ผู้จัดการรายวัน-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต.ค.ลดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ต่ำสุดในรอบปี เหตุคนวิตกปัญหาการเมือง และค่าครองชีพ คาดส่งผลให้การบริโภคซึมยาวถึงไตรมาส 2 ปีหน้า
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยเดือนต.ค.2551 จากประชาชนทั่วประเทศจำนวน 2,241 ราย พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. เท่ากับ 75.8 ลดจากเดือนก.ย. 76.8 ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือน ต.ค. ปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน ต่ำสุดในรอบ 72 เดือน เท่ากับ 68.1 ลดจาก 69.1 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน เท่ากับ 76.3 จาก 77.3
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง เป็นผลจากดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมลดลงอยู่ที่ 68.6 จาก 69.5 ต่ำสุดรอบ 12 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ลดลงอยู่ที่ 69.2 จาก 70.3 ต่ำสุดรอบ 77 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 89.5 จาก 90.6 ต่ำสุดรอบ 11 เดือน
ปัจจัยลบที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง เนื่องจากปัญหาการเมือง ทำให้เกิดความวิตกกังวลของประชาชนมากสุด มากกว่าวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และผู้บริโภคยังกังวลปัญหาค่าครองชีพสูง แม้เงินเฟ้อในเดือนต.ค.จะชะลอตัวเหลือ 3.9% ราคาน้ำมันขายปลีกลดลง แต่คนก็ยังรู้สึกว่าค่าครองชีพสูงอยู่เหมือนเดิม และยังมีปัจจับลบในเรื่องเศรษฐกิจ หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 4.3-5.0% จากเดิม 4.8-5.8% และปรับประมาณการณ์ปี 2552 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.8-5.0% จาก 4.3-5.3% และดัชนีตลาดหุ้นไทย เดือนต.ค. ปรับตัวลดลง 180.01 จุด โดยปรับลดจาก 596.54 จุด ณ สิ้นเดือนก.ย. 2551 เป็น 416 จุด ณ สิ้นเดือนต.ค. 2551
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในช่วงขาลง เพราะการปรับลดของค่าดัชนีเกือบทุกรายการลงแรงมาก หรือลดลง 1 จุดขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าคนมองสภาพเศรษฐกิจไทยแย่ โดยมีปัจจัยจาก 2 เรื่อง คือ ปัญหาการเมืองภายในประเทศและค่าครองชีพ ซึ่งจะทำให้คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เห็นได้จากดัชนีความเหมาะสมในการซื้อบ้าน รถยนต์ ท่องเที่ยว และลงทุนธุรกิจ ปรับตัวลดลงทุกรายการ โดยคนส่วนใหญ่มองว่าบรรยากาศขณะนี้ ไม่เหมาะกับการซื้อสินค้าและลงทุน
“หากดูจากค่าดัชนีความเชื่อมั่นจะพบว่าปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 จนถึงเดือนต.ค. ซึ่งถือว่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วงขาลงอย่างแท้จริง และจะทำสถิติหากความเชื่อมั่นในเดือนพ.ย.ปรับตัวลดลงอีก จะทำให้ทำลายสถิติต่ำสุดในรอบ 7 ปี หรือไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ส่งผลการบริโภคในไตรมาส 4 ชะลอตัว และต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดว่าผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้สอยน้อยลง อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีการแก้ไขปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ คาดว่าการบริโภคชะลอตัวจะลากยาวต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 2 ปีหน้า และอาจฟื้นกลับมาช่วงไตรมาส 3 ปีหน้า”นายธวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยเดือนต.ค.2551 จากประชาชนทั่วประเทศจำนวน 2,241 ราย พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค. เท่ากับ 75.8 ลดจากเดือนก.ย. 76.8 ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือน ต.ค. ปี 2551 ดัชนีความเชื่อมั่นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน ต่ำสุดในรอบ 72 เดือน เท่ากับ 68.1 ลดจาก 69.1 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน เท่ากับ 76.3 จาก 77.3
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง เป็นผลจากดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมลดลงอยู่ที่ 68.6 จาก 69.5 ต่ำสุดรอบ 12 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ ลดลงอยู่ที่ 69.2 จาก 70.3 ต่ำสุดรอบ 77 เดือน และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต 89.5 จาก 90.6 ต่ำสุดรอบ 11 เดือน
ปัจจัยลบที่ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง เนื่องจากปัญหาการเมือง ทำให้เกิดความวิตกกังวลของประชาชนมากสุด มากกว่าวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และผู้บริโภคยังกังวลปัญหาค่าครองชีพสูง แม้เงินเฟ้อในเดือนต.ค.จะชะลอตัวเหลือ 3.9% ราคาน้ำมันขายปลีกลดลง แต่คนก็ยังรู้สึกว่าค่าครองชีพสูงอยู่เหมือนเดิม และยังมีปัจจับลบในเรื่องเศรษฐกิจ หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 4.3-5.0% จากเดิม 4.8-5.8% และปรับประมาณการณ์ปี 2552 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.8-5.0% จาก 4.3-5.3% และดัชนีตลาดหุ้นไทย เดือนต.ค. ปรับตัวลดลง 180.01 จุด โดยปรับลดจาก 596.54 จุด ณ สิ้นเดือนก.ย. 2551 เป็น 416 จุด ณ สิ้นเดือนต.ค. 2551
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในช่วงขาลง เพราะการปรับลดของค่าดัชนีเกือบทุกรายการลงแรงมาก หรือลดลง 1 จุดขึ้นไป แสดงให้เห็นว่าคนมองสภาพเศรษฐกิจไทยแย่ โดยมีปัจจัยจาก 2 เรื่อง คือ ปัญหาการเมืองภายในประเทศและค่าครองชีพ ซึ่งจะทำให้คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เห็นได้จากดัชนีความเหมาะสมในการซื้อบ้าน รถยนต์ ท่องเที่ยว และลงทุนธุรกิจ ปรับตัวลดลงทุกรายการ โดยคนส่วนใหญ่มองว่าบรรยากาศขณะนี้ ไม่เหมาะกับการซื้อสินค้าและลงทุน
“หากดูจากค่าดัชนีความเชื่อมั่นจะพบว่าปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 จนถึงเดือนต.ค. ซึ่งถือว่าความเชื่อมั่นอยู่ในช่วงขาลงอย่างแท้จริง และจะทำสถิติหากความเชื่อมั่นในเดือนพ.ย.ปรับตัวลดลงอีก จะทำให้ทำลายสถิติต่ำสุดในรอบ 7 ปี หรือไม่มีสัญญาณฟื้นตัว ส่งผลการบริโภคในไตรมาส 4 ชะลอตัว และต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ คาดว่าผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้สอยน้อยลง อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีการแก้ไขปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ คาดว่าการบริโภคชะลอตัวจะลากยาวต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 2 ปีหน้า และอาจฟื้นกลับมาช่วงไตรมาส 3 ปีหน้า”นายธวรรธน์กล่าว