มีการพูดกันมากเรื่อง “รัฐล้มเหลว” หรือ Failed State คือการขาดสมรรถนะอย่างรุนแรงในการทำงานต่างๆ ให้ได้ผล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือวิฤตการณ์ทางการเมือง ที่ปรากฏชัดเจนเป็นเวลานานพอสมควรแล้วคือความอ่อนแอของภาคการเมือง ทั้งทางสติปัญญาความสามารถและทางจริยธรรม การที่การเมืองซึ่งเป็นองค์กรอำนาจรัฐสูงสุด แต่มีความอ่อนแอ ทำให้ประเทศทั้งประเทศเหมือนเป็นอัมพาต ซึ่งนอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานเก่า เช่น ความยากจนและความอยุติธรรมในสังคมแล้ว ยังไม่สามารถเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ซึ่งซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในสภาพของโลกาภิวัตน์ที่เราอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในโลกได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง เช่น จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และสงคราม ประเทศต้องมีสมรรถนะสูงจึงจะสามารถเผชิญวิกฤตจากภายในและภายนอกประเทศได้
นอกจากภาคการเมืองที่มีทรัพยากรบุคคลค่อนข้างน้อย เรามีทรัพยากรบุคคลอยู่ในภาคต่างๆ ที่กว้างขวางใหญ่โตกว่าภาคการเมืองมาก เช่น ภาคชุมชนท้องถิ่น ระบบราชการทั้งพลเรือนและกองทัพ ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาคการสื่อสาร ตลอดจนองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระต่างๆ เช่น สกว. สวรส. สสส. สปสช. สช. พอช. สถาบันพระปกเกล้า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง
ต้องตั้งคำถามว่า จะนำทรัพยากรทั้งหมดของเรามาสร้างสมรรถนะของชาติได้อย่างไร ในที่นี้ขอนำเสนอ ๘ เรื่อง คือ
๑. สร้างความเข้มแข็งทางการเมือง การเมืองอ่อนแอเพราะเงินขนาดใหญ่มากถูกทุ่มเข้ามาสู่การแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ทำให้ระบบการเมืองพิกลพิการและอ่อนแอ การหาทางยับยั้งไม่ให้เกิดธนาธิปไตยเป็นเรื่องใหญ่ที่จะช่วยให้การเมืองเข้าไปสู่ทำนองคลองธรรมมากขึ้น การมีบทบัญญัติและกระบวนการการลงโทษนักการเมืองอย่างรุนแรง น่าจะเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาการเมืองให้เข้มแข็ง จริงๆ แล้วพรรคการเมืองควรจะพัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบัน เป็นเครื่องมือของสังคมไม่ใช่ของเจ้าของ มีความรู้ มีความดี มีสมรรถนะสูง
๒. การเมืองภาคพลเมือง ในช่วงที่ผ่านมาคงจะเห็นแล้วว่า ยามที่การเมืองรวมศูนย์อำนาจได้ ไม่มีองค์กรหรือสถาบันใดที่ทานอำนาจได้เลย นอกจากการเมืองภาคประชาชน หากการเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็งองค์กรทางการเมืองจะมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ ได้บัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในการพัฒนา การตัดสินใจทางนโยบาย และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ เวลานี้มีสภาพัฒนาการเมืองเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง มีสถาบันพระปกเกล้าเป็นสำนักงานเลขานุการ มหาวิทยาลัยต่างๆ ควรเข้ามาทำวิจัยสร้างความรู้สนับสนุนการเมืองภาคพลเมืองอย่างเต็มที่
๓. การสื่อสารที่เป็นเครื่องมือของประชาชน หากมีการสื่อสารที่ทำให้ประชาชนรู้ความจริงโดยทั่วถึง และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของประชาชน การเมืองภาคพลเมืองจะเข้มแข็ง คอร์รัปชั่นจะทำได้ยากขึ้น
๔. ปรับความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเมืองกับระบบราชการเสียใหม่ การที่อำนาจทางการเมืองครอบข้าราชการโดยสมบูรณ์ ทำให้ระบบราชการด้อยประสิทธิภาพ รวนเร พิกลพิการ ควรปรับความสัมพันธ์ระหว่างระบบทั้งสองเสียใหม่ ให้ฝ่ายการเมืองทำนโยบายจริงๆ แทนที่จะคอยล้วงลูก (ล้วงเงิน) จากฝ่ายปฏิบัติ ควรจะให้ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี และปลัดกระทรวงมีวาระ วาระละ 4 ปี จะได้ไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะถูกนักการเมืองปลดย้ายทุกวี่ทุกวัน โดยมีคณะกรรมการประเมินที่เป็นอิสระ กพร. ควรปฏิรูประบบราชการจากการเป็นระบบรัฐรวมศูนย์ อันเป็นรัฐเผด็จการ ไปสู่การเป็นระบบรัฐในระบอบประชาธิปไตย ทั้งหมดเป็นงานยาก กพร. จะทำโดยลำพังไม่ได้ แต่ควรได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ให้สามารถ “เขยื้อนภูเขา” ได้
๕. ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศ ถ้าฐานของประเทศเข้มแข็งทุกด้าน ประเทศทั้งหมดก็จะเข้มแข็งด้วย และจะเกิดประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy) ที่ช่วยรองรับให้ประชาธิปไตยระดับชาติมีคุณภาพ ขณะนี้องค์กรอิสระต่างๆ กำลังมุ่งไปสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น รัฐควรกระจายอำนาจไปสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ โดยรัฐทำหน้าที่สนับสนุนและตรวจสอบ มหาวิทยาลัยทั้งหมดควรหันมาทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ควรมีกลไกที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทในการตัดสินใจทางนโยบาย
๖. บทบาทของภาคธุรกิจในการพัฒนาประเทศ ภาคธุรกิจมีทรัพยากรบุคคลมหาศาล และมีทักษะในการจัดการที่ภาคอื่นไม่มี สมควรจะเข้ามามีบทบาทในการสร้างสมรรถนะของชาติอย่างจริงจัง วิกฤตการณ์ที่ผ่านมาคงจะเห็นแล้วว่า เมื่อชาติขาดสมรรถนะในการเผชิญวิกฤต ภาคธุรกิจได้รับความกระทบกระเทือนเพียงใด สังคมทั้งหมดเชื่อมโยงกัน ไม่มีส่วนใดที่จะไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อกลไกของประเทศอ่อนแอ ภาคธุรกิจอาจรวมตัวกันตั้ง “สภาธุรกิจเพื่อการพัฒนา” (Business Council For Development) เป็นเครื่องมือทำงาน ควรพิจารณาการสร้างสมรรถนะของประเทศทุกๆ ด้าน
๗. สถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ ประเทศจะรักษาดุลยภาพในตัวเองและกับโลกได้ต่อเมื่อเข้าใจเหตุปัจจัยทั้งจากภายในประเทศและจากนอกประเทศทั้งโลก ที่จะมีผลกระทบต่อเราทั้งทางบวกหรือทางลบ แล้วสามารถดำเนินยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้นจะตกอยู่ในฐานะตั้งรับ และถูกกระทำจนไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของประเทศได้ จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็ง สกว. ควรสนับสนุนให้สถาบันต่างๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้คือ ทีดีอาร์ไอ นิด้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันวิชาการของกองทัพ ตั้งศูนย์หรือสถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ ที่มีงบประมาณสนับสนุนพอเพียง สามารถทำวิจัยได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งที่ทำโดยแต่ละสถาบันและที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าใจความสำคัญของการมีสถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ เมื่อคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีในปีแรก ผมมีโอกาสคุยกับท่านเป็นส่วนตัว และเรื่องหนึ่งที่แนะให้ทำคือสถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ แต่ก็ไม่ได้ทำ รัฐบาลใหม่ควรสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะถ้ามีสถาบันวิจัยพัฒนายุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็งจะช่วยให้งานด้านอื่นๆ ทุกด้านเข้มแข็ง
๘. คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ในสังคมที่สลับซับซ้อนและยาก สันติวิธีมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ประเทศและโลกฝ่าความยากไปได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด ความขัดแย้งมีทุกหย่อมหญ้า ทั้งในครอบครัว ในชุมชน ในองค์กร ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ในทางการเมือง ในการแย่งชิงทรัพยากรทั้งในพื้นที่และระหว่างประเทศ ถ้าประเทศไม่มีสมรรถนะในทางสันติวิธี ความขัดแย้งจะบานปลายกลายเป็นความรุนแรงและกระทบกระเทือนการพัฒนาหมดทุกด้านได้ เมื่อคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีหมาดๆ ผมได้ทำหนังสือเสนอให้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี โดยมีนักวิชาการสันติวิธีเป็นกรรมการหลายท่าน มีสำนักงานและเลขานุการอยู่ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นายกรัฐมนตรีก็ลงนามแต่งตั้งมา แต่รัฐบาลก็ไม่ได้สนใจงานของคณะกรรมการชุดนี้อย่างจริงจัง คณะกรรมการพยายามเข็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีเรื่องยุทธศาสตร์สันติวิธีแห่งชาติออกมา อันเป็นยุทธศาสตร์สันติวิธีที่ครอบคลุมมากแต่ขาดการผลักดันทางการเมือง ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติ มิฉะนั้นควรจะจัดการความขัดแย้งทางการเมืองด้วยสันติวิธีได้ดีกว่า เท่าที่มีคนบาดเจ็บล้มตาย เมื่อเร็วๆ นี้
เมื่อไม่นานมานี้เลขาธิการ สมช. ทำเรื่องเสนอรัฐบาลให้ยุบคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีดังกล่าวไปแล้ว แต่โดยที่สมรรถนะแห่งชาติในด้านสันติวิธีมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่ชาติจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ควรมีการออกพระราชบัญญัติสันติวิธี กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีแห่งชาติ และมีสำนักงานคณะกรรมการที่เป็นอิสระสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว เพื่อให้สันติวิธีแห่งชาติมีฐานะทางกฎหมาย ที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐมีพันธะในการสร้างสมรรถนะทางสันติวิธี ซึ่งต้องการทั้งโลกทัศน์และวิธีคิดใหม่ รวมทั้งทักษะในการคลายความขัดแข้ง ถ้าเราสามารถทำงานทางสันติวิธีได้อย่างเข้มแข็ง นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศของเราเองแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อโลกด้วย จึงขอให้สนใจในการสร้างสมรรถนะของประเทศในเรื่องสันติวิธีกันให้มากๆ
อันที่จริงเรื่องใหญ่ที่สุดคือยุทธศาสตร์ทางปัญญาของชาติ ทั้ง ๘ เรื่องที่กล่าวข้างต้นก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางปัญญา ซึ่งยังมีอื่นอีกมากอันจะไม่กล่าวในที่นี้ สกว. ในการทำงานมา ๑๖ ปี อยู่ในฐานะที่จะรู้ดีที่สุดถึงงานวิจัยและนักวิจัยเก่งๆ ทั้งประเทศ รัฐบาลใหม่น่าจะขอให้ สกว. ยกร่างข้อเสนอยุทธศาสตร์ทางปัญญาของชาติ ขอให้คนไทยร่วมกันตระหนักว่าพันธกิจใหญ่ที่สุดของเราคือการปฏิรูปวัฒนธรรม จากวัฒนธรรมอำนาจไปสู่วัฒนธรรมทางปัญญา ประเทศของเราจึงจะหลุดพ้นจากความรุนแรงไปสู่ความเจริญที่เป็นอารยะได้
นอกจากภาคการเมืองที่มีทรัพยากรบุคคลค่อนข้างน้อย เรามีทรัพยากรบุคคลอยู่ในภาคต่างๆ ที่กว้างขวางใหญ่โตกว่าภาคการเมืองมาก เช่น ภาคชุมชนท้องถิ่น ระบบราชการทั้งพลเรือนและกองทัพ ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ภาคการสื่อสาร ตลอดจนองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระต่างๆ เช่น สกว. สวรส. สสส. สปสช. สช. พอช. สถาบันพระปกเกล้า สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง
ต้องตั้งคำถามว่า จะนำทรัพยากรทั้งหมดของเรามาสร้างสมรรถนะของชาติได้อย่างไร ในที่นี้ขอนำเสนอ ๘ เรื่อง คือ
๑. สร้างความเข้มแข็งทางการเมือง การเมืองอ่อนแอเพราะเงินขนาดใหญ่มากถูกทุ่มเข้ามาสู่การแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ทำให้ระบบการเมืองพิกลพิการและอ่อนแอ การหาทางยับยั้งไม่ให้เกิดธนาธิปไตยเป็นเรื่องใหญ่ที่จะช่วยให้การเมืองเข้าไปสู่ทำนองคลองธรรมมากขึ้น การมีบทบัญญัติและกระบวนการการลงโทษนักการเมืองอย่างรุนแรง น่าจะเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาการเมืองให้เข้มแข็ง จริงๆ แล้วพรรคการเมืองควรจะพัฒนาไปสู่ความเป็นสถาบัน เป็นเครื่องมือของสังคมไม่ใช่ของเจ้าของ มีความรู้ มีความดี มีสมรรถนะสูง
๒. การเมืองภาคพลเมือง ในช่วงที่ผ่านมาคงจะเห็นแล้วว่า ยามที่การเมืองรวมศูนย์อำนาจได้ ไม่มีองค์กรหรือสถาบันใดที่ทานอำนาจได้เลย นอกจากการเมืองภาคประชาชน หากการเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็งองค์กรทางการเมืองจะมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘๗ ได้บัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในการพัฒนา การตัดสินใจทางนโยบาย และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ เวลานี้มีสภาพัฒนาการเมืองเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง มีสถาบันพระปกเกล้าเป็นสำนักงานเลขานุการ มหาวิทยาลัยต่างๆ ควรเข้ามาทำวิจัยสร้างความรู้สนับสนุนการเมืองภาคพลเมืองอย่างเต็มที่
๓. การสื่อสารที่เป็นเครื่องมือของประชาชน หากมีการสื่อสารที่ทำให้ประชาชนรู้ความจริงโดยทั่วถึง และเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของประชาชน การเมืองภาคพลเมืองจะเข้มแข็ง คอร์รัปชั่นจะทำได้ยากขึ้น
๔. ปรับความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเมืองกับระบบราชการเสียใหม่ การที่อำนาจทางการเมืองครอบข้าราชการโดยสมบูรณ์ ทำให้ระบบราชการด้อยประสิทธิภาพ รวนเร พิกลพิการ ควรปรับความสัมพันธ์ระหว่างระบบทั้งสองเสียใหม่ ให้ฝ่ายการเมืองทำนโยบายจริงๆ แทนที่จะคอยล้วงลูก (ล้วงเงิน) จากฝ่ายปฏิบัติ ควรจะให้ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดี และปลัดกระทรวงมีวาระ วาระละ 4 ปี จะได้ไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะถูกนักการเมืองปลดย้ายทุกวี่ทุกวัน โดยมีคณะกรรมการประเมินที่เป็นอิสระ กพร. ควรปฏิรูประบบราชการจากการเป็นระบบรัฐรวมศูนย์ อันเป็นรัฐเผด็จการ ไปสู่การเป็นระบบรัฐในระบอบประชาธิปไตย ทั้งหมดเป็นงานยาก กพร. จะทำโดยลำพังไม่ได้ แต่ควรได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ให้สามารถ “เขยื้อนภูเขา” ได้
๕. ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศ ถ้าฐานของประเทศเข้มแข็งทุกด้าน ประเทศทั้งหมดก็จะเข้มแข็งด้วย และจะเกิดประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy) ที่ช่วยรองรับให้ประชาธิปไตยระดับชาติมีคุณภาพ ขณะนี้องค์กรอิสระต่างๆ กำลังมุ่งไปสนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น รัฐควรกระจายอำนาจไปสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์ โดยรัฐทำหน้าที่สนับสนุนและตรวจสอบ มหาวิทยาลัยทั้งหมดควรหันมาทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น ควรมีกลไกที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทในการตัดสินใจทางนโยบาย
๖. บทบาทของภาคธุรกิจในการพัฒนาประเทศ ภาคธุรกิจมีทรัพยากรบุคคลมหาศาล และมีทักษะในการจัดการที่ภาคอื่นไม่มี สมควรจะเข้ามามีบทบาทในการสร้างสมรรถนะของชาติอย่างจริงจัง วิกฤตการณ์ที่ผ่านมาคงจะเห็นแล้วว่า เมื่อชาติขาดสมรรถนะในการเผชิญวิกฤต ภาคธุรกิจได้รับความกระทบกระเทือนเพียงใด สังคมทั้งหมดเชื่อมโยงกัน ไม่มีส่วนใดที่จะไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อกลไกของประเทศอ่อนแอ ภาคธุรกิจอาจรวมตัวกันตั้ง “สภาธุรกิจเพื่อการพัฒนา” (Business Council For Development) เป็นเครื่องมือทำงาน ควรพิจารณาการสร้างสมรรถนะของประเทศทุกๆ ด้าน
๗. สถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ ประเทศจะรักษาดุลยภาพในตัวเองและกับโลกได้ต่อเมื่อเข้าใจเหตุปัจจัยทั้งจากภายในประเทศและจากนอกประเทศทั้งโลก ที่จะมีผลกระทบต่อเราทั้งทางบวกหรือทางลบ แล้วสามารถดำเนินยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้นจะตกอยู่ในฐานะตั้งรับ และถูกกระทำจนไม่สามารถรักษาเสถียรภาพของประเทศได้ จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็ง สกว. ควรสนับสนุนให้สถาบันต่างๆ อย่างน้อยดังต่อไปนี้คือ ทีดีอาร์ไอ นิด้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันวิชาการของกองทัพ ตั้งศูนย์หรือสถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ ที่มีงบประมาณสนับสนุนพอเพียง สามารถทำวิจัยได้อย่างเข้มแข็ง ทั้งที่ทำโดยแต่ละสถาบันและที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย รัฐบาลจำเป็นต้องเข้าใจความสำคัญของการมีสถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ เมื่อคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีในปีแรก ผมมีโอกาสคุยกับท่านเป็นส่วนตัว และเรื่องหนึ่งที่แนะให้ทำคือสถาบันวิจัยและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ แต่ก็ไม่ได้ทำ รัฐบาลใหม่ควรสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะถ้ามีสถาบันวิจัยพัฒนายุทธศาสตร์ชาติที่เข้มแข็งจะช่วยให้งานด้านอื่นๆ ทุกด้านเข้มแข็ง
๘. คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ในสังคมที่สลับซับซ้อนและยาก สันติวิธีมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ประเทศและโลกฝ่าความยากไปได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด ความขัดแย้งมีทุกหย่อมหญ้า ทั้งในครอบครัว ในชุมชน ในองค์กร ในเรื่องสิ่งแวดล้อม ในทางการเมือง ในการแย่งชิงทรัพยากรทั้งในพื้นที่และระหว่างประเทศ ถ้าประเทศไม่มีสมรรถนะในทางสันติวิธี ความขัดแย้งจะบานปลายกลายเป็นความรุนแรงและกระทบกระเทือนการพัฒนาหมดทุกด้านได้ เมื่อคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีหมาดๆ ผมได้ทำหนังสือเสนอให้ตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี โดยมีนักวิชาการสันติวิธีเป็นกรรมการหลายท่าน มีสำนักงานและเลขานุการอยู่ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นายกรัฐมนตรีก็ลงนามแต่งตั้งมา แต่รัฐบาลก็ไม่ได้สนใจงานของคณะกรรมการชุดนี้อย่างจริงจัง คณะกรรมการพยายามเข็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีเรื่องยุทธศาสตร์สันติวิธีแห่งชาติออกมา อันเป็นยุทธศาสตร์สันติวิธีที่ครอบคลุมมากแต่ขาดการผลักดันทางการเมือง ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติ มิฉะนั้นควรจะจัดการความขัดแย้งทางการเมืองด้วยสันติวิธีได้ดีกว่า เท่าที่มีคนบาดเจ็บล้มตาย เมื่อเร็วๆ นี้
เมื่อไม่นานมานี้เลขาธิการ สมช. ทำเรื่องเสนอรัฐบาลให้ยุบคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีดังกล่าวไปแล้ว แต่โดยที่สมรรถนะแห่งชาติในด้านสันติวิธีมีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่ชาติจะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ควรมีการออกพระราชบัญญัติสันติวิธี กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีแห่งชาติ และมีสำนักงานคณะกรรมการที่เป็นอิสระสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว เพื่อให้สันติวิธีแห่งชาติมีฐานะทางกฎหมาย ที่หน่วยงานต่างๆ ของรัฐมีพันธะในการสร้างสมรรถนะทางสันติวิธี ซึ่งต้องการทั้งโลกทัศน์และวิธีคิดใหม่ รวมทั้งทักษะในการคลายความขัดแข้ง ถ้าเราสามารถทำงานทางสันติวิธีได้อย่างเข้มแข็ง นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศของเราเองแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อโลกด้วย จึงขอให้สนใจในการสร้างสมรรถนะของประเทศในเรื่องสันติวิธีกันให้มากๆ
อันที่จริงเรื่องใหญ่ที่สุดคือยุทธศาสตร์ทางปัญญาของชาติ ทั้ง ๘ เรื่องที่กล่าวข้างต้นก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทางปัญญา ซึ่งยังมีอื่นอีกมากอันจะไม่กล่าวในที่นี้ สกว. ในการทำงานมา ๑๖ ปี อยู่ในฐานะที่จะรู้ดีที่สุดถึงงานวิจัยและนักวิจัยเก่งๆ ทั้งประเทศ รัฐบาลใหม่น่าจะขอให้ สกว. ยกร่างข้อเสนอยุทธศาสตร์ทางปัญญาของชาติ ขอให้คนไทยร่วมกันตระหนักว่าพันธกิจใหญ่ที่สุดของเราคือการปฏิรูปวัฒนธรรม จากวัฒนธรรมอำนาจไปสู่วัฒนธรรมทางปัญญา ประเทศของเราจึงจะหลุดพ้นจากความรุนแรงไปสู่ความเจริญที่เป็นอารยะได้