ผู้จัดการรายวัน - กรรมาธิการวุฒิสภา 3 คณะ สรุปผลสอบการสลายม็อบ 7 ต.ค. ระบุตำรวจ-รัฐบาลผิด ต้องรับผิดชอบ ชี้เป็นการกระทำที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน เพราะเป็นเหตุการณ์ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้แต่ก็ไม่ทำ แพทย์ชันสูตรศพ"น้องโบว์" พบเป็นสารจากแก๊สน้ำตาไม่ใช่ระเบิดปิงปอง แฉตร.ใช้แก๊สน้ำตาที่หมดอายุ ส.ว.เตรียมเข้าชื่อเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ หากรัฐบาลยังไม่รับผิดชอบ "สมชาย" อ้ำอึ้ง บอกต้องรอผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่าวานนี้ (11 พ.ย.) คณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้แก๊สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล คณะอนุกรรมาธิการพิสูจน์สาเหตุ การเสียชีวิตของน.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ในเหตุการณ์หน้าลานพระบรมรูปฯวันที่ 7 ตุลาคม ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข และคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา และติดตามสถานการณ์ความรุนแรงและปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง "รายงานผลการตรวจสอบ เหตุการณ์ความรุนแรงวันที่ 7 ตุลาคม"
นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงรายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์สลาย การชุมนุมวันที่ 7 ต.ค.ที่คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา และติดตามสถานการณ์ ความรุนแรงและปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พิจารณาเสร็จแล้วว่า การสลายฝูงชนที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพของประชาชน เหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 7 ต.ค. สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการเลือกใช้ช่องทางอื่นเข้าไปในรัฐสภา หรือประธานรัฐสภาวินิจฉัยเลื่อนวันประชุม หรือย้ายสถานที่ประชุม
นายสมชาย กล่าวว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ต.ค. เพื่อให้รัฐบาลสามารถแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภาตามกำหนดเดิม ดังนั้นรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
สำหรับการควบคุมฝูงชน พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติข้ามขั้นตอน โดยไม่เจรจาต่อรอง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ แต่กลับใช้กระสุน แก๊สน้ำตา และระเบิดแก๊สน้ำตา ชนิดขว้าง รวมถึงกระสุนยางจำนวนมาก ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขัดต่อหลักการ ตามปฏิญญาสากล และเป็นการกระทำเกินความจำเป็น เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน
"กรรมาธิการฯเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงการขาดดุลยพินิจ และความไม่เหมาะสมของการใช้อาวุธในการสลายการชุมนุม นอกจากนี้การช่วยเหลือ ผู้ได้รับบาดเจ็บ ยังฝ่าฝืนต่อหลักสากลในการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุ และขัอต่อแผน กรกฏ48
" นายสมชาย กล่าว
สำหรับการเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต กรรมาธิการเห็นว่า แม้รัฐบาลจะมีมติอนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 56 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์การช่วยเหลือ และขอบข่ายของสถานการณ์ที่ควรได้รับการเยียวยา มาตรการดังกล่าวยังไม่เหมาะสม เป็นธรรม และมีความกังวลว่า การดำเนินการอาจกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต กรรมาธิการฯ จึงจะติดตามและตรวจสอบต่อไป
สำหรับรายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 7 ต.ค. ของวุฒิสภา มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ 3 คณะ คือ คณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาและติดตามสถานการณ์ความรุนแรง และปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง คณะอนุกรรมาธิการพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตของน.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ในเหตุการณ์หน้าลานพระบรมรูปทรงม้า ในคณะกรรมาธิการการ สาธารณสุข วุฒิสภา และ คณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเจ้าหน้าที่ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
**จวกรัฐบาล-ตร.ไม่รับผิดชอบ
ด้าน พล.ต.ต. เกริก กัลยาณมิตร รองประธาน กมธ.ศึกษาตรวจสอบ เรื่องการทุจริต ฯ กล่าวว่า คณะอนุกมธ.ตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ พบข้อสังเกต 11 ข้อ คือ
1.รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ยังมีเวลาแถลงนโยบายได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. แต่กลับรีบแถลงวันที่ 7 ต.ค. ทั้งที่ ทราบว่ามีมวลชนมาปิดล้อมรัฐสภาตั้งแต่คืนวันที่ 6 ต.ค. ซึ่งควรมีเวลาในการเจรจา กับผู้ชุมนุม
2.รัฐบาลสามารถเลือกสถานที่อื่นแทนที่ทำการรัฐสภาได้ รองประธานสภา คนที่ 2 ก็หาที่สำรองไว้ 3 แห่ง แต่รัฐบาลกลับเดินหน้าใช้รัฐสภาแถลงนโยบายทั้งที่รู้ว่า จะเกิดความรุนแรง
3.รัฐบาลเข้ามาแถลงนโยบายในรัฐสภาโดยใช้การสลายฝูงชน รุนแรงจนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และบาดเจ็บสาหัส
4.หลังแถลงนโยบาย รัฐบาลมิได้สั่งการให้ตำรวจหยุดสลายการชุมนุม แต่ยังมีการสลายการชุมนุมต่อจนถึง 24.00 น.
5.การสลายการชุมนุมไม่ทำตามหลักสากลและแผนกรกฏ 48 ไม่มีการเจรจาและทำตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก
6. ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเลย โดยไม่เริ่มจากการใช้โล่ห์ และกระบองผลักดัน หรือใช้น้ำฉีด
7.ตำรวจเจาะจงเลือกใช้แก๊สน้ำตาของจีน ที่มีสารระเบิดมากถึงขั้นทำลายอวัยวะคนได้ ซึ่งการสลายการชุมนุมในช่วงเช้า มีคนขาขาด แขนขาด แต่ตำรวจยังใช้วิธีการแบบเดิมสลายการชุมนุมตลอดทั้งวัน
8. ตำรวจยิงกระสุนแก๊สน้ำตาหรือขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมโดยตรง
9. หลังจาก ส.ส. และส.ว.ออกจากรัฐสภาแล้ว ตำรวจยังสลายการชุมนุม แบบเดิมขณะผู้ชุมนุมเดินทางกลับ ถือว่าไม่สมเหตุสมผล และไม่ชอบธรรม
10.การสลายการชุมนุมมีตำรวจบาดเจ็บและทรัพย์สินราชการเสียหาย แต่นายกฯไม่คำนึงถึง
11.นายกฯ และรัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับ ไม่แสดงความรับผิดชอบและไม่ตระหนักผลกระทบจากการสลายการชุมนุมที่ทำให้ทัศนคติระหว่างตำรวจและประชาชนไปในทางลบ ทั้งหมดขอให้เป็นบทเรียนครั้งสุดท้ายของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้เกิดความสูญเสีย
"ในฐานะที่ตนเป็นตำรวจเก่า คิดว่าการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจ คงไม่มีความรู้ในการใช้อาวุธ และไม่ทราบว่า ตชด. เบิกแก๊สน้ำตามาจากไหน ดังนั้นเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลจะต้องตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ขึ้นมารับผิดชอบ เพราะเป็นผู้สั่งการเพียงคนเดียว และจากกรณีที่ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออก จากรองนายกฯ ก็ยังไม่มีผู้มารับช่วงต่อ และเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจาก ตำรวจมาจากหลายหน่วยงาน หลายโรงพัก ทำให้มีความสับสนในการสั่งการ ดังนั้น ผบ.ส่วนหน้าจะต้องมาเล่นในสนามจริงๆ ไม่ใช่อยู่ที่บชน. แล้วฟังวิทยุสื่อสาร เพื่อสั่งการเท่านั้น"
**น้องโบว์โดนระเบิดแก๊สน้ำตา
พล.อ.ต.นพ. วิชาญ เบี้ยวนิ่ม อนุกมธ.พิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตฯ และหัวหน้าหน่วยนิติเวช รพ.รามาธิบดี ผู้ชันสูตรศพน.ส.อังคณา กล่าวว่าน.ส.อังคณา เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล ทั้งนี้เมื่อศพมาถึงพบว่า ปนเปื้อนแก๊สน้ำตา จึงต้องล้างหลายครั้งก่อนชันสูตร เมื่อชันสูตรพบว่า เสื้อผ้าฉีก มีรอยไหม้ดำ บาดแผลใหญ่บริเวณอกด้านซ้าย ต่อเนื่องมาถึงแขน ขนาด 40x14 ซม. ลึกถึงซี่โครง ซี่โครงหักตลอดแนว ปอดช้ำเลือดออกกระจาย ม้ามแตก เยื่อหุ่มหัวใจและผนังทะลุ เมื่อส่องกล้องจุลทรรศน์พบชัดเจนว่า เป็นเพราะแรงอัดและความร้อน สารเคมีที่ ปนเสื้อผ้าก็เป็นสารประกอบของระเบิดแก๊สน้ำตาไม่ใช่ระเบิดปิงปอง หรือระเบิดสังหาร และเป็นการระเบิดใกล้ตัว ไม่ได้ชิดตัว จึงไม่ใช่การพกระเบิดแล้วระเบิดเอง ทั้งนี้เมื่อศพมาถึงพบว่า ปนเปื้อนแก๊สน้ำตาด้วย
**ใช้แก๊สน้ำตาหมดอายุจากจีน
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อนุกมธ.ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองฯ กล่าวว่า สตง. ตรวจพบว่า กองพลาธิการและสรรพาวุธ สตช. ซื้อระเบิดแก๊สน้ำตาจากจีน โดยเป็นแบบขว้าง 17,000 ลูก เมื่อปี 36-38 แบบยิงจ 40,800 ลูก เมื่อปี 36 และยังพบว่า รอง ผบ.ตร.คนหนึ่ง ขอระเบิดแก๊สน้ำตาจาก 4 หน่วย ซึ่งเป็นอาวุธเก่า ตั้งแต่เดือน พ.ค.51 โดยระบุชัดว่า "ขอชนิดขว้างผลิตในประเทศจีน" เพื่อควบคุมการชุมนุม
นอกจากนี้ พล.ต.ท. อัมพร จารุจินดา อดีตผู้เชี่ยวชาญสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มาให้ข้อมูลว่า ระเบิดแก๊สน้ำตาดังกล่าว มีซีโฟร์ 7 กรัม จุดชนวนแล้วพุ่ง 200- 300 ฟุต ต่อวินาที สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกาย และในลูกระเบิด ส่วนผสมที่เป็น แก๊สน้ำตาจะเสื่อมใน 5-8 ปี ส่วนส่วนผสมที่เป็นซีโฟร์ ไม่หมดอายุ ทั้งนี้ระเบิดแก๊สน้ำตาดังกล่าว ตำรวจเรียกคืนมาเก็บหมด เพราะใช้ตั้งแต่ พฤษภา 35 และหมดอายุแล้ว
นอกจากนี้ ฝ่ายตำรวจยังเคยระงับการซื้อระเบิดแก๊สน้ำตาจากจีนเพราะพบว่า ร้ายแรง ไม่รู้ว่าทำไมจึงนำกลับมาใช้อีก ส่วนฝ่ายตำรวจใช้ระเบิดแก๊สน้ำตา ไปจำนวนเท่าใด อนุฯกำลังตามตรวจสอบอยู่
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล กล่าวว่า รัฐบาลน่าจะยับยั้งตั้งแต่มีการสลายการชุมนุมในครั้งแรก เนื่องจากรู้ดีว่าแก๊สน้ำตาส่งผลให้เกิดความ เสียหายอย่างรุนแรง แต่ในทางกลับกัน กลับใช้การสลายการชุมนุมที่รุนแรงมากขึ้น เรื่อยๆ นอกจากนี้ตนอยากตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดเจ้าหน้าที่รัฐถึงมีการเก็บกวาดหลักฐานเร็วมาก ซึ่งตามหลักสากลควรมีการพิสูจน์หลักฐานก่อน
**ส.ว.เตรียมเข้าชื่อเปิดอภิปรายทั่วไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า กรรมาธิการทั้ง 3 คณะ ยังมีมติว่า กรณีการสลายการชุมนุมวันที่ 7 ต.ค. หากรัฐบาลยังไม่แสดงความรับผิดชอบ หรือยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส.ว.จากทั้ง 3 คณะกรรมาธิการ จะรวบรวมรายชื่อส.ว. 1 ใน 3 เพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ในสมัยประชุมสามัญหน้า ช่วงปลายเดือน ม.ค.
**นายกฯยังไม่เห็นข้อสรุปกมธ.วุฒิฯ
เมื่อเวลา 14.00 น.วันเดียวกัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงเรื่องนี้ โดยถามกลับไปยังผูสื่อข่าวว่า เขาสรุปแล้วหรือ ตนยังไม่เห็นข้อมูล เป็นเรื่องของเขา เมื่อถามว่าจะมีผลอะไรต่อรัฐบาลหรือไม่ นายสมชาย ตอบว่า ต่อไปท่านคงแจ้งมา แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นเรื่อง เมื่อถามว่า เหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลจะรับฟังเฉพาะคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้น หรือจะนำข้อมูลของคณะกรรมการชุดอื่นมาประมวลด้วย นายสมชาย ตอบว่า ยังไม่ทราบว่าใครสอบเรื่องวันนั้นบ้าง ต้องดูว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง และผลเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอะไรที่เป็นบทพิสูจน์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นผลจริงๆ ออกมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่เห็นบทสรุปของกรรมการชุดไหน สรุปผลออกมาเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่าวานนี้ (11 พ.ย.) คณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้แก๊สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล คณะอนุกรรมาธิการพิสูจน์สาเหตุ การเสียชีวิตของน.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ในเหตุการณ์หน้าลานพระบรมรูปฯวันที่ 7 ตุลาคม ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข และคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา และติดตามสถานการณ์ความรุนแรงและปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง "รายงานผลการตรวจสอบ เหตุการณ์ความรุนแรงวันที่ 7 ตุลาคม"
นายสมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงรายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์สลาย การชุมนุมวันที่ 7 ต.ค.ที่คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา และติดตามสถานการณ์ ความรุนแรงและปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พิจารณาเสร็จแล้วว่า การสลายฝูงชนที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพของประชาชน เหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 7 ต.ค. สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการเลือกใช้ช่องทางอื่นเข้าไปในรัฐสภา หรือประธานรัฐสภาวินิจฉัยเลื่อนวันประชุม หรือย้ายสถานที่ประชุม
นายสมชาย กล่าวว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจเกิดจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ต.ค. เพื่อให้รัฐบาลสามารถแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภาตามกำหนดเดิม ดังนั้นรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
สำหรับการควบคุมฝูงชน พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติข้ามขั้นตอน โดยไม่เจรจาต่อรอง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ แต่กลับใช้กระสุน แก๊สน้ำตา และระเบิดแก๊สน้ำตา ชนิดขว้าง รวมถึงกระสุนยางจำนวนมาก ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงขัดต่อหลักการ ตามปฏิญญาสากล และเป็นการกระทำเกินความจำเป็น เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน
"กรรมาธิการฯเห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงการขาดดุลยพินิจ และความไม่เหมาะสมของการใช้อาวุธในการสลายการชุมนุม นอกจากนี้การช่วยเหลือ ผู้ได้รับบาดเจ็บ ยังฝ่าฝืนต่อหลักสากลในการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุ และขัอต่อแผน กรกฏ48
" นายสมชาย กล่าว
สำหรับการเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต กรรมาธิการเห็นว่า แม้รัฐบาลจะมีมติอนุมัติเงินช่วยเหลือจำนวน 56 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์การช่วยเหลือ และขอบข่ายของสถานการณ์ที่ควรได้รับการเยียวยา มาตรการดังกล่าวยังไม่เหมาะสม เป็นธรรม และมีความกังวลว่า การดำเนินการอาจกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต กรรมาธิการฯ จึงจะติดตามและตรวจสอบต่อไป
สำหรับรายงานผลการตรวจสอบเหตุการณ์สลายการชุมนุมวันที่ 7 ต.ค. ของวุฒิสภา มีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ 3 คณะ คือ คณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาและติดตามสถานการณ์ความรุนแรง และปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง คณะอนุกรรมาธิการพิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตของน.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ในเหตุการณ์หน้าลานพระบรมรูปทรงม้า ในคณะกรรมาธิการการ สาธารณสุข วุฒิสภา และ คณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเจ้าหน้าที่ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายกลุ่มผู้ชุมนุม ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
**จวกรัฐบาล-ตร.ไม่รับผิดชอบ
ด้าน พล.ต.ต. เกริก กัลยาณมิตร รองประธาน กมธ.ศึกษาตรวจสอบ เรื่องการทุจริต ฯ กล่าวว่า คณะอนุกมธ.ตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏ พบข้อสังเกต 11 ข้อ คือ
1.รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ยังมีเวลาแถลงนโยบายได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. แต่กลับรีบแถลงวันที่ 7 ต.ค. ทั้งที่ ทราบว่ามีมวลชนมาปิดล้อมรัฐสภาตั้งแต่คืนวันที่ 6 ต.ค. ซึ่งควรมีเวลาในการเจรจา กับผู้ชุมนุม
2.รัฐบาลสามารถเลือกสถานที่อื่นแทนที่ทำการรัฐสภาได้ รองประธานสภา คนที่ 2 ก็หาที่สำรองไว้ 3 แห่ง แต่รัฐบาลกลับเดินหน้าใช้รัฐสภาแถลงนโยบายทั้งที่รู้ว่า จะเกิดความรุนแรง
3.รัฐบาลเข้ามาแถลงนโยบายในรัฐสภาโดยใช้การสลายฝูงชน รุนแรงจนมีผู้บาดเจ็บจำนวนมาก และบาดเจ็บสาหัส
4.หลังแถลงนโยบาย รัฐบาลมิได้สั่งการให้ตำรวจหยุดสลายการชุมนุม แต่ยังมีการสลายการชุมนุมต่อจนถึง 24.00 น.
5.การสลายการชุมนุมไม่ทำตามหลักสากลและแผนกรกฏ 48 ไม่มีการเจรจาและทำตามขั้นตอนจากเบาไปหาหนัก
6. ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเลย โดยไม่เริ่มจากการใช้โล่ห์ และกระบองผลักดัน หรือใช้น้ำฉีด
7.ตำรวจเจาะจงเลือกใช้แก๊สน้ำตาของจีน ที่มีสารระเบิดมากถึงขั้นทำลายอวัยวะคนได้ ซึ่งการสลายการชุมนุมในช่วงเช้า มีคนขาขาด แขนขาด แต่ตำรวจยังใช้วิธีการแบบเดิมสลายการชุมนุมตลอดทั้งวัน
8. ตำรวจยิงกระสุนแก๊สน้ำตาหรือขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมโดยตรง
9. หลังจาก ส.ส. และส.ว.ออกจากรัฐสภาแล้ว ตำรวจยังสลายการชุมนุม แบบเดิมขณะผู้ชุมนุมเดินทางกลับ ถือว่าไม่สมเหตุสมผล และไม่ชอบธรรม
10.การสลายการชุมนุมมีตำรวจบาดเจ็บและทรัพย์สินราชการเสียหาย แต่นายกฯไม่คำนึงถึง
11.นายกฯ และรัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับ ไม่แสดงความรับผิดชอบและไม่ตระหนักผลกระทบจากการสลายการชุมนุมที่ทำให้ทัศนคติระหว่างตำรวจและประชาชนไปในทางลบ ทั้งหมดขอให้เป็นบทเรียนครั้งสุดท้ายของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ทำให้เกิดความสูญเสีย
"ในฐานะที่ตนเป็นตำรวจเก่า คิดว่าการสลายการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจ คงไม่มีความรู้ในการใช้อาวุธ และไม่ทราบว่า ตชด. เบิกแก๊สน้ำตามาจากไหน ดังนั้นเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลจะต้องตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ขึ้นมารับผิดชอบ เพราะเป็นผู้สั่งการเพียงคนเดียว และจากกรณีที่ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออก จากรองนายกฯ ก็ยังไม่มีผู้มารับช่วงต่อ และเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น เนื่องจาก ตำรวจมาจากหลายหน่วยงาน หลายโรงพัก ทำให้มีความสับสนในการสั่งการ ดังนั้น ผบ.ส่วนหน้าจะต้องมาเล่นในสนามจริงๆ ไม่ใช่อยู่ที่บชน. แล้วฟังวิทยุสื่อสาร เพื่อสั่งการเท่านั้น"
**น้องโบว์โดนระเบิดแก๊สน้ำตา
พล.อ.ต.นพ. วิชาญ เบี้ยวนิ่ม อนุกมธ.พิสูจน์สาเหตุการเสียชีวิตฯ และหัวหน้าหน่วยนิติเวช รพ.รามาธิบดี ผู้ชันสูตรศพน.ส.อังคณา กล่าวว่าน.ส.อังคณา เสียชีวิตก่อนมาถึงโรงพยาบาล ทั้งนี้เมื่อศพมาถึงพบว่า ปนเปื้อนแก๊สน้ำตา จึงต้องล้างหลายครั้งก่อนชันสูตร เมื่อชันสูตรพบว่า เสื้อผ้าฉีก มีรอยไหม้ดำ บาดแผลใหญ่บริเวณอกด้านซ้าย ต่อเนื่องมาถึงแขน ขนาด 40x14 ซม. ลึกถึงซี่โครง ซี่โครงหักตลอดแนว ปอดช้ำเลือดออกกระจาย ม้ามแตก เยื่อหุ่มหัวใจและผนังทะลุ เมื่อส่องกล้องจุลทรรศน์พบชัดเจนว่า เป็นเพราะแรงอัดและความร้อน สารเคมีที่ ปนเสื้อผ้าก็เป็นสารประกอบของระเบิดแก๊สน้ำตาไม่ใช่ระเบิดปิงปอง หรือระเบิดสังหาร และเป็นการระเบิดใกล้ตัว ไม่ได้ชิดตัว จึงไม่ใช่การพกระเบิดแล้วระเบิดเอง ทั้งนี้เมื่อศพมาถึงพบว่า ปนเปื้อนแก๊สน้ำตาด้วย
**ใช้แก๊สน้ำตาหมดอายุจากจีน
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อนุกมธ.ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองฯ กล่าวว่า สตง. ตรวจพบว่า กองพลาธิการและสรรพาวุธ สตช. ซื้อระเบิดแก๊สน้ำตาจากจีน โดยเป็นแบบขว้าง 17,000 ลูก เมื่อปี 36-38 แบบยิงจ 40,800 ลูก เมื่อปี 36 และยังพบว่า รอง ผบ.ตร.คนหนึ่ง ขอระเบิดแก๊สน้ำตาจาก 4 หน่วย ซึ่งเป็นอาวุธเก่า ตั้งแต่เดือน พ.ค.51 โดยระบุชัดว่า "ขอชนิดขว้างผลิตในประเทศจีน" เพื่อควบคุมการชุมนุม
นอกจากนี้ พล.ต.ท. อัมพร จารุจินดา อดีตผู้เชี่ยวชาญสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มาให้ข้อมูลว่า ระเบิดแก๊สน้ำตาดังกล่าว มีซีโฟร์ 7 กรัม จุดชนวนแล้วพุ่ง 200- 300 ฟุต ต่อวินาที สามารถเป็นอันตรายต่อร่างกาย และในลูกระเบิด ส่วนผสมที่เป็น แก๊สน้ำตาจะเสื่อมใน 5-8 ปี ส่วนส่วนผสมที่เป็นซีโฟร์ ไม่หมดอายุ ทั้งนี้ระเบิดแก๊สน้ำตาดังกล่าว ตำรวจเรียกคืนมาเก็บหมด เพราะใช้ตั้งแต่ พฤษภา 35 และหมดอายุแล้ว
นอกจากนี้ ฝ่ายตำรวจยังเคยระงับการซื้อระเบิดแก๊สน้ำตาจากจีนเพราะพบว่า ร้ายแรง ไม่รู้ว่าทำไมจึงนำกลับมาใช้อีก ส่วนฝ่ายตำรวจใช้ระเบิดแก๊สน้ำตา ไปจำนวนเท่าใด อนุฯกำลังตามตรวจสอบอยู่
ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล กล่าวว่า รัฐบาลน่าจะยับยั้งตั้งแต่มีการสลายการชุมนุมในครั้งแรก เนื่องจากรู้ดีว่าแก๊สน้ำตาส่งผลให้เกิดความ เสียหายอย่างรุนแรง แต่ในทางกลับกัน กลับใช้การสลายการชุมนุมที่รุนแรงมากขึ้น เรื่อยๆ นอกจากนี้ตนอยากตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดเจ้าหน้าที่รัฐถึงมีการเก็บกวาดหลักฐานเร็วมาก ซึ่งตามหลักสากลควรมีการพิสูจน์หลักฐานก่อน
**ส.ว.เตรียมเข้าชื่อเปิดอภิปรายทั่วไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า กรรมาธิการทั้ง 3 คณะ ยังมีมติว่า กรณีการสลายการชุมนุมวันที่ 7 ต.ค. หากรัฐบาลยังไม่แสดงความรับผิดชอบ หรือยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส.ว.จากทั้ง 3 คณะกรรมาธิการ จะรวบรวมรายชื่อส.ว. 1 ใน 3 เพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ในสมัยประชุมสามัญหน้า ช่วงปลายเดือน ม.ค.
**นายกฯยังไม่เห็นข้อสรุปกมธ.วุฒิฯ
เมื่อเวลา 14.00 น.วันเดียวกัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวถึงเรื่องนี้ โดยถามกลับไปยังผูสื่อข่าวว่า เขาสรุปแล้วหรือ ตนยังไม่เห็นข้อมูล เป็นเรื่องของเขา เมื่อถามว่าจะมีผลอะไรต่อรัฐบาลหรือไม่ นายสมชาย ตอบว่า ต่อไปท่านคงแจ้งมา แต่ตอนนี้ยังไม่เห็นเรื่อง เมื่อถามว่า เหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. รัฐบาลจะรับฟังเฉพาะคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้น หรือจะนำข้อมูลของคณะกรรมการชุดอื่นมาประมวลด้วย นายสมชาย ตอบว่า ยังไม่ทราบว่าใครสอบเรื่องวันนั้นบ้าง ต้องดูว่าใครมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง และผลเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอะไรที่เป็นบทพิสูจน์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นผลจริงๆ ออกมา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่เห็นบทสรุปของกรรมการชุดไหน สรุปผลออกมาเลย