกิจที่ภาคเอกชนเสนอมา เพราะเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และมีนโยบายดำเนินการอยู่แล้ว อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวทางที่หารือกับภาคเอกชนก่อนหน้านี้ ทั้งสภาอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภาคแรงงาน การเกษตร และการท่องเที่ยว
มีการพูดกันอย่างตรงไปตรงมา ในประเด็นโผคณะรัฐมนตรี (ครม.) และทีมเศรษฐกิจ ที่หอการค้าไทย แสดงความกังวลและผิดหวังกับรายชื่อ ซึ่งผมเข้าใจความรู้สึกและอธิบายถึงเหตุผลไปว่า เรื่องโผครม. ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องการเมือง แต่ขณะนี้ยังไม่มีการทูลเกล้าฯถวายรายชื่อครม. และในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรี จะนำเสียงสะท้อนดังกล่าวเข้าไปหารือ และสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการเมือง และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ"นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารหอการค้าไทย รู้สึกผิดหวังกับทีมเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งมาจากโควตาพรรคร่วม โดยเฉพาะตำแหน่ง รมว.พาณิชย์ และรมว.อุตสาหกรรม ควรมีการทบทวน และปรับเปลี่ยนใหม่ เพราะขณะนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยรอไม่ได้แล้ว ทีมเศรษฐกิจควรมีประสบการณ์ และมีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ทันที และรัฐบาลกับภาคเอกชนจะต้องประสานงานกันได้
"มือเศรษฐกิจต้องแก้ไขปัญหาได้ทันที เศรษฐกิจไทยรอไม่ได้แล้ว ไม่ควรเป็นมือใหม่หัดขับ โดยเฉพาะ 2 กระทรวงเศรษฐกิจสำคัญ คือ อุตสาหกรรม และพาณิชย์ โดยคุณสมบัติของรัฐมนตรีที่เห็นว่าเหมาะสม จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากทั้งไทยและต่างประเทศ เพราะต้องจัดการประชุมอาเซียนในปีหน้า รมว.พาณิชย์ จะเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ควรจะใช้เวลาไม่เกิน 2-3 เดือนนับจากนี้ แต่หากถามในใจ รายชื่อก่อนหน้านี้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรมว.อุตสาหกรรม และนายเกียรติ สิทธิอมร เป็นรมว.พาณิชย์ ถือว่ารับได้" นายประมนต์กล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรปรับทีมเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของภาคเอกชน และต่างประเทศให้มากขึ้น และขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ประเทศ เช่น ภาคการส่งออก การท่องเที่ยว แต่หากไม่สามารถปรับทีมเศรษฐกิจได้จริง เพราะมีข้อจำกัดเรื่องรัฐบาลผสม ก็ควรเสริมโดยใช้ทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ หรืออาจจะตั้งคณะทำงานที่เป็นการเฉพาะเร่งด่วน อย่างที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ให้แนวคิดก็ได้
นายเกียรติ สิทธิอมร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ไขก่อน คือปัญหาการว่างงาน การดูแลระดับราคาสินค้าในประเทศให้เหมาะสมหลังราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง การดูแลระดับราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ อาจจะต้องเสนอวิธีการใหม่ที่นอกเหนือไปจากการรับจำนำสินค้าเกษตร เช่น การทำมาร์เก็ตติ้งโลน โดยให้เงินอุดหนุนโดยตรงกับเกษตรกร ซึ่งไม่ผิดกฎองค์การการค้าโลก (WTO) และดีกว่าการแทรกแซง เพราะการแทรกแซงทำให้ราคาสูงทั้งระบบ บิดเบือนกลไกการตลาด ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้
นอกจากนี้ จะต้องเร่งผลักดันผ่านร่างกฎหมายค้าปลีก เพื่อสร้างกติกาในการแข่งขันระหว่างโชห่วย และโมเดิร์นเทรด ส่วนกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้กฎหมาย แต่ควรเพิ่มเครื่องมือในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดให้มีหน่วยตรวจสอบการถือหุ้นแทนต่างด้าว (นอมินี) การสร้างยุทธศาสตร์ส่งออก เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างมีศักยภาพในระยะยาว รวมถึงการแก้ไขปัญหาด้านมาตรการกีดกันทางการค้าในเชิงรุก
ขณะเดียวกันต้องปลดล็อกปัญหาด้านการเงินของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่ม เอสเอ็มอี ซึ่งธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้แล้ว ทั้งที่ยังมีสภาพคล่องทั้งระบบ ซึ่งอาจจะต้องลงลึกไปถึงการปรับกฎหมาย เช่น การทำซอฟต์โลน เป็นต้น หรือการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี รวมถึงการเร่งสร้างความเชื่อมั่นในภูมิภาคอาเซียน โดยการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้ทันปลายเดือน ก.พ.52
เรื่องการเบิกจ่ายงบประมาณเกินดุลเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ภาคเอกชนของให้รัฐบาลดำเนินการ ที่ผ่านมาทางพรรคก็ได้หารือกับหลายฝ่าย โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ซึ่งได้แจ้งว่ามีข้อจำกัด เพราะรายได้จากการเก็บภาษีไม่เป็นไปตามเป้า ดังนั้นรัฐบาลอาจจะหาทางออกเรื่องเงิน โดยการดึงเงินจากกองทุนบางกองทุนที่ประเมินแล้วว่ายังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แต่ต้องไปดูก่อนว่าเงินค้างอยู่ในส่วนไหน"
อาจเปลี่ยน รมว.อุตฯ-พาณิชย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แหล่งข่าวรายหนึ่งจากพรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า นายกรัฐมนตรี จะต้องหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ เพื่อเปลี่ยนตัว ว่าที่ รมว.พาณิชย์ และว่าที่ รมว.อุตสาหกรรม เพราะภาคเอกชนไม่พอใจ และอาจทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องล่าช้าออกไป เพราะไม่มีประสบการณ์ในด้านเศรษฐกิจ และอาจไม่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ โดยเฉพาะในปีหน้าไทยต้องเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง และการแลกเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ตามข้อเรียกร้องของพรรคร่วมรัฐบาล
นายอลงกรณ์ พลบุตร สส.พรรคประชาธิปัตย์ ว่าที่รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางพรรคอาจจะมีการปรับลดตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ เหลือเพียงตำแหน่งเดียว โดยจะปรับให้นายมานิต นพอมรวดี ว่าที่รมช.พาณิชย์ จากพรรคภูมิใจไทย ให้ปรับไปเป็นรมช.กระทรวงอื่น ซึ่งจะต้องรอการหารือภายในระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ในวันเดียวกัน (19 ธ.ค.) เวลาประมาณ 15.00 น. นายอลงกรณ์ ได้เดินทางมายังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อดูห้องทำงาน และเตรียมจัดห้องล่วงหน้า ทั้งที่ยังไม่มีการโปรดเกล้าฯ
ส.อ.ท.ให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือ
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กรณีที่ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จะมาเป็นรมว.อุตสาหกรรมนั้น ส่วนตัวมองว่าการได้ผู้หญิงมานั่งตำแหน่งนี้ก็อาจจะดีกว่ารมต.ชายหลายๆ คนที่ผ่านมาก็เป็นไปได้ ซึ่งก็ต้องให้โอกาสการทำงานระยะหนึ่งก่อน เนื่องจากที่ผ่านมา รมว.อุตสาหกรรม บางคนเข้ามาแล้วไม่ทำงานเลย และบางคนก็ล้วงลูกจนงานสะดุดก็มีไม่น้อย
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการส.อ.ท. กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ารัฐมนตรี คือผู้ที่จะเข้ามาบริหารจัดการ ส่วนราชการคือผู้ขับเคลื่อนนโยบาย หากนักการเมืองเข้ามาบริหารแล้วแม้อาจจะด้อยประสบการณ์ในเรื่องภาคอุตสาหกรรม และการค้า แต่หากเป็นผู้กล้าตัดสินใจทำในสิ่งดีๆ ไม่มีคอร์รัปชั่น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจอาจจะดีกว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถแต่กลับบิดเบือนนโยบายเพื่อนำไปสู่การคอร์รัปชั่นเสียอีก ดังนั้นการที่ครั้งนี้รัฐบาลมีการแต่งตั้ง รมต.หญิงทั้งสองกระทรวงเศรษฐกิจ คือพาณิชย์และอุตสาหกรรม ก็คงจะต้องให้โอกาสพิสูจน์ฝีมือการบริหารก่อน แล้วค่อยว่ากัน
"ศุภชัย" แนะเร่งฟื้นความเชื่อมั่น
นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) กล่าวถึงเศรษฐกิจไทยว่า สิ่งที่รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งคือการทำงานที่รวดเร็ว เพื่อเรียกความเชื่อมั่นทั้งการค้า และการลงทุนกลับมา แม้ที่ผ่านมาความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว หรือการเมืองในประเทศทำให้ต่างประเทศมาท่องเที่ยวในไทยน้อยลง หากรัฐบาลเร่งทำงาน ความเชื่อมั่นก็จะกลับมา
"พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง ตอนนี้คนก็จะเริ่มกลับมาท่องเที่ยวในไทย ขณะที่แนวโน้มการลงทุน ก็ยังมีศักยภาพและน่าที่จะเข้ามาลงทุน" นายศุภชัยกล่าว
สำหรับเศรษฐกิจโลกปีหน้า เลขาฯ อังถัดระบุว่า ยังคงหดตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วโดยรวมติดลบ 0.5-0.9% สำหรับเศรษฐกิจประเทศในเอเชีย แม้จะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก แต่เศรษฐกิจโดยรวมกลุ่มประเทศเอเชียยังจะเติบโตและอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากสถาบันการเงินในกลุ่มประเทศเอเชียมีสภาพคล่องค่อนข้างดี มีความเข้มแข็ง ซึ่งที่ผ่านมามีการแก้ไขกฎระเบียบและมีเงินกองทุนเพียงพอ จึงเชื่อว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเอเชียปี 52 ยังขยายตัวเฉลี่ย 4-5%
ส่วนกระแสข่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเชิญไปเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจนั้น นายศุภชัยไม่ขอแสดงความคิดเห็น และไม่อยากวิจารณ์โฉมหน้ารัฐบาลใหม่