อะไรก็เกิดขึ้นได้สำหรับการเมือง ด้วยพัฒนาในประเทศไทย และอะไรที่ว่าแน่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแค่ชั่วข้ามคืนก็อาจพลิกผันไปทางตรงกันข้ามก็เป็นได้
ในสภาพสูญญากาศทางการเมืองแบบนี้ การต่อรอง วิ่งเต้น ก็ย่อมเกิดขึ้นกันฝุ่นตลบแน่นอน และขณะเดียวกันโอกาสยืดเยื้อก็มีค่อนข้างสูง เพราะแต่ละกลุ่มก๊วนต่างก็มีลักษณะเป็นตัวแปรด้วยกันแทบทั้งสิ้น
ขณะที่พรรคเพื่อไทย เมื่อกลายพันธุ์มาจากพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบก็ไม่สามารถกุมสภาพได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนเมื่อก่อน แถมยังถูกกระแสสังคมตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องความชอบธรรม หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุในคำพิพากษาสั่งยุบพรรคเพราะโกงการเลือกตั้ง ทำให้ข้ออ้างในเรื่องประชาธิปไตยที่มาจากการโกงการเลือกตั้ง ได้หมดไปทันที
เพราะหลักฐานชี้โต้งๆอยู่ตรงหน้าแล้วว่า “มันมาจากการโกงการเลือกตั้ง” ตัวการทำลายระบอบประชาธิปไตยชัดๆ
มิหนำซ้ำรายชื่อแคดิเดตนายกฯคนใหม่ที่โยนหินถามทาง ก็ล้วนแต่ชวนให้อาเจียนทั้งสิ้น ไม่ได้ให้ความหวังกับสังคม หรือเพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่กำลังถาโถมเข้ามาในปีหน้าได้เลยแม้แต่น้อย
ขนาด 3 สมาคมหลัก อย่างสภาหอการค้าไทย สมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ออกแถลงการณ์แสดงการรังเกียจ และปรามาสในความสามารถที่จะนำพาประเทศให้ไปรอดได้
พร้อมเสนอให้เปลี่ยนขั้วการเมืองใหม่ หรือให้พรรคที่มีคะแนนเสียงรองลงมาได้จัดตั้งรัฐบาลบ้าง
เมื่อเงื่อนไขและความชอบธรรมลดลงฮวบฮาบ มันก็ย่อมเปิดช่องให้อำนาจการต่อรองของพรรคพลังประชาชน ภายใต้เสื้อคลุมเพื่อไทย ต้องสูญเสียไปเช่นเดียวกัน
ไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะเห็นกลุ่มก๊วนต่างๆ ที่เคยเกาะเกี่ยวกันมาเริ่มงอแง หรือแม้กระทั่งพรรคร่วมรัฐบาลที่เหลือต่างก็พยายาม “แทงกั๊ก” ยื้อกันจนถึงที่สุด
และเมื่อยังมีประเด็นข้อกฎหมายเพิ่มเข้ามาอีก ทำให้เกมที่จะพยายามรวบรัดเพื่อผลักดันให้มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของ “นายใหญ่-หน้าเหลี่ยม” ต้องสะดุดลงทันที อย่างน้อยก็ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อข้องใจทางกฎหมายในบางประเด็นเสียก่อน
ไม่ว่าจะเป็นสถานะ ส.ส.สัดส่วน รัฐมนตรีรักษาการ และแม้แต่สถานะประธานรัฐสภาของ นายชัย ชิดชอบ ว่ามีสิทธิ์เรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อโหวตนายกฯคนใหม่หรือเปล่า ทุกอย่างต้องให้เคลียร์กันก่อน
อย่างไรก็ดี นาทีนี้ไม่ว่ามองในมุมไหน ถือว่าการประชุมสภาก็ต้องเลื่อนออกไปโดยปริยาย ไม่มีทางทันกำหนดภายในวันสองวันนี้แน่ อย่างน้อยๆ ต้องรอไปหลังกลางเดือนธันวาคมไปแล้ว
เมื่อทุกอย่างยืดเยื้อ เกมมันก็มีโอกาสพลิกตามไปด้วย เนื่องจากกลุ่ม “เพื่อนเนวิน” ที่ถือดุลอำนาจในพรรคพลังประชาชนเดิม ประกาศท่าทีชัดเจนขวาง “บางคน” ที่ถูกเสนอขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ อ้างหลักการไม่ต้องการให้สังคมเกิดความแตกแยกซ้ำซาก หรือไม่ต้องการให้คนที่มีคดีติดตัว หรือกำลังจะถูกองค์กรอิสระวินิจฉัย
เพราะเมื่อโฟกัสเป็นรายบุคคล ก็จะพบว่ามีชื่อของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ ติดบัญชีดำอยู่ด้วยแน่นอน เพราะเป็น 3 ใน 28 รัฐมนตรีที่ร่วมกระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กรณียกปราสาทพระวิหารให้เขมร และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำลังจะวินิจฉัยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ถ้าเกิดป๊อกขึ้นมา ก็ซวยซ้ำรอยอีก
แต่ที่สำคัญก็คือ เป็นการส่งซิกออกโรงขวาง “เฉลิม-มิ่งขวัญ” กันตรงๆ ดับฝันกันตั้งแต่ต้นมือกันเลย
นอกเหนือจากนี้ยังมีพรรคร่วมรัฐบาลที่พยายามจับกลุ่ม แพ็กกันอย่างค่อนข้างเหนียวแน่น เพื่อเพิ่มพลังต่อรองให้มากขึ้น พยายามฉวยจังหวะในช่วงชุลมุน
เล่นกันถึงขนาดจะเตรียมชื่อหัวหน้าพรรคขนาดเล็ก เพื่อเสนอขึ้นให้โหวตเป็นนายกรัฐมนตรีกันเลยทีเดียว อย่างน้อยก็ทำให้คนอย่าง “บิ๊กเหวียง” พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กับนายเสนาะ เทียนทอง จากพรรคประชาราช มีสิทธิ์หัวใจพองโตตอนแก่ได้บ้าง แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วโอกาสแทบจะเหลือศูนย์ เพราะไม่มีทางที่พรรคเพื่อไทยจะยอมรับได้
ที่สำคัญ คนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงไม่ยินยอมแน่
เพราะถ้าออกรูปนี้ คือประเคนเก้าอี้นายกฯให้คนนอกพรรค มันก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะแก้กฎหมายฟอกผิดให้ตัวเอง ก็แทบเหลือศูนย์ หนทางกลับประเทศก็ริบหรี่ ซึ่งเชื่อว่าหากทางตันจริงๆ ก็น่าจะตัดใจยุบสภาเลือกตั้งใหม่ เพราะอย่างน้อยยังมีโอกาสรักษาการ กุมอำนาจรัฐในมือย่อมได้เปรียบอยู่ดี
อย่างไรก็ตาม ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในทุกมุม ชี้ให้เห็นว่ามีการความพยายามต่อรองเพื่อรักษาอำนาจ และเพิ่มอำนาจของบรรดาอดีตพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เมื่ออำนาจต่อรองของพรรคการเมืองใหญ่ถดถอยลงทุกวัน มันก็เริ่มกุมสภาพไม่ได้
ดังนั้นหากทอดเวลาออกไปนานเท่าใด มันก็ยิ่งเสียเปรียบ และโอกาสเกมพลิกมันก็ยิ่งมีสูงขึ้นตามไปด้วย
แต่นาทีนี้ยังดูไม่ชัดว่า ว่าจะพลิกไปทางไหน ระหว่างจับขั้วใหม่ หรือยุบสภาเลือกตั้งใหม่ แต่ถ้าให้เดา โอกาสอย่างหลังก็น่าเป็นไปได้มากกว่า !!
ในสภาพสูญญากาศทางการเมืองแบบนี้ การต่อรอง วิ่งเต้น ก็ย่อมเกิดขึ้นกันฝุ่นตลบแน่นอน และขณะเดียวกันโอกาสยืดเยื้อก็มีค่อนข้างสูง เพราะแต่ละกลุ่มก๊วนต่างก็มีลักษณะเป็นตัวแปรด้วยกันแทบทั้งสิ้น
ขณะที่พรรคเพื่อไทย เมื่อกลายพันธุ์มาจากพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบก็ไม่สามารถกุมสภาพได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนเมื่อก่อน แถมยังถูกกระแสสังคมตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเรื่องความชอบธรรม หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุในคำพิพากษาสั่งยุบพรรคเพราะโกงการเลือกตั้ง ทำให้ข้ออ้างในเรื่องประชาธิปไตยที่มาจากการโกงการเลือกตั้ง ได้หมดไปทันที
เพราะหลักฐานชี้โต้งๆอยู่ตรงหน้าแล้วว่า “มันมาจากการโกงการเลือกตั้ง” ตัวการทำลายระบอบประชาธิปไตยชัดๆ
มิหนำซ้ำรายชื่อแคดิเดตนายกฯคนใหม่ที่โยนหินถามทาง ก็ล้วนแต่ชวนให้อาเจียนทั้งสิ้น ไม่ได้ให้ความหวังกับสังคม หรือเพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่กำลังถาโถมเข้ามาในปีหน้าได้เลยแม้แต่น้อย
ขนาด 3 สมาคมหลัก อย่างสภาหอการค้าไทย สมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ออกแถลงการณ์แสดงการรังเกียจ และปรามาสในความสามารถที่จะนำพาประเทศให้ไปรอดได้
พร้อมเสนอให้เปลี่ยนขั้วการเมืองใหม่ หรือให้พรรคที่มีคะแนนเสียงรองลงมาได้จัดตั้งรัฐบาลบ้าง
เมื่อเงื่อนไขและความชอบธรรมลดลงฮวบฮาบ มันก็ย่อมเปิดช่องให้อำนาจการต่อรองของพรรคพลังประชาชน ภายใต้เสื้อคลุมเพื่อไทย ต้องสูญเสียไปเช่นเดียวกัน
ไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะเห็นกลุ่มก๊วนต่างๆ ที่เคยเกาะเกี่ยวกันมาเริ่มงอแง หรือแม้กระทั่งพรรคร่วมรัฐบาลที่เหลือต่างก็พยายาม “แทงกั๊ก” ยื้อกันจนถึงที่สุด
และเมื่อยังมีประเด็นข้อกฎหมายเพิ่มเข้ามาอีก ทำให้เกมที่จะพยายามรวบรัดเพื่อผลักดันให้มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของ “นายใหญ่-หน้าเหลี่ยม” ต้องสะดุดลงทันที อย่างน้อยก็ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความข้อข้องใจทางกฎหมายในบางประเด็นเสียก่อน
ไม่ว่าจะเป็นสถานะ ส.ส.สัดส่วน รัฐมนตรีรักษาการ และแม้แต่สถานะประธานรัฐสภาของ นายชัย ชิดชอบ ว่ามีสิทธิ์เรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อโหวตนายกฯคนใหม่หรือเปล่า ทุกอย่างต้องให้เคลียร์กันก่อน
อย่างไรก็ดี นาทีนี้ไม่ว่ามองในมุมไหน ถือว่าการประชุมสภาก็ต้องเลื่อนออกไปโดยปริยาย ไม่มีทางทันกำหนดภายในวันสองวันนี้แน่ อย่างน้อยๆ ต้องรอไปหลังกลางเดือนธันวาคมไปแล้ว
เมื่อทุกอย่างยืดเยื้อ เกมมันก็มีโอกาสพลิกตามไปด้วย เนื่องจากกลุ่ม “เพื่อนเนวิน” ที่ถือดุลอำนาจในพรรคพลังประชาชนเดิม ประกาศท่าทีชัดเจนขวาง “บางคน” ที่ถูกเสนอขึ้นมาเป็นผู้นำคนใหม่ อ้างหลักการไม่ต้องการให้สังคมเกิดความแตกแยกซ้ำซาก หรือไม่ต้องการให้คนที่มีคดีติดตัว หรือกำลังจะถูกองค์กรอิสระวินิจฉัย
เพราะเมื่อโฟกัสเป็นรายบุคคล ก็จะพบว่ามีชื่อของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ ติดบัญชีดำอยู่ด้วยแน่นอน เพราะเป็น 3 ใน 28 รัฐมนตรีที่ร่วมกระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 กรณียกปราสาทพระวิหารให้เขมร และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำลังจะวินิจฉัยในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
ถ้าเกิดป๊อกขึ้นมา ก็ซวยซ้ำรอยอีก
แต่ที่สำคัญก็คือ เป็นการส่งซิกออกโรงขวาง “เฉลิม-มิ่งขวัญ” กันตรงๆ ดับฝันกันตั้งแต่ต้นมือกันเลย
นอกเหนือจากนี้ยังมีพรรคร่วมรัฐบาลที่พยายามจับกลุ่ม แพ็กกันอย่างค่อนข้างเหนียวแน่น เพื่อเพิ่มพลังต่อรองให้มากขึ้น พยายามฉวยจังหวะในช่วงชุลมุน
เล่นกันถึงขนาดจะเตรียมชื่อหัวหน้าพรรคขนาดเล็ก เพื่อเสนอขึ้นให้โหวตเป็นนายกรัฐมนตรีกันเลยทีเดียว อย่างน้อยก็ทำให้คนอย่าง “บิ๊กเหวียง” พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร หัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กับนายเสนาะ เทียนทอง จากพรรคประชาราช มีสิทธิ์หัวใจพองโตตอนแก่ได้บ้าง แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วโอกาสแทบจะเหลือศูนย์ เพราะไม่มีทางที่พรรคเพื่อไทยจะยอมรับได้
ที่สำคัญ คนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงไม่ยินยอมแน่
เพราะถ้าออกรูปนี้ คือประเคนเก้าอี้นายกฯให้คนนอกพรรค มันก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะแก้กฎหมายฟอกผิดให้ตัวเอง ก็แทบเหลือศูนย์ หนทางกลับประเทศก็ริบหรี่ ซึ่งเชื่อว่าหากทางตันจริงๆ ก็น่าจะตัดใจยุบสภาเลือกตั้งใหม่ เพราะอย่างน้อยยังมีโอกาสรักษาการ กุมอำนาจรัฐในมือย่อมได้เปรียบอยู่ดี
อย่างไรก็ตาม ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในทุกมุม ชี้ให้เห็นว่ามีการความพยายามต่อรองเพื่อรักษาอำนาจ และเพิ่มอำนาจของบรรดาอดีตพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 5 พรรค ขณะที่อีกด้านหนึ่ง เมื่ออำนาจต่อรองของพรรคการเมืองใหญ่ถดถอยลงทุกวัน มันก็เริ่มกุมสภาพไม่ได้
ดังนั้นหากทอดเวลาออกไปนานเท่าใด มันก็ยิ่งเสียเปรียบ และโอกาสเกมพลิกมันก็ยิ่งมีสูงขึ้นตามไปด้วย
แต่นาทีนี้ยังดูไม่ชัดว่า ว่าจะพลิกไปทางไหน ระหว่างจับขั้วใหม่ หรือยุบสภาเลือกตั้งใหม่ แต่ถ้าให้เดา โอกาสอย่างหลังก็น่าเป็นไปได้มากกว่า !!