ASTVผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.เอาอีกงุบงิบเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน แม้แต่บอร์ด ยังไม่รู้เรื่อง ชี้"ยุทธนา"เร่งรีบสรุป 2 โครงการยักษ์ซึ่งรวมถึงต่อสัญญาเซ็นทรัลมูลค่า 2.1 หมื่นล้านบาทสนองการเมืองและเอื้อเอกชนมากเกินไป อ้างเหตุนสัญญาเดิมหมดอายุแฉ"ยุทธนา"ไขสือทั้งที่รู้ดีว่าทำสัญญาย้อนหลังได้ เผยต่อสัญญาไอซีดี ค้างติ่งมา 2ปี ผลงานยุทธนาในฐานะประธานคัดเลือกเอกชนตามพ.ร.บ.ร่วมทุน แต่ชิ่งลาออกจากพนักงานร.ฟ.ท.ช่วงถูกคตส.สอบทุจริตแอร์พอร์ตลิงค์ จนทำให้ถึงวันนี้ยังเซ็นสัญญาไม่ได้
รายงานข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วานนี้ (12 ธ.ค.) ร.ฟ.ท.ได้มีการลงนามในสัญญาก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน กับกลุ่มกิจการร่วมค้า ยูนิค-ซุนวู จอยท์เวนเจอร์ (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ และ บริษัท CHUNWO CONSTRUCTION & ENGINEERING CO.,LTD) วงเงิน 8,748.4 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท. ระบุว่าจะมีการจัดพิธีลงนามและเชิญสื่อมวลชนร่วมในพิธีอย่างเป็นทางการ เพราะถือเป็นโครงการใหญ่ของร.ฟ.ท.
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.51 ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้มีการลนงามในการต่อสัญญาเช่าที่ดินพร้อมทรัพย์สินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จำนวน 47.22 ไร่ กับบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด โดยเร่งรีบและไม่มีการแถลงข่าวแต่อย่างใดมาแล้ว ซึ่งนายยุทธนา อ้างว่า ต้องเร่งเซ็นสัญญากับเซ็นทรัลเพราะสัญญาเดิมจะหมดอายุในวันที่ 18 ธ.ค. หากสัญญาใหม่เซ็นไม่ทันจะทำให้ยุ่งยาก
อย่างไรก็ตาม ไม่มีการแจ้งเรื่องการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดงต่อสื่อมวลชนแต่อย่างไร โดยมีการกำชับผ่านเจ้าหน้าที่ร.ฟ.ท.ว่า ไม่ต้องเชิญสื่อมวลชนมาทำข่าว
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า การต่อสัญญาเซ็นทรัล และเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดงนั้น ถือเป็นงานสุดท้ายที่อยู่ภายใต้การกำกับของ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รักษาการ รมว.คมนาคม
ก่อนที่จะมีการเปิดประชุมสภาวิสามัญ ในวันที่ 15 ธ.ค. เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนขั้วรัฐบาล จากพรรคพลังประชาชนเดิมไปเป็นพรรคประชาธิปัตย์ จึงมีการดำเนินการที่เร่งรีบ โดยเริ่มจากการต่อสัญญาเซ็นทรัล ที่มีการรวบรัดขั้นตอนใช้เวลาเพียง 2 วันทำเรื่องเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีให้ทันวันที่ 2 ธ.ค.51 ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดียุบพรรค
นอกจากนี้ การเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ดังกล่าวยังไม่มีการรายงานหรือแจ้งให้คณะกรรมการร.ฟ.ท.รับทราบแต่อย่างใด โดยมีกรรมการบางคนรับทราบว่ามีการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาเพราะมีผู้สื่อข่าวโทรสอบถาม จึงสอบถามไปยังนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่า มีการเซ็นสัญญาไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้โครงการจะผ่านการประมูลและการพิจารณามาตามขั้นตอนแล้ว แต่ทั้งสัญญาเซ็นทรัล และรถไฟสายสีแดง ถือเป็นโครงการใหญ่ที่ร.ฟ.ท.ควรทำอย่างเปิดเผยมากกว่านี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีการต่อสัญญาเซ็นทรัลนั้น ได้ถูกตั้งข้อสังเกตุถึงการเร่งรีบและข้ามขั้นตอนรวมถึงการเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนผู้ประกอบการฯ ตามมาตรา 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ในการพิจารณาการทำสัญญากับเซ็นทรัล ก่อนเสนอ ครม.เพียง 2 วันเท่านั้น โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้ทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 27 พ.ย.51 หลังตรวจร่างสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน โดยตั้งข้อสังเกต 3 ข้อ และในวันที่ 28 พ.ย. นายยุทธนา ได้ลงนามในหนังสือถึงอัยการสูงสุด อ้างตามหนังสือที่อัยการสูงสุดมีความเห็นส่งมาถึง ร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 27 พ.ย.51 ระบุว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชน (กรรมการมาตรา 13 ) ได้ประชุมร่วมกันในเรื่องดังกล่าวแล้ว
ในขณะที่ข้อเท็จจริงนั้น คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ ยังไม่ได้มีการประชุมกัน โดยอยู่ระหว่างการเรียกประชุม และกำหนดวันประชุม ซึ่งมีกระบวนการที่แสดงให้เห็นว่ามีการเร่งรีบและจงใจข้ามขึ้นตอน ตั้งแต่ 1. เปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนจาก นายนคร จันทรศร รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท. เป็นนายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ด้านบริหารทรัพย์สินเมื่อวันที่ 28 พ.ย.
2. การใช้วิธีทำหนังสือเวียนถึงกรรมการตัดเลือกเอกชน เพื่อให้ลงนามเห็นชอบในหนังสือสรุปเรื่องส่งถึงรมว.คมนาคม ก่อนเสนอครม.โดยไม่มีการประชุมอย่างเป็นทางการ หรือรอคำตอบจากอัยการสูงสุดเรื่องร่างสัญญา โดยมีการระบุว่า หลังอัยการสูงสุดตอบกลับจะแนบไปพร้อมกัน โดยผู้ลงนามในหนังสือดังกล่าวคือ นายอิทธิพล ซึ่งขณะนั้นยังมีหน้าที่เป็นเลขาฯ ของกรรมการคัดเลือกเอกชน และประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนไม่ได้มอบหมายให้ดำเนินการแทนแต่อย่างใด
3.ขั้นตอนการพิจารณาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 35 นั้น เมื่ออัยการสูงสุดตอบกลับมา คณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ต้องประชุมเพื่อสรุปเรื่องและเสนอไปยังรมว.คมนาคม ในขณะเดียวกันก็จะต้องนำผลเสนอต่อผู้ว่าฯร.ฟ.ท. เพื่อรายงานบอร์ด ร.ฟ.ท. ซึ่งเมื่อบอร์ดร.ฟ.ท.พิจารณาแล้วมีความเห็นอย่างไรจะต้องเสนอไปที่รมว.คมนาคม ซึ่งรมว.คมนาคม จะเป็นผู้สรุปเรื่องเสนอครม.ต่อไป ซึ่งในช่วงวันที่ 27 พ.ย. ที่อัยการให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างสัญญากลับมานั้น บอร์ดไม่ได้มีการประชุม แต่มีการประชุมวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากครม.เห็นชอบไปแล้ว และในวันที่ 9 ธ.ค. ทางร.ฟ.ท.ก็ลงนามกับเซ็นทรัลทันที
**ชี้ต่อสัญญา20 ปีเหมาะสม
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า การต่อสัญญาเซ็นทรัล เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่มี.ค. 44 ซึ่งเซ็นทรัล ได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงขอเช่าทรัพย์สินในบริเวณดังกล่าวต่ออีก 30 ปี หลังจากสัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดวันที่ 18 ธ.ค.51 ซึ่งร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการตามขั้นตอนจนธ.ค.49 ไดัมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ (กรรมการตามมาตรา13 พ.ร.บ.ร่วมทุน 35) เพื่อประเมินผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม และเจรจากับเซ็นทรัล โดยได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา 2 ราย คือ บริษัทเอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตทแอฟแฟร์ส จำกัด และบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เดอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินมูลค่าผลตอบแทน ที่ร.ฟ.ท.ควรได้รับจากการเช่าทรัพย์สินดังกล่าว ได้ข้อยุติผลตอบที่ 20 ปี ที่ 21,298,833,000 บาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนได้รายงานความคืบหน้าการพิจารณาต่อสัญญาเซ็นทรัลที่สรุป 20 ปี ต่อนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ตามขั้นตอน ซึ่งนายสันติได้ให้ความเห็นว่าน่าจะต่อสัญญา 30 ปี จะได้ประโยชน์ ซึ่งกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ ได้ประชุมและมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ยืนยันระยะเวลาเช่า 20 ปี และมีการรายงานต่อรมว.คมนาคม และบอร์ดร.ฟ.ท.แล้ว
ทั้งนี้ในหลักการและธรรมเนียมปฏิบัติการต่อสัญญาเช่าของฝ่ายรัฐ จะไม่เกิน 20 ปี ซึ่งกรณีมาบุญครอง หรือโรงแรมโนโวเทล ก็ต่อสัญญา 20 ปี เพราะถือว่า สัญญาเดิมได้ประโยชน์มาแล้ว โดยสัญญาเซ็นทรัลเดิมอายุ 30 ปี หากรวมกับสัญญาเช่าใหม่ 20 ปี จะเท่ากับ 50 ปี ซึ่งนับอายุของทรัพย์สิน และอาคารถือว่าค่อนข้างมากและคุ้มค่าแล้วซึ่งเมื่อ 50 ปี ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะทุบเพื่อปลูกสร้างใหม่ หรือจะยังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่อได้อีกระยะหนึ่ง
กรณีการเร่งรีบโดยอ้างว่าจำเป็นต้องเซ็นสัญญากับเซ็นทรัลก่อนที่สัญญาเดิมจะหมดอายุวันที่ 18 ธ.ค.51 นั้น ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุผลเพราะ ขณะนี้โครงการไอซีดีลาดกระบัง ซึ่งสัญญา
เดิมหมดอายุตั้งแต่ปี 49 แต่ถึงขณะนี้ร.ฟ.ท.ก็ยังไม่ได้ลงนาม โดยอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาร่างสัญญา ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 เช่นกัน ซึ่งก็ไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาต่อสัญญาไอซีดีนั้น นายยุทธนา เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน 35 มาก่อน แต่นายยุทธนา ได้ลาออกจากจากการเป็นพนักงานร.ฟ.ท.ในช่วงที่รัฐบาล คมช. เพราะถูกสอบสวนการทุจริตโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ และ คตส. สรุปว่ามีความผิด และส่งเรื่องต่อไปยัง ป.ป.ช. ให้ดำเนินการ ดังนั้นเรื่องการเซ็นสัญญาย้อนหลังทำได้หรือไม่ได้นั้น นายยุทธนาน่าจะทราบดีว่า ทำได้
ด้านนายนคร จันทรศร รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท. กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนนั้น ตนเพิ่งทราบว่าถูกปลดจากประธานกรรมการ มาตรา 13 เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ซึ่งจากการประชุมล่าสุดที่ประชุมกรรมการมาตรา 13 จะนัดประชุมอีกครั้งหลังได้รับหนังสือตอบกลับจากอัยการสูงสุดที่ส่งร่างสัญญาให้ตรวจสอบ และเมื่อทราบว่าอัยการสูงสุดตอบกลับมาวันที่ 27 พ.ย. ตนก็ทำหนังสือแจ้งเพื่อนัดประชุมคณะกรรมการ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันประชุม ทั้งนี้ยืนยันว่าการเซ็นสัญญาใหม่ หลังจากวันที่ 18 ธ.ค. 51 ที่สัญญาเดิมหมดอายุไปแล้วนั้น ในทางปฏิบัติทำได้และเซ็นทรัล ก็รับทราบและทำหนังสือประสานมาแล้ว
**อัยการติงทบทวนตัวเลขประกันภัยถือเป็นเรื่องสำคัญ
สำหรับความเห็นของอัยการสูงสุด เกี่ยวกับร่างสัญญา 3 ข้อ มีดังนี้ 1. ร่างข้อ 5.8.2 กำหนดวงเงินประกันภัยสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไว้เพียง 20 ล้านบาท ต่อปี เมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ธุรกิจทั้งหมดและปริมาณผู้ใช้บริการของศูนย์การค้าดังกล่าวแล้ว ร.ฟ.ท. ควรพิจารณาทบทวนว่าตัวเลขดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่
2. ร.ฟ.ท.ควรตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินศูนย์การค้าที่ส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ฟ.ท.ตามเอกสารแนวท้ายสัญญาหมายเลข 4-6 ให้มีรายละเอียดครบถ้วน และถูกต้องรวมถึงรายการราคาทรัพย์สินดังกล่าวด้วย เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการติดตามหรือกำกับดูแลสัญญาหรือในการส่งมอบคืนให้แก่ร.ฟ.ท.เมื่อสัญญาสิ้นสุด
3. สาระสำคัญของสัญญาเช่าช่วงหลักตามเอกสารแนบท้ายสัญญาหมายเลข 10 ร.ฟ.ท.ควรกำหนด เงื่อนไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญในสัญญาเช่า ช่วงหลักด้วยว่าผู้เช่าช่วงหลักได้ทราบและจะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าฯนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เช่าช่วงหลักทุกประการ
รายงานข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วานนี้ (12 ธ.ค.) ร.ฟ.ท.ได้มีการลงนามในสัญญาก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน กับกลุ่มกิจการร่วมค้า ยูนิค-ซุนวู จอยท์เวนเจอร์ (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ และ บริษัท CHUNWO CONSTRUCTION & ENGINEERING CO.,LTD) วงเงิน 8,748.4 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการฯ ร.ฟ.ท. ระบุว่าจะมีการจัดพิธีลงนามและเชิญสื่อมวลชนร่วมในพิธีอย่างเป็นทางการ เพราะถือเป็นโครงการใหญ่ของร.ฟ.ท.
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.51 ที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้มีการลนงามในการต่อสัญญาเช่าที่ดินพร้อมทรัพย์สินบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน จำนวน 47.22 ไร่ กับบริษัท เซ็นทรัลอินเตอร์พัฒนา จำกัด โดยเร่งรีบและไม่มีการแถลงข่าวแต่อย่างใดมาแล้ว ซึ่งนายยุทธนา อ้างว่า ต้องเร่งเซ็นสัญญากับเซ็นทรัลเพราะสัญญาเดิมจะหมดอายุในวันที่ 18 ธ.ค. หากสัญญาใหม่เซ็นไม่ทันจะทำให้ยุ่งยาก
อย่างไรก็ตาม ไม่มีการแจ้งเรื่องการเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดงต่อสื่อมวลชนแต่อย่างไร โดยมีการกำชับผ่านเจ้าหน้าที่ร.ฟ.ท.ว่า ไม่ต้องเชิญสื่อมวลชนมาทำข่าว
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า การต่อสัญญาเซ็นทรัล และเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดงนั้น ถือเป็นงานสุดท้ายที่อยู่ภายใต้การกำกับของ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รักษาการ รมว.คมนาคม
ก่อนที่จะมีการเปิดประชุมสภาวิสามัญ ในวันที่ 15 ธ.ค. เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนขั้วรัฐบาล จากพรรคพลังประชาชนเดิมไปเป็นพรรคประชาธิปัตย์ จึงมีการดำเนินการที่เร่งรีบ โดยเริ่มจากการต่อสัญญาเซ็นทรัล ที่มีการรวบรัดขั้นตอนใช้เวลาเพียง 2 วันทำเรื่องเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรีให้ทันวันที่ 2 ธ.ค.51 ซึ่งเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินคดียุบพรรค
นอกจากนี้ การเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ดังกล่าวยังไม่มีการรายงานหรือแจ้งให้คณะกรรมการร.ฟ.ท.รับทราบแต่อย่างใด โดยมีกรรมการบางคนรับทราบว่ามีการเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาเพราะมีผู้สื่อข่าวโทรสอบถาม จึงสอบถามไปยังนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่า มีการเซ็นสัญญาไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้โครงการจะผ่านการประมูลและการพิจารณามาตามขั้นตอนแล้ว แต่ทั้งสัญญาเซ็นทรัล และรถไฟสายสีแดง ถือเป็นโครงการใหญ่ที่ร.ฟ.ท.ควรทำอย่างเปิดเผยมากกว่านี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า กรณีการต่อสัญญาเซ็นทรัลนั้น ได้ถูกตั้งข้อสังเกตุถึงการเร่งรีบและข้ามขั้นตอนรวมถึงการเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนผู้ประกอบการฯ ตามมาตรา 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ในการพิจารณาการทำสัญญากับเซ็นทรัล ก่อนเสนอ ครม.เพียง 2 วันเท่านั้น โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้ทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 27 พ.ย.51 หลังตรวจร่างสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าบริเวณสามเหลี่ยมย่านพหลโยธิน โดยตั้งข้อสังเกต 3 ข้อ และในวันที่ 28 พ.ย. นายยุทธนา ได้ลงนามในหนังสือถึงอัยการสูงสุด อ้างตามหนังสือที่อัยการสูงสุดมีความเห็นส่งมาถึง ร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 27 พ.ย.51 ระบุว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชน (กรรมการมาตรา 13 ) ได้ประชุมร่วมกันในเรื่องดังกล่าวแล้ว
ในขณะที่ข้อเท็จจริงนั้น คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ ยังไม่ได้มีการประชุมกัน โดยอยู่ระหว่างการเรียกประชุม และกำหนดวันประชุม ซึ่งมีกระบวนการที่แสดงให้เห็นว่ามีการเร่งรีบและจงใจข้ามขึ้นตอน ตั้งแต่ 1. เปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนจาก นายนคร จันทรศร รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท. เป็นนายอิทธิพล ปภาวสิทธิ์ รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. ด้านบริหารทรัพย์สินเมื่อวันที่ 28 พ.ย.
2. การใช้วิธีทำหนังสือเวียนถึงกรรมการตัดเลือกเอกชน เพื่อให้ลงนามเห็นชอบในหนังสือสรุปเรื่องส่งถึงรมว.คมนาคม ก่อนเสนอครม.โดยไม่มีการประชุมอย่างเป็นทางการ หรือรอคำตอบจากอัยการสูงสุดเรื่องร่างสัญญา โดยมีการระบุว่า หลังอัยการสูงสุดตอบกลับจะแนบไปพร้อมกัน โดยผู้ลงนามในหนังสือดังกล่าวคือ นายอิทธิพล ซึ่งขณะนั้นยังมีหน้าที่เป็นเลขาฯ ของกรรมการคัดเลือกเอกชน และประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนไม่ได้มอบหมายให้ดำเนินการแทนแต่อย่างใด
3.ขั้นตอนการพิจารณาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 35 นั้น เมื่ออัยการสูงสุดตอบกลับมา คณะกรรมการคัดเลือกเอกชน ต้องประชุมเพื่อสรุปเรื่องและเสนอไปยังรมว.คมนาคม ในขณะเดียวกันก็จะต้องนำผลเสนอต่อผู้ว่าฯร.ฟ.ท. เพื่อรายงานบอร์ด ร.ฟ.ท. ซึ่งเมื่อบอร์ดร.ฟ.ท.พิจารณาแล้วมีความเห็นอย่างไรจะต้องเสนอไปที่รมว.คมนาคม ซึ่งรมว.คมนาคม จะเป็นผู้สรุปเรื่องเสนอครม.ต่อไป ซึ่งในช่วงวันที่ 27 พ.ย. ที่อัยการให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างสัญญากลับมานั้น บอร์ดไม่ได้มีการประชุม แต่มีการประชุมวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากครม.เห็นชอบไปแล้ว และในวันที่ 9 ธ.ค. ทางร.ฟ.ท.ก็ลงนามกับเซ็นทรัลทันที
**ชี้ต่อสัญญา20 ปีเหมาะสม
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า การต่อสัญญาเซ็นทรัล เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่มี.ค. 44 ซึ่งเซ็นทรัล ได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงขอเช่าทรัพย์สินในบริเวณดังกล่าวต่ออีก 30 ปี หลังจากสัญญาเช่าเดิมสิ้นสุดวันที่ 18 ธ.ค.51 ซึ่งร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการตามขั้นตอนจนธ.ค.49 ไดัมีการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ (กรรมการตามมาตรา13 พ.ร.บ.ร่วมทุน 35) เพื่อประเมินผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม และเจรจากับเซ็นทรัล โดยได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา 2 ราย คือ บริษัทเอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตทแอฟแฟร์ส จำกัด และบริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เดอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประเมินมูลค่าผลตอบแทน ที่ร.ฟ.ท.ควรได้รับจากการเช่าทรัพย์สินดังกล่าว ได้ข้อยุติผลตอบที่ 20 ปี ที่ 21,298,833,000 บาท
แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนได้รายงานความคืบหน้าการพิจารณาต่อสัญญาเซ็นทรัลที่สรุป 20 ปี ต่อนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ตามขั้นตอน ซึ่งนายสันติได้ให้ความเห็นว่าน่าจะต่อสัญญา 30 ปี จะได้ประโยชน์ ซึ่งกรรมการคัดเลือกเอกชนฯ ได้ประชุมและมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ยืนยันระยะเวลาเช่า 20 ปี และมีการรายงานต่อรมว.คมนาคม และบอร์ดร.ฟ.ท.แล้ว
ทั้งนี้ในหลักการและธรรมเนียมปฏิบัติการต่อสัญญาเช่าของฝ่ายรัฐ จะไม่เกิน 20 ปี ซึ่งกรณีมาบุญครอง หรือโรงแรมโนโวเทล ก็ต่อสัญญา 20 ปี เพราะถือว่า สัญญาเดิมได้ประโยชน์มาแล้ว โดยสัญญาเซ็นทรัลเดิมอายุ 30 ปี หากรวมกับสัญญาเช่าใหม่ 20 ปี จะเท่ากับ 50 ปี ซึ่งนับอายุของทรัพย์สิน และอาคารถือว่าค่อนข้างมากและคุ้มค่าแล้วซึ่งเมื่อ 50 ปี ก็มีเหตุผลเพียงพอที่จะทุบเพื่อปลูกสร้างใหม่ หรือจะยังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่อได้อีกระยะหนึ่ง
กรณีการเร่งรีบโดยอ้างว่าจำเป็นต้องเซ็นสัญญากับเซ็นทรัลก่อนที่สัญญาเดิมจะหมดอายุวันที่ 18 ธ.ค.51 นั้น ถือเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุผลเพราะ ขณะนี้โครงการไอซีดีลาดกระบัง ซึ่งสัญญา
เดิมหมดอายุตั้งแต่ปี 49 แต่ถึงขณะนี้ร.ฟ.ท.ก็ยังไม่ได้ลงนาม โดยอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาร่างสัญญา ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 เช่นกัน ซึ่งก็ไม่มีปัญหา
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาต่อสัญญาไอซีดีนั้น นายยุทธนา เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ร่วมทุน 35 มาก่อน แต่นายยุทธนา ได้ลาออกจากจากการเป็นพนักงานร.ฟ.ท.ในช่วงที่รัฐบาล คมช. เพราะถูกสอบสวนการทุจริตโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ และ คตส. สรุปว่ามีความผิด และส่งเรื่องต่อไปยัง ป.ป.ช. ให้ดำเนินการ ดังนั้นเรื่องการเซ็นสัญญาย้อนหลังทำได้หรือไม่ได้นั้น นายยุทธนาน่าจะทราบดีว่า ทำได้
ด้านนายนคร จันทรศร รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท. กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนนั้น ตนเพิ่งทราบว่าถูกปลดจากประธานกรรมการ มาตรา 13 เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ซึ่งจากการประชุมล่าสุดที่ประชุมกรรมการมาตรา 13 จะนัดประชุมอีกครั้งหลังได้รับหนังสือตอบกลับจากอัยการสูงสุดที่ส่งร่างสัญญาให้ตรวจสอบ และเมื่อทราบว่าอัยการสูงสุดตอบกลับมาวันที่ 27 พ.ย. ตนก็ทำหนังสือแจ้งเพื่อนัดประชุมคณะกรรมการ แต่ยังไม่ได้กำหนดวันประชุม ทั้งนี้ยืนยันว่าการเซ็นสัญญาใหม่ หลังจากวันที่ 18 ธ.ค. 51 ที่สัญญาเดิมหมดอายุไปแล้วนั้น ในทางปฏิบัติทำได้และเซ็นทรัล ก็รับทราบและทำหนังสือประสานมาแล้ว
**อัยการติงทบทวนตัวเลขประกันภัยถือเป็นเรื่องสำคัญ
สำหรับความเห็นของอัยการสูงสุด เกี่ยวกับร่างสัญญา 3 ข้อ มีดังนี้ 1. ร่างข้อ 5.8.2 กำหนดวงเงินประกันภัยสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอกไว้เพียง 20 ล้านบาท ต่อปี เมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ธุรกิจทั้งหมดและปริมาณผู้ใช้บริการของศูนย์การค้าดังกล่าวแล้ว ร.ฟ.ท. ควรพิจารณาทบทวนว่าตัวเลขดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่
2. ร.ฟ.ท.ควรตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินศูนย์การค้าที่ส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ ร.ฟ.ท.ตามเอกสารแนวท้ายสัญญาหมายเลข 4-6 ให้มีรายละเอียดครบถ้วน และถูกต้องรวมถึงรายการราคาทรัพย์สินดังกล่าวด้วย เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการติดตามหรือกำกับดูแลสัญญาหรือในการส่งมอบคืนให้แก่ร.ฟ.ท.เมื่อสัญญาสิ้นสุด
3. สาระสำคัญของสัญญาเช่าช่วงหลักตามเอกสารแนบท้ายสัญญาหมายเลข 10 ร.ฟ.ท.ควรกำหนด เงื่อนไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญในสัญญาเช่า ช่วงหลักด้วยว่าผู้เช่าช่วงหลักได้ทราบและจะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาให้สิทธิใช้ประโยชน์ศูนย์การค้าฯนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เช่าช่วงหลักทุกประการ