ผู้จัดการรายวัน - เอกชนยื่นนายกฯ เวที กรอ. 20 พ.ย.นี้ จี้ใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้นแสนล้านบาทให้คุ้มค่า กระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วใน 6 เดือน ถึง 1 ปี เพิ่มขีดแข่งขันของประเทศแทนทุ่มเงินเข้ากองทุนหมู่บ้านหรือ SML ต้องลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลง 1 ปี ช่วยลดค่าครองชีพได้ครอบคลุม พร้อมลดภาษีฯ นิติบุคคล พร้อมประเมินรับมือคนตกงานปีหน้าที่ส่อแววล้านคน
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยหลังการประชุมกกร.วานนี้ (10พ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในเวทีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) วันที่ 20 พ.ย.นี้ โดยเบื้องต้นประเด็นที่จะเสนอที่สำคัญประกอบด้วย การจัดทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาทรัฐควรจะยึดหลักการ 2 ข้อคือ 1. จะต้องจัดสรรเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลรวดเร็วภายในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี และ 2. สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเน้นผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลางเป็นระยะเวลา 1 ปีเพื่อลดค่าครองชีพที่สูงขึ้น
“รายละเอียดเราจะหารือเตรียมการ กรอ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อีกครั้ง 13 พ.ย.นี้ซึ่งเอกชนไม่เห็นด้วยหากงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะต้องลงไปยังกองทุนหมู่บ้านหรือโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ( SML) ทั้งหมดเพราะไม่รู้ว่าเงินจะถึงทั้งหมดจริงหรือไม่แต่การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ทั่วถึงกว่าซึ่งวงเงินนี้ก็อยู่ในแสนล้านบาทไม่ทำให้รัฐขาดรายได้อะไรคาดว่าขั้นต่ำจะใช้เงิน1-2หมื่นล้านบาทเท่านั้น” นายประมนต์ กล่าว
นอกจากนี้จะเสนอให้ภาครัฐลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้สอดคล้องกับภูมิภาคที่ไทยสูงที่สุดในอาเซียนโดยลดจาก 30% เป็น 25% เพื่อชักจูงให้เกิดการลงทุนมากขึ้นและเพิ่มขีดแข่งขันทางการค้าเพราะหลายประเทศได้ลดไปแล้วเช่นสิงคโปร์ และมาเลเซีย พร้อมกับการพิจารณาดูภาษีอื่นๆ เช่น การขยายระยะเวลาการนำผลขาดทุนสะสมมาหักภาษีเงินได้ให้นานขึ้น รวมถึงการขอให้ธนาคารเว้นการจัดเก็บภาษีประนอมหนี้ ฯลฯ
สำหรับการเพิ่มขีดแข่งขันส่วนของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ควรจะส่งเสริมใน 4 ลักษณะที่สำคัญคือ 1.การส่งเสริมเอสเอ็มอีในการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่ง(ลอจิสติกส์) 3. ส่งเสริมเอสเอ็มอีด้วยการจัดให้มีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) และ 4. ส่งเสริมการจ้างธุรกิจเฉพาะทางหรือคลินิกเพื่อให้ความรู้ด้านวิชาการและเทคโนโลยีแก่เอสเอ็มอีโดยรัฐสนับสนุนค่าจ้างหรือศึกษาดังกล่าว
ขณะที่เดียวกันยังจะเสนอแนวทางการแก้ไขค้าปลีก-ค้าส่งโดยทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ร้านค้าย่อย (โชห่วย) ร้านค้าส่ง ค้าปลีกรายใหญ่ และซัปพลายเออร์ ที่ควรจะมี พ.ร.บ.ที่นำเอาข้อเสนอของทั้ง 4 ส่วนดังกล่าวมาประกอบความเห็นในการจัดทำ พร้อมกันนี้ส่วนของการกระตุ้นการท่องเที่ยวจะเสนอแนวทางเช่น การเร่งรัดใช้งบประมาณพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามแผนแม่บทให้เร็วขึ้น ฯลฯ พร้อมกันนี้จะติดตามประเด็นหารือกับนายกฯในเวทีกรอ.8 ต.ค.ที่ผ่านมา
ปีหน้าตกงานอาจถึงล้านคน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวโน้มในปี 2552 แรงงานจะตกงานเพิ่มขึ้นโดยคาดว่าจะเห็นผลชัดเจนตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไปเนื่องจากคำสั่งซื้อได้ลดลงแล้วในหลายอุตสาหกรรมดังนั้นเวทีกรอ.วันที่ 20 พ.ย.นี้ ส.อ.ท.จะนำเรื่องแนวโน้มการว่างงานเมื่อรวมกับนักศึกษาจบใหม่ที่อาจจะสูงถึง 1 ล้านคนเข้าไปหารือเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ ซึ่งหากรัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจไทยเติบโต 3.8-4% จะต้องเดินหน้าสร้างการจ้างงานและใช้จ่ายงบกลางปี 100,000 ล้านบาทให้ถูกจุด
สั่งอุตฯ จว.เช็คตัวเลขตกงาน
ทั้งนี้ล่าสุดได้รับรายงานจากประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาถึงผลสำรวจแนวโน้มการจ้างงานของชมรมบริหารบุคคลในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ว่า ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไปจะมีคนตกงานประมาณ 100,000 คน จึงขอให้ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหาแนวทางช่วยเหลือเพื่อคงการรักษางานไว้ให้มากสุด พร้อมกับมอบให้ส.อ.ท.จังหวัดทุกแห่งสรุปแนวโน้มการว่างงานมาให้เพื่อที่จะประเมินตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้ง
ชี้ ศก.ไทยยังไม่ต้องลดอกเบี้ยทันที
นายอภิศักดิ์ ตันติวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ทิศทางดอกเบี้ยทั่วโลกที่ลดต่ำลงในที่สุดไทยเองก็คงจะเดินไปในแนวทางดังกล่าวเพราะเศรษฐกิจปี 2552 เห็นอยู่ว่าจะชะลอตัวแต่การลดดอกเบี้ยลงทันทีนั้นจะไม่มีใครทำกันยกเว้นเห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างมากเช่นกรณีที่อังกฤษ ประกาศลดลงทันทีเร่งด่วนเพราะเห็นว่าเศรษฐกิจลดลงอย่างแรงแล้วซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจไทยไม่ได้อยู่ในขั้นนั้น อย่างไรก็ตามปัญหาสภาพคล่องทางการเงินยอมรับว่าเป็นห่วงในปีหน้าว่าอาจจะหดตัวเพราะเงินจะไหลออกแต่หากบริหารจัดการให้ดีก็น่าจะดูแลไปได้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยหลังการประชุมกกร.วานนี้ (10พ.ย.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในเวทีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) วันที่ 20 พ.ย.นี้ โดยเบื้องต้นประเด็นที่จะเสนอที่สำคัญประกอบด้วย การจัดทำงบประมาณขาดดุลเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาทรัฐควรจะยึดหลักการ 2 ข้อคือ 1. จะต้องจัดสรรเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลรวดเร็วภายในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี และ 2. สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเน้นผู้มีรายได้ต่ำถึงปานกลางเป็นระยะเวลา 1 ปีเพื่อลดค่าครองชีพที่สูงขึ้น
“รายละเอียดเราจะหารือเตรียมการ กรอ.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อีกครั้ง 13 พ.ย.นี้ซึ่งเอกชนไม่เห็นด้วยหากงบประมาณที่เพิ่มขึ้นจะต้องลงไปยังกองทุนหมู่บ้านหรือโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ( SML) ทั้งหมดเพราะไม่รู้ว่าเงินจะถึงทั้งหมดจริงหรือไม่แต่การลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ทั่วถึงกว่าซึ่งวงเงินนี้ก็อยู่ในแสนล้านบาทไม่ทำให้รัฐขาดรายได้อะไรคาดว่าขั้นต่ำจะใช้เงิน1-2หมื่นล้านบาทเท่านั้น” นายประมนต์ กล่าว
นอกจากนี้จะเสนอให้ภาครัฐลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้สอดคล้องกับภูมิภาคที่ไทยสูงที่สุดในอาเซียนโดยลดจาก 30% เป็น 25% เพื่อชักจูงให้เกิดการลงทุนมากขึ้นและเพิ่มขีดแข่งขันทางการค้าเพราะหลายประเทศได้ลดไปแล้วเช่นสิงคโปร์ และมาเลเซีย พร้อมกับการพิจารณาดูภาษีอื่นๆ เช่น การขยายระยะเวลาการนำผลขาดทุนสะสมมาหักภาษีเงินได้ให้นานขึ้น รวมถึงการขอให้ธนาคารเว้นการจัดเก็บภาษีประนอมหนี้ ฯลฯ
สำหรับการเพิ่มขีดแข่งขันส่วนของผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) ควรจะส่งเสริมใน 4 ลักษณะที่สำคัญคือ 1.การส่งเสริมเอสเอ็มอีในการประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ส่งเสริมการพัฒนาระบบขนส่ง(ลอจิสติกส์) 3. ส่งเสริมเอสเอ็มอีด้วยการจัดให้มีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) และ 4. ส่งเสริมการจ้างธุรกิจเฉพาะทางหรือคลินิกเพื่อให้ความรู้ด้านวิชาการและเทคโนโลยีแก่เอสเอ็มอีโดยรัฐสนับสนุนค่าจ้างหรือศึกษาดังกล่าว
ขณะที่เดียวกันยังจะเสนอแนวทางการแก้ไขค้าปลีก-ค้าส่งโดยทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ร้านค้าย่อย (โชห่วย) ร้านค้าส่ง ค้าปลีกรายใหญ่ และซัปพลายเออร์ ที่ควรจะมี พ.ร.บ.ที่นำเอาข้อเสนอของทั้ง 4 ส่วนดังกล่าวมาประกอบความเห็นในการจัดทำ พร้อมกันนี้ส่วนของการกระตุ้นการท่องเที่ยวจะเสนอแนวทางเช่น การเร่งรัดใช้งบประมาณพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามแผนแม่บทให้เร็วขึ้น ฯลฯ พร้อมกันนี้จะติดตามประเด็นหารือกับนายกฯในเวทีกรอ.8 ต.ค.ที่ผ่านมา
ปีหน้าตกงานอาจถึงล้านคน
นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า แนวโน้มในปี 2552 แรงงานจะตกงานเพิ่มขึ้นโดยคาดว่าจะเห็นผลชัดเจนตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไปเนื่องจากคำสั่งซื้อได้ลดลงแล้วในหลายอุตสาหกรรมดังนั้นเวทีกรอ.วันที่ 20 พ.ย.นี้ ส.อ.ท.จะนำเรื่องแนวโน้มการว่างงานเมื่อรวมกับนักศึกษาจบใหม่ที่อาจจะสูงถึง 1 ล้านคนเข้าไปหารือเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ ซึ่งหากรัฐบาลต้องการให้เศรษฐกิจไทยเติบโต 3.8-4% จะต้องเดินหน้าสร้างการจ้างงานและใช้จ่ายงบกลางปี 100,000 ล้านบาทให้ถูกจุด
สั่งอุตฯ จว.เช็คตัวเลขตกงาน
ทั้งนี้ล่าสุดได้รับรายงานจากประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาถึงผลสำรวจแนวโน้มการจ้างงานของชมรมบริหารบุคคลในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ว่า ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไปจะมีคนตกงานประมาณ 100,000 คน จึงขอให้ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหาแนวทางช่วยเหลือเพื่อคงการรักษางานไว้ให้มากสุด พร้อมกับมอบให้ส.อ.ท.จังหวัดทุกแห่งสรุปแนวโน้มการว่างงานมาให้เพื่อที่จะประเมินตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้ง
ชี้ ศก.ไทยยังไม่ต้องลดอกเบี้ยทันที
นายอภิศักดิ์ ตันติวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ทิศทางดอกเบี้ยทั่วโลกที่ลดต่ำลงในที่สุดไทยเองก็คงจะเดินไปในแนวทางดังกล่าวเพราะเศรษฐกิจปี 2552 เห็นอยู่ว่าจะชะลอตัวแต่การลดดอกเบี้ยลงทันทีนั้นจะไม่มีใครทำกันยกเว้นเห็นว่าตัวเลขเศรษฐกิจถดถอยลงอย่างมากเช่นกรณีที่อังกฤษ ประกาศลดลงทันทีเร่งด่วนเพราะเห็นว่าเศรษฐกิจลดลงอย่างแรงแล้วซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจไทยไม่ได้อยู่ในขั้นนั้น อย่างไรก็ตามปัญหาสภาพคล่องทางการเงินยอมรับว่าเป็นห่วงในปีหน้าว่าอาจจะหดตัวเพราะเงินจะไหลออกแต่หากบริหารจัดการให้ดีก็น่าจะดูแลไปได้