เมื่อเวลา 08.30 น. วันวานนี้(1ต.ค.) ที่กองทัพอากาศ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ทำพิธีรับส่งหน้าที่ให้กับ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. คนใหม่ โดย พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวตอนหนึ่งว่าจะปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นประโยชน์ต่อกองทัพอากาศ ยึดมั่นความถูกต้องชอบธรรม ขอให้กำลังพลปฏิบัติหน้าที่ด้วยสติปัญญา ผบ.ทอ.ท่านก่อน และอดีตผู้บังคับบัญชา ได้วางรากฐานไว้เป็นอย่างดี เราต้องสืบสานให้บรรลุเป้าหมาย ความสำเร็จ คือกองทัพอากาศเจริญก้าวหน้าไปสู่กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค
พล.อ.อ.อิทธพร ให้สัมภาษณ์ถึงจุดยืนของกองทัพอากาศ ในการป้องกันการเมืองเข้ามาแทรกแซงว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มาตามครรลองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจุดยืนของกองทัพอากาศ คือปฏิบัติหน้าที่ในกรอบภาระหน้าที่ กองทัพยังเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของรัฐบาล พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบอย่างเต็มความสามารถ ส่วนรัฐบาลเมื่อมีคณะรัฐมนตรี ก็ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา กองทัพต้องติดตาม และนำนโยบายรัฐบาล รมว.กลาโหม รวมถึง ผู้บัญชาการกองทัพไทย มาปรับปรุงให้สอดคล้องกับกองทัพอากาศวางแผนไว้
"กองทัพอากาศวางแผนตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งผู้บัญชาการท่านที่ผ่านมา อนุมัติยุทธศาสตร์ที่เราต้องเดินไปข้างหน้า ระยะเวลา ทั้งสิ้น 12 ปีโดยแบ่งเป็น 3 ห้วง ห้วงละ 4 ปี ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2551 เป็นการสานงานต่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะเราต้องการพัฒนากองทัพอากาศให้เป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคให้ได้ใน 12 ปีข้างหน้า"
พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า เมื่อรับตำแหน่งแล้ว ต้องดูอำนาจหน้าที่ และบทบาทว่าต้องทำตัวอย่างไร คิดว่าจะนำพากองทัพอากาศไปได้ ต้องมีจุดยืนและมีแนวทางดำเนินการ คือ ยึดหลักการมีคุณธรรม ยึดมั่นความถูกต้องชอบธรรม ให้กำลังพลมีความรู้ในตำแหน่งหน้าที่
"สถานการณ์ปัจจุบันมีความขัดแย้ง สิ่งที่ต้องคำนึงและเตือนตัวเองตลอด คือ ความอดทนจะทำให้เรามีเวลาพิจารณาได้อย่างรอบคอบ การจะทำอะไรต้องดูจังหวะเวลา และความไม่เหมาะ ไม่ใช่อยากจะทำอะไรก็ทำ ก่อนทำอะไรต้องมีวิจารณญาณต้องคิดให้ดีว่า สิ่งที่เราต้องทำต่อไปถูกต้องหรือไม่" พล.อ.อ.อิทธพรกล่าว
เมื่อถามว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้มีความวุ่นวาย ประชาชนจับตามองว่าอาจจะมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า เรื่องการปฏิวัติ คงเป็นคำถามที่ถามต่อเนื่อง เพราะด้วยสถานการณ์อย่างนี้ และข้อขัดแย้งที่ยังเกิดอย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีท่าทีที่จะแก้ไขต่อไปได้ แต่เท่าที่ติดตามข่าว คิดว่าทุกฝ่ายพยายามแก้ปัญหา แนวทางที่ดีที่สุด คือ ต้องมาพูดคุยกัน ส่วนทหารทุกคนอยู่ในกรอบจะไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือจากภารกิจ เป็นสิ่งที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการทหารบก ยืนยันมาตลอด ดังนั้นในส่วนของเหล่าทัพ คงปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของเรา ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการเมือง ดังนั้นการเมืองต้องเป็นผู้ที่แก้ไขปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำอย่างไรต่อบทบาทเส้นแบ่งเขตระหว่างการเมือง กับกองทัพ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ปัจจุบันค่อนข้างชัดเจน เมื่อมีพ.ร.บ. จัดระเบียบกระทรวงกลาโหมออกมา ทั้งเรื่องการโยกย้ายหรือหลายเรื่อง ดังนั้น กติกาถือปฏิบัติมาตั้งแต่โยกย้ายที่ผ่านมา ทุกฝ่ายอยากอยู่ในกรอบของตัวเอง ไม่อยากให้มีประเด็นอะไรที่เป็นปัญหาลุกลามไปกว่านี้ คิดว่าทุกคนอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ คงไม่มีปัญหาอะไร
**ผบ.ทร.ไม่ห่วงถูกโจมตีเรื่องรุ่น
เมื่อเวลา10.30 น. วานนี้ (1ต.ค.) ที่กองทัพเรือ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังรับมอบหน้าที่การบังคับบัญชาจากพล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีต ผบ.ทร. ถึงนโยบายของกองทัพเรือ ว่าจะสานต่อการทำงานจาก ผบ.ทร.ท่านเดิม ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรือยกพลขึ้นบก โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียง หรือโครงการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
สำหรับนโยบายเร่งด่วน คือ นโยบายปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยยึดหลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คิดว่าเหตุการณ์คงดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ จะให้ความสำคัญช่วงฤดูน้ำท่วม และพายุ โดยสั่งการให้กำลังพลช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยทางทะเล และชายฝั่ง รวมถึงพื้นที่กองทัพเรือรับผิดชอบ โดยจะมอบนโยบายให้กำลังพลสัปดาห์หน้า
พล.ร.อ. กำธร ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาล มีแนวคิดจะตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรม หรือ สสร.3 ขึ้นมาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการจะทำงานใหญ่ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทุกสาขาร่วมกันระดมความคิด แก้ทุกอย่างให้ดีขึ้น การตั้ง สสร.3 เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะรวมคนมีความรู้ความสามารถมาช่วยกันดูว่าจะแก้จุดไหน ทั้งนี้ ต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก เพื่อดำเนินการในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระประมุข ด้วยความราบรื่น ดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่าจุดยืนกองทัพต่อการเมืองเป็นอย่างไร พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า เราเป็นทหารอาชีพ เป็นกองทัพของประชาชน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อะไรทำให้บ้านเมืองมีความสงบ เจริญรุ่งเรือง และรักษาสถาบันหลักของประเทศไว้ได้ เราจะเดินไปในสิ่งที่ถูกต้อง โดยยึดความสงบสุขของประชาชน ความสันติสุขของประชาชนเป็นหลัก
เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่า กลุ่มพันธมิตรฯจะนำประเด็นการเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไปโจมตี พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า ไม่เป็นไร ตท.10 เข้ามาเรียนพร้อมท่าน แต่ 30 กว่าปีที่ตนปฏิบัติงานในกองทัพเรือ เราไม่ได้ทำงานด้วยรุ่น กองทัพเรือมีหลายรุ่น แต่ละรุ่นมีคนเก่ง รุ่นน้องรุ่นพี่ ก็มาทำงานร่วมกัน เรามีความปรองดองสามัคคีกัน ดังนั้น เรื่องรุ่นไม่น่าจะเกี่ยวข้อง เรามาร่วมกันทำงานดีกว่า
**ประยุทธ์ไม่ห่วงทภ.1 ปฏิวัติ
ส่วนที่กองทัพภาคที่ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบก ให้สัมภาษณ์ ภายหลังทำพิธีส่งมอบการบังคับบัญชาแม่ทัพภาคที่ 1 ให้กับ พล.ท. คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 คนใหม่ ว่า งานด้านความมั่นคงที่เข้าไปเกี่ยวกับงานการเมืองนั้น เรื่องนี้มีคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม (คตร.) ในการดูแลอยู่ โดยมีพล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นประธาน หาหนทางแก้ปัญหานำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำมาตรการเข้ามาดำเนินการ และใช้มาตรการด้านกฎหมาย ประเด็นสำคัญคือ ความเหมาะสมในการใช้แต่ละมาตรการ ดำเนินการ
"เราคือคนไทยด้วยกัน ต้องช่วยกันรักษากฎหมาย ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่ในการทำงานโดยเฉพาะตำรวจ ทหาร เราไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสีย หรือบาดเจ็บขึ้นมาอีก เพราะการสูญเสียแม้แต่คนเดียว ก็เสียหาย อยากขอโอกาสและความร่วมมือจากประชาชนช่วยกันกลับมาแก้ปัญหาบ้านเมืองให้สงบสุขโดยเร็ว ทหารจะทำหน้าที่ทหาร คือป้องกันประเทศ จัดระเบียบชายแดน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงดูแลปัญหาภัยในรูปแบบต่างๆ ทหารจะต้องกลับมาทำหน้าที่ของตัวเอง ส่วนงานอื่น เป็นหน้าที่รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ส่วนที่รัฐบาลเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นั้น เป็นเรื่องของกลไกทางรัฐสภา ตอบไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร เป็นมติคนส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่แก้ปัญหา เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับการเมืองภาคประชาชนในรูปแบบใหม่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะใช้คำว่าเห็นด้วยคงลำบาก เพราะตนเป็นเจ้าหน้าที่ เป็นกลไกรัฐ ดังนั้นการกระทำใด ขอให้ทำตามกรอบกติกากฎหมาย เรื่องแก้รัฐธรรมนูญต้องว่ากันไปตามผู้ที่เกี่ยวข้อง ทหารคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง
เมื่อถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. 3 มองอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของที่ประชุม หรือผู้แทนว่ากันไป ทหารมีหน้าที่มากมาย ตอนนี้คือการดูแลประชาชนให้เกิดความปลอดภัย ขอให้ทหารกลับมาทำหน้าที่ของเราดีกว่า
เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าทหารจะปล่อยให้รัฐบาล หรือนายกรัฐมนตรี ทำงานไปโดยที่ทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ใช้คำว่าปล่อยไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของเราอยู่แล้ว ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ มีอะไรต้องปฏิบัติตามหน้าที่ไปให้ดีที่สุด เพื่อชาติบ้านเมืองนั่นคือคำตอบ กองทัพอยู่ในจุดของกองทัพอยู่แล้ว อยู่ในจุดต้องทำงานเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน และสิ่งสำคัญ คือการพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ยิ่งชีวิต
เมื่อถามว่า ให้ความมั่นใจแม่ทัพภาคที่ 1 คนใหม่ จะไม่นำกำลังออกมาปฏิวัติ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อย่าพูดว่าทำ หรือไม่ทำ แต่มันมีวิธีการแก้ปัญหาอยู่หลายประการ เราอย่าไปพูดกลับไปถึงวันเก่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ต้องเชื่อมั่นผบ.ทบ. ที่มีจุดยืนที่ชัดเจน มีวิสัยที่ทัศน์ชัดเจน ทุกกองทัพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะปฏิบัติตาม ผบ.ทบ. ทั้งนี้ กองทัพทำงานเพื่อประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้น ประชาชนต้องบอกกับเราว่า เดือดร้อนอะไร อยากให้แก้ไขอะไร เราไปช่วยเหลือ สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องมีความรักสามัคคี
ด้านพล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวว่า การทำงานจะยึดถือนโยบายของแม่ทัพภาคที่ 1 คนเดิมได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะนโยบายของผบ.ทบ. ที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับชายแดนทั้งทางด้านตะวันตก และตะวันออก ส่วนการดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชานั้น ไม่มีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้น เพราะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (อาร์บีซี) ระหว่างภูมิภาคทหารที่ 5 กับกองทัพภาคที่ 1 เป็นประจำทุกปี ปัญหาต่าง ๆ จะแก้ไขจบสิ้นภายในพื้นที่ในระดับท้องถิ่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในระดับประเทศ
**ย้ำสามัคคีคลี่คลายปัญหา
ด้านพล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหมคนใหม่ ให้สัมภาษณ์ภายหลังรับมอบตำแหน่ง ถึงนโยบายกระทรวงกลาโหมว่า เราพร้อมดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลกำหนด ส่วนจุดยืนเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ชัดเจนว่าจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมีหน้าที่ดูแลในส่วนของกิจการงานทหารเป็นหลัก
ส่วนเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ภายในกองทัพต้องยืนอยู่บนพื้นฐานความสมานฉันท์ของทุกเหล่าทัพ ส่วนอื่นหากมีโอกาสก็จะพยายามส่งเสริมให้เป็นไปได้ ขณะนี้เรายังไม่ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้เป็นตัวเชื่อมหรือเจรจากับทั้งสองฝ่าย เราต้องยืนอยู่ตรงกลางไปก่อน
เมื่อถามว่า สถานการณ์การเมืองจะผ่อนคลายลงไปได้หรือไม่ พล.อ.อภิชาติ กล่าวว่า หากเราคิดเห็นตรงกัน สถานการณ์ก็คงคลี่คลาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ ประชาชนทุกส่วนต้องพยายามปรับแนวความคิดให้สอดคล้องกัน ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าในโอกาสต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องความสามัคคี ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ ที่จะให้ประเทศชาติมีความสงบสุข
พล.อ.อ.อิทธพร ให้สัมภาษณ์ถึงจุดยืนของกองทัพอากาศ ในการป้องกันการเมืองเข้ามาแทรกแซงว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม มาตามครรลองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจุดยืนของกองทัพอากาศ คือปฏิบัติหน้าที่ในกรอบภาระหน้าที่ กองทัพยังเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของรัฐบาล พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบอย่างเต็มความสามารถ ส่วนรัฐบาลเมื่อมีคณะรัฐมนตรี ก็ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา กองทัพต้องติดตาม และนำนโยบายรัฐบาล รมว.กลาโหม รวมถึง ผู้บัญชาการกองทัพไทย มาปรับปรุงให้สอดคล้องกับกองทัพอากาศวางแผนไว้
"กองทัพอากาศวางแผนตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งผู้บัญชาการท่านที่ผ่านมา อนุมัติยุทธศาสตร์ที่เราต้องเดินไปข้างหน้า ระยะเวลา ทั้งสิ้น 12 ปีโดยแบ่งเป็น 3 ห้วง ห้วงละ 4 ปี ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2551 เป็นการสานงานต่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะเราต้องการพัฒนากองทัพอากาศให้เป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคให้ได้ใน 12 ปีข้างหน้า"
พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า เมื่อรับตำแหน่งแล้ว ต้องดูอำนาจหน้าที่ และบทบาทว่าต้องทำตัวอย่างไร คิดว่าจะนำพากองทัพอากาศไปได้ ต้องมีจุดยืนและมีแนวทางดำเนินการ คือ ยึดหลักการมีคุณธรรม ยึดมั่นความถูกต้องชอบธรรม ให้กำลังพลมีความรู้ในตำแหน่งหน้าที่
"สถานการณ์ปัจจุบันมีความขัดแย้ง สิ่งที่ต้องคำนึงและเตือนตัวเองตลอด คือ ความอดทนจะทำให้เรามีเวลาพิจารณาได้อย่างรอบคอบ การจะทำอะไรต้องดูจังหวะเวลา และความไม่เหมาะ ไม่ใช่อยากจะทำอะไรก็ทำ ก่อนทำอะไรต้องมีวิจารณญาณต้องคิดให้ดีว่า สิ่งที่เราต้องทำต่อไปถูกต้องหรือไม่" พล.อ.อ.อิทธพรกล่าว
เมื่อถามว่าสถานการณ์การเมืองในขณะนี้มีความวุ่นวาย ประชาชนจับตามองว่าอาจจะมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า เรื่องการปฏิวัติ คงเป็นคำถามที่ถามต่อเนื่อง เพราะด้วยสถานการณ์อย่างนี้ และข้อขัดแย้งที่ยังเกิดอย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีท่าทีที่จะแก้ไขต่อไปได้ แต่เท่าที่ติดตามข่าว คิดว่าทุกฝ่ายพยายามแก้ปัญหา แนวทางที่ดีที่สุด คือ ต้องมาพูดคุยกัน ส่วนทหารทุกคนอยู่ในกรอบจะไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือจากภารกิจ เป็นสิ่งที่ผู้บัญชาการเหล่าทัพ โดยเฉพาะ ผู้บัญชาการทหารบก ยืนยันมาตลอด ดังนั้นในส่วนของเหล่าทัพ คงปฏิบัติหน้าที่ในส่วนของเรา ไม่ออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากการเมือง ดังนั้นการเมืองต้องเป็นผู้ที่แก้ไขปัญหา
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำอย่างไรต่อบทบาทเส้นแบ่งเขตระหว่างการเมือง กับกองทัพ พล.อ.อ.อิทธพร กล่าวว่า ปัจจุบันค่อนข้างชัดเจน เมื่อมีพ.ร.บ. จัดระเบียบกระทรวงกลาโหมออกมา ทั้งเรื่องการโยกย้ายหรือหลายเรื่อง ดังนั้น กติกาถือปฏิบัติมาตั้งแต่โยกย้ายที่ผ่านมา ทุกฝ่ายอยากอยู่ในกรอบของตัวเอง ไม่อยากให้มีประเด็นอะไรที่เป็นปัญหาลุกลามไปกว่านี้ คิดว่าทุกคนอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ คงไม่มีปัญหาอะไร
**ผบ.ทร.ไม่ห่วงถูกโจมตีเรื่องรุ่น
เมื่อเวลา10.30 น. วานนี้ (1ต.ค.) ที่กองทัพเรือ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ(ผบ.ทร.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังรับมอบหน้าที่การบังคับบัญชาจากพล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ อดีต ผบ.ทร. ถึงนโยบายของกองทัพเรือ ว่าจะสานต่อการทำงานจาก ผบ.ทร.ท่านเดิม ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรือยกพลขึ้นบก โครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียง หรือโครงการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
สำหรับนโยบายเร่งด่วน คือ นโยบายปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยยึดหลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คิดว่าเหตุการณ์คงดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ จะให้ความสำคัญช่วงฤดูน้ำท่วม และพายุ โดยสั่งการให้กำลังพลช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยทางทะเล และชายฝั่ง รวมถึงพื้นที่กองทัพเรือรับผิดชอบ โดยจะมอบนโยบายให้กำลังพลสัปดาห์หน้า
พล.ร.อ. กำธร ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาล มีแนวคิดจะตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรม หรือ สสร.3 ขึ้นมาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการจะทำงานใหญ่ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทุกสาขาร่วมกันระดมความคิด แก้ทุกอย่างให้ดีขึ้น การตั้ง สสร.3 เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะรวมคนมีความรู้ความสามารถมาช่วยกันดูว่าจะแก้จุดไหน ทั้งนี้ ต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก เพื่อดำเนินการในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระประมุข ด้วยความราบรื่น ดำเนินการต่อไป
เมื่อถามว่าจุดยืนกองทัพต่อการเมืองเป็นอย่างไร พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า เราเป็นทหารอาชีพ เป็นกองทัพของประชาชน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อะไรทำให้บ้านเมืองมีความสงบ เจริญรุ่งเรือง และรักษาสถาบันหลักของประเทศไว้ได้ เราจะเดินไปในสิ่งที่ถูกต้อง โดยยึดความสงบสุขของประชาชน ความสันติสุขของประชาชนเป็นหลัก
เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่า กลุ่มพันธมิตรฯจะนำประเด็นการเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.10 ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไปโจมตี พล.ร.อ.กำธร กล่าวว่า ไม่เป็นไร ตท.10 เข้ามาเรียนพร้อมท่าน แต่ 30 กว่าปีที่ตนปฏิบัติงานในกองทัพเรือ เราไม่ได้ทำงานด้วยรุ่น กองทัพเรือมีหลายรุ่น แต่ละรุ่นมีคนเก่ง รุ่นน้องรุ่นพี่ ก็มาทำงานร่วมกัน เรามีความปรองดองสามัคคีกัน ดังนั้น เรื่องรุ่นไม่น่าจะเกี่ยวข้อง เรามาร่วมกันทำงานดีกว่า
**ประยุทธ์ไม่ห่วงทภ.1 ปฏิวัติ
ส่วนที่กองทัพภาคที่ 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสนาธิการทหารบก ให้สัมภาษณ์ ภายหลังทำพิธีส่งมอบการบังคับบัญชาแม่ทัพภาคที่ 1 ให้กับ พล.ท. คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 คนใหม่ ว่า งานด้านความมั่นคงที่เข้าไปเกี่ยวกับงานการเมืองนั้น เรื่องนี้มีคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ร่วม (คตร.) ในการดูแลอยู่ โดยมีพล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นประธาน หาหนทางแก้ปัญหานำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำมาตรการเข้ามาดำเนินการ และใช้มาตรการด้านกฎหมาย ประเด็นสำคัญคือ ความเหมาะสมในการใช้แต่ละมาตรการ ดำเนินการ
"เราคือคนไทยด้วยกัน ต้องช่วยกันรักษากฎหมาย ต้องเห็นใจเจ้าหน้าที่ในการทำงานโดยเฉพาะตำรวจ ทหาร เราไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสีย หรือบาดเจ็บขึ้นมาอีก เพราะการสูญเสียแม้แต่คนเดียว ก็เสียหาย อยากขอโอกาสและความร่วมมือจากประชาชนช่วยกันกลับมาแก้ปัญหาบ้านเมืองให้สงบสุขโดยเร็ว ทหารจะทำหน้าที่ทหาร คือป้องกันประเทศ จัดระเบียบชายแดน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงดูแลปัญหาภัยในรูปแบบต่างๆ ทหารจะต้องกลับมาทำหน้าที่ของตัวเอง ส่วนงานอื่น เป็นหน้าที่รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
ส่วนที่รัฐบาลเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 นั้น เป็นเรื่องของกลไกทางรัฐสภา ตอบไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร เป็นมติคนส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่แก้ปัญหา เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับการเมืองภาคประชาชนในรูปแบบใหม่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะใช้คำว่าเห็นด้วยคงลำบาก เพราะตนเป็นเจ้าหน้าที่ เป็นกลไกรัฐ ดังนั้นการกระทำใด ขอให้ทำตามกรอบกติกากฎหมาย เรื่องแก้รัฐธรรมนูญต้องว่ากันไปตามผู้ที่เกี่ยวข้อง ทหารคงไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง
เมื่อถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. 3 มองอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของที่ประชุม หรือผู้แทนว่ากันไป ทหารมีหน้าที่มากมาย ตอนนี้คือการดูแลประชาชนให้เกิดความปลอดภัย ขอให้ทหารกลับมาทำหน้าที่ของเราดีกว่า
เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่าทหารจะปล่อยให้รัฐบาล หรือนายกรัฐมนตรี ทำงานไปโดยที่ทหารจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ใช้คำว่าปล่อยไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของเราอยู่แล้ว ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ มีอะไรต้องปฏิบัติตามหน้าที่ไปให้ดีที่สุด เพื่อชาติบ้านเมืองนั่นคือคำตอบ กองทัพอยู่ในจุดของกองทัพอยู่แล้ว อยู่ในจุดต้องทำงานเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน และสิ่งสำคัญ คือการพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ยิ่งชีวิต
เมื่อถามว่า ให้ความมั่นใจแม่ทัพภาคที่ 1 คนใหม่ จะไม่นำกำลังออกมาปฏิวัติ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อย่าพูดว่าทำ หรือไม่ทำ แต่มันมีวิธีการแก้ปัญหาอยู่หลายประการ เราอย่าไปพูดกลับไปถึงวันเก่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ต้องเชื่อมั่นผบ.ทบ. ที่มีจุดยืนที่ชัดเจน มีวิสัยที่ทัศน์ชัดเจน ทุกกองทัพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะปฏิบัติตาม ผบ.ทบ. ทั้งนี้ กองทัพทำงานเพื่อประชาชนอยู่แล้ว ดังนั้น ประชาชนต้องบอกกับเราว่า เดือดร้อนอะไร อยากให้แก้ไขอะไร เราไปช่วยเหลือ สิ่งสำคัญคือทุกคนต้องมีความรักสามัคคี
ด้านพล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 กล่าวว่า การทำงานจะยึดถือนโยบายของแม่ทัพภาคที่ 1 คนเดิมได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะนโยบายของผบ.ทบ. ที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับชายแดนทั้งทางด้านตะวันตก และตะวันออก ส่วนการดูแลพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชานั้น ไม่มีปัญหาขัดแย้งเกิดขึ้น เพราะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (อาร์บีซี) ระหว่างภูมิภาคทหารที่ 5 กับกองทัพภาคที่ 1 เป็นประจำทุกปี ปัญหาต่าง ๆ จะแก้ไขจบสิ้นภายในพื้นที่ในระดับท้องถิ่น ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในระดับประเทศ
**ย้ำสามัคคีคลี่คลายปัญหา
ด้านพล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหมคนใหม่ ให้สัมภาษณ์ภายหลังรับมอบตำแหน่ง ถึงนโยบายกระทรวงกลาโหมว่า เราพร้อมดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลกำหนด ส่วนจุดยืนเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ชัดเจนว่าจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะมีหน้าที่ดูแลในส่วนของกิจการงานทหารเป็นหลัก
ส่วนเรื่องการสร้างความสมานฉันท์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ภายในกองทัพต้องยืนอยู่บนพื้นฐานความสมานฉันท์ของทุกเหล่าทัพ ส่วนอื่นหากมีโอกาสก็จะพยายามส่งเสริมให้เป็นไปได้ ขณะนี้เรายังไม่ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้เป็นตัวเชื่อมหรือเจรจากับทั้งสองฝ่าย เราต้องยืนอยู่ตรงกลางไปก่อน
เมื่อถามว่า สถานการณ์การเมืองจะผ่อนคลายลงไปได้หรือไม่ พล.อ.อภิชาติ กล่าวว่า หากเราคิดเห็นตรงกัน สถานการณ์ก็คงคลี่คลาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ ประชาชนทุกส่วนต้องพยายามปรับแนวความคิดให้สอดคล้องกัน ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าในโอกาสต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องความสามัคคี ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ ที่จะให้ประเทศชาติมีความสงบสุข