(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Thailand’s regional divide
By Brian McCartan
29/11/2008
การตัดสินใจของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่บินไปยังเชียงใหม่ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ หลังจากที่พวกประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพฯเข้าล้อมสนามบินหลักสองแห่งในเขตเมืองหลวง กำลังเป็นภัยคุกคามที่จะขยายความตึงเครียดให้แผ่กว้างออกไปทั่วทั้งประเทศ ในลักษณะที่บังคับให้ประชาชนต้องเลือกทำอะไรไปตามแต่จะพูดภาษาท้องถิ่นภาคไหน อันตรายเช่นนี้จะกลายเป็นการโหมกระพือเปลวเพลิงในประเทศไทย ที่ก็กำลังเกิดความแตกแยกร้าวลึกกันอยู่แล้ว
เชียงใหม่ – ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีไทย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กำลังก้าวเดินอย่างพิเศษผิดธรรมดา ในการโยกย้ายสถานที่ตั้งรัฐบาลของเขาจากกรุงเทพฯไปยังเชียงใหม่ ท่ามกลางข่าวลือสะพัดเรื่องทหารอาจจะปฏิวัติรัฐประหาร อีกทั้งพวกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลยังเข้าปิดสนามบินแห่งหลักของประเทศ
เมื่อวันพุธ(26) นายสมชายเลือกที่จะลงเครื่องบินที่เชียงใหม่แทนที่จะเป็นกรุงเทพฯ ตอนที่เขากลับจากการประชุมนานาชาติในกรุงลิมา ประเทศเปรู โดยเปลี่ยนกำหนดการของเขาหลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าล้อมสนามบินแห่งหลักของประเทศไทย จากเชียงใหม่นี่เองที่เขาประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินในวันพฤหัสบดี(27) โดยมอบอำนาจให้ตำรวจไทยตลอดจนกองทัพอากาศและกองทัพเรือเข้ายึดสนามบินที่ถูกปิดกลับคืนมา
ผู้สังเกตการณ์บางคนเชื่อว่าการตัดสินใจเช่นนี้ของนายสมชาย มีอิทธิพลจากการคำนึงถึงความเสี่ยงที่ว่าเขาอาจจะถูกฝ่ายทหารคุมตัวเมื่อมาถึงกรุงเทพฯ และถึงแม้ข้อบัญญัติในพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินจะมีการห้ามการชุมนุมกันเกิน 5 คน ทว่า พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกก็ยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ว่าเขาตั้งใจที่จะสั่งทหารของเขาให้เคลื่อนไหวเล่นงานผู้ประท้วง
การที่นายกรัฐมนตรีผู้กำลังถูกโจมตีอย่างหนักผู้นี้เลือกเอาเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นนครหมายเลขสองของไทย มิใช่เป็นการเลือกโดยบังเอิญเลย ในฐานะที่เป็นจังหวัดบ้านเกิดของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ภรรยาของนายสมชาย เมืองใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศแห่งนี้ได้ลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นให้แก่พรรคพลังประชาชนที่เป็นแกนนำของคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นี่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจเมื่อไม่นานมานี้ ให้ย้ายสถานที่จัดการประชุมระดับผู้นำของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งตามกำหนดจะจัดขึ้นตอนกลางเดือนธันวาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ จากกรุงเทพฯไปที่เชียงใหม่
แต่ขณะที่ความเคลื่อนไหวของนายสมชายครั้งนี้ อาจเป็นการซื้อเวลาสักพักและที่ทางขยับเนื้อขยับตัวสักระยะหนึ่งให้แก่นายกรัฐมนตรีผู้นี้ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่กำลังไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ ในกรุงเทพฯ มันก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการโหมกระพืออารมณ์ความรู้สึกท้องถิ่นนิยม ที่มีต้นกำเนิดทั้งจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, และความสามิภักดิ์ทางการเมือง โดยมันอาจจะกลายเป็นการขยายความขัดแย้งให้ลามออกจากกรุงเทพฯ ไปสู่พื้นที่ต่างจังหวัด
เมื่อวันพุธ(26) ก็มีกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลที่รู้จักกันในนาม “คนรักเชียงใหม่ 51” ได้ยิงและสังหารบิดาของผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรในท้องถิ่นผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนอันมีผู้นิยมฟังกันอยู่ ต่อมาในวันพฤหัสบดี(27) ทางกลุ่มพันธมิตรได้ขู่ที่จะจัดส่งกลุ่มผู้สนับสนุนไปยังเชียงใหม่เพื่อตอบโต้การโจมตีคราวนี้ ทว่ายังไม่มีรายงานความรุนแรงอะไรเพิ่มเติมเข้ามา
ในอดีตที่ผ่านมา พื้นที่ภาคต่างๆ ของไทยมีความแตกแยกกันจากความตึงเครียดในทางเชื้อชาติและในทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย และเมื่อมีการดำเนินกระบวนการสร้างประเทศไทยให้กลายเป็นรัฐประชาชาติสมัยใหม่ ทางรัฐบาลไทยชุดแล้วชุดเล่าได้ลงแรงใช้ความพยายามอย่างหนักเพื่อลบล้างลัทธิภูมิภาคนิยม และสร้างความรู้สึกแห่ง “ความเป็นไทย” ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมา โดยที่พื้นที่ภาคกลางรายรอบกรุงเทพฯได้รับการเชิดชูให้มีฐานะเป็นแม่แบบของ “ความเป็นไทย” ดังกล่าวนี้
แบบเรียนทางประวัติศาสตร์ต่างตอกย้ำเน้นหนักไปที่บทบาทของราชอาณาจักรไทยซึ่งมีฐานะเป็นศูนย์กลางของแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่สุโขทัย มาจนถึงอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ขณะที่ลดทอนบทบาทของราชอาณาจักรทั้งที่เป็นไทยและไม่ใช่ไทยแห่งอื่นๆ ซึ่งก็ได้เคยดำรงคงอยู่ภายในเขตพรมแดนของประเทศไทยยุคใหม่ในปัจจุบัน อาณาจักรเหล่านี้มีอาทิ ราชอาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือ, รัฐสุลต่านมลายูแห่งปัตตานีทางภาคใต้, ตลอดจนอิทธิพลอันแข็งแกร่งของราชอาณาจักรลาวแห่งล้านช้าง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยครอบงำดินแดนจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกเหนือจากลบเลือนความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว รัฐบาลชุดต่างๆ ในกรุงเทพฯยังได้ใช้ความพยายามอย่างเป็นระบบเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยของอดีตรัฐอิสระเหล่านี้ด้วย ตัวอย่างเช่น ล้านนาซึ่งถูกผนวกเข้ากับประเทศไทยเมื่อปี 1899 นี้เอง และเจ้าประเทศราชองค์สุดท้ายก็เพิ่งสิ้นชีวิตไปในปี 1939 ราชวังแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่เวลานี้กลายเป็นเรือนจำสตรีของนครเชียงใหม่ ส่วนแห่งอื่นๆ ได้ถูกทยอยสั่งรื้อถอนในตลอดช่วงเนิ่นนานปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน ทางภาคอิสาน ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ทำท่าเติบใหญ่ขยายตัวเมื่อตอนต้นทศวรรษ 1950 ก็ได้ถูกปราบปรามไป ภายหลังนักการเมืองท้องถิ่นระดับนำหลายต่อหลายคนถูกสังหารในกรณีฆาตกรรมทางการเมืองที่บงการโดยรัฐบาลในกรุงเทพฯ เวลาต่อมาขบวนการนี้ก็ได้ถูกดูดซึมเข้าไปในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้ทำการสู้รบและต่อสู้ในทางอุดมการณ์ว่าด้วยแนวทางต่างๆ เกี่ยวกับกิจการส่วนภูมิภาค กับทางการกรุงเทพฯจวบจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1980
การเป็นคนไทยในช่วงหลายๆ ปีเหล่านี้ ถูกกำหนดให้หมายถึงการที่จะต้องพูดด้วยสำเนียงภาษาไทยภาคกลาง และยอมรับบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของไทยภาคกลาง คนไทยจากภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะชาวอีสานและชนกลุ่มน้อยที่พำนักอาศัยบนเทือกภูสูงของภาคเหนือ มักถูกหยามเหยียดว่าล้าหลังและหยาบเถื่อน ทั้งนี้ความรับรู้ความเข้าใจเช่นนี้มีการตอกย้ำเพิ่มเข้าไปโดยละครน้ำเน่าทางทีวีระดับชาติซึ่งเป็นที่นิยมติดตามชมกันแพร่หลาย
แต่แม้รัฐบาลใช้ความพยายามกันอย่างเต็มที่แล้ว ภาษาสำเนียงของภาคต่างๆ ก็ยังคงมีการใช้กันทั่วไปนอกโรงเรียนที่บริหารโดยส่วนกลาง และนอกอาคารสำนักงานของรัฐบาล พวกพรรคการเมืองทั้งหลายอย่างเช่น พรรคพลังประชาชน และพรรคที่เป็นรากเดิมต้นตอของพรรคนี้ ซึ่งก็คือพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบเลิกไปแล้วในเวลานี้ ต่างก็พยายามหยิบฉวยเอาความแตกต่างและความขุ่นเคืองในระดับภูมิภาคเหล่านี้มาสร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่พวกเขา เพื่อเปิดทางให้พวกเขาสามารถสร้างฐานผู้ออกเสียงระดับภูมิภาคอันแข็งแกร่งขึ้นมา
พรรคพลังประชาชนที่เป็นแกนนำรัฐบาลนั้นได้อำนาจส่วนใหญ่จากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านและพูดอย่างหลวมๆ ได้ว่ามีแนวคิดไปในทางเดียวกันกับการประท้วงเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรนั้น มีที่มั่นสำคัญอยู่ทางภาคใต้ สำหรับภาคเหนืออยู่ในลักษณะที่ค่อนข้างแตกแยกกัน ทว่าโน้มเอียงไปทางนิยมพรรคพลังประชาชนและอดีตพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งหลังๆ มานี้ ขณะที่กรุงเทพฯอยู่ในอาการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน แต่ลงคะแนนให้พรรคประชาธิปปัตย์อย่างแข็งขันยิ่งในการเลือกตั้งระยะหลังๆ มานี้ รวมทั้งการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด ที่เหตุการณ์ยึดสนามบินพื่อสนับสนุนการคลื่อนไหวประท้วงของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วก่อนหน้านี้แล้วนั้น ต่างก็ปรากฏขึ้นในภาคใต้ นั่นคือที่ภูเก็ต และหาดใหญ่ นอกจากนั้น ผู้ประท้วงจำนวนมากในทำเนียบรัฐบาลและที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองเวลานี้ก็มาจากภาคใต้ ในคำแถลงหลายครั้งก่อนจะไปสู่การปิดล้อมสนามบิน กลุ่มพันธมิตรก็บอกว่าจะรวบรวมผู้ประท้วง 100,000 คนซึ่งจะระดมจากภาคใต้ของประเทศนั่นเอง
ภาคใต้ในบริบทนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงชาวมุสลิมเชื้อชาติมลายู ซึ่งจากการแบ่งแยกแตกต่างทางเชื้อชาติและทางศาสนา ได้โหมกระพือให้เกิดการกบฎก่อความไม่สงบต่อต้านการปกครองของกรุงเทพฯอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งที่กำลังเกิดการสู้รบกันอยู่ในเวลานี้ซึ่งปะทุขึ้นมาตั้งแต่ปี 2004 ถึงแม้สามจังหวัดทางตอนใต้สุดของประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มิได้ออกเสียงให้แก่พรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งครั้งหลังสุด แต่ก็ไม่ได้ลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์เหมือนกัน
จวบจนกระทั่งเวลานี้ ปัญหาทางการเมืองของประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วยังรวมศูนย์อยู่ในกรุงเทพฯ ทว่าจากความเคลื่อนไหวของนายสมชายที่ดูเหมือนการจัดตั้งฐานของรัฐบาลขึ้นในเชียงใหม่ ก็กำลังมีอันตรายที่จะขยายความขัดแย้งนี้ให้กระจายกว้างขวางออกไปในต่างจังหวัด แม้ที่ผ่านมาทั้งกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มหนุนรัฐบาลต่างหารถรับผู้สนับสนุนของตน –ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนจริงๆ หรือต้องจ่ายเงินจ้าง –จากภูมิภาครอบนอกเข้ามายังกรุงเทพฯ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดยังคงถกเถียงพูดถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นการภายในและอย่างเงียบๆ
เมื่อวันพฤหัสบดี(27) ตอนที่นายสมชายจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉินขึ้นที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่นั้น มีผู้สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลที่ใส่เสื้อแดงหลายร้อยคน ออกมาแสดงการหนุนหลังและเข้าพิทักษ์คุ้มครองศาลากลางแห่งนั้น พวกเขาจำนวนมากทีเดียวถือท่อนเหล็กและไม้พลองเป็นอาวุธ โดยบอกว่าเพื่อป้องกันในกรณีที่พวกผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯพยายามเข้ามาก่อกวนการประชุม
มีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มเช่นนี้จะแพร่กระจายออกไปทั่วประเทศ โดยเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ด้อยสิทธิ์ด้อยเสียง อาจจะอาศัยการให้ความสนับสนุนแก่พรรคพลังประชาชน มาเป็นพาหะในการต่อสู้กับทางการกรุงเทพฯเพื่อให้ได้สิทธิ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
และเมื่อทั้งสองฝ่ายในความขัดแย้งนี้ ยังคงแสดงให้เห็นตลอดจนกระทั่งเน้นย้ำ ถึงการแบ่งแยกทางภูมิภาคและทางเชื้อชาติกันอยู่แล้ว ก็ย่อมเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ความขัดแย้งยิ่งขยายวงกว้างออกไปอีก
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในประเทศไทย อาจติดต่อเขาได้ที่ brianpm@comcast.net
Thailand’s regional divide
By Brian McCartan
29/11/2008
การตัดสินใจของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่บินไปยังเชียงใหม่ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ หลังจากที่พวกประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพฯเข้าล้อมสนามบินหลักสองแห่งในเขตเมืองหลวง กำลังเป็นภัยคุกคามที่จะขยายความตึงเครียดให้แผ่กว้างออกไปทั่วทั้งประเทศ ในลักษณะที่บังคับให้ประชาชนต้องเลือกทำอะไรไปตามแต่จะพูดภาษาท้องถิ่นภาคไหน อันตรายเช่นนี้จะกลายเป็นการโหมกระพือเปลวเพลิงในประเทศไทย ที่ก็กำลังเกิดความแตกแยกร้าวลึกกันอยู่แล้ว
เชียงใหม่ – ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรีไทย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กำลังก้าวเดินอย่างพิเศษผิดธรรมดา ในการโยกย้ายสถานที่ตั้งรัฐบาลของเขาจากกรุงเทพฯไปยังเชียงใหม่ ท่ามกลางข่าวลือสะพัดเรื่องทหารอาจจะปฏิวัติรัฐประหาร อีกทั้งพวกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลยังเข้าปิดสนามบินแห่งหลักของประเทศ
เมื่อวันพุธ(26) นายสมชายเลือกที่จะลงเครื่องบินที่เชียงใหม่แทนที่จะเป็นกรุงเทพฯ ตอนที่เขากลับจากการประชุมนานาชาติในกรุงลิมา ประเทศเปรู โดยเปลี่ยนกำหนดการของเขาหลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้าล้อมสนามบินแห่งหลักของประเทศไทย จากเชียงใหม่นี่เองที่เขาประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินในวันพฤหัสบดี(27) โดยมอบอำนาจให้ตำรวจไทยตลอดจนกองทัพอากาศและกองทัพเรือเข้ายึดสนามบินที่ถูกปิดกลับคืนมา
ผู้สังเกตการณ์บางคนเชื่อว่าการตัดสินใจเช่นนี้ของนายสมชาย มีอิทธิพลจากการคำนึงถึงความเสี่ยงที่ว่าเขาอาจจะถูกฝ่ายทหารคุมตัวเมื่อมาถึงกรุงเทพฯ และถึงแม้ข้อบัญญัติในพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินจะมีการห้ามการชุมนุมกันเกิน 5 คน ทว่า พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกก็ยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ ว่าเขาตั้งใจที่จะสั่งทหารของเขาให้เคลื่อนไหวเล่นงานผู้ประท้วง
การที่นายกรัฐมนตรีผู้กำลังถูกโจมตีอย่างหนักผู้นี้เลือกเอาเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นนครหมายเลขสองของไทย มิใช่เป็นการเลือกโดยบังเอิญเลย ในฐานะที่เป็นจังหวัดบ้านเกิดของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ภรรยาของนายสมชาย เมืองใหญ่ทางภาคเหนือของประเทศแห่งนี้ได้ลงคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นให้แก่พรรคพลังประชาชนที่เป็นแกนนำของคณะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นี่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจเมื่อไม่นานมานี้ ให้ย้ายสถานที่จัดการประชุมระดับผู้นำของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งตามกำหนดจะจัดขึ้นตอนกลางเดือนธันวาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ จากกรุงเทพฯไปที่เชียงใหม่
แต่ขณะที่ความเคลื่อนไหวของนายสมชายครั้งนี้ อาจเป็นการซื้อเวลาสักพักและที่ทางขยับเนื้อขยับตัวสักระยะหนึ่งให้แก่นายกรัฐมนตรีผู้นี้ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่กำลังไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ ในกรุงเทพฯ มันก็มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นการโหมกระพืออารมณ์ความรู้สึกท้องถิ่นนิยม ที่มีต้นกำเนิดทั้งจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, และความสามิภักดิ์ทางการเมือง โดยมันอาจจะกลายเป็นการขยายความขัดแย้งให้ลามออกจากกรุงเทพฯ ไปสู่พื้นที่ต่างจังหวัด
เมื่อวันพุธ(26) ก็มีกลุ่มสนับสนุนรัฐบาลที่รู้จักกันในนาม “คนรักเชียงใหม่ 51” ได้ยิงและสังหารบิดาของผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรในท้องถิ่นผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนอันมีผู้นิยมฟังกันอยู่ ต่อมาในวันพฤหัสบดี(27) ทางกลุ่มพันธมิตรได้ขู่ที่จะจัดส่งกลุ่มผู้สนับสนุนไปยังเชียงใหม่เพื่อตอบโต้การโจมตีคราวนี้ ทว่ายังไม่มีรายงานความรุนแรงอะไรเพิ่มเติมเข้ามา
ในอดีตที่ผ่านมา พื้นที่ภาคต่างๆ ของไทยมีความแตกแยกกันจากความตึงเครียดในทางเชื้อชาติและในทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย และเมื่อมีการดำเนินกระบวนการสร้างประเทศไทยให้กลายเป็นรัฐประชาชาติสมัยใหม่ ทางรัฐบาลไทยชุดแล้วชุดเล่าได้ลงแรงใช้ความพยายามอย่างหนักเพื่อลบล้างลัทธิภูมิภาคนิยม และสร้างความรู้สึกแห่ง “ความเป็นไทย” ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมา โดยที่พื้นที่ภาคกลางรายรอบกรุงเทพฯได้รับการเชิดชูให้มีฐานะเป็นแม่แบบของ “ความเป็นไทย” ดังกล่าวนี้
แบบเรียนทางประวัติศาสตร์ต่างตอกย้ำเน้นหนักไปที่บทบาทของราชอาณาจักรไทยซึ่งมีฐานะเป็นศูนย์กลางของแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่สุโขทัย มาจนถึงอยุธยา และรัตนโกสินทร์ ขณะที่ลดทอนบทบาทของราชอาณาจักรทั้งที่เป็นไทยและไม่ใช่ไทยแห่งอื่นๆ ซึ่งก็ได้เคยดำรงคงอยู่ภายในเขตพรมแดนของประเทศไทยยุคใหม่ในปัจจุบัน อาณาจักรเหล่านี้มีอาทิ ราชอาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือ, รัฐสุลต่านมลายูแห่งปัตตานีทางภาคใต้, ตลอดจนอิทธิพลอันแข็งแกร่งของราชอาณาจักรลาวแห่งล้านช้าง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยครอบงำดินแดนจำนวนมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกเหนือจากลบเลือนความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว รัฐบาลชุดต่างๆ ในกรุงเทพฯยังได้ใช้ความพยายามอย่างเป็นระบบเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยของอดีตรัฐอิสระเหล่านี้ด้วย ตัวอย่างเช่น ล้านนาซึ่งถูกผนวกเข้ากับประเทศไทยเมื่อปี 1899 นี้เอง และเจ้าประเทศราชองค์สุดท้ายก็เพิ่งสิ้นชีวิตไปในปี 1939 ราชวังแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่เวลานี้กลายเป็นเรือนจำสตรีของนครเชียงใหม่ ส่วนแห่งอื่นๆ ได้ถูกทยอยสั่งรื้อถอนในตลอดช่วงเนิ่นนานปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน ทางภาคอิสาน ขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ทำท่าเติบใหญ่ขยายตัวเมื่อตอนต้นทศวรรษ 1950 ก็ได้ถูกปราบปรามไป ภายหลังนักการเมืองท้องถิ่นระดับนำหลายต่อหลายคนถูกสังหารในกรณีฆาตกรรมทางการเมืองที่บงการโดยรัฐบาลในกรุงเทพฯ เวลาต่อมาขบวนการนี้ก็ได้ถูกดูดซึมเข้าไปในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งได้ทำการสู้รบและต่อสู้ในทางอุดมการณ์ว่าด้วยแนวทางต่างๆ เกี่ยวกับกิจการส่วนภูมิภาค กับทางการกรุงเทพฯจวบจนกระทั่งถึงทศวรรษ 1980
การเป็นคนไทยในช่วงหลายๆ ปีเหล่านี้ ถูกกำหนดให้หมายถึงการที่จะต้องพูดด้วยสำเนียงภาษาไทยภาคกลาง และยอมรับบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมของไทยภาคกลาง คนไทยจากภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ โดยเฉพาะชาวอีสานและชนกลุ่มน้อยที่พำนักอาศัยบนเทือกภูสูงของภาคเหนือ มักถูกหยามเหยียดว่าล้าหลังและหยาบเถื่อน ทั้งนี้ความรับรู้ความเข้าใจเช่นนี้มีการตอกย้ำเพิ่มเข้าไปโดยละครน้ำเน่าทางทีวีระดับชาติซึ่งเป็นที่นิยมติดตามชมกันแพร่หลาย
แต่แม้รัฐบาลใช้ความพยายามกันอย่างเต็มที่แล้ว ภาษาสำเนียงของภาคต่างๆ ก็ยังคงมีการใช้กันทั่วไปนอกโรงเรียนที่บริหารโดยส่วนกลาง และนอกอาคารสำนักงานของรัฐบาล พวกพรรคการเมืองทั้งหลายอย่างเช่น พรรคพลังประชาชน และพรรคที่เป็นรากเดิมต้นตอของพรรคนี้ ซึ่งก็คือพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบเลิกไปแล้วในเวลานี้ ต่างก็พยายามหยิบฉวยเอาความแตกต่างและความขุ่นเคืองในระดับภูมิภาคเหล่านี้มาสร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่พวกเขา เพื่อเปิดทางให้พวกเขาสามารถสร้างฐานผู้ออกเสียงระดับภูมิภาคอันแข็งแกร่งขึ้นมา
พรรคพลังประชาชนที่เป็นแกนนำรัฐบาลนั้นได้อำนาจส่วนใหญ่จากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคฝ่ายค้านและพูดอย่างหลวมๆ ได้ว่ามีแนวคิดไปในทางเดียวกันกับการประท้วงเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรนั้น มีที่มั่นสำคัญอยู่ทางภาคใต้ สำหรับภาคเหนืออยู่ในลักษณะที่ค่อนข้างแตกแยกกัน ทว่าโน้มเอียงไปทางนิยมพรรคพลังประชาชนและอดีตพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งหลังๆ มานี้ ขณะที่กรุงเทพฯอยู่ในอาการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน แต่ลงคะแนนให้พรรคประชาธิปปัตย์อย่างแข็งขันยิ่งในการเลือกตั้งระยะหลังๆ มานี้ รวมทั้งการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วย
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด ที่เหตุการณ์ยึดสนามบินพื่อสนับสนุนการคลื่อนไหวประท้วงของกลุ่มพันธมิตร ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วก่อนหน้านี้แล้วนั้น ต่างก็ปรากฏขึ้นในภาคใต้ นั่นคือที่ภูเก็ต และหาดใหญ่ นอกจากนั้น ผู้ประท้วงจำนวนมากในทำเนียบรัฐบาลและที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองเวลานี้ก็มาจากภาคใต้ ในคำแถลงหลายครั้งก่อนจะไปสู่การปิดล้อมสนามบิน กลุ่มพันธมิตรก็บอกว่าจะรวบรวมผู้ประท้วง 100,000 คนซึ่งจะระดมจากภาคใต้ของประเทศนั่นเอง
ภาคใต้ในบริบทนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงชาวมุสลิมเชื้อชาติมลายู ซึ่งจากการแบ่งแยกแตกต่างทางเชื้อชาติและทางศาสนา ได้โหมกระพือให้เกิดการกบฎก่อความไม่สงบต่อต้านการปกครองของกรุงเทพฯอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งที่กำลังเกิดการสู้รบกันอยู่ในเวลานี้ซึ่งปะทุขึ้นมาตั้งแต่ปี 2004 ถึงแม้สามจังหวัดทางตอนใต้สุดของประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มิได้ออกเสียงให้แก่พรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งครั้งหลังสุด แต่ก็ไม่ได้ลงคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์เหมือนกัน
จวบจนกระทั่งเวลานี้ ปัญหาทางการเมืองของประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วยังรวมศูนย์อยู่ในกรุงเทพฯ ทว่าจากความเคลื่อนไหวของนายสมชายที่ดูเหมือนการจัดตั้งฐานของรัฐบาลขึ้นในเชียงใหม่ ก็กำลังมีอันตรายที่จะขยายความขัดแย้งนี้ให้กระจายกว้างขวางออกไปในต่างจังหวัด แม้ที่ผ่านมาทั้งกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มหนุนรัฐบาลต่างหารถรับผู้สนับสนุนของตน –ไม่ว่าจะเป็นผู้สนับสนุนจริงๆ หรือต้องจ่ายเงินจ้าง –จากภูมิภาครอบนอกเข้ามายังกรุงเทพฯ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในต่างจังหวัดยังคงถกเถียงพูดถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นการภายในและอย่างเงียบๆ
เมื่อวันพฤหัสบดี(27) ตอนที่นายสมชายจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉินขึ้นที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่นั้น มีผู้สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลที่ใส่เสื้อแดงหลายร้อยคน ออกมาแสดงการหนุนหลังและเข้าพิทักษ์คุ้มครองศาลากลางแห่งนั้น พวกเขาจำนวนมากทีเดียวถือท่อนเหล็กและไม้พลองเป็นอาวุธ โดยบอกว่าเพื่อป้องกันในกรณีที่พวกผู้สนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯพยายามเข้ามาก่อกวนการประชุม
มีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มเช่นนี้จะแพร่กระจายออกไปทั่วประเทศ โดยเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ด้อยสิทธิ์ด้อยเสียง อาจจะอาศัยการให้ความสนับสนุนแก่พรรคพลังประชาชน มาเป็นพาหะในการต่อสู้กับทางการกรุงเทพฯเพื่อให้ได้สิทธิ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
และเมื่อทั้งสองฝ่ายในความขัดแย้งนี้ ยังคงแสดงให้เห็นตลอดจนกระทั่งเน้นย้ำ ถึงการแบ่งแยกทางภูมิภาคและทางเชื้อชาติกันอยู่แล้ว ก็ย่อมเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ความขัดแย้งยิ่งขยายวงกว้างออกไปอีก
ไบรอัน แมคคาร์แทน เป็นนักหนังสือพิมพ์อิสระซึ่งพำนักอยู่ในประเทศไทย อาจติดต่อเขาได้ที่ brianpm@comcast.net