เอดีบีแข็งใจคงอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยทั้งปีไว้ที่ 5% โดยมีภาคการส่งออกเป็นแรงหนุนหลัก แต่อัตราการเติบโตในครึ่งปีหลังจะแผ่วลงเหลือ 4% เตือนผลกระทบจากภาวะตึงเครียดทางการเมืองที่ยืดเยื้อจะชัดเจนในปีหน้า ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอจะทำให้การส่งออกไม่สูงอย่างเคย อาจทำให้จีดีพีปีหน้าโตแค่ 4.5% ด้านศูนย์วิจัยม.รังสิตประเมินสถานการณ์การเมือง ระบหากเกิดเหตุรุนแรงอาจกระทบการเติบโตจีดีพีไตรมาส4 เหลือแค่ 1.5%
นายณอง-ปีแอร์ เวอร์บิสต์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) ประจำประเทศไทย กล่าวถึงการทบทวนอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยว่า เป็นเรื่องประหลาดใจที่เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ดีอยู่ แม้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเอดีบีมองว่าศักยภาพไทยในการเติบโตมีน้อยกว่าประเทศในภูมิภาค ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่การส่งออกไทยยังดีอยู่ เพราะการกระจายตลาดไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง รัสเซียมากขึ้นทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปีนีก็เติบโตได้ดีถึง 5.7% และคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจจะแผ่วลงมาบ้างเหลือ 4% แต่เอดีบียังคงประมาณการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยทั้งปีนี้ไว้ที่ระดับ 5% เท่ากับครั้งก่อน และคาดว่าในช่วงปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 5% จากเดิม 5.2%
“ในช่วงปี 2548-2550 เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตดีและอัตราดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่การเมืองไทยเริ่มก่อตัวเพิ่มขึ้น แต่ด้านเศรษฐกิจยังเดินได้ดีอยู่ แต่หากในอนาคตเหตุการณ์การเมืองยังคงอยู่และตึงเครียดไปเรื่อยๆ แม้ขณะนี้ความสามารถของอุตสาหกรรมการผลิตยังมีสำรองอยู่ ก็อาจจะเสียโอกาสได้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกไทยดีขึ้นแล้วและอาจจะมีความเสี่ยงให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้น้อย โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าอาจเหลือแค่ 4.5% ก็เป็นไปได้”
ทั้งนี้ ช่วงเหลือของปีนี้จะไม่มีการลงทุนภาครัฐมากนัก แม้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะดีขึ้น และโครงการต่างๆ วางแผนไว้หมดแล้ว รอแค่การลงทุนเท่านั้นก็ตาม ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งแรกปีนี้เห็นมีแค่สินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการลงทุนเพื่อประสิทธิภาพการผลิต ส่วนเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ) ก็มีไม่มากเช่นกัน เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้การบริโภคครึ่งหลังก็คาดว่าจะทรงๆ ตัว เช่นเดียวกับในช่วงครึ่งแรกที่ได้รับผลจากมาตรการของภาครัฐ
“หากเกิดเหตุการณ์ยุบสภาขึ้นจะไม่มีคนตัดสินใจต่างๆ ในการบริหารประเทศและความต่อเนื่องนโยบายเศรษฐกิจหายไป ทำให้เกิดสูญญากาศอย่างน้อย 2-3 เดือนในช่วงการหาเสียง อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าไทยจะมีการเลือกตั้งเร็วไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งดีกว่าประเทศอื่นๆ ถือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยด้วย ทางเอดีบีจึงมองว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองน่าจะหมดไปในช่วงต้นปีหน้าและการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ เดินหน้าได้ต่อไป”
ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลงเรื่อยๆ ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงโดยตรงอาจได้รับผลกระทบไปด้วย รวมทั้งรายได้จากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีงบการใช้จ่ายต่ำอาจลดลง จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐควรมีการมองปัญหาไปข้างหน้าและมีปรับปรุงโครงสร้างต่างๆ ให้ดีขึ้นภายใต้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงราคาน้ำมันและข้าวที่สูงอยู่
สำหรับแผนการออกพันธบัตรของเอดีบีในปีนี้ยังไม่มี เนื่องจากเกี่ยวกับการบริหารทางการเงินของเอดีบีเอง ขณะเดียวกันในปีนี้ทางเอดีบีก็ไม่มีโครงการเงินกู้ในรูปเงินบาท และขอย้ำว่าที่ไม่ออกพันธบัตรในปีนี้ไม่ได้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศไทย
**ม.รังสิตหวั่นเหตุรุนแรงกดจีพีดีเหลือ3.6%**
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิตเปิดเผยถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจว่า หากเป็นกรณีที่ 1 ที่สถานการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองยุติภายในเดือนกันยายน ยุติการยึดครองทำเนียบรัฐบาล ซึ่งม่โอกาสในความเป็นไปได้ของกรณีนี้เท่ากับ 20% คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 4.8% โดยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 3.9% ผลเสียหายทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท
กรณีที่ 2 สถานการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองยืดเยื้อแต่ไม่มีความรุนแรงและนองเลือดในวงกว้าง รัฐบาลมีอายุ 2-3 เดือนมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือยุบสภา ซึ่งโอกาสในความเป็นไปได้ของกรณีนี้เท่ากับ 60% คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 4.3% โดยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 2.9% ผลเสียหายทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 68,000 ล้านบาท
กรณีที่ 3 สถานการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองนำมาสู่ความรุนแรงและนองเลือดในวงกว้าง จบลงด้วยรัฐประหารในเดือนตุลาคม คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 3.6% โดยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 1.5% ผลเสียหายทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 137,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ความเสียหายของรัฐประหารยังมีขอบเขตจำกัดต่อเศรษฐกิจปี 51 เนื่องจากจะมีผลเฉพาะไตรมาสสี่ แต่จะส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างรุนแรงในระยะต่อไป และมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจไทยจะเจอกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 52 หากมีรัฐประหารและความรุนแรงนองเลือดเกิดขึ้น
ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าได้หากสถานการณ์ทางการเมืองปรับตัวในทิศทางดีขึ้นและตัวเลขดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อาจขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 750 ได้ในช่วงไตรมาสสี่ สำหรับนโยบายการเงินมองว่าควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.50% เพื่อประคับประคองสภาวะเศรษฐกิจ โดยที่แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสสี่จะลดลงอย่างชัดเจนโดยอัตราเงินเฟ้อไม่น่าจะเกิน 6%
นายณอง-ปีแอร์ เวอร์บิสต์ ผู้อำนวยการสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) ประจำประเทศไทย กล่าวถึงการทบทวนอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยว่า เป็นเรื่องประหลาดใจที่เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ดีอยู่ แม้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเอดีบีมองว่าศักยภาพไทยในการเติบโตมีน้อยกว่าประเทศในภูมิภาค ขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่การส่งออกไทยยังดีอยู่ เพราะการกระจายตลาดไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง รัสเซียมากขึ้นทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปีนีก็เติบโตได้ดีถึง 5.7% และคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้อาจจะแผ่วลงมาบ้างเหลือ 4% แต่เอดีบียังคงประมาณการณ์อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยทั้งปีนี้ไว้ที่ระดับ 5% เท่ากับครั้งก่อน และคาดว่าในช่วงปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 5% จากเดิม 5.2%
“ในช่วงปี 2548-2550 เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตดีและอัตราดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่การเมืองไทยเริ่มก่อตัวเพิ่มขึ้น แต่ด้านเศรษฐกิจยังเดินได้ดีอยู่ แต่หากในอนาคตเหตุการณ์การเมืองยังคงอยู่และตึงเครียดไปเรื่อยๆ แม้ขณะนี้ความสามารถของอุตสาหกรรมการผลิตยังมีสำรองอยู่ ก็อาจจะเสียโอกาสได้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกไทยดีขึ้นแล้วและอาจจะมีความเสี่ยงให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้น้อย โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าอาจเหลือแค่ 4.5% ก็เป็นไปได้”
ทั้งนี้ ช่วงเหลือของปีนี้จะไม่มีการลงทุนภาครัฐมากนัก แม้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะดีขึ้น และโครงการต่างๆ วางแผนไว้หมดแล้ว รอแค่การลงทุนเท่านั้นก็ตาม ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในช่วงครึ่งแรกปีนี้เห็นมีแค่สินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการลงทุนเพื่อประสิทธิภาพการผลิต ส่วนเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ(เอฟดีไอ) ก็มีไม่มากเช่นกัน เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้การบริโภคครึ่งหลังก็คาดว่าจะทรงๆ ตัว เช่นเดียวกับในช่วงครึ่งแรกที่ได้รับผลจากมาตรการของภาครัฐ
“หากเกิดเหตุการณ์ยุบสภาขึ้นจะไม่มีคนตัดสินใจต่างๆ ในการบริหารประเทศและความต่อเนื่องนโยบายเศรษฐกิจหายไป ทำให้เกิดสูญญากาศอย่างน้อย 2-3 เดือนในช่วงการหาเสียง อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าไทยจะมีการเลือกตั้งเร็วไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งดีกว่าประเทศอื่นๆ ถือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยด้วย ทางเอดีบีจึงมองว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองน่าจะหมดไปในช่วงต้นปีหน้าและการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ เดินหน้าได้ต่อไป”
ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอลงเรื่อยๆ ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงโดยตรงอาจได้รับผลกระทบไปด้วย รวมทั้งรายได้จากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีงบการใช้จ่ายต่ำอาจลดลง จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ภาครัฐควรมีการมองปัญหาไปข้างหน้าและมีปรับปรุงโครงสร้างต่างๆ ให้ดีขึ้นภายใต้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงราคาน้ำมันและข้าวที่สูงอยู่
สำหรับแผนการออกพันธบัตรของเอดีบีในปีนี้ยังไม่มี เนื่องจากเกี่ยวกับการบริหารทางการเงินของเอดีบีเอง ขณะเดียวกันในปีนี้ทางเอดีบีก็ไม่มีโครงการเงินกู้ในรูปเงินบาท และขอย้ำว่าที่ไม่ออกพันธบัตรในปีนี้ไม่ได้เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการเมืองในประเทศไทย
**ม.รังสิตหวั่นเหตุรุนแรงกดจีพีดีเหลือ3.6%**
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูป มหาวิทยาลัยรังสิตเปิดเผยถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจว่า หากเป็นกรณีที่ 1 ที่สถานการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองยุติภายในเดือนกันยายน ยุติการยึดครองทำเนียบรัฐบาล ซึ่งม่โอกาสในความเป็นไปได้ของกรณีนี้เท่ากับ 20% คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 4.8% โดยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 3.9% ผลเสียหายทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 19,000 ล้านบาท
กรณีที่ 2 สถานการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองยืดเยื้อแต่ไม่มีความรุนแรงและนองเลือดในวงกว้าง รัฐบาลมีอายุ 2-3 เดือนมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือยุบสภา ซึ่งโอกาสในความเป็นไปได้ของกรณีนี้เท่ากับ 60% คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 4.3% โดยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 2.9% ผลเสียหายทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 68,000 ล้านบาท
กรณีที่ 3 สถานการณ์วิกฤตการณ์ทางการเมืองนำมาสู่ความรุนแรงและนองเลือดในวงกว้าง จบลงด้วยรัฐประหารในเดือนตุลาคม คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 3.6% โดยที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ 1.5% ผลเสียหายทางเศรษฐกิจโดยภาพรวมจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 137,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ความเสียหายของรัฐประหารยังมีขอบเขตจำกัดต่อเศรษฐกิจปี 51 เนื่องจากจะมีผลเฉพาะไตรมาสสี่ แต่จะส่งผลเสียหายทางเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างรุนแรงในระยะต่อไป และมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจไทยจะเจอกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 52 หากมีรัฐประหารและความรุนแรงนองเลือดเกิดขึ้น
ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าได้หากสถานการณ์ทางการเมืองปรับตัวในทิศทางดีขึ้นและตัวเลขดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์อาจขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 750 ได้ในช่วงไตรมาสสี่ สำหรับนโยบายการเงินมองว่าควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.50% เพื่อประคับประคองสภาวะเศรษฐกิจ โดยที่แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสสี่จะลดลงอย่างชัดเจนโดยอัตราเงินเฟ้อไม่น่าจะเกิน 6%