นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย อสมท ระหว่างเดินทางไปร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 16 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และมีการเคลื่อนขบวนไปปิดล้อมรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว ที่ดอนดมือง และสถานที่สำคัญหลายแห่งว่า ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่าต้องการอะไร
ส่วนกรณีที่ ที่ประชุม 4 ฝ่าย มีมติเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญวันที่ 8-9 ธ.ค.นี้ เพื่อพิจารณาเอกสารสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบอาเซียนว่า ถ้าเปิดในช่วงเวลาดังกล่าว ยังสามารถพิจารณากฎหมายสำคัญในการทำสนธิสัญญาที่จะใช้ในการประชุมอาเซียน ที่จ.เชียงใหม่ได้ทัน แต่ขึ้นอยู่ว่า จะสามารถเปิดการประชุมได้หรือไม่ เพราะพันธมิตรฯ คงไปปิดล้อมอีก
"บุกเข้ามาทำอย่างนี้ คิดหรือไม่ว่าได้ทำความเสียหายให้กับทางราชการ แต่บังเอิญบ้านเราทำเหมือนเคยชิน เพราะการบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา ผมอยากให้คิดดูว่า ทำเช่นนี้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ผมต้องการหาคนที่จะให้คำตอบได้ว่า ทำเพื่ออะไร" นายสมชาย กล่าว
ผู้สื่อข่าวบอกว่าพันธมิตรฯต้องการให้นายกฯลาออก นายสมชาย กล่าวว่า ออกหรือไม่ออก ต้องแล้วแต่ประชาชน เพราะตนมาจากการเลือกตั้ง และได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นคนที่จะตัดสินใจให้ตนออก คือประชาชนส่วนใหญ่ คิดกันง่ายๆ ตามหลักประชาธิปไตย เราต้องยึดมั่นระบอบประชาธิปไตย ถ้าสุขภาพไม่ดี จำเป็นต้องลาออกก็เป็นอีกเรื่อง แต่การบังคับให้ออก คนที่บังคับให้ออกต้องเป็นประชาชนทั้งประเทศ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดว่าใครล้มล้างรัฐบาลถือเป็นกบฏ ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯจะบังคับให้ตนออกคงไม่ได้
ต่อข้อถามว่า จะใช้มาตรการใดกับกลุ่มพันธมิตรฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อกลับไป จะหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงว่าจะทำอย่างไร คงไม่คิดเรื่องนี้คนเดียว คนไทยด้วยกันน่าจะคุยกันรู้เรื่อง โดยยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก แต่การชุมนุมอย่างนี้ไม่มีเหตุผล
**ไม่คิดเจรจากับพันธมิตรฯ
เมื่อถามว่าจะคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ หรือไม่นายสมชาย กล่าวว่า ถ้าคุยรู้เรื่องคงคุยไปนานแล้ว ตนจึงถามว่าวัตถุประสงค์ของพันธมิตรฯ คืออะไร อย่างไรก็ตามได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตลอดเวลา และทางเจ้าหน้าที่ยืนยันว่า ยังควบคุมสถานการณ์ได้
"เครื่องบินลงสนามบินไหน ผมก็จะลงที่นั่น ปิดล้อมสนามบินเสียหายเท่าไร ใครจะรับผิดชอบ ผมเห็นว่าควรช่วยกันเพื่อประเทศชาติ ทิ้งประโยชน์ส่วนตัว ช่วยเหลือประโยชน์ส่วนรวมก่อน แล้วคิดหรือยังว่า ถ้าให้ผมลาออก จะให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี ผมมาเปรูได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น แม้แต่ รปภ. ก็จัดให้เกิดความมั่นใจ ผมนั่งคิด ถ้ากลับไปบ้านแล้วน่าเศร้าใจ มีคนมารอขับไล่ ดูแล้วไม่กล้าไปบอกหรือพูดให้ใครฟัง เราไม่ให้เกียรติกับคนไทยด้วยกันเอง แต่ไม่เป็นไร ตอนนี้ผมต้องใช้ความอดทน ไม่ต้องคิดมากว่า มีเกียรติหรือไม่ ขอให้ทำงานได้ก็พอ" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**สมชายอาจไม่ลงสุวรรณภูมิ
รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ (25 พ.ย.) คณะของนายสมชาย จะเดินทางออกจากเปรู ถึงกรุงเทพฯ ช้ากว่ากำหนดการเดิมประมาณ 7 ชั่วโมง เนื่องจากรถลากจูงที่ใช้ระบบไฮโดรลิกล็อกล้อเครื่องบิน เพื่อที่จะออกไปยังรันเวย์ เกิดเหตุขัดข้องต้องรอการซ่อม ทั้งนี้จากเดิมคณะของนายสมชาย จะเดินทางถึงประเทศไทย ในวันที่ 26 พ.ย. เวลา 11.30 น. โดยเครื่องจะลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ คณะของนายสมชาย ได้เช่าเหมาลำเครื่องของการบินไทยเป็นพาหนะในการเดินทาง ดังนั้นเครื่องบินจะลงสนามบินแห่งไหนก็ได้ หากที่สุวรรณภูมิมีปัญหาอาจไปลงที่เชียงใหม่ก็ได้ โดยกัปตันสามารถประสานเจ้าหน้าที่วิทยุการบินได้ หากมีความจำเป็น
** ประชุมครม.ที่ไหนยังไม่รู้
ส่วนการประชุมครม.ที่นายกรัฐมนตรี แจ้งเลขาธิการครม.ให้แจ้ง เลื่อนการประชุมจากวันอังคารที่ 25 พ.ย. มาเป็นวันพุธที่ 26 พ.ย.นั้น นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการครม.เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทุกท่านแล้วว่า นายกฯนัดประชุม ครม.ในวันพุธที่ 26 พ.ย. ที่ทำเนียบชั่วคราว ดอนเมือง แต่เมื่อพันธมิตรฯยึดพื้นที่ไว้ จึงได้ประสานไปยังกองทัพไทย เพื่อขอใช้สถานที่ประชุมครม. แต่เวลานี้สถานการณ์ต่างๆยังไม่นิ่ง เพราะพันธมิตรฯได้ไปปิดล้อมบริเวณทางเข้ากองบัญชาการกองทัพไทยอีก จึงไม่สามารถตอบได้ว่า จะประชุม ครม.ที่ไหน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่นายกฯ เลื่อนการเดินทางกลับถึงค่ำของวันที่ 26 พ.ย. มีคำสั่งงดการประชุม ครม.หรือไม่ เลขาธิการครม. กล่าวว่า เรื่องการงดประชุมเป็นอำนาจของนายกฯ แต่เวลานี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากนายกฯ เพื่อของดการประชุม จึงไม่สามารถตอบอะไรได้ชัดเจน ต้องรอการติดต่อจากนายกฯ อย่างเดียว
** "อนุพงษ์"ย้ำคำเดิมไม่ปฏิวัติ
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ (25 พ.ย.) ที่กองทัพบก พล.อ.อนพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า ต้องแยกเป็น 2 ส่วน ในการทำให้สังคมสงบเรียบร้อย ส่วนหนึ่งเราจัดกำลังร่วมกับตำรวจ มีหน้าที่หลักไปร่วมดูแลความสงบเรียบร้อย เดิมกองทัพดูอยู่ในพื้นที่ที่มีการชุมนุม ซึ่งจัดจุดที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยเพิ่มอีกหลายจุดร่วมกับตำรวจ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ
อีกส่วนคือ การดูแลกรณีที่จะมีกลุ่มพลังความเห็นต่างกันมาปะทะกัน เรามีแผนเตรียมไว้รองรับ แต่ขณะนี้ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะเกิด แต่เราให้กำลังเตรียมพร้อมไว้แล้ว
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวด้วยว่า จากการประชุม คตร. ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่าตำรวจจะไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการลงไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน มีความประนีประนอม อะลุ้มอะล่วย อยู่แล้ว ส่วนผู้ชุมนุม ก็ไม่ใช้ความรุนแรง ทั้งสองฝ่ายไม่มีสัญญาณ หรือสิ่งบอกเหตุว่าจะมีความรุนแรง ดังนั้น ตำรวจคงไม่ต้องอดทน เพราะทำงานตามปกติ
เมื่อถามว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพจะดำเนินการอย่างไร เพราะพันธมิตรฯประกาศจะไปล้อมกองทัพไทย พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพมีการพูดคุย เมื่อเช้าวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปลัดกลาโหม ผบ.สส., ผบ.ทร. ได้มีการพูดคุยและประเมินสถานการณ์ เห็นว่าขณะนี้อยู่ในสถานะที่ เป็นการแสดงความคิดเห็น ไม่มีความรุนแรง
"จุดยืนกองทัพเห็นตรงกันว่า 1. ทหารทุกเหล่าทัพจะดูแลประเทศชาติบ้านเมือง โดยมีแนวคิดดูแลสถาบันหลักของชาติไว้ให้ได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือประชาชนที่ต้องมีความสงบเรียบร้อย 2.ส่วนเรื่องประกันว่าจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ผบ.เหล่าทัพเห็นตรงกันว่า จะใช้มาตรการและศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้คนมาปะทะกัน ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น และ 3.ยึดแนวทางกระบวนการยุติธรรม หรือกฎหมายเป็นหลักในการช่วยกันแก้ไขปัญหาสถานการณ์บ้านเมือง"พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
เมื่อถามว่าแสดงว่าทหารจะไม่ใช้การปฏิวัติอย่างที่หลายฝ่ายเรียกร้อง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ทุกเหล่าทัพเห็นตรงกันว่า การปฏิวัติเป็นแนวทางอื่น ยังไม่น่าที่จะแก้ไขปัญหาประเทศได้ ซึ่งทุกส่วนและทุกเหล่าทัพเห็นตรงกันว่า จะยึดแนวทางหลัก 3 ประการ เพื่อประคองให้สถานการณ์ประเทศชาติ ผ่านวิกฤติไปได้
**ผบ.สส.ยันปกป้องชาติศาสน์กษัตริย์
พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. กล่าวว่า ตนกับผบ.เหล่าทัพ หารือกันตลอด ซึ่งทุกคนคิดเหมือนกัน คือ ยึดมั่นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ ราชบัลลังก์ และประชาชน ไม่เปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ เราทำทุกอย่างตามอำนาจหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม เรื่องของชาติเป็นเรื่องของประชาชน 63 ล้านคน กองทัพเป็นสถาบันหนึ่งของความเป็นชาติ ในการรักษาอธิปไตย และความมั่นคง ส่วนการปกป้องสถาบันกษัตริย์ กองทัพปกป้องทั้งทางตรงและทางอ้อม จะเทิดทูนสถาบันฯ ยิ่งกว่าชีวิต แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า กองทัพมีวิธีอย่างไรกับบุคคลที่โจมตีสถาบันฯ
พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวด้วยว่าขณะนี้กองทัพเตรียมกำลังตามจุดต่างๆ เพื่อให้ความปลอดภัย ไม่ให้เกิดความสูญเสีย
"สถานการณ์จะไม่ถึงขั้นนองเลือด ประเทศต้องเดินต่อไป อยากให้ทุกคนช่วยกันเสียสละ ด้วยความรัก ความสามัคคี บางเรื่องเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ไม่มีคนใดอยู่นอกเหนือกฎหมาย ความผิดถูก ขอให้กระบวนการศาลเป็นผู้ตัดสิน อย่าใช้ความรู้สึก กองทัพมั่นใจในความกล้าหาญที่ทำทุกอย่าง เพื่อชาติ ราชบัลลังก์ และประชาชน ซึ่งความกล้าหาญนี้บางครั้งต้องเจ็บปวด แต่สิ่งที่ต้องทำเพื่อชาติและส่วนรวม ผบ.เหล่าทัพ มั่นใจในการเสียสละ ขอให้ทุกคนมั่นใจว่าสถานการณ์อย่างนี้ เราทำในสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อชาติ" พล.อ.ทรงกิตติกล่าว
เมื่อถามว่า ประชาชนต้องการให้ทหารออกมาแก้ไขปัญหา พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาแต่ละเรื่องมีองค์กรเกี่ยวข้องดำเนินการอยู่ เมื่อถามว่า ในแง่ของกระบวนการยุติธรรม พ.ต.ท. ทักษิณ ต้องกลับมารับโทษหรือไม่ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ทุกคนในประเทศเป็นคนไทย ต้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ใครผิด ใครถูก ต้องให้ศาลตัดสิน
**อ้างไม่มีอำนาจจัดการแม้วหมิ่นฯ
เมื่อถามถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์พาดพิงสถาบันฯ ผ่านสื่อต่างประเทศ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่ารู้สึกเหมือนคนไทยทุกคน แต่ตนไม่มีอำนาจหน้าที่ไปตัดสินว่า ใครผิดหรือถูก เมื่อถามว่า กองทัพจะปล่อยให้มีการชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ไม่ใช่ ปัญหาของประเทศคือการแก้ไข โดยบุคคลรับผิดชอบ ขณะนี้ทุกคนเอาทุกอย่างมารวมกัน แล้วกำหนดให้เป็นหน้าที่ทหาร
เมื่อถามว่า ผบ.เหล่าทัพ จะจับมือไปกดดันนายกรัฐมนตรี หรือไม่ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ไม่เคยกดดัน และที่ ผบ.ทบ. พูดออกโทรทัศน์ ก็ไม่ใช่กดดัน และผบ.ทบ.ไม่ได้พูดให้นายกฯ ลาออก ท่านแค่บอกว่า ถ้าเป็นท่านลาออกไปแล้ว ต้องคิดต่อไป
เมื่อถามว่าพันธมิตรฯ บุกยึดสถานที่ราชการทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ โดยเฉพาะจะบุกล้อมกองทัพไทย พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า เขาไม่ได้ยึด คิดว่าคงไม่มีใครเข้ามาบุกรุกสถานที่ทหาร ทั้งนี้ นายกฯ ไม่ได้ติดต่อขอใช้สถานที่กองทัพไทยในการประชุม ครม. และเป็นธรรมชาติที่ ครม.เห็นคนเยอะอย่างนี้ คงไม่ประสานมา
เมื่อถามว่า ยืนยันจุดยืนที่กองทัพจะไม่ปฏิวัติ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า "ยืนยัน นั่งยัน นอนยัน อยากถามว่าต้องการให้ทหารออกมาปฏิวัติอีกหรือ"
**ผบ.ทร. ยังหวังจะมีการเจรจา
พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. กล่าวว่า กองทัพมีจุดยืนคำนึง 3 ประการ 1.ดูแลปกป้องสถาบันหลักของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2.ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน เรารับมอบหมายให้ดูแลความสงบเรียบร้อย ต้องการให้บุคคลที่มีความขัดแย้ง ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ว่าเป็นฝ่ายใด ไม่ให้ประชาชนบาดเจ็บ 3.การดำเนินการใดควรเป็นไปตามครรลองของกฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก ซึ่ง ผบ.เหล่าทัพ ผบ.สส.และปลัดกระทรวงกลาโหมมีความเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันว่า ยึดแนวทางใน 3 ประการนี้
เมื่อถามว่าทางออกของปัญหาที่ดีที่สุดคืออะไร พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าตนฟังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งท่านพูดดี โดยบอกว่า แม้เป็นเรื่องยาก แต่ควรจะพูดจากัน ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับตนว่าต้องพูดจากัน
**เตรียมให้สมชายพิจารณาตัวเอง
พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณี พันธมิตรฯ ขีดเส้นตาย 3 วันให้นายกฯ ลาออกว่า ทุกฝ่ายต้องติดตามสถานการณ์ ผบ.เหล่าทัพ ยืนยันว่าไม่ว่าเป็นฝ่ายอดีตนายกฯทักษิณ หรือ พันธมิตรฯ ทุกคนมีปัญหามีชนักติดตัวกันพอสมควร และมีคดีติดตัวกันทั้งนั้น ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรมว่าที่สุดแล้วเป็นอย่างไร เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมยังเป็นที่พึ่งได้
ทั้งนี้ ทหารคงต้องติดตามเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงไป และไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมายขึ้น โดยเฉพาะเรื่องมือที่ 3 มาก่อความวุ่นวาย
"สิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวหาว่า ทหารไม่ทำอะไร แต่สิ่งที่ทหารทำอยู่ ถือว่ายิ่งใหญ่กว่าที่เขาเรียกร้อง เพราะความอดทนไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เราทำในสิ่งที่เรียกร้องอยากถามว่าที่สุดแล้วได้อะไรขึ้นมา ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ จะลุกลามเกิดการนองเลือดนั้น กลุ่มพันธมิตรฯ พยายามที่จะให้เกิดตรงนี้ขึ้นมา อยากให้มีปัญหาเพื่อให้ทหารออกมาให้ได้ ดังนั้น อยากให้มองไปข้างหน้า" ปลัดกระทรวงกลาโหมกล่าว
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตนเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการเอาระบบการเมืองใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหา เป้าหมายคือต้องการความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ ไม่อยากเห็นการคอร์รัปชั่นการทุจริต สิ่งที่เขาต้องการ ทุกฝ่ายคิดเหมือนกัน แต่วิธีดำเนินการไม่เหมือนกัน อย่าบีบให้เราต้องมาทำในสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่เป้าหมายของประเทศชาติ ทั้งนี้ เชื่อว่ายังสามารถคุยกันได้ทางออกที่ดีที่สุดคือการเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย ถอยกันคนละก้าวมาพูดคุยหาทางออกให้บ้านเมือง หรือหาคนกลางช่วยกันพิจารณาทางออก ขณะนี้ดูอยู่ว่าจะหาใครมาเป็นคนกลาง
เมื่อถามว่า ผบ.เหล่าทัพมีความเป็นห่วงความรู้สึกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะไม่ทรงสบายใจ ที่ประชาชนทะเลาะกัน พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า สถาบันสูงสุดที่เราให้ความเคารพ เราไม่อยากให้อะไรไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท และใกล้ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา อยากขอร้องให้ช่วยกันรักษาน้ำพระทัยของพระองค์ท่าน อย่าไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อถามว่า ผบ.เหล่าทัพ มีโอกาสที่จะจับมือกันเดินไปหานายกฯ พิจารณาตัวเอง แก้วิกฤติชาติหรือไม่ พล.อ อภิชาตกล่าวว่าต้องพูดคุยกับผบ. เหล่าทัพอีกครั้ง สำหรับการหาทางออกแต่หากบ้านเมืองเกิดวิกฤติมาก คงต้องมีการพูดคุยกัน
**"สุชาติ"พอใจดูแลพันธมิตรฯ
พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.)กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่ กทม.ภายหลังกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดทำเนียบรัฐบาลชั่วคราวในท่าอากาศยานกรุงเทพ (สนามบินดอนเมือง) ว่า ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.สาโรช พรหมเจริญ ผบก.น.2 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการควบคุมสั่งการการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างใกล้ชิดคงไม่น่ามีปัญหาอะไร หากผู้ชุมนุมอยู่ในความสงบอยู่ในกรอบของกฎหมายเคารพกติกาบ้านเมือง อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวก็มีหน่วยงานทหารเป็นผู้รับผิดชอบดูแลอยู่ หากจะเคลื่อนย้ายไปปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมินั้นได้ประสานไปยังตำรวจภูธรภาค 1 แล้ว
อย่างไรก็ตามจะมีการปรับเปลี่ยนกำลังและสืบสวนสถานการณ์ด้านการข่าวแบบชั่วโมงต่อชั่วโมงให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สำหรับสถานการณ์ในภาพรวมการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 23-24 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น ผบช.น.กล่าวว่า พอใจในระดับหนึ่งเนื่องจากไม่มีผู้บาดเจ็บและตำรวจก็สามารถรักษาพื้นที่ตั้งไว้ได้ดี แม้จะมีการตัดน้ำตัดไฟก็ถือว่าเป็นการช่วยชาติ ส่วนกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมชกหน้านายตำรวจระดับ รอง ผบก.นั้นคงไม่มีมีการแจ้งความดำเนินคดีใดๆ เพราะเรื่องแค่นี้เป็นเรื่องเล็กน้อยขอกันกินยังมากกว่านี้ คิดเสียว่าเดินชนเสาแล้วกันอย่าไปเครียดกับมัน
**ตำรวจหยุดเล่นบทโหด**
ผบช.น.กล่าวถึงการหารือร่วมกับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย (มท.1) ที่ผ่านมานั้น มีการกำชับให้ตำรวจใช้ความละมุนละม่อมและอดทนให้มากที่สุดอย่าได้ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมโดยเด็ดขาด พร้อมเน้นย้ำให้ดูแลกลุ่มมือที่ 3 ไม่ให้เข้ามาแทรกแซงก่อความวุ่นวายพร้อมสั่งการเพิ่มจุดตรวจเข้ม 53 จุดทั่วกรุงเทพฯ ส่วนการขนคนเข้ามาเป็นจำนวนมากนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกคำสั่งให้ตำรวจทางหลวงและตำรวจภูธรภาคต่างๆ ตั้งด่านตรวจค้นอาวุธ แต่ไม่ได้สกัดกลุ่มผู้ชุมนุมแต่อย่างใด
**"อำนวย"ขู่ดำเนินคดีพันธมิตรฯ
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่ กทม. ภายหลังกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว (สนามบินดอนเมือง) ว่า การที่กลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาปิดสถานที่ราชการต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ นั้นเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมายชัดเจน ไม่ใช่การชุมนุมที่สงบตามสิทธิรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 เพราะเมื่อวันที่ 24 พ.ย. เจ้าหน้าที่ก็สามารถจับกุมกลุ่มคนที่พกอาวุธมาร่วมชุมนุมดำเนินคดีที่ สน.นางเลิ้ง รวมทั้งการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ทำร้ายร่างกาย พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์ รอง ผบก.น.4 จนได้รับบาดเจ็บ ถือเป็นความผิดชัดเจน สั่งการให้ดำเนินการคดีต่อทุกคนที่มีส่วนร่วม รวมถึงแกนนำที่นำประชาชนออกมาชุมนุม หากการตรวจสอบจากวิดีทัศน์พบว่ามีว่ามีส่วนเกี่ยวข้องจะดำเนินคดีด้วย
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวอีกว่า ในส่วนของพื้นที่ดอนเมืองนั้น ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สาโรจน์ พรหมเจริญ ผบก.น.2 ดำเนินคดีต่อกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ทำร้ายร่างกายรอง ผบก.น.4 ส่วน 6 ชายฉกรรจ์ที่ยึดรถเมล์สาย 53 และตรวจพบอาวุธทั้งปืนและระเบิดนั้นได้มอบหมายให้ พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผกก.สน.นางเลิ้ง ดำเนินคดีอย่างเฉียบขาด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯ นั้นไม่ใช่การชุมนุมที่สงบเพราะเป็นการสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง
**ท้าพันธมิตรใช้ความรุนแรง**
“แต่ส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจนั้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.ได้เน้นย้ำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่าใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ใช้ความอดทนอดกลั้นถึงที่สุด แต่หากกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการใช้ความรุนแรงใดๆ ขอให้มาลงที่ตำรวจ ขอให้ตำรวจเป็นที่รองรับอารมณ์นั้นแทนพี่น้องประชาชน เพราะเราเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สีทนได้” พล.ต.ต.อำนวยกล่าวติดตลก
ส่วนกรณีที่ ที่ประชุม 4 ฝ่าย มีมติเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญวันที่ 8-9 ธ.ค.นี้ เพื่อพิจารณาเอกสารสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบอาเซียนว่า ถ้าเปิดในช่วงเวลาดังกล่าว ยังสามารถพิจารณากฎหมายสำคัญในการทำสนธิสัญญาที่จะใช้ในการประชุมอาเซียน ที่จ.เชียงใหม่ได้ทัน แต่ขึ้นอยู่ว่า จะสามารถเปิดการประชุมได้หรือไม่ เพราะพันธมิตรฯ คงไปปิดล้อมอีก
"บุกเข้ามาทำอย่างนี้ คิดหรือไม่ว่าได้ทำความเสียหายให้กับทางราชการ แต่บังเอิญบ้านเราทำเหมือนเคยชิน เพราะการบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา ผมอยากให้คิดดูว่า ทำเช่นนี้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ผมต้องการหาคนที่จะให้คำตอบได้ว่า ทำเพื่ออะไร" นายสมชาย กล่าว
ผู้สื่อข่าวบอกว่าพันธมิตรฯต้องการให้นายกฯลาออก นายสมชาย กล่าวว่า ออกหรือไม่ออก ต้องแล้วแต่ประชาชน เพราะตนมาจากการเลือกตั้ง และได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นคนที่จะตัดสินใจให้ตนออก คือประชาชนส่วนใหญ่ คิดกันง่ายๆ ตามหลักประชาธิปไตย เราต้องยึดมั่นระบอบประชาธิปไตย ถ้าสุขภาพไม่ดี จำเป็นต้องลาออกก็เป็นอีกเรื่อง แต่การบังคับให้ออก คนที่บังคับให้ออกต้องเป็นประชาชนทั้งประเทศ รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดว่าใครล้มล้างรัฐบาลถือเป็นกบฏ ดังนั้นกลุ่มพันธมิตรฯจะบังคับให้ตนออกคงไม่ได้
ต่อข้อถามว่า จะใช้มาตรการใดกับกลุ่มพันธมิตรฯ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อกลับไป จะหารือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงว่าจะทำอย่างไร คงไม่คิดเรื่องนี้คนเดียว คนไทยด้วยกันน่าจะคุยกันรู้เรื่อง โดยยึดผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก แต่การชุมนุมอย่างนี้ไม่มีเหตุผล
**ไม่คิดเจรจากับพันธมิตรฯ
เมื่อถามว่าจะคุยกับแกนนำพันธมิตรฯ หรือไม่นายสมชาย กล่าวว่า ถ้าคุยรู้เรื่องคงคุยไปนานแล้ว ตนจึงถามว่าวัตถุประสงค์ของพันธมิตรฯ คืออะไร อย่างไรก็ตามได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตลอดเวลา และทางเจ้าหน้าที่ยืนยันว่า ยังควบคุมสถานการณ์ได้
"เครื่องบินลงสนามบินไหน ผมก็จะลงที่นั่น ปิดล้อมสนามบินเสียหายเท่าไร ใครจะรับผิดชอบ ผมเห็นว่าควรช่วยกันเพื่อประเทศชาติ ทิ้งประโยชน์ส่วนตัว ช่วยเหลือประโยชน์ส่วนรวมก่อน แล้วคิดหรือยังว่า ถ้าให้ผมลาออก จะให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี ผมมาเปรูได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น แม้แต่ รปภ. ก็จัดให้เกิดความมั่นใจ ผมนั่งคิด ถ้ากลับไปบ้านแล้วน่าเศร้าใจ มีคนมารอขับไล่ ดูแล้วไม่กล้าไปบอกหรือพูดให้ใครฟัง เราไม่ให้เกียรติกับคนไทยด้วยกันเอง แต่ไม่เป็นไร ตอนนี้ผมต้องใช้ความอดทน ไม่ต้องคิดมากว่า มีเกียรติหรือไม่ ขอให้ทำงานได้ก็พอ" นายกรัฐมนตรี กล่าว
**สมชายอาจไม่ลงสุวรรณภูมิ
รายงานข่าวแจ้งว่า วานนี้ (25 พ.ย.) คณะของนายสมชาย จะเดินทางออกจากเปรู ถึงกรุงเทพฯ ช้ากว่ากำหนดการเดิมประมาณ 7 ชั่วโมง เนื่องจากรถลากจูงที่ใช้ระบบไฮโดรลิกล็อกล้อเครื่องบิน เพื่อที่จะออกไปยังรันเวย์ เกิดเหตุขัดข้องต้องรอการซ่อม ทั้งนี้จากเดิมคณะของนายสมชาย จะเดินทางถึงประเทศไทย ในวันที่ 26 พ.ย. เวลา 11.30 น. โดยเครื่องจะลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ คณะของนายสมชาย ได้เช่าเหมาลำเครื่องของการบินไทยเป็นพาหนะในการเดินทาง ดังนั้นเครื่องบินจะลงสนามบินแห่งไหนก็ได้ หากที่สุวรรณภูมิมีปัญหาอาจไปลงที่เชียงใหม่ก็ได้ โดยกัปตันสามารถประสานเจ้าหน้าที่วิทยุการบินได้ หากมีความจำเป็น
** ประชุมครม.ที่ไหนยังไม่รู้
ส่วนการประชุมครม.ที่นายกรัฐมนตรี แจ้งเลขาธิการครม.ให้แจ้ง เลื่อนการประชุมจากวันอังคารที่ 25 พ.ย. มาเป็นวันพุธที่ 26 พ.ย.นั้น นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการครม.เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทุกท่านแล้วว่า นายกฯนัดประชุม ครม.ในวันพุธที่ 26 พ.ย. ที่ทำเนียบชั่วคราว ดอนเมือง แต่เมื่อพันธมิตรฯยึดพื้นที่ไว้ จึงได้ประสานไปยังกองทัพไทย เพื่อขอใช้สถานที่ประชุมครม. แต่เวลานี้สถานการณ์ต่างๆยังไม่นิ่ง เพราะพันธมิตรฯได้ไปปิดล้อมบริเวณทางเข้ากองบัญชาการกองทัพไทยอีก จึงไม่สามารถตอบได้ว่า จะประชุม ครม.ที่ไหน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่นายกฯ เลื่อนการเดินทางกลับถึงค่ำของวันที่ 26 พ.ย. มีคำสั่งงดการประชุม ครม.หรือไม่ เลขาธิการครม. กล่าวว่า เรื่องการงดประชุมเป็นอำนาจของนายกฯ แต่เวลานี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากนายกฯ เพื่อของดการประชุม จึงไม่สามารถตอบอะไรได้ชัดเจน ต้องรอการติดต่อจากนายกฯ อย่างเดียว
** "อนุพงษ์"ย้ำคำเดิมไม่ปฏิวัติ
เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ (25 พ.ย.) ที่กองทัพบก พล.อ.อนพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า ต้องแยกเป็น 2 ส่วน ในการทำให้สังคมสงบเรียบร้อย ส่วนหนึ่งเราจัดกำลังร่วมกับตำรวจ มีหน้าที่หลักไปร่วมดูแลความสงบเรียบร้อย เดิมกองทัพดูอยู่ในพื้นที่ที่มีการชุมนุม ซึ่งจัดจุดที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยเพิ่มอีกหลายจุดร่วมกับตำรวจ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ
อีกส่วนคือ การดูแลกรณีที่จะมีกลุ่มพลังความเห็นต่างกันมาปะทะกัน เรามีแผนเตรียมไว้รองรับ แต่ขณะนี้ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะเกิด แต่เราให้กำลังเตรียมพร้อมไว้แล้ว
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวด้วยว่า จากการประชุม คตร. ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่าตำรวจจะไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการลงไป ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน มีความประนีประนอม อะลุ้มอะล่วย อยู่แล้ว ส่วนผู้ชุมนุม ก็ไม่ใช้ความรุนแรง ทั้งสองฝ่ายไม่มีสัญญาณ หรือสิ่งบอกเหตุว่าจะมีความรุนแรง ดังนั้น ตำรวจคงไม่ต้องอดทน เพราะทำงานตามปกติ
เมื่อถามว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพจะดำเนินการอย่างไร เพราะพันธมิตรฯประกาศจะไปล้อมกองทัพไทย พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ผู้บัญชาการเหล่าทัพมีการพูดคุย เมื่อเช้าวันที่ 25 พ.ย.ที่ผ่านมา ตั้งแต่ปลัดกลาโหม ผบ.สส., ผบ.ทร. ได้มีการพูดคุยและประเมินสถานการณ์ เห็นว่าขณะนี้อยู่ในสถานะที่ เป็นการแสดงความคิดเห็น ไม่มีความรุนแรง
"จุดยืนกองทัพเห็นตรงกันว่า 1. ทหารทุกเหล่าทัพจะดูแลประเทศชาติบ้านเมือง โดยมีแนวคิดดูแลสถาบันหลักของชาติไว้ให้ได้ สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือประชาชนที่ต้องมีความสงบเรียบร้อย 2.ส่วนเรื่องประกันว่าจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ผบ.เหล่าทัพเห็นตรงกันว่า จะใช้มาตรการและศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่ เพื่อไม่ให้คนมาปะทะกัน ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น และ 3.ยึดแนวทางกระบวนการยุติธรรม หรือกฎหมายเป็นหลักในการช่วยกันแก้ไขปัญหาสถานการณ์บ้านเมือง"พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
เมื่อถามว่าแสดงว่าทหารจะไม่ใช้การปฏิวัติอย่างที่หลายฝ่ายเรียกร้อง พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ทุกเหล่าทัพเห็นตรงกันว่า การปฏิวัติเป็นแนวทางอื่น ยังไม่น่าที่จะแก้ไขปัญหาประเทศได้ ซึ่งทุกส่วนและทุกเหล่าทัพเห็นตรงกันว่า จะยึดแนวทางหลัก 3 ประการ เพื่อประคองให้สถานการณ์ประเทศชาติ ผ่านวิกฤติไปได้
**ผบ.สส.ยันปกป้องชาติศาสน์กษัตริย์
พล.อ. ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. กล่าวว่า ตนกับผบ.เหล่าทัพ หารือกันตลอด ซึ่งทุกคนคิดเหมือนกัน คือ ยึดมั่นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติ ราชบัลลังก์ และประชาชน ไม่เปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ เราทำทุกอย่างตามอำนาจหน้าที่ ตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงพ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม เรื่องของชาติเป็นเรื่องของประชาชน 63 ล้านคน กองทัพเป็นสถาบันหนึ่งของความเป็นชาติ ในการรักษาอธิปไตย และความมั่นคง ส่วนการปกป้องสถาบันกษัตริย์ กองทัพปกป้องทั้งทางตรงและทางอ้อม จะเทิดทูนสถาบันฯ ยิ่งกว่าชีวิต แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า กองทัพมีวิธีอย่างไรกับบุคคลที่โจมตีสถาบันฯ
พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวด้วยว่าขณะนี้กองทัพเตรียมกำลังตามจุดต่างๆ เพื่อให้ความปลอดภัย ไม่ให้เกิดความสูญเสีย
"สถานการณ์จะไม่ถึงขั้นนองเลือด ประเทศต้องเดินต่อไป อยากให้ทุกคนช่วยกันเสียสละ ด้วยความรัก ความสามัคคี บางเรื่องเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ไม่มีคนใดอยู่นอกเหนือกฎหมาย ความผิดถูก ขอให้กระบวนการศาลเป็นผู้ตัดสิน อย่าใช้ความรู้สึก กองทัพมั่นใจในความกล้าหาญที่ทำทุกอย่าง เพื่อชาติ ราชบัลลังก์ และประชาชน ซึ่งความกล้าหาญนี้บางครั้งต้องเจ็บปวด แต่สิ่งที่ต้องทำเพื่อชาติและส่วนรวม ผบ.เหล่าทัพ มั่นใจในการเสียสละ ขอให้ทุกคนมั่นใจว่าสถานการณ์อย่างนี้ เราทำในสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อชาติ" พล.อ.ทรงกิตติกล่าว
เมื่อถามว่า ประชาชนต้องการให้ทหารออกมาแก้ไขปัญหา พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาแต่ละเรื่องมีองค์กรเกี่ยวข้องดำเนินการอยู่ เมื่อถามว่า ในแง่ของกระบวนการยุติธรรม พ.ต.ท. ทักษิณ ต้องกลับมารับโทษหรือไม่ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ทุกคนในประเทศเป็นคนไทย ต้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ใครผิด ใครถูก ต้องให้ศาลตัดสิน
**อ้างไม่มีอำนาจจัดการแม้วหมิ่นฯ
เมื่อถามถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้สัมภาษณ์พาดพิงสถาบันฯ ผ่านสื่อต่างประเทศ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่ารู้สึกเหมือนคนไทยทุกคน แต่ตนไม่มีอำนาจหน้าที่ไปตัดสินว่า ใครผิดหรือถูก เมื่อถามว่า กองทัพจะปล่อยให้มีการชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ไม่ใช่ ปัญหาของประเทศคือการแก้ไข โดยบุคคลรับผิดชอบ ขณะนี้ทุกคนเอาทุกอย่างมารวมกัน แล้วกำหนดให้เป็นหน้าที่ทหาร
เมื่อถามว่า ผบ.เหล่าทัพ จะจับมือไปกดดันนายกรัฐมนตรี หรือไม่ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า ไม่เคยกดดัน และที่ ผบ.ทบ. พูดออกโทรทัศน์ ก็ไม่ใช่กดดัน และผบ.ทบ.ไม่ได้พูดให้นายกฯ ลาออก ท่านแค่บอกว่า ถ้าเป็นท่านลาออกไปแล้ว ต้องคิดต่อไป
เมื่อถามว่าพันธมิตรฯ บุกยึดสถานที่ราชการทำเกินกว่าเหตุหรือไม่ โดยเฉพาะจะบุกล้อมกองทัพไทย พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า เขาไม่ได้ยึด คิดว่าคงไม่มีใครเข้ามาบุกรุกสถานที่ทหาร ทั้งนี้ นายกฯ ไม่ได้ติดต่อขอใช้สถานที่กองทัพไทยในการประชุม ครม. และเป็นธรรมชาติที่ ครม.เห็นคนเยอะอย่างนี้ คงไม่ประสานมา
เมื่อถามว่า ยืนยันจุดยืนที่กองทัพจะไม่ปฏิวัติ พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า "ยืนยัน นั่งยัน นอนยัน อยากถามว่าต้องการให้ทหารออกมาปฏิวัติอีกหรือ"
**ผบ.ทร. ยังหวังจะมีการเจรจา
พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. กล่าวว่า กองทัพมีจุดยืนคำนึง 3 ประการ 1.ดูแลปกป้องสถาบันหลักของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2.ในฐานะที่เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน เรารับมอบหมายให้ดูแลความสงบเรียบร้อย ต้องการให้บุคคลที่มีความขัดแย้ง ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ว่าเป็นฝ่ายใด ไม่ให้ประชาชนบาดเจ็บ 3.การดำเนินการใดควรเป็นไปตามครรลองของกฎหมาย หรือกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก ซึ่ง ผบ.เหล่าทัพ ผบ.สส.และปลัดกระทรวงกลาโหมมีความเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันว่า ยึดแนวทางใน 3 ประการนี้
เมื่อถามว่าทางออกของปัญหาที่ดีที่สุดคืออะไร พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า เมื่อช่วงเช้าตนฟังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งท่านพูดดี โดยบอกว่า แม้เป็นเรื่องยาก แต่ควรจะพูดจากัน ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับตนว่าต้องพูดจากัน
**เตรียมให้สมชายพิจารณาตัวเอง
พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณี พันธมิตรฯ ขีดเส้นตาย 3 วันให้นายกฯ ลาออกว่า ทุกฝ่ายต้องติดตามสถานการณ์ ผบ.เหล่าทัพ ยืนยันว่าไม่ว่าเป็นฝ่ายอดีตนายกฯทักษิณ หรือ พันธมิตรฯ ทุกคนมีปัญหามีชนักติดตัวกันพอสมควร และมีคดีติดตัวกันทั้งนั้น ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรมว่าที่สุดแล้วเป็นอย่างไร เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมยังเป็นที่พึ่งได้
ทั้งนี้ ทหารคงต้องติดตามเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายลงไป และไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดหมายขึ้น โดยเฉพาะเรื่องมือที่ 3 มาก่อความวุ่นวาย
"สิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ กล่าวหาว่า ทหารไม่ทำอะไร แต่สิ่งที่ทหารทำอยู่ ถือว่ายิ่งใหญ่กว่าที่เขาเรียกร้อง เพราะความอดทนไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ เราทำในสิ่งที่เรียกร้องอยากถามว่าที่สุดแล้วได้อะไรขึ้นมา ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ จะลุกลามเกิดการนองเลือดนั้น กลุ่มพันธมิตรฯ พยายามที่จะให้เกิดตรงนี้ขึ้นมา อยากให้มีปัญหาเพื่อให้ทหารออกมาให้ได้ ดังนั้น อยากให้มองไปข้างหน้า" ปลัดกระทรวงกลาโหมกล่าว
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า ตนเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการเอาระบบการเมืองใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหา เป้าหมายคือต้องการความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ ไม่อยากเห็นการคอร์รัปชั่นการทุจริต สิ่งที่เขาต้องการ ทุกฝ่ายคิดเหมือนกัน แต่วิธีดำเนินการไม่เหมือนกัน อย่าบีบให้เราต้องมาทำในสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่เป้าหมายของประเทศชาติ ทั้งนี้ เชื่อว่ายังสามารถคุยกันได้ทางออกที่ดีที่สุดคือการเจรจาทั้ง 2 ฝ่าย ถอยกันคนละก้าวมาพูดคุยหาทางออกให้บ้านเมือง หรือหาคนกลางช่วยกันพิจารณาทางออก ขณะนี้ดูอยู่ว่าจะหาใครมาเป็นคนกลาง
เมื่อถามว่า ผบ.เหล่าทัพมีความเป็นห่วงความรู้สึกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าจะไม่ทรงสบายใจ ที่ประชาชนทะเลาะกัน พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า สถาบันสูงสุดที่เราให้ความเคารพ เราไม่อยากให้อะไรไประคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท และใกล้ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา อยากขอร้องให้ช่วยกันรักษาน้ำพระทัยของพระองค์ท่าน อย่าไปทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อถามว่า ผบ.เหล่าทัพ มีโอกาสที่จะจับมือกันเดินไปหานายกฯ พิจารณาตัวเอง แก้วิกฤติชาติหรือไม่ พล.อ อภิชาตกล่าวว่าต้องพูดคุยกับผบ. เหล่าทัพอีกครั้ง สำหรับการหาทางออกแต่หากบ้านเมืองเกิดวิกฤติมาก คงต้องมีการพูดคุยกัน
**"สุชาติ"พอใจดูแลพันธมิตรฯ
พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.)กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่ กทม.ภายหลังกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดทำเนียบรัฐบาลชั่วคราวในท่าอากาศยานกรุงเทพ (สนามบินดอนเมือง) ว่า ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.สาโรช พรหมเจริญ ผบก.น.2 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการควบคุมสั่งการการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างใกล้ชิดคงไม่น่ามีปัญหาอะไร หากผู้ชุมนุมอยู่ในความสงบอยู่ในกรอบของกฎหมายเคารพกติกาบ้านเมือง อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวก็มีหน่วยงานทหารเป็นผู้รับผิดชอบดูแลอยู่ หากจะเคลื่อนย้ายไปปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมินั้นได้ประสานไปยังตำรวจภูธรภาค 1 แล้ว
อย่างไรก็ตามจะมีการปรับเปลี่ยนกำลังและสืบสวนสถานการณ์ด้านการข่าวแบบชั่วโมงต่อชั่วโมงให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สำหรับสถานการณ์ในภาพรวมการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 23-24 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น ผบช.น.กล่าวว่า พอใจในระดับหนึ่งเนื่องจากไม่มีผู้บาดเจ็บและตำรวจก็สามารถรักษาพื้นที่ตั้งไว้ได้ดี แม้จะมีการตัดน้ำตัดไฟก็ถือว่าเป็นการช่วยชาติ ส่วนกรณีกลุ่มผู้ชุมนุมชกหน้านายตำรวจระดับ รอง ผบก.นั้นคงไม่มีมีการแจ้งความดำเนินคดีใดๆ เพราะเรื่องแค่นี้เป็นเรื่องเล็กน้อยขอกันกินยังมากกว่านี้ คิดเสียว่าเดินชนเสาแล้วกันอย่าไปเครียดกับมัน
**ตำรวจหยุดเล่นบทโหด**
ผบช.น.กล่าวถึงการหารือร่วมกับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย (มท.1) ที่ผ่านมานั้น มีการกำชับให้ตำรวจใช้ความละมุนละม่อมและอดทนให้มากที่สุดอย่าได้ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมโดยเด็ดขาด พร้อมเน้นย้ำให้ดูแลกลุ่มมือที่ 3 ไม่ให้เข้ามาแทรกแซงก่อความวุ่นวายพร้อมสั่งการเพิ่มจุดตรวจเข้ม 53 จุดทั่วกรุงเทพฯ ส่วนการขนคนเข้ามาเป็นจำนวนมากนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกคำสั่งให้ตำรวจทางหลวงและตำรวจภูธรภาคต่างๆ ตั้งด่านตรวจค้นอาวุธ แต่ไม่ได้สกัดกลุ่มผู้ชุมนุมแต่อย่างใด
**"อำนวย"ขู่ดำเนินคดีพันธมิตรฯ
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.กล่าวถึงการดูแลความปลอดภัยรักษาความสงบเรียบร้อยพื้นที่ กทม. ภายหลังกลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดทำเนียบรัฐบาลชั่วคราว (สนามบินดอนเมือง) ว่า การที่กลุ่มพันธมิตรฯ ออกมาปิดสถานที่ราชการต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ นั้นเป็นการกระทำที่เข้าข่ายผิดกฎหมายชัดเจน ไม่ใช่การชุมนุมที่สงบตามสิทธิรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 เพราะเมื่อวันที่ 24 พ.ย. เจ้าหน้าที่ก็สามารถจับกุมกลุ่มคนที่พกอาวุธมาร่วมชุมนุมดำเนินคดีที่ สน.นางเลิ้ง รวมทั้งการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ทำร้ายร่างกาย พ.ต.อ.พชร บุญญสิทธิ์ รอง ผบก.น.4 จนได้รับบาดเจ็บ ถือเป็นความผิดชัดเจน สั่งการให้ดำเนินการคดีต่อทุกคนที่มีส่วนร่วม รวมถึงแกนนำที่นำประชาชนออกมาชุมนุม หากการตรวจสอบจากวิดีทัศน์พบว่ามีว่ามีส่วนเกี่ยวข้องจะดำเนินคดีด้วย
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวอีกว่า ในส่วนของพื้นที่ดอนเมืองนั้น ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สาโรจน์ พรหมเจริญ ผบก.น.2 ดำเนินคดีต่อกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ทำร้ายร่างกายรอง ผบก.น.4 ส่วน 6 ชายฉกรรจ์ที่ยึดรถเมล์สาย 53 และตรวจพบอาวุธทั้งปืนและระเบิดนั้นได้มอบหมายให้ พ.ต.อ.รังสรรค์ ประดิษฐผล ผกก.สน.นางเลิ้ง ดำเนินคดีอย่างเฉียบขาด ซึ่งจะเห็นได้ว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯ นั้นไม่ใช่การชุมนุมที่สงบเพราะเป็นการสร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง
**ท้าพันธมิตรใช้ความรุนแรง**
“แต่ส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจนั้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผบช.น.ได้เน้นย้ำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่าใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม ใช้ความอดทนอดกลั้นถึงที่สุด แต่หากกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการใช้ความรุนแรงใดๆ ขอให้มาลงที่ตำรวจ ขอให้ตำรวจเป็นที่รองรับอารมณ์นั้นแทนพี่น้องประชาชน เพราะเราเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น สีทนได้” พล.ต.ต.อำนวยกล่าวติดตลก