ASTVผู้จัดการรายวัน - พปช.เดินเกมสร้างเงื่อนไขป่วน ศาล รธน.ยื้อยุบพรรค แข็งขืนไม่ยอมรับคำสั่งไม่อนุญาตให้นำสืบพยานในคดียุบพรรค ยืนหนังสือจี้ให้ทบทวน พร้อมคัดค้าน 3 ตุลาการฯ อ้างไม่เป็นกลาง พร้อมไม่ส่งใครแถลงปิดคดีหวังให้ขั้นตอนไม่สมบูรณ์ แต่อีกด้านกลับเตรียมคนไว้นั่งเก้าอี้นายกฯ คนต่อไป แถมเตรียมผลักดันเปิดวิสามัญโหวตนายกฯ ทันที "ก๊กโคราช" โผล่เชียร์ "เป็ดเหลิม" เหมาะนั่งผู้นำช่วงวิกฤต ด้าน "จตุพร" เรียกร้อง "สมชาย" กลับกรุง ลั่นไม่ต้องห่วงทหารหน้าโง่คนไหนล็อคตัว หากจับจริงยังมีคนรุ่นต่อๆ ไปไม่สิ้นสุด ผบ.ทอ.ย้ำซ้ำสองต้องคืนอำนาจให้ประชาชน เตือนใครย่ำยีศาลโดนจัดการเด็ดขาดแน่
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ วานนี้ (1 ธ.ค.) ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญนัด 3 พรรคการเมือง ประกอบด้วยพรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย มาแถลงปิดคดีด้วยวาจาในวันที่ 2 ธ.ค.นี้นั้น โดย ตลอดทั้งวันตั้งแต่ช่วงเช้าได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส.น.พระราชวัง มาตรวจความปลอดภัยโดยรอบอาคาร พร้อมกับนำแผงเหล็กมากั้นหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดทั้งแนวเพื่อเตรียมป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งคาดว่าจะมาปิดล้อมอาคารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์
ทั้งนี้ยังมี ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล สารวัตรทหารเรือ และทหารบก จำนวนหนึ่งได้กระจายตามจุดต่างๆ โดยรอบศาลเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ ขณะที่ด้านหลังศาลมีรถดับเพลิงจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 คัน จอดอยู่
อย่างไรก็ตามด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวได้เข้าไปภายในศาล โดยอ้างว่าวันนี้ศาลได้ปิดทำการ แต่จากการสังเกตพบว่า มีเจ้าหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งยังคงมาทำงาน ตามปกติ แม้ประตูทางเข้า-ออก ของศาลจะปิดเพื่อมิให้บุคคลภายนอกเข้า
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ตลอดทั้งวันของของวันที่ 1 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวก็ ได้พยายามโทรศัพท์ ติดต่อ สอบถามนาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของศาลและความเป็นไปได้ ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาจย้ายสถานที่ทำการเพราะเกรงว่าจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาต่อต้าน แต่นายไพบูลย์ไม่รับสายโทรศัพท์ ส่วนเจ้าหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งได้เปิดเผยว่า นายไพบูลย์ไม่ได้มาทำงาน ในวันเดียวกันนี้ และยืนยันว่าในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ทางศาลยังคงเปิดทำการตามปกติและจะยังมีการนัด 3 พรรคการเมืองแถลงปิดคดีเช่นเดิม และในช่วงเช้าไม่ได้มีการประชุมเพื่อรับมือ มาตรการความปลอดภัยกับทางตำรวจแต่อย่างใด
ส่วนทางด้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าจะให้ทั้ง 3 พรรคการเมือง แถลงปิดคดีในวันนี้ ( 2 ธ.ค.) ตามเดิม พร้อมกับได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามใด ๆ และปัดให้ไปสอบถามกับนาย ไพบูลย์ เอง
**พปช.เดิมเกมแข็งขืนต่อศาล รธน.
วันเดียวกัน มีการประชุมกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน หลังการประชุม นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รมช.พาณิชย์ ในฐานะรักษาการกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ได้แถลงว่ที่ประชุมมีมติคัดค้าน การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้สั่งงดสืบพยาน ในการพิจารณาคดียุบพรรค โดยอ้างว่า สิ้นสุดแล้ว โดยให้เหตุผลว่า พยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว และนัดให้หัวหน้าพรรค มาแถลงปิดคดีวันที่ 2 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ เพราะการตัดสินยุบพรรค และการตัดสิทธิเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ควรเปิดโอกาส ให้มีการพิสูจน์นำสืบพยานหลักฐานต่อศาลให้ถึงที่สุด จนปราศจากข้อสงสัย ซึ่งการที่ศาลไม่มีคำสั่งไม่รับกรรมการบริหารพรรค เป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดี ถือว่า เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะกรรมการบริหารพรรคเป็นผู้ได้เสียโดยตรง แต่ศาลกลับปฎิเสธไม่ให้มีการสืบพยานที่เสนอไป ถือเป็นการปฎิเสธที่จะให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี
อีกทั้งสังคมยังมีข้อสงสัย กับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของตุลาการรัฐธรรมนูญบางคน ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หลังมีคำวินิจฉัยคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯซึ่งมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความไม่เป็นกลางอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ การรวบรัดตัดสินยุบพรรค โดยที่การรับฟังพยานหลักฐาน ยังไม่เสร็จสิ้น จะทำให้สังคมขาดความเชื่อมั่น ในกระบวนการยุติธรรม และมีความเคลือบแคลงสงสัยว่า ศาลกำลังใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ของการรัฐประหาร ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นการรัฐประหารโดยตุลาการ (Judicial coup) หรือเป็นการปฎิวัติเงียบ
**ยื่นค้าน 3 ตุลาการหวังหยุดคดี
ด้านนายยืนหยัด ใจสมุทร คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคพลังประชาชน แถลงว่า เมื่อเวลา 15.30 น.ทางคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคฯ ได้เดินทาง เข้ายื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 2 ส่วน คือ 1. คำร้องยื่นขอคัดค้าน 3 ตุลาการรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่า ทั้งสามคน เป็นผู้มีอคติ มีส่วนได้เสีย คือนายจรัญ ภักดีธนากุล , นายนุรักษ์ มาประนีต และนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ทั้งนี้ เมื่อยื่นคัดค้านไป ศาลก็ไม่สามารถเดินหน้าพิจารณาแถลงปิดคดีได้ ศาลจะต้องพิจารณาไม่ให้ทั้งสามคนนี้นั่งพิจารณาในคดี โดยหลักแล้ว ไม่สามารถพิจารณาคดีได้ เพราะถือว่า สามคนนี้ ถูกคัดค้านแล้ว และศาลไม่ควรให้มานั่งพิจารณาคดี ควรจะเคลียร์ปัญหาให้เสร็จสิ้น
**อ้างไม่ให้คู่ความนำสืบพยานมิชอบ
2.ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนคำสั่งที่มิชอบ คือคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้คู่ความ นำสืบพยาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 40 เรื่องนี้เราจะขอให้ศาลเพิกถอน และจะขอให้ศาลเพิกถอนการงดสืบพยาน โดยจะขอให้สืบพยาน 179 ปาก เพราะคำสั่งศาลดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้คำร้องคัดค้านดังกล่าว ศาลได้มีการรับคำร้องไว้แล้ว อย่างน้อยควรจะมีเวลาพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน
ทั้งนี้ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ยืนยันว่า ในวันพรุ่งนี้ ทางคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พร้อมแกนนำของพรรค และกรรมการบริหารพรรค จะไม่เดินทางเข้าร่วมรับฟังคำแถลงปิดคดี จะส่งเพียงตัวแทนทนายความเข้าไปเท่านั้น และเห็นว่าการยื่นคำร้องดังกล่าวไปแล้ว ควรจะเลื่อนการพิจารณายุบพรรคออกไปเป็นสัปดาห์หน้า ซึ่งศาลควรจะต้องมีเวลาพิจารณา
**พปช.จ่อหานายกฯใหม่หากถูกยุบ
นายสมาน เลิศวงศ์รัตน์ นายทะเบียนพรรคพลังประชาชน(พปช.) กล่าวว่า หากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็จะต้องมีการสรรหา นายกฯ คนใหม่โดยเร็ว ซึ่งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องเป็นบุคคลที่มาจากพรรค พปช.เพราะไม่ควรจะให้บุคคลที่มาจากพรรคอื่นเข้ามาทำหน้าที่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นบุคคลที่มีชื่อปรากฎทางสื่อหรือไม่
สาเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญเร่งรีบพิจารณาคดียุบพรรคเพราะไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับฟังข้อมูลหักล้างของพรรค ซึ่งหากพรรค พปช.ถูกตัดสินยุบพรรคจะมีกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทางการเมืองรวม 35 คน
หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค พปช.แล้ว ส.ส. จะมีเวลาที่จะไปยื่นสมัครเข้าพรรคการเมืองใหม่ 60 วัน ซึ่งขณะนี้ทางพรรคยังไม่ได้มีการแจ้งให้ ส.ส.ของพรรคไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด โดยต่างคนมีอิสระที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง
**ดันเปิดวิสามัญเลือกนายกฯคนใหม่
ด้าน ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนก็จะส่งผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น จึงเห็นว่า ส.ส.จะต้องร่วมกันเข้าชื่อ เพื่อขอเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้สภาพิจารณาเลือกบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่า ในการประชุม 4 ฝ่าย ระหว่าง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ตัวแทนนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านฯได้มีมติจะให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญในวันที่ 8-9 ธ.ค.นี้เพื่อให้รัฐสภาอนุมัติกรอบข้อตกลงในการประชุมอาเซียน ซึ่งตนคิดว่าอาจช้าเกินไปไม่ทันกับสถานการณ์
"ในการขอเปิดสภาสมัยวิสามัญนั้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา129 เปิดช่องให้ ส.ส.เข้าชื่อจำนวนหนึ่งในสามของสองสภารวมกัน ดังนั้น ในการประชุมพรรควันนี้(2ธ.ค.) จะได้ให้ ส.ส.ของพรรคทุกคนได้ร่วมลงชื่อขอเปิดวิสามัญฯ อย่างไรก็ตาม จะได้ประสานไปยังประธานวิปรัฐบาลเพื่อประสานไปยังพรรคร่วมรัฐบาลให้ร่วมกันลงชื่อร่วมด้วย ทุกอย่างจะต้องเตรียมพร้อมไว้ เพื่อยื่นรายชื่อต่อประธานรัฐสภา ได้ทันที"ร.ต.ท.เชาวริน กล่าว
**ก๊กโคราชหนุน"เฉลิม"นั่งนายกฯ
ด้าน พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ขณะนี้ในพรรค ยังไม่มีการหารือว่าจะเสนอใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยเร็วที่สุดเพื่อเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.สาธารณสุข และ ส.ส.สัดส่วนของพรรค มีความเหมาะสมที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้
ส่วนกระแสสังคมที่อาจคัดค้าน ร.ต.อ.เฉลิม นั้น วันนี้อาจจะดูเร็วไป แต่ต้องมาแก้ไขสถานการณ์ข้างหน้าก่อน ไม่ต้องมองต้นทุน ต้องมองอย่างเดียวว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาของประเทศได้และต้องเป็นคนกล้าตัดสินใจ เพราะหากไม่เร่งแก้ปัญหาประเทศอาจจะพังหนักกว่านี้
"ต้นทุนไม่ต้องสูง แต่ต้องแก้ปัญหาประเทศได้ ถ้าเอาคนขี่มา ฟันดาบไม่เป็น ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาได้ ฉะนั้นจำเป็นต้องเอา อัศวินแบบไอเวนโฮเป็นคนกล้าคิด กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ มีประสบการณ์ สามารถประสานทั้งทหารและตำรวจได้" พ.ต.ท.สมชาย กล่าว และระบุว่า ยังต้องรอมติที่ประชุมพรรคและขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาฯ ในการลงมติ
**แก๊งเสื้อแดงไม่ยืนยันป่วนศาล
ส่วนการเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการ กทม. เย็นวานนี้ (1 ธ.ค.) นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้จัดรายการความจริงวันนี้ และนายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท ร่วมกันแถลงข่าว นายวีระกล่าวว่า จุดยืนของเวที นปช.วันนี้คือจะไม่มีการไปชุมนุมที่ศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้( 2 ธ.ค.) แต่เนื่องจากเป็นเวทีของแนวร่วมจึงมีกลุ่มหลายกลุ่ม ดังนั้นถ้าบางกลุ่มจะไปเคลื่อนไปจึงเป็นสิทธิส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ เพราะมีสิทธิไปซักถามความสงสัย แต่ยืนยันเวทีนี้ไม่ไปอย่างแน่นอน เราไม่ต้องการไปกดดันศาล ส่วนศาลจะทำอะไรก็ทำไป อย่างไรก็ตาม การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มแนวร่วม ครั้งนี้ก็เพื่อติดตามพฤติการณ์หลังจากศาลมีคำวินิจฉัยอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเราค่อนข้างมั่นใจว่าจะมีการเล่นบิดเบี้ยว เช่น มีบางคนเรียกร้องให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ แม้แต่นักวิชาการ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุบสภา สิ่งที่เราต้องเฝ้าติดตามคือดูว่าการดำเนินการทุกอย่าง เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงต้องเลือกตั้งใหม่ ส่วนใครจะมาเป็นนายกฯ เราสามารถรับได้ทั้งนั้น
นายวีระกล่าวต่อว่า ส่วนการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณา กรอบการลงนามกับต่างชาติ ในวันที่ 8-9 ธ.ค.นี้ หากสมมติเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 2-3 ธ.ค.นี้ ในการประชุมสภาวันที่ 8-9 ธ.ค. ก็ควรให้มีการเลือกนายกฯ เพื่อตั้งรัฐบาลใหม่กันต่อไป หากเป็นไปตามครรลองนี้คนเสื้อแดงรับได้ แต่ถ้าออกนอกวิถีทางนี้คงต้องทะเลาะกันหน่อย อย่างไรก็ตาม ทางนปช.จะจัดชุมนุมถึงวันที่ 7ธ.ค.ยกเว้น 5-6ธ.ค.หลังจากนั้นย้ายกลับไปชุมนุมที่สนามหลวงตามเดิม
**เรียกร้อง 2 พรรคอย่าไปแถลงปิดคดี
ด้านนายจตุพรกล่าวว่า ตนได้หารือและแจ้งไปยังทีมทนายความผู้รับมอบอำนาจในคดียุบพรรค ทราบว่าทีมทนายของ พปช. จะไม่เข้าไปแถลงปิดคดี ดังนั้นจึงขอเรียกร้องไปยังผู้บริหารพรรคอีก 2 พรรค ไม่ควรเข้าไปแถลงกับศาล เพื่อให้ขั้นตอนไม่สมบูรณ์ จะเห็นว่าขณะนี้ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเต็มไปด้วยทหารที่มาดูแลความโปร่งใส ซึ่งตามปกติไม่เห็นว่าจะมีกองกำลังใดไปปิดล้อมศาล ส่วนคุณสมบัติของศาลนอกจากนายจรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีความผิดทั้งความเป็นลูกจ้าง และความเป็นอิสระแล้ว ยังมีตุลาการบางคนที่มีพฤติการณ์เดียวกันกับนายจรัล ซึ่งเข้าข่ายขาดคุณสมบัติเช่นเดียวกับคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ
"พรุ่งนี้ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ไม่ส่งผลในทางรู้สึก เพราะไม่มีคุณค่าพอ ที่จะไปปิดล้อม เพียงแต่เป็นเรื่องน่าอายที่ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ผมยังได้ทราบมาว่าหากวันพรุ่งนี้พิจารณาคดียุบพรรคในศาลไม่ได้ก็มีการเตรียมใช้สถานที่ของกองทัพไทยในการพิจารณาคดีแทน ซึ่งจะสร้างความทุเรศให้กับการตัดสินของศาล เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบ ดังนั้นความจริงวันนี้และ นปช. จึงต้องตรึงกำลังไว้ที่ลานคนเมือง เพราะต้องการใช้จุดนี้เป็นฐานที่มั่น และเป็นที่ฉุกเฉินหากมีการทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล"
**"ตู่" ให้ "ชาย" กลับกรุงอย่ากลัวทหารโง่
นายจตุพร กล่าวด้วยว่า หากวันนี้ (2 ธ.ค.) ศาลตัดสินยุบพรรค คนที่เป็น กรรมการบริหารพรรคจะต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี และเมื่อพิจารณาสัดส่วนกรรมการบริหารพรรคของทั้ง 3 พรรคแล้ว มีทั้งสิ้น 28 คน แบ่งเป็น พรรคชาติไทย 16 คน พรรคพลังประชาชน 11 คน และพรรคมัชฌิมาธิปไตย 1 คน ที่จะขาดคุณสมบัติหลังจากถูกยุบพรรค ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส. 151 เสียง เราเชื่อว่า 28 เสียงจะไม่กระทบกระเทือนในการจัดตั้งรัฐบาลอย่างแน่นอน
ส่วนที่มีกระแสการปล่อยข่าวว่าจะมีการล็อกตัวนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ หลังจากร่วมพิธีสวนสนามเสร็จสิ้นนั้น ตนได้บอกไปยังนายกฯ สมชายว่าไม่ต้องหวั่นเกรง วันนี้ (2 ธ.ค.) ให้มาร่วมอย่างสง่างาม ไม่ต้องกลัวว่าจะมีทหารหน้าโง่บางคน ที่คิดจะจับเพราะคิดว่าเรื่องจะจบ หากมีการล็อกตัวนายกฯ สมชายจริง พวกเราก็ยังมีคนรุ่นต่อๆ ไปไม่สิ้นสุด
นายมั่น พัธโนทัย รมว.ไอซีที กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียืนยันมั่นคงว่า สภาฯ ไม่ได้ทำอะไรผิด อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรี กลับมาบริหารงานในเมืองหลวง
"เวลานี้เหมือนพเนจรอยู่ แม้จะสามารถใช้วิดีโอ คอนเฟอร์เร็นซ์ ติดต่อกันได้ นายกฯก็ควรกลับมาบริหารงานในเมืองหลวง แต่คงต้องให้สถานการณ์คลี่คลายก่อน เชื่อว่า ภายใน 1 – 2 วันนี้ น่าจะมีอะไรดีขึ้น"
**"เติ้ง"เครียดพร้อมแจงคดีด้วยตัวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (1 ธ.ค.) นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ได้เดินทางมายังที่ทำการพรรคด้วยสีหน้าเคร่งเครียด โดยได้กำชับเจ้าหน้าที่พรรคให้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำการพรรคหลังจากเกิดเหตุการณ์ปาระเบิดเข้ามายังพรรคชาติไทยเมื่อช่วงเช้าวันที่ 30 พ.ย. อย่างไรก็ตามนายบรรหารปฏิเสธให้สัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันนี้ (2ธ.ค.) นายบรรหารจะเดินทางมายังที่ทำการ พรรคชาติไทยเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะเดินทางไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อแถลงปิดคดียุบพรรค ทั้งนี้ตามหมายกำหนดเดิมในบรรหารต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมงานพืชสวนโลก ที่จ.เชียงใหม่ แต่มีปัญหาเรื่องสนามบินจึงยุติการเดินทาง
นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกระแสศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยยุบพรรคอย่างรวดเร็ว ว่า หากเทียบเคียงกับกรณีชิมไปบ่นไปของนาย สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็มีความเป็นไปได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยยุบพรรคในช่วงบ่าย อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล โดย นาย บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ยืนยันจะเดินทางไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อแถลงปิดคดีด้วยวาจา
**มฌ.ส่งคำชี้แจงเพิ่มหวังหลุดถูกยุบ
นาย ฉัตรชัย ชูแก้ว ทนายความพรรคมัชฌิมาธิปไตย เปิดเผยว่า วันนี้ ( 1 ธ.ค.) ทางพรรคได้ทำคำชี้แจงเพิ่มเติมส่งให้กับศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่อยู่ในสำนวน กกต.นั้นไม่ได้ปรากฏพยานหลักฐาน ว่า คนที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นหัวคะแนนของนาย สุนทร วิลาวัลย์ นั้นได้ตรวจพบว่าเคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2543 และปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่ และคนที่เป็นผู้บอกว่าได้รับเงินจากหัวคะแนน ก็เป็นอดีตผู้สมัครจากพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน แต่ได้ลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้ง
นอกจากนี้ยังได้มีประเด็นที่อัยการจังหวัด สั่งไม่ฟ้อง คดีอาญากับนายสุนทร ซึ่งอยากจะให้ศาลได้พิจารณาเพิ่มเติมใน 2 ประเด็นนี้ด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้พรรคได้เขียนคำแถลงปิดคดีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ไม่มีกี่หน้า เป็นเพียงการเขียนประเด็นให้กับนาง อนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคได้เป็นผู้แถลง
พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รมช.พาณิชย์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าว่า นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย จะไปเป็นผู้ร่วมแถลงปิดคดีด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม เดิมทีได้เตรียมพยานหลักฐานไว้จำนวนมาก จึงมั่นใจว่าพรรคจะไม่ถูกยุบ แต่กระบวนการที่รวบรัด ทำให้เริ่มไม่มั่นใจ ยืนยันพรรคไม่ได้เตรียมตั้งพรรคสำรอง ส่วนจะเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย หรือไม่ต้องฟังคำตัดสินก่อน นอกจากนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าจะมีการตัดสินคดีหลังวันที่ 5 ธ.ค. เพราะหากมีคำตัดสินออกมาก่อน ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
**ผบ.ทอ.เตือนซ้ำควรยุบสภา
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงษ์ ผบ.ทอ.กล่าวว่า จากวิกฤตที่เกิดขึ้น คณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม (คตร.) ที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนได้มีการเสนอ ให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนและ เลือกตั้งใหม่ ส่วนรัฐบาลจะขาดความชอบธรรม ในการบริหารอำนาจหรือไม่นั้นก็ขอให้ดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศเราจะเดินต่อไปค่อนข้างยาก เพราะมีการต่อต้านมากมายและที่ทำงานของรัฐบาล ก็ไม่สามารถเข้ามาบริหารได้ ซึ่งท่านจะอยู่บนความขัดแย้งต่อไป ก็จะทำให้ประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป ทุกอย่างติดขัดไปหมด ทางที่ดี ควรคืนอำนาจของประชาชน ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย
**ลั่นไม่ฟังศาลต้องจัดการเด็ดขาด
พล.อ.อ. อิทธพร กล่าวว่า ประเทศเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ เพราะฉะนั้น ตุลาการเป็นอำนาจของศาลสถิตย์ยุติธรรม ที่จะต้องพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะฉะนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินออกมา ก็ต้องยอมรับคำตัดสิน ใครละเมิดก็ต้องมีความผิด อีกทั้ง ช่วงนี้ใกล้ช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทุกคนควรจะนึกถึงความสงบเรียบร้อย นึกถึงในหลวง คนส่วนมากจะพูดว่ารักในหลวง ท่านต้องคิดก่อนว่าการกระทำที่ทำให้ในหลวงไม่สบายใจต้องคิดก่อนที่จะทำ อย่าให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไปเรื่อย หรือ ก่อให้เกิดเหตุที่ทำให้เกิดความเสียใจในวันอันเป็นมงคลนี้
"คงเป็นหน้าที่ของตำรวจ เพราะศาลถือเป็นสถานสถิตเป็นอำนาจตุลาการ ที่ทุกคนต้องยอมรับ ถ้าทุกคนไม่ยอมรับอำนาจตุลาการหรือออำนาจศาลประเทศจะวุ่นวายแค่ไหน หากไม่มีกฎกติกา แม้แต่ศาลสั่งก็ยังไม่เชื่อ ก็คงจะต้องดำเนินการในขั้นเด็ดขาด"
ผู้สื่อข่าวถามว่ากังวลหรือไม่ว่าสถานการณ์จะพัฒนาไปสู่สงครามกลางเมือง พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ทุกคนต้องช่วยกันป้องกัน ช่วยกันแนะนำว่าสิ่งใดเป็น สิ่งถูกต้อง สิ่งใดเกิดความรุนแรง เราก็น่าจะหลีกเลี่ยง ทุกคนก็เป็นห่วงในเรื่องนี้ ต้องช่วยกันดูแล ไม่ให้สถานการณ์มันลุกลาม ไปจนถึงเกิดจลาจล
**กองทัพพร้อมดูแลไม่ให้ปะทะกัน
ต่อข้อถามว่าหากเกิดเหตุการณ์วุ่นวายสองฝ่ายปะทะกันทหารจะออกมาระงับเหตุหรือไม่ พล.อ.อ. อิทธพร กล่าวว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพได้ออกมาพูด เป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ให้สองฝ่ายปะทะกัน เราจะใช้กำลังทหารรักษาความสงบ เรียบร้อย ป้องกันไม่ให้สองฝ่ายปะทะกัน
ส่วนหากคำพิพากษายุบพรรคออกมา จะเกิดสุญญากาศทางการเมือง ไม่มีคนบริหารประเทศ ทหารจะมีความชอบธรรมในการออกมายึดอำนาจหรือไม่ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ผบ.ทบ. ก็ยืนยันมาตลอดว่าทหารจะไม่มีปฏิวัติ ซึ่งเหตุการณ์ยังไม่ไปถึงขนาดนั้น จะไปกำหนดอย่างนั้นคงไม่ถูกต้อง คงให้ผลแค่นี้ เมื่อถามว่า รัฐบาลลักษณะไหนจะเหมาะสมที่สุดในการเข้ามาดูแลสถานการณ์ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ต้องดูจากสถานการณ์ ไม่อยากจะตอบ
**ปลัด กห.ชี้จะคลี่คลายก่อน 5 ธันวาฯ
ด้าน พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การวินิจฉัยยุบ 3 พรรคการเมืองกองทัพคงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ปล่อยให้เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ เราไม่เข้าไปยุ่งหรือกดดันอะไร ไม่ใช่หน้าที่กองทัพ ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยเป็นหน้าที่ตำรวจดูแลสำนักงานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีปัญหาอะไร ยังไม่เห็นคำขอจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้พื้นที่กองทัพตัดสิน เชื่อว่าคงจะไม่ใช้สถานที่อื่น
"เชื่อว่าสถานการณ์การเมืองจะคลี่คลายไปได้ หากทั้งสองฝ่ายมีความคิดจะเริ่มเจรจากัน จากเดิมที่ไม่เคยมีตรงนี้เลย ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายคิดว่าการเจรจาน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ส่วนจะได้ข้อยุติหรือไม่ คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร"
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนปัญหาจบหรือไม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่าผลยังไม่เกิดว่าจะออกมารูปแบบใด เพียงแต่คาดการณ์เท่านั้นว่าจะถูกยุบพรรค ซึ่งทั้ง 3 พรรค จะถูกตัดสินในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ อาจจะยอมหรือไม่ยอม อาจจะมีปฏิกิริยาอะไรเป็นเรื่องฝ่ายการเมือง
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า อยากให้ทุกอยางคลี่คลายก่อนวันที่ 5 ธ.ค. จะให้ตนกราบขอร้องก็ยอม อยากให้ทุกฝ่ายดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อน 5 ธ.ค.นี้ ส่วนที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบอกจะยุติการชุมนุมหากยุบพรรคพลังประชาชน พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า คิดว่าเป็นเรื่องดีหากเขาประกาศอย่างนั้นเขาอาจจะมีเงื่อนไขอีกอย่างตามมา ตนเองคงไม่สามารถเสนอแนะหรือให้ข้อคิดเห็นแก่เขาได้
"รัฐบาลยืนยันมาตลอดว่า ท่านคงไม่ยุบสภาและลาออก ท่านมองว่า เราไปบีบคั้นท่าน กองทัพไม่ได้กำหนดเป็นจุดยืน แต่พูดกันในที่ประชุม คตร. เป็นความคิดเห็นของผู้ที่มาประชุมร่วมกันทั้งหมด ไม่ใช่ความเห็นของ ผบ.ทบ. เพียงท่านเดียว และไม่ใช่ความเห็นชอบของผู้นำเหล่าทัพ แต่ ผบ.ทบ. ท่านเป็นผู้แถลงข่าว อาจทำให้เข้าใจว่า เป็นความคิดเห็นของ ผบ.ทบ. แต่ความจริง ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมทั้งหมดเห็นชอบให้ ผบ.ทบ.แถลงข่าวในลักษณะแบบนั้น"
ส่วนแนวทางของ ส.ศิวรักษ์ แนะนำให้นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานทางออกให้กับบ้านเมือง พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ไม่ขอวิจารณ์ ไม่อยากให้ดึงพระองค์ท่านเข้ามายุ่งเกี่ยวเรื่องความขัดแย้ง เมื่อถามว่า ทุกฝ่ายควรถอยคนละก้าวเพื่อหาจุดร่วมเดียวกัน พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เสนอแนะมาว่าควรต่างคนต่างถอย จะไม่มีใครแพ้ทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ชนะ เป็นชัยชนะของประชาชนในภาพรวม คือ ความสงบที่เกิดขึ้นในประเทศชาติ
**ยันสมชาย โทร.คุย ผบ.ทบ.ตลอด
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนายกฯกับผบ.ทบ. ไม่น่ามีปัญหาอะไร และนายกฯยังต่อสายพูดคุยกับ ผบ.ทบ.อยู่ตลอด เชื่อว่าคงไม่มีปัญหาอะไร ส่วนกระแสข่าว ปลด ผบ.เหล่าทัพ หลังจากที่ได้ปลด ผบ.ตร. ไปแล้วนั้นรัฐบาลยืนยันว่าไม่มีแนวความคิดนี้มาโดยตลอด และต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ ดังนั้นไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ส่วนการย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู หรือไม่นั้น พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตนคิดว่า ผบ.เหล่าทัพ ไม่ใช่ลิง คงไม่ได้หวั่นไหวกับเรื่องตรงนั้น เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่หลังประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ยังไม่อะไรที่เด็ดขาด พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตำรวจทำดีที่สุดแล้วในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ คิดว่าทุกฝ่าย พยายามทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด เหตุการณ์ขณะนี้มองแง่ดี คือ เริ่มพูดคุยกันมีความคิดที่จะเจรจากัน น่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีได้ ถ้าไม่มีมือที่ 3 เข้ามาป่วน สถานการณ์จะคลี่คลายไปได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งพันธมิตรฯก็คิดว่าการเคลื่อนไหวน่าจะจบลงก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้
"เราไม่อยากเห็นประชาชนต้องรับบาดเจ็บล้มตาย หรือกระทบกระทั่งกันระหว่างตำรวจกับประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราห่วง หากกระทบกระเทือนถึงตรงนั้น ประชาชนจะได้รับความเดือดร้อน กองทัพจะต้องเดือดร้อนด้วยแน่นอน เราไม่อยากเห็น ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย เราพูดตลอดว่าการใช้กำลังเข้าสลายไม่ควรเกิดขึ้น ควรใช้การเจรจาเป็นหลัก หรือถอยกันคนละก้าว ทั้งสองฝ่ายยอมกัน คงไม่มีปัญหา"
**จัดกำลังตำรวจคุมเข้มศาล รธน.
พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะประชาสัมพันธ์ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อติดตามสถานการณ์ กล่าวถึงผลการประชุมสถานการณ์ประจำวันซึ่งมี พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ และรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร) เป็นประธานร่วมประชุมกับรอง ผบ.ตร.และผู้ช่วย ผบ.ตร.ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงคดียุบพรรค 3 พรรคว่า ฝ่ายข่าวสันติบาลรายงานว่าขณะนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวจากทั้ง 2 ฝ่ายไปที่ ศาลรัฐธรรามนูญ อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ปทีป สั่งการให้ บช.น.จัดกำลังโดยสนธิกำลังกับฝ่ายทหาร เพื่อเข้าไปดูแลสกัดกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมขัดขวางการดำเนินการ ของศาลอย่างเต็มที่ รวมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยพูดคุยกับแกนนำทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเชื่อว่าวันที่ 5 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันสำคัญทุกอย่างจะอยู่ในความสงบเรียบร้อย
พล.ต.ต.สุพร พันธุ์เสือ รอง ผบช.น. และโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยศาลรัฐธรรมนูญ ว่า บช.น. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.วิทยา รัตนวิชช์ ผบก.น.6 จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับกองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ร่วมกับทหาร กว่า 500 นาย เข้าไปดูแลรักษาความสงบ เรียบร้อย บริเวณศาลฯ ซึ่งก็คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หากมีเหตุการณ์รุนแรงก็จะมีการร้องขอกำลังทหารเข้ามาดูแล
**แผน "กรกฎ 48" คุมเข้ม 24 ชม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. ได้กำชับไปยัง พล.ต.ต.วิทยา รัตนวิชช์ ผบก.น.6 ในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติตามแผนดูแล ความสงบเรียบร้อยรักษาความปลอดภัย "กรกฎ 48" อย่างเข้มงวดพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานทหารและ กทม.โดยวางกำลังรักษาความปลอดภัยทั้งชั้นนอกและชั้นใน ของศาลรัฐธรรมนูญ ใช้กำลังตำรวจ 500 นาย และมีกำลังสำรองเตรียมความพร้อม ณ ที่ตั้งอีก 500 นาย เพื่อเข้าไปสนับสนุนหากเกิดเหตุวุ่นวาย พร้อมระดมกลุ่มงาน เก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด บก.ตปพ. เข้าไปตรวจวัตถุต้องสงสัยตั้งแต่ ช่วงเย็น และในช่วงค่ำ โดยกทม.จะนำรถส่องสว่างมาเปิดให้แสงโดยรอบบริเวณศาล มีเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่อย่างเข้มงวดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีนำวัตถุระเบิดหรืออาวุธเข้าไปซุกซ่อนเพื่อก่อความวุ่นวาย จากนั้นจะมีการตรวจค้นบุคคลที่จะเข้าไปภายในศาลอย่างละเอียดทุกคน
**บิ๊กกกต.ไม่เชื่อศาลสั่งยุบพรรควันนี้
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า คิดว่าในวันที่ 2 ธ.ค.คงไม่ใช่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดียุบพรรค พราะเหมือนคดีทั่วไป ที่ต้องให้โอกาส ทั้ง 2 ฝ่าย แถลงปิดคดีสรุปให้ศาลเห็นในข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณา อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าจะมีการวินิจฉัยในวันนี้ (2 ธ.ค.) ดังนั้นน่าจะเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนจะเป็นวันใดขึ้นอยู่กับความพร้อมของตุลาการ ซึ่งอาจจะเป็น 7 หรือ 10 วันก็ได้
ส่วนที่มองกันว่าศาลรัฐธรรมนูญปิดช่องทาง 3 พรรคโดยไม่ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนสืบ พยานตามที่ผู้ร้องได้ขอไปนั้น นายอภิชาต กล่าวว่า ศาลไม่ได้ปิดช่องทาง แต่ศาลได้พิจารณาแล้วว่า จากพยานหลักฐานที่ส่งมาเพียงพอต่อการพิจารณา แล้วหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้วิธีการไต่สวนหรือซักถามพยานที่เห็นว่า จำเป็นได้
"ในฐานะที่เคยเป็นผู้พิพากษา เมื่อแถลงปิดคดีแล้วก็ไม่ใช้ว่าจะตัดสินในวันนั้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นว่าหลักฐานเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากเห็นว่า จะวินิจฉัยได้ก็อาจจะวินิจฉัยวันนั้นเลย แล้วแต่เห็นสมควร ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง คือ น่าจะตัดสินเร็วๆ ไม่เช่นนั้นก็จะถูกมองว่าประวิงเวลา โดยส่วนตัวเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะล่าช้าออกไป เพราะทาง กกต.ได้เร่งทำไปแล้ว เรื่องก็ผ่านนามมาแล้ว"
**เตือน นปช.อย่ากดดันศาลรธน.
ส่วนการที่กลุ่ม นปช.เตรียมเคลื่อนไหวปิดศาลรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้มีการแถลง ปิดคดียุบพรรคนั้น นายอภิชาต กล่าวว่า ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ ตามปกติดีกว่า อย่าไปใช้กำลังหรือแสดงอำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งคงจะไม่ดี แต่ควรให้เกิดความสงบในบ้านเมือง ส่วนตัวก็คิดว่าคงไม่ถึงขั้นเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการกับคนที่ละเมิดศาลอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญติดใจประเด็นการกระทำของทั้ง 3 พรรค โดย กกต.ไม่ได้ทำให้เห็นการเชื่อมโยงไปยังกรรมการบริหารพรรคว่ามีส่วนรู้เห็น ต่อการทุจริตเลือกตั้งอาจจะทำให้กรรมการบริหารพรรคไม่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ก็ได้นั้น นายอภิชาต กล่าวว่า เรามีหลักฐานที่เสนอศาลไปแล้ว อย่างเช่นพรรคชาติไทย ก็มาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็ได้เปิดโอกาสให้ชี้แจงแต่เมื่อนำเข้าสู่สำนวนแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาว่ากรรมการบริหารพรรคจะเกี่ยวข้องหรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องของ กกต.แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ วานนี้ (1 ธ.ค.) ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญนัด 3 พรรคการเมือง ประกอบด้วยพรรคพลังประชาชน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคชาติไทย มาแถลงปิดคดีด้วยวาจาในวันที่ 2 ธ.ค.นี้นั้น โดย ตลอดทั้งวันตั้งแต่ช่วงเช้าได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส.น.พระราชวัง มาตรวจความปลอดภัยโดยรอบอาคาร พร้อมกับนำแผงเหล็กมากั้นหน้าสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดทั้งแนวเพื่อเตรียมป้องกันกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งคาดว่าจะมาปิดล้อมอาคารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์
ทั้งนี้ยังมี ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล สารวัตรทหารเรือ และทหารบก จำนวนหนึ่งได้กระจายตามจุดต่างๆ โดยรอบศาลเพื่อเฝ้าสังเกตการณ์ ขณะที่ด้านหลังศาลมีรถดับเพลิงจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 คัน จอดอยู่
อย่างไรก็ตามด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวได้เข้าไปภายในศาล โดยอ้างว่าวันนี้ศาลได้ปิดทำการ แต่จากการสังเกตพบว่า มีเจ้าหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งยังคงมาทำงาน ตามปกติ แม้ประตูทางเข้า-ออก ของศาลจะปิดเพื่อมิให้บุคคลภายนอกเข้า
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ตลอดทั้งวันของของวันที่ 1 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวก็ ได้พยายามโทรศัพท์ ติดต่อ สอบถามนาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของศาลและความเป็นไปได้ ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอาจย้ายสถานที่ทำการเพราะเกรงว่าจะมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาต่อต้าน แต่นายไพบูลย์ไม่รับสายโทรศัพท์ ส่วนเจ้าหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งได้เปิดเผยว่า นายไพบูลย์ไม่ได้มาทำงาน ในวันเดียวกันนี้ และยืนยันว่าในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ทางศาลยังคงเปิดทำการตามปกติและจะยังมีการนัด 3 พรรคการเมืองแถลงปิดคดีเช่นเดิม และในช่วงเช้าไม่ได้มีการประชุมเพื่อรับมือ มาตรการความปลอดภัยกับทางตำรวจแต่อย่างใด
ส่วนทางด้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันว่าจะให้ทั้ง 3 พรรคการเมือง แถลงปิดคดีในวันนี้ ( 2 ธ.ค.) ตามเดิม พร้อมกับได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามใด ๆ และปัดให้ไปสอบถามกับนาย ไพบูลย์ เอง
**พปช.เดิมเกมแข็งขืนต่อศาล รธน.
วันเดียวกัน มีการประชุมกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน หลังการประชุม นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รมช.พาณิชย์ ในฐานะรักษาการกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ได้แถลงว่ที่ประชุมมีมติคัดค้าน การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้สั่งงดสืบพยาน ในการพิจารณาคดียุบพรรค โดยอ้างว่า สิ้นสุดแล้ว โดยให้เหตุผลว่า พยานหลักฐานที่มีอยู่เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้ว และนัดให้หัวหน้าพรรค มาแถลงปิดคดีวันที่ 2 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ เพราะการตัดสินยุบพรรค และการตัดสิทธิเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่ควรเปิดโอกาส ให้มีการพิสูจน์นำสืบพยานหลักฐานต่อศาลให้ถึงที่สุด จนปราศจากข้อสงสัย ซึ่งการที่ศาลไม่มีคำสั่งไม่รับกรรมการบริหารพรรค เป็นคู่ความฝ่ายที่สามในคดี ถือว่า เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะกรรมการบริหารพรรคเป็นผู้ได้เสียโดยตรง แต่ศาลกลับปฎิเสธไม่ให้มีการสืบพยานที่เสนอไป ถือเป็นการปฎิเสธที่จะให้ความเป็นธรรมแก่คู่กรณี
อีกทั้งสังคมยังมีข้อสงสัย กับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของตุลาการรัฐธรรมนูญบางคน ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หลังมีคำวินิจฉัยคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯซึ่งมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความไม่เป็นกลางอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ การรวบรัดตัดสินยุบพรรค โดยที่การรับฟังพยานหลักฐาน ยังไม่เสร็จสิ้น จะทำให้สังคมขาดความเชื่อมั่น ในกระบวนการยุติธรรม และมีความเคลือบแคลงสงสัยว่า ศาลกำลังใช้เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ของการรัฐประหาร ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นการรัฐประหารโดยตุลาการ (Judicial coup) หรือเป็นการปฎิวัติเงียบ
**ยื่นค้าน 3 ตุลาการหวังหยุดคดี
ด้านนายยืนหยัด ใจสมุทร คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคพลังประชาชน แถลงว่า เมื่อเวลา 15.30 น.ทางคณะทำงานฝ่ายกฎหมายของพรรคฯ ได้เดินทาง เข้ายื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 2 ส่วน คือ 1. คำร้องยื่นขอคัดค้าน 3 ตุลาการรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่า ทั้งสามคน เป็นผู้มีอคติ มีส่วนได้เสีย คือนายจรัญ ภักดีธนากุล , นายนุรักษ์ มาประนีต และนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
ทั้งนี้ เมื่อยื่นคัดค้านไป ศาลก็ไม่สามารถเดินหน้าพิจารณาแถลงปิดคดีได้ ศาลจะต้องพิจารณาไม่ให้ทั้งสามคนนี้นั่งพิจารณาในคดี โดยหลักแล้ว ไม่สามารถพิจารณาคดีได้ เพราะถือว่า สามคนนี้ ถูกคัดค้านแล้ว และศาลไม่ควรให้มานั่งพิจารณาคดี ควรจะเคลียร์ปัญหาให้เสร็จสิ้น
**อ้างไม่ให้คู่ความนำสืบพยานมิชอบ
2.ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนคำสั่งที่มิชอบ คือคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้คู่ความ นำสืบพยาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 40 เรื่องนี้เราจะขอให้ศาลเพิกถอน และจะขอให้ศาลเพิกถอนการงดสืบพยาน โดยจะขอให้สืบพยาน 179 ปาก เพราะคำสั่งศาลดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งวันนี้คำร้องคัดค้านดังกล่าว ศาลได้มีการรับคำร้องไว้แล้ว อย่างน้อยควรจะมีเวลาพิจารณาเรื่องดังกล่าวก่อน
ทั้งนี้ คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ยืนยันว่า ในวันพรุ่งนี้ ทางคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย พร้อมแกนนำของพรรค และกรรมการบริหารพรรค จะไม่เดินทางเข้าร่วมรับฟังคำแถลงปิดคดี จะส่งเพียงตัวแทนทนายความเข้าไปเท่านั้น และเห็นว่าการยื่นคำร้องดังกล่าวไปแล้ว ควรจะเลื่อนการพิจารณายุบพรรคออกไปเป็นสัปดาห์หน้า ซึ่งศาลควรจะต้องมีเวลาพิจารณา
**พปช.จ่อหานายกฯใหม่หากถูกยุบ
นายสมาน เลิศวงศ์รัตน์ นายทะเบียนพรรคพลังประชาชน(พปช.) กล่าวว่า หากนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็จะต้องมีการสรรหา นายกฯ คนใหม่โดยเร็ว ซึ่งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องเป็นบุคคลที่มาจากพรรค พปช.เพราะไม่ควรจะให้บุคคลที่มาจากพรรคอื่นเข้ามาทำหน้าที่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นบุคคลที่มีชื่อปรากฎทางสื่อหรือไม่
สาเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญเร่งรีบพิจารณาคดียุบพรรคเพราะไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับฟังข้อมูลหักล้างของพรรค ซึ่งหากพรรค พปช.ถูกตัดสินยุบพรรคจะมีกรรมการบริหารพรรคถูกตัดสิทธิทางการเมืองรวม 35 คน
หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค พปช.แล้ว ส.ส. จะมีเวลาที่จะไปยื่นสมัครเข้าพรรคการเมืองใหม่ 60 วัน ซึ่งขณะนี้ทางพรรคยังไม่ได้มีการแจ้งให้ ส.ส.ของพรรคไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด โดยต่างคนมีอิสระที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง
**ดันเปิดวิสามัญเลือกนายกฯคนใหม่
ด้าน ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน เปิดเผยว่า หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนก็จะส่งผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น จึงเห็นว่า ส.ส.จะต้องร่วมกันเข้าชื่อ เพื่อขอเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อให้สภาพิจารณาเลือกบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่า ในการประชุม 4 ฝ่าย ระหว่าง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ตัวแทนนายกรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านฯได้มีมติจะให้เปิดประชุมสมัยวิสามัญในวันที่ 8-9 ธ.ค.นี้เพื่อให้รัฐสภาอนุมัติกรอบข้อตกลงในการประชุมอาเซียน ซึ่งตนคิดว่าอาจช้าเกินไปไม่ทันกับสถานการณ์
"ในการขอเปิดสภาสมัยวิสามัญนั้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา129 เปิดช่องให้ ส.ส.เข้าชื่อจำนวนหนึ่งในสามของสองสภารวมกัน ดังนั้น ในการประชุมพรรควันนี้(2ธ.ค.) จะได้ให้ ส.ส.ของพรรคทุกคนได้ร่วมลงชื่อขอเปิดวิสามัญฯ อย่างไรก็ตาม จะได้ประสานไปยังประธานวิปรัฐบาลเพื่อประสานไปยังพรรคร่วมรัฐบาลให้ร่วมกันลงชื่อร่วมด้วย ทุกอย่างจะต้องเตรียมพร้อมไว้ เพื่อยื่นรายชื่อต่อประธานรัฐสภา ได้ทันที"ร.ต.ท.เชาวริน กล่าว
**ก๊กโคราชหนุน"เฉลิม"นั่งนายกฯ
ด้าน พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ขณะนี้ในพรรค ยังไม่มีการหารือว่าจะเสนอใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่จำเป็นต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยเร็วที่สุดเพื่อเข้ามาแก้ปัญหา ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.สาธารณสุข และ ส.ส.สัดส่วนของพรรค มีความเหมาะสมที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้
ส่วนกระแสสังคมที่อาจคัดค้าน ร.ต.อ.เฉลิม นั้น วันนี้อาจจะดูเร็วไป แต่ต้องมาแก้ไขสถานการณ์ข้างหน้าก่อน ไม่ต้องมองต้นทุน ต้องมองอย่างเดียวว่าจะเข้ามาแก้ปัญหาของประเทศได้และต้องเป็นคนกล้าตัดสินใจ เพราะหากไม่เร่งแก้ปัญหาประเทศอาจจะพังหนักกว่านี้
"ต้นทุนไม่ต้องสูง แต่ต้องแก้ปัญหาประเทศได้ ถ้าเอาคนขี่มา ฟันดาบไม่เป็น ก็ไม่มีทางแก้ปัญหาได้ ฉะนั้นจำเป็นต้องเอา อัศวินแบบไอเวนโฮเป็นคนกล้าคิด กล้าทำ กล้ารับผิดชอบ มีประสบการณ์ สามารถประสานทั้งทหารและตำรวจได้" พ.ต.ท.สมชาย กล่าว และระบุว่า ยังต้องรอมติที่ประชุมพรรคและขึ้นอยู่กับที่ประชุมสภาฯ ในการลงมติ
**แก๊งเสื้อแดงไม่ยืนยันป่วนศาล
ส่วนการเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการ กทม. เย็นวานนี้ (1 ธ.ค.) นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้จัดรายการความจริงวันนี้ และนายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท ร่วมกันแถลงข่าว นายวีระกล่าวว่า จุดยืนของเวที นปช.วันนี้คือจะไม่มีการไปชุมนุมที่ศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้( 2 ธ.ค.) แต่เนื่องจากเป็นเวทีของแนวร่วมจึงมีกลุ่มหลายกลุ่ม ดังนั้นถ้าบางกลุ่มจะไปเคลื่อนไปจึงเป็นสิทธิส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ เพราะมีสิทธิไปซักถามความสงสัย แต่ยืนยันเวทีนี้ไม่ไปอย่างแน่นอน เราไม่ต้องการไปกดดันศาล ส่วนศาลจะทำอะไรก็ทำไป อย่างไรก็ตาม การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มแนวร่วม ครั้งนี้ก็เพื่อติดตามพฤติการณ์หลังจากศาลมีคำวินิจฉัยอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเราค่อนข้างมั่นใจว่าจะมีการเล่นบิดเบี้ยว เช่น มีบางคนเรียกร้องให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ แม้แต่นักวิชาการ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ ที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียุบสภา สิ่งที่เราต้องเฝ้าติดตามคือดูว่าการดำเนินการทุกอย่าง เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงต้องเลือกตั้งใหม่ ส่วนใครจะมาเป็นนายกฯ เราสามารถรับได้ทั้งนั้น
นายวีระกล่าวต่อว่า ส่วนการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณา กรอบการลงนามกับต่างชาติ ในวันที่ 8-9 ธ.ค.นี้ หากสมมติเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 2-3 ธ.ค.นี้ ในการประชุมสภาวันที่ 8-9 ธ.ค. ก็ควรให้มีการเลือกนายกฯ เพื่อตั้งรัฐบาลใหม่กันต่อไป หากเป็นไปตามครรลองนี้คนเสื้อแดงรับได้ แต่ถ้าออกนอกวิถีทางนี้คงต้องทะเลาะกันหน่อย อย่างไรก็ตาม ทางนปช.จะจัดชุมนุมถึงวันที่ 7ธ.ค.ยกเว้น 5-6ธ.ค.หลังจากนั้นย้ายกลับไปชุมนุมที่สนามหลวงตามเดิม
**เรียกร้อง 2 พรรคอย่าไปแถลงปิดคดี
ด้านนายจตุพรกล่าวว่า ตนได้หารือและแจ้งไปยังทีมทนายความผู้รับมอบอำนาจในคดียุบพรรค ทราบว่าทีมทนายของ พปช. จะไม่เข้าไปแถลงปิดคดี ดังนั้นจึงขอเรียกร้องไปยังผู้บริหารพรรคอีก 2 พรรค ไม่ควรเข้าไปแถลงกับศาล เพื่อให้ขั้นตอนไม่สมบูรณ์ จะเห็นว่าขณะนี้ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเต็มไปด้วยทหารที่มาดูแลความโปร่งใส ซึ่งตามปกติไม่เห็นว่าจะมีกองกำลังใดไปปิดล้อมศาล ส่วนคุณสมบัติของศาลนอกจากนายจรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีความผิดทั้งความเป็นลูกจ้าง และความเป็นอิสระแล้ว ยังมีตุลาการบางคนที่มีพฤติการณ์เดียวกันกับนายจรัล ซึ่งเข้าข่ายขาดคุณสมบัติเช่นเดียวกับคดีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ
"พรุ่งนี้ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรก็ไม่ส่งผลในทางรู้สึก เพราะไม่มีคุณค่าพอ ที่จะไปปิดล้อม เพียงแต่เป็นเรื่องน่าอายที่ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ผมยังได้ทราบมาว่าหากวันพรุ่งนี้พิจารณาคดียุบพรรคในศาลไม่ได้ก็มีการเตรียมใช้สถานที่ของกองทัพไทยในการพิจารณาคดีแทน ซึ่งจะสร้างความทุเรศให้กับการตัดสินของศาล เพราะไม่มีความจำเป็นต้องเร่งรีบ ดังนั้นความจริงวันนี้และ นปช. จึงต้องตรึงกำลังไว้ที่ลานคนเมือง เพราะต้องการใช้จุดนี้เป็นฐานที่มั่น และเป็นที่ฉุกเฉินหากมีการทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล"
**"ตู่" ให้ "ชาย" กลับกรุงอย่ากลัวทหารโง่
นายจตุพร กล่าวด้วยว่า หากวันนี้ (2 ธ.ค.) ศาลตัดสินยุบพรรค คนที่เป็น กรรมการบริหารพรรคจะต้องถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี และเมื่อพิจารณาสัดส่วนกรรมการบริหารพรรคของทั้ง 3 พรรคแล้ว มีทั้งสิ้น 28 คน แบ่งเป็น พรรคชาติไทย 16 คน พรรคพลังประชาชน 11 คน และพรรคมัชฌิมาธิปไตย 1 คน ที่จะขาดคุณสมบัติหลังจากถูกยุบพรรค ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ มี ส.ส. 151 เสียง เราเชื่อว่า 28 เสียงจะไม่กระทบกระเทือนในการจัดตั้งรัฐบาลอย่างแน่นอน
ส่วนที่มีกระแสการปล่อยข่าวว่าจะมีการล็อกตัวนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกฯ หลังจากร่วมพิธีสวนสนามเสร็จสิ้นนั้น ตนได้บอกไปยังนายกฯ สมชายว่าไม่ต้องหวั่นเกรง วันนี้ (2 ธ.ค.) ให้มาร่วมอย่างสง่างาม ไม่ต้องกลัวว่าจะมีทหารหน้าโง่บางคน ที่คิดจะจับเพราะคิดว่าเรื่องจะจบ หากมีการล็อกตัวนายกฯ สมชายจริง พวกเราก็ยังมีคนรุ่นต่อๆ ไปไม่สิ้นสุด
นายมั่น พัธโนทัย รมว.ไอซีที กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียืนยันมั่นคงว่า สภาฯ ไม่ได้ทำอะไรผิด อย่างไรก็ตามยอมรับว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรี กลับมาบริหารงานในเมืองหลวง
"เวลานี้เหมือนพเนจรอยู่ แม้จะสามารถใช้วิดีโอ คอนเฟอร์เร็นซ์ ติดต่อกันได้ นายกฯก็ควรกลับมาบริหารงานในเมืองหลวง แต่คงต้องให้สถานการณ์คลี่คลายก่อน เชื่อว่า ภายใน 1 – 2 วันนี้ น่าจะมีอะไรดีขึ้น"
**"เติ้ง"เครียดพร้อมแจงคดีด้วยตัวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (1 ธ.ค.) นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ได้เดินทางมายังที่ทำการพรรคด้วยสีหน้าเคร่งเครียด โดยได้กำชับเจ้าหน้าที่พรรคให้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เข้ามาดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำการพรรคหลังจากเกิดเหตุการณ์ปาระเบิดเข้ามายังพรรคชาติไทยเมื่อช่วงเช้าวันที่ 30 พ.ย. อย่างไรก็ตามนายบรรหารปฏิเสธให้สัมภาษณ์ในเรื่องดังกล่าวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันนี้ (2ธ.ค.) นายบรรหารจะเดินทางมายังที่ทำการ พรรคชาติไทยเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะเดินทางไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อแถลงปิดคดียุบพรรค ทั้งนี้ตามหมายกำหนดเดิมในบรรหารต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจร่วมงานพืชสวนโลก ที่จ.เชียงใหม่ แต่มีปัญหาเรื่องสนามบินจึงยุติการเดินทาง
นายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกระแสศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยยุบพรรคอย่างรวดเร็ว ว่า หากเทียบเคียงกับกรณีชิมไปบ่นไปของนาย สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ก็มีความเป็นไปได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยยุบพรรคในช่วงบ่าย อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล โดย นาย บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ยืนยันจะเดินทางไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อแถลงปิดคดีด้วยวาจา
**มฌ.ส่งคำชี้แจงเพิ่มหวังหลุดถูกยุบ
นาย ฉัตรชัย ชูแก้ว ทนายความพรรคมัชฌิมาธิปไตย เปิดเผยว่า วันนี้ ( 1 ธ.ค.) ทางพรรคได้ทำคำชี้แจงเพิ่มเติมส่งให้กับศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาใน 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่อยู่ในสำนวน กกต.นั้นไม่ได้ปรากฏพยานหลักฐาน ว่า คนที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นหัวคะแนนของนาย สุนทร วิลาวัลย์ นั้นได้ตรวจพบว่าเคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2543 และปัจจุบันก็ยังเป็นอยู่ และคนที่เป็นผู้บอกว่าได้รับเงินจากหัวคะแนน ก็เป็นอดีตผู้สมัครจากพรรคการเมืองหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เช่นกัน แต่ได้ลาออกมาลงสมัครรับเลือกตั้ง
นอกจากนี้ยังได้มีประเด็นที่อัยการจังหวัด สั่งไม่ฟ้อง คดีอาญากับนายสุนทร ซึ่งอยากจะให้ศาลได้พิจารณาเพิ่มเติมใน 2 ประเด็นนี้ด้วย อย่างไรก็ตามขณะนี้พรรคได้เขียนคำแถลงปิดคดีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็ไม่มีกี่หน้า เป็นเพียงการเขียนประเด็นให้กับนาง อนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคได้เป็นผู้แถลง
พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รมช.พาณิชย์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าว่า นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย จะไปเป็นผู้ร่วมแถลงปิดคดีด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม เดิมทีได้เตรียมพยานหลักฐานไว้จำนวนมาก จึงมั่นใจว่าพรรคจะไม่ถูกยุบ แต่กระบวนการที่รวบรัด ทำให้เริ่มไม่มั่นใจ ยืนยันพรรคไม่ได้เตรียมตั้งพรรคสำรอง ส่วนจะเข้าร่วมกับพรรคเพื่อไทย หรือไม่ต้องฟังคำตัดสินก่อน นอกจากนี้ ส่วนตัวเชื่อว่าจะมีการตัดสินคดีหลังวันที่ 5 ธ.ค. เพราะหากมีคำตัดสินออกมาก่อน ไม่ทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น เพราะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
**ผบ.ทอ.เตือนซ้ำควรยุบสภา
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงษ์ ผบ.ทอ.กล่าวว่า จากวิกฤตที่เกิดขึ้น คณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม (คตร.) ที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนได้มีการเสนอ ให้มีการคืนอำนาจให้กับประชาชนและ เลือกตั้งใหม่ ส่วนรัฐบาลจะขาดความชอบธรรม ในการบริหารอำนาจหรือไม่นั้นก็ขอให้ดูจากสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศเราจะเดินต่อไปค่อนข้างยาก เพราะมีการต่อต้านมากมายและที่ทำงานของรัฐบาล ก็ไม่สามารถเข้ามาบริหารได้ ซึ่งท่านจะอยู่บนความขัดแย้งต่อไป ก็จะทำให้ประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป ทุกอย่างติดขัดไปหมด ทางที่ดี ควรคืนอำนาจของประชาชน ตามครรลองระบอบประชาธิปไตย
**ลั่นไม่ฟังศาลต้องจัดการเด็ดขาด
พล.อ.อ. อิทธพร กล่าวว่า ประเทศเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ เพราะฉะนั้น ตุลาการเป็นอำนาจของศาลสถิตย์ยุติธรรม ที่จะต้องพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพราะฉะนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินออกมา ก็ต้องยอมรับคำตัดสิน ใครละเมิดก็ต้องมีความผิด อีกทั้ง ช่วงนี้ใกล้ช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ทุกคนควรจะนึกถึงความสงบเรียบร้อย นึกถึงในหลวง คนส่วนมากจะพูดว่ารักในหลวง ท่านต้องคิดก่อนว่าการกระทำที่ทำให้ในหลวงไม่สบายใจต้องคิดก่อนที่จะทำ อย่าให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไปเรื่อย หรือ ก่อให้เกิดเหตุที่ทำให้เกิดความเสียใจในวันอันเป็นมงคลนี้
"คงเป็นหน้าที่ของตำรวจ เพราะศาลถือเป็นสถานสถิตเป็นอำนาจตุลาการ ที่ทุกคนต้องยอมรับ ถ้าทุกคนไม่ยอมรับอำนาจตุลาการหรือออำนาจศาลประเทศจะวุ่นวายแค่ไหน หากไม่มีกฎกติกา แม้แต่ศาลสั่งก็ยังไม่เชื่อ ก็คงจะต้องดำเนินการในขั้นเด็ดขาด"
ผู้สื่อข่าวถามว่ากังวลหรือไม่ว่าสถานการณ์จะพัฒนาไปสู่สงครามกลางเมือง พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ทุกคนต้องช่วยกันป้องกัน ช่วยกันแนะนำว่าสิ่งใดเป็น สิ่งถูกต้อง สิ่งใดเกิดความรุนแรง เราก็น่าจะหลีกเลี่ยง ทุกคนก็เป็นห่วงในเรื่องนี้ ต้องช่วยกันดูแล ไม่ให้สถานการณ์มันลุกลาม ไปจนถึงเกิดจลาจล
**กองทัพพร้อมดูแลไม่ให้ปะทะกัน
ต่อข้อถามว่าหากเกิดเหตุการณ์วุ่นวายสองฝ่ายปะทะกันทหารจะออกมาระงับเหตุหรือไม่ พล.อ.อ. อิทธพร กล่าวว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพทุกเหล่าทัพได้ออกมาพูด เป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ให้สองฝ่ายปะทะกัน เราจะใช้กำลังทหารรักษาความสงบ เรียบร้อย ป้องกันไม่ให้สองฝ่ายปะทะกัน
ส่วนหากคำพิพากษายุบพรรคออกมา จะเกิดสุญญากาศทางการเมือง ไม่มีคนบริหารประเทศ ทหารจะมีความชอบธรรมในการออกมายึดอำนาจหรือไม่ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ผบ.ทบ. ก็ยืนยันมาตลอดว่าทหารจะไม่มีปฏิวัติ ซึ่งเหตุการณ์ยังไม่ไปถึงขนาดนั้น จะไปกำหนดอย่างนั้นคงไม่ถูกต้อง คงให้ผลแค่นี้ เมื่อถามว่า รัฐบาลลักษณะไหนจะเหมาะสมที่สุดในการเข้ามาดูแลสถานการณ์ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ต้องดูจากสถานการณ์ ไม่อยากจะตอบ
**ปลัด กห.ชี้จะคลี่คลายก่อน 5 ธันวาฯ
ด้าน พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า การวินิจฉัยยุบ 3 พรรคการเมืองกองทัพคงไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ปล่อยให้เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ เราไม่เข้าไปยุ่งหรือกดดันอะไร ไม่ใช่หน้าที่กองทัพ ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยเป็นหน้าที่ตำรวจดูแลสำนักงานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีปัญหาอะไร ยังไม่เห็นคำขอจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้พื้นที่กองทัพตัดสิน เชื่อว่าคงจะไม่ใช้สถานที่อื่น
"เชื่อว่าสถานการณ์การเมืองจะคลี่คลายไปได้ หากทั้งสองฝ่ายมีความคิดจะเริ่มเจรจากัน จากเดิมที่ไม่เคยมีตรงนี้เลย ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายคิดว่าการเจรจาน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ส่วนจะได้ข้อยุติหรือไม่ คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร"
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนปัญหาจบหรือไม่ พล.อ.อภิชาต กล่าวว่าผลยังไม่เกิดว่าจะออกมารูปแบบใด เพียงแต่คาดการณ์เท่านั้นว่าจะถูกยุบพรรค ซึ่งทั้ง 3 พรรค จะถูกตัดสินในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ อาจจะยอมหรือไม่ยอม อาจจะมีปฏิกิริยาอะไรเป็นเรื่องฝ่ายการเมือง
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า อยากให้ทุกอยางคลี่คลายก่อนวันที่ 5 ธ.ค. จะให้ตนกราบขอร้องก็ยอม อยากให้ทุกฝ่ายดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อน 5 ธ.ค.นี้ ส่วนที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบอกจะยุติการชุมนุมหากยุบพรรคพลังประชาชน พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า คิดว่าเป็นเรื่องดีหากเขาประกาศอย่างนั้นเขาอาจจะมีเงื่อนไขอีกอย่างตามมา ตนเองคงไม่สามารถเสนอแนะหรือให้ข้อคิดเห็นแก่เขาได้
"รัฐบาลยืนยันมาตลอดว่า ท่านคงไม่ยุบสภาและลาออก ท่านมองว่า เราไปบีบคั้นท่าน กองทัพไม่ได้กำหนดเป็นจุดยืน แต่พูดกันในที่ประชุม คตร. เป็นความคิดเห็นของผู้ที่มาประชุมร่วมกันทั้งหมด ไม่ใช่ความเห็นของ ผบ.ทบ. เพียงท่านเดียว และไม่ใช่ความเห็นชอบของผู้นำเหล่าทัพ แต่ ผบ.ทบ. ท่านเป็นผู้แถลงข่าว อาจทำให้เข้าใจว่า เป็นความคิดเห็นของ ผบ.ทบ. แต่ความจริง ผู้ที่อยู่ในที่ประชุมทั้งหมดเห็นชอบให้ ผบ.ทบ.แถลงข่าวในลักษณะแบบนั้น"
ส่วนแนวทางของ ส.ศิวรักษ์ แนะนำให้นายกรัฐมนตรีเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานทางออกให้กับบ้านเมือง พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ไม่ขอวิจารณ์ ไม่อยากให้ดึงพระองค์ท่านเข้ามายุ่งเกี่ยวเรื่องความขัดแย้ง เมื่อถามว่า ทุกฝ่ายควรถอยคนละก้าวเพื่อหาจุดร่วมเดียวกัน พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า เป็นเรื่องที่เสนอแนะมาว่าควรต่างคนต่างถอย จะไม่มีใครแพ้ทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ชนะ เป็นชัยชนะของประชาชนในภาพรวม คือ ความสงบที่เกิดขึ้นในประเทศชาติ
**ยันสมชาย โทร.คุย ผบ.ทบ.ตลอด
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างนายกฯกับผบ.ทบ. ไม่น่ามีปัญหาอะไร และนายกฯยังต่อสายพูดคุยกับ ผบ.ทบ.อยู่ตลอด เชื่อว่าคงไม่มีปัญหาอะไร ส่วนกระแสข่าว ปลด ผบ.เหล่าทัพ หลังจากที่ได้ปลด ผบ.ตร. ไปแล้วนั้นรัฐบาลยืนยันว่าไม่มีแนวความคิดนี้มาโดยตลอด และต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ ดังนั้นไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
ส่วนการย้าย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู หรือไม่นั้น พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตนคิดว่า ผบ.เหล่าทัพ ไม่ใช่ลิง คงไม่ได้หวั่นไหวกับเรื่องตรงนั้น เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่หลังประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ยังไม่อะไรที่เด็ดขาด พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตำรวจทำดีที่สุดแล้วในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ คิดว่าทุกฝ่าย พยายามทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด เหตุการณ์ขณะนี้มองแง่ดี คือ เริ่มพูดคุยกันมีความคิดที่จะเจรจากัน น่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีได้ ถ้าไม่มีมือที่ 3 เข้ามาป่วน สถานการณ์จะคลี่คลายไปได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งพันธมิตรฯก็คิดว่าการเคลื่อนไหวน่าจะจบลงก่อนวันที่ 5 ธ.ค.นี้
"เราไม่อยากเห็นประชาชนต้องรับบาดเจ็บล้มตาย หรือกระทบกระทั่งกันระหว่างตำรวจกับประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราห่วง หากกระทบกระเทือนถึงตรงนั้น ประชาชนจะได้รับความเดือดร้อน กองทัพจะต้องเดือดร้อนด้วยแน่นอน เราไม่อยากเห็น ประชาชนบาดเจ็บล้มตาย เราพูดตลอดว่าการใช้กำลังเข้าสลายไม่ควรเกิดขึ้น ควรใช้การเจรจาเป็นหลัก หรือถอยกันคนละก้าว ทั้งสองฝ่ายยอมกัน คงไม่มีปัญหา"
**จัดกำลังตำรวจคุมเข้มศาล รธน.
พล.ต.ท.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะประชาสัมพันธ์ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อติดตามสถานการณ์ กล่าวถึงผลการประชุมสถานการณ์ประจำวันซึ่งมี พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ และรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร) เป็นประธานร่วมประชุมกับรอง ผบ.ตร.และผู้ช่วย ผบ.ตร.ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงคดียุบพรรค 3 พรรคว่า ฝ่ายข่าวสันติบาลรายงานว่าขณะนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวจากทั้ง 2 ฝ่ายไปที่ ศาลรัฐธรรามนูญ อย่างไรก็ตาม พล.ต.อ.ปทีป สั่งการให้ บช.น.จัดกำลังโดยสนธิกำลังกับฝ่ายทหาร เพื่อเข้าไปดูแลสกัดกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมขัดขวางการดำเนินการ ของศาลอย่างเต็มที่ รวมทั้งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยพูดคุยกับแกนนำทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งเชื่อว่าวันที่ 5 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันสำคัญทุกอย่างจะอยู่ในความสงบเรียบร้อย
พล.ต.ต.สุพร พันธุ์เสือ รอง ผบช.น. และโฆษกกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยศาลรัฐธรรมนูญ ว่า บช.น. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.วิทยา รัตนวิชช์ ผบก.น.6 จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับกองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ร่วมกับทหาร กว่า 500 นาย เข้าไปดูแลรักษาความสงบ เรียบร้อย บริเวณศาลฯ ซึ่งก็คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หากมีเหตุการณ์รุนแรงก็จะมีการร้องขอกำลังทหารเข้ามาดูแล
**แผน "กรกฎ 48" คุมเข้ม 24 ชม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น. ได้กำชับไปยัง พล.ต.ต.วิทยา รัตนวิชช์ ผบก.น.6 ในฐานะผู้รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติตามแผนดูแล ความสงบเรียบร้อยรักษาความปลอดภัย "กรกฎ 48" อย่างเข้มงวดพร้อมสนธิกำลังกับหน่วยงานทหารและ กทม.โดยวางกำลังรักษาความปลอดภัยทั้งชั้นนอกและชั้นใน ของศาลรัฐธรรมนูญ ใช้กำลังตำรวจ 500 นาย และมีกำลังสำรองเตรียมความพร้อม ณ ที่ตั้งอีก 500 นาย เพื่อเข้าไปสนับสนุนหากเกิดเหตุวุ่นวาย พร้อมระดมกลุ่มงาน เก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด บก.ตปพ. เข้าไปตรวจวัตถุต้องสงสัยตั้งแต่ ช่วงเย็น และในช่วงค่ำ โดยกทม.จะนำรถส่องสว่างมาเปิดให้แสงโดยรอบบริเวณศาล มีเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่อย่างเข้มงวดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีนำวัตถุระเบิดหรืออาวุธเข้าไปซุกซ่อนเพื่อก่อความวุ่นวาย จากนั้นจะมีการตรวจค้นบุคคลที่จะเข้าไปภายในศาลอย่างละเอียดทุกคน
**บิ๊กกกต.ไม่เชื่อศาลสั่งยุบพรรควันนี้
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า คิดว่าในวันที่ 2 ธ.ค.คงไม่ใช่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดียุบพรรค พราะเหมือนคดีทั่วไป ที่ต้องให้โอกาส ทั้ง 2 ฝ่าย แถลงปิดคดีสรุปให้ศาลเห็นในข้อเท็จจริง เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณา อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าจะมีการวินิจฉัยในวันนี้ (2 ธ.ค.) ดังนั้นน่าจะเป็นอีกช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนจะเป็นวันใดขึ้นอยู่กับความพร้อมของตุลาการ ซึ่งอาจจะเป็น 7 หรือ 10 วันก็ได้
ส่วนที่มองกันว่าศาลรัฐธรรมนูญปิดช่องทาง 3 พรรคโดยไม่ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนสืบ พยานตามที่ผู้ร้องได้ขอไปนั้น นายอภิชาต กล่าวว่า ศาลไม่ได้ปิดช่องทาง แต่ศาลได้พิจารณาแล้วว่า จากพยานหลักฐานที่ส่งมาเพียงพอต่อการพิจารณา แล้วหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้วิธีการไต่สวนหรือซักถามพยานที่เห็นว่า จำเป็นได้
"ในฐานะที่เคยเป็นผู้พิพากษา เมื่อแถลงปิดคดีแล้วก็ไม่ใช้ว่าจะตัดสินในวันนั้น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นว่าหลักฐานเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากเห็นว่า จะวินิจฉัยได้ก็อาจจะวินิจฉัยวันนั้นเลย แล้วแต่เห็นสมควร ซึ่งก็เป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง คือ น่าจะตัดสินเร็วๆ ไม่เช่นนั้นก็จะถูกมองว่าประวิงเวลา โดยส่วนตัวเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะล่าช้าออกไป เพราะทาง กกต.ได้เร่งทำไปแล้ว เรื่องก็ผ่านนามมาแล้ว"
**เตือน นปช.อย่ากดดันศาลรธน.
ส่วนการที่กลุ่ม นปช.เตรียมเคลื่อนไหวปิดศาลรัฐธรรมนูญเพื่อไม่ให้มีการแถลง ปิดคดียุบพรรคนั้น นายอภิชาต กล่าวว่า ควรให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ ตามปกติดีกว่า อย่าไปใช้กำลังหรือแสดงอำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งคงจะไม่ดี แต่ควรให้เกิดความสงบในบ้านเมือง ส่วนตัวก็คิดว่าคงไม่ถึงขั้นเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการกับคนที่ละเมิดศาลอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญติดใจประเด็นการกระทำของทั้ง 3 พรรค โดย กกต.ไม่ได้ทำให้เห็นการเชื่อมโยงไปยังกรรมการบริหารพรรคว่ามีส่วนรู้เห็น ต่อการทุจริตเลือกตั้งอาจจะทำให้กรรมการบริหารพรรคไม่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง ก็ได้นั้น นายอภิชาต กล่าวว่า เรามีหลักฐานที่เสนอศาลไปแล้ว อย่างเช่นพรรคชาติไทย ก็มาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็ได้เปิดโอกาสให้ชี้แจงแต่เมื่อนำเข้าสู่สำนวนแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาว่ากรรมการบริหารพรรคจะเกี่ยวข้องหรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องของ กกต.แล้ว