เอเอฟพี/ผู้จัดการรายวัน - ธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) เผยแพร่รายงานล่าสุดวานนี้(11) เตือนว่าอัตราการเติบโตในประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียจะชะลอลงเหลือ 5.8% ในปี 2009 และรัฐบาลควรจะต้องกระตุ้นความต้องการบริโภคภายในประเทศเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจมิให้ดิ่งลงไปอีก สำหรับประเทศไทยนั้น เอดีบีบอกว่าปีนี้โต 4.0% และปีหน้า 2.0%
ในรายงานฉบับล่าสุดที่ใช้ชื่อว่า "Asia Economic Monitor 2008" (ตามติดเศรษฐกิจเอเชียปี 2008)นี้ เอดีบีชี้ว่าความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลกจะฉุดให้เศรษฐกิจประเทศกำลังพํมนาในภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งสามารถเติบโตในอัตรา 6.9%ในปีนี้ มีอันต้องย่ำแย่ลงในปีหน้า เนื่องจากนักลงทุนระหว่างประเทศจะลดการลงทุนในภูมิภาคนี้ลงไปอย่างมหาศาล รวมทั้งภาคการส่งออกที่เป็นเสาหลักของการเติบโตก็หดตัวลงเพราะความต้องการสินค้าลดลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะมีอัตราการเติบโตราว 8.2% ในปีหน้า ลดลงจาก 9.5% ในปีนี้
"พวกประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ซึ่งตอนแรกเห็นกันว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากวิกฤตของโลก แต่ตอนนี้ปรากฏออกมาแล้วว่ากำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นมาก" เอดีบีกล่าว
"เมื่อนักลงทุนทั่วโลกลดการถือครองสินทรัพย์ของตลาดเฟื่องฟูใหม่ ท่ามกลางกระบวนการตัดลดการใช้เงินกู้ในการทำธุรกิจ ที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หลักทรัพย์ในเอเชียและเงื่อนไขที่ดึงดูดทุนจากภายนอกจึงต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง"
รายงานชี้ว่าแม้ประเทศในแถบนี้จะสั่งสมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997 หลายเท่าตัว แต่ภาวะขาดแคลนสินเชื่อในตลาดโลกจะยังคงทำให้บรรดาธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆ ในเอเชียประสบปัญหาการให้กู้ยืมไปด้วย
ยิ่งกว่านั้น พวกเศรษฐกิจที่พึ่งพาอยู่กับการส่งออก ก็จะอยู่ในสภาพผันผวนมากเป็นพิเศษ เนื่องจาก "ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลง ในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทำให้คำสั่งซื้อสินค้าจากเอเชียก็ลดลงด้วย และส่งผลไปถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศเหล่านี้อีกต่อหนึ่ง" รายงานชี้
"มูลค่าการค้าระหว่างประเทศจะชะลอตัวลงอย่างมาก และคาดว่าในปีหน้าจะแทบไม่ขยายตัวเลย ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ที่พึ่งพาการส่งออกประสบกับปัญหา"
ตัวเลขการเติบโตในประเทศกำลังพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย 44 ประเทศ ไล่ตั้งแต่เอเชียกลางไปจนถึงอินโดนีเซีย ถูกปรับลดลงให้เหลือ 7.5% ในปีนี้ และ 7.2% ในปีหน้า
แต่แม้ว่าอนาคตจะดูไม่สดใสนัก เอดีบีก็ชี้ว่าเอเชียยังคงอยู่ในสถานะดีกว่าที่อื่น ๆและอาจสามารถจะหลีกเลี่ยงภาวะเลวร้ายที่สุดที่เกิดจากวิกฤตครั้งนี้ ทว่าบรรดาผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องทุ่มเททุกวิถีทางเพื่อกระตุ้นความต้องการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งการจับจ่ายใช้สอยในภาครัฐให้เพิ่มขึ้นให้ได้
"การกระตุ้นการบริโภคภายในเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันก็อาจจะลำบากที่จะเร่งเร้าให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย" ลีจงฮวา ผู้อำนวยการสำนักงานการบูรณาการเศรษฐกิจภูมิภาค ของเอดีบีกล่าวกับผู้สื่อข่าว ระหว่างการเปิดตัวรายงานฉบับนี้ที่ฮ่องกง
เอดีบีเรียกร้องให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆให้ออกมาตรการอย่างรวดเร็วเพื่อแก้ไขปัญหาสินเชื่อตึงตัวในภูมิภาค อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาด รวมทั้งเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคให้มากขึ้นอีก
ลีเตือนว่ารัฐบาลทั้งหลายไม่ควรจะเข้าไปแทรกแซงในตลาดแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทำให้ค่าเงินของตนเองอ่อนลงเพื่อกระตุ้นภาคการส่งออก
สำหรับปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของเอเชียเมื่อปีที่แล้ว ลีบอกว่าได้ลดความสำคัญลงไปมากในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และปีหน้า นอกจากนั้นเขาก็ไม่เชื่อว่าความต้องการสินค้าที่ลดลงอย่างมากในภูมิภาคนี้จะนำไปสู่ภาวะเงินฝืดทั่วทั้งภูมิภาค
เมื่อแยกย่อยลงมาเป็นรายภูมิภาค รายงานฉบับนี้ของเอดีบีบอกว่า อัตราการเติบโตในเขตเอเชียตะวันออก(ยกเว้นญี่ปุ่น) ซึ่งประกอบด้วยอาเซียน 10 ประเทศบวกจีน ฮ่องกง ไต้หวันและเกาหลีใต้จะขยายตัวราว 5.7% ในปีหน้า จาก 6.9% ในปีนี้ ส่วนเอเชียใต้ซึ่งมีอินเดียเป็นหลักจะเติบโตในอัตรา 6.8% ในปีนี้ และ 6.1%ในปีหน้า ลดลงจาก 8.7% ของปี 2007
ขณะที่ประเทศไทยนั้น รายงานล่าสุดของเอดีบีคาดการณ์ไว้ว่า ปี 2008 จะเติบโต 4.0% และเหลือ 2.0% ในปีหน้า
ในรายงานฉบับล่าสุดที่ใช้ชื่อว่า "Asia Economic Monitor 2008" (ตามติดเศรษฐกิจเอเชียปี 2008)นี้ เอดีบีชี้ว่าความปั่นป่วนของเศรษฐกิจโลกจะฉุดให้เศรษฐกิจประเทศกำลังพํมนาในภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งสามารถเติบโตในอัตรา 6.9%ในปีนี้ มีอันต้องย่ำแย่ลงในปีหน้า เนื่องจากนักลงทุนระหว่างประเทศจะลดการลงทุนในภูมิภาคนี้ลงไปอย่างมหาศาล รวมทั้งภาคการส่งออกที่เป็นเสาหลักของการเติบโตก็หดตัวลงเพราะความต้องการสินค้าลดลง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะมีอัตราการเติบโตราว 8.2% ในปีหน้า ลดลงจาก 9.5% ในปีนี้
"พวกประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ซึ่งตอนแรกเห็นกันว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากวิกฤตของโลก แต่ตอนนี้ปรากฏออกมาแล้วว่ากำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นมาก" เอดีบีกล่าว
"เมื่อนักลงทุนทั่วโลกลดการถือครองสินทรัพย์ของตลาดเฟื่องฟูใหม่ ท่ามกลางกระบวนการตัดลดการใช้เงินกู้ในการทำธุรกิจ ที่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หลักทรัพย์ในเอเชียและเงื่อนไขที่ดึงดูดทุนจากภายนอกจึงต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง"
รายงานชี้ว่าแม้ประเทศในแถบนี้จะสั่งสมทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997 หลายเท่าตัว แต่ภาวะขาดแคลนสินเชื่อในตลาดโลกจะยังคงทำให้บรรดาธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆ ในเอเชียประสบปัญหาการให้กู้ยืมไปด้วย
ยิ่งกว่านั้น พวกเศรษฐกิจที่พึ่งพาอยู่กับการส่งออก ก็จะอยู่ในสภาพผันผวนมากเป็นพิเศษ เนื่องจาก "ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลง ในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทำให้คำสั่งซื้อสินค้าจากเอเชียก็ลดลงด้วย และส่งผลไปถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมของประเทศเหล่านี้อีกต่อหนึ่ง" รายงานชี้
"มูลค่าการค้าระหว่างประเทศจะชะลอตัวลงอย่างมาก และคาดว่าในปีหน้าจะแทบไม่ขยายตัวเลย ทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ที่พึ่งพาการส่งออกประสบกับปัญหา"
ตัวเลขการเติบโตในประเทศกำลังพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งประกอบด้วย 44 ประเทศ ไล่ตั้งแต่เอเชียกลางไปจนถึงอินโดนีเซีย ถูกปรับลดลงให้เหลือ 7.5% ในปีนี้ และ 7.2% ในปีหน้า
แต่แม้ว่าอนาคตจะดูไม่สดใสนัก เอดีบีก็ชี้ว่าเอเชียยังคงอยู่ในสถานะดีกว่าที่อื่น ๆและอาจสามารถจะหลีกเลี่ยงภาวะเลวร้ายที่สุดที่เกิดจากวิกฤตครั้งนี้ ทว่าบรรดาผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจจะต้องทุ่มเททุกวิถีทางเพื่อกระตุ้นความต้องการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งการจับจ่ายใช้สอยในภาครัฐให้เพิ่มขึ้นให้ได้
"การกระตุ้นการบริโภคภายในเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันก็อาจจะลำบากที่จะเร่งเร้าให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย" ลีจงฮวา ผู้อำนวยการสำนักงานการบูรณาการเศรษฐกิจภูมิภาค ของเอดีบีกล่าวกับผู้สื่อข่าว ระหว่างการเปิดตัวรายงานฉบับนี้ที่ฮ่องกง
เอดีบีเรียกร้องให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆให้ออกมาตรการอย่างรวดเร็วเพื่อแก้ไขปัญหาสินเชื่อตึงตัวในภูมิภาค อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาด รวมทั้งเพิ่มความร่วมมือในภูมิภาคให้มากขึ้นอีก
ลีเตือนว่ารัฐบาลทั้งหลายไม่ควรจะเข้าไปแทรกแซงในตลาดแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะทำให้ค่าเงินของตนเองอ่อนลงเพื่อกระตุ้นภาคการส่งออก
สำหรับปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของเอเชียเมื่อปีที่แล้ว ลีบอกว่าได้ลดความสำคัญลงไปมากในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และปีหน้า นอกจากนั้นเขาก็ไม่เชื่อว่าความต้องการสินค้าที่ลดลงอย่างมากในภูมิภาคนี้จะนำไปสู่ภาวะเงินฝืดทั่วทั้งภูมิภาค
เมื่อแยกย่อยลงมาเป็นรายภูมิภาค รายงานฉบับนี้ของเอดีบีบอกว่า อัตราการเติบโตในเขตเอเชียตะวันออก(ยกเว้นญี่ปุ่น) ซึ่งประกอบด้วยอาเซียน 10 ประเทศบวกจีน ฮ่องกง ไต้หวันและเกาหลีใต้จะขยายตัวราว 5.7% ในปีหน้า จาก 6.9% ในปีนี้ ส่วนเอเชียใต้ซึ่งมีอินเดียเป็นหลักจะเติบโตในอัตรา 6.8% ในปีนี้ และ 6.1%ในปีหน้า ลดลงจาก 8.7% ของปี 2007
ขณะที่ประเทศไทยนั้น รายงานล่าสุดของเอดีบีคาดการณ์ไว้ว่า ปี 2008 จะเติบโต 4.0% และเหลือ 2.0% ในปีหน้า