นายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนมีปัญหาในการทำงานร่วมกับนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี ที่ดูแลทางด้านเศรษฐกิจ เพราะในฐานะที่ดูแลกระทรวงพาณิชย์ ต้องรับผิดชอบดูแลภาคเกษตรกร บางครั้งเรื่องที่ต้องให้ความช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน แต่กลับทำได้ล่าช้า และติดขัด เนื่องจากนายโอฬาร มักจะมองการบริหารงานแบบทางวิชาการ แต่กระทรวงพาณิชย์ ต้องการความเร่งด่วน
"หลายๆเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้ช่วยเหลือเกษตรกร แต่ติดขัดแทบจะทุกครั้ง ประชุมกัน3-4 ชั่วโมง ก็ไม่มีอะไรออกมา ผมอยากทำงานไว ช่วยเหลือเกษตรกรเร็วๆ แต่ท่านเป็นนักวิชาการ เป็นนายแบงก์ ก็เลยคิดมากหน่อย ผมเลยคิดว่าจากนี้ไปจะไม่ไปประชุมด้วยแล้ว จะมอบให้รัฐมนตรีช่วยไปประชุมแทน" นายไชยากล่าว
อย่างไรก็ตาม นายไชยาได้ชี้แจงเพิ่มเติมภายหลังว่า สาเหตุที่จะไม่ร่วมประชุมด้วย เพราะตนเองมีปัญหาด้านสุขภาพ นั่งนานไม่ได้ เลยต้องให้คนอื่นไปแทน พร้อมพูดทีเล่นทีจริงว่า "ฝากไว้ก่อน โอฬาร" พร้อมทั้งทำท่าชี้นิ้ว
นายไชยา ยังกล่าวด้วยว่า หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อาจจะมีการปรับครม.อีกครั้ง ซึ่งตนไม่แน่ใจว่าจะได้อยู่กระทรวงพาณิชย์ตามเดิมหรือไม่ แต่หากเป็นไปได้ก็จะเลือกทำงานที่กระทรวงพาณิชย์ เพราะอยากทำประโยชน์ให้กับประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ มีข้าราชการเก่งทุกคน
" การทำงานที่กระทรวงพาณิชย์ ถือว่าข้าราชการทุกคนทำงานดีมาก และนโยบายในการทำงานของผม ก็ไม่ได้บีบบังคับให้ข้าราชการต้องทำในสิ่งที่ทำไม่ได้ ตลอดระยะเวลาทำงานที่ผ่านมาได้ร่วมมือแก้ไขปัญหาในหลายเรื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน" นายไชยากล่าว
ด้านนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายไชยา ออกมาเปิดเผยว่ามีความขัดแย้งกับตนจนไม่สามารถจะทำงานร่วมกันได้ว่า ไม่เข้าใจว่าทำไมนายไชยา ออกมาแสดงความไม่พอใจเช่นนั้น เพราะที่ผ่านมาตนทำงานตามปกติ และคิดว่าไม่ได้มีปัญหาอะไรกับนายไชยา เพราะทุกงานทุกโครงการที่กระทรวงพาณิชย์ หรือนักการเมือง เสนอเข้ามา จะต้องมีการพิจารณาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และอธิบายสังคมได้ และตั้งแต่ตนเข้ามารับตำแหน่งก็ไม่อยากจะเข้ามานั่งในตำแหน่งนี้อยู่แล้ว แต่เหตุผลที่ต้องเข้ามาเพราะต้องการมาช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
"สำหรับผมไม่มีความจำเป็นต้องปรับการทำงาน และที่ผ่านมาการทำงานทุกฝ่ายก็เข้าใจ เช่น เรื่องโครงการรับจำนำข้าว ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอราคามา 14,000 บาทต่อตัน แต่ผมเห็นว่า ราคาควรจะแค่ 12,000 บาทเพราะได้หารือกับทุกฝ่ายแล้วเห็นว่าราคานี้เหมาะสมแล้ว ถูกต้อง โปร่งใส และตอบคำถามต่อสังคมได้ว่าทำไมต้องราคานี้"
นายโอฬาร กล่าวอีกว่าไม่รู้สึกหนักใจ หรือจะถอดใจลาออก และเชื่อมั่นว่าจะไม่กระทบต่อทีมงานเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะการประชุมเศรษฐกิจจากทุกกระทรวงจะยังคงเดินหน้าต่อไป แม้ว่า นายไชยาจะไม่เข้าร่วมประชุมก็ตาม เพราะยังมีเรื่องที่สำคัญกว่าคือ การใช้งบประมาณกลางปีแสนล้านบาท ที่จะต้องมีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง
นายโอฬาร กล่าวต่อว่า ไม่ได้สนใจเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายที่มองว่า ตนเคยเป็นนักการเงินมาก่อน ทำงานอะไรล่าช้า แต่ยืนยันว่าทุกโครงการที่เห็นชอบ หรือทำงานไปทำด้วยความเหมาะสม อธิบายได้ และไม่ได้เข้ามาทำงานเพื่อเอาใจหรือรับใช้ใคร และไม่กังวลกับการปรับครม. หลังจากงานพระราชพิธีฯ จะมีการปรับเอาตนออก เพราะก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ต้องการเข้ามารับตำแหน่งนี้อยู่แล้ว
"ผมไม่ทราบเหตุผลลึกๆ จริงๆว่า เหตุใดนายไชยา จึงออกมาแสดงความไม่พอใจขนาดนี้ และนายกฯ ก็ไม่เคยเรียกเข้าไปหารือ หรือจะต้องมาตั้งโต๊ะพูดคุยกันกับนายไชยา เพราะที่ผ่านมาก็ทำงานไปตามปกติ ไม่ได้มีปัญหาอะไรกัน"นายโอฬารกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ผ่านมานายไชยา ได้เสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในหลายๆ โครงการ และต้องการความเร่งด่วน แต่พอถึงขั้นการประชุมตัดสินใจในระดับนโยบาย ก็มักจะติดขัดแทบทุกครั้ง เพราะนายโอฬารได้ใช้อำนาจในการเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) สั่งเบรก หรือไม่ก็ขอให้กลับไปทบทวนโครงการใหม่
เริ่มจากโครงการรับจำนำข้าว กระทรวงพาณิชย์ เสนอให้มีการรับจำนำข้าวนาปีที่ตันละ 14,000 บาท และเริ่มโครงการในวันที่ 16 ต.ค.51 แต่ก็ถูกขอให้กลับไปทบทวนราคา และระยะเวลาเปิดโครงการรับจำนำ จนในที่สุดต้องจำนำที่ราคา 12,000 บาท เริ่มโครงการ 1 พ.ย.51 ถัดมา โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ก็ขอให้มีการทบทวนราคา รวมไปถึงการรับจำนำข้าวโพด
นอกจากนี้ แม้แต่ในการประชุม ครม. ก็มีหลายต่อหลายเรื่อง ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ก็ถูกนายโอฬาร สั่งเบรก หรือขอให้ไปทบทวนใหม่ เช่น แพจเกจช่วยเหลือเกษตรกร ก็ขอให้ไปทบทวนใหม่ รวมไปถึงการเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่ถูกเบรกไว้ถึง 3 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ทันในสมัยประชุมนี้
"หลายๆเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์เสนอให้ช่วยเหลือเกษตรกร แต่ติดขัดแทบจะทุกครั้ง ประชุมกัน3-4 ชั่วโมง ก็ไม่มีอะไรออกมา ผมอยากทำงานไว ช่วยเหลือเกษตรกรเร็วๆ แต่ท่านเป็นนักวิชาการ เป็นนายแบงก์ ก็เลยคิดมากหน่อย ผมเลยคิดว่าจากนี้ไปจะไม่ไปประชุมด้วยแล้ว จะมอบให้รัฐมนตรีช่วยไปประชุมแทน" นายไชยากล่าว
อย่างไรก็ตาม นายไชยาได้ชี้แจงเพิ่มเติมภายหลังว่า สาเหตุที่จะไม่ร่วมประชุมด้วย เพราะตนเองมีปัญหาด้านสุขภาพ นั่งนานไม่ได้ เลยต้องให้คนอื่นไปแทน พร้อมพูดทีเล่นทีจริงว่า "ฝากไว้ก่อน โอฬาร" พร้อมทั้งทำท่าชี้นิ้ว
นายไชยา ยังกล่าวด้วยว่า หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อาจจะมีการปรับครม.อีกครั้ง ซึ่งตนไม่แน่ใจว่าจะได้อยู่กระทรวงพาณิชย์ตามเดิมหรือไม่ แต่หากเป็นไปได้ก็จะเลือกทำงานที่กระทรวงพาณิชย์ เพราะอยากทำประโยชน์ให้กับประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ มีข้าราชการเก่งทุกคน
" การทำงานที่กระทรวงพาณิชย์ ถือว่าข้าราชการทุกคนทำงานดีมาก และนโยบายในการทำงานของผม ก็ไม่ได้บีบบังคับให้ข้าราชการต้องทำในสิ่งที่ทำไม่ได้ ตลอดระยะเวลาทำงานที่ผ่านมาได้ร่วมมือแก้ไขปัญหาในหลายเรื่อง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน" นายไชยากล่าว
ด้านนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายไชยา ออกมาเปิดเผยว่ามีความขัดแย้งกับตนจนไม่สามารถจะทำงานร่วมกันได้ว่า ไม่เข้าใจว่าทำไมนายไชยา ออกมาแสดงความไม่พอใจเช่นนั้น เพราะที่ผ่านมาตนทำงานตามปกติ และคิดว่าไม่ได้มีปัญหาอะไรกับนายไชยา เพราะทุกงานทุกโครงการที่กระทรวงพาณิชย์ หรือนักการเมือง เสนอเข้ามา จะต้องมีการพิจารณาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และอธิบายสังคมได้ และตั้งแต่ตนเข้ามารับตำแหน่งก็ไม่อยากจะเข้ามานั่งในตำแหน่งนี้อยู่แล้ว แต่เหตุผลที่ต้องเข้ามาเพราะต้องการมาช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว
"สำหรับผมไม่มีความจำเป็นต้องปรับการทำงาน และที่ผ่านมาการทำงานทุกฝ่ายก็เข้าใจ เช่น เรื่องโครงการรับจำนำข้าว ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอราคามา 14,000 บาทต่อตัน แต่ผมเห็นว่า ราคาควรจะแค่ 12,000 บาทเพราะได้หารือกับทุกฝ่ายแล้วเห็นว่าราคานี้เหมาะสมแล้ว ถูกต้อง โปร่งใส และตอบคำถามต่อสังคมได้ว่าทำไมต้องราคานี้"
นายโอฬาร กล่าวอีกว่าไม่รู้สึกหนักใจ หรือจะถอดใจลาออก และเชื่อมั่นว่าจะไม่กระทบต่อทีมงานเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เพราะการประชุมเศรษฐกิจจากทุกกระทรวงจะยังคงเดินหน้าต่อไป แม้ว่า นายไชยาจะไม่เข้าร่วมประชุมก็ตาม เพราะยังมีเรื่องที่สำคัญกว่าคือ การใช้งบประมาณกลางปีแสนล้านบาท ที่จะต้องมีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง
นายโอฬาร กล่าวต่อว่า ไม่ได้สนใจเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่ายที่มองว่า ตนเคยเป็นนักการเงินมาก่อน ทำงานอะไรล่าช้า แต่ยืนยันว่าทุกโครงการที่เห็นชอบ หรือทำงานไปทำด้วยความเหมาะสม อธิบายได้ และไม่ได้เข้ามาทำงานเพื่อเอาใจหรือรับใช้ใคร และไม่กังวลกับการปรับครม. หลังจากงานพระราชพิธีฯ จะมีการปรับเอาตนออก เพราะก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ต้องการเข้ามารับตำแหน่งนี้อยู่แล้ว
"ผมไม่ทราบเหตุผลลึกๆ จริงๆว่า เหตุใดนายไชยา จึงออกมาแสดงความไม่พอใจขนาดนี้ และนายกฯ ก็ไม่เคยเรียกเข้าไปหารือ หรือจะต้องมาตั้งโต๊ะพูดคุยกันกับนายไชยา เพราะที่ผ่านมาก็ทำงานไปตามปกติ ไม่ได้มีปัญหาอะไรกัน"นายโอฬารกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ที่ผ่านมานายไชยา ได้เสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในหลายๆ โครงการ และต้องการความเร่งด่วน แต่พอถึงขั้นการประชุมตัดสินใจในระดับนโยบาย ก็มักจะติดขัดแทบทุกครั้ง เพราะนายโอฬารได้ใช้อำนาจในการเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) สั่งเบรก หรือไม่ก็ขอให้กลับไปทบทวนโครงการใหม่
เริ่มจากโครงการรับจำนำข้าว กระทรวงพาณิชย์ เสนอให้มีการรับจำนำข้าวนาปีที่ตันละ 14,000 บาท และเริ่มโครงการในวันที่ 16 ต.ค.51 แต่ก็ถูกขอให้กลับไปทบทวนราคา และระยะเวลาเปิดโครงการรับจำนำ จนในที่สุดต้องจำนำที่ราคา 12,000 บาท เริ่มโครงการ 1 พ.ย.51 ถัดมา โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ก็ขอให้มีการทบทวนราคา รวมไปถึงการรับจำนำข้าวโพด
นอกจากนี้ แม้แต่ในการประชุม ครม. ก็มีหลายต่อหลายเรื่อง ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ก็ถูกนายโอฬาร สั่งเบรก หรือขอให้ไปทบทวนใหม่ เช่น แพจเกจช่วยเหลือเกษตรกร ก็ขอให้ไปทบทวนใหม่ รวมไปถึงการเสนอร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่ถูกเบรกไว้ถึง 3 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ทันในสมัยประชุมนี้