ผู้จัดการรายวัน – ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวผันผวนสอดคล้องตลาดหุ้นเอเชีย หลังเจอกระแสทางการสหรัฐฯ ปรับแผนบรรเทาวิกฤตการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐใหม่ ด้วยการพยุ่งหนี้ภาคครัวเรือนแทนหนี้เสียของสถาบันการเงิน โดยดัชนีนิกเกอิ ปิดต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ขณะที่หุ้นไทยมีดีดกลับช่วงท้ายติดลบแค่ 2.23 จุด ด้านโบรกเกอร์ แนะจับตารายละเอียดการปรับแผนกู้วิกฤตการเงินใหม่ และการเมืองร้อนระอุ หลังอดีตนายกฯ “ทักษิณ ชินวิตร” กร้าวเคลื่อนไหวการเมืองอีกรอบ
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (13 พ.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวอยู่ในแดนลบตลาดทั้งวัน ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค หลังจากนักลงทุนต่างวิตกกังวลเรื่องที่ทางการสหรัฐฯ จะปรับแผนบรรเทาวิกฤตการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐใหม่ โดยไม่เข้าไปช่วยจัดการปัญหาด้านหนี้เสียของสถาบันการเงิน แต่กลับนำเงินดังกล่าวไปช่วยเหลือด้นการบริโภคของประชาชนแทน
จากประเด็นดังกล่าวได้ส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นทั่วไทย โดยดัชนีได้ได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดตลาดภาคเช้า และแตะระดับต่ำสุดที่ 420.49 จุด ก่อนจะมีแรงซื้อเข้ามาในช่วงบ่ายหนุนให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่สามารถปรับตัวยืนเหนือแดนบวกได้ และปิดการซื้อขายที่ระดับสูงสุดที่ 433.47 จุด ลดลงจากวันก่อน 2.23 จุด คิดเป็น 0.51% มูลค่าการซื้อขาย 9,316.59 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศ มียอดขายสุทธิ 250.42 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 754.98 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,005.40 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บมจ.บ้านปู (BANPU) ราคาปิดที่ 194 บาท ลดลงจากวันก่อน 2 บาท หรือ 1.02% มูลค่าการซื้อขาย 1,004.13 ล้านบาท บมจ.ปตท. (PTT) ปิดที่ 166 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 0.06% มูลค่าการซื้อขาย 976.56 ล้านบาท และบมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 96 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 0.52% มูลค่าการซื้อขาย 837.29 ล้านบาท
นิกเกอิต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์
สำหรับตลาดหุ้นเอเชียต่างปรับตัวรับกับข่าวทางการสหรัฐฯ ประกาศปรับแผนบรรเทาวิกฤตการเงินเช่นเดียวกัน โดยดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดตลาดที่ 8,238.64 จุด ลดลง 456.87 จุด หรือ 5.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 13,221.35 จุด ลดลง 717.74 จุด หรือ 5.15% ดัชนีสเตรทส์ไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดที่ 1,755.47 จุด ปปรับตัวลดลง 28.54 จุด หรือ 1.27% และดัชนีคอมโพสิต ของเกาหลีใต้ ปิดที่ 1,088.44 จุด ลดลง 35.42 จุด
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ จากปัญหาวิกฤตการเงินที่เริ่มลุกลามอีกระลอก หลังรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ปรับเปลี่ยนแผนแก้วิกฤตการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นการแก้หนี้ภาคครัวเรือนแทน บวกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดที่ 50.82 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้มีแรงเทขายหุ้นในกลุ่มพลังงานออกมากดดันดัชนีตลาดหุ้นไทย
สำหรับตลาดหุ้นไทยวันนี้ยังมีอยู่ในช่วงขาลง ตามตลาดภูมิภาคเอเชียและสหรัฐฯ โดยให้ติดตามการเทขายหุ้นของกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) เพื่อรักษาสภาพคล่องในช่วงวันที่ (14-15 พ.ย.) และเศรษฐกิจยุโรปที่เริ่มแสดงความชัดเจนออกมาว่ากำลังเข้าสู่ช่วงถดถอย แต่ยังไม่ใช่จุดสุด และประเมินแนวรับอยู่ที่ 416-420 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 438-444 จุด
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ และปริมาณการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยที่ต่ำกว่าหมื่นล้าน เนื่องจากไม่มีปัจจัยใดมากระตุ้นการลงทุนของนักลงทุน ขณะที่แนวโน้มวันนี้ยังคงแกว่งตัวตามทิศทางราคาน้ำมันและตลาดหุ้นในต่างประเทศ และควรจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ที่มีแนวโน้มจะปรับลดกำลังการผลิตลงอีก หลังราคาน้ำมันร่วงลงอย่างต่อเนื่อง แนะควรชะลอการลงทุน เพื่อรอทิศทางดังกล่าวก่อน ซึ่งประเมินแนวรับที่ 420 จุด ส่วนแนวต้านที่ 445 จุด
ด้านนายมงคล พ่วงเกดรา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ปรับตัวตัวอยู่ในแดนลบ จากความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันที่ปรับลงกว่า 3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล ส่งผลให้มีแรงเทขายในหุ้นกลุ่มพลังงานตลอดวัน ส่วนวันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย ยังคงเคลื่อนไหว ตามดัชนีดาวโจนของสหรัฐ และทิศทางราคาน้ำมัน ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับอยู่ที 420 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 450 จุด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงและเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดการซื้อขาย สืบเนื่องจากนักลงทุนวิตกกับแผนบรรเทาวิกฤตการเงินสหรัฐฯ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ออกมาระบุว่า รัฐบาลจะไม่ใช้วงเงินกู้วิกฤตมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อจัดการกับปัญหาด้านการจำนอง แต่จะไปช่วยเหลือด้านการบริโภค ทำให้เกิดวิตกถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ล่าช้า และไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ กระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก
ขณะเดียวกันปัจจัยทางการเมืองกลับมามีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง หลังอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาตอบโต้ทางการเมืองกับฝ่ายตรงข้าม ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงติดตามว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ทำให้ยังคงชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวแคบอยู่ในกรอบระหว่าง 424-435 จุด และอาจเห็นดัชนีดีดกลับมาบวกได้ เนื่องจากตลาดหุ้นในภูมิภาคและตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงในหลายวันทำการ อาจทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นที่ราคาปรับตัวลดลงมาก และแรงจูงใจให้นักลงทุนกลับเข้ามาซื้อเก็งกำไร และดันดัชนีฯให้ปรับอยู่ในแดนบวก
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์ทางการเมืองว่าจะมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่ หลังอดีตนายกฯ ทักษิณ ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมองว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดหลังจากงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสร็จสิ้นแล้ว โดยแนะนำชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ ประเมินแนวรับที่ 424 จุด แนวต้านอยู่ที่ 435 จุด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (13 พ.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวอยู่ในแดนลบตลาดทั้งวัน ตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค หลังจากนักลงทุนต่างวิตกกังวลเรื่องที่ทางการสหรัฐฯ จะปรับแผนบรรเทาวิกฤตการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐใหม่ โดยไม่เข้าไปช่วยจัดการปัญหาด้านหนี้เสียของสถาบันการเงิน แต่กลับนำเงินดังกล่าวไปช่วยเหลือด้นการบริโภคของประชาชนแทน
จากประเด็นดังกล่าวได้ส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นเอเชีย รวมถึงตลาดหุ้นทั่วไทย โดยดัชนีได้ได้ปรับตัวลดลงตั้งแต่เปิดตลาดภาคเช้า และแตะระดับต่ำสุดที่ 420.49 จุด ก่อนจะมีแรงซื้อเข้ามาในช่วงบ่ายหนุนให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ไม่สามารถปรับตัวยืนเหนือแดนบวกได้ และปิดการซื้อขายที่ระดับสูงสุดที่ 433.47 จุด ลดลงจากวันก่อน 2.23 จุด คิดเป็น 0.51% มูลค่าการซื้อขาย 9,316.59 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศ มียอดขายสุทธิ 250.42 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 754.98 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,005.40 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บมจ.บ้านปู (BANPU) ราคาปิดที่ 194 บาท ลดลงจากวันก่อน 2 บาท หรือ 1.02% มูลค่าการซื้อขาย 1,004.13 ล้านบาท บมจ.ปตท. (PTT) ปิดที่ 166 บาท ลดลง 1 บาท หรือ 0.06% มูลค่าการซื้อขาย 976.56 ล้านบาท และบมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 96 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 0.52% มูลค่าการซื้อขาย 837.29 ล้านบาท
นิกเกอิต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์
สำหรับตลาดหุ้นเอเชียต่างปรับตัวรับกับข่าวทางการสหรัฐฯ ประกาศปรับแผนบรรเทาวิกฤตการเงินเช่นเดียวกัน โดยดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดตลาดที่ 8,238.64 จุด ลดลง 456.87 จุด หรือ 5.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 13,221.35 จุด ลดลง 717.74 จุด หรือ 5.15% ดัชนีสเตรทส์ไทม์ ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดที่ 1,755.47 จุด ปปรับตัวลดลง 28.54 จุด หรือ 1.27% และดัชนีคอมโพสิต ของเกาหลีใต้ ปิดที่ 1,088.44 จุด ลดลง 35.42 จุด
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ จากปัญหาวิกฤตการเงินที่เริ่มลุกลามอีกระลอก หลังรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ปรับเปลี่ยนแผนแก้วิกฤตการเงินมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นการแก้หนี้ภาคครัวเรือนแทน บวกกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดที่ 50.82 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้มีแรงเทขายหุ้นในกลุ่มพลังงานออกมากดดันดัชนีตลาดหุ้นไทย
สำหรับตลาดหุ้นไทยวันนี้ยังมีอยู่ในช่วงขาลง ตามตลาดภูมิภาคเอเชียและสหรัฐฯ โดยให้ติดตามการเทขายหุ้นของกองทุนเก็งกำไร (เฮดจ์ฟันด์) เพื่อรักษาสภาพคล่องในช่วงวันที่ (14-15 พ.ย.) และเศรษฐกิจยุโรปที่เริ่มแสดงความชัดเจนออกมาว่ากำลังเข้าสู่ช่วงถดถอย แต่ยังไม่ใช่จุดสุด และประเมินแนวรับอยู่ที่ 416-420 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 438-444 จุด
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ และปริมาณการซื้อขายของตลาดหุ้นไทยที่ต่ำกว่าหมื่นล้าน เนื่องจากไม่มีปัจจัยใดมากระตุ้นการลงทุนของนักลงทุน ขณะที่แนวโน้มวันนี้ยังคงแกว่งตัวตามทิศทางราคาน้ำมันและตลาดหุ้นในต่างประเทศ และควรจับตาการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ที่มีแนวโน้มจะปรับลดกำลังการผลิตลงอีก หลังราคาน้ำมันร่วงลงอย่างต่อเนื่อง แนะควรชะลอการลงทุน เพื่อรอทิศทางดังกล่าวก่อน ซึ่งประเมินแนวรับที่ 420 จุด ส่วนแนวต้านที่ 445 จุด
ด้านนายมงคล พ่วงเกดรา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์อาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์วานนี้ปรับตัวตัวอยู่ในแดนลบ จากความวิตกกังวลของนักลงทุนต่อปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และราคาน้ำมันที่ปรับลงกว่า 3 เหรียญสหรัฐฯต่อบาเรล ส่งผลให้มีแรงเทขายในหุ้นกลุ่มพลังงานตลอดวัน ส่วนวันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย ยังคงเคลื่อนไหว ตามดัชนีดาวโจนของสหรัฐ และทิศทางราคาน้ำมัน ดังนั้นนักลงทุนควรชะลอการลงทุนออกไปก่อนเพื่อรอดูสถานการณ์ โดยมีแนวรับอยู่ที 420 จุด และแนวต้านอยู่ที่ 450 จุด
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงและเคลื่อนไหวในแดนลบตลอดการซื้อขาย สืบเนื่องจากนักลงทุนวิตกกับแผนบรรเทาวิกฤตการเงินสหรัฐฯ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ออกมาระบุว่า รัฐบาลจะไม่ใช้วงเงินกู้วิกฤตมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อจัดการกับปัญหาด้านการจำนอง แต่จะไปช่วยเหลือด้านการบริโภค ทำให้เกิดวิตกถึงความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลที่ล่าช้า และไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ กระทบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก
ขณะเดียวกันปัจจัยทางการเมืองกลับมามีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง หลังอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะออกมาตอบโต้ทางการเมืองกับฝ่ายตรงข้าม ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงติดตามว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ทำให้ยังคงชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์
สำหรับแนวโน้มการลงทุนในวันนี้ ดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวแคบอยู่ในกรอบระหว่าง 424-435 จุด และอาจเห็นดัชนีดีดกลับมาบวกได้ เนื่องจากตลาดหุ้นในภูมิภาคและตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงในหลายวันทำการ อาจทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นที่ราคาปรับตัวลดลงมาก และแรงจูงใจให้นักลงทุนกลับเข้ามาซื้อเก็งกำไร และดันดัชนีฯให้ปรับอยู่ในแดนบวก
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามสถานการณ์ทางการเมืองว่าจะมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่ หลังอดีตนายกฯ ทักษิณ ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมองว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดหลังจากงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสร็จสิ้นแล้ว โดยแนะนำชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ ประเมินแนวรับที่ 424 จุด แนวต้านอยู่ที่ 435 จุด