บทความวันนี้แม้ตั้งชื่อเรื่องออกจะน่ากลัว แต่แท้จริงแล้วจะเป็นบทความที่เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่วันคล้ายวันสวรรคตของพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้น ได้เวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 23 ตุลาคม ศกนี้
ที่ตั้งชื่อบทความเช่นนี้ ก็โดยนัยแห่งพระราชดำริที่สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้ทรงมีพระราชดำริวินิจฉัยสถานการณ์บ้านเมืองในยามนั้นว่าสยามในบัดนั้นผุกร่อน หากเปรียบกับเรือแล้วก็เหมือนเรือที่ผุทั้งลำ ไม่สามารถปะผุได้อีกต่อไป จะต้องซ่อมแซมเป็นการใหญ่จึงจะรักษาเรือนั้นเอาไว้ได้
และด้วยพระบรมราชวินิจฉัยดังพระราชดำรินั้น ความเป็นสัมมาทิฐิในการปฏิรูปสยามจึงเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น และเป็นผลให้สยามในยุคนั้นเป็นยุคที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่ารุ่งเรืองที่สุดในภูมิภาคนี้ จนเป็นที่เคารพศรัทธาถ้วนหน้ากัน
เมื่อวันปิยมหาราชมาถึงในแต่ละปี ก็จะมีพิธีรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณทั่วราชอาณาจักร และเนื้อหาส่วนใหญ่ก็มุ่งไปที่เรื่องพระมหากรุณาธิคุณในการเลิกทาส ซึ่งความจริงเป็นเพียงส่วนเดียว แต่ก็เป็นส่วนเดียวที่ยอดเยี่ยมกว่าการเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา เพราะการเลิกทาสในสยามนั้นไม่ต้องทำสงครามให้สูญเสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน
ดังนั้นในโอกาสนี้จึงสมควรที่จะน้อมนำรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปัญญาทัศน์อันประเสริฐของพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นในแง่มุมอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากการเลิกทาสให้เป็นเรื่องเป็นราวสักครั้งหนึ่ง
ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งสัมมาทิฐิในการปฏิรูปสยามก่อน นั่นคือพระบรมราชวินิจฉัยที่สอดคล้องถูกตรงกับสถานการณ์บ้านเมือง ว่าสยามยามนั้นไม่อยู่ในภาวะปกติ มีความชำรุดทรุดโทรมประดุจดั่งเรือที่ผุทั้งลำแล้ว จึงต้องซ่อมแซมครั้งใหญ่ หาไม่แล้วก็จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ไม่ได้
เมื่อทรงตั้งสัมมาทิฐิดังนั้นแล้ว การปฏิรูปสยามครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นตลอดรัชสมัย และเป็นผลให้สยามเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูโดดเด่นเป็นหนึ่งอยู่ในภูมิภาคนี้
พระปิยมหาราชเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพระราชกรณียกิจใดบ้างที่เป็นนัยหรือเนื้อหาสำคัญในการพลิกฟื้นสยาม จากสภาพเรือผุทั้งลำ จนกลายเป็นประเทศที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูแห่งภูมิภาค ที่สำคัญเห็นจะมีดังต่อไปนี้
ประการแรก พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพที่ทรงแปรวิกฤตเป็นโอกาสได้สำเร็จอย่างยอดเยี่ยม
สยามขณะนั้นอยู่ภายใต้บังคับของสัญญาเบาริ่ง ซึ่งมีสาระใหญ่ 3 เรื่อง คือต้องยกเลิกการผูกขาดค้าข้าว ต้องจัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ และให้บรรดาคดีพิพาทระหว่างชาวสยามกับต่างชาติต้องขึ้นศาลโพลิสต์สภา หรือศาลของต่างชาติ นับเป็นวิกฤตใหญ่หลวงของชาติที่เปรียบได้ว่าได้สูญเสียเอกราชอธิปไตยไปถึงครึ่งหนึ่งแล้ว
แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ วิกฤตทั้งหลายกลับกลายเป็นโอกาสหมดสิ้น จากการถูกบังคับให้ยกเลิกการผูกขาดการค้าข้าว ทรงแปรสยามให้เป็นประเทศเปิดเสรีค้าข้าว ทำให้การค้ารุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้น ทำรายได้ให้ประเทศจำนวนมหาศาล ทำให้การค้าต่างประเทศขยายตัวออกไป ส่งผลให้เกิดกิจการอุตสาหกรรมและการพัฒนาการคมนาคมและการสื่อสารครั้งใหญ่
จากการถูกบังคับให้จัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ ทรงแปรวิกฤตด้วยการปรับระบบการเงิน การคลัง และภาษีอากรครั้งใหญ่ของประเทศ จัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะ ทั้งการเงิน การคลัง การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และระบบการจัดเก็บภาษี ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มพูนขึ้น จนกล่าวได้ว่ามีเงินล้นท้องพระคลังหลวง ค่าเงินบาทแข็งแกร่ง มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 บาทต่อ 2 ปอนด์สเตอริง
จากการถูกบังคับให้คดีพิพาทระหว่างคนสยามกับต่างชาติต้องขึ้นศาลโพลิสต์สภา เป็นเหตุให้ทรงส่งเสริมการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่สุดของประเทศ นำพาสยามเข้าสู่ระบอบนิติรัฐเป็นประเทศแรกในเอเชียอาคเนย์นี้ ทำให้กฎหมายเริ่มเป็นระบบเป็นครั้งแรก และจัดระบบศาลอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก และในที่สุดก็ต้องยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้น
จากการแปรวิกฤตเป็นโอกาส จึงทำให้กลายเป็นพลังผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาและการปฏิรูปสยามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เจริญรุ่งเรืองถึงขั้นสูงสุด
ประการที่สอง ทรงกำหนดแนวทางหรือทิศทางพัฒนาสยามขึ้นเป็นครั้งแรกโดยไม่ต้องมีสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นทิศทางนำพาชาติที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสยาม ไม่ฝันเฟื่องเรื่องในอากาศเหมือนคนบ้ากัญชาอย่างนักวิชาการบางพวกในยุคปัจจุบัน
หลังจากเสด็จนิวัติกลับจากยุโรปแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่ายุโรปกำลังเจริญก้าวหน้าเพราะได้พัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปก่อนหน้านั้นร่วม 150 ปี แต่สยามไม่สามารถเดินหนทางอุตสาหกรรมได้ เพราะไม่มีปัจจัยพื้นฐานแทบทั้งหมด และเนื่องจากพื้นฐานของสยามนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ทรงเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะมั่งคั่งได้เพราะการเป็นประเทศเกษตรกรรมธรรมชาติ จึงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าทิศทางพัฒนาสยามจะต้องเป็นการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร หรือนัยหนึ่งก็คือเกษตรอุตสาหกรรม นี่คือแนวทางที่หนึ่ง
และอีกแนวทางหนึ่งนั้นทรงเห็นว่า สยามเป็นแหล่งอารยธรรมและวัฒนธรรมที่งดงามและยิ่งใหญ่ ทั้งชาวสยามก็มีน้ำใจโอบอ้อมอารี มีความเป็นมิตรกับทุกผู้ เป็นพื้นฐานของภาคบริการ จึงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าการอำนวยความสะดวกในทางบริการแก่ต่างชาติจะเป็นหนทางของความเจริญรุ่งเรืองอีกทางหนึ่ง หรือถ้าเป็นปัจจุบันก็คือทิศทางพัฒนาชาติเป็นอุตสาหกรรมบริการนั่นเอง
เพราะเหตุนั้นการจัดตั้งระบบโทรคมนาคม กิจการโรงแรม และการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น และด้วยสองทิศทางพัฒนาสยามนี้ก็ได้นำพาสยามไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาค
ประการที่สาม การกำหนดยุทธศาสตร์การคมนาคมให้ใช้รถไฟเป็นหลักของการคมนาคมทางบก เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ การค้าและประโยชน์สุขของมหาชน
ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสยามยังล้าหลังในทุกด้าน เพราะประชาชนไม่สามารถไปมาหาสู่ถึงกันได้ ไม่สามารถทำมาค้าขายทางไกลได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว และการปกครองก็ไม่สามารถเป็นไปโดยทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องปฏิรูปการคมนาคมครั้งใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นก็มีแต่การคมนาคมทางน้ำซึ่งใช้เรือเป็นพื้น และทางบกซึ่งใช้ช้างม้าเป็นพื้น
ทรงพัฒนาถนนหนทาง แต่ก็ทรงเห็นว่าการคมนาคมที่จะเป็นหลักในการพัฒนาสยามให้เจริญรุ่งเรืองและเป็นประโยชน์สุขแก่ราษฎรก็คือรถไฟ จึงทรงสถาปนาการรถไฟขึ้น และเร่งสร้างรางและการเดินรถไฟอย่างจริงจังตลอดรัชกาล
ทรงมีพระราชดำริว่าเป็นการยากที่การรถไฟซึ่งเป็นบริการสาธารณะจะทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อประกันให้พสกนิกรในอนาคตเข้าถึงบริการได้โดยสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง จึงทรงพระราชทานที่ดินสองข้างทางรถไฟข้างละ 4-10 เส้น และพระราชทานที่ดินสำหรับให้รถไฟจัดทำประโยชน์หรือจัดหาประโยชน์ คิดเป็นเนื้อที่กว่า 400,000 ไร่ ทางรถไฟไปถึงไหน ตั้งสถานีถึงนั่น ก็ทรงมุ่งให้สถานีรถไฟเป็นศูนย์การพาณิชย์ของแต่ละพื้นที่ นั่นก็คือการริเริ่มสร้างกิจการพาณิชย์ขึ้นในขอบเขตทั่วประเทศของสยามเป็นครั้งแรกนั่นเอง
แต่เพราะนักวิชาการใจโฉดและโง่งมตามก้นฝรั่งได้เลิกล้มพระบรมราโชบายนี้เสียในภายหลัง เปลี่ยนเป็นให้รถยนต์เป็นหลักในการคมนาคมทางบก จึงต้องสร้างถนนหนทางเต็มไปทั้งบ้านทั้งเมือง จนคนไทยเป็นหนี้ค่ารถยนต์กันทั้งประเทศ และประเทศก็ต้องจ่ายค่าน้ำมันจนสูงเป็นรายจ่ายลำดับหนึ่งของประเทศไปแล้ว และจะนำความพินาศย่อยยับมาให้คนไทยทั้งประเทศในอนาคตอันไม่ไกลนัก
ประการที่สี่ การพระราชทานเอกสารสิทธิ์ในรูปโฉนดที่ดินแก่ราษฎร เพื่อความมีฐานะและความมั่งคั่งของราษฎรและราชอาณาจักร
หลังจากเสด็จนิวัติกลับจากยุโรปแล้ว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าชาวยุโรปมีความมั่งคั่งก็เพราะมีเรียลเอสเตท หรือเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ ทุนรอนและแสดงความมั่งคั่งของราษฎรได้ แต่ชาวสยามไม่มี จึงเป็นเหตุของความยากจน ขาดแคลนและล้าหลัง จึงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าการจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่สยามและราษฎรจะต้องออกเอกสารสิทธิ์คือโฉนดที่ดินแก่สับเยกสยามโดยถ้วนหน้า
โฉนดที่ดินฉบับแรกได้พระราชทานที่จังหวัดอยุธยา และทรงเร่งรัดพระราชทานโฉนดที่ดินแก่ราษฎรตลอดรัชกาล นับถึงวันนี้แผ่นดินประเทศไทย 320 ล้านไร่ ได้ออกเอกสารสิทธิ์ไปแล้ว 120 ล้านไร่ เหลืออีก 200 ล้านไร่ ซึ่งจะต้องกันไว้สำหรับรัฐ 100 ล้านไร่ คงเหลืออีก 100 ล้านไร่ ยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ แต่หน่วยงานของรัฐ 7 หน่วยงานเข้าไปยึดครองไว้หมดสิ้น
ในเนื้อที่อันจำกัดนี้จึงขอน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปัญญาคุณในพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นด้วยพระราชกรณียกิจสี่ประการสำคัญ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพศรัทธาของมหาชนชาวไทยในการรำลึกถึงพระองค์ท่านในวันนี้.
ที่ตั้งชื่อบทความเช่นนี้ ก็โดยนัยแห่งพระราชดำริที่สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้ทรงมีพระราชดำริวินิจฉัยสถานการณ์บ้านเมืองในยามนั้นว่าสยามในบัดนั้นผุกร่อน หากเปรียบกับเรือแล้วก็เหมือนเรือที่ผุทั้งลำ ไม่สามารถปะผุได้อีกต่อไป จะต้องซ่อมแซมเป็นการใหญ่จึงจะรักษาเรือนั้นเอาไว้ได้
และด้วยพระบรมราชวินิจฉัยดังพระราชดำรินั้น ความเป็นสัมมาทิฐิในการปฏิรูปสยามจึงเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น และเป็นผลให้สยามในยุคนั้นเป็นยุคที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูมากที่สุด และอาจกล่าวได้ว่ารุ่งเรืองที่สุดในภูมิภาคนี้ จนเป็นที่เคารพศรัทธาถ้วนหน้ากัน
เมื่อวันปิยมหาราชมาถึงในแต่ละปี ก็จะมีพิธีรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณทั่วราชอาณาจักร และเนื้อหาส่วนใหญ่ก็มุ่งไปที่เรื่องพระมหากรุณาธิคุณในการเลิกทาส ซึ่งความจริงเป็นเพียงส่วนเดียว แต่ก็เป็นส่วนเดียวที่ยอดเยี่ยมกว่าการเลิกทาสในสหรัฐอเมริกา เพราะการเลิกทาสในสยามนั้นไม่ต้องทำสงครามให้สูญเสียเลือดเนื้อคนไทยด้วยกัน
ดังนั้นในโอกาสนี้จึงสมควรที่จะน้อมนำรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปัญญาทัศน์อันประเสริฐของพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นในแง่มุมอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากการเลิกทาสให้เป็นเรื่องเป็นราวสักครั้งหนึ่ง
ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการตั้งสัมมาทิฐิในการปฏิรูปสยามก่อน นั่นคือพระบรมราชวินิจฉัยที่สอดคล้องถูกตรงกับสถานการณ์บ้านเมือง ว่าสยามยามนั้นไม่อยู่ในภาวะปกติ มีความชำรุดทรุดโทรมประดุจดั่งเรือที่ผุทั้งลำแล้ว จึงต้องซ่อมแซมครั้งใหญ่ หาไม่แล้วก็จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ไม่ได้
เมื่อทรงตั้งสัมมาทิฐิดังนั้นแล้ว การปฏิรูปสยามครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้นตลอดรัชสมัย และเป็นผลให้สยามเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูโดดเด่นเป็นหนึ่งอยู่ในภูมิภาคนี้
พระปิยมหาราชเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพระราชกรณียกิจใดบ้างที่เป็นนัยหรือเนื้อหาสำคัญในการพลิกฟื้นสยาม จากสภาพเรือผุทั้งลำ จนกลายเป็นประเทศที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูแห่งภูมิภาค ที่สำคัญเห็นจะมีดังต่อไปนี้
ประการแรก พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพที่ทรงแปรวิกฤตเป็นโอกาสได้สำเร็จอย่างยอดเยี่ยม
สยามขณะนั้นอยู่ภายใต้บังคับของสัญญาเบาริ่ง ซึ่งมีสาระใหญ่ 3 เรื่อง คือต้องยกเลิกการผูกขาดค้าข้าว ต้องจัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ และให้บรรดาคดีพิพาทระหว่างชาวสยามกับต่างชาติต้องขึ้นศาลโพลิสต์สภา หรือศาลของต่างชาติ นับเป็นวิกฤตใหญ่หลวงของชาติที่เปรียบได้ว่าได้สูญเสียเอกราชอธิปไตยไปถึงครึ่งหนึ่งแล้ว
แต่ด้วยพระปรีชาสามารถ วิกฤตทั้งหลายกลับกลายเป็นโอกาสหมดสิ้น จากการถูกบังคับให้ยกเลิกการผูกขาดการค้าข้าว ทรงแปรสยามให้เป็นประเทศเปิดเสรีค้าข้าว ทำให้การค้ารุ่งเรืองเฟื่องฟูขึ้น ทำรายได้ให้ประเทศจำนวนมหาศาล ทำให้การค้าต่างประเทศขยายตัวออกไป ส่งผลให้เกิดกิจการอุตสาหกรรมและการพัฒนาการคมนาคมและการสื่อสารครั้งใหญ่
จากการถูกบังคับให้จัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ ทรงแปรวิกฤตด้วยการปรับระบบการเงิน การคลัง และภาษีอากรครั้งใหญ่ของประเทศ จัดตั้งหน่วยงานทำหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะ ทั้งการเงิน การคลัง การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และระบบการจัดเก็บภาษี ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มพูนขึ้น จนกล่าวได้ว่ามีเงินล้นท้องพระคลังหลวง ค่าเงินบาทแข็งแกร่ง มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 บาทต่อ 2 ปอนด์สเตอริง
จากการถูกบังคับให้คดีพิพาทระหว่างคนสยามกับต่างชาติต้องขึ้นศาลโพลิสต์สภา เป็นเหตุให้ทรงส่งเสริมการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่สุดของประเทศ นำพาสยามเข้าสู่ระบอบนิติรัฐเป็นประเทศแรกในเอเชียอาคเนย์นี้ ทำให้กฎหมายเริ่มเป็นระบบเป็นครั้งแรก และจัดระบบศาลอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก และในที่สุดก็ต้องยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตนั้น
จากการแปรวิกฤตเป็นโอกาส จึงทำให้กลายเป็นพลังผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาและการปฏิรูปสยามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เจริญรุ่งเรืองถึงขั้นสูงสุด
ประการที่สอง ทรงกำหนดแนวทางหรือทิศทางพัฒนาสยามขึ้นเป็นครั้งแรกโดยไม่ต้องมีสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นทิศทางนำพาชาติที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของสยาม ไม่ฝันเฟื่องเรื่องในอากาศเหมือนคนบ้ากัญชาอย่างนักวิชาการบางพวกในยุคปัจจุบัน
หลังจากเสด็จนิวัติกลับจากยุโรปแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่ายุโรปกำลังเจริญก้าวหน้าเพราะได้พัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปก่อนหน้านั้นร่วม 150 ปี แต่สยามไม่สามารถเดินหนทางอุตสาหกรรมได้ เพราะไม่มีปัจจัยพื้นฐานแทบทั้งหมด และเนื่องจากพื้นฐานของสยามนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่ทรงเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะมั่งคั่งได้เพราะการเป็นประเทศเกษตรกรรมธรรมชาติ จึงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าทิศทางพัฒนาสยามจะต้องเป็นการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร หรือนัยหนึ่งก็คือเกษตรอุตสาหกรรม นี่คือแนวทางที่หนึ่ง
และอีกแนวทางหนึ่งนั้นทรงเห็นว่า สยามเป็นแหล่งอารยธรรมและวัฒนธรรมที่งดงามและยิ่งใหญ่ ทั้งชาวสยามก็มีน้ำใจโอบอ้อมอารี มีความเป็นมิตรกับทุกผู้ เป็นพื้นฐานของภาคบริการ จึงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าการอำนวยความสะดวกในทางบริการแก่ต่างชาติจะเป็นหนทางของความเจริญรุ่งเรืองอีกทางหนึ่ง หรือถ้าเป็นปัจจุบันก็คือทิศทางพัฒนาชาติเป็นอุตสาหกรรมบริการนั่นเอง
เพราะเหตุนั้นการจัดตั้งระบบโทรคมนาคม กิจการโรงแรม และการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น และด้วยสองทิศทางพัฒนาสยามนี้ก็ได้นำพาสยามไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาค
ประการที่สาม การกำหนดยุทธศาสตร์การคมนาคมให้ใช้รถไฟเป็นหลักของการคมนาคมทางบก เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ การค้าและประโยชน์สุขของมหาชน
ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสยามยังล้าหลังในทุกด้าน เพราะประชาชนไม่สามารถไปมาหาสู่ถึงกันได้ ไม่สามารถทำมาค้าขายทางไกลได้ด้วยความสะดวกรวดเร็ว และการปกครองก็ไม่สามารถเป็นไปโดยทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องปฏิรูปการคมนาคมครั้งใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นก็มีแต่การคมนาคมทางน้ำซึ่งใช้เรือเป็นพื้น และทางบกซึ่งใช้ช้างม้าเป็นพื้น
ทรงพัฒนาถนนหนทาง แต่ก็ทรงเห็นว่าการคมนาคมที่จะเป็นหลักในการพัฒนาสยามให้เจริญรุ่งเรืองและเป็นประโยชน์สุขแก่ราษฎรก็คือรถไฟ จึงทรงสถาปนาการรถไฟขึ้น และเร่งสร้างรางและการเดินรถไฟอย่างจริงจังตลอดรัชกาล
ทรงมีพระราชดำริว่าเป็นการยากที่การรถไฟซึ่งเป็นบริการสาธารณะจะทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อประกันให้พสกนิกรในอนาคตเข้าถึงบริการได้โดยสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง จึงทรงพระราชทานที่ดินสองข้างทางรถไฟข้างละ 4-10 เส้น และพระราชทานที่ดินสำหรับให้รถไฟจัดทำประโยชน์หรือจัดหาประโยชน์ คิดเป็นเนื้อที่กว่า 400,000 ไร่ ทางรถไฟไปถึงไหน ตั้งสถานีถึงนั่น ก็ทรงมุ่งให้สถานีรถไฟเป็นศูนย์การพาณิชย์ของแต่ละพื้นที่ นั่นก็คือการริเริ่มสร้างกิจการพาณิชย์ขึ้นในขอบเขตทั่วประเทศของสยามเป็นครั้งแรกนั่นเอง
แต่เพราะนักวิชาการใจโฉดและโง่งมตามก้นฝรั่งได้เลิกล้มพระบรมราโชบายนี้เสียในภายหลัง เปลี่ยนเป็นให้รถยนต์เป็นหลักในการคมนาคมทางบก จึงต้องสร้างถนนหนทางเต็มไปทั้งบ้านทั้งเมือง จนคนไทยเป็นหนี้ค่ารถยนต์กันทั้งประเทศ และประเทศก็ต้องจ่ายค่าน้ำมันจนสูงเป็นรายจ่ายลำดับหนึ่งของประเทศไปแล้ว และจะนำความพินาศย่อยยับมาให้คนไทยทั้งประเทศในอนาคตอันไม่ไกลนัก
ประการที่สี่ การพระราชทานเอกสารสิทธิ์ในรูปโฉนดที่ดินแก่ราษฎร เพื่อความมีฐานะและความมั่งคั่งของราษฎรและราชอาณาจักร
หลังจากเสด็จนิวัติกลับจากยุโรปแล้ว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่าชาวยุโรปมีความมั่งคั่งก็เพราะมีเรียลเอสเตท หรือเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ ทุนรอนและแสดงความมั่งคั่งของราษฎรได้ แต่ชาวสยามไม่มี จึงเป็นเหตุของความยากจน ขาดแคลนและล้าหลัง จึงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าการจะสร้างความมั่งคั่งให้แก่สยามและราษฎรจะต้องออกเอกสารสิทธิ์คือโฉนดที่ดินแก่สับเยกสยามโดยถ้วนหน้า
โฉนดที่ดินฉบับแรกได้พระราชทานที่จังหวัดอยุธยา และทรงเร่งรัดพระราชทานโฉนดที่ดินแก่ราษฎรตลอดรัชกาล นับถึงวันนี้แผ่นดินประเทศไทย 320 ล้านไร่ ได้ออกเอกสารสิทธิ์ไปแล้ว 120 ล้านไร่ เหลืออีก 200 ล้านไร่ ซึ่งจะต้องกันไว้สำหรับรัฐ 100 ล้านไร่ คงเหลืออีก 100 ล้านไร่ ยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิ์ แต่หน่วยงานของรัฐ 7 หน่วยงานเข้าไปยึดครองไว้หมดสิ้น
ในเนื้อที่อันจำกัดนี้จึงขอน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระปัญญาคุณในพระมหาราชเจ้าพระองค์นั้นด้วยพระราชกรณียกิจสี่ประการสำคัญ เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพศรัทธาของมหาชนชาวไทยในการรำลึกถึงพระองค์ท่านในวันนี้.