ฤาว่า ‘ทุนนิยม’ จะถูกทำลาย
เพื่อนคนหนึ่งถามขึ้นว่า
“การเกิดวิกฤตครั้งนี้ จะนำมาซึ่งการล่มสลายของระบอบทุนนิยมใช่ไหม”
ผมหัวเราะ แล้วตอบเขาว่า
พวกเราทุกคนได้ยินประโยคนี้มาตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา สมัยพวกเรายังหนุ่ม ยังสาว ต่อมาประโยคนี้กลายเป็นบทเพลงปฏิวัติที่ร้องต่อๆ กัน
ส่วนหนึ่งสะท้อนภาพว่า สิ่งที่เลวร้ายสุดในโลกนี้ คือ ระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า ทุนนิยม
ความเชื่ออันนี้ มาจากแนวคิดของ Marx เรื่องการปฏิวัติสังคมนิยม หรือให้ชนชั้นกรรมาชีพลุกขึ้นมาโค่นล้มระบอบทุนนิยม
ผมคิดว่า ความเข้าใจเหล่านี้ผิด เพราะระบบการผลิตที่เรียกว่า ทุนนิยม เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการปฏิวัติพลังการผลิต หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นระบอบการผลิตที่บรรดานายทุนจะหาเงินมาลงทุนสร้างโรงงาน จ้างแรงงาน และได้กำไรจากการกดขี่ค่าแรง
ชาว Marxists จึงคิดว่า การกดขี่ค่าแรงคนงานนี้ คือ การกดขี่ขูดรีดที่รุนแรงมาก และอย่างสุดๆ
มองในแง่นี้ ไอ้ตัวชั่ว คือ บรรดานายทุนที่ลงทุนทำการผลิตแบบทุนนิยม
คำถามที่คนไทยไม่เคยกล้าตั้งคือ จริงๆ หรือที่ ไอ้ตัวชั่วสุดๆ คือ ชนชั้นนายทุน
หรือว่า ‘ไอ้ตัวชั่วสุดๆ’ คือ ตัวอื่น
ถ้าผมใช้ ทฤษฎีระบบโลก มองย้อนประวัติศาสตร์โลก ทฤษฎีนี้บอกว่า แท้จริงแล้ว เราเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 15 ถึง 16 ก่อนกำเนิดระบอบการผลิตแบบทุนนิยมประมาณ 300 ถึง 400 ปี
ช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 15 ช่วงนี้ถือเป็นช่วงก่อเกิดระบบเศรษฐกิจโลก ด้วยการก่อสงครามล่าอาณานิคม ระบบโลกจึงถือกำเนิดจากการกดขี่ขูดรีดประชาชน และทรัพยากรทั่วโลกแบบข้ามพรมแดน โดยปล้นชิงความมั่งคั่งจากทั่วโลก เพื่อสร้างความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองขึ้นที่ศูนย์กลางระบอบเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ในประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ยังมีการจับคน (ผิวดำ) เอามาเป็นทาส และใช้ระบบทาสในการผลิต
ถ้าเราลองมองลึกลงไปกว่าระบบเศรษฐกิจการเมืองที่กำลังก่อตัวขึ้น ย้อนหลังไปในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 16 เราจะพบรากทางวัฒนธรรมชุดหนึ่ง ที่เรียกว่า วัฒนธรรมตะวันตก (Westernization)
อะไร คือ วัฒนธรรมตะวันตก (Westernization)
วัฒนธรรมตะวันตกโบราณมีรากมาจากสังคมชนเผ่า ซึ่งส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ในเขตหนาว คนเหล่านี้ จะเชื่อในเรื่องการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติ และชอบทำสงครามปล้นชิง ถือว่าเป็นวัฒนธรรมของผู้ชายนักรบ
ในสมัยโบราณ นักประวัติศาสตร์จะถือว่า นี่คือวัฒนธรรมของพวกป่าเถื่อน
กล่าวแบบง่ายๆ คนเหล่านี้ คือ พวกป่าเถื่อน
วันหนึ่ง พวกป่าเถื่อนเหล่านี้ได้ครองโลก และก่อให้เกิดระบบที่เรียกว่า ระบบเศรษฐกิจโลก ขึ้น โดยมีศูนย์กลางที่ยุโรป
หลังศตวรรษที่ 16 พอยุโรปเริ่มเป็นใหญ่เหนือระบบโลกแล้ว ชนชั้นปัญญาชนในยุโรปได้พยายามปฏิรูปและสร้างระบบอารยธรรมแบบยุโรปขึ้น โดยพยายามปฏิรูปแนวคิดปรัชญาให้ก้าวหน้าขึ้นนี่คือที่มาของปฏิวัติวัฒนธรรมในยุโรป หรือเรียกว่า ยุค Enlightenment ซึ่งคือที่มาของการรู้จักใช้เหตุใช้ผล และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติครั้งนี้ ได้กลายเป็นพลังสำคัญ นำสู่การปฏิวัติประชาธิปไตยที่ยุโรปและอเมริกา และมีส่วนช่วยผลักให้ยุโรปก้าวขึ้นสู่ยุควิทยาศาสตร์ นำสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม และเป็นที่มาของระบบการผลิตที่เรียกว่า ทุนนิยม
มองในแง่นี้ ระบบการผลิตแบบทุนนิยม คือ พัฒนาการที่ต่อยอดจากระบบเศรษฐกิจโลกที่ก่อตัวจากการล่าอาณานิคม ระบบอุตสาหกรรมถือเป็นระบบที่มีการเอาเปรียบไม่มากนัก เพราะการปฏิวัติประชาธิปไตยเปิดเงื่อนไขให้ชนชั้นผู้ใช้แรงงานสามารถเรียกร้องสิทธิและเรียกร้องความเป็นธรรมได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งในที่สุด ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมพัฒนาไปสู่ระบบที่เรียกว่าทุนนิยมแบบรัฐสวัสดิการ
เมื่อทุนนิยมพัฒนาสู่ระบบทุนนิยมแบบรัฐสวัสดิการ แนวคิดเรื่องทุนนิยมจักต้องถูกทำลาย จึงกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะหากคิดโค่นล้มทุนนิยม ก็เท่ากับต้องโค่นล้มระบบรัฐสวัสดิการลงไปด้วย
ในขณะที่ยุโรปค่อยๆ วิวัฒน์ตนเองสู่ระบบทุนนิยมที่มีอารยธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐอเมริกากลับเป็นประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมเดิมที่ป่าเถื่อนจากชาวยุโรปดั้งเดิมไว้มากที่สุด
เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากชาวอเมริกันส่วนใหญ่มาจากชนชั้นล่างของยุโรป จึงได้รับอิทธิพลจากกระแสการปฏิวัติวัฒนธรรมที่เรียกว่าEnlightenmentไม่มากนัก พอเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศอเมริกา พวกเขาก็เติบโตและรุ่งเรืองขึ้นจากวัฒนธรรมอเมริกันคาวบอย ซึ่งมีรากมาจากวัฒนธรรมตะวันตกดั้งเดิม
นี่คือ ที่มาของการปล้นฆ่าชาวอินเดียนแดง การเอาคนผิวดำมาเป็นทาส และตามด้วยการทำสงครามการไล่ล่าอาณานิคม
เมื่อรัฐอเมริกาขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือระบบโลก รัฐอเมริกาจึงสร้างและพัฒนาสู่การเป็นรัฐจักรวรรดิขนาดใหญ่ ที่ปล้นชิง ค้าสงคราม และแสวงหาอาณานิคมเช่นกัน
ในยุคโลกาภิวัตน์ ชนชั้นนำอเมริกันได้ให้กำเนิดทุนนิยมแบบใหม่ หรือที่ผมเรียกว่า ‘ทุนนิยมการพนัน’ หรือ ‘ทุนปั่นกำไร’ โดยเนื้อแท้แล้ว ระบบทุนนิยมศูนย์กลางชนิดใหม่นี้ก็คือ ‘พลังอำนาจใหม่’ ที่ใช้ในการแผ่อิทธิพลและปล้นโลก
นักคิดทางยุโรปบางท่านได้เรียก ทุนนิยมปั่นกำไร ที่ก่อเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ทุนนิยมคาวบอย
ถ้าถามผมว่า “ทุนนิยมที่กำลังล่มสลาย คือ ทุนนิยม แบบไหน”
ผมคงตอบได้ว่า
“ไม่ใช่ทุนนิยมรัฐสวัสดิการแบบยุโรป แต่คือ ทุนนิยมคาวบอยแบบอเมริกา”
ผมขอกล่าวอย่างสรุปถึงสิ่งที่กำลังล่มสลาย
ประการแรกระบบโลกกำลังก้าวไปสู่การสิ้นสุดลงของยุคล่าอาณานิคม ที่เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึง 15 และยังสืบทอดมาถึงยุคปัจจุบัน หรือ ยุคสงครามกับผู้ก่อการร้าย
ประการที่สองยุคอเมริกาเป็นใหญ่เหนือระบบโลก ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังก้าวสู่จุดจบ
ประการที่สามคือ การสิ้นสุดลงของระบอบทุนนิยมคาวบอย หรือ ทุนนิยมการพนัน รวมทั้งนโยบายตลาดเสรี
ประการที่สี่คือ การรื้อถอนวัฒนธรรมตะวันตกแบบเก่า ซึ่งเป็นรากที่มาของการไล่ล่าอาณานิคมและสงคราม
ผมเองคิดว่า การปฏิรูปใหญ่ครั้งนี้ จะมีทิศทางที่แปรเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจของอเมริกาไปใกล้เคียงกับนโยบายแบบยุโรป โดยเฉพาะแบบฝรั่งเศส และเยอรมนีมากขึ้น อย่างเช่น การเพิ่มการควบคุมตลาดการเงินและตลาดทุน การกระตุ้นการขยายตัวของการจ้างงาน การลดเวลาทำงานลง และการเพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการแก่ผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งการกระตุ้นตลาดภายในด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
ในระดับโลกRana Forooharได้เสนอว่า ต้องสร้างA New Age of Global Capitalismท่านเสนอว่า ระบบทุนนิยมแบบใหม่ น่าจะเป็นแนวแบบยุโรป ซึ่งรัฐต้องมีบทบาทอย่างมากในการควบคุมการไหลของเงิน และต้องมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด รวมทั้งมีการปั่นกำไรในระดับที่จำกัด ซึ่งปัจจุบัน แนวคิดทำนองนี้ได้รับการตอบรับจากนักการเมืองสำคัญหลายคนในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานาธิบดีSarkosyของฝรั่งเศส และท่านนายกฯAngela Merkelของเยอรมนี
Angela Merkelถึงกับกล่าวว่า
“หลายปีที่ผ่านมา ดูราวจะเป็นแฟนชั่น ที่เชื่อกันว่ารัฐบาลต้องมีบทบาทน้อยลงในยุคโลกาภิวัตน์ ฉันเองไม่เคยเชื่อแนวคิดแบบนี้เลย”
หลังจากนั้นPeer Stein Bruckรัฐมนตรีการคลังของเยอรมนี ถึงกับเสนอความเห็นว่า “ปรากฏการณ์นี้คือ อวสานของอเมริกาในฐานะมหาอำนาจทางด้านการเงินโลก”
สำหรับผมคิดว่า ข้อเสนอปฏิรูประบบโลกทั้งระบบเหล่านี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะชนชั้นนำโลกทั้งยุโรป อเมริกา รัสเซีย รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ต้องเห็นร่วมกันทั้งหมด จึงจะสามารถสร้าง ‘สถาบันอำนาจขนาดใหญ่’ หรือ ‘สถาบันรัฐแห่งโลก’ ขึ้นมาได้ หรืออาจจะต้องปรับใหญ่ให้ทั้งโลกใช้ระบบเงินตราอันเดียวกันทั่วโลก
แต่ไม่ได้หมายความว่า แนวคิดนี้ เป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว (ยังมีต่อ)
เพื่อนคนหนึ่งถามขึ้นว่า
“การเกิดวิกฤตครั้งนี้ จะนำมาซึ่งการล่มสลายของระบอบทุนนิยมใช่ไหม”
ผมหัวเราะ แล้วตอบเขาว่า
พวกเราทุกคนได้ยินประโยคนี้มาตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา สมัยพวกเรายังหนุ่ม ยังสาว ต่อมาประโยคนี้กลายเป็นบทเพลงปฏิวัติที่ร้องต่อๆ กัน
ส่วนหนึ่งสะท้อนภาพว่า สิ่งที่เลวร้ายสุดในโลกนี้ คือ ระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่า ทุนนิยม
ความเชื่ออันนี้ มาจากแนวคิดของ Marx เรื่องการปฏิวัติสังคมนิยม หรือให้ชนชั้นกรรมาชีพลุกขึ้นมาโค่นล้มระบอบทุนนิยม
ผมคิดว่า ความเข้าใจเหล่านี้ผิด เพราะระบบการผลิตที่เรียกว่า ทุนนิยม เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการปฏิวัติพลังการผลิต หรือที่เรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นระบอบการผลิตที่บรรดานายทุนจะหาเงินมาลงทุนสร้างโรงงาน จ้างแรงงาน และได้กำไรจากการกดขี่ค่าแรง
ชาว Marxists จึงคิดว่า การกดขี่ค่าแรงคนงานนี้ คือ การกดขี่ขูดรีดที่รุนแรงมาก และอย่างสุดๆ
มองในแง่นี้ ไอ้ตัวชั่ว คือ บรรดานายทุนที่ลงทุนทำการผลิตแบบทุนนิยม
คำถามที่คนไทยไม่เคยกล้าตั้งคือ จริงๆ หรือที่ ไอ้ตัวชั่วสุดๆ คือ ชนชั้นนายทุน
หรือว่า ‘ไอ้ตัวชั่วสุดๆ’ คือ ตัวอื่น
ถ้าผมใช้ ทฤษฎีระบบโลก มองย้อนประวัติศาสตร์โลก ทฤษฎีนี้บอกว่า แท้จริงแล้ว เราเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 15 ถึง 16 ก่อนกำเนิดระบอบการผลิตแบบทุนนิยมประมาณ 300 ถึง 400 ปี
ช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 15 ช่วงนี้ถือเป็นช่วงก่อเกิดระบบเศรษฐกิจโลก ด้วยการก่อสงครามล่าอาณานิคม ระบบโลกจึงถือกำเนิดจากการกดขี่ขูดรีดประชาชน และทรัพยากรทั่วโลกแบบข้ามพรมแดน โดยปล้นชิงความมั่งคั่งจากทั่วโลก เพื่อสร้างความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองขึ้นที่ศูนย์กลางระบอบเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ในประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ยังมีการจับคน (ผิวดำ) เอามาเป็นทาส และใช้ระบบทาสในการผลิต
ถ้าเราลองมองลึกลงไปกว่าระบบเศรษฐกิจการเมืองที่กำลังก่อตัวขึ้น ย้อนหลังไปในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 16 เราจะพบรากทางวัฒนธรรมชุดหนึ่ง ที่เรียกว่า วัฒนธรรมตะวันตก (Westernization)
อะไร คือ วัฒนธรรมตะวันตก (Westernization)
วัฒนธรรมตะวันตกโบราณมีรากมาจากสังคมชนเผ่า ซึ่งส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ในเขตหนาว คนเหล่านี้ จะเชื่อในเรื่องการต่อสู้เอาชนะธรรมชาติ และชอบทำสงครามปล้นชิง ถือว่าเป็นวัฒนธรรมของผู้ชายนักรบ
ในสมัยโบราณ นักประวัติศาสตร์จะถือว่า นี่คือวัฒนธรรมของพวกป่าเถื่อน
กล่าวแบบง่ายๆ คนเหล่านี้ คือ พวกป่าเถื่อน
วันหนึ่ง พวกป่าเถื่อนเหล่านี้ได้ครองโลก และก่อให้เกิดระบบที่เรียกว่า ระบบเศรษฐกิจโลก ขึ้น โดยมีศูนย์กลางที่ยุโรป
หลังศตวรรษที่ 16 พอยุโรปเริ่มเป็นใหญ่เหนือระบบโลกแล้ว ชนชั้นปัญญาชนในยุโรปได้พยายามปฏิรูปและสร้างระบบอารยธรรมแบบยุโรปขึ้น โดยพยายามปฏิรูปแนวคิดปรัชญาให้ก้าวหน้าขึ้นนี่คือที่มาของปฏิวัติวัฒนธรรมในยุโรป หรือเรียกว่า ยุค Enlightenment ซึ่งคือที่มาของการรู้จักใช้เหตุใช้ผล และการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติครั้งนี้ ได้กลายเป็นพลังสำคัญ นำสู่การปฏิวัติประชาธิปไตยที่ยุโรปและอเมริกา และมีส่วนช่วยผลักให้ยุโรปก้าวขึ้นสู่ยุควิทยาศาสตร์ นำสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม และเป็นที่มาของระบบการผลิตที่เรียกว่า ทุนนิยม
มองในแง่นี้ ระบบการผลิตแบบทุนนิยม คือ พัฒนาการที่ต่อยอดจากระบบเศรษฐกิจโลกที่ก่อตัวจากการล่าอาณานิคม ระบบอุตสาหกรรมถือเป็นระบบที่มีการเอาเปรียบไม่มากนัก เพราะการปฏิวัติประชาธิปไตยเปิดเงื่อนไขให้ชนชั้นผู้ใช้แรงงานสามารถเรียกร้องสิทธิและเรียกร้องความเป็นธรรมได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งในที่สุด ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมพัฒนาไปสู่ระบบที่เรียกว่าทุนนิยมแบบรัฐสวัสดิการ
เมื่อทุนนิยมพัฒนาสู่ระบบทุนนิยมแบบรัฐสวัสดิการ แนวคิดเรื่องทุนนิยมจักต้องถูกทำลาย จึงกลายเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะหากคิดโค่นล้มทุนนิยม ก็เท่ากับต้องโค่นล้มระบบรัฐสวัสดิการลงไปด้วย
ในขณะที่ยุโรปค่อยๆ วิวัฒน์ตนเองสู่ระบบทุนนิยมที่มีอารยธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐอเมริกากลับเป็นประเทศที่รับเอาวัฒนธรรมเดิมที่ป่าเถื่อนจากชาวยุโรปดั้งเดิมไว้มากที่สุด
เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากชาวอเมริกันส่วนใหญ่มาจากชนชั้นล่างของยุโรป จึงได้รับอิทธิพลจากกระแสการปฏิวัติวัฒนธรรมที่เรียกว่าEnlightenmentไม่มากนัก พอเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศอเมริกา พวกเขาก็เติบโตและรุ่งเรืองขึ้นจากวัฒนธรรมอเมริกันคาวบอย ซึ่งมีรากมาจากวัฒนธรรมตะวันตกดั้งเดิม
นี่คือ ที่มาของการปล้นฆ่าชาวอินเดียนแดง การเอาคนผิวดำมาเป็นทาส และตามด้วยการทำสงครามการไล่ล่าอาณานิคม
เมื่อรัฐอเมริกาขึ้นมาเป็นใหญ่เหนือระบบโลก รัฐอเมริกาจึงสร้างและพัฒนาสู่การเป็นรัฐจักรวรรดิขนาดใหญ่ ที่ปล้นชิง ค้าสงคราม และแสวงหาอาณานิคมเช่นกัน
ในยุคโลกาภิวัตน์ ชนชั้นนำอเมริกันได้ให้กำเนิดทุนนิยมแบบใหม่ หรือที่ผมเรียกว่า ‘ทุนนิยมการพนัน’ หรือ ‘ทุนปั่นกำไร’ โดยเนื้อแท้แล้ว ระบบทุนนิยมศูนย์กลางชนิดใหม่นี้ก็คือ ‘พลังอำนาจใหม่’ ที่ใช้ในการแผ่อิทธิพลและปล้นโลก
นักคิดทางยุโรปบางท่านได้เรียก ทุนนิยมปั่นกำไร ที่ก่อเกิดขึ้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ทุนนิยมคาวบอย
ถ้าถามผมว่า “ทุนนิยมที่กำลังล่มสลาย คือ ทุนนิยม แบบไหน”
ผมคงตอบได้ว่า
“ไม่ใช่ทุนนิยมรัฐสวัสดิการแบบยุโรป แต่คือ ทุนนิยมคาวบอยแบบอเมริกา”
ผมขอกล่าวอย่างสรุปถึงสิ่งที่กำลังล่มสลาย
ประการแรกระบบโลกกำลังก้าวไปสู่การสิ้นสุดลงของยุคล่าอาณานิคม ที่เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึง 15 และยังสืบทอดมาถึงยุคปัจจุบัน หรือ ยุคสงครามกับผู้ก่อการร้าย
ประการที่สองยุคอเมริกาเป็นใหญ่เหนือระบบโลก ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังก้าวสู่จุดจบ
ประการที่สามคือ การสิ้นสุดลงของระบอบทุนนิยมคาวบอย หรือ ทุนนิยมการพนัน รวมทั้งนโยบายตลาดเสรี
ประการที่สี่คือ การรื้อถอนวัฒนธรรมตะวันตกแบบเก่า ซึ่งเป็นรากที่มาของการไล่ล่าอาณานิคมและสงคราม
ผมเองคิดว่า การปฏิรูปใหญ่ครั้งนี้ จะมีทิศทางที่แปรเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจของอเมริกาไปใกล้เคียงกับนโยบายแบบยุโรป โดยเฉพาะแบบฝรั่งเศส และเยอรมนีมากขึ้น อย่างเช่น การเพิ่มการควบคุมตลาดการเงินและตลาดทุน การกระตุ้นการขยายตัวของการจ้างงาน การลดเวลาทำงานลง และการเพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการแก่ผู้ใช้แรงงาน รวมทั้งการกระตุ้นตลาดภายในด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
ในระดับโลกRana Forooharได้เสนอว่า ต้องสร้างA New Age of Global Capitalismท่านเสนอว่า ระบบทุนนิยมแบบใหม่ น่าจะเป็นแนวแบบยุโรป ซึ่งรัฐต้องมีบทบาทอย่างมากในการควบคุมการไหลของเงิน และต้องมีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด รวมทั้งมีการปั่นกำไรในระดับที่จำกัด ซึ่งปัจจุบัน แนวคิดทำนองนี้ได้รับการตอบรับจากนักการเมืองสำคัญหลายคนในยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานาธิบดีSarkosyของฝรั่งเศส และท่านนายกฯAngela Merkelของเยอรมนี
Angela Merkelถึงกับกล่าวว่า
“หลายปีที่ผ่านมา ดูราวจะเป็นแฟนชั่น ที่เชื่อกันว่ารัฐบาลต้องมีบทบาทน้อยลงในยุคโลกาภิวัตน์ ฉันเองไม่เคยเชื่อแนวคิดแบบนี้เลย”
หลังจากนั้นPeer Stein Bruckรัฐมนตรีการคลังของเยอรมนี ถึงกับเสนอความเห็นว่า “ปรากฏการณ์นี้คือ อวสานของอเมริกาในฐานะมหาอำนาจทางด้านการเงินโลก”
สำหรับผมคิดว่า ข้อเสนอปฏิรูประบบโลกทั้งระบบเหล่านี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะชนชั้นนำโลกทั้งยุโรป อเมริกา รัสเซีย รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ต้องเห็นร่วมกันทั้งหมด จึงจะสามารถสร้าง ‘สถาบันอำนาจขนาดใหญ่’ หรือ ‘สถาบันรัฐแห่งโลก’ ขึ้นมาได้ หรืออาจจะต้องปรับใหญ่ให้ทั้งโลกใช้ระบบเงินตราอันเดียวกันทั่วโลก
แต่ไม่ได้หมายความว่า แนวคิดนี้ เป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว (ยังมีต่อ)