กบข.หวั่นเงินเฟ้อเเละราคาน้ำมันฉุดตลาดหุ้นดึงผลตอบเเทนลดลง รุดปรับพอร์ตลงทุนตราสารหนี้ จากพันธบัตรระยะยาวหันมาเน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุ 1-2 ปีเเทน หวังรอรับอานิสงค์ดอกเบี้ยขาขึ้น "วิสิฐ" เผยการลงทุนช่วงนี้ ต้องระมัดระวังควบคู่กับการบริหารความเสี่ยงด้วย เพื่อป้องกันความผันผวน ทั้งตลาดเงินและตลาดทุน
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การลงทุนในตลาดเงิน และตลาดทุนทั่วโลกในปีนี้ ยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้เกิดปัญหาด้านอัตราเงินเฟ้อตามมา ดังนั้น จึงส่งผลให้ภาวะดัชนีตลาดทุนทั่วโลกและตลาดทุนไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ตลาดทุนไทยปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ15-20 ขณะที่ตลาดทุนในจีนและเวียดนามปรับตัวลดลงในสัดส่วนกว่าร้อยละ 40-60 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดทุนทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยรวม
โดยปัจจุบันคณะกรรมการลงทุนได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเพื่อป้องกันผลกระทบการบันทึกบัญชีตามมูลค่าตลาด (Mark to Market) กบข.จึงได้มีการลดระยะเวลาในการถือครองตราสารหนี้ระยะยาว หันมาถือครองพันธบัตรอายุประมาณ 1-2 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และจะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสูงหรือไม่ก็ตาม อาทิ จีนเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 8.7 อินเดีย 11.63 ขณะที่ประเทศไทยอัตราเงินเฟ้อขึ้นไปถึงร้อยละ 8.9 ส่งผลให้หลายฝ่ายจำเป็นต้องมีการปรับตัว และระมัดระวังในการลงทุน ควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินและตลาดทุน
ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนในตลาดทุนในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการลงทุนได้มีการติดตาม ประเมินสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการปรับพอร์ตการลงทุนในตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อป้องกันผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดทุน โดยรอให้มีการคาดการณ์สถานการณ์ตลาดและราคาน้ำมัน ก่อนเพิ่มน้ำหนักลงทุน เพื่อผลักดันให้ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมของ กบข. เป็นไปตามเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาวแก่สมาชิกได้
ก่อนหน้านี้ นายวิสิฐกล่าวถึงผลตอบแทนจากการลงทุนของกบข.ว่า ทั้งปีนี้ อาจจะไม่ดีเท่ากับปีที่แล้วที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 9% เนื่องจากความผันผวนอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ลดลงมากว่า 15-20% แล้ว ขณะเดียวกันภาพการลงทุนในอีก 6 เดือนข้างหน้าก็ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
ทั้งนี้ จากความผันผวนดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการบริหารเงินของกองทุนทั่วโลกอยู่แล้ว ซึ่งปัจจัยหลักในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กบข. ต้องปรับแนวคิดการลงทุนใหม่ โดยหันมาถือเงินสดมากขึ้นเพื่อจังหวะการลงทุนในภาวะที่ทุกอย่างกลับมานิ่งมากกว่านี้ นอกจากนั้น ยังต้องตัดสินใจลงทุนอย่างระมัดระวังด้วย
โดยกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยของ กบข. ยังไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีนัยยะสำคัญหลังดัชนีผันผวนอย่างหนัก โดยยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่าเดิมประมาณ 10-11% ซึ่งมีบางส่วนบ้างที่ถือเป็นเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคก็ไม่ถือว่าถูก เพราะในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอื่นก็ปรับตัวลงมามากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไทยเองยังมีปัญหาการเมืองในประเทศอยู่ด้วย ดังนั้น ในมุมมองของนักลงทุนต่างประเทศคงจะมองเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นอื่นเช่นกัน
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศว่า กบข.มีแผนที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดยจะเน้นการลงทุนในนิติบุคคลต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศด้วย แต่ในขณะนี้ กบข.ยังไม่รีบร้อนที่จะนำเงินออกไปลงทุน จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจของโลกต้องมีเสถียรภาพเพียงพอ เพราะตราบใดที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) สหรัฐยังไม่จบ โอกาสที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนก็ยังมีอยู่ เพราะธนาคารกลางสหรัฐเองก็ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะกลัวกระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ในขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลงมาแล้ว 15-20% ก็ยังไม่รู้ว่าจะปรับตัวลงไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหา ก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คนโยกเงินออกจากสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปสู่น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการเก็งกำไรด้วย
สำหรับกรอบการลงทุนของกบข.ในปัจจุบัน ได้กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศไว้ที่ 59% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 4% ตลาดหุ้นไทย 11.5% ตลาดหุ้นต่างประเทศ 12% อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ 4% การลงทุนทางเลือก 4% นิติบุคคลต่างประเทศ 3% และอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 2.5% โดยเพดานการลงทุนในต่างประเทศอยู่ที่ 25% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนนั้น จะลงทุนจริงอยู่ประมาณ 21.5% เท่านั้น
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การลงทุนในตลาดเงิน และตลาดทุนทั่วโลกในปีนี้ ยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้เกิดปัญหาด้านอัตราเงินเฟ้อตามมา ดังนั้น จึงส่งผลให้ภาวะดัชนีตลาดทุนทั่วโลกและตลาดทุนไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ตลาดทุนไทยปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ15-20 ขณะที่ตลาดทุนในจีนและเวียดนามปรับตัวลดลงในสัดส่วนกว่าร้อยละ 40-60 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดทุนทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยรวม
โดยปัจจุบันคณะกรรมการลงทุนได้มีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเพื่อป้องกันผลกระทบการบันทึกบัญชีตามมูลค่าตลาด (Mark to Market) กบข.จึงได้มีการลดระยะเวลาในการถือครองตราสารหนี้ระยะยาว หันมาถือครองพันธบัตรอายุประมาณ 1-2 ปี ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และจะช่วยให้ได้รับประโยชน์จากช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆทั่วโลกในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตเศรษฐกิจสูงหรือไม่ก็ตาม อาทิ จีนเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 8.7 อินเดีย 11.63 ขณะที่ประเทศไทยอัตราเงินเฟ้อขึ้นไปถึงร้อยละ 8.9 ส่งผลให้หลายฝ่ายจำเป็นต้องมีการปรับตัว และระมัดระวังในการลงทุน ควบคู่ไปกับการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดเงินและตลาดทุน
ทั้งนี้ กลยุทธ์การลงทุนในตลาดทุนในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการลงทุนได้มีการติดตาม ประเมินสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการปรับพอร์ตการลงทุนในตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อป้องกันผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดทุน โดยรอให้มีการคาดการณ์สถานการณ์ตลาดและราคาน้ำมัน ก่อนเพิ่มน้ำหนักลงทุน เพื่อผลักดันให้ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมของ กบข. เป็นไปตามเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาวแก่สมาชิกได้
ก่อนหน้านี้ นายวิสิฐกล่าวถึงผลตอบแทนจากการลงทุนของกบข.ว่า ทั้งปีนี้ อาจจะไม่ดีเท่ากับปีที่แล้วที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 9% เนื่องจากความผันผวนอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทยที่ลดลงมากว่า 15-20% แล้ว ขณะเดียวกันภาพการลงทุนในอีก 6 เดือนข้างหน้าก็ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้
ทั้งนี้ จากความผันผวนดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อการบริหารเงินของกองทุนทั่วโลกอยู่แล้ว ซึ่งปัจจัยหลักในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กบข. ต้องปรับแนวคิดการลงทุนใหม่ โดยหันมาถือเงินสดมากขึ้นเพื่อจังหวะการลงทุนในภาวะที่ทุกอย่างกลับมานิ่งมากกว่านี้ นอกจากนั้น ยังต้องตัดสินใจลงทุนอย่างระมัดระวังด้วย
โดยกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นไทยของ กบข. ยังไม่ได้มีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีนัยยะสำคัญหลังดัชนีผันผวนอย่างหนัก โดยยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเท่าเดิมประมาณ 10-11% ซึ่งมีบางส่วนบ้างที่ถือเป็นเงินสดเอาไว้ อย่างไรก็ตาม มองว่าตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคก็ไม่ถือว่าถูก เพราะในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอื่นก็ปรับตัวลงมามากเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ไทยเองยังมีปัญหาการเมืองในประเทศอยู่ด้วย ดังนั้น ในมุมมองของนักลงทุนต่างประเทศคงจะมองเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นอื่นเช่นกัน
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศว่า กบข.มีแผนที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว โดยจะเน้นการลงทุนในนิติบุคคลต่างประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงลงทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศด้วย แต่ในขณะนี้ กบข.ยังไม่รีบร้อนที่จะนำเงินออกไปลงทุน จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจของโลกต้องมีเสถียรภาพเพียงพอ เพราะตราบใดที่ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) สหรัฐยังไม่จบ โอกาสที่ตลาดหุ้นทั่วโลกจะผันผวนก็ยังมีอยู่ เพราะธนาคารกลางสหรัฐเองก็ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพราะกลัวกระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ ในขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวลงมาแล้ว 15-20% ก็ยังไม่รู้ว่าจะปรับตัวลงไปอีกหรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐยังมีปัญหา ก็จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้คนโยกเงินออกจากสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ไปสู่น้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการเก็งกำไรด้วย
สำหรับกรอบการลงทุนของกบข.ในปัจจุบัน ได้กำหนดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศไว้ที่ 59% ตราสารหนี้ต่างประเทศ 4% ตลาดหุ้นไทย 11.5% ตลาดหุ้นต่างประเทศ 12% อสังหาริมทรัพย์ในประเทศ 4% การลงทุนทางเลือก 4% นิติบุคคลต่างประเทศ 3% และอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ 2.5% โดยเพดานการลงทุนในต่างประเทศอยู่ที่ 25% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนนั้น จะลงทุนจริงอยู่ประมาณ 21.5% เท่านั้น