ASTVผู้จัดการรายวัน - "สมชาย" ประกาศข้ามโลกผ่านสื่อต่างชาติ "ไม่ลาออก" อ้างเหมือนเดิมเข้ามาจากการเลือกตั้ง ต้องไปด้วยระบบสภา บอกทางแก้ต้องเจรจาหาทางปรองดอง เชื่อทหารไม่ปฏิวัติ "ชวรัตน์" เรียกประชุม ครม.นัดพิเศษ สั่งกรอกหูประชาชนให้เห็นผลเสียของการไม่ได้ประชุมรัฐสภา
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ ที่กรุงลิมา ประเทศเปรู วานนี้ (24 พ.ย.) หลังสิ้นสุดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก ว่า ไม่มีความตั้งใจที่จะลาออกตามคำเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขณะที่ผู้ชุมนุมนับแสนเคลื่อนขบวนปิดล้อมรัฐสภาในวานนี้ (24)
เราเข้ามาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นผมจึงไม่ได้คิดถึงการลาออกแต่อย่างใด
ผมจะอดทนจนถึงที่สุด เราต้องเจรจา และพยายามหาทางปรองดอง นายสมชาย กล่าว โดยเสริมว่า ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องใช้มาตรการแข็งกร้าวยิ่งขึ้น เพื่อจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วง
หากรัฐบาลจะต้องถูกขับไล่ ก็ควรเป็นการถูกขับไล่โดยรัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้ง หรือโดยประชาชน ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวเป็นภาษาไทย โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษ
นายสมชายยังได้ปฏิเสธเรื่องที่พูดกันว่า กองทัพจะก่อการปฏิวัติรัฐประหารอีก เนื่องจากสถานการณ์การเมืองอยู่ในภาวะประจันหน้ากัน โดยบอกว่า ฝ่ายทหารเอง ได้ยินยันมาหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า พวกเขาจะไม่ทำการปฏิวัติรัฐประหารอย่างแน่นอน
นายสมชาย ยังแสดงท่าทีไม่เห็นความสำคัญของวิกฤตการเมืองที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยย้ำว่าสิ่งที่น่ากังวลสำหรับประเทศไทยยิ่งไปกว่านั้นคือ วิกฤตการเงินทั่วโลก ที่เป็นประเด็นหลักในการประชุมประจำของกลุ่มเอเปกครั้งนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในตอนนี้เป็นเรื่องเล็กมาก เพียงจุดเล็กๆ จุดเดียว ในกรุงเทพฯ มันไม่ได้ทำลาย หรือกระทบกระเทือนพื้นฐานเศรษฐกิจของเรามากนัก
***ครม.เตรียมแจงผลเสียที่ไม่ได้ประชุม
วันเดียวกันที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อเวลา 10.30 น. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)นัดพิเศษ เพื่อหาทางแก้ปัญหากรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดล้อมรัฐสภา
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าการประชุม ครม.นัดพิเศษที่ประชุมได้หารือถึงแนวทาง การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการที่ไม่สามารถประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับความร่วมมือ ในกรอบอาเซียน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียความเป็นผู้นำอาเซียน
อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการหารือระหว่างรัฐบาล ผู้นำฝ่ายค้าน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา ต่อไป
นายวุฒิพงศ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า เวลา 15.30 น.วันนี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ จะแถลงข่าวร่วมกับนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ว่า จากการสอบถามนายทหารคนสนิทผู้บัญชาการทหารบกยืนยันว่ายังไม่ทราบเรื่องนี้
นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า ไม่ได้เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรี เพียงแต่มาพบเพื่อหารือกันเท่านั้น
***นายกฯโยนชัยหาทางออก
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจากการโทรศัพท์คุยกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ท่านได้แยกออกเป็นสองเรื่อง ก็คือเรื่องสภาก็คงต้องรออยู่ดุลพินิจนายชัย ชิดชอบ ประธานสภา เป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามและพร้อมที่จะร่วมหารือหากประธานสภาต้องการ และในส่วนของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายชวรัตน์พิจารณาในการกำกับดูแลสถานการณ์โดยนโยบายหลักเหมือนเดิม คือไม่มีการใช้กำลัง ไม่ใช้อาวุธ ไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อไม่ให้เกิดความบาดเจ็บเสียหาย
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ในส่วนของสนธิสัญญาหลายฉบับที่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อนนำเข้าที่ประชุมประเทศอาเซียนนั้น ทางทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก็จะมีการหารือกันในวันเดียวกันนี้( 24 พ.ย.) เพื่อหาแนวทาง แก้ปัญหาให้สามารถ เปิดประชุมได้ และจะทำอย่างไรหากประชุมไม่ได้
ส่วนจะมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญหรือไม่ นายสุขุมพงษ์ กล่าวว่า ก็ต้อง หารือกันว่าวิธีไหนที่จะเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งการย้ายสถานที่ประชุมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีสถานที่เหมาะสม มีอุปกรณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้ และสิ่งสำคัญคือสมาชิกรัฐสภา ทั้ง 600 กว่าคนจะต้องยินยอมพร้อมใจไปประชุมด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังพอมีเวลาจนถึงวันศุกร์ที่ 28 พ.ย.นี้ เพราะยังไม่ปิดสมัยประชุมสภาฯ แต่หากหลังจากวันที่ 28 พ.ย.แล้วก็จะได้มาพิจารณาว่าจำเป็นต้อง เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญได้หรือไม่ และหากต้องย้ายสถานที่ประชุมก็มีหอประชุมของกองทัพไว้รองรับ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องการลงมติที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องลงมติโดยเปิดเผย
ทางออกมีอยู่ 2 ทาง คือย้ายที่ประชุมหรือเปิดสมัยประชุมวิสามัญ ซึ่งต้องหารือกันในที่ประชุมก่อน จากนั้นก็จะเสนอให้นายกรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เสนอให้รัฐบาลเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า คงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องหารือกัน ซึ่งคงต้องรอให้นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจากประเทศเปรูก่อน
***พรรคร่วมฯ จี้ชัยจัดประชุมรัฐสภาใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคพลังประชาชนว่า ภายหลังจากที่ประธานรัฐสภา มีคำสั่งงดการประชุมรัฐสภาในช่วงเช้าวันนี้ (24 พ.ย.) ปรากฏว่า ตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาลได้นัดหารือร่วมกันที่พรรคพลังประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสามารถ แก้วมีชัย นายวิทยา บุรณศิริ ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคพลังประชาชน นายสมเกียรติ ศรลัมภ์ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน นายเอกพจน์ ปานแย้ม จากพรรคชาติไทย นายสรวงศ์ เทียนทอง จากพรรคประชาราช ขาดเพียงตัวแทน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่มาร่วมประชุมไม่ทัน
จากนั้น นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แถลงว่า ที่ประชุมมีมติให้ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล เข้าชื่อทำหนังสือแจ้งไปยังประธานรัฐสภา ถึงเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมรัฐสภา ในช่วงเช้าวันนี้ได้ เพราะมีกลุ่มบุคคลไปปิดล้อมรัฐสภา ขู่คุกคาม ขัดขวาง ไม่ยอมให้สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุม พร้อมกันนี้ ได้ขอให้ประธานรัฐสภานัดวันประชุมรัฐสภาใหม่ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ส่วนวันเวลาและสถานที่ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภาจะพิจารณา
อยากถามหาความรับผิดชอบด้วยว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศ ใครจะรับผิดชอบ ทั้งๆ ที่เราพยายามปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
***อ้างร่าง รธน.ของ คปพร.ถอนไม่ได้
ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลยังยืนยันหรือไม่ว่าจะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวิทยา กล่าวว่า ได้บอกไปหลายครั้งแล้วว่า จะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาแต่กรอบข้อตกลงระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภาในส่วนของวุฒิสภา และฝ่ายค้านก็ทราบเจตนาตรงนี้ดี
ด้านนายเอกพจน์ ปานแย้ม ตัวแทนจากพรรคชาติไทย กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของ คปพร. ที่ค้างอยู่ในวาระการประชุมรัฐสภา มีประชาชนเข้าชื่อ ขอให้แก้ไขกว่า 70,000 รายชื่อ จึงถือเป็นหน้าที่ของประธานรัฐสภา ที่จะบรรจุในระเบียบวาระ หากจะถอนออกต้องให้ประชาชนที่เข้าชื่อมาขอถอน ซึ่งเป็นเรื่องยาก
อย่างไรก็ตาม พรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ได้ตกลงกันแล้วว่า จะไม่มีการหยิกยกญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาพิจารณา และจะพิจารณาเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศที่ต้องพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เท่านั้น และพรรคชาติไทย อยากให้ใช้รัฐสภาเป็นสถานที่ประชุมเช่นเดิม ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนสถานที่ประชุมใหม่
***พปช.ให้ส.ส.โยนความผิดให้พ พธม.
วันเดียวกันมีการประชุมพรรคพลังประชาชน นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ส.ส.สัดส่วน นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ส.ส.ลำพูน พร้อมส.ส.เหนือประมาณ 40คน ร่วมประชุมหารือถึงสถานการณ์การเมือง
นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ ส.ส.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ภ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีพันธมิตรฯเข้าปิดล้อมรัฐสภาในช่วงเช้า และเคลื่อนขบวน ไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ดอนเมือง โดยนายสันติ เน้นย้ำให้ส.ส. ทำความเข้าใจกับสังคม สื่อ และประชาชนว่าผลเสียหายที่เกิดขึ้นเราไม่ได้เป็นคนทำ แต่เกิดจากกลุ่มคนขัดขวางไม่ให้เราเข้าไปทำงาน รวมทั้งส.ส.ได้ทำหนังสือไปถึงประธานสภาฯ ชี้แจงสาเหตุที่เข้าประชุมไม่ได้เพราะพธม.ขัดขวางการไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญติและขัดขวางการทำงานของส.ส.
วันนี้พันธมิตรฯเผาบ้านตัวเอง สร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจเป็น จำนวนมาก อยากถามไปยังพ่อค้านายทุนที่สนับสนุนว่าไม่ได้รับผลกระทบบ้างหรือ เรารู้ว่าที่เขามาสภาฯ เพราะต้องการให้มีเรื่องมาท้าต่อยท้าตี แต่เราไม่ต้องการอย่างนั้นจึงไม่ไปประชุม ไม่อยากเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ ฝากบอกด้วยว่าม็อบเสื้อแดงมีศักดิ์ศรีพอไม่เอาไปแลกกับม็อบโกเต็กหรอก
นายสุรสิทธิ์กล่าวว่าจากการหารือส.ส.ส่วนใหญ่เห็นว่าในการประชุมสภาวันที่ 26 - 27พ.ย. น่าจะมีการประชุมตามปกติ เพราะในการประชุมวันดังกล่าวเป็นการประชุมส.ส.ตามปกติพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับต่าง ๆ ที่ยังค้างการพิจารณา รวมทั้งให้รัฐมนตรีเข้ามาตอบกระทู้ถามสด ไม่ใช่การประชุมร่วม 2 สภาเพื่อพิจารณาเอกสารที่จะต้องลงนามในการประชุมอาเซียน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยไม่มีวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
***ตีกันคน ชินวัตร หน.เพื่อไทย
ส่วนการเตรียมความพร้อมเรื่องหัวหน้าพรรคแม้ที่ผ่านมาจะมีคนเรียกร้อง อยากให้หัวหน้าพรรคเป็นคนตระกูลชินวัตร แต่ตอนนี้ยังมีเวลาจึงไม่อยากรีบเปิดตัว เพราะเปิดออกไปก็จะถูกโจมตีอย่างแน่อน รวมทั้งต่อไปมองว่าการต่อสู้ทางการเมือง ยิ่งแหลมคมกว่าเดิม ไม่ใช่เราจะฟังข้อดีอย่างเดียว ต้องฟังความคิดเห็นฝ่าย ที่โจมตีเราด้วย รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นจาก ส.ส.พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่จะย้ายมาอยู่กับเราด้วยว่า มีความเห็นอย่างไร ที่ผ่านมามี ส.ส.เป็นจำนวนมาก แต่ขอไม่เปิดเผยชื่อติดต่อ ขอเข้าพรรคเพื่อไทย เพราะเห็นว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้ามีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสูง ยิ่งการเลือกตั้งเขตใหญ่ยิ่งทำให้ต้องต่อสู้มาก เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองขนาดเล็กจะเสียเปรียบมาก ต่อไปจะเป็นการต่อสู้แค่2ขั้วเท่านั้น พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ แล้วถามว่าอย่างนี้ใครไม่อยากมาอยู่กับฝ่ายที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลมากกว่า.
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ ที่กรุงลิมา ประเทศเปรู วานนี้ (24 พ.ย.) หลังสิ้นสุดการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก ว่า ไม่มีความตั้งใจที่จะลาออกตามคำเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขณะที่ผู้ชุมนุมนับแสนเคลื่อนขบวนปิดล้อมรัฐสภาในวานนี้ (24)
เราเข้ามาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นผมจึงไม่ได้คิดถึงการลาออกแต่อย่างใด
ผมจะอดทนจนถึงที่สุด เราต้องเจรจา และพยายามหาทางปรองดอง นายสมชาย กล่าว โดยเสริมว่า ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องใช้มาตรการแข็งกร้าวยิ่งขึ้น เพื่อจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วง
หากรัฐบาลจะต้องถูกขับไล่ ก็ควรเป็นการถูกขับไล่โดยรัฐสภา ที่มาจากการเลือกตั้ง หรือโดยประชาชน ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวเป็นภาษาไทย โดยมีล่ามแปลเป็นภาษาอังกฤษ
นายสมชายยังได้ปฏิเสธเรื่องที่พูดกันว่า กองทัพจะก่อการปฏิวัติรัฐประหารอีก เนื่องจากสถานการณ์การเมืองอยู่ในภาวะประจันหน้ากัน โดยบอกว่า ฝ่ายทหารเอง ได้ยินยันมาหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า พวกเขาจะไม่ทำการปฏิวัติรัฐประหารอย่างแน่นอน
นายสมชาย ยังแสดงท่าทีไม่เห็นความสำคัญของวิกฤตการเมืองที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยย้ำว่าสิ่งที่น่ากังวลสำหรับประเทศไทยยิ่งไปกว่านั้นคือ วิกฤตการเงินทั่วโลก ที่เป็นประเด็นหลักในการประชุมประจำของกลุ่มเอเปกครั้งนี้
สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในตอนนี้เป็นเรื่องเล็กมาก เพียงจุดเล็กๆ จุดเดียว ในกรุงเทพฯ มันไม่ได้ทำลาย หรือกระทบกระเทือนพื้นฐานเศรษฐกิจของเรามากนัก
***ครม.เตรียมแจงผลเสียที่ไม่ได้ประชุม
วันเดียวกันที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อเวลา 10.30 น. นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)นัดพิเศษ เพื่อหาทางแก้ปัญหากรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปิดล้อมรัฐสภา
นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่าการประชุม ครม.นัดพิเศษที่ประชุมได้หารือถึงแนวทาง การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากการที่ไม่สามารถประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับความร่วมมือ ในกรอบอาเซียน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียความเป็นผู้นำอาเซียน
อย่างไรก็ตาม คงต้องมีการหารือระหว่างรัฐบาล ผู้นำฝ่ายค้าน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา ต่อไป
นายวุฒิพงศ์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า เวลา 15.30 น.วันนี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ จะแถลงข่าวร่วมกับนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ว่า จากการสอบถามนายทหารคนสนิทผู้บัญชาการทหารบกยืนยันว่ายังไม่ทราบเรื่องนี้
นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า ไม่ได้เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรี เพียงแต่มาพบเพื่อหารือกันเท่านั้น
***นายกฯโยนชัยหาทางออก
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าจากการโทรศัพท์คุยกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ท่านได้แยกออกเป็นสองเรื่อง ก็คือเรื่องสภาก็คงต้องรออยู่ดุลพินิจนายชัย ชิดชอบ ประธานสภา เป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมที่จะปฏิบัติตามและพร้อมที่จะร่วมหารือหากประธานสภาต้องการ และในส่วนของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายชวรัตน์พิจารณาในการกำกับดูแลสถานการณ์โดยนโยบายหลักเหมือนเดิม คือไม่มีการใช้กำลัง ไม่ใช้อาวุธ ไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อไม่ให้เกิดความบาดเจ็บเสียหาย
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ในส่วนของสนธิสัญญาหลายฉบับที่ต้องให้รัฐสภาเห็นชอบก่อนนำเข้าที่ประชุมประเทศอาเซียนนั้น ทางทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม และสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก็จะมีการหารือกันในวันเดียวกันนี้( 24 พ.ย.) เพื่อหาแนวทาง แก้ปัญหาให้สามารถ เปิดประชุมได้ และจะทำอย่างไรหากประชุมไม่ได้
ส่วนจะมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญหรือไม่ นายสุขุมพงษ์ กล่าวว่า ก็ต้อง หารือกันว่าวิธีไหนที่จะเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งการย้ายสถานที่ประชุมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องมีสถานที่เหมาะสม มีอุปกรณ์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้ และสิ่งสำคัญคือสมาชิกรัฐสภา ทั้ง 600 กว่าคนจะต้องยินยอมพร้อมใจไปประชุมด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังพอมีเวลาจนถึงวันศุกร์ที่ 28 พ.ย.นี้ เพราะยังไม่ปิดสมัยประชุมสภาฯ แต่หากหลังจากวันที่ 28 พ.ย.แล้วก็จะได้มาพิจารณาว่าจำเป็นต้อง เปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญได้หรือไม่ และหากต้องย้ายสถานที่ประชุมก็มีหอประชุมของกองทัพไว้รองรับ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องการลงมติที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องลงมติโดยเปิดเผย
ทางออกมีอยู่ 2 ทาง คือย้ายที่ประชุมหรือเปิดสมัยประชุมวิสามัญ ซึ่งต้องหารือกันในที่ประชุมก่อน จากนั้นก็จะเสนอให้นายกรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เสนอให้รัฐบาลเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯนั้น นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า คงเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะต้องหารือกัน ซึ่งคงต้องรอให้นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจากประเทศเปรูก่อน
***พรรคร่วมฯ จี้ชัยจัดประชุมรัฐสภาใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคพลังประชาชนว่า ภายหลังจากที่ประธานรัฐสภา มีคำสั่งงดการประชุมรัฐสภาในช่วงเช้าวันนี้ (24 พ.ย.) ปรากฏว่า ตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาลได้นัดหารือร่วมกันที่พรรคพลังประชาชน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสามารถ แก้วมีชัย นายวิทยา บุรณศิริ ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคพลังประชาชน นายสมเกียรติ ศรลัมภ์ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน นายเอกพจน์ ปานแย้ม จากพรรคชาติไทย นายสรวงศ์ เทียนทอง จากพรรคประชาราช ขาดเพียงตัวแทน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ที่มาร่วมประชุมไม่ทัน
จากนั้น นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แถลงว่า ที่ประชุมมีมติให้ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล เข้าชื่อทำหนังสือแจ้งไปยังประธานรัฐสภา ถึงเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมรัฐสภา ในช่วงเช้าวันนี้ได้ เพราะมีกลุ่มบุคคลไปปิดล้อมรัฐสภา ขู่คุกคาม ขัดขวาง ไม่ยอมให้สมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมประชุม พร้อมกันนี้ ได้ขอให้ประธานรัฐสภานัดวันประชุมรัฐสภาใหม่ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ส่วนวันเวลาและสถานที่ขึ้นอยู่กับประธานรัฐสภาจะพิจารณา
อยากถามหาความรับผิดชอบด้วยว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประเทศ ใครจะรับผิดชอบ ทั้งๆ ที่เราพยายามปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
***อ้างร่าง รธน.ของ คปพร.ถอนไม่ได้
ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลยังยืนยันหรือไม่ว่าจะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายวิทยา กล่าวว่า ได้บอกไปหลายครั้งแล้วว่า จะไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะพิจารณาแต่กรอบข้อตกลงระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภาในส่วนของวุฒิสภา และฝ่ายค้านก็ทราบเจตนาตรงนี้ดี
ด้านนายเอกพจน์ ปานแย้ม ตัวแทนจากพรรคชาติไทย กล่าวว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของ คปพร. ที่ค้างอยู่ในวาระการประชุมรัฐสภา มีประชาชนเข้าชื่อ ขอให้แก้ไขกว่า 70,000 รายชื่อ จึงถือเป็นหน้าที่ของประธานรัฐสภา ที่จะบรรจุในระเบียบวาระ หากจะถอนออกต้องให้ประชาชนที่เข้าชื่อมาขอถอน ซึ่งเป็นเรื่องยาก
อย่างไรก็ตาม พรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายค้าน และวุฒิสภา ได้ตกลงกันแล้วว่า จะไม่มีการหยิกยกญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาพิจารณา และจะพิจารณาเพียงข้อตกลงระหว่างประเทศที่ต้องพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เท่านั้น และพรรคชาติไทย อยากให้ใช้รัฐสภาเป็นสถานที่ประชุมเช่นเดิม ไม่อยากให้มีการเปลี่ยนสถานที่ประชุมใหม่
***พปช.ให้ส.ส.โยนความผิดให้พ พธม.
วันเดียวกันมีการประชุมพรรคพลังประชาชน นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ส.ส.สัดส่วน นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ส.ส.ลำพูน พร้อมส.ส.เหนือประมาณ 40คน ร่วมประชุมหารือถึงสถานการณ์การเมือง
นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ ส.ส.เชียงราย พรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ภ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงกรณีพันธมิตรฯเข้าปิดล้อมรัฐสภาในช่วงเช้า และเคลื่อนขบวน ไปปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ดอนเมือง โดยนายสันติ เน้นย้ำให้ส.ส. ทำความเข้าใจกับสังคม สื่อ และประชาชนว่าผลเสียหายที่เกิดขึ้นเราไม่ได้เป็นคนทำ แต่เกิดจากกลุ่มคนขัดขวางไม่ให้เราเข้าไปทำงาน รวมทั้งส.ส.ได้ทำหนังสือไปถึงประธานสภาฯ ชี้แจงสาเหตุที่เข้าประชุมไม่ได้เพราะพธม.ขัดขวางการไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญติและขัดขวางการทำงานของส.ส.
วันนี้พันธมิตรฯเผาบ้านตัวเอง สร้างความเสียหายให้เศรษฐกิจเป็น จำนวนมาก อยากถามไปยังพ่อค้านายทุนที่สนับสนุนว่าไม่ได้รับผลกระทบบ้างหรือ เรารู้ว่าที่เขามาสภาฯ เพราะต้องการให้มีเรื่องมาท้าต่อยท้าตี แต่เราไม่ต้องการอย่างนั้นจึงไม่ไปประชุม ไม่อยากเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ ฝากบอกด้วยว่าม็อบเสื้อแดงมีศักดิ์ศรีพอไม่เอาไปแลกกับม็อบโกเต็กหรอก
นายสุรสิทธิ์กล่าวว่าจากการหารือส.ส.ส่วนใหญ่เห็นว่าในการประชุมสภาวันที่ 26 - 27พ.ย. น่าจะมีการประชุมตามปกติ เพราะในการประชุมวันดังกล่าวเป็นการประชุมส.ส.ตามปกติพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับต่าง ๆ ที่ยังค้างการพิจารณา รวมทั้งให้รัฐมนตรีเข้ามาตอบกระทู้ถามสด ไม่ใช่การประชุมร่วม 2 สภาเพื่อพิจารณาเอกสารที่จะต้องลงนามในการประชุมอาเซียน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยไม่มีวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
***ตีกันคน ชินวัตร หน.เพื่อไทย
ส่วนการเตรียมความพร้อมเรื่องหัวหน้าพรรคแม้ที่ผ่านมาจะมีคนเรียกร้อง อยากให้หัวหน้าพรรคเป็นคนตระกูลชินวัตร แต่ตอนนี้ยังมีเวลาจึงไม่อยากรีบเปิดตัว เพราะเปิดออกไปก็จะถูกโจมตีอย่างแน่อน รวมทั้งต่อไปมองว่าการต่อสู้ทางการเมือง ยิ่งแหลมคมกว่าเดิม ไม่ใช่เราจะฟังข้อดีอย่างเดียว ต้องฟังความคิดเห็นฝ่าย ที่โจมตีเราด้วย รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นจาก ส.ส.พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่จะย้ายมาอยู่กับเราด้วยว่า มีความเห็นอย่างไร ที่ผ่านมามี ส.ส.เป็นจำนวนมาก แต่ขอไม่เปิดเผยชื่อติดต่อ ขอเข้าพรรคเพื่อไทย เพราะเห็นว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้ามีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสูง ยิ่งการเลือกตั้งเขตใหญ่ยิ่งทำให้ต้องต่อสู้มาก เพราะฉะนั้นพรรคการเมืองขนาดเล็กจะเสียเปรียบมาก ต่อไปจะเป็นการต่อสู้แค่2ขั้วเท่านั้น พรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ แล้วถามว่าอย่างนี้ใครไม่อยากมาอยู่กับฝ่ายที่มีโอกาสเป็นรัฐบาลมากกว่า.